collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า : คำนำ  (อ่าน 144139 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๓

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  โยนเคราะห์ขายชั่ว

อธิบาย  :  เอาเคราะห์ภัยตนเองโยนไปให้ผู้อื่น เหมือนแต่งลูกสาวไปกับคนอื่น ความชั่วบาปถ่ายโอนไปให้ผู้อื่น เหมือนการขายของให้ผู้อื่นต้องมีคนรับซื้ออันที่จริงคนแบบนี้ในเมืองมีไม่น้อย จิตใจเล่ห์เหลี่ยมร้ายกาจมาก คนแบบนี้ผลลัพธ์สุดท้ายน่ากลัวนัก เพราะในที่สุดแล้วเคราะห์ร้ายที่โยนออกไป ความผิดที่ขายไปก็ย้อนกลับมาสู่ตัว เพราะฉะนั้น การกระทำเช่นนี้ ไม่มีอะไรดีเลย ! 

นิทาน  :  ที่เมืองเจ๋อเจียง มีคนชื่อ เฉินชี เป็นคนที่ไม่เอาถ่าน ขอเพียงในหมู่บ้านเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกัน เขาก็จะไปหาฝ่ายหนึ่งแล้วพูดว่า "พวกท่านหาเหล้ามาให้ข้า ๆ จะดื่มจนเมา เอาเงินมาให้ข้า ๆ จะไปแก้แค้นมัน ข้าจะเอาความยุติธรรมมาให้"  ก็ให้มีคนตอบรับ เขาก็อาศัยความเมาไปคิดบัญชีฝ่ายตรงข้าม  ไปด่าทอ ไปตบตี เขาทำเต็มที่ เขายังช่วยวางแผนแก้แค้น ขอเพียงได้เงินก็ทำให้ เรื่องเลวทั้งหลายรับทำหมด มีอยู่วันหนึ่ง เขาก็ถูกคนจ้างให้ไปรับโทษที่จวนอำเภอ ในที่สุดก็ถูกลงโทษตีจนตาย แถมศพถูกโยนอยู่ข้างถนนหน้าจวน คนมาเห็นเข้าก็ด่าว่าและหัวเราะเขาว่า "เฉินชีเอ๋ย !  ชั่วก็ขายได้ มิน่าชีวิตก็ขายได้ใช่ไหม ?.

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                  คัมภีร์กรรม  เล่ม ๓

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  ซื้อยศจอมปลอม

อธิบาย  :  ยศฐาบรรดาศักดิ์ซื้อหาเอาได้ เพื่อจะได้รับการสรรเสริญจากผู้อื่น ท่านเมิ่งจื่อว่า "สิ่งมีอยู่ภายใน ย่อมเป็นรูปภายนอก"  ท่านวงจื่อว่า "นามนั้น ที่แท้เป็นอาคันตุกะ"  เมื่อเป็นเช่นนี้ ไฉนจึงสามารถซื้อหาเอามาทำไม ?. การซื้อหามาต้องใช้เงินทองหรือไม่ก็ต้องวางแผนเกี่ยวเอามา คือ ต้องใช้วิธีการกล่อมเอาด้วยเล่ห์กระเท่ห์ พวกเรามักพบเห็นได้เสมอ ๆ ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นขุนนางผู้จงรักภักดีหรือบุตรกตัญญู หรือหญิงหม้ายผู้สงวนตัวตลอดจนสุภาพชน เมื่อถึงคราวที่พวกเขามีเกียรติยศเสวยสุข ก็ต้องพบกับสภาพความลำบาก ได้รับอันตรายอุปสรรคมาบ้าง เช่นนี้เป็นเพราะเหตุใด ?. อันที่จริงแล้วชื่อเสียงเป็นบุญตอบสนองอีกชนิดหนึ่ง แต่ฟ้าดินผีสางเทวดาจะไม่ยอมปล่อยให้คน ๆ หนึ่งได้รับบุญตอบสนองครบสมบูรณ์หมดหรอก เพราะฉะนั้นถ้าด้านหนึ่งอุดมสมบูรณ์ ก็ต้องให้อีกด้านหนึ่งพร่องขาด  มันเป็นหลักธรรมที่แน่นอน ตามความเป็นจริงแล้ว การซื้อที่ได้มาไม่เป็นไปตามความจริง แต่ดันทุรังไปซื้อหาเอามาเช่นนี้  ดังนั้น อุปสรรคที่เขาจะต้องเจอะเจอเป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ถึง ท่านอูเถี่ยเจียวกล่าวว่า  "ปัจจุบันมีนักศึกษา บทความของเขาสามารถพิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่ไปได้ทั่ว แต่ทุกครั้งที่สอบเขากลับสอบไม่ติด ข้าราชการบางคนมีชื่อเสียงมากในหมู่ชาวบ้าน ประชาชนต่างสรรเสริญถึงการปกครองของเขาว่ามีคุณธรรม ถึงกระนั้นก็ตาม เขาก็ยังรั้งอยู่กับตำแหน่งเก่านานนับสิบปี โดยไม่มีโอกาศได้เลื่อนยศเลย คงเป็นเพราะเขาขาดการซื้อยศตำแหน่งกระมัง ! 

นิทาน   :  ในสมัยซ่ง ฉินซีอี๋ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ได้เคยกล่าวเตือนจ้งฝั้งว่า "นับตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชื่อเสียงเป็นเครื่องเล่นสวยงาม ที่ผู้คนยินดีชื่อชอบแต่กลับผีสางเทวดากลับเป็นเรื่องอริยอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นใต้ฟ้าดินนี้ จะไม่มีใครมีชื่อที่งดงามสมบูรณ์ได้ !  ตอนนี้ชื่อเสียงของเธอกำลังมาแรง แต่ต้องมีอะไรมาทำลายเธอแน่นอน ทำให้เธอล้มเหลว เพราะฉะนั้น เธอต้องระมัดระวังเป็นพิเศษนะ !"  ต่อมาชีวิตช่วงปลายของเขารักษาไม่อยู่ เป็นจริงดังว่า เป็นเพราะที่เขาใช้รถนั่งตกแต่งหรูหราฟุ่มเฟือยเกินไป ด้วยเหตุนี้เขาจึงสูญเสียชื่อเสียงที่งดงามนั้นไป 

        ด้วยความสามารถของจ้งฝั้ง แต่เป็นเพราะตนเองเสวยสุขในวัตถุเกินไปจนล้มละลาย แล้วปัจจุบันพวกที่มีชื่อเสียงจอมปลอม  บทนิพนธ์ปลอม  เรียนธรรมจอมปลอม  เป็นผู้ดีจอมปลอม  ทั้งที่นั่นที่นี่ต่างช่วยกันกระพือแบรนแนมสร้างระดับกัน เมื่อความล้มสลายของอนาคตมาถึง เมื่อน้ำลดตอผุด คิดไม่ถูกเหมือนกันว่าจะออกมาในรูปแบบไหน พวกเราก็พบกันได้บ่อยไป เมื่อคนระดับมีชื่อเสียงได้รับภัยเคราะห์ เมื่อเทียบกับคนธรรมดาแล้วแย่กวากันมากนักเพราะฉะนั้น พวกมีชื่อจอมปลอม ควรเอามาเป็นอุทาหรณ์สอนตัว คนที่สร้างชื่อจอมปลอม ไม่เพียงตัดบุญของตนเท่านั้น ยังเป็นการชักนำภัยเคราะห์ที่ร้ายแรงมาถึงตัว เพราะฉะนั้น การทำความดีสร้างกุศล ที่มีค่ายิ่ง คือไม่ต้องให้ใครรู้ จึงจะเป็นกุศลลับแท้ เบื้องบนจะสนองตอบไม่เหมือนกันแน่นอน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๓

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  หน้าเนื้อใจเสือ

อธิบาย  :  ใบหน้าจะยิ้มแย้มต้อนรับคนอย่างดี เหมือนคนใจดี แต่ภายในกระดูกจะคตงอ เต็มไปด้วยอันตราย ใจเหี้ยมกว่าเสือ  ศุรางคมสูตรว่า "พื้นใจราบเรียบแล้ว โลกนี้ก็มีสันติภาพ"  หมายความว่า จะรู้สภาพทุกสิ่งอย่างก็อยู่ที่ใจสร้างขึ้น เมื่อถึงคราวที่ใจของพวกเราสามารถทำให้เสมอภาคกันได้อย่างแท้จริงแล้ว ก็สามารถที่จะโดนใจโน้มน้าวให้โลกเปลี่ยนแปลงมีสันติภาพได้  เพราะว่าคนที่มีจิตใจเลวทรามโหดเหี้ยม ในทรวงอกจะเก็บซ่อนอาวุธร้าย เพราะรอคอยจนคนไม่ระวังสังเกต ระหว่างที่พูดจายิ้มแย้ม เขาก็สามารถปล่อยอาวุธร้ายออกมาได้ยามคนเผลอ คนจิตใจโหดเหี้ยมเช่นนี้ แม้ภูเขาสูง สันเขาชัน  แม่น้ำลึกที่ไหลเชี่ยวกราก ก็ยังเทียบกับเขาไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านเหลี่ยวฝานกล่าวว่า "ผีสางเทวดาฟ้าดินเบื่อหน่ายที่สุดก็คือ คนที่โหดเหี้ยม  เพราะฉะนั้น การตอบสนองของฟ้าดินต่อคนโดหดเหี้ยม การลงโทษจึงมักหนักเป็นพิเศษ  เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงนะ ! 

นิทาน  :  ขุนนางใหญ่ ลี่อี่ปู่ ในสมัยถัง เป็นผู้ร่วมบริหารราชการแผ่นดิน ตำแหน่งคล้ายมหาอำมาตย์ ใบหน้าของเขาละมุนละมัยและอ่อนน้อม เวลาเจรจากับใครใบหน้าเขาจะยิ้มเล็กน้อย แต่ความเป็นจริงแล้วเขาคตในข้องอในกระดูก โหดเหี้ยมมาก อิจฉา ใจแคบ ชอบใส่ร้ายทำลายคน คนในสมัยนั้นต่างเรียกเขาว่า "มีมีดในรอยยิ้ม"  และเนื่องจากมือสังหารของเขาจะนิ่มนวล คนในสมัยนั้นจึงเรียกเขาว่า "แมวลี่"  ตอนหลังเกิดเรื่องขึ้นถูกราชสำนักปลดออกจากตำแหน่งและเนรเทศไปอยู่ที่กันดารจนตาย ลูกหลานก็ตายสาปสูญ !   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                 คัมภีร์กรรม  เล่ม ๓

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  ขัดขวางความดีเขา

อธิบาย  :  ขัดขวางความดีผู้อื่น ทำให้เขาไม่ก้าวหน้า  บัณฑิตย่อมยินดีเจรจาถึงเรื่องดีของผู้อื่น และไม่อำพรางปิดบังความชอบของผู้อื่น อันความดีของผู้อื่นนั้น ควรช่วยกันบ่มอบรม ทำให้เขาสามารถก้าวหน้าขึ้นไปจนกว่าจะมีประกายแจ่มใสสุดความสามารถของเขา  ถ้าหากไปขัดขวางกดทับเขาไว้จนโงหัวไม่ขึ้นหรือหมดกำลังใจ การที่เราไม่สามารถช่วยเจริญพัฒนาความดีของเขาเป็นเพราะความอิจฉาของตนเอง เข้าทำนองไม่อยากให้คนอื่นได้ดี ข้ามหน้าข้ามตาตนเอง ! 

นิทาน   :  นักกวี เหลียวชิง ในสมัยซ่ง แต่งกลอนเก่งมาก มีชื่อเสียงดี เขามักไปเที่ยวในเมืองหลวงบ่อย ๆ มีคนเอากลอนที่เขาแต่งเขียนไว้ที่กำแพงพระราชวัง ฮ่องเต้ซ่งจิงจงเห็นกลอนของเหลียวชิงเข้าก็ยกย่องชมเชยเป็นอย่างมาก ทั้งยังถามว่า "กลอนนี้ใครเป็นผู้แต่ง ! คนนี้แต่งกลอนดีมาก ขุนนางผู้ใหญ่ทำไมไม่ช่วยแนะนำให้ข้า" ขุนนางกังฉิน เต็งอุ้ย กราบทูลฮ่องเต้ว่า "นิสัยของคนนี้สู้กลอนเขาไม่ได้ !" จากนั้นมา ฮ่องเต้ก็ไม่ถามไถ่อีกเลย !  จิตใจของเต็งอุ้ย  โหดร้ายเช่นนี้ เพราะฉะนั้น เขาจึงตายไม่ดี โอ้ ! ขัดขวางกดทับผู้อื่น รู้เพียงว่าต้องการปิดบังความดีของคนอื่นจึงทำเช่นนี้ ทำให้ตนเองขาดคุณธรรม !   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                 คัมภีร์กรรม  เล่ม ๓

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  ปิดบังความชั่วตน

อธิบาย   :  ปิดบังปกป้องความชั่วตน โดยไม่รู้จักว่าแก้ไข คนพาลย่อมที่จะละเมิดหลักธรรมฟ้า ไม่สนใจธรรมะ จึงปกปิดอำพรางความผิดของตน แค่นั้นยังไม่พอ แถมยังเปรียบเทียบว่าตนเองสูงกว่าผู้อื่น อ้างชาติตระกูลสูงยศศักดิ์สูง เป็นต้น คือเอาแต่ได้ !  พวกเขาไม่รู้เลยว่า หลักธรรมฟ้าละเมิดไม่ได้ คือปิดฟ้าไม่มิด การปกปิดอำพรางความผิดของตนนั้น มีอยู่หลายชนิดหลากรูปแบบ คืออย่างไรเสียก็ยังไม่ยอมรับความไม่ดีของตน ก็เหมือนกับคนเจ็บป่วยที่ควรต้องรีบรักษา  หากปิดบังไม่ยอมรักษาก็จะเสียโอกาสการรักษาไป เมื่อปล่อยให้เจ็บหนักจนอันตรายเสียชีวิตก็สายเสียแล้ว ท่านจูไจ้อั้นกล่าวว่า "การปิดบังความผิดไม่ใช่แค่ปกป้องความชั่วของตนเท่านั้น แม้แต่ลูกหลานคนในบ้าน หรือแขกของครอบครัวก็ตาม สิ่งที่กระทำผิดมีโทษบาปไม่ถูกต้องต่าง ๆ ก็ถือเป็นการปิดบังความผิดทั้งนั้น ถ้าหากเราไม่รีบตรวจสำรวจป้องกันไว้เสียแต่เนิ่น ๆ ปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นความชั่ว โทษมหันต์ได้ แม้กระทั่งผู้เป็นบิดามารดาที่ไม่สั่งสอนบุตรหลานอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะมารดาที่ชอบคอยปกป้องปิดบังความผิดของลูก ๆ ไม่ให้ผู้เป็นบิดารู้ ซึ่งถือว่าเป็นนิสัยที่ไม่ดีเป็นอย่างยิ่ง เขาเรียกว่าเป็นโรคใหญ่อย่างหนึ่ง !" 

นิทาน   :  นายลี่สู้เขิ่น มีหน้าที่งานโยธาของเมือง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริิตสะอาด แม้การพูดจาการกระทำก็นอบน้อมถ่อมตน ผู้ร่วมงาน นายซุนหยงเป็นคนพาลที่มีเล่ห์เหลี่ยมอันตราย นายซุนหยงกลัวนายลี่สู้เขิ่น จะเปิดโปงความชั่วของตน ทั้งยังมีความอิจฉาริษยาอยู่ด้วย ด้วยเหตุนี้จึงรีบสร้างเรื่องกล่าวหาทำร้ายลี่สู้เขิ่น  นายลี่สู้เขิ่นไม่สามารถเถียงเอาชนะเพื่อความโป่งใสของตนเองได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีความอัดอั้นเครียดจนล้มป่วยและล้มตายไปในที่สุด ลูกเมียก็โศกเศร้าเจ็บแค้นจนผูกคอตายตามกัน ไม่นานนักนายซุนหหยงก็ถูกฟ้าผ่าตาย ที่สีข้างของเขาปรากฏมีตัวหนังสือเขียนไว้ว่า "ปิดบังความชั่วตน ทำลายคนดี"

นิทาน   :  ในสมัยหมิง รัชสมัยเหวินเจินกง นายฉีไค้ ได้รับคำสั่งไปดูแลการศึกษาที่ภาคกลางของมณฑลเจ๋อเจียง มีบัณฑิตชิ้วไฉ คนหนึ่ง ในบทสอบเรียงความของเขาเขียนว่า "หยวนหุยทนลำบากบนโต๊ะขงจื่อ"  ท่านฉีไค้ก็ลบทิ้งและเขียนกำกับว่า "ยกเมฆ"  แล้วก็เรียงอันดับสอบไว้ที่ ๔  ทั้งยังจะลงโทษเขาด้วย บัณฑิตชิ้งไฉจึงเข้ากราบเรียนนายฉีไค้ว่า  ข้อความ  "หยวนหุยทนลำบากบนโต๊ะขงจื่อ"  มีอยู่ในหนังสือของท่านหยางจื่อฝ่า ไม่ใช่เป็นการเขียนยกเมฆของกระผม"  ท่านฉีฟังแล้วก็ลุกขึ้นมาพูดกับบัณฑิตชิ้วไฉว่า "ฉันโชคดีที่ได้รับราชการก่อนเธอ ความจริงแล้วฉันไม่มีความรู้อะไรมากนัก เพราะฉะนั้นก็เลยบกพร่อง กล่าวโทษเธอไป เป็นความผิดพลาดหนักนัก !"  เพราะฉะนั้น จึงแก้ไขปรับให้เธอได้อันดับหนึ่ง ผู้คนในสมัยนั้นต่างก็พากันชื่นชมถึงน้ำใจมีใจกว้างของท่านฉีเป็นอันมาก ต่อมาตำแหน่งของท่านฉีได้เป็นถึงมหาบัณฑิต

        คนทที่มีบุญวาสนา น้ำใจจะกว้างสามารถรับได้ทุกอย่าง เมื่อผิดพลาดก็จะไม่ปิดบังความผิดของตนเองไว้ เมื่อเห็นนิทานนี้ก็จะเข้าใจในหลักธรรมนี้ผู้ที่จะเรียนพุทธธรรม ก่อนอื่นต้องขจัดอัตตาของตนเองออกไปก่อน พูดถึงขันติก็ต้องกล่าวถึงการกดข่มตนเองไว้ก่อน สิ่งเหล่านี้ก็คือ การขจัดโรคปกปิดความชั่วของตนเองทั้งนั้น !     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๓

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  ใช้อิทธิพลข่มขู่

อธิบาย   :  การใช้อำนาจอิทธิพลข่มขู่ บังคับขู่เข็ญเอาด้วยพละกำลัง ก่อนหน้านี้เราพูดถึงคำ "อวดอำนาจข่มขู่"  มีความหมายใช้อำนาจอิทธิพลข่มขู่ตาม
อำเภอใจแค่นั้น แต่การใช้อิทธิพลข่มขู่ คือการใช้พละกำลังจริง ๆ อย่างเช่น ข้าราชการใช้บทลงโทษรุนแรงมาข่มขู่ราษฏร เช่น บังคับราษฏรมาทำงาน ทั้งยังมีกำหนดให้งานต้องเสร็จ เป็นต้น หรือพวกที่ทวงหนี้เก็บเงิน เร่งรัดข่มขู่ยิ่งกว่าพญายม หรือพวกเศรษฐีที่ข่มเหงรังแกผู้หญิง หรือข่มขู่ให้ขายนา ขายที่
ดิน  หรือใช้มาตรการรุนแรงในการตามหนี้หรือทวงค่าเช่า เป็นต้น ล้วนเป็นการใช้อิทธิพลข่มขู่ทั้งสิ้น พวกนี้ต้องถูกฟ้าพิโรธหรือชาวบ้านแค้นสักวัน ไม่มีหรอกที่ไม่ถูกกรรมตามสนอง ! 

นิทาน   :  สมัยฮั้นมีประวัติบันทึกไว้ ที่เมืองชวนเฉิน เจ้าเมืองนามว่า เจียวฟง ทั้งโลภมากทั้งป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรม มีอยู่วันหนึ่ง เจ้าเมืองเจียวฟง ได้กลายเป็นเสือตัวหนึ่ง เข้ามาเที่ยวกินคนในเมือง ชาวบ้านก็พบเสือตัวนั้นเข้าก็ร้องเรียกว่า เจ้าฟง !  พูดแล้วก็แปลก เมื่อเสือได้ยินชาวบ้านเรียกว่า เจ้าฟง !มันก็เชื่องลงกวักแกว่งหาง ในที่สุดมันก็จากไป ในตอนนั้นชาวบ้านก็แต่งเพลงพื้นบ้านว่า "อย่าเอาอย่างเจ้าเมืองฟง ยามมีชีวิตไม่บริหารบ้านเมือง ยามตายแล้วก็เที่ยวกินคน"  ความหมายคือ  "เมื่อรับราชการก็อย่าเลียนแบบเจ้าเมืองฟง !  ยามมีชีวิตอยู่ก็ไม่บริหารงานราชการดี ๆ แม้ตายแล้วก็กลายเป็นเสือมากินคน" นิทานเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ให้ประชาชนและข้าราชการเป็นกระจกส่องตน" 

อธิบาย  :  ตระกูลร่ำรวย ถ้าใช้อิทธิพลบังคับข่มขู่ชาวบ้านถือว่าไม่เป็นผู้ชนะ ทำไมพวกเขาจึงมีลูกพันธุ์นี้ด้วย หากเข้าใจได้กว้าง ถึงใจที่เมตตาตอนวัยเด็กว่า ทุกเรื่องล้วนจะเตือนพ่อแม่ไม่ให้ใช้อิทธิพลข่มขู่บังคับ จึงเป็นการสั่งสมบุญกุศล เช่นนี้จึงจะได้รับโชควาสนาตอบสนอง เรื่องเช่นนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง !   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๓

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  ทำลายฆ่าป่าเถื่อน

อธิบาย   :  ปล่อยให้ฮึกเหิมกระทำป่าเถื่อน ทำลายล้างฆ่าผู้คน การทำลายฆ่าป่าเถื่อนนี้ไม่ใช่พวกขุนพล รัฐมนตรี ข้าราชการ เท่านั้นที่ทำผิดได้ ราษฏรก็ทำผิดได้เช่นกัน แต่ที่ร้ายที่สุดก็คือ การใช้กองทหารมาทำลายล้างฆ่าอย่างป่าเถื่อน อันดับถัดไปก็คือ ขบวนตุลาการที่ใช้ระบบพิพากษา ซึ่งง่ายที่จะลงโทษผู้บริสุทธิ์ การกระทำเช่นนี้ ถือว่าป่าเถื่อนที่สุดแล้ว ทั้งยังปล่อยให้ใจกระหยิ่มกระทำรุนแรง !  แบบนี้เผยให้เห็นถึงการกระทำชั่วยิ่งใหญ่ที่สุดแล้วอย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ใช้พละกำลังฮึกเหิมกระทำป่าเถื่อน แต่ถ้าไม่ฮึกเหิมป่าเถื่อน กลับกันมีใจกรุณาปลดปล่อย ก็จะช่วยชีวิตคนได้อีกจำนวนมาก แบบนี้ก็เผยให้เห็นการกระทำของใจที่การุย์ 

        "ทำลายฆ่า"  มิใช่กระทำแต่กับชีวิตคนเท่านั้น ยังรวมมหมายถึง การทำร้ายชีวิตสัตว์ด้วย นี่ก็เป็นเรื่องที่ควรรู้เอาไว้ด้วย

        นิทาน   :  ในสมัยหยวน ที่เมืองกวางโจว หวงถงจือ สองสามีภรรยา ต่างก็ล้มป่วย ถึงแยกเตียงนอน พักผ่อนรักษาไข้ ภรรยาเขาได้ฝันถึงยมโลก ยมทูตได้ถือสารและสมุนหลายคน มือก็ถือโซ่ตรวนกุญแจ แล้วก็เปิดมุ้งของเธอ ขณะที่จะจับเธออยู่นั้น ก็พูดว่า  "อี้ !  ไม่ใช่คนนี้นี่ !"  แล้วก็ตรงไปที่เตียงตรงข้าม เปิดมุ้งตรวจดูและพูดว่า " ใช่แล้วคนนี้นี้แหละ !"  สามีภรรยาต่างก็ตกใจตื่น นายจวงถงจือ จึงพูดกับภรรยาว่า "ฉันต้องตายไม่ต้องสงสัยเลย !  เพราะตอนที่ข้ารับคำสั่งที่เมืองเจียวอัน ได้ฆ่าผู้บริสุทธิ์ไปหลายคน ตอนนี้พวกเขาพากันมาทวงชีวิตจากข้าแล้ว"  วันรุ่งขึ้น นายหวงถงจือก็ตายลง 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                  คัมภีร์กรรม  เล่ม ๓

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  ตัดผ้าไร้เหตุ

อธิบาย   :  ไม่มีเหตุผลก็เอาพวกผ้ามาตัด หรือตัดผ้าแพรต่วนเล่น ในสมัยโบราณ เครื่องทอผ้ายังไม่เจริญ ผ้าที่ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ล้วนต้องใช้สตรีเป็นผู้ถักทอ กว่าจะทอผ้าได้แต่ละผืนต้องใช้ด้ายนับพัน ๆ เส้น ผ่านการสางด้วยมือ ถ้าจำนวนไม่พอหรือไม่ครบก็ยังลงมือทอไม่ได้ ผ้าแต่ละผืนจึงต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจมหาศาล แล้วเราจะทนที่จะตัดผ้าให้เสียหายได้อย่างไร ยิ่งพวกแพรไหมแล้ว จะต้องอุทิศด้วยชีวิตของตัวหนอนนับหมื่น ๆ ชีวิต จึงจะสำเร็จ จึงยิ่งต้องทะนุถนอมผ้าให้มาก ๆ ถ้าตัดเล่นโดยไม่มีสาเหตุไม่ได้ ถ้าตัดเพื่อทำเป็นเสื้อผ้าใส่ก็ไม่ถือเป็นความผิดอะไร

นิทาน   :  ภรรยาของจ้าวสือโจว นางหวังซื่อ ตายไปหลายวันแล้ว วิญญาณได้มาเข้าร่างสาวใช้และพูดว่า "ยามมีชีวิตฉันชอบสุรุ่ยสุร่าย ใช้้ผ้าแพรต่วนไหมไปมาก เวลาล้างเท้าสระผมก็ใช้น้ำมากมาย ทางยมบาลก็เอาเรื่องนี้กำหนดลงโทษฉัน จะถูกเฆี่ยนตีทุกวัน ๆ ฉันหวังว่าพวกเธอจะเอาเรื่องของฉันช่วยไปบอกคุณสือโจวด้วย !"  คนในบ้านของจ้าวสือโจวได้ยินแล้วต่างรู้สึกไม่สบายใจ

นิทาน   :  ในบ้านของจูอู๋ซี่ ร่ำรวยมั่งมี ภรรยาเขาใส่เสื้อผ้าล้วนมีราคาและมีแบรนด์แนม เสื้อผ้าจะมีการปักลายสีสัน ล้วนทำมาจากไหม แม้แต่ถุงเท้าก็ทำจากแพรต่วน บรรดาเมียน้อยก็ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายไม่น้อย ต่อมานายจูอู๋ซี่ก็ตายลง หลังจากนั้นบรรดาเมียของเขาก็ตกอับ แม้แต่ถุงเท้าขาด ๆ ก็ยังใส่ จะไปขอผ้าคนอื่นสักฟุตหนึ่งก็ยากมาก

อธิบายต่อ   :  ลองดูฮ่องเต้ กษัตริย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อย่างฮ่องเต้เหวินกง สมัยจิ้น ถึงแม้อากาศจะเย็นก็ไม่ยอมใส่เสื้อขนสัตว์สองตัว หลิวว่งจู่มักใส่ผ้าฝ้ายขาด ๆ ไว้ข้างใน พระสนมของฮ่องเต้ฮั้นเหวินตี้ สวมเสื้อผ้ากระโปงก็จะไม่ให้ลากถึงพื้น  ราชินีหม่าของกษัตริย์ไท้จูในราชวงศ์หมิง จะใส่แต่ไหมหยาบ กษัตริย์ถังเหวินจง มักจะยื่นแขนเสื้อให้เหล่าขุนนางดู แล้วพูดว่า "เสื้อตัวนี้ที่ใช้แล้วได้ผ่านการซักถึง ๓ ครั้ง"  (ประเทศจีนกรุงปักกิ่ง  อากาศหนาว เพราะฉะนั้น เสื้อผ้าจะใส่กันทีละหลาย ๆ เดือน จึงจะซักกันที)  กษัตริย์ชงอี่จู เห็นพระธิดาฉลองชุดสั้นปักลายมีสีสัน ก็จะสอนนางว่า "มั่งมียศศักดิ์ก็ต้องรู้จักถนอมบุญ !"  ที่กล่าวถึงบรรดากษัตริย์ก็ดี ราชินีก็ดี พระสนมก็ดี องค์หญิงก็ดี ถ้าเอาความเป็นผู้ดีของเบื้องสูง ยังรู้จักถนอมบุญเช่นนี้  แล้วบ้านของราษฏรเล่ากลับแข่งขันกันแต่งตัว ประชันความเด่นดัง สุรุ่ยสุร่ายตามอำเภอใจเช่นนี้แล้ว ก็เป็นการเริ่มต้นสร้างวิบากกรรมสุรุ่ยสุร่าย อนาคตก็ได้รับเคราะห์ภัยจากการฟุ่มเฟือย ลองดูปัจจุบัน คนที่แทบจะไม่มีอะไรปิดตัว ต้องทนหิวโหยหนาวเหน็บ อาจเป็นลูกหลานของบ้านที่่ำร่ำรวย แต่งตัวฟุ่มเฟือยก็ได้นะ !

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                 คัมภีร์กรรม  เล่ม ๓

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  ฆ่าสัตว์ไร้จริยธรรม

อธิบาย   :  ละเมิดหลักจริยธรรม เข่นฆ่าสัตว์เดรัจฉาน ในบันทึกบทจริยธรรมของท่านขงจื่อว่า "โอรสสวรรค์ ไม่มีเหตุผลจะไม่ฆ่าโคกระบือ  มหาอำมาตย์ไม่มีเหตุผลจะไม่ฆ่าแกะ  ข้าราชการไม่มีเหตุผลจะไม่ฆ่าสุกร สุนัข"  ท่านเมิ่งจื่อกล่าวว่า "ผู้เจ็ดสิบรับประทานเนื้อได้"  เพราะว่าอริยเจ้ามีคุณธรรมให้ชีวิิตเกิดขึ้น จึงไม่ฆ่าสัตว์ตามใจ จะมีต่อเมื่อมีการเซ่นสรวง เลี้ยงแขก เลี้ยงบิดามารดา จึงต้มตุ๋นเป็ดไก่ปลา จะกระทำด้วยความจำเป็น มิได้สอนให้ราษฏรไปฆ่าสัตว์ทุกวันมาต้มตุ๋นตามความพอใจของปากก็หาไม่ การทำแบบนี้ถือว่า ไร้จริยธรรม

        ท่านไท่ซั่ง เมตตาก็พูดไว้แต่แรกแล้วว่า  "หนอนหญ้าต้นไม้ทำลายไม่ได้"  การพูดกับชาวโลกก็ต้องมีขั้นตอนระดับหนึ่ง เพื่อให้ชาวโลกรู้จัก  "จริยธรรม"  เพื่อให้พวกเราไม่ก้าวล่วงกฏระเบียบ นี่คือ สิ่งที่อริยเจ้าอนุโลม ให้ใช้ด้วยความจำเป็น"  ศูรามคมสูตรว่า "ถ้าคนทั้งหลายไม่รับประทานเนื้อ ก็จะไม่มีใครไปฆ่าทำ้รายสรรพสัตว์เลย"  แต่คนในปัจจุบัน ไม่มีทางปฏิบัติถึงการงดเว้นรับประทานเนื้อสัตว์ได้  ก็สามารถใช้วิธีเริ่มต้นคือ ขจัดใจคิดฆ่าของตนเองก่อน ฝึกหัดไม่กินเนื้อสี่ชนิดของบุพชน  หนึ่ง เห็นสัตว์นั้นถูกฆ่าไม่กิน   สอง ได้ยินเสียของสัตว์ที่ถูกฆ่าไม่กิน   สาม สัตว์นั้นถูกฆ่าให้เรากิน ไม่กิน  และสี่ สัตว์ที่คนเลี้ยงเอาไว้ไม่กิน ให้เคร่งครัด รักษากฏ  ๔ ข้อนี้ ถ้าไม่กระทบต่อการกินปกติแล้วก็ถือว่าไม่ได้ฆ่าสัตว์ทำร้ายพวกเขา  ในปัจจุบันพวกโค กระบือ และสุนัข มันมีบุญคุณกับมนุษย์มาก จึงต้องงดกินเนื้อของมัน ถ้าหากทำได้ภาวะการฆ่าสัตว์ไร้จริยธรรม ก็จะลดน้อยลงได้

นิทาน   :  ที่เจียงไปย่ มีคน ๆ หนึ่ง ได้ยังนกห่านป่าตัวผู้ตัวหนึ่ง และก็นำมาทำอาหารรับประทาน ขณะนั้นนกห่านป่าตัวเมียก็บินมาดูและไม่ยอมจากไป และอาศัยจังหวะที่เขาเปิดฝาหม้อต้มอยู่นั้น ก็บินทิ้งตัวลงในหม้อให้ต้มรวมอยู่กับนกห่านป่าตัวผู้ ผู้คนแถบเมืองเจียงไปย่ได้รู้เรื่องนี้เข้า ต่างพากันซาบซึ้ง หลังจากนั้นพวกเขาก็เลิกกินนกห่านป่าอีก ในสมัยนั้น ก็มีนักกวีชื่อ หยวนเฮ่าเวิ้น ก็นำเอาซากนกห่านป่าคู่นี้ไปฝังรวมกัน และบริเวณที่ฝังนกก็ตั้งชื่อว่า เนินนกห่านป่า  แต่คนที่ยิงนกห่านป่าคนนั้น ไม่นานนักก็ตาย หลังจากเขายิงนกห่านป่า

นิทาน   :  มีนักศึกษาคนหนึ่งที่เมืองซินอัน ไปเรียนหนังสือที่หวงซาน เขาชอบจับลิงค่างตามภูเขามากินเป็นประจำ ต่อมาเมื่อภรรยาเขาให้กำเนิดลูก มีความทุกข์ทรมานมาก ท้ายที่สุดใหเกำเนิดลูกลิงค่างตัวหนึ่ง

นิทาน   :  มีนักฆ่าวัวชาวเมืองอวี่โจว ทุกครั้งที่เขาจะลงมือฆ่าวัว เขาจะเรียกลูกชายให้มายืนดูข้าง ๆ เพื่อเรียนวิชาฆ่าวัว หวังว่าอนาคตเขาจะได้รับหน้าที่อาชีพฆ่าวัวต่อไป มีวันหนึ่ง คนฆ่าวัวก็นอนหลับไป ลูกชายเห็นพ่อนอนหลับเป็นวัวตัวหนึ่ง จึงถือมีดเข้าไปแล้วสับหัววัว ทั้งยังสับจนหัววัวขาด ชาวบ้านเห็นเหตุการณ์ต่างพากันตกใจ ก็ถามลูกชายว่า ทำไมจึงทำอย่างนี้ เจ้าลูกชายตอบว่า "ฉันเห็นวัว ไม่ใช่เป็นพ่อฉันนี่ !  พ่อฉันมักสอนฉันให้ฆ่าวัว วันนี้ฉันเห็นวัวมันนอนอยู่ ดังนั้น จึงทดลองดู ตามที่พ่อฉันสอนให้ฆ่ามัน !" 

อธิบายเพิ่ม   :  บาปที่มนุษย์กระทำ เป็นบาปจากการฆ่าสัตว์หนักและร้ายแรงที่สุด และในบรรดาการฆ่าสัตว์ ถือว่าการฆ่าโค กระบือ บาปหนักที่สุด โดยเฉพาะคนที่กินเนื้อโค กระบือ มีบาปเท่ากับคนที่ฆ่าโค กระบือเลยทีเดียว ท่านเซียวตงไปย่ กล่าวว่า  "ฉันของเตือนชาวโลก อย่ากินนเนื้อโคกระบือ เพราะโคกระบือช่วยเหลือคนทำนา ลากรถ  มีบุญคุณต่อคนมาก กลับกันยังต้องถูกฆ่า ควรจะรู้เอาไว้ว่า ของที่เรากินนั้นมาจากไหน ?. เกินกว่าครึ่งเป็นความเหนื่อยยากของโคกระบือนะ !  พวกเราจะทนได้อย่างไร ที่ฆ่ามันมาเป็นอาหาร ?." ยังกล่าวอีกว่า "เมื่อโคกระบือถูกฆ่าแล้ว แม้ว่าร่างกายมันจะถูกแยกส่วนไปแล้วก็ตาม แตาดวงตาของมันยังเบิกโพลงอยู่เลย !  การเบิกโพลงลูกตาของมันหาใช่การเบิกเฉย ๆ นะ มันเบิกตามองดูคนที่ฆ่ามันต่างหากเล่า ดูคนที่กินเนื้อของมันว่าจะรักษาร่างกายได้นานสักแค่ไหน เวรกรรมและความแค้นเช่นนี้ ชาติหน้าไม่เกิดเป็นโคกระบือละก้อแปลกแน่ ๆ ?."  แม้แต่สุนัขยังมีบุญคุณกับมนุษย์เลย โดยเฉพาะมันจะจงรักภักดีกับเจ้าของมาก ๆ และก็ไม่มีพิษภัยกับมนุษย์เลย เพราะฉะนั้น การฆ่าสุนัขเอาเนื้อมากิน บาปกรรมก็ใหญ่เหมือนกัน ไม่เพียงแต่คนขายเนื้อหรือพลทหารที่ชอบกินเนื้อสุนัข แม้แต่นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนข้าราชการผู้ใหญ่ ก็ยังนิยมกินเนื้อสุนัข เป็นการกระทำดุจคนได้หน้า แค่นั้นยังไม่พอ ยังเปรียบเนื้อสุนัขเป็นเนื้อแพะด้วย จุดมุ่งหมายของคนเรียนหนังสือ คือต้องเข้าใจเหตุผล ทำไมจึงสับสนส่งเดชเช่นนี้ คุณซ่งอี้กล่าวว่า "ถ้าชาติปัจจุบันไม่เลิกนิสัยที่ชอบกินเนื้อสุนัขละก็  ชาติหน้าเกิดมาต้องมีหางติดมาแน่ ๆ ! "  แต่สำหรับฉันแล้ว คิดว่าไม่ต้องรอถึงชาติหน้าหรอก ลองดูคนที่ฆ่าสุนัขและคนที่กินเนื้อสุนัข ถ้าคนเหล่านี้เดินผ่านหน้าสุนัข พวกเขาก็จะถูกสุนัขเห่าเอาอย่างรุนแรง นี้เป็นเพราะสาเหตุอะไรหรือ ?. เพราะรูปลักษณ์ภายนอกของพวกเราก็ส่อแววเปลี่ยนแปลงแล้วนั่นเอง

        อย่างไรก็ตาม พวกเราเพียงคนเดียว หรือคนทั้งบ้าน ถ้าสงวนห้ามกินเนื้อโค กระบือได้  ผลที่เกิดขึ้นก็นับว่ายังจำกัดอยู่ ทำไมไม่เป็นผู้ผูกบุญสัมพันธ์ล่ะ เมื่อพบเห็นผู้อื่นก็รีบเข้าไปตักเตือนกล่อมเกลา เพื่อให้พวกเขาเลิกกินเนื้อโค กระบือเลย ทำอย่างนี้จะไม่ดีกว่าหรือ ?. ถ้าหากขอบริจาคโดยเฉพาะกับคนที่มีรากบุญดี ก็ขอบริจาคข้าวของเงินทอง เพื่อมาฉุดช่วยคนอื่น ไม่ให้ฆ่าสัตว์ ไม่กินเนื้อโค กระบือ มันไม่ทำให้เขาต้องเปลืองเงินเลยสักแดงเดียว แต่กุศลที่ได้ก็พูดไม่จบสิ้นเลยนะ !  ในบันทึกคัมภีร์กรรมก็พูดไว้ "หากสามารถตักเตือนหนึ่งร้อยคนไม่ให้กินเนื้อโค กระบือ อายุก็จะเพิ่มถึง ๒๐ ปีเลยทีเดียว" นี่ก็เป็นผลที่ชัดเจน มีพยานนะ หวังว่าพวกเราจะบังเกิดใจตักเตือนคนด้วยความจริงใจ กุศลเหนือคณานับ ! 

        สรุป   :  การอธิบายตอนนี้ ก็ลงรายละเอียดของการฆ่าสุนัขให้กระจ่างแจ้ง แต่กับการฆ่าสัตว์อื่น ๆ ก็พูดเพียงคร่าว ๆ หวังว่าท่านผู้อ่านจะพิจารณา  "เมตตาต่อสัตว์  หนอนหญ้าต้นไม้  ทนฆ่ทำลาย ยิงนกสัตว์บก"  ก็มีรายละเอียดอยู่พอแล้ว ก็พอจะเข้าใจได้แจ่มแจ้ง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                    คัมภีร์กรรม  เล่ม ๓

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  ทิ้งขว้างธัญพืช

อธิบาย   :  สุรุ่ยสุร่ายทิ้งขว้างอาหารธัญพืชตามอำเภอใจ นับแต่โบราณมา คนที่ชอบกินทิ้งกินขว้างข้าวปลาอาหาร โดยเฉพาะธัญพืช ส่วนใหญ่มักจะได้รับโทษภัยจากฟ้าผ่า เพราะว่า  "ประชาชนเห็นเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่"  แต่ธัญพืช ๕ ชนิดเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้สำหรับการเลี้ยงชีพของมนุษย์นะ่ !  การสุร่ยสุร่ายทิ้งขว้างอาหาร ถึงแม้จะถือว่าไม่ร้ายแรงนัก แต่เป็นการเหยียดหยามต่อฟ้าเบื้องบนน่ะ !  เพราะฉะนั้น กรรมตอบสนองจึงหนักหน่วงนัก ในสมัยโบราณ บุตรสวรรค์ (เจ้าแผ่นดิน) ยังต้องลงไปไถนาด้วยตนเอง มิใช่แค่ทำพิธี อริยเจ้าจะห่วงใยเกษตรและอาหารมาก แต่คนปัจจุบันกลับสุรุ่ยสุร่ายทิ้งขว้าง บางคนก็ทิ้งไว้ในนาไม่เก็บ หรือเก็บไว้ในยุ้งฉางนานเกินไปจนเสีย โดยไม่ยอมที่จะจ่ายออกมาช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ หรือเททิ้งน้ำเผาไฟทิ้งหรือเทลงดินให้คนไปเดินย่ำ หรือเลือกกินแต่ที่อ่อนปราณีตแล้วเททิ้งส่วนที่หยาบ หรือบางครั้งก็เตรียมไว้มากเกินไป ต้องเทที่เหลือทิ้ง หรือไม่ก็นำเอาธัญพืชมาเลี้ยงนกปลาตามอำเภอใจ การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการทิ้งขว้างธัญพืชทั้งสิ้น ทำให้ของสวรรค์เสียหาย มีกลอนบทหนึ่งว่า "จ่อมต้นกล้ากลางตะวันเที่ยง เหงื่อหยดเรียงใส่กล้าลงดิน ใครรู้ข้าวกลางจานทิ้งทุกเม็ดยิ่งล้วนยากลำบาก" 

        พวกเราลองคิดดู ตอนข้าวยากหมากแพง ข้าวแต่ละเม็ดดุจเม็ดไข่มุก เพราะฉะนั้น เราทนได้หรือขณะที่มีเหลือกินแล้วทิ้งขว้างตามใจ ?.  ถ้าหากทุก ๆ คนรักถนอมธัญพืช เห็นความสำคัญของเกษตรกรแล้ว มนุษย์ก็จะไม่ต้องพบกับการอดอยากหรอก ! 

นิทาน   :  ในสมัยซ่ง ทางราชเลขาฟงตู้ มักเล่าเป็นประจำว่า "ตอนสมัยข้าเป็นเด็ก เคยได้ไปกราบอาจารย์เซ็นหวินโต่ง อาจารย์จะเอาเรื่องรักหลักธรรมถนอมบุญมาพูดให้ฟังบ่อย ๆ ว่า "อายุขัยของคนจะสั้นยาวไม่แน่นอน แต่เมื่อเขาเสพบุญจนหมดแล้ว ความตายก๋มาถึง"  ตลอดชีวิตของข้าจะรักษาตามโอวาทของท่าน เพราะฉะนั้น จะไม่ยอมสุรุ่ยสุร่าย ทิ้งขว้างไม่ว่าจะเป็นอาหารอะไร !" 

นิทาน   :  นายจางอี่ฟางในสมัยหมิง ร่ำรวยมาก มีนาเป็นร้อย ๆ ไร่ แต่ละปีเก็บค่าเช่านาเป็นข้าวไม่รู้จะมากแค่ไหน เก็บไว้ในยุ้งฉางนานจนเสียก็นำเอามาเททิ้ง แม้แต่พวกถั่วงาก็เอามาเลี้ยงหมูเลี้ยงวัว คนอื่นเตือนเขาให้เอามาช่วยเหลือคนจนบ้าง เขาก็ไม่ยอมเลย ต่อมาปีที่ ๖ ฮ่องเต้เจินเต๋อ เขื่อนแม่น้ำหวงเหอพัง น้ำหลากท่วมไร่นาของจางอี้ฟางหมด กลายเป็นทะเล เพียงชั่วข้ามคืนบ้านก็ล้มละลาย ต่อมา จางอี่ฟางก็อดข้าวจนตาย

Tags: