คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื้อ ศาสดาแห่งเต๋า
บทที่สี่
สั่งสมกุศล
คัมภีร์ : ให้มากรับน้อย
อธิบาย : ไม่ว่าพี่น้องที่แบ่งสมบัติ หรือเพื่อนที่ติดต่อการเงินกัน ล้วนต้องรู้จักให้และผ่อนปรนทั้งนั้น เอาส่วนที่มากให้แก่พี่น้องหรือเพื่อน ตนเองรับแต่ส่วนเล็ก ยอมให้คนอื่นได้เปรียบ สะดวกสบาย คนเองยอมเสียเปรียบขาดทุน ระหว่างพี่น้องมีความเกี่ยวข้องทางสายโลหิต อันเป็นความสัมพันธ์ธรรม
ชาติ เงินทองเป็นของนอกกาย จึงควรที่จะให้ได้ผ่อนปรนได้ พระพุทธองค์ก็เคยตรัสไว้ "คนที่หวังมาก เพราะเขาโลภในทรัพย์สมบัติมาก เพราะฉะนั้น ความทุกข์และความกังวลของเขา เมื่อเทียบกับคนอื่นก็จะมาก ส่วนคนที่หวังน้อย ตลอดจนคนที่ไม่หวัง ก็ไม่โลภอยากได้อะไร ก้จะไม่มีทุกข์กังวลมากมาย
นัก ใครก็ตามที่จะพ้นห่างจากทุกข์กังวล ต้องรู้จักพอ วิธีการรู้จักพอ ก็จะมีความมั่นคงในความร่ำรวยสงบสุข คนที่รู้จักพอถึงแม้จะนอนอยู่บนพื้นดิน เขาก็สุข
ใจอย่างยิ่ง คนที่ไม่รู้จักพอ ถึงแม้เขาจะอยู่บนตึกระฟ้าก็ไม่สบายใจไม่มีความสุข เช่นนี้ก็พอจะรู้ว่า หากคนสามารถเป็นผู้ให้มากรับน้อยได้แล้ว ใจเขาก็จะราบเรียบเอง สภาวะอะไรภายนอกก็ไม่สามารถที่จะรบกวนใจเขาได้ เพราะว่าเขารู้จักพอตลอดเวลาจึงสุขเสมอ !
คุณอู่เถี่ยเจียงพูดว่า "เงินทองเป็นมูลอากาศของโลก คนที่อยู่บนโลกไม่มีเงินทองก้อยู่ไม่ได้ ดังนั้นโลกนี้จึงไม่มีคนที่ไม่ชอบเงิน และก็ไม่มีวันไหนที่ไม่ใช้เงิน เพราะฉะนั้นเงินจึงเป็นของที่ขาดไม่ได้ แต่การมีเงินของแต่ละคนมีกำหนด คิดอย่างได้มากอีกหน่อยก็เป็นไปไม่ได้ และการใช้เงินของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน คนที่สุรุ่ยสุร่ายเวลาหยิบก็เป็นพัน คนตระหนี่บาทหนึ่งก็หยิบยาก คนที่สุจริตบริสุทธิ์ กลางคืนดึก ๆ มีคนเอาเงินมาให้โดยไม่มีเหตุ เขาก็จะไม่รับเป็นอันขาด คนโลภมีอิทธิพลกลางวันเสก ๆ ก็กล้าที่จะไปแยกชิงเอามา ควรต้องรู้ว่าคนตระหนี่ ความรู้น้อย เงินแต่ละบาทเหมือนมณีมีค่า เหมือนผึ้งที่เฝ้าน้ำผึ้ง เหมือนเด็กที่หวงขนม จะไม่ยอมแบ่งให้ใคร แต่ทว่านี่ก็ยังเป็นสิ่งที่เขารักษาส่วนที่เขามี เพียงแต่ทำให้คนอื่นเบื้อหน่ายเท่านั้น แต่ฟ้าเบื้องบนก้ไม่โกรธเขา เพราะเขาตระหนี่หรอก แต่คนที่เป็นอันธพาลโลภเอาของคนอื่น เขาคิดจะเอาส่วนที่ไม่ใช่เป็นของเขา ทั้งยังโลภไม่เบื่อ ก็เหมือนปลาที่กลืนเรือ งูกลืนช้างที่โลภเกินไป พี่น้องแย่งชิงกัน เพื่อนชิงแค้นกัน โจรฆ่าคนชิงทรัพย์ เอาตำแหน่งไม่ชอบธรรม กังฉินขายชาติ เหล่านี้ล้วนเกิดจากความโลภสร้างขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านไท่ซั่ง จึงตักเตือนถึงภัยเคราะห์ที่มาจากความโลภ สอนไม่ให้เอาเงินทองโดยไม่ถูกต้อง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ถ้าหากสอนคนไม่ให้หาเงินเลยนี่ซิคงไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านไท่ซั่งจึงพูดคำว่า "มากกับน้อย" สามารถทำให้คนสามารถได้ตามส่วนที่ควรได้ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง ตัวเลขมากน้อยก็ไม่ใช่เป็นการตายตัว คนที่จน ทองหนึ่งตำลึงก็ถือว่าไม่น้อย สำหรับคนที่มีเงิน หมื่นตำลึงทองก็ไม่ใช่ของมาก สำหรับคนที่สะอาดบริสุทธิ์ เขาควรได้หนึ่งร้อยแต่กลับได้หนึ่งพัน เขาก็ยังไม่รู้สึกว่ามาก นอกเสียจากคนที่เป็นธรรม ปริมาณที่ตนเองควรจะได้ เวลาไปเอาก็จะไม่เอาเกินส่วนปริมาณที่ควรจะได้ นี่ก็คือวิธีการที่เอาน้อย ถึงอย่างไรก็ตาม ใจคนที่ป่วยมีน้อยอยากได้มาก อันนี้เป็นธรรมดาของคน ถ้าให้เป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่ไปแย่งชิงก็ไม่เป็นการสร้างบาป แต่ถ้าหากเห็นว่ามากแล้วกลับให้ไปนี่ซิ จะไม่ขัดอารมณ์ไปหน่อยหรือ
ควรรู้ว่า เงินทองที่ได้มามีเหตุปัจจัยที่ไม่เหมือนกัน เงินที่อยู่เฉพาะหน้าที่จะเอา ก้ไม่แน่ว่าในดวงชะตาเราควรจะได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในทางลึกลับจำนวนที่เราจะมีเราก็ไม่สามารถรู้ได้และก็ไม่มีปัญญาตรวจสอบ แต่ถ้าไปเอาเงินที่ดวงชะตาของเราไม่มีก็เหมือนไปเอาเหล้าพิษ หรือเนื้อเน่ามากินซึ่งก็กินไม่ได้ไม่มีสุขอยู่แล้ว สู้ให้แก่ผู้อื่นไปมิปลอดภัยกว่าหรอกหรือ ถ้าหากเป็นการให้ในส่วนที่ดวงชะตามีอยู่ก็ไม่เป็นไร เพราะมันเป็นการขจัดบาปที่มีอยู่ เงินที่ให้ไปโดยผิดพลาดทั้ง ๆ ที่ในดวงชะตาเรามีอยู่ก็ไม่เป็นไร เพราะเงินที่ให้ไปอาจได้กลับมาจากที่อื่น
ขณะมองเห็นเงินทอง ต้องมีความอดทน ไม่ใช่เห็นเงินก็ตาโตแล้วทำส่งเดช สำหรับคนร่ำรวยก้พอทำได้ง่าย ถ้าเป็นคนจนอาจทำได้ยากกว่า ถ้ารู้ว่าทำใจได้ยาก แต่ก็อดทนทำจนได้ อันนี้เทพเจ้าที่ตรวจสอบเราอยู่ก็คงไม่ปล่อยตามเลย แม้ชีวิตกำลังลำบาก ก็จะบันดาลให้เกิดเรื่องที่ช่วยให้ชีวิตเราอยู่รอดได้ หลักธรรมเหล่านี้ต้องเชื่อว่าเป็นจริง รักษาสติเอาไว้ เช่นนี้ วิถีแห่งการนับน้อยก็คือ วิถีแห่งการร่ำรวยนั่นเอง