collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า : คำนำ  (อ่าน 144127 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  ละกฏรับสินบน

อธิบาย  :  ข้าราชการที่กล้าละทิ้งกฏหมาย และรับสินบนจากชาวบ้าน เริ่มจาก  "ละทิ้งกฏรับสินบน"  มาถึง  "เห็นประหารเพิ่มโทสะ"  เป็นการพูดถึงข้าราชการสอบสวนคดี รวมถึงฝ่ายเอกสารธุรการด้วย มิใช่จะเป็นการบ่งชี้แต่ฝ่ายตุลาการเพียงอย่างเดียว หรือฝ่ายกฏหมายเท่านั้น  ท่านไท่ชั่งกล่าวว่า   "คดตรงเบาหนัก"  ต้องเริ่มจากละกฏรับสินบน เพราะว่า  "คดตรงเบาหนัก"  มันต้องอาศัยวิธีการทางกฏหมาย แต่ที่จุดเพียงมุ่งหมายทางเดียวคือคิดอยากได้เงิน เพราะฉะนั้นจึงรับเอาตามอำเภอใจ  คนให้สินบนก็มีข้อเงื่อนไขร้องขอ ที่ผิดข้อกำหนดของกฏหมาย ถ้าเป็นฝ่ายตุลาการ ที่ละทิ้งกฏหมายไม่ทำตามระเบียบแล้วอาศัยความดีชั่วของตนเอง มาตัดสินคดีนักโทษถึงความเป็นความตาย เช่นนี้ประชาชนก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี หรือว่าไม่รู้ที่ทำด้วย พวกเขาคงคิดไม่ถึงว่าการกระทำแบบนี้ อาจทำให้ฟ้าโกรธ คนกล่าวโทษแล้วตนเองต้องได้พบกับภัยพิบัติที่แปลกประหลาด

        คุณหยวนโม่วอิ๋วกล่าวว่า  "พวกที่สอบเป็นขุนนางได้ ก็คือพวกที่อ่านจนขึ้นใจ ถึงกลอนจริยาและดนตรีแล้ว ทำไมจะไม่รู้ว่าควรต้องสุจริตโปร่งใส ! หรืออาจเป็นเพราะเห็นจนเคยชินถึงวัฒนธรรมของการแสวงหาตำแหน่ง ขอให้คนช่วยสนับสนุน ถ้าไม่ใช่ของขวัญหรือไม่มีเงิน  มันก็จะไม่ลื่นไหล ตอนเริ่มต้นจะคอรัปชั่นใหม่ ๆ ก็ยังยับยั้งชั่งใจบ้าง ใจยังรู้จักอับอายไม่สบายใจ พอนานวันเข้ากลายเป็นความเคยชินกลับตัวยาก ยิ่งโลภยิ่งร้ายแรง ตอนนี้ทั้งสกปรกและเหม็นคาวอย่างยิ่ง แต่ใจคนโลภไมไ่เบื่อ ได้ร้อยตำลึงก็คิดว่าถ้าได้พันตำลึงก็จะดีกว่า การได้พันตำลึงก็คิดอยากได้หมื่นตำลึงก็จะยอดกว่า ยิ่งร้ายแรงก็คืออิทธิพลและอำนาจ  เมื่อได้แล้วเงินทองก็เต็มบ้าน เงินทองได้มากแล้วก็ว่าเท่าเก่าไปไม่พอใจ อยากได้อยู่เรื่อยไป คนข้าง ๆ เขาก็หัวเราะเอาเพราะเห็นว่าเขากำลังหลงไม่รู้ตัว ที่จริงเขารักเงินมาก จนกลายเป็นเสพติด

        พวกคอรัปชั่นนี้ ส่วนใหญ่ก็อยากให้ลูกหลานร่ำรวยเสพสุขได้นาน แต่หารู้ไม่ว่าลูกหลานกลับโง่เขลาของบรรดาเศรษฐีด้วยสาเหตุอันนี้ ซึ่งต้องพบกับภัยพิบัติที่ดับสลายกลายเป็นจุดจบ แต่ลูกหลานครอบครัวสุจริตยากจน  กลับมีความเจริญร่ำรวยขึ้น  ต้องรู้ไว้ว่า บุญวาสนามีกำหนด ถ้าหากได้เงินที่สกปรกไม่ถูกต้อง ก็เป็นการสั่งสมวิบากกรรมให้ลูกหลาน ต้องชดใช้ อย่างนี้ไม่ใช่บุญวาสนาแล้ว ตลอดจนผู้ได้เป็นข้าราชการ ก็จะสร้างวัดวาอารามช่วยเหลือวงศ์ตระกูล  ช่วยเหลือญาติพี่น้อง มันเป็นเรื่องที่ดี แต่เมื่อใจรีบร้อนอยากทำเรื่องดีเหล่านี้ให้สำเร็จจริง ๆ เลยยิ่งต้องคอรัปชั่นยิ่งมากจึงยิ่งเลวร้ายยิ่งขึ้น อย่างนี้สู้การมีคุณธรรมทำความดีก็เพียงพอที่จะได้มงคล ทำราชการไปนานแล้วก็สามารถร่ำรวยได้ บุญวาสนาตอบแทนเช่นนี้ จะมิเป็นการยืนยาวกว่าหรือ !  ถ้าเป็นข้าราชการที่ชอบดื่มเหล้า  ชอบเที่ยวผู้หญิง  ชอบฆ่าสัตว์  ล้วนเกิดจากความโลภเป็นเหตุ  ความโลภก็คือการปล่อยตัวตามใจตัวจนกลายเป็นนิสัย  พอเคยตัวนานเข้า ใจก็เปลี่ยนทำให้ทิ้งตัวทั้งชีวิต เอาแต่โลภเงินดีกว่า เขาก็จะไม่สนใจดูแลเงินทองที่ได้มา สุดท้ายมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์เล่า !  คนเป็นข้าราชการใหม่ ๆ ไม่กล้าคอรัปชั่น พอพรรษามากเข้าก็ยับยั้งใจไม่อยู่ ปล่อยเลยตามเลย เขาเอาสถานที่ราชการเป็นบ้านตนเอง เอาเงินทองเป็นชีวิตตนเอง !  คนแบบนี้เมื่อเทียบกับคนบางคนที่พอเป็นข้าราชการทันที ก็เร่งรีบคอรัปชั่น หาคอรัปชั่นก้อนโต ก็ยังดีกว่าแยะ ! 

        อีกอันหนึ่ง คนที่เป็นหัวหน้าข้าราชการซึ่งคิดว่าตนเองโปร่งใส ไม่คอรัปชั่น รู้แต่รักษาตนรอดเป็นยอดดีก็เพียงพอแล้ว ผู้ใต้บังคับบัญชาจะคอรัปชั่นก็ไม่ใส่ใจเคร่งครัด เพราะคนเป็นหัวหน้ามีหูตาจำกัด ทุกอย่างต้องอาศัยผู้ใต้บังคับบัญชา ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชารับสินบนแล้วตนเองไม่ใส่ใจ โทษหนักจะตกอยู่กับหัวหน้าข้าราชการนั่นเอง ! 

วิจารณ์  :  โฮวเจี้ยนรับสินบนแค่ ๖๐ ตำลึง พระเจ้าก็จะลดตำแหน่งที่เขาควรจะได้เป็นถึงเสนาบดีเลย  การกระทำของโฮวเจี้ยน ไม่รู้ว่าฉลาดหรือโง่กันแน่โดยที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะไม่เอาเรื่อง  ภัยเคราะห์หรือโชควาสนาไปแจ้งให้คนทำงานรู้ชัด ๆ ด้วย !  ด้วยเหตุนี้คนที่รับสินบนโดยไม่รู้ว่าได้ถูกลดบุญวาสนาไปแล้วมีมากมายเท่าไร !  ตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง นายเหว่ยเจา มีตำแหน่งเป็นผู้พิพากษา เป็นเพราะรับสินบนมา ๔๐๐ ตำลึง จึงจงใจตัดสินประหารนักโทษและปล่อยตัวคนทำผิดไป คนที่ตายก็โกรธแค้นที่ถูกปรักปรำ พระเจ้าจึงลบบุญวาสนาและอายุขัยของเหว่ยเจา ผ่านไปเพียงหนึ่งปี เหว่ยเจาก็ตายไป ในปัจจุบันคนที่ไปปลดโทษให้คน ไม่สมควรเปรียบเทียบกับจงใจเพิ่มโทษคนผิด ก็ต้องเอาเรื่องนี้มาอ้างอิง กลับไม่รู้หลักธรรมที่ว่า "กฏหมายนั้นละเลยไม่ได้ คนก็ไม่อาจปรักปรำได้" 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                  คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  เอาตรงว่าคด  เอาคดว่าตรง

อธิบาย  :  เอาหลักการตรงให้กลายเป็นหลักการคด เอาหลักการคดถือว่าเป็นหลักการตรง คนทำงานสองฝ่าย ต่างก็เขียนคำร้องเสนอต่อทางการ ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาฝ่ายตรงกันข้าม  ณ จุดนี้หลักการตรงคดของทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ตรวจสอบให้ชัดเจน การแย่งชิง มีความผิดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่คำพิพากษาของศาล เพราะฉะนั้นศาลจะตัดสินส่งเดชได้อย่างไร ?. แต่ปัจจุบันข้าราชการตุลาการกลับเอาหลักการตรงตัดสินให้เป็นหลักการคด แล้วก็เอาหลักการที่คดตัดสินให้เป็นหลักการตรง ข้าราชการที่ตัดสินกลับตาลปัตรอย่างนี้ ถ้าไม่ใช่เพราะได้รับสินบนแล้ว เขาก็ลำเอียงเห็นแก่ตัว ถ้าหากเละเทะถึงระดับนี้ จะเป็นข้าราชการศาลยุติธรรมได้อย่างไร ?.

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  โทษเบาเป็นหนัก

อธิบาย  :  การตัดสินผู้ลงโทษกระทำผิด เป็นโทษเบาแต่จงใจลงโทษหนัก  ในหนังสือซูจิงกล่าวว่า "การตัดสินคดีความ ถ้าในใจมีความสงสัย ก็ควรตัดสินให้เบาไว้"  การตัดสินลงโทษสามารถตัดสินให้เบาได้ ก็ไม่ให้ตัดสินโทษหนักกว่าที่เขาควรจะได้"  แต่ผู้พิพากษาจงใจลงโทษที่ควรเป็นโทษเบาให้กลายเป็นหนักแล้ว ก็จะเป็นการละเมิดใจของอริยเจ้าอย่างมหันต์ ที่ทรงเมตตากับนักโทษอยู่แล้ว โดยเฉพาะชีวิตคนเกี่ยวข้องกับฟ้า เกี่ยวข้องกับความเป็นตายแล้ว ภารกิจหนักหนวงมากยิ่งใหญ่ ผู้รับผิดชอบหน้าที่พิพากษา ควรที่จะใส่ใจให้มาก ให้ค้นหาหลักฐานให้รอบคอบ ประมาทไม่ได้แม้แต่้น้อย มิฉะนั้น ก็จะกลายเป็นช่วงว่างให้โจทก์ได้ประโยชน์  ทำให้รูปคดีผิดพลาดไป ! 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                    คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  เห็นประหารเพิ่มโทสะ

อธิบาย  :  เห็นผู้อื่นตัดสินลงโทษประหาร ขณะกำลังจะประหารชีวิต ไม่รู้สึกสงสารกลับเพิ่มความโกรธ คนแบบนี้เป็นคนเหี้ยมโหดมาก  ท่านจ้งจื่อกล่าววา"หากประสบเรื่องเช่นนี้ ต้องเศร้าเสียใจไม่ยินดี"  นี่หมายถึงเมื่อเห็นนักโทษที่กำลังจะถูกประหาร เราควรให้อภัยด้วยความเห็นอกเห็นใจที่เขาต้องโทษเช่นนี้ ไม่ควรรู้สึกสะใจสมน้ำหน้า และคิดว่าโทษเท่านั้นยังน้อยไป แม้ผู้ถูกประหารไม่อาจฟื้นคืนชีวิตด้วยก่อกรรมเองจึงต้องรับโทษเองก็ตามที เมื่อได้เห็นเขาถูกประหารใจควรรู้สึกเจ็บปวดจนต้องก้มหน้าจะน้ำตาจะไหลอยู่แล้วเช่นนี้ มีหรือจะเพิ่มความโกรธแค้นเพิ่มโทษอีก ถ้าเป็นคนแบบนี้ ถือว่าเป็นคนโหดเหี้ยมมาก แม้แต่สัตว์เลี้ยงในบ้าน ถ้าถูกเขากำลังฆ่าก็ยังต้องสงสารพวกเขาที่ไม่มีโทษมีความผิดอะไร ถ้าหากมาเห็นพวกมันถูกฆ่า ก็ยังพูดจาเดือดดาลด้วยอารมณ์แค้นละก็ คนแบบนี้ย่อมเป็นคนโหดเหี้ยมร้ายกาจแน่นอน เขาเป็นคนชั่วร้ายแท้จริง !

ขยายความ   :  เรื่องที่ผ่านมาทำให้รู้ว่า การสวดพระพุทธสามารถฉุดช่วยวิญญาณที่ตายได้ ทั้งตนเองก็มีบุญกุศลเพิ่มขึ้นด้วย และเมื่อหมดอายุขัยในโลกนี้แล้ว ก็ยังได้ไปเกิดในแดนสุขาวดีอีก ถ้ามีคนถามว่า "เพียงแต่สวดพระนามพระพุทธะเท่านั้น ทำไมทั้งเขาและเราก็ได้ประโยชน์เล่า ?."  ฉันตอบว่า "เวไนยสัตว์ตั้งหลายกัปกัลป์มาแล้ว จิตเดิมมืดมัวหมมดแล้ว คิดที่จะรู้สึกลุรู้ มันห่างไกลไร้กำหนดจริง ๆ ยากยิ่งจริง ๆ แต่เมื่อได้ยินพระนามพระพุทธะ จิตเดิมก็อาจจะตื่นจากความมืดมัวได้ ส่วนเขาผู้เป็นเพชฌฆาตโหดเหี้ยมฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เมื่อถูกเราที่บังเกิดใจเมตตา ช่วยโปรดทุกข์ให้กับสัตว์ที่ถูกฆ่าด้วยการสวดพระพุทธะ ก็อาจทำให้เขาละบาปหันสู่กุศลก็ได้นะ !  เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นเวไนยสัตว์ถูกฆ่า แล้วสวดพระพุทธะให้ ก็อาจกล่าวได้ว่ากุศลเหลือคณานับ ! "  ในสมัยหมิง มหาธรรมาจารย์กลั่นซัน กล่าวว่า "อาตมาเมื่อยามปกติเมื่อได้ยินเสียงสัตว์เดรัจฉานถูกฆ่า ก็ให้รู้สึกว่าใจฉันปวดยิ่ง ก็จะรีบ ๆ สวดพระพุทธะและคาถาปฏิสนธิให้แก่พวกเขา อาตมาทำเช่นนี้ก็เพื่อวิญญาณสัตว์ที่ถูกฆ่าเหล่านั้น ทำสุดใจของอาตมาส่วนหนึ่ง"  เมื่อเห็นเรื่องราวสองเรื่องนี้ จึงรู้ว่าสัตว์ที่ถูกฆ่าได้รับความเจ็บปวด หากได้ยินเสียงสวดพระนามพระพุทธะ พวกมันก็จะได้ประโยชน์์มาก และสบายขึ้น ดังนั้น ถ้าพวกเราได้เห็นหรือได้ยินเสียงสัตว์ถูกฆ่า เห็นพวกเขาอยู่บนเขียง อยู่ในหม้อต้มหรือทอด ก็ควรให้รีบ ๆ มีจิตเมตตาสวดพุทธะแก่พวกเขา อย่างนี้จึงจะเป็นผู้ถึงความเมตตาอยางแท้จริงที่จะปลดทุกข์ ขจัดความเจ็บปวดให้แก่เวไนยสัตว์จักเป็นกุศลยิ่งนักแล !

สรุป   :  ผู้พิพากษาและผู้สัสดี ถือเป็นผู้ทำงานใหญ่ของประเทศ ความเป็นความตายของประชาชนก็จะเกี่ยวข้องกันโดยตรง เพราะฉะนั้น ท่านไท่ชั่งก็ตั้งวาจาว่า  ก่อนอื่นต้องเคร่งครัดห้ามรับสินบน ตลอดจนหลักการคตหลักการตรง การตัดสินโทษหนักโทษเบา โดยเฉพาะตุลาการที่ทำการพิพากษามีความสำคัญมาก เพราะว่าพวกเขามีอำนาจอยู่ในมือ สามารถช่วยเหลือคนให้ได้รับความสะดวก อย่างไรก็ตาม หูตาของผู้พิพากษาก็มีความจำกัดมาก เพราะฉะนั้น พนักงานที่ทำเรื่องคดีความ ถ้าสามารถขจัดทิ้งนิสัยชั่วของตนได้้และทำดีร่วมกับตุลาการ ฉุดช่วยคนจากทุกข์ร้อน ถ้าทำเช่นนี้ได้กุศลจะเหลือคณานับ  ควรรู้ไว้ว่า การแบ่งแยกบาปกับบุญ ก้อยู่ที่ความคิดหนึ่งพอใจตนเอง  เหมือนอาศัยลมแล้วกางใบขึ้น ทำได้ง่ายมาก คนเขาว่า  "อย่าขึ้นศาล"  ข้าว่า  "ศาลบำเพ็ญดี"  คนโบราณว่าไว้จะหลอกเราหรือ ?. ตลอดจนการฆ่าคนฆ่าสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นคนอื่นฆ่าหรือเราฆ่าเอง ก็เป็นการฆ่าทั้งนั้นนะ !  ถึงแม้จะไม่สามารถทำจนไม่ให้ถูกฆ่าได้แล้วก็ให้ตั้งใจสวดพระพุทะะให้แก่พวกมัน มันจะเสียเงินทองเราหรือ ?.  มันจะเปลืองแรงเรานักหรือ ?.  หลักการเช่นนี้ ขอให้พวกเราตรึกตรองละเอียดสักนิด !     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  รู้ผิดไม่แก้

อธิบาย  :  รู้ดีว่าตนเองมีความผิด แต่ไม่ยอมสำนึกแก้ไข พระมัญชูศรีโพธิสัตว์กราบถามพระพุทธองค์ว่า  "วัยหนึ่งสร้างวิบากกรรม  พอมาถึงวัยชราค่อยบำเพ็ญธรรม แบบนี้สามารถสำเร็จพุทธะได้ไหม ?."  พระพุทธองค์ตอบว่า  "ทะเลทุกข์ไร้ฝั่ง กลับใจคืนฝั่ง"  ธรรมาจารย์เซินหยวนอู้กล่าวว่า  "มีใครบ้างที่ไม่เคยทำผิด มีความผิดแล้วแก้ไข ก็คือความดีที่ยิ่งใหญ่ ! "  เพราะฉะนั้น สุภาพชนแก้ไขความผิดสู่ความดี อย่างนี้แล้วคุณธรรมของเขานับวันยิ่งใหม่แล้วใหม่อีก ส่วนคนพาลจะปกปิดซ่อนเร้นความผิด เพราะฉะนั้น บาปกรรมที่เขาทำนับวันยิ่งเผยปรากฏ เพราะคนพาลเมื่อทำผิดแล้วจะหาเหตุผลมากมายมาอ้าง เพื่อลบล้างความผผิดของตน เพื่ออธิบายให้สมเหตุผล นี่แหละว่าทำไมท่านไท้ลิ้วจุงพร่ำพูดถึงมูลเหตุ  คุณเหอหลงกูกล่าวว่า "คนที่ทำผิดแบ่งเป็นสามจำพวก  มีวาจาทำผผิด  มีกายทำผิด  และมีใจทำผิด  คนที่เอาความดีแก้ไขความผิด ก็เพียงตนเองสามารถมีญาณฉลาดรู้ตัวแล้วจริงใจไปละทิ้งอุปนิสัยที่ติดยึดต่าง ๆ กับหลักธรรมก็ต้องศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งถึงที่สุด อย่างนี้ก็จะสามารถเข้าถึงความตั้งใจจริงได้  ศาสตร์ของปราชญ์  พุทธ  ศักดิ์สิทธิ์ ล้วนมีความลึกล้ำยิ่งใหญ่มาก ไม่อาจบรรยายโดยชัดเจนได้ง่าย อย่างไรก็ตาม วิธีการเรียนขั้นพื้นฐานก็สามารถทะลุถึง  หยู  พุทธ  เต๋า  แห่งสามศาสนาได้ ก็ถือว่าได้แก้ไขแล้ว

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                  คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  รู้ดีไม่ทำ

อธิบาย  :  ทั้ง ๆ ที่เห็นงานกุศลอยู่ตำตา กลับไม่กล้าหาญไปทำ โบราณว่า "สะสมน้อย จึงมีมากได้  สะสมหนึ่ง จึงเป็นล้านได้" เพราะฉะนั้น การทำกุศลสำคัญอยู่ที่ต้องสะสมทุกวัน เพิ่มพูนไปเรื่อย ๆ  เมื่อรู้ว่าเป็นเรื่องกุศลก็ต้องรีบไปทำ ทั้งยังต้องไปทำด้วยความขยันจริงใจ ท่านเหลาจื่อว่า  "หอสูงเก้าชั้น เริ่มต้นจากก้อนดินที่เพิ่มขึ้นจนสูง  ไกลพันลี้ เริ่มต้นจากการก้าวขาทีละก้าวเดินไป"   ถ้าหากคนสามารถแก้ไขความบกพร่องหนึ่งในแต่ละวัน ก็สามารถขจัดโทษกรรมทั้งหมดได้  ถ้าหากสามารถกระทำความดีหนึ่งในแต่ละวัน ก็สามารถเพิ่มพูนถึงขั้นบุญตอบสนองได้ พระเจ้าจื่อซวีกล่าวว่า "ธรรมะเกิดจากความสงบ คุณธรรมเกิดจากความถ่อมตน บุญเกิดจากความสะอาดมัธยัสถ์ ชีวิตเกิดจากความนุ่มนวล ถัยส่วนใหญ่เกิดจากความใคร่อยาก  ความผิดพลาดเกิดจากความดูแล เพราะฉะนั้น ต้องมีศีลห้ามตา ตาไม่ให้ไปดูความผิดพลาดของผู้อื่น ต้องมีศีลห้ามปาก ปากต้องไม่พูดความบกพร่องของผู้อื่น  ต้องมีศีลห้ามใจ ต้องไม่ปล่อยใจคิดโลภโกรธ  ต้องมีศีลห้ามกาย  กายต้องไม่เป็นเพื่อน ติดตามความชั่วร้าย ชีวิตก็เหมือนเทียนต้องลม ซึ่งจะถูกเป่าดับได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ต้องคิดถึงความตาย ตายไปแล้ว วิญญาณจะไปที่ไหน ร่างกายนี้เพียงเป็นที่ฝากในโลกชั่วคราวเท่านั้น อย่างไรเสียต้องไม่ไปสร้างวิบากกรรมท่ามกลางวิบากกรรมนั้นอีก !  ต้องรู้เอาไว้ว่า บุญบาปคงเหลือค้างอยู่ในใจ และก็ไม่ผิดพลาดแม้แต่น้อย หากคนยังมีเล่ห์เหลี่ยมแผนการณ์ ถ้างั้น ฟ้าก็ยิ่งมีเล่ห์เหลี่ยมที่จะตอบสนอง" 

        ดังนั้น  ถ้าดูตามนี้ ในวันหนึ่งถ้าคนสามารถฟังคำดี หรือได้เห็นการกระทำดี หรือได้ทำเรื่องดีสักเรื่องหนึ่ง อย่างนี้แล้วเราก็จะไม่ผ่านเวลาไปเสียเปล่าหากมีคนรู้ว่างานกุศลเห็นชัดเจนอยู่ต่อหน้าแต่กลับไม่ไปทำ คนแบบนี้ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใจของเขาเป็นอย่างไร พูดตรง ๆ ก็คือ ระเบิดเองเพราะทิ้งเอง ยอมตกต่ำเอง ชีวิตเสียไปเปล่า ๆ ยอมมอดไหม้อยู่ในโลกนี้ ซึ่งถือว่าโง่เสียยิ่งกระไร !

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                               คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  รู้ดีไม่ทำ

                                  คติพจน์

        ธรรมาจารย์เซ้นเทียนหยูหยุย ในสมัยหยวน ตักเตือนชาวโลกว่า "ในคุณธรรมโบราณพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "เมื่อฉันเห็นผู้ตายไป ใจของฉันก็ถูกร้อนรนเหมือนไฟเผา ฉันไม่ได้ร้อนรนเพราะคนอื่นหรอก แต่มองออกใกล้จะถึงคิวของฉันแล้วนะ ! " เหมือนคำพูดทำนองนี้ คนไหนนะที่ไม่รู้ ?. แต่รู้แล้วก็รู้เท่านั้น ก็ยังไม่ยอมปฏิบัติธรรม จะพูดว่าเธอไม่ยอมปฏิับัติธรรม ก็จะเป็นการกล่าวหาเธอเปล่า ๆ ท่านผู้มีคุณธรรมทั้งหลาย ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ได้บำเพ็ญมาแล้วทั้งนั้นเพียงแต่ยังไม่ถึงที่สิ้นสุดแห่งไร่นาร้อย ๆ ไร่ ความผิดพลาดนี้อยู่ที่ตรงไหนเล่า?.  ความผิดพลาดอยู่ที่ยังไม่กล้าหาญรุนแรง  ไม่วิริยะเพียงพอ  ไม่แข็งแรงพอ  และไม่นานพอ เพียงแค่บังเกิดใจยินยอมชั่วคราวเท่านั้น ไม่นานก็ท้อใจแล้ว เพราะฉะนั้น จึงพูดว่า "พุทธธรรมไม่มีบุตรมาก ยากที่จะได้คนมาอยู่ยาวไกล" ถ้าหากคนที่เรียนธรรม มีความจริงใจเหมือนตอนแรกที่บังเกิดใจละก็ การจะเป็นพุทธะก็เหลือเฟือ ! เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่า ไม่เปลี่ยนแปลงจากต้นจรดปลาย จึงเป็นสัตบุรุษแท้จริง !  ปัจจุบันมีสักกี่คนที่ทำได้ไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ต้นจรดปลาย ในจำนวน ๑๐ คน ก็มีห้าคู่ล้วนท้อถอยใจธรรมแล้ว เมื่อค้นหาถึงสาเหตุการท้อถอยใจธรรมของพวกเขา ส่วนใหญ่แต่ละคนก็มีการสั่งสมสร้างเสร็จมานานแล้ว !  ที่มีการสั่งสมมาคืออะไร ?. ที่สั่งสมมามีการสั่งสม ๓ อย่าง  อย่างแรก ไม่ต้องพูดถึงว่าเขาเป็นสงฆ์หรือคนสามัญ แต่ละคนก็สั่งสมเพื่อปากท้องแต่ละคน  อย่างที่สอง คนที่มีวงศ์ญาติ ก็สั่งสมเพื่อวงศ์ญาติ คนมีครอบครัว ก็ถูกแผนการณ์ครอบครัว ทำให้สั่งสมเป็นอย่างที่สาม  การสั่งสม ๓ ประการนี้  ได้เข่นฆ่าคนในโลกนี้ไปเท่าไร คนทั้งหมดโลกนี้กระมัง ล้วนรับการสั่งสม พูดง่าย ๆ คือ คนในโลกนี้ล้วนเกิดมาเพื่อถูกเคี่ยวกรำด้วยกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่ว่าง วุ่นวายทั้งชาติ ทุกข์ไปทั้งชาติ สูญเปล่าผ่านไปทั้งชาติ ! ด้วยเหตุการณ์สั่งสมทั้ง ๓ อย่างนี้ จึงบังเกิดกิเลสโลภโกรธหลง จำนวนนับไม่ได้ เป็นเหตุให้ก่อวิบากกรรมใหญ่น้อยนับจำนวนไม่ได้นี้ จึงมีผลกรรมตอบสนอง จึงตกสู่อบายภูมิสามและทะเลทุกข์ทั้งแปด วนเวียนเกิดตาย ต้องทนรับทุกข์ไม่สิ้นสุด ไม่ได้หลุดพ้นเลย !  ถ้าแม้จะได้รับความทุกข์นับจำนวนไม่หมดเช่นนีก็ตาม ก็ยังไม่รู้สึกตัวตื่นไปตลอดกาล คนที่ไม่รู้สึกตัวตื่นก็เป็นเพราะไม่รู้สึกรู้เป็นเหตุ !  พวกเขาไม่รู้สึกรู้คืออะไร ?. พวกเขาไม่รู้สึกว่า ร่างกายวงศ์ญาติแผนการณ์ครอบครัวเหล่านี้มันไม่ใช่เป็นของเรา !  อย่างเช่น ตอนนี้พูดว่าร่างกายไม่ใช่ของเธอ เธอก็ยังไม่เชื่อ พระป่าก็พูดให้เธอรู้จนหมดเปลือก !  แรกสุดที่เธอจะมาสู่ครรภ์มารดานั้น เป็นเพียงวิญญาณดวงหนึ่ง แล้วจะมีร่างกายนี้ได้อย่างไร?. ร่างกายนี้ก็คือ อสุจิขาวกับไข่แดงของพ่อแม่ที่ผสมกัน กลายเป็นเนื้อก้อนหนึ่ง ที่แรกก็ยังไม่มีความรู้สึก  ไม่รู้จักเจ็บ  ไม่รู้จักคัน  ไม่รู้จักหนาว  ไม่รู้จักร้อน  ไม่รู้จักหิว  ไม่รู้จักอิ่ม  ไม่รู้จักทุกข์  ไมู่้รู้จักสุข  ไม่รู้จักอะไรทั้งนั้น !  รอจนกว่าเธอคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว จิตก็เริ่มยึดติดว่านี่คือร่างกายของฉัน เมื่อครู่นี้ที่พูดว่าร่างกายนี้มิใช่สิ่งที่ฉันมีอยู่ นี่แหละหรือ เหตุผลจริงเป็นอย่างนี้ก็ไม่ยอมที่จะเชื่อ ด้วยเหตุนี้ พุทธองค์ทรงเมตตาสงสารความโง่เขลาของเวไนยสัตว์ จึงพร่ำพูดกับเธอว่า "สิ่งนี้มิใช่ร่างกายของเธอนี่คือเลือดอสุจิที่ผสมเป็นถุงหนังเหม็น ไม่อยู่ในความควบคุมของเธอ ไม่อยู่ในอำนาจให้เธอจัดแจงได้  แม้แต่เกิดแก่เจ็บตาย เธอก็ไม่มีส่วนในการจัดการ ทำไมจึงรู้ว่าเป็นเช่นนี้เล่า ?. ก็เหมือนครั้งแรกสุดที่เธอเข้าสู่ครรภ์แล้ว ในครรภ์มารดาเจ็ดวันเปลี่ยนแปลงครั้งหนึ่ง  ระยะต่อไปคือการเจริญเติบโต มีอวัยวะครบ มีกระดูก  มี ๙ ทวาร  ๔ แขนขา  ๖ อายตนะ มีเอ็นหนังเนื้อค่อย ๆ เป็นรูปร่างขึ้น ตลอดจนถึงวาระออกจากครรภ์ล้วนเป็นการขับเคลื่อนจากลมร้อน แรงกรรมผลักดันโดยที่เธอก็ไม่รู้สึกตัว แล้วเธอจะควบคุมจัดการได้อย่างไร !  แม้ภายหลังเกิดมาแล้ว โตถึงอายุ ๓๐ - ๔๐ ปี ผมเริ่มหงอกขาว ฟันโยก หน้าเหลือง ผอมซูบ ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป ค่อย ๆ แก่ลง อ่อนแอชรา จะเห็นรูปลักษณ์ได้ชัดต่อไปก็เจ็บป่วย เมื่อเจ็บป่วยมาถึงความตาย ก็ถามหาการเปลี่ยนแปลงที่เสื่อมทรามอย่างนี้ล้วนไม่ตามใจเธอเลย เธอเองก็ไม่ยินยอมให้เป็นอย่างนี้ เป็นเพราะควบคุมมันไม่ได้ ถ้าวิจารณ์เธอตั้งแต่เกิดจนถึงตายกับถุงเนื้อหนังเหม็นอันนี้ ไม่รู้ว่าต้องใช้ความรัก ความซื่อสัตย์ต่อมันไปมากน้อยแค่ไหน รักษามันเลี้ยงดูต่าง ๆ นา ๆ รักใคร่เฝ้าถนอมมันขนาดไหน ต้องหาหมอรักษาจัดแจงมันแค่ไหน แต่ว่ามันกลับลืมบุญคุณ ตัดเยื่อใย อย่างนี้ไม่ทำให้คนน่าเบื่อระอาหรอกหรือ ! 

         จุดที่ทำให้คุณยิ่งน่าเบื่อระอา ถ้าหากมีไอ้หนุ่มแข็งแรงเกิดเป็นโรคปัจจุบันทันด่วนตายลงในหน้าร้อน พอตายไปไม่พอข้ามคืนศพก็เริ่มเหม็นขึ้นมาจะเข้าไปใกล้ก็ไม่ไหว  ต้องรีบ ๆ หาโลงมาใส่ให้เอาศพใส่ปิดฝาโลง พอฟ้าสางก็ยกไปเผาทิ้งแล้ว ถึงแม้เขาจะเป็นญาติสนิทรักใคร่ขนาดไหน ก็ไม่ยอมให้เขาอยู่ต่อไป !  ตัวอย่างเรื่องนี้ เมื่อวานเขายังเป็นหนุ่มที่แข็งแรง มาถึงเช้าวันนี้กลายเป็นกองขี้เถ้าแล้ว !  ไม่รู้ว่าวิญญาณของเขาไปที่ไหน การเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างนี้ มันไม่ตามใจเธอใช่ไหม !  ถึงแม้ถ้ามันเป็นร่างกายของเธอ มันควรให้เธอควบคุมมันได้ เมื่อมันไม่ยอมให้เธอควบคุม แล้วมีหรือที่เธอจะยอมฟุ้งซ่านไปยอมรับมันว่าเป็นร่างกายของเธอ !  อย่างนี้ไม่ใช่ถูกมันทำให้เหน็ดเหนื่อย ถูกมันสั่งสมเอา เป็นเหตุให้ใจธรรมท้อถอย แม้แต่วงศ์ญาติก็เหมือนกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นล้วนมาจากถุงหนังเหม็นอันนี้ ไม่มีอิสรภาพ ควบคุมไม่ได้ เมื่อถึงวาระสุดท้ายมาถึง อะไรก็ทดแทนไม่ได้ !  ขณะยังมีชีวิตอยู่ทั้งฉันและเขาถูกบุญคุณผูกรัด  ที่เรียกว่าวงศ์ญาติ เมื่อตาหลับลงแล้ว ฉันและเขาก็ไม่รู้จักกันแล้ว แล้วจะฟุ้งซ่านยอมรับเขาเป็นวงศ์ญาติหรือถูกมันสั่งสมเอา เป็นเหตุให้ใจธรรมท้อถอย !  แม้แต่แผนการณ์ครอบครัวก็เหมือนกัน ขณะที่ตายังเปิดยังแข็งแรงอยู่ ตรงไหนที่ถือสาตระหนี่เฝ้ารักษา แผนการครอบครัว มัวแต่คิดสะสมไว้ใช้นานเป็นร้อย ๆ ปี ใครจะรู้เมื่อลมหายใจขาดผึงลง สลึงเดียวก็เอาไปไม่ได้ แล้วยังจะฟุ้งซ่านรับมันเป็นแผนการณ์ครอบครัวให้มันเหน็ดเหนื่อย ถูกมันสั่งสม จนทำให้ใจธรรมท้อถอย 

        วันนี้ แม้พวกเธอจะได้ฟังเหตุผลอย่างนี้ ก็ควรย้อนส่องมองให้ทะลุ เมื่อทะลุได้ก็จะตื่นลุรู้  การถูกเจ้า ๓ อย่างสะสมเอา ไม่ไปยึดติดเอา ไม่ไปหลงรักเอา ไม่ไปโลภเอา อยู่สงบในส่วนตน ผ่านชีวิตตามกรรมสัมพันธ์ ต้องที่จะคิดกลับ กับความตายเป็นเรื่องใหญ่ บังเกิดความกล้าหาญรุนแรงไปวิริยะใจธรรมที่เกิดขึ้น ก็มั่นคงและยาวไกล เรื่องที่พูดมาควรศึกษาให้เข้าใจ"   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  โยนผิดให้ผู้อื่น

อธิบาย  :  ตนเองมีความผิดไม่ยอมรับ กลับดึงผู้อื่นมารับผิด เพื่อตนเองจะได้รอดพ้นความผิด ความผิดเป็นของตนเอง เมื่อเกิดเรื่องขึ้นแล้วก็โยนความผิดให้ผู้อื่น ที่พูดกันจนติดปากว่า  ดึงคนอื่นลงน้ำด้วย ความคิดของเขานั้น มิใช่เป็นการอำพรางความผิดของตนเอง หากแต่คิดจะโยนภัยให้ผู้อื่น เพื่อแก้แค้น โดยไม่รู้ว่า ในที่สุดแล้ว ความผิดของตนเองก็ปิดไม่อยู่แล้วไปใส่ร้ายผู้อื่น สุดท้ายก็ใส่ร้ายไม่สำเร็จ กลับกลายเป็นการเพิ่มพูนโทษของตนเอง ถึงแม้จะโชคดีรอดพ้นกฏหมายไปได้ แต่ก็ยากที่จะรอดพ้นตาข่ายฟ้าไปได้ ! 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  ปิดบังวิชา

อธิบาย  :  ตั้งใจปิดบังวิชาการ เช่น การแพทย์  การพยากรณ์  หรือจิตรกรรมต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้พวกเขาไม่สามารถใช้วิชาหรือความรู้ไปเลี้ยงครอบครัว  หรือฉุดช่วยผู้อื่น  วิชาการแพทย์  การพยากรณ์  หรือกลวิธีตำรา  ล้วนเป็นวิชาทั้งนั้น  คนที่มีความสามารถน้อยก็สามารถอาศัยกลวิธีมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ ส่วนคนที่มีความสามารถสูง ก็สามารถใช้มาช่วยเหลือคนได้  หากเราตั้งใจปกปิดหรือปิดบังวิชา ทำให้พวกเขาไม่สามารถนำไปใช้ ก็แสดงว่าจิตใจเราคับแคบ  คนในชาติก็อดอยากตกงานกันมาก ตลอดจนอาจารย์เลวหรือแพทย์ชั่ว  ก็ทำให้การศึกษาตกต่ำ ชีวิตคนตกอยู่ในอันตราย อย่างพวกเล่นแร่แปรธาตุ  กลวิธีเหล่านี้เป็นกลวิธีที่เลว ต้องห้ามปราม  ครอบครัวที่มีการศึกษา ควรมีความเข้มงวดระวังระไว อาจมีนักต้มตุ๋น ควรตัดขาดไม่คบหา

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                     คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                           คัมภีร์   :  ใส่ร้ายอริยปราชญ์

อธิบาย   :  กับปราชญ์อริยเจ้าโบราณ ไม่นับถือกราบไหว้แล้วยังกล้าที่จะใส่ร้ายตามอำเภอใจ มีคนอยู่สองประเภทที่ชอบใส่ร้ายอริยปราชญ์ ประเภทหนึ่งก็คือ ความโง่เขลาของตนเอง ไม่รู้ความยิ่งใหญ่ของอริยเจ้าที่สั่งสอน ซึ่งมีผลกระทบกว้างไกลต่อโลก คนประเภทนี้ก็เหมือนมุดอยู่ในรู แล้วมองฟ้าทางรูปล่อง ก็ยังโทษว่าฟ้าทำไมจึงเล็กนัก  อีกประเภทหนึ่งก็คือ พวกเก่งฉลาดในการวิจารณ์คน ยึดเอาความฉลาดมีความสามารถในวิจารณ์ ชอบตีกลองหลอกชาวบ้านใส่ร้ายภัทรปราชญ์ คนแบบนี้เหมือนจับดวงจันทร์ในน้ำ เหนื่อยเปล่าไม่ได้งาน  แต่อริยปราชญ์มิใช่เพราะเขาตีกลองหลอกชาวบ้านใส่ความ จนได้รับความเสียหายแต่อย่างไร ที่พูดถึงอริยปราชญ์ในที่นี้ หมายถึง หยู  พุทธ  เต๋า  ปราชญ์  ของสามศาสนา  หยูเอาความ "ตรง" มาตั้งศาสนา  พุทธเอาความ "ใหญ่" มาตั้งศาสนา  เต๋าเอาความ "นอบน้อม" มาตั้งศาสนา เราจะเห็นว่าทั้งสามล้วนดี ในทางคุ้มครองชีวิตวิญญาณ เกลียดการฆ่าทำลายเวไนยสัตว์ แสดงออกถึงความกรุณาแบบเดียวกัน  ล้วนขอให้ตนเองกระทำต่อผู้อื่นเหมือนกระทำต่อตนเอง มีความเสมอภาคไม่เห็นแก่ตัว  ห้ามหยุดโกรธแค้น กดข่มความใคร่อยาก  หยุดทำชั่วหรือระวังไม่ให้ทำผิด ทั้งสามศาสนาล้วนให้ตนเองเป็นผู้บำเพ็ญปฏิบัติเหมือนดังสายฟ้าที่ปลุกให้เวไนยสัตว์ตื่นจากหลง เพิ่มพูนปัญญาของเวไนย ทั้งยังสามารถแสดงวัฒนธรรมได้ดีด้วย  พูดย่อ ๆ คือ หลักธรรมในโลกนี้ ก็ไม่พ้นไปจากดีและชั่วสองทาง ทั้งสามศาสน์ล้วนสอนคนให้แก้ไขชั่วไปสู่ความดี !  แต่การบำเพ็ญภายในทั้งสามศาสน์ก็รวมสู่หนึ่งเดียว !  เพราะฉะนั้น ฮ่องเต้ซ่งเลี้ยงจง เคยวิจารณ์งานที่หันหยูเขียนวิจารณ์พุทธธรรม แก้ไขเขียนใหม่ว่า  "เอาพุทธธรรมมารักษาใจ เอาเต๋ามารักษากาย เอาหยูมารักษาหลักธรรมโลก"  ถือว่าฮ่องเต้ซ่งเลี้ยงจงเป็นฮ่งเต้ที่เข้าใจ ใจ  กาย  และโลก  ล้วนมีความสำคัญเสมอกัน  ไม่ให้อย่างใดอย่างหนึ่งขาดการรักษา ถ้าพูดอย่างนี้แล้ว ทั้งสามศาสนาจะยอมให้ศษสนาหนึ่งหมดไปหรือ ล้วนควรให้อยู่พร้อมกันนา ! 

        ปัจจุบัน พวกบัณฑิตหยู ถ้าเอาอริยปราชญ์มาโต้เถียง เพื่อกำหนดเอาพุทธศาสนา หรือเอาพุทธศาสนาแล้วมาข่มเหงอริยปราชญ์ ปัจจุบันพระสงฆ์หรือนักพรต ถ้าเอาพุทธแล้วมาขจัดศาสนาเต๋า หรือเอาศาสนาเต๋าแล้วมาวิจารณ์พุทธ  สรุป  ล้วนเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลที่ยึดติด จึงผิดพลาดแบ่งแยกมหาธรรม ทำไมจึงไม่เข้าใจว่า สามศาสนาไม่มีอะไรที่ไม่เหมือนกัน ที่น่ากลัวคือ ความคิดผิดพลาดในส่วนบุคคล เอาความคิดตนเองมาคาดคะเน เอาใจที่ร้อนรุ่มมาโต้เถียง คนที่มีปัญญาสูงจริง ๆ ก็จะสามารถสงบใจระงับอารมณ์ได้ เอาหลักธรรมหลอมธรรมทะลุก็ได้ สู่ต้นมูล ตรงลึกถึงต้นตอ ก็จะเข้าใจว่าพุทธศาสานาพูดถึงสว่างใจแจ้งจิต  ละหลงสู่รู้  ศาสนาเต๋าพูดถึงใจใสอยากน้อย  สั่งสมบารมี  ศาสนาหยูพูดถึง ใจตรงศรัทธา ก็สามารถรับการสั่งสอนกล่อมเกลาเวไนย ไม่มีที่ขัดแย้งกันเลย สรุปคือ ก็เป็นการดึงคนเข้าสู่ธรรมทั้งนั้น  ยังจะมีรูปลักษณ์อะไรให้ยึดติดอีก น่าจะรู้ว่า ทั้งสามศาสนาล้วนเป็นธรรมแท้ ล้วนทำเพื่อจิตวิญญาณทั้งหลายของชีวิต ผู้มีอารมณ์นานนับพัน ๆ ปี เป็นมาตรฐานของสัจธรรม แล้วทำไมจึงโง่เขลาไปใส่ร้ายอริยปราชญ์ เป็นการสร้างวจีกรรมตกนรกถอนลิ้นเปล่า ๆ แม้แต่คัมภีร์พระสูตรเป็นที่ฝากจิตวิญญาณของอริยปราชญ์ คนที่ทำลายคัมภีร์พระสูตร ก็มีบาปเช่นเดียวกับใส่ร้ายอริยปราชญ์นะ !

 คติ  :  การสวดมนต์ของอริยเจ้า จะให้มีการรบกวนสวดแทรกไม่ได้ ซึ่งเป็นการลบหลู่อริยเจ้า

Tags: