collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า : คำนำ  (อ่าน 144259 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                     คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                             บทที่สี่

                                           สั่งสมกุศล       

                              คัมภีร์   :  สงสารผู้หม้ายกำพร้ายากไร้ เคารพอาวุโสห่วงใยผู้เยาว์

อธิบาย  :  การสงสารคนกำพร้าโดยเฉพาะเด็กกำพร้า ต้องเลี้ยงดูเขาอย่างเต็มที่ และให้เขามีอาชีพมีความสำเร็จในชีวิต การเวทนาแม่หม้ายก็ต้องปกป้องคุ้มครองเธอให้ถึงที่สุด ให้เธอได้ชื่อว่าเป็นหญิงหม้ายที่บริสุทธิ์ การเคารพผู้มีอายุมากกว่า หรือผู้เฒ่า ให้พวกเขาได้รับการเลี้ยงดูและมีความสงบสุข การรักใคร่ห่วงใยผู้เยาว์ ต้องให้การศึกษาแะคุ้มครอง  ชีวิตคนที่อับโชคที่สุดก็คือ ลูกกำพร้าและหญิงหม้าย โดยเฉพาะถ้ายากจนด้วยก็ยิ่งน่าสงสาร เกรงว่าชีวิตจะดำรงอยู่ได้ยาก เพราะฉะนั้น การบริจาคเพื่อให้พวกเขาอยู่ได้ในสังคมแล้ว ต้องช่วยเหลือเด็กกำพร้าและหญิงหม้ายเป็นอันดับแรก พ่อแม่ของเด็กกำพร้าก็ดี  สามีของแม่หม้ายก็ดี  เชื่อว่าวิญญาณของพวกเขาในปรโลก คงณุ้สึกขอบพระคุณเป็นแน่แท้  ผู้เฒ่าและผู้เยาวว์ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หากยากจนหรือเจ็บป่วยก็ยิ่งเป็นทุกข์  จะให้ชีวอตเขาดำรงอยู่ได้ก็ใช่ว่าจะง่ายนัก เพราะฉะนั้น ในอดีตโบราณอริยราชา เช่น โจวเหลินอ๋อง การปกครองของพระองค์จึงให้ความสำคัญที่จุดนี้แม้แต่อุดมการณ์ของท่านขงจื่อ ยังเคยกล่าวเอาไว้ว่า "ให้ผู้เฒ่สุข ผู้เยาว์ดูแล" อันนี้เป็นเพราะเหตุอันใดหรือ  จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้จิตดีงามได้เผยออกมาได้ง่าย
เมื่อมีจิตดีงามแล้ว เรื่องดี ๆ ที่จะทำก็มีมาก ซึ่งปกติก็ยากที่จะทำได้สมบูรณ์  สำหรับคนที่ไม่มีแรงทรัพย์ ก็ต้องใช้แรงกายไปทำดีที่สุด แต่สำหรับผู้มีแรงทรัพย์ก็ควรทำสุดเวทนาสงสาร  การเคารพอาวุโสห่วงใยผู้เยาว์ก้เช่นเดียวกัน อย่าเพียงแต่พูดว่า "ฉันสงสารอยู่ในใจก็พอแล้ว" อันนี้ถือว่าไม่รับผิดชอบและเป็นการผลักภาระ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                             บทที่สี่

                                           สั่งสมกุศล       

                              คัมภีร์   :  สงสารผู้หม้ายกำพร้ายากไร้ เคารพอาวุโสห่วงใยผู้เยาว์

        นิทาน  ๑.  ในสมัยโจว ขณะที่เมืองฉีเข้าตีเมืองหลู่ ที่นอกเมืองก็มีหญิงชาวหลู่คนหนึ่ง ในมืออุ้มเด็กคนหนึ่ง และจูงเด็กอีกมือหนึ่ง ขณะหนีเอาชีวิตรอดนางจึงวางเด็กที่อุ้มลง และไปอุ้มเด็กที่จูงอยู่แทน นายทหารเมืองฉีเห็นเข้าก็สงสัย จึงเข้าไปถามนาง ๆ ตอบว่า "เด็กที่อุ้มเป็นบุตรของพี่ชาย  แต่เด็กที่วางลงเป็นลูกแท้ ๆ ของฉัน" ทหารเมืองฉีก็ถามต่อไปอีกว่า "ทำไมจึงทิ้งลูกของตัวเองแล้วไปอุ้มลูกของพี่ชายเล่า"  นางตอบว่า "ลูกกับแม่เป็นความรักส่วนตัว แต่หลานกับอาถือเป็นสัจจะส่วนรวม หากฉันละเมิดสัจจะส่วนรวมและลำเอียงเห็นแก่ความรักส่วนตัวแล้ว ลูกกำพร้าของพี่ชายก็จะจบลง จึงเป็นสิ่งที่ฉันไม่ยอมทำ" เมื่อนายทหารเมืองฉีได้ฟังวาจาเช่นนั้น จึงพูดว่า "พวกเมืองหลู่ยังมีหญิงที่ถือสัจจะเช่นนี้ แล้วเจ้าเมืองหลู่จะเป็นเช่นใด" พูดจบจึงถอยทหารกลับไป ไม่ตีเมืองหลู่อีก เมื่อเจ้าเมืองหลูได้ยินเรื่อนี้ จึงปูนบำเหน็จรางวัลแก่หญิงผู้นั้น  พร้อมกับยกย่องให้เธอ "คุณอาสัจจะแห่งเมืองหลู" การที่หญิงเมืองหลู ยอมสละความรักส่วนตัวเพื่อช่วยชีวิตลูกชายของพี่ชายที่เป็นลูกกำพร้า เพียงคำพูดของนางที่สามารถรักษาเมืองหลูให้ปลอดภัยได้ หยุดการสงครามได้ครั้งหนึ่ง แล้วพวกหนุ่มชายฉกรรจ์ล่ะ ถ้าหากประเทศชาติตกอยู่ในอันตราย ไม่เพียงละเมิดสัจจะแล้วยังกลัวตายหนีเอาชีวิต เมื่อมาเห็นคุณอาสัจจะแห่งหลู จะรู้สึกละอายบ้างไหม ?.

        นิทาน  ๒.  หยางต้าเหนียน อายุ ๒๐ ปี ก็สอบได้ตำแหน่งจอหงวน ได้ร่วมงานกับโจวอู๋ และ จูเอี๋ยน ซึ่งทั้งสองก็มีอายุมากแล้ว อยู่ในวัยชรา หยางต้าเหนียนมักจะดูแคลนและชอบทำอัปยศพวกเขา โจวอู๋คิดจะตักเตือนหยางต้าเเหนียนว่า "เธออย่าได้ข่มเหงคนแก่เลย สักวันหนึ่งเธอก็ต้องแก่เหมือนกัน!" จูเอี๋ยนแกว่งศรีษะพูดกับโจวอู๋ว่า "อย่าไปพูดกับเขาเลย อย่าไปพูดกับเขาเลย เดี๋ยวจะถูกเขาเย้ยหยันเอาอีก"  ปรากฏว่าหยางต้าเหนียก็ตายในขณะที่ยังหนุ่มอยู่  มีคำกล่าวว่า "เคารพแก่ก็ได้แก่" ควรรู้ว่าคนแก่ผ่านประสบการณ์มามาก มีชีวิตอยู่จนแก่ชราได้ถือว่าเป็นหนึ่งในห้าบุญวาสนา จึงมีคุณค่าที่คนหนุ่มสาวจะต้องเอาอย่างมาเคารพผู้อาวุโส  จะไปดูแคลนคนแก่ได้อย่างไร แต่ชาวโลกมักเห็นว่าคนแก่ตาลาย เดินเหินไม่คล่อง ถ้าไม่เบื่อหน่ายก็จะข่มเหง จะมีใครยอมเคารพปรนนิบัติคนแก่เล่า  เมื่อมาเห็นหยางต้าเหนียนที่เหงคนแก่แล้วตายเร็วเป็นตัวอย่าง ก้หวังว่าพวกหนุ่มสาวจะกลับใจแก้ไขสำนึกผิดมีน้ำใจ เมื่อพบคนแก่ต้องมีความเป็นธรรม ถ้าเช่นนี้ตนเองก็จะมีอายุยืน อย่าได้ข่มเหงคนแก่เป็นอันขาด เพราะจะถูกตัดทอนอายุขัยและบุญวาสนาของตนเองนะ ! 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                       คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                             บทที่สี่

                                           สั่งสมกุศล

                     คัมภีร  :  ไม่ทำร้ายหนอนหญ้าต้นไม้

        อธิบาย  :  ถึงแม้หนอนจะตัวเล็ก ๆ หรือต้นหญ้าต้นไม้ที่ไม่มีอารมณ์ก็ไม่ควรทำร้าย คนในปัจจุบันชอบทำร้ายชีวิตและสิ่งต่าง ๆ ตามชอบใจ เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ มีวิญญาณ มีอารมณ์ มีชีวิต  สิ่งเหล่านี้ล้วนมีพุทธจิต ชาวหยูก็มีกล่าวไว้ "ต้นไม้ที่กำลังเติบโตไปตัดมันไม่ได้" เป็นโอวาท นับอะไรกับหนอนซึ่งเป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่มีความรู้สึก ต้นไม้ไม่มีความรู้สึก เราก็ไปทำร้ายตามอำเภอใจไม่ได้  ในพระสูตรบรรลุสมบูรณ์พูดไว้ว่า "อะไรที่มีเลือดลม ต้องมีความรู้สึก สิ่งที่มีความรู้สึก ต้องเหมือนเป็นร่างเดียวกัน" ในศุรางคมสูตรก็ว่าไว้ "ตถาคตเจ้าตรัสเป็นประจำว่า สรรพสิ่งที่สำเร็จเป็นรูปในจักรวาลล้วนเปลี่ยนแปลงออกมาจากใจเราเอง เหตุและผลทั้งปวงที่เกิดมาในโลกนี้ ตลอดจนถึงฝุ่นเล็ก ๆ ล้วนเป็นผลที่ใจนี้สร้างขึ้น ตลอดจนหญ้า ๑ ต้น ใบไม้ ๑ ใบ ใยหนึ่งเส้น ปมหนึ่งปม ติดตามถึงต้นมูลแล้ว ล้วนมีองค์จิตทั้งนั้น"  ตัวอย่างพี่น้องเถียนจิน ที่คิดจะแบ่งต้นไม้หน้าบ้าน ต้นไม้ได้ยินก็เหี่ยวเฉาทันที จึงสะเทือนใจพี่น้องเถียนจิน เลยเลิดคิดแบ่งแยก ต้นจือได้ยินก็ฟื้นชีวิตทันที แล้วจะพูดว่าต้นไม้ไม่รู้ได้หรือ จุดมุ่งหมายที่ท่านไท่ชั่งห้ามปรามก็ต้องการให้คนกระทำต่อสิ่งที่มีอารมณ์ทั้งหลายก็ดี กับสิ่งที่ไม่มีอารมณ์ทั้งหลายก็ดี ต้องบ่มเลี้ยงใจให้มีเมตตานั่นเอง

        นิทาน  ๑.  ในสมัยพุทธองค์ ขณะที่พุทธองค์กำลังบรรยายธรรมอยู่ ที่บ่อน้ำมีคงาคกตัวหนึ่ง ชอบกระโดดขึ้นมาอยู่ข้างบ่อน้ำ ตั้งใจฟังธรรม ก็ให้บังเอิญเจ้าคางคกก็ถูกไม้เท้าของคนที่มาฟังธรรมกระแทกตาย เนื่องจากตั้งใจฟังธรรมจึงมีอานิสงค์มาก เพราะฉะนั้น เมื่อคางคกตายแล้วก็ไปปฏิสนธิบนดาวดึงษ์ได้เป็นถึงท่านท้าวสักกเทวราช เมื่อพุทธองค์บรรยายธรรมก็ลงมาฟังธรรมอีก ภายหลังฟังธรรมแล้วก็บรรลุธรรมขั้นโสดาบัน อันเป็นอริยบุคคลอันดับแรกของสาวกยาน คางคกเป็นสัตว์เล็ก ๆ ก็ยังสามารถไปถึงขั้นอริยบุคคลได้ จะเห็นได้ว่า สัตว์เล็ก ๆ เช่น หนอน ก็จะไปทำร้ายไม่ได้

        นิทาน  ๒.  สมัยก่อนมีผู้ออกบวชคนหนึ่ง บำเพ็ญยังไม่ได้มรรคผล ดังนั้น การได้รับการอุปัฏฐากจากสองคนพ่อลูก จิงเต๋อ ก็ว่างเปล่า ภายหลังเมื่อตายแล้วเขาก็กลายเป็นจำพวกเห็ดชนิดหนึ่ง ในสวนดอกไม้ของบ้านจิงเต๋อ ไปเป็นผักหญ้าให้ครอบครัวจิงเต๋อรับประทาน พอคนอื่นคิดจะไปเด็ด ทำเท่าไรก็เอาไม่ได้  ซึ่งเห็ดหญ้าชนิดนี้เป็นต้นเล็กมาก เป็นเพราะมีเหตุปัจจัยเป็นพิเศษเช่นนี้ ตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า ถึงแม้จะเป็นต้นหญ้าที่ไม่มีอารมณ์ ก็ไม่ควรไปทำร้ายนะ               

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                     คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                             บทที่สี่

                                           สั่งสมกุศล

                     คัมภีร  :  ไม่ทำร้ายหนอนหญ้าต้นไม้

นิทาน   ๓  :  ที่เมืองหันโจว มีหญิงนางหนึ่ง นางมีนิสัยโหดร้าย ทุกครั้งที่เห็นมดเดินข้างเตาไฟ ก็จะเอาไฟไปเผา ไม่รู้เผามดไปจำนวนมากมายเท่าใด และมักชอบเอาขี้เถ้าไปยัดรูของไส้เดือน นางเพิ่งคลอดลูกชายคนหนึ่งยังกินนมอยู่ มีวันหนึ่งนางมีธุระออกไปข้างนอก พอกลับมาถึงบ้าน เห็นบนเตียงมีกระจกสีดำใหญ่ นางตกใจมาก พอมองดูอีกที ที่แท้ก็เป็นลูกชายของนาง ลูกชายถูกฝูงมดกัดตายแล้ว นางเสียใจมาก ไม่นานก็ตายตามกันไป

นิทาน   ๔  :  ที่เมืองไท่อั่งโจว มีคนหนึ่งชื่ออู๋อี่ คืนหนึ่งเขาฝันเห็นชายฉกรรจ์ 2 คน ใส่เสื้อสีเขียวมาขอร้องให้เขาช่วยเหลือ พออู๋อี่ ตื่นขึ้นมาก็พูดว่า  "ต้องมีอะไรถูกฆ่าแน่ ๆ ! ฟ้าสางแล้ว เขาก็ออกไปเดินรอบ ๆ เห็นมีชายหลายคนถือขวานและเลื่อย เตรียมจะโค่นต้นเทิงเงิน 2 ต้นที่เพิ่งซื้อมา  อู๋อี่จึงเข้าใจรู้ทันทีถึงความฝันเมื่อคืน จึงรีบเอาเงินออกมาซื้อต้นไม้เทิงเงิน 2 ต้น ต้นเทิงเงินจึงรอดพ้นจากการถูกโค่นไป 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื้อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                                  บทที่สี่

                                                สั่งสมกุศล

                          คัมภีร์  :  ต้องสงสารผู้เคราะห์ร้าย ยินดีกับผู้ทำดี

อธิบาย   :  คนที่เคราะห์ร้าย มักเป็นผู้ที่ทำชั่วจึงเป็นผู้กวักภัยเคราะห์มาหา ควรให้ความสงสารกับบุคคลพวกนี้ ตักเตือนชักนำเขา อบรมเขา เพื่อให้เขาสามารถแก้ไขความชั่ว มุ่งสู่ความดี เปลี่ยนเคราะห์ร้ายเป็นบุญวาสนา  สำหรับคนดี ก็มักเป็นผู้ที่ทำความดีเสมอ ๆ จึงกวักบุญวาสนามาหา เราก็ควรยินดีกับเขา ส่งเสริมเขา ผลักดันเขา เพื่อให้เขายิ่งทำดีมากขึ้น  คุณเหอหลงกู กล่าววา "คนที่เริ่มทำชั่วแรก ๆ นั้น เป็นเพราะความคิดของเขาคลาดเคลื่อนไปแล้วก้ไม่สามารถยับยั้งได้ แม้หลังจากทำชั่วไปแล้วก็ตาม ก็ยังมีจิตสำนึกดีที่ยังไม่มอดดับ ซึ่งก็ยังพอแก้ไขฉุดช่วยได้  ชาวโลกที่กีดกันคนที่ทำชั่ว ก็เหมือนการปิดกั้นศัตรูอย่างนั้น ถึงแม้พวกเขาขอแก้ตัวกลับใจใหม่เป็นคนใหม่ ก็มักไม่ได้รับการตอบรับจากผู้อื่น จึงหมดกำลังใจไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง"  การทำความดีสร้างกุศล ทุกคนก็สามารภคิดได้ แต่คนที่มัวยังถือสาแบ่งแยกชนชั้น อย่างคนที่มีความรู้ความสามารถ ก็หวังว่างานดี ๆ ต้องเป็นตนเท่านั้นที่ทำ
คนที่ด้อยกว่าก็ไม่คาดหวังที่จะได้งานดี ๆ  คือต้องให้ผู้อื่นทำเช่นนี้ ทำให้เกิดการสร้างสถานการณ์เพื่อทำลายงานดี ๆ ของคนอื่น อย่างเป็นเป็นความชั่วของตนเอง  เป็นการทำร้ายจิตใจของตนเองด้วย กับคนอื่นแล้วไม่มีการสูญเสียอะไร โดยไม่รู้ว่า ถ้าคนอื่นมีความคิดดี มีเรื่องดี แล้วเขาสามารถผลักดันส่งเสริมเขา ชมเชยเขา จนทำให้เขาทำได้สำเร็จสวยงาม เช่นนี้แล้วความดีของผู้อื่นก็เป็นความดีของตนด้วย อย่างนี้ซิจึงเป็นบุญกุศลที่เหลือคณานับ

        จากปุถุชนสู่อริยชน เป็นวิถีแห่งกุศลทั้งมวล การบังเกิดจิตโพธิเป็นสิ่งยอดเยี่ยมที่สุด ใจโพธิก็เป็นเหมือนเมล็ด เพราะสามารถให้กำเนิดกุศลธรรม ใจกุศลจึงเป็นเนื้อนาบุญ เพราะทำให้เวไนยสัตว์เจริญกุศลธรรม ใจโพธิเหมือนน้ำที่สะอาด เพราะสามารถชำระล้างความกังวลในใจของเวไนยสัตว์  ใจโพธิเหมือนไฟดวงใหญ่ ที่สามารถเผาไหม้ความเห็นผิดได้  ต้องรู้ว่าเรื่องดีทั้งหลายเกิดจากหนึ่งความคิดที่ชอบความสบายของพวกเรา แต่เมื่อใจที่ดีทั้งหลายเผยปรากฏออกมาหมด ก็คือผลแห่งโพธิที่สมบูรณ์ของพวกเราที่สำเร็จ

นิทาน  ๑  :  นางอูหลิงอี๊ จับขโมยที่เข้ามาในบ้านได้ ที่แท้เจ้าขโมยก็เป็นเด็กข้างบ้าน  อูหลิงอี๊พูดกับเขาว่า "เจ้าถูกความจนบีบบังคับจึงมาเป็นขโมย ฉันจะให้เธอหนึ่งหมื่นเป็นต้นทุนในการดำเนินชีวิต แล้วก็อย่าได้ทำชั่วอีกเลย !   พอเจ้าขโมยได้เงินก็จะออกไป อูหลิงอี๊เรียกเขากลับมาว่า "เจ้าเป็นคนจนแบกเงินมากมายกลับบ้าน ก็กลัวว่าจะถูกเจ้าหน้าที่สอบถาม เจ้าอยู่ที่บ้านจนกว่าจะเช้าก่อนค่อยไป"  เรื่องนี้อูหลิงอี๊ไม่เคยพูดให้ใครฟัง จนกระทั่งลูกหลานเขาสอบได้จินสือติดต่อกัน คนอื่นว่าเขาเป็นคนชอบสงสาร ตักเตือนแนะนำ อบรมคนชั่ว จึงได้รับผลตอบสนอง ! 

นิทาน  ๒  :  ในสมัยฮั่น  มีคนหนึ่งชื่อ หลงท่ง  ชอบยกย่องคนอื่น ทำความดี ซึ่งล้วนพูดเกินจริง คนอื่นให้รู้สึกแปลกใจ จึงถามหาสาเหตุ  หลงท่งตอบว่า "ปัจจุบันคนดีมีน้อย  คนชั่วมีมาก  อยากคิดแก้ไขวัฒนธรรมที่ไม่ดีได้ ต้องเพิ่มงานธรรมตนเอง หากไม่ไปทำเต็มที่ไปยกย่องคนอื่น ไปยกย่องงานธรรมของคนอื่น ยกย่องว่าเขาทำดีแล้ว คนที่คิดจะทำดีก็จะลดน้อยลง ถ้าการยกย่องชมเชยคนสัดก 10 คน ถ้ามีผิดพลาดไป 5 คน  ก็ยังมีอีก 5 คนไม่ผผผิด ก็ยังทำให้ได้ใจของคนทำดี เขาจะได้เพิ่มความพากเพียรของการทำดียิ่งขึ้น  อย่างนี้ก็ใช้ได้แล้วล่ะ"  โอวาทของท่านกอบฟูจื่อ ก็เคยกล่าวว่า  "ขอให้ฟ้ากำเนิดคนดี ขอให้คนทำดีเสมอ ขอให้ปากพูดดีเสมอ"  คุณหลงท่งอาจพูดได้ว่าเข้าใจโอวาทนี้เป็นอย่างดี และก็ขยันไปทำ มีประโยชน์ต่อใจธรรมของคนมากเลย !               

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื้อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                                  บทที่สี่

                                                สั่งสมกุศล

                          คัมภีร์  :  ช่วยเหลือผู้คับขัน  ฉุดช่วยผู้อยู่ในอันตราย

อธิบาย   :  เมื่อพบคนที่อยู่ในภาวะคับขัน เช่น เจ็บป่วยต้องการยารักษา หรือคนที่หิวโหย  หนาวสั่น  ต้องการอาหาร  เสื้อผ้า  ก็ควรที่จะใจกว้างช่วยเหลือทันที  หรือกรณีตกอยู่ในอันตราย เช่น เกิดภัยธรรมชาติ  ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย  อัคคีภัย  หรืออุบัติเหตุ  เราก็ควรเข้าไปช่วยเหลือตามความสามารถ ไปดูแลขจัดภัยให้เขาพ้นอันตราย   หากพบคนตกทุกข์อยู่ในอาการวิตก  คับขัน  แม้ใช้เพียงคำพูดที่ดีก็อาจฉุดช่วยเขาได้ บุญกุศลเช่นนี้ส่งผลถึงบรรพชนและคุ้มครองถึงลูกหลานได้ ควรรู้ไว้ว่า ผลักเขาทีหนึ่งกับพยุงเขาทีหนึ่งก็คือมือคู่นี้  การให้ร้ายกับการสรรเสริญผู้อื่น ก็คือปากอันนี้ เพราะฉะนั้น พยุงคนด้วยมือดีกว่า อย่าใช้ปากทำร้ายคน ถ้าหากทำได้ก้อย่าได้ถามถึงกาลข้างหน้า กาลข้างหน้าย่อมดีแน่นอน  การช่วยชีวิตคน ตนเองสิ้นเปลืองไม่มากเท่าไร แต่
เป็นเพราะเขาเป็นคนมีกินมีใช้สมบูรณ์ จึงไม่รู้จักความหิวและความหนาวทุกข์ทรมานเป็นอย่างไร เข้าใจว่าไม่มีอะไรจึงไม่ให้ความสนใจ เมื่อมีอาหารก็ไม่ใส่ใจที่จะไปช่วยเหลือคนจน รอจนกระทั่งพวกเขาหิวโหยจนล้มป่วย จึงยอมรับเป็นเวลาที่จะต้องเข้าไปช่วยแล้ว แบบนี้ก็หมดหวัง ได้แต่ลืมตาปริบ ๆ ดูพวกเขาตาย แม้แต่คนที่มีกระใจเดินผ่านมาเห็นเข้า ก็ได้แต่เวทนาถอนหายใจเท่านั้น กับคนทั่วไป ไม่ใช่เรื่องของตน เดินหลีกไปไกล ๆ จะต้องรู้ว่า คนที่กำลังหิวเจ็บป่วยง่าย เมื่อเจ็บป่วยก็ไม่มีแรงไปหากิน อย่างนี้ยิ่งหนาวก็ยิ่งอาการหนัก เพราะฉะนั้น การช่วยเหลือผู้หิวโหยต้องยิ่งเร็วยิ่งดี แรก ๆ ก็หมดข้าวคนละไม่กี่ขีด ก็สามารถทำให้เขาฟื้นคืนกำลัง ถ้าเป็นคนรวยการใช้จ่าย คืนหนึ่งก็ช่วยชีวิตได้ถึง 10 ชีวิต  ถ้ารวมพลังกันมาก การช่วยเหลือก็จะง่าย ๆ หากหาบ้านว่าง ๆ สักหลังหนึ่ง มีอาหาร เสื้อผ้า เก็บเอาไว้ก็จะช่วยให้คนหิวและไม่มีที่นอน ต้องทนทุกข์หนาวสั่นอยู่ข้างนอก การเลี้ยงเขาแบบนี้ทำให้สุขภาพของเขาฟื้นขึ้นมาได้ง่าย โดยเฉพาะในหน้าหนาว ยิ่งจำเป็นมาก แบบนี้จะช่วยให้พ้นจากการตาย จากการอดตายและหนาวได้มากทีเดียว

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื้อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                                  บทที่สี่

                                                สั่งสมกุศล

นิทาน   1  :  นายหวังหุ้ย  ในสมัยซ่ง ระหว่างทางไปสอบที่เมืองหลวง ได้ยินเสียงร้องไห้สองคนแม่ลูก เสียงร้องไห้ฟังแล้วน่าเวทนายิ่งนัก  หวังหุ้ยจึงไปถามคนใกล้เคียง คนใกล้เคียงบอกว่า  "แม่ลูกคู่นี้ยากจนมาก เป็นหนี้เงินหลวง ทางการก้เร่งรัด จึงคิดพาลูกสาวไปขายใช้หนี้ จึงร้องไห้อย่างนี้"  หวังหุ้ยจึงไปที่บ้านนาง ก็เห็นว่าเป็นจริง หวังหุ้ยก็พูดกับผู้เป็นแม่ว่า  "เธอเอาลูกสาวขายให้ฉัน เพราะฉันเป็นข้าราชการ ต้องผ่านมาแถวนี้อยู่แล้ว อย่างนี้เธอกับลูกก็ได้เห็นหน้าประจำ"  แล้วก็ให้เงินไปไถ่หนี้จากราชการ แล้วก็นัดว่าอีก 3 วัน  จะมาพาลูกสาวไป ผ่านไป 3 วัน  หวังหุ้ยก็ไม่ได้พาลูกสาวนางไป ผู้เป็นแม่ก็แปลกใจ จึงไปหาที่หวังหุ้ย ตอนนี้หวังหุ้ยก้ไม่อยู่ แต่ทิ้งจดหมายไว้บอกกับคุณแม่ว่า ให้หาลูกเขยที่พึ่งพาได้และแต่งงานลูกสาวเสีย เมื่อหวังหุ้ยไปสอบที่เมืองหลวง เขาสอบติดประกาศอันดับหนึ่งถึงสามครั้ง ได้รับตำแหน่งสูงมาก และฮ่องเต้ก็สถาปนาเป็นจินกั๊วกง

นิทาน   2  :  ที่ซินเจี้ยน  มีช่วงข้าวยากหมากแพง มีครอบครัวหนึ่งจนถึงที่สุด ทั้งบ้านเหลือข้าวแค่ขีดเดียว จึงหุงข้าวแล้วใส่ยาพิษลงไป หวังว่าสามีภรรยากินอิ่มสักมื้อแล้วค่อยตาย กำลังจะกินข้าวอยู่พอดี  ผู้ใหญ่บ้านก็เข้ามาทวงเงินหลวงที่ยืมไป  เห็นข้าวสุกพอดี คิดจะลงไปกินข้าว คนจนผู้นี้จึงเข้าห้ามผู้ใหญ่บ้านแล้วว่า "ข้าวนี้ไม่ใช่ข้าวที่ท่านควรกิน"  ว่าแล้วร้องไห้เล่าสาเหตุให้ฟัง ผู้ใหญ่บ้านฟังแล้วก็ให้สงสาร จึงพูดกับเขาว่า  "ทำไมเจ้าถึงจนขนาดนี้ ถึงแม้บ้านข้าจะขาดแคลน แต่ก็ยังมีข้าวอยู่ห้าถัง เอาอย่างนี้ เจ้าตามไปที่บ้านข้าแบ่งข้าวมากิน พออยู่ได้อีกหลายวัน"  คนจนผู้นั้นแบกข้าวกลับมาบ้าน พบว่าในถุงข้าวมีทองอยู่ 50 ตำลึง คนจนคิดว่านี่คงเป็นเงินหลวง จึงรีบนำกลับไปคืนที่บ้านผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่พูดว่า "นี่ไม่ใช่เงินหลวง เบื้องบนคงประทานให้เจ้า"  เขาจึงแบ่งทองให้ผู้ใหญ่ไปครึ่งหนึ่ง  ทั้งสองบ้านจึงผ่านช่วงข้าวยากหมากแพงมาได้

นิทาน   3  :  นายต่วนเอ้อปา  มียุ้งเก็บข้าวนับ 10 ห้อง พอถึงช่วงข้าวยากหมากแพง ก็คิดฉวยโอกาสทำกำไร ขึ้นราคาข้าวเสียสูงลิ่ว ทางการส่งคนมาขอยืมข้าวเพื่อช่วยเหหลือประชาชน ต่วนเอ้อปา ตอบรับคำแล้ว พอรุ่งขึ้นเช้า เห็นคนหิวโหยมาเข้าแถวรออยู่ที่หน้าบ้านเพื่อรอรับข้าว ต่วนเอ้อปา รู้สึกเสียดาย จึงไม่ยอมจ่ายข้าวให้ประชาชน ประชาชนก็ชุลมุนร้องโวยวาย  ต่วนเอ้ปาสั่งลูกน้องให้ปิดประตูบ้าน ไม่ให้คนเข้ามา  ในทันใดนั้นฟ้าก็เปลี่ยนปรวนแปรเกิดลมพายุฝน  สายฟ้าคำราม พูดแล้วก้แปลก ข้าวในยุ้งของต่วนเอ้อปา  ไม่รู้ทำอีท่าไหน หลุดออกมากองอยู่บนถนนเป็นกอง ๆ  ประชาชนต่างกรูเข้าไปแย่งเอา  แค่พริบตาก็หมดเกลี้ยง  ต่วนเอ้อปาก็ถูกฟ้าผ่าตายไป

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื้อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                                  บทที่สี่

                                                สั่งสมกุศล

         คัมภีร์  :  เห็นเขาได้ดีเหมือนตนได้ดี  เห็นเขาสูญเสียเหมือนตนสูญเสีย

อธิบาย  :  เมื่อเห็นคนอื่นดวงดีกำลังได้ีดี ก็เหมือนตนกำลังได้ดีทั้งยังต้องไปช่วยพยุงให้เขาดีขึ้นไป ถ้าเห็นเขาดวงตกก็ให้เหมือนตนดวงตก จึงต้องฉุดช่วยคุ้มครอง  แต่คนปัจจุบัน เห็นผู้อื่นตกอับก็ไม่รู้สุกเหมือนตนตกอับ สาเหตุเพราะความเห็นแก่ตัว หวังเอาแต่ได้กลัวการสูญเสีย ทั้งยังกล่าวว่า ผู้อื่นจะได้ ทั้งยังสบายใจถ้าทำให้ผู้อื่นสูญเสีย เริ่มแรกก็เพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเท่านั้น ต่อมาก็ค่อย ๆ ระวังทำร้ายเขา ด้วยความอิจฉาความสำเร็จของคนอื่น อันที่จริง คนกับงาน จะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ไม่เกี่ยวกัน ที่เป็นเช่นนี้ ตนเองเป็นผู้ทำลายจิตใจของตนเอง เป็นการปลูกเหตุแห่งความชั่ว ที่สุดเป็นการทำลายตนเอง เขาไม่รู้ถึงการบำเพ็ญของปราชญ์อริยะ ก็คือการขจัดทำลายความเป็นตัวตน เพื่อให้เขาถึงผู้อื่น จึงจำเป็นต้องตัดอารมณ์ปุถุชน หากสามารถเข้าถึงว่าผู้อื่นกับตนเองเป็นกายเดียวกัน การได้เสียล้วนเป็นเรื่องของชะตาฟ้า เช่นนี้แล้วเมื่อเห็นการได้ของเขาก็จะไม่อิจฉา แล้วยังจะไปผดุงเขาช่วยเหลือเขา อย่างนี้จึงจะเป็นประโยชน์ที่แท้จริง

คำคม  :  ธรรมาจารย์เหลือนฉือ ในสมัยหมิง กล่าวว่า "มนุษย์ถูกรูปสมบัติ เกียรติ  ลวงหลอกเอา แต่ละคนมีพลังสติที่จะเผชิญหน้าต่อการลวงหลอกนี้ไม่เท่ากัน อาตมาจะเปรียบเทียบอธิบายให้ฟัง  "สมมุติว่าที่นี่มีกองไฟ  ข้างกองไฟมีสิ่งของวางไว้  5  ชนิดไม่เหมือนกัน  มีฟางแห้ง พอเจอไฟก็ไหม้ทันที  มีท่อนไม้ ต้องมีลมช่วยกระพือก็จะติดไฟ   มีท่อนเหล็กเผาไม่ไหม้ แต่พอเผาไปนาน ๆ ก็จะหลอมละลายได้  มีน้ำแม้ยังไม่ติดไฟ แต่ไฟก็ทำให้น้ำแห้งได้ แม้เอาใส่หม้อก็ยังถูกไฟเผาจนแห้ง  มีอากาศในอากาศไม่มีสิ่งของ ไฟจะเผาเท่าไรมันก็ไม่กระทบอะไร แม้ไฟจะเผานานแค่ไหนก็ตาม ในที่สุดไฟก็มอดไปเอง" เพราะการทำให้ใจสงบ ก็ต้องมองให้เห็นเช่นนี้

นิทาน   :  แซว่เวี่ยน  เป็นมหาอำมาตย์ของเมืองเอี้ยน ไม่สามารถปฏิบัติต่อผู้คนอย่างเสมอภาคกันได้ หากยังเกิดอิจฉา ชอบใจที่คนอื่นสูญเสีย ไม่ยอมส่งเสริมนักปราชญ์ที่สามารถ ทั้งยังอิจฉาเคลือบแคลงพวกเขา เพื่อกีดกันไม่ให้ฮ่องเต้เรียกหามาใช้งาน ในที่สุดบุตรชายคนหนึ่งของเขาก็ตายในคุก  ลูกที่เหลือก็กลายเป็นคนไม่สมประกอบ ท่านกงหมิงจื่อ จึงเอาคัมภีร์ศีลให้เขาอ่าน ภายหลังการอ่านคัมภีร์แล้ว แซว่เวียนรู้สึกเสียใจต่อการกระทำของตนเอง จึงสาบานจะปฏิบัติตามคัมภีร์ศีลสั่งสอน ในที่สุดก็สามารถรักษาลูกไว้ได้คนหนึ่ง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                         คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื้อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                                  บทที่สี่

                                                สั่งสมกุศล

         คัมภีร์  :  ไม่โพทนาความชั่วเขา  ไม่โอ้อวดความดีตน

อธิบาย  :  จงอย่าได้เปิดเผยโพนทะนาความชั่วหรือจุดด้อยของคนอื่น สมควรอย่างยิ่งที่จะเก็บงำความไม่ดีของผู้อื่นให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันก็ไม่ควรโอ้อวดหรือคุยถึงความดีของตน ยิ่งต้องเก็บซ่อนความเด่นบ่มเลี้ยงความซื่อ เป็นการอบรมจิตธรรมของตนเอง  เมื่อได้ยินความไม่ดีงามของผู้อื่น ก็ให้เหมือนพวกเราได้ยินชื่อของพ่อแม่ คือหูได้แต่ฟังเท่านั้น แต่ปากพูกออกมาไม่ได้ เมื่อปากพูดไม่ได้แล้ว ถ้าหูไม่ไปฟังเสียได้ก็จะยิ่งดี เราต้องรู้บ้างว่ามีใครบ้างที่ไม่มีข้อบกพร่อง ถ้าไปโพนทะนาข้อบกพร่องของผู้อื่นก็หลีกไม่ได้ที่จะถูกถ่ายทอดออกไป เป็นการเสียหายชื่อเสียงของผู้อื่น อาจทำให้เขาต้องตกต่ำ บาปกรรมอันนี้ใครกันต้องรับผิดชอบ ถ้าไม่เป็นคนใจแคบชั่วช้าแล้วก็จะไม่ทำเรื่องแบบนี้แน่ !  สิ่งที่เป็นปมเด่นความดี ก็ควรให้เหมือนนักธุรกิจที่มี
ปัญญา คือจะเก็บซ่อนทรัพย์สินไม่เปิดเผย ถ้าหากเปิดเผยเงินทองให้คนรู้ก็จะมีอันตราย คนเราทุกคนก็ต้องมีจุดดีของเขา ที่สำคัญต้องรู้จักเก็บซ่อนความเด่น บ่มเลี้ยงจิตธรรมเช่นนี้ทุกวันไปก็จะสำเร็จในจริยวัตรของตนได้  ท่านเหลาจื่อว่า  "ผู้มีบุญอิ่ม  หน้าของเขาดูแล้วเหมือนคนเซ่อ ๆ"   ท่านจื่อซือก็กล่าวว่า  "ธรรมเพื่อผู้อื่น บัณฑิตจะไม่เผย เก็บความงามอยู่ภายใน นาน ๆ ไปสักวันหนึ่งฟ้าก็จะแจ้งชัด"  โอวาทของปราชญ์ชัดเจนออกอย่างนี้ เราควรนำมาพิจารณาให้ละเอียด ! 

คำคม   :  คุณจางหงจิ้ง กล่าวว่า  "อย่าหูเบาโยนทิ้งความดีของคน  อย่าหูเบาเชื่อคำพูดของคน  อย่าหูเบาพอใจคน  อย่าหูเบาพูดความชั่วคน"  นี่คือวิธีปฏิบัติตนที่ดี การเปิดเผยความไม่ดีของผู้อื่น เป็นรากฐานของการโหดเหี้ยม

นิทาน   :  โอวหยางซิว ในสมัยซ่ง เป็นผู้เขียนบทความยอดเยี่ยมในประวัติศาสตร์ ถือเป็นผู้มีชื่อเสียงในวรรณกรรม แต่เขาต้อนรับแขกก็พูดเรื่องการเมืองไม่พูดเรื่องวรรณกรรม แต่นายฉายหย้าง ผู้รู้เรื่องการปกครอง แต่พูดคุยกับแขกจะพูดเรื่องวรรณกรรม ไม่พูดการเมือง ทั้งสองเป็นผู้ซ่อนเร้นปมเด่นของตนดีมาก ต่อหน้าผู้อื่นจะไม่อวดอ้างความดีของตน เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้มีชื่อเสียง มีตำแหน่งข้าราชการก็สูงมาก

สรุป   :  จากเรื่องเหล่านี้ จะเห็นได้ว่า ความสามารถสู้วิชาการไม่ได้  ศักดิ์ศรีสู้คุณธรรมไม่ได้  วรรณกรรมสู้การปฏิบัติมิตรไมตรีไม่ได้  คนสมัยก่อน ก็เอาเหตุผลเหล่านี้พูดไว้ชัดเจนแล้ว  เพราะฉะนั้น การอวดความดีของตน บัณฑิตจะไม่กระทำ แต่คนสมัยนี้ มักพูดว่า  "น่าภาคภูมิ"  ติดปาก  ทุกคนฟังจนเป็นคำธรรมดาไป พวกเขาไม่ถือเรื่องผิด ต้องรู้ว่าเป็นการกวักหาความสูญเสีย ขาดผลประโยชน์ มีแต่ความนอบน้อมคนเท่านั้น จึงจะได้รับผลบุญตอบสนองที่แท้จริง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื้อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                                  บทที่สี่

                                                สั่งสมกุศล

                             คัมภีร์ :  หยุดยั้งเรื่องชั่วเผยแผ่เรื่องดี

อธิบาย  :  เราควรห้ามปรามหยุดยั้งคนไปทำชั่ว   เพื่อไม่ให้เขาแปรเปลี่ยนไปเป็นอันธพาล  ผู้อื่นก็จะไม่ต้องรับการทำร้ายจากเขา ขณะเดียวกันก็ต้องสรรเสริญสนับสนุนให้คนทำดี เพื่อให้เขาทำดีไม่เบื่อ นอกนี้แล้วคนอื่นก็พลอยให้ถูกชักนำไปในทางดีด้วย คนที่ทำชั่ว ไม่ใช่จิตวิสัยของเขาที่ทำขึ้นมาแต่แรก แต่ถ้าคน ๆ หน่งทำชั่วจนเคยตัว ชั่วขนาดหนัก ก็ฉุดช่วยลำบาก หรือว่าทั้ง ๆ ที่รู้ว่าชั่วก็ยังทำ หรือว่าไม่รู้หรือเข้าใจผิด ในที่สุดก็สร้างเวรกรรมทั่วเมือง ถ้าเรามาวิเคราะห์ตอนเริ่มต้น ก็เกิดจากความคิดที่ผิดพลาดไป อย่างไรเสีย ทุกคนก็มีจิตสำนึกที่ดี ขณะที่เขาเริ่มต้นทำชั่ว ความคิดชั่วเพิ่งจะเริ่มต้นใหม่ ๆ  หากเราพร่ำพูดตักเตือนชักจูงเขา ปลุกให้รู้ตื่น และห้ามปรามเขาจนถึงที่สุด ถ้าคนนั้นไม่มีจิตสำนึกดี ได้ผ่านการตักเตือนห้ามปรามขนาดนี้แล้ว เขาจะไม่สามารถแก้ไขความผิดไปสู่ความดีหรือ ถ้าหากโชคไม่ดี เขาได้ทำผิดมหันต์ไปแล้ว หากเราสามารถกล่อมเกลาเขาอย่างจริงใจ  ห้ามปรามเขา ขัดขวางเขา เช่นนี้แล้วใจที่ดีของเขาจะไม่เผยออกมาหรือ อาจจะตัดสินแก้ไขชำระจิตทันทีก็ได้ ในเมื่อเขาไม่ใช่ปราชญ์อริยะ จะสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างดีไปหมดได้ ถ้าหากเขามีความประพฤติหรือคำพูดที่พอจะรับฟังได้ เราก็ควรที่จะยกย่องสรรเสริญเขาทันที  ถ้าเขาเป็นคนที่ทำดีแล้ว ความศรัทธาของเขาก็จะมั่นคง ก็จะขยันทำดีเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นคนที่ยังไม่เคยทำดี พอได้ยินเราชมเชยเขา เขาก็จะชื่นชมเอาอย่างตัดสินใจไปปฏิบัติ อย่างนี้แล้ว จะไม่ใช่คล้อยตามชะตาฟ้าหรอกหรือ  ชาวเต๋าพูดว่า  "หยุดชั่วเผยดี"  ชาวพุทธว่า  "หยุดชั่วทำดี"  ชาวหยูว่า  "เก็บชั่วเผยดี"  หลักธรรมทั้ง 3 ศาสนาเหมือนกัน พูดออกมาจากปากเดียวกัน ทำให้รู้ว่า กายใจของอริยเจ้าเป็นญาณที่บริสุทธิ์โปร่งใส  ขอเพียงเป็นความหวังแค่เส้นใยเล็ก ๆ ก็จะไม่ปล่อยให้ไป ดุจกระจกใสส่องของ ส่องทันทีที่เห็นภาพออกมาทันที การที่สามารถเห็นภาพทันทีก็แสดงว่า เราสามารถกล่อมเกลาแปรเปลี่ยนได้ทันที เพราะฉะนั้น เมื่ออริยเจ้าเห็นความชั่วก็จะสามารถเอาความชั่วออกให้ละลายหายทันที  พอเห็นความดีก็จะสามารถขยายให้สว่างได้ทันที  เพราะฉะนั้น อริยเจ้าที่หยุดยั้งเรื่องชั่งเผยแผ่เรื่องดีก็คือการฟื้นฟูองค์จิตที่สมบูรณ์อยู่แล้วของเวไนยสัตว์ ให้กลับคืนมาใหม่นั่นเอง

คำคม   :  " หยุดยั้งความชั่วของตนได้ ก็ไปหยุดยั้งความชั่วของผู้อื่นได้ เผยแผ่เรื่องดีของผู้อื่นได้ ภายหลังก็สามารถตักเตือนคนให้ทำดีได้"

Tags: