collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า : คำนำ  (อ่าน 144129 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
บทที่เจ็ด  กรรมสนอง  :  เงินทองได้มาไม่ถูกต้อง ดุจเนื้อเน่าแก้หิว   สุราพิษแก้กระหาย ไม่เพียงไม่อิ่มความตายก็มาถึง

อธิบาย   : 
เงินทองที่ได้มาไม่ถูกต้อง ก็เหมือนกินเนื้อที่แช่น้ำจนเน่าเปื่อยแก้หิว หรือดื่มสุราแก้กระหาย ดื่มกินเท่าไรก็ไม่อิ่ม พิษภัยจากเนื้อเน่าและสุราพิษทำให้ชีวิตต้องตายลง บทนี้ยังเน้นย้ำถึงความร้ายกาจของความโลภ เพราะชาวโลกมีจิตใจที่โลภมาก เพราะฉะนั้นท่านไท่ชั่งจึงย้ำแล้วย้ำอีกเพื่อตักเตือนปลุกให้รู้สึกตัว ชาวโลกที่ทำละเมิดเสพกาม โหดเหี้ยมฆ่าคนเป็นต้น ซึ่งการกระทำบาปเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย ๆ เลย และคนกระทำโทษบาปเหล่านี้ก็ไม่ใช่จะพบเห็นได้ง่ายเลย นอกเสียจากหาเงินทองที่มีกลเม็ดเด็ดพรายสารพัดวิธี และก็ตรวจได้ยากด้วย ยิ่งคนในปัจจุบันมีศัพย์แสงใหม่ว่าผลประโยชน์ทับซ้อน กลยุทธในการยักย้ายถ่ายเทเงินทองที่ไม่ถูกต้อง แต่คนยุคนี้ร้ายยิ่งกว่าซาตานพันทวีคูณ ถ่ายเทเงินทองดูเหมือนถูกต้อง ไปสู่มือประชาชนปกติที่ใคร่กระหายอยากได้เงินอยู่แล้ว เพื่อมาซื้อหาสินค้าบริการที่เกินความพอเพียงของชีวิต ผลประโยชน์ก็จะกลับมาตกอยู่ในมือผู้บริหาร ตราบใดที่โลกนี้ยังมีการใช้เงิน เพราะฉะนั้นต้องมีคนได้เงินมา แต่วิธีการได้เงินมาไม่เป็นธรรมมีเป็นจำนวนมาก จึงไม่จำเป็นต้องไปสาวหาความจริงเลย !  อะไรเล่าที่เรียกว่าความเป็นธรรม ?. ความเป็นธรรมคือการดำเนินงานถูกต้องสมเหตุสมผล การเอาเงินเขามาโดยคนเขาพอใจยินดีให้เหมาะสมก็เรียกว่าเป็นธรรม ถ้าหากให้โดยไม่เต็มใจไม่สมเหตุสมผลก็ไม่เป็นธรรม ได้เงินมาแบบที่พูดให้คนอื่นฟังได้สมเหตุผลก็เป็นธรรม ได้เงินมาแบบพูดให้ใครรู้ไม่ได้เพราะไม่ชอบด้วยเหตุผลถือว่าไม่เป็นธรรม เงินที่ได้ไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือมาก ถ้าได้มากโดยไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม ใช้เงินแล้วสบายใจไม่ขัดแย้งกับใจคนอื่น ผู้ฟังก็ฟังโดยไม่ขัดหูจึงถือว่าดี !  นี่แหล่ะที่ท่านไท่ชั่งมีโอวาทสอนแล้วสอนอีกก็เพราะรู้ว่าชาวโลกมักได้เงินมาไม่ถูกต้อง จึงมีคนได้เงินมาแบบไม่มีธรรม เพราะถึงแม้เขาได้เงินแล้วพอใจ แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็จะเสียใจหรือแค่คนเดียวที่พอใจแต่อีกสิบคนร้อยคนพันคนกระทั่งคนทั้งประเทศต่างก็เสียใจเขาน่าจะรู้ว่า ฟ้าคืนสนองได้ดี ฟ้าเป็นธรรมไม่มีส่วนตัว มีหรือฟ้าจะรักใคร่เอ็นดูคนที่ได้เงินมาไม่ถูกต้อง ในความลี้ลับก็จะสั่งสมความหายนะด้วยเทพเจ้ารู้สึกคิดจัดการให้เรื่องราวมีความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการจัดการเพิ่มโทษเป็นกรณีพิเศษ ท่านไท่ชั่งรู้สาเหตุเรื่องราวดี จึงใช้คำพูดที่ถูกต้องจริง ๆ ตักเตือนห้ามคนว่า"ไม่ให้เอา" แต่คนกลับไม่ฟัง จึงพูดเตือนให้หวาดกลัวระวังว่า "เงินทองได้มาไม่ถูกต้อง ไม่เป็นมงคล แต่คนก็เห็นแก่เฉพาะหน้าไม่คิดถึงผล ดังนั้นก็สู้ปลุกชาวโลกให้รู้ตัวตื่นว่า "ได้กับไม่ได้ เหมือนกันทั้นั้น !"  แบบนี้ใจโลภของคนอาจลดน้อยลงบ้าง จึงพูดเปรียบเปรยเหมือนกินเนื้อเน่า ดื่มสุราพิษ เพราะของเหล่านี้พอเข้าปากก็จะต่ยทันที ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะสับสนหรือโง่เขลาก็ล้วนรู้จักเนื้อเน่าเหล้าพิษก็ไม่กลัวจะกินดื่ม ต่างก็รู้ว่าเงินที่ได้มาไม่ถูกต้องก็คือเนื้อเน่าเหล้าพิษ อย่างไรเสียก็จะไม่เอาเด็ดขาด !  อย่างนี้มิใช่หรือที่ว่าได้กลับไม่ได้ล้วนเหมือนกัน เพราะฉะนั้นได้มาแล้ว ไม่ใช้ก็กลายเป็นของเสีย แล้วผู้คนทำไมจึงยังใจชั่วใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อให้ได้ของเสียมาอีกทำไม ?.  อย่างไรก็ตามความหอมหวนของเนื้อเน่าที่ปรุงแต่งกลบกลิ่น  เหมือนชิ้นเนื้อเล็ก ๆ หอมชวนกิน เหล้าพิษรสหอมหวานไม่แพ้เปรียง (นมเปรี้ยว) ชาวโลกเห็นความหอมหวานของมันแล้วก็เกิดใจอยากเสี่ยงดูว่า "อึ่ม ! ไม่แน่ว่าจะมีพิษ !"  จึงไม่กล้ากินคำโตดื่มพวรวด ๆ มีไม่กี่คนหรอก ! รอจนถึงเวลาอยากจะสำรอก อยากจะคายก็คายไม่ออกเสียแล้ว ท้องไส้ขาด หนังปริแตก ความตายก็ใกล้จะถึงแล้ว มาถึงตอนนี้คิดแล้วถอนหายใจว่า "ทำไมไม่ให้เห็นผลเร็วกว่านี้นา ?"มันสายเกินไปเสียแล้ว ผัดผักต้มแกงแม้เป็นอาหารง่าย ๆ รับประทานแล้วไม่ค่อยอร่อยนัก แต่ก็อิ่มได้เพียงพอ ลูบคลำท้องก็ให้รู้สึกสบายใจ ระหว่างความทุกข์กับความสุข มันห่างไกลกันลิบลับนา ! เรื่องราวเป็นพยานหลักฐานเช่นนี้ก็พูดให้ฟังกันมาแล้ว

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
บทที่เจ็ด  กรรมสนอง  :  หากใจเริ่มใฝ่ดี ดีแม้ยังไม่ทำ เทพดีก็ตามมา หากเริ่มใฝ่ชั่ว ชั่วแม้ยังไม่ทำ เทพชั่วก็ตามมา

อธิบาย   : 
เมื่อใจบังเกิดความคิดดีขึ้นมาแล้ว แม้ความดียังไม่ได้ทำเลย เป็นสิ่งที่ซาบซึ้งถึงเทพเจ้าฝ่ายดีแล้ว ท่านก็จะตามมาปกป้องคุ้มครอง เพื่อหวังให้เราทำดีดีจนสำเร็จแล้วจะได้ประทานบุญวาสนาให้เขา แต่ถ้าในใจบังเกิดความคิดชั่วขึ้นมา แม้กรรมชั่วยังไม่ได้ลงมือไปทำ ความคิดชั่วนี้ก็จะกระทบถึงเทพฝ่ายร้ายเทพร้ายก็จะคอยติดตามดูแลอยู่ รอจนความชั่วที่ทำเต็มทนเมื่อไรก็จะส่งภัยเคราะห์มาให้ ใจนี้จึงสำคัญนัก กำลังจะบอกแก่ชาวโลกว่ากลไกบุญวาสนาหรือภัยเคราะห์ล้วนขึ้นอยู่กับใจอันนี้ ก็หวังว่าชาวโลกจะรู้ต้นเหตุที่เกิดขึ้น จึงควรระมัดระวังไว้ !  ในพุทธธรรมกล่าวว่า สรรพรูปที่สำเร็จขึ้นในจักรวาล ล้วนมาจากใจอันนี้แปรเปลี่ยนปรากฏออกมา !" เหตุที่ใจของพวกเรานี้สามารถยึดติดกับปัจจัยสกปรกกับปัจจัยสะอาด ดังนั้น จึงบังเกิดสิบพระธาตุที่แตกต่างกัน วิธีเข้าสู่โลกกับวิธีออกจากโลก จึงอยู่ในวงของ สี่อริยะ หกปุถุชนธรรมชาติ (สี่อริยะ หมายถึง พุทธ  โพธิสัตว์  ปัจเจก  และสาวก  หกปุถุ  หมายถึง เทวดา  มนุษย์  อสูรกาย  เดรัจฉาน  เปรต  และนรก)  สิบธรรมธาตุนี้ไม่มีที่จิต ล้วนใจของเราสร้างขึ้น เพราะฉะนั้นใจก็สามารถจะเป็นพุทธะ  ใจก็สามารถเป็นเวไนย  ใจสามารถสร้างสรรค์  ใจก็สามารถสร้างนรก  ดังที่กล่วว่าผู้บังเกิดใจก็คือใจเราเริ่มกระเพื่อมเพียงแค่เกิดความคิดขึ้น กระแสความคิดนี้แม้จะเล็กน้อยเบา ๆ ก็สามารถรู้สึกกระทบกับเทพผีในฟ้าดิน ถ้าหากคนสามารถบังเกิดความคิดของใจที่ดี  เพียงความคิดดีอันนี้ก็สามารถทลายยันต์ขลังของนรกตัดขาดบรรดามารภัยด้วยดาบปัญญา  ข้ามพ้นทะเลทุกข์ด้วยยานเมตตา  ส่องทลายความมืดด้วยแสงประทีป  แต่ถ้าหากคนบังเกิดความคิดของใจที่ชั่ว กลายเป็นเดรัจฉาน  เปรต  นรก  ทางชั่วสามแพร่งก็ปรากฏขึ้นทันที  จมปลักอยู่ในนั้นไม่มีที่สิ้นสุดเลย !  เพราะฉะนั้น เทพดีกับเทพชั่วจึงติดตามใจคนที่คิดดีชั่ว เป็นการกวักหาให้มาเกาะติดโดยไม่มีการรีรอแม้แต่น้อยเลย

คติพจน์   :  มหาธรรมาจารย์กั้นชันในสมัยราชวงศ์หมิง กล่าวไว้ว่า "ความคิดบังเกิดขึ้นที่ใดต้องทลาย เรื่องยังมาไม่ถึงอย่าเกิดฟุ้งซ่าน หากขณะความคิดชั่วกำลังจะเกิดขึ้น เอามีดตัดขาดเสีย แรงกรรมก็จะขจัดหายไป ความคิดฟุ้งซ่านก็ไม่มีที่ให้มันเกิด เพราะฉะนั้น ด่านสำคัญของการก้าวพ้นปุถุเข้าสู่อริยะ ล้วนอยู่ที่ตรงนี้

นิทาน   :  เมื่อก่อนโน้นนายหยวนจื้อสือ เจ็บแค้นนายเหลียว ที่ลืมคุณไร้ธรรม ในเช้าตรู่เวลาตี 4 วันหนึ่ง  เขาก็ถือมีดมุ่งตรงไปที่บ้านนายเหลียวระหว่างทางได้ผ่านศาลเจ้าแห่งหนึ่ง เจ้าของศาลเจ้าคือท่านเฉียนหยวน ที่ลุกขึ้นสวดมนต์ตั้งแต่เช้ามืด มองเห็นผีหน้าตารูปร่างประหลาดหลายร้อยตัว ติดตามหยวนจื้อสือ ในมือของผีแต่ละตนก็ถือมีดบ้าง  ขวานบ้าง  ท่าทางดุดันกระหือกระหาย  เวลาผ่านไปไม่นานนัก  ตอนหยวนจื้อสือกลับมา ท่านเฉียนหยวนก็มองเห็นคนที่ติดตามเขามา บนศรีษะมีมงกุฏครอบดูแวววับ บนกายประดับด้วยมณีพลอย  มีจำนวนเป็นกลุ่มนับร้อยนับสิบ ริ้วธงขบวนดอกไม้หอมอบอวน ดูงามสง่าน่าเกรงขาม ใบหน้ายิ้มแย้มดูมงคล ด้วยเหตุนี้ท่านเฉียนหยวนจึงกวักเชิญหยวนจื้อสื่อเข้ามาที่ศาลเจ้า  เพื่อถามหาสาเหตุ หยวนจื้อสือก็กล่าวว่า "คนแซ่เหลียวเป็นคนลืมคุณไร้ธรรม เมื่อครู่นี้ข้ากำลังจะไปฆ่าเขา แต่เมื่อไปถึงหน้าบ้านของเขาก็ให้คิดว่า ถึงแม้นายเหลียวจะเป็นคนเนรคุณผิดต่อข้าก็ตาม แต่ลูกเมียของเขาไม่มีความผิดอะไรเลย อีกทั้งมารดาที่ชราแล้วก็ยังอยู่ ถ้าหากข้าฆ่าเขาตายก็เหมือนฆ่าคนทั้งบ้านนา !  เหตุเพราะใจทนไม่ได้ เมื่อความคิดเปลี่ยนเช่นนี้ จึงกลับมา !  ท่านเฉียนหยวนจึงเล่าเรื่องที่ตนได้เห็นแก่เขา ทั้งยังอนุโมทนาสาธุยินดีกับเขาแล้วว่า "สิ่งที่เธอกระทำนั้น เทพเจ้าล้วนรับรู้ อนาคตเธอต้องได้รับตำแหน่งการงานที่ดี และได้เสพบุญวาสนามากแน่นอน !" เมื่อหยวนจื้อสือได้ยินวาจาของท่านเฉียนหยวนเช่นนี้จึงเป็นกำลังใจให้เขามีความวิริยะอุตสาห์กระทำดีอย่างจริงจังยิ่งขึ้น ในที่สุดเขาก็สอบได้ตำแหน่งราชการ และได้เลื่อนขั้นสูงถึงตำแหน่งมหาอำมาตย์ด้วย

อธิบาย   :  ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า  "อันความดีกับความชั่ว ถึงที่สุดแล้วไกลกันมากปานไหน ?" อาตมากับคำกล่าวของท่านเหลาจื่อประโยคนี้ได้คิดทบทวนกลับไปกลับมาหลายเที่ยว อันถนนสองสายดีชั่วนี้ ตอนขณะเริ่มต้นแตกต่างกันมาก แต่ว่าก็อยู่ในวิถีชีวิตปกติประจำวันเท่านั้นที่ใจคิดชั่วบังเกิดขึ้น  ถ้าหากสามารถเข้าใจหลักธรรมนี้แล้วถือปฏิบัติ ย้อนสำรวจตนจริงจังแล้วละก็ พื้นใจก็จะเป็นใจที่ดีทั้งหมด เหตุนี้แหละบุญวาสนาจึงเพิ่มขึ้นไม่ขาดสาย ภัยเคราะห์ทั้งหมดก็จะถดถอยขจัดออกไป เราคงได้เห็นแล้วถึงหนึ่งความคิดที่ดีทั้งหมด เหตุนี้แหละบุญวาสนาจึงเพิ่มขึ้นไม่ขาดสาย ภัยเคราะห์ทั้งหมดก็จะถดถอยขจัดออกไป เราคงได้เห็นแล้วถึงหนึ่งความคิดที่ดีของหยวนจื้อสือบังเกิดขึ้นเท่านั้น เขาก็สามารถหมันเคราะห์ภัยเป็นบุญวาสนา โดยเฉพาะระดับความเร็วก็รวดเร็วอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ที่พูดว่า การบังเกิดใจดีชั่ว เทพดีเทพร้ายก็ตามถึงทันที อย่างนี้ยิ่งไม่ใช่ต้องเพิ่มความเชื่อขึ้นหรอกหรือ ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17/08/2012, 01:59 โดย หนึ่งเดียว หลุดพ้น »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
บทที่เจ็ด  กรรมสนอง  :  ผู้เคยทำชั่ว  ภายหลังสำนึกแก้ไข   ชั่วทั้งหลายไม่ทำ    ความดีทั้งปวงถือปฏิบัติ   นาน ๆ ไปย่อมได้มงคลโชคลาภ   ดังว่า เปลี่ยนภัยพิบัติเป็นบุญวาสนา

อธิบาย   : 
หากมีคนเคยทำผิดเรื่องชั่วร้าย ต่อมาตนเองก็สำนึกผิดและแก้ไข ทั้งยังขจัดตัดเรื่องเรื่องชั่วร้ายทั้งปวงออกไป แล้วก็ถือปฏิบัติเรื่องดีงามทั้งปวง  เมื่อกระทำเช่นนี้เรื่อย ๆ นาน ๆ ไปก็สามารถได้รับศิริมงคลมีงามเฉลิมฉลอง ก็ถึงที่กล่าวว่าหมุนภัยเคราะห์เป็นบุญวาสนา ในตอนนี้มีคำสองคำที่ยกขึ้นมาคือ สำนึกแก้ไข เพื่อแสดงต่อคนถึงวิธีการแก้ไขความผิดเปลี่ยนสู่ความดี ก็คือกลไกการหมุนภัยเคราะห์ให้เป็นบุญวาสนา แก้ไข คือการแก้ไขความผิด  สำนึกคือการสำนึกผิด  ในโลกนี้คนที่ไม่มีความดีบริสุทธิ์ดีมีน้อยมาก แล้วคนที่เคยทำความผิด ทำเรื่องชั่วร้ายมาแล้วมีมากมายทีเดียว !  อย่างไรก็ตามคนที่ชั่ว ก็อาจเปลียนแปลงสำเร็จกลายเป็นคนดีได้  เพราะฉะนั้นท่านไท่ชั่งจึงสู้อุตส่า่ห์ย้ำแล้วย้ำอีก ในตอนท้ายของคัมภีร์ซึ่งก็เป็นเป้าหมายศาสนาที่ให้สำนึกแก้ไข  จุดสำคัญคือให้รู้ตัวจากความหลง  ทำให้คนกลับหันหลังก็จะพบฝั่งก็ยังเกรงว่า ชาวโลกจะเข้าใจผิดที่ว่า  "วางมีดสังหารลง สำเร็จพุทธะทันที"   จะฟั่นเฟือคิดว่าแค่น้ำถ้วยหนึ่งก็หวังมากเกินไปว่าจะสามารถดับฟืนไฟทั้งคันรถได้ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า "ความชั่วทั้งหลายไม่ทำ" โดยหวังว่่าเขาจะสามารถเอากรรมชั่วตัดรากถอนโคลนให้หมดสิ้น พอกรรมชั่วหมดแล้วก็กล่าวว่า "ความดีทั้งปวงถือปฏิบัติ" ก็หวังว่าเขาสามารถจะบำเพ็ญสั่งสมความดีจนบริบูรณ์  ให้ปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยไป นาน ๆ ไป จึงจะสามารถมะลายเวรกรรมที่กระทำเมื่อก่อน ๆ จนหมดไป ด้วยเหตุนี้ภัยเคราะห์จึงสามารถขจัดมลายไป แล้วถือการปฏิบัติที่กระทำในแต่ละวันก็จะค่อย ๆ บริบูรณ์ การเพิ่มบุญวาสนาใหม่ ๆ ก็จะมีมาถึงเองนั่นแหละ !  ปัจจุบันคนโง่เขลาไม่มีปัญญา รู้ว่าตนเองได้ทำไม่ดีไว้ อาจเนื่องจากเกิดมโนธรรมขึ้น  เห็นความชั่วของตนที่กระทำไว้ ก็คิดว่าจะขจัดโทษกรรมโดยหวังพึ่งนักพรตหรือพระสงฆ์ ช่วยเหลือทำพิธีของขมาบาป การกระทำเช่นนี้ก็เหมือนกับใช้น้ำน้อยเพียงถ้วยเดียวไปดับไฟฟืนเป็นคันรถ !  อย่างนี้มิใช่หลงจนฟั่นเฟือสับสนหรอกหรือ ?  ยิ่งกว่านั้นคนที่พึ่งสำนึกผิด โทษบาปทีผ่านมาแทนที่จะหยุดไม่ทำแล้ว แต่ปรากฏว่าความผิดที่เขาสำนึกกลับเพิ่มมากขึ้น จนสุดท้ายเขายังจมปลักอยู่ในทะเลทุกข์ เช่นนี้แล้วทำให้ชีวิตต้องตายแล้ว  ยังทำลายจิตตนให้พินาศไปด้วย เป็นเรื่องที่น่าเศร้าโศกนัก !ถ้าหากคนที่สำนึกแก้ไขแบบนี้ จะมิเป็นการเนรคุณที่ท่านไท่ชั่งสู้อุตส่าห์ย้ำสอนเสียแรงเปล่า ๆ หรือ ?  โอพระเจ้า !  วิธีการที่ท่านไท่ชั่งสั่งสอนมนุษย์ให้สำนึกแก้ไขเป็นประโยคกำชับ ทุกเข็มที่ทิ่งแทงเห็นเลือด ดังคำที่ว่า โอสถทิพย์หนึ่งเม็ด  เสกเหล็กให้เป็นทอง  หลักธรรมวาจา  จักสามาถพลิกปปุถุสำเร็จเป็นอริยะ เพราะฉะนั้น ชาวโลกจักต้องตั้งสัตย์สาบานขยันปฏิบัติ มีเพียงแบบน้เท่านั้นจึงจะสามารถลงรอยกับท่านไท่ชั่งที่ทรงมหาเมตตามหากรุณาต่อชาวโลก  จากนี้ไปก็จะอธิบายวิธีการสำนึกก่อน แล้วจึงอธิบายวิธีการแก้ไข การสำนึกก็คือ การแก้ไขความผิดที่ผ่านมาให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ทำความผิดซ้ำอีก เป็นวิธีสำคัญที่ให้ความดีบังเกิดขึ้นเพื่อดับความชั่ว !  เพราะฉะนั้นรากแห่งความดีจึงต้องรู้จักบ่มเลี้ยง ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้มีการกระทำความดีเกิดขึ้น และเป็นเหตุให้หยุดกระทำความชั่ว บาปกรรมที่มีจึงมลายหายไป ทั้งนี้ทั้งนั้น พวกเราจะต้องดังนี้

     หนึ่ง   :  ต้องเชื่อเรื่องเหตุต้นผลกรรมอย่างถูกต้อง ไม่ให้หลงงมงาย และไม่ให้เชื่อเหตุต้นผลกรรมอย่างผิด ๆ  ความดีเช่นนี้จะได้รับบุญวาสนาตอบแทน  ส่วนทำชั่วย่อมได้รับภัยเคราะห์ ถึงแม้ยังมิได้กระทำให้เกิดขึ้นจริง ๆ แต่ผลตอบสนองก็ยังมีอยู่ เหตุที่ความคิดถึงแม้จะเกิด ๆ ดับ ๆ แต่แรงกรรมไม่สูญมลายไป ความศรัทธาเป็นต้นตอของการเข้าสู่ธรรม มีแต่ปัญญาทางเดียวที่จะเข้าถึง นี่คือรากแก่นของความดีทั้งหลาย ใช้ความศรัทธาที่เชื่อถืออย่างถูกต้อง ก็จะพลิกมาทลายใจที่ปราศจากรากแก่นได้ดีนา ! 

     สอง   :  ต้องสำนึกโทษบาป นี่เป็นรากมูลของความรู้สุกละอาย ละอายในโทษบาปที่ตนกระทำ ซึ่งไม่สมกับการเป็นคน ความละอายในบาปที่ได้ละเมิดไปแล้วย่อมได้รับโทษบาปจากฟ้าดิน เรียกว่าเป็นวิธีสว่าง ก็จะพลิกมาทลายความละอายในวิธีมืด

     สาม   :  ต้องหวาดกลัวความอนิจจัง เมื่อลมหายใจหยุดความตายก็มาถึงมโนวิญญาณก็จะติดตามแรงกรรมไปเกิด เพื่อรับผลกรรมตอบสนอง จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักสิ้นสุด ถ้าหากเข้าใจถึงหลักธรรมแห่งไตรลักษณ์ ก็จะช่วยพลิกกลับมาทลายความหวาดกลัวที่ต้องตกนรกอเวจี

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
บทที่เจ็ด  กรรมสนอง  :  ผู้เคยทำชั่ว  ภายหลังสำนึกแก้ไข   ชั่วทั้งหลายไม่ทำ    ความดีทั้งปวงถือปฏิบัติ   นาน ๆ ไปย่อมได้มงคลโชคลาภ   ดังว่า เปลี่ยนภัยพิบัติเป็นบุญวาสนา  1

     สี่   :  ต้องเปิดเผยหลังสำนึกผิด พูดให้เขาฟังถึงโทษบาปหนักเบาที่ตนได้กระทำมา เนื่องจ่กได้เปิดเผยสาเหตุของการทำผิดมาแล้ว เมล็ดแห่งโทษกรรม หรือเมล็ดพันธุ์ทำชั่วบาปก็จะเหี่ยวเฉาเหมือนกับการโค่นต้นไม้ กิ่งใบก็จะหลุดร่วงลงมา ก็จะพลิกกลับมามลายใจที่เป็นคลังชั่วบาป

     ห้า   :  ต้องตัดใจที่สร้างบาปติดต่อกัน ต้องมีความกล้าหาญที่จะเอาชั่วบาปทิ้งให้ถึงก้นปึ้ง เหมือนเอามีดเหล็กกล้าตัดของตัดฉับเดียวให้ขาด นี่ก็เป็นการพลิกกลับมามลายใจที่สร้างบาปติดต่อกัน

     หก   :  ต้องบังเกิดใจโพธิสัตว์ แผ่ปณิธานที่จะขจัดปัดเป่าความทุกข์ของเวไนยสัตว์ จะแผ่ทานให้แก่เวไนยทั้งหลายให้มีความสุข ด้วยใจที่กว้างใหญ่นี้ ก็จะพลิกกลับมาทลายใจที่ชั่วบาปทั้งหลายได้

     เจ็ด   :  ต้องสร้างกุศลมาชดใช้ความชั่วที่กระทำมา วิริยะมุ่งมั่นพากเพียรบำเพ็ญตน ให้เที่ยงตรงในกายกรรม  วจีกรรม  และมโนกรรม  ด้วยการปฏิบัติ จะขี้เกียจไม่ได้เลยแม้แต่น้อย นี่แหละคือการปฏิบัติธรรมสร้างกุศล ก็จะพลิกกลับมาทลายใจที่ไม่บำเพ็ญกรรมสาม อันเป็นเหตุให้สร้างบาป

     แปด :  ต้องปกปักรักษาธรรมเที่ยงแท้ ไม่เข้าใกล้ไสยศาสตร์ อาจารย์ชั่วร้ายที่โจมตีพุทธธรรม  เป็นการพลิกกลับมาทลายใจที่ดับเรื่องดีทั้งใจ

     เก้า :  ต้องภาวนาขอบุญบารมีพระพุทธเจ้าทั้งหลายกับทิพยบัญชาของพระองค์ อ้อนวอนให้พุทธเจ้าสงสารรับไว้ปกป้องรักษาเรา ขจัดโทษกรรมให้ทิพย์โอสถที่สะอาดเย็นเช่นนี้ จะพลิกกลับมาทลายใจที่รู้จักแต่ความชั่วคิดชั่วของเราได้

     สิบ :  ต้องเพ่งพิศส่องดูโทษ จิตเดิมนั้นว่าง บาปกรรมเกิดขึ้นจากใจ ก็ต้องดับที่ใจ เพราะฉะนั้น จึงพูดว่า "ถ้าใจนี้ดับ บาปก็มลาย" ถ้าหากรู้ว่าบาปบุญเดิมที่ไม่มีที่ใจตน องค์ของใจก็สว่างสงบ จะต้องกลับคืนสู่ต้นคืนสู่ตอ ก็จะสามารถใสสอาดสมบูรณ์ถึงที่สุด นี่แหละคือพลิกกลับมาทลายอวิชชาของใจที่ยึดติดได้

        ในคัมภีร์ว่า  :  "ทะเลกิเลสกรรมขีดขวางทั้งหลาย ล้วนเกิดจากคิดฟุ้งซ่าน ผู้อยากสำนึก นั่งคิดถึงภาพลักษณ์จริง  โทษบาปดุจคนิ้งน้ำค้าง ตะวันปัญญาสามารถขจัดมลายได้" เพราะฉะนั้น พวกเราต้องรู้สำนึกด้วยความจริงใจ ดุจดังเสื้อผ้าที่ยังไม่ได้ซักล้างนานร้อยปี ก็สามารถซักให้สะอาดได้ภายในวันเดียว  หรือเหมือนกระจกที่ฝุ่นเกาะมานานพันปี ก็สามารถเช็ดถูให้มันเหมือนเดิมที่เงาใสได้นา !  เพราะฉะนั้นการสำนึกผิด จึงสามารถแก้ไขขจัดความผิดที่ผ่ามมานานหมื่นกัปได้ ขอเพียงต้องจริงใจสำนึกก็จะไม่มีเวรกรรมอะไรที่ขจัดดับไม่ได้ และก็ไม่มีกรรมดีอะไรที่บังเกิดขึ้นไม่ได้นา ! 

     นิทาน   :  ท่านอนิรุทธ์ในอดีตชาติเป็นโจรขโมย ในคืนวันหนึ่ง เขาเข้าไปเพื่อขโมยของในวัดแห่งหนึ่ง มองเห็นดวงประทีปหน้าพระพุทธรูปกำลังจะดับมอดลง จึงดึงลูกธนูขึ้นมาแล้วเขี่ยใส้ตะเกียงขึ้นมา ดวงประทีปก็กลับสว่างไสว ความสว่างจากดวงประทีปทิ่มแทงตาเขามาก ในใจของอนุรุทธ์รู้สึกหวาดกลัวจึงละชั่วไปสู่ดี บาปกรรมในอดีตที่ทำมาก็ค่อย ๆ มลายหายไป และกรรมดีที่กระทำมาก็่อย ๆ เพิ่มจนบริบูรณ์ ดังนั้นท่านอนิรุทธ์จึงได้อริยมรรคผล

     นิทาน   :  ในสมัยซ่ง ขุนนางหยางตงเหอ มีตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาเมืองสี่โจว ในรัชสมัยของพระเจ้าเทียนเซิน ถูกราชสำนักให้ไปกินตำแหน่งผู้พิพากษาเมืองไฉโจว เพราะเขาตัดสินลงโทษใส่ร้าย จึงถูกพระเจ้าไปย่จี๋เจินอู่ (ในกรุงเทพฯ อยู่ที่ศาลเจ้าพ่อเสือ) รายงานความผิด ขณะที่จะถูกลงโทษอย่างหนัก ขุนนางหยางตงเหอก็ให้หวาดกลัวสำนึกผิด จึงรีบลาออกจากราชการจากผู้พิพากษาเมืองไฉโจวทันที แล้วตั้งสาบานจะบำเพ็ญร้อยความดี เพื่อไถ่โทษบาป ทุกครั้งที่เขาพบภิกษุนักพรตหรือคนยากจน หรือคนกำพร้าโดดเดี่ยว หรือคนป่วยตายในบ้านก็จะเข้าไปสงเคราห์ทันทีด้วยเหตุนี้หลายปีที่ผ่านมา ทรัพย์สมบัติในบ้านจึงหมดไปกับการให้ทาน และเขาก็ศรัทธากราบไหว้พระเจ้าเจินอู่ทุกวัน  พระเจ้าเจินอู่เห็นความกล้าหาญในการแก้ไขความผิดจึงเกิดความซาบซึ้ง สงสารในความยากจนของเขา จึงแปลงเป็นนักพรตคนหนึ่ง แล้วก็นำเอาใบเซียมซีของพระองค์ 12 ใบมอบให้เขาเพื่อให้เขาสามารถมีรายได้มาบ้าง จึงมีชีวิตสงบสุข และปฏิบัติบำเพ็ญต่อไป เมื่อเขาตายไปแล้ว พระเจ้าตงอวี่มหาราชรับเขาไปเป็นเทพผู้บันทึกสมุดแถบเมืองหม่าซื และทางราชสำนักก็สถาปนาให้เขาเป็นอริยเจ้าอู้เปิ่น

     อธิบาย   :  คุณเฉินเหลียงหม้อกล่าวว่า  "ความยากดีมีจนของคน อายุยืนหรืออายุสั่น ตลอดจนการกินการอยู่  การกระทำการหยุดยั้ง  ล้วนมีกำหนด  ซึ่งไม่อาจขัดขืนได้"  อย่างไรก็ตามศูนย์กลางเปลี่ยนแปลงเคราะห์วาสนากลับอยู่ที่คนเป็นผู้กำหนด ดังนั้น  "กำหนด" นี้ก็ไม่สามารถกำจัดได้ เพราะว่ากำหนดนี้คือโองการฟ้า หรือชะตาฟ้า  แต่ความรู้สึกตอบสนองอยู่ที่ใใจฟ้า เบื้องบนถือหลักประโยชน์ของเวไนยเป็นหลัก ไม่แบ่งแยก  ไม่เอนเอียงแม้แต่น้อย  ถ้าคนบังเกิดความดีมีใจที่จะสงเคราะห์คนแล้ว แม้ตอนเริ่มต้นยังไม่มีเป้าหมายอะไรจะทำ ถึงแม้ขณะนั้นจะเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ แต่ในใจศรัทธาตั้งใจที่สุด ก็จะสามารถขึ้นระบบใจฟ้าได้ เหมือนเสียงสะท้อนที่ดังล้วนเป็นหลักธรรมแน่นอน "กำหนด" ก็คือ "ฟ้ากำหนด"  ใจฟ้าได้ขึ้นระบบไว้แล้ว ฟ้ากำหนดก็จะหมุนตาม จะถูกกำหนดให้อยู่ได้อย่างไร เหมือนประเทศชาติที่ลงโทษ ให้รางวัลมีระบบ ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ๆ ถ้าคนที่เป็นขุนนาง  ถ้าสามารถจงรักภักดีต่อราชาจนเป็นที่ประทับใจ ถึงแม้อาจโยกย้าย ถูกเนรเทศแล้วก็จะถูกเรียกตัวกลับได้ หรือใกล้ลงโทษประหาร พระราชาก็มีโองการนิรโทษยกเลิกได้ ในเวลาสั้น ๆ ดีใจโกรธก็เปลี่ยนแปลงได้ทันทีไม่เหมือนกัน แล้วจะมีอะไรเล่าที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงรู้ว่า ใจฟ้ากับฟ้ากำหนดต่างก็เพิ่มลดซึ่งกันและกันได้ จากอดีตสู่ปัจจับัน เรื่องราวรองรอยที่ตอบสนองต่อบุญวาสนามีมากมายนักเป็นความจริงที่น่าเชื่อถือได้ !"   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
บทที่เจ็ด  กรรมสนอง  :  ดังนั้น ผู้มงคล  วาจาดี  มองดี  ทำดี  วันหนึ่งมีสามดี  สามปีฟ้าย่อมส่งบุญวาสนา  ผู้อุบาทว์  วาจาชั่ว  มองชั่ว  ทำชั่ว  วันหนึ่งมีสามชั่ว  สามปีฟ้าย่อมส่งภัยพิบัติ  ยังจะไม่พยายามปฏิบัติหรือ ! 

อธิบาย   : 
เพราะว่าผู้มงคลที่พากเพียรกระทำความดีทั้งหลาย เพราะว่าคำพูดที่ดี การมองคนในแง่ดี  การกระทำในทางดี  ในวันหนึ่งก็ได้ทำความดีสามอย่างแล้ว ทำไปครบสามปี การทำความดีของเขาก็จะสมบูรณ์ ฟ้าก็ประทานบุญวาสนาให้เขา เพิ่มพูนอายุขัยเขา แต่คนชั่วอุบามทว์ เพราะคำพูดร้าย มองคนในแง่ร้ายและกระทำสิ่งที่ชั่ว ในวันหนึ่งก็ได้ทำความชั่วตั้งสามอย่างแล้ว เมื่อทำครบสามปีเต็ม ความชั่วของเขาเต็มเปี่ยมแล้ว ฟ้าย่อมส่งภัยพิบัติมาสู่เขา ตัดอายุขัย  ทำไมคนจึงไม่พากเพียรทำความดีเล่าเพื่อเปลี่ยนภัยพิบัติเป็นบุญวาสนาไงเล่า !  ตอนนี้เป็นตอนสรุปของคัมภีร์กั่นอิ้งเพียน จึงเป็นตอนที่สอนคนให้ทำดี ละชั่ว  "ดังนั้น" จึงเป็นคำสรุปของทั้งหมด"ผู้มงคล" ก็คือคนดี  คนอุบาทว์ คือ คนชั่วช้า  เพราะการกระทำชั่วจึงได้รับภัยพิบัติ จึงเป็นคนอุบาทว์  คำว่า  ความชั่วทั้งหลาย กับ ความดีทั้งหลาย  จึงหมายถึงการกระทำกาย วาจา และใจนั่นเอง เช่น พูดดี  มองดี  ทำดี  สามอย่าง  เป็นจุดที่เราต้องลงมือกระทำ  พูดดี  เช่นสิ่งที่ไร้มารยาทไม่พูด ขยันบอกคนอื่นให้ทำดี  เตือนคนให้ทำดีเป็นต้น มองดี เช่น สิ่งที่ไร้มารยาทไม่มอง ดีใจที่เห็นคนดี  พอใจดูหนังสือดี  ให้เห็นสิ่งที่ตัวเองทำไม่ดีเป็นนิจ  อย่าไปมองเรื่องไม่ดีของคนอื่น  กระทำดี เช่น ไร้มารยาทไม่ทำ  เรื่องไร้ศีลธรรมไม่ทำ  กล้าหาญไปทำเรื่องดี ให้อภัยให้ความสะดวกผู้อื่น บุญต่าง ๆ ให้บำเพ็ญ ดำริชี้นำในสิ่งที่ตนอยู่ แล้วค่อย ๆ กระจายไปทั่วสารทิศ จนซาบซึ้งกล่อมเกลาชาวโลกให้มาร่วมทำความดีด้วยกัน ซึ่งตรงข้ามกับการทำชั่ว ทำเช่นนี้เรื่อยไป สามปีให้หลังก็นับถึงพันวัน เหตุนี้เอง ความดีความชั่วที่สั่งสมก็ถึงขีดเต็มสมบูรณ์แล้ว ใจคนนั้นมีชีวิตชีวายิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิจ ในช่วงเวลา 3 ปีที่นาน ถ้าหากใจไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เขาทำไม่ว่าจะดีหรือชั่วก็ตาม ก็จะถึงจุดที่ชำนาญคล่องตัว !  เพราะถึงจุดนี้ฟ้าเบื้องบนและเทพเจ้าก็จะให้รางวัลหรือลงโทษเป็นบุญวาสนาหรือภัยพพิบัติ ซึ่งจุดสำคัญของเนื้อแท้แก่นสารของคัมภีร์ทั้งหมดก็อยู่ที่ตรงนี้  และที่นี่แหละที่เขากล่าวถึง "ฟ้า" ก็คือใจของเรา ท่านเมิ่งจื่อว่า "รักษาใจของตนให้ว่องไวสว่าง บ่มเลี้ยงจิตเดิมที่ฟ้าประทานให้นี้คือวิธีการบูชาฟ้าเบื้องบน" คัมภีร์ตอนนี้พูดถึงคำว่า "ย่อม" หมายถึงฟ้าที่ลี้ลับ ซับซ้อนไม่มีสุ้มเสียง  ไม่มีกลิ่น  แต่ย่อมขึ้นอยู่ที่ใจของเราบังเกิด พูด มอง กระทำ ในสามปีว่าดีหรือชั่ว ที่พูดกันว่าไม่ว่าจะเป็นอะไรล้วนตนเองเป็นผู้แสวงหามาเอง หลักธรรมเป็นเช่นนี้เอง  คนสว่างสูงใจปิติมุ่งธรรม  ต้นตอมิใช่แสวงหาบุญวาสนา หรือ อยากได้บุญวาสนาจึงทำความดี  เพรานั้น ใจก้าวล่วงสู่ความเห็นแก่ตัวแล้ว !  เพราะฉะนั้น ตนต้องทำถึงที่สุด  จากนั้นก็สุดแท้แต่ฟ้า โดยใจต้องไม่มุ่งหวัง อย่างไรก็ตาม ภัยพิบัติบุญวาสนา ที่เป็นผลกรรมตอบสนอง ก็อยู่ที่ใจดีชั่วกวักหามาเอง วิถีฟ้าคือ ตอบสนองตามเหตุต้นผลกรรม  ที่จริงก็เต็มเปี่ยมท่ามกลางฟ้าดินนี่เอง และก็ไม่ผิดเพี้ยนแม้แต่น้อย  มีคนเอาดีละชั่วเป็นเรื่องภายในของตนเอง คนแบบนี้ถือเป็นคนมีรากธรรมเลอเลิศสูงส่ง อย่างไรก็ตามคนในโลกนี้คนปุถุชนมีมาก เพราะฉะนั้นจึงกลัวภัยพิบัติ และอยากแสวงหาบุญวาสนา จึงยอมละชั่วทำดี ก็เป็นสิ่งที่ท่านไท่ชั่งหวังโปรดปก แต่ก็เกรงว่าชาวโลกยังไม่ยอมแสวงหาบุญวาสนาอีก !  ท่านเมิ่งจื่อว่า  "ผู้แสวงหามีธรรม ผู้ได้มีชะตาคือแสวงได้ประโยชน์อยู่ที่ได้เอย" เป็นหลักธรรมถูกต้องที่สุด ถ้าหากไปแสวงหาตามวิธีของท่านเมิ่งจื่อก็จะไม่เกิดอันตราย !   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
บทที่เจ็ด  กรรมสนอง  :  ดังนั้น ผู้มงคล  วาจาดี  มองดี  ทำดี  วันหนึ่งมีสามดี  สามปีฟ้าย่อมส่งบุญวาสนา  ผู้อุบาทว์  วาจาชั่ว  มองชั่ว  ทำชั่ว  วันหนึ่งมีสามชั่ว  สามปีฟ้าย่อมส่งภัยพิบัติ  ยังจะไม่พยายามปฏิบัติหรือ !  2

        พูดถึงการประทานบุญวาสนา อาทิเช่น ตนเองเสวยบุญวาสนาอยู่ ลูกหลานดีมีมโนธรรม ครอบครัวเจริญ อายุขัยยืนยาว งานการราบรื่น  ตลอดจนเพื่อปราชญ์อริยะ  สำเร็จเซียนพุทธ  ลุแจ้งจิตตน  ประจักษ์ตรงที่ธรรมวิริยะ  ไม่มีการเกิด  โปรดคนโปรดสัตว์  ตั้งสุดหมื่นชาติ เหล่านี้ล้วนเป็นการทานบุญวาสนาพูดถึงการขับภัยพิบัติ อาทิเช่น ตนเองได้รับมหาภัยพิบัติ  ลูกหลานก็โหดเหี้ยมชั่วร้าย  เสื่อมถอยพ่ายแพ้จนตาย  หรืออายุขัยสั้น  ครอบครัวตกต่ำ  ทุกเรื่องล้วนมีอุปสรรค  เมื่อตายแล้วก็ตกนรกอเวจี หรือเวียนเกิดเป็นอย่างอื่น ทุกชาติได้รับโทษเคราะห์ บาปกรรมตกทอดถึงลูกหลาน ถูกสาปแช่งนับพันปี โอ้คุณพระช่วย !  ถ้าวิพากษ์วิจารณ์แบบนี้ วิถีแห่งภัยพิบัติและบุญวาสนาจึงมากมายมหาศาลบยิ่งแล้ว !  น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก !  คำสุดท้ายที่ท่านศาสดาไท่ชั่งทิ้งท้ายไว้ให้คือ "พากเพียร" หมายถึงความดีทั้งหลายให้พากเพียรกระทำ เป็นบทสรุปสำคัญของคัมภีร์กั่นอิ้งเพียน  คำพากเพียรก็คือ วิธีการสำคัญแก้ไขความผิดโดยการทำดี  การกระทำก็คือร่างกายขยันไปกระทำ เพราะฉะนั้นพากเพียรกระทำก็คือมุ่งทะยานขยันไปปฏิบัติ แม้แต่ต้องตายก็ไม่ท้อถอย  ในคัมภีร์ชูจิงว่า "ความยากลำบากไม่รู้จัก นอกเสียไปกระทำยากลำบาก" คือพูดว่าลำบาก ๆ ด้วยปากไม่รู้หรอกนอกเสียจากลงมือไปทำ มีคำพูดว่า "พูดว่าได้คืบ สู้ทำได้นิ้วไม่ได้" ถ้ารู้อย่างเดียวแต่ไม่ทำ บอกได้เลยว่าไม่มีประโยชน์ จึงหลีกไม่ได้ต้องได้รับเอง ในมหาสมุทรแห่งการเกิดดับ เพราะฉะนั้น หากชาวโลกแสวงหาทางรอด ก็ต้องลงมือเสี่ยงตาย !  ท่านจูจื่อกล่าวว่า ขณะที่ปราณหยางกำลังขับเคลื่อน แม้แต่แท่นหินก็ทะลุุ  จิตวิญญาณถึงที่ไหน เรื่องอะไรจะไม่สำเร็จ" ถ้าคนเป็นได้เช่นนี้ ก็จะบรรลุถึงความสำเร็จแน่นอน ก็จะประจักษ์ภาวะอริยะฐานะแน่นอน ! 

อธิบาย   :  รู้ว่าไม่กระทำดีก็ไม่มีบุญวาสนา ไม่ได้กระทำชั่วก็ไม่มีภัยพิบัติ  นี่คือหลักธรรมฟ้าที่ไม่เปลียนแปลง ดังนั้น  การตอบสนองของดีชั่ว บางทีก็สนองที่ตัวเอง  บ้างก็สนองที่ลูกหลาน  บางทีมีคนชั่วปัจจุบัน  แต่อดีตชาติได้บำเพ็ญเหตุปัจจัยกุศลจนถึงวาระตอบสนองแล้ว ชาตินี้เขาควรต้องรับภัยพิบัต แต่กลับเสวยบุญวาสนา หรือมีบางคนดีในปัจจุบัน แต่เพราะชาติที่แล้วเขาสร้างเหตุปัจจัยชั่วเอาไว้จนถึงวาระตอบสนองแล้ว ดังนั้นในชาตินี้แทนที่เขาจะเสวยบุญวาสนา แต่กลับรับภัยพิบัติ เขาต้องรอจนกว่าภัยพิบัติและบุญวาสนาจะรับไปหมดแล้ว ชาติปัจจุบันที่ทำดีชั่วจึงจะค่อยตอบสนองให้เห็น ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเร็วหรือช้าเท่านั้น ไม่ใช่การตอบสนองที่ผิดพลาดก็หาไม่ เพราะฉะนั้นจึงพูดว่า "กฏหมายในโลกหลบเลี่ยงได้ กฏยมโลกไม่รั่วไหล ตาข่ายโลกห่างเล็ดลอดง่าย ตาข่ายยมโลกถี่หลบหนียาก" คนปัจจุบัน พอทำดีสักเรื่องก็หวังได้รับผลตอบสนอง คนที่รู้สึกไม่ค่อยพอใจก็พูดว่า"ธรรมแห่งฟ้ารู้ยาก"  จะรู้อะไรเมื่อคนเราไม่หิว  ไม่หนาว  ไม่มีภัย  ไม่อันตราย  คนเรียนหนังสือก็ได้เรียน  ชาวนาก็มีนาจะไถ  คนงานก็มีงานทำ  ผู้ค้าขายก็ขายได้  ยิ้มหัวกันบ่อย ๆ  หน้านิ่วคิ้วขมวดมีน้อย  อย่างนี้จะเรียกว่า ไม่ใช่บุญวาสนาตอบสนองหรอกหรือ ?.เพราะคนไม่รู้จักพอ โลกนี้จึงเต็มไปด้วยทุกข์เข็ญ เป็นไปได้อย่างไรที่จะให้ทุก ๆ คน ร่ำรวย 

        มีแต่ชาวโลกต้องเชื่อถือเคารพหลักธรรมคัมภีร์กั่นอิ้งเพียน (กรรมสนอง) น้อมปฏิบัติจริงใจก็จะมีบุญวาสนามากมาย ลูกหลานเจริญ  น้อมปฏิบัติไปได้หนึ่งปี โทษบาปก็จะมลายดับไป น้อมปฏิบัติไปถึง 4 ปี  ร้อยวาสนาก็มาถึง น้อมปฏิบัติได้ 7 ปีลูกหลานก็สอบได้ตำแหน่งดี  น้อมปฏิบัติได้ 10 ปี อายุขัยยืนยาว  น้อมปฏิบัติได้ 15 ปี งานทุกอย่างจะราบรื่น  น้อมปฏิบัติได้ 20 - 30ปีนามได้ขึ้นทำเนียบเซียน  น้อมปฏิบัติได้ 50 ปี เทพเจ้าให้ความเคารพ  ได้ขึ้นทำเนียบชั้นบน  เหล่านี้เป็นวาจาของท่านไท่ชั่งจริงแท้  กลัวแต่ชาวโลกไม่สามารถปฏิบัติได้จริงนั่นเอง !  คนที่มีอุดมการณ์ตั้งมั่นที่มุ่งสู่มหาธรรม ให้ถึงที่สุดนั้น ขณะเริ่มต้นตั้งปณิธาน ก็จำเป็นต้องฉุดช่วยตนเองและช่วยผู้อื่น  และการช่วยตนเองกับการช่วยผู้อื่นนั้น ต้องมีความสามารถบำเพ็ญทั้งบุญวาสนาและปัญญา การบำเพ็ญปัญญาต้องเข้าใจถึงเป้าหมายของศานาว่าปฏิบัติบำเพ็ญอย่างไร จึงจะบรรลุถึงสภาวะจิตเดิม  ส่วนการบำเพ็ญบุญวาสนา ก็ต้องเข้าใจถึงหลักการเป็นคน ซึ่งก็มีหลักแห่งคุณสัมพันธ์ห้า  ที่นำมาใช้ปฏิบัติฝึกฝน ใจในชีวิตประจำวัน และการอยู่ร่วมกันต้องคอยช่วยเหลือดูแลให้สอดคล้องกัน จึงจะสามารถเกื้อหนุนกันสำเร็จร่วมกัน เช่นนี้  พระเจ้าก็จะประทานราชโองการรอรับเขา เหล่าพุทธเจ้าย่อมเตรียมแผ่นดินสะอาด (พุทธเกษตร)  รับรองเขา  ไม่เพียงแต่หลุดพ้นการเกิดสู่ภพภูมิเบื้องหน้าเท่านั้น ที่จริงแล้วก็คือการแจ้งประจักษ์บรรลุถึงธรรมวิริยะที่มหดสิ้นการเกิดอีกทันที คือบรรลุถึงภูมิที่ไม่เกิดดับอีกแล้วหลังจากนั้นก็สามารถเข้าสู่โลกเพื่อโปรดปกกล่อมเกลาเวไนยสัตว์อีกก็ได้  จบสิ้นเรื่องราวหนึ่งอนันตปัจจัย ถ้าหากผู้บำเพ็ญมีใจจดจ่ออยู่กับความหวังของการมีชีวิตยืนยาวละก็ จะเป็นการบำเพ็ญเพื่อชีวิตเท่านั้น ถ้าการบำเพ็ญยังไม่ถึงจุดหลุดพ้นการเกิดดับ  และเมื่อเสวยบุญวาสนาจนหมดลงแล้วก็ยังจะต้องร่วงหล่นลงมาอีก !  เพียงแต่ได้ไปเกิดบนภพภูมิสวรรค์สูงที่สุด คือ สวรรค์อเนวสัญญานาสัญญามีอายุขัยนานถึงแปดหมื่นสี่พันมหากัป (หนึ่งมหากัปเท่ากับ หนึ่งพันสามร้อยสี่สิบสี่ล้านปี)  สุดท้ายก็ยังต้องตกลงมาอยู่ในหกวิถี  ซึ่งก็ยังไม่สามารถหลุดพ้นจากสามภูมิ  ยังคงเป็นเวไนยสัตว์หมุนเวียนอยู่ในหกวิถี  เหล่านี้ล้วนยังไม่สามารถเข้าถึงใจแท้ที่ประภัสสรของตนได้ เป็นเพราะว่าได้สั่งสมความคิดฟั่นเฟือจินตนาการที่ว่างเปล่า เป็นความรู้สึกที่กวักหาสามภูมิ (กามภูมิ  รูปภูมิ  อรูปภูมิ)  เพราะแรงกรรมที่กระตุ้นกวักหาชักนำไปสู่วิถีที่แตกต่างกัน ตามแต่แรงกรรมของแต่ละคนสร้างขึ้น  มีเพียงจิตตรัสรู้อันเป็นเครื่องมือที่บรรลุถึงเบื้องสุดเท่านั้น  จึงจะสามารถเข้าใจกระจ่างแจ้งเหตุปัจจัยของความคิดฟั่นเฟือแห่งจิตนาการว่างเปล่าได้  เดิมทีไม่มีอะไรเลยสักสิ่งหนึ่ง แต่เพราะหวังให้เกิดประโยชน์กับเหล่าเวไนยสัตว์ให้มีกำลังทำความดี แล้วก็จะสามารถถือปฏิบัติด้วยความปลื้อปิติสมบูรณ์ได้ เพราะฉะนั้นจึงจะสามารถถึงที่สุด แห่งหนึ่งอนันตเหตุปัจจัย จึงจำเป็นต้องรวมเข้าสู่การบำเพ็ญ ทั้งบุญวาสนาและปัญญา จนกว่าจะลุถึงสภาวะที่สมบูรณ์ !  เป็นการบำเพ็ญควบรวมทั้งสองในเวลาเดียวกัน (วาสนาและปัญญา)    

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
บทที่เจ็ด  กรรมสนอง  :  นิทาน

        อริยเจ้าหวังจื้อแห่งซีหวิน
ในบันทึกผันซันกล่าวว่า มีผู้ถามเรื่องดีชั่ว  ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นจากเหตุต้นผลกรรมของบาปบุญ  อาจารย์ตอบว่า"เหตุต้นผลกรรมของบาปบุญอยู่ที่เปลือก (ขอบเขต)  ของหยินหยาง  (ความสมดุลของชั้นบรรยากาศ)  ถ้าหากเธอสามารถหลุดออกจากเปลือกของหยินหยางได้ ก็จะไม่ถูกกรรมสนองจากบาปบุญเลย"  ถ้าเช่นนั้น อะไรเล่าคือเปลือกดีชั่วของหยิยหยางเล่า ?.  ถ้าหากใจมีความคิดแม้เพียงบางเบา ๆ ดังเส้นใยอยากของความเห็นแก่ตนเท่านั้น ก็จะอยู่ในเปลือกของหยิน ถ้าหากเกิดความคิดปิติอยากทำความดี ก็จะอยู่ในเปลือกของหยาง หากอยู่ในเขตหยินก็จะได้รับความชั่วตอบสนอง  ในเขตหยางก็มีความคิดดีตอบสนอง  ถ้าหากสามารถฝึกฝนองค์ใจให้ว่างสะอาด ไม่มีดีไม่มีชั่ว  ไม่มีติดขัดแม้แต่น้อย  ตนเป็นนายแห่งตนได้แล้ว บาปบุญก็ผูกพันเขาไม่ได้  เหตุต้นผลกรรมก็ผูกมัดเขาไม่ได้ อย่างนี้แหละที่อริยเจ้าได้พ้นจากเปลือกของหยินหยาง ! 

นิทาน 2  :  ในสมัยซ่ง ท่านจูจื่อเหมยอัน มีความเข้มงวดขยัน ปฏิยัติรักษากฏเกณฑ์เป็นอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สะดวกสบายต่อนักปฏิบัติ พวกเขาจะรู้ได้อย่างไร เมื่อเขาเรียนหลักธรรมวิทยายังไม่เข้าใจทะลุปรุโปร่ง ถ้าหากปล่อยให้หละหลวมต่อกฏเกณฑ์แล้วก็ยากที่จะเข้าสู่แก่นสารของหลักธรรมวิทยาได้ ถ้าหากท่านจูจื่อไม่แน่วแน่เข้มแข็งพากเพียรขยันถือปฏิบัติเคร่งครัดละก็ หลักธรรมวิทยาก็คงสาบสูญขาดการสืบทอดไปนานแล้ว !เพราะว่าในสังคมยุคนั้นกำลังอยู่ในกระแสห้ามเรียนวิชาธรรมกัน สังคมเอาหลักธรรมวิทยาเป็นวิชาปลอม และก็กล่าวหาธรรมวิทยาเป็นทางมาร คนที่ลุกขึ้นต่อต้านในสมัยนั้น ได้แก่ หัน...  หลินเจี้ยจื่อ  หวังหยุย  เฉินเจี่ย  พวกเขากล่าวโทษอย่างหนัก  แม้แต่คัมภีร์ของท่านขงจื่อ  เมิ่งจื่อก็ถูกควบคุมห้ามเรียนด้วย แต่ท่านจูจื่อก็ยังคงจริงใจตั้งมั่นทนต่อการกล่าวหาของบุคคลดังกล่าว สงบสติอารมณ์ไม่โต้ตอบเคร่งครัดปฏิบัติกฏเกณฑ์เข้มงวดต่อไป แต่ก็มีอาจารย์บางคนที่ไม่มั่นคงไร้จุดยืนยอมแก้ไขหลักธรรมดั้งเดิม กลายเป็นอาจารย์นอกรีด มีแต่ท่านจูจื่อเท่านั้นที่สามารถรับชะตากรรมแบกรับพงศาธรรมยืนหยัดอยู่รอด ไม่กังวลไม่หวาดกลัว แต่ละย่างก้าวไม่กล้าทำส่งเดชขอไปที แม้จะได้รับการโจมตี อุปสรรคร้อยแปดก็สบายปกติ ยังคงขยันสั่งสอนผู้เรียนต่อไป  จึงมีนักปราชญ์เกิดขึ้นมากมาย เคร่งครัดบังคับตน  เช่น ท่านหยวนจื่อเรื่องสี่ไร้มารยาทไม่...  โดยไม่ละเมิดแม้แต่น้อย  ด้วยเหตุนี้วิชาบัณฑิตกับธรมวิทยาในขณะนั้น ยังคงเป็นที่นิยมดุจดังตะวันกลางฟ้า เพราะเป็นผลจากท่านจูจื่อขยันปฏิบัตินั่นเอง !

นิทาน 3  :  ในสมัยซ่ง ขุนนางเซิ่นเอี๋ยน เป็นชาวเมืองเหยินเหอ เขาสอบได้ตำแหน่งจิ้นสือตอนหนุ่ม ๆ เป็นข้าราชการอำเภอจวิน  ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นถึงเสนาบดีฝ่ายซ้าย แต่ละวันเขาจะครุ่นคิดอยู่เสมอว่า จะจงรักภักดีต่อพระราชาอย่างไรบ้าง จะตุ้มครองประชาราษฏร์ให้อยู่เย็นเป็นสุขอย่างไร การกระทำของตนแต่ละก้าว  แต่ละคำพูด  เขาไม่กล้าส่งเดช  แม้จะอยู่ในที่ ๆ ลับตาคน เขาก็ยังคงระมัดระวังรักษาคุณลักษณ์เช่นนี้ตลอดเวลา เขารอจนลูกชายเติบโตแล้ว เขาก็ลาออกจากราชการกลับมาอยู่บ้าน  แต่งกายเสื้อผ้าหยาบ  และไม่ยุ่งกับทางโลกอีกเลย เขาจะสงบใจบำเพ็ญธรรม ทุกวันเขาจะสวดมนต์อวตังสกสูตร และปรัชญาวัชรปรามิตาสูตร ของมหายาน  แล้วก็ปฏิบัติคำสอนเวลาว่างก็จะทำฌานสมาธิเพ่งพิจารณา พอมาถึงปีรัชสมัยพระเจ้าต้ากวน อายุก็กว่า 90 ปีแล้ว ฉับพลันเขาก็บรรลุธรรม จึงพูดกับคนดูแลรับใช้เขาว่า "ชีวิตคนในโลกนี้ เหมือนการเล่นละครแต่ละฉาก เมื่อกลองดังขึ้นตัวละครจะเป็นตัวเอกตัวตลกต่างรูปแบบต่างก็แสดงบทของแต่ละคน แต่ว่าเมื่อเทียนเผาจนแสงไฟดับมอดแล้ว ยังจะมีความสุขอะไร ?. ก็เหมือนที่ข้าเข้ามาสู่โลกนี้ แค่พริบตาก็เก้าสิบปีแล้ว เหมือนภาพมายากำลังฝันอยู่ เหมือนน้ำค้างยามเช้า  แวบเดียวก็หายรวดเร็ว !"  โชคดีที่ข้าบรรลุพุทธจิต พุทธจิตนี้ไร้ขอบเขต ไม่มีรูปร่างว่าเหลี่ยมกลม ใหญ่เล็กไม่ใช่ขาว เหลือง เขียว แดง  ไม่มียาวสั้น สูงต่ำ  ไม่มีโกรธ ไม่มีดีใจ ไม่มีผิด ไม่มีดี ไม่มีชั่ว  ไม่มีอะไรสักสิ่งหนึ่งเลย แต่ก็โอบล้อมสรรพสิ่ง !  นี่คือจริงแท้ที่สุด ไม่มีมาไม่มีไป  เป็นหลักธรรมแท้อัศจรรย์ !  แต่ความสำคัญอยู่ที่คนจะสามารถหรือไม่สามารถตั้งใจวิริยะใจต่อใจสืบสันติติดต่อกันไปไม่ขาด บรรดาพุทธเจ้าทั้งสามภพ ล้วนออกจากตรงนี้ หลักธรรมเช่นนี้ ดังในวัชรปรามิตาสูตรว่าเป็นความจริงที่ไม่เป็นมายา พวกเธอทุกคนต้องพากเพียรปฏิบัตินา !  พอกล่าวจบแล้ว เขาก็นั่งสงบพนมมือดับขันธ์ไป ในเวลานั้น ทั้งห้องมีกลิ่นหอม เมฆบนฟ้ามีลักษณะเป็นมงคล มีแสงแวววับต่าง ๆ สาดส่องสู่โลก ลักษณะอันเป็นมงคลเช่นนี้อยู่นานหลายวัน คนใกล้เคียงต่างพากันเฝ้ามองการดับขันธ์ของเขา ที่กล่าวมาแล้ว "พากเพียรปฏิบัติ" อันเป็นเรื่องวร (โกอาน) เป็นหลักธรรมของศาสนาทั้งสามคือ ขงจื่อ  เต๋า  และพุทธ  ที่แยกกันให้ขยันปฏิบัติ จากผู้เรียนเบื้องต่ำสู่เบื้องสูง ก็มีหลักธรรมเหมือนกัน สิ้นสุดที่จิต  จนถึงสภาวะจิตเดิมสูงสุด เอาโกอานเขียนลงในที่นี้ ซึงเป็นตัวอย่างดีที่สุดสำหรับฝึกฝนของศานาทั้งสามผู้มีอุดมการณ์ในการศึกษา ควรถือเป็นตัวอย่างเอามาฝึกฝนเทอญ !       

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
บทที่เจ็ด  กรรมสนอง  :  สรุป จบคัมภีร์กั่นอิ้งเพียนบริบูรณ์

     สรุป  :  ท่านจางหงจิ้ง กล่าวว่า "การกระทำทั้งหลาย ไม่มีหรอกที่ไม่เริ่มจากเเล็กไปสู่ใหญ่" 
เพราะฉะนั้น เหล่าเวไนยที่มีจิตญาณ มีเลือดเนื้อ ล้วนสามารถประจักษ์ถึงอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้โดยตรงถึงสภาวะสูงสุด อย่างไรก็ตามสภาวะสูงสุดแห่งอนุตตรสัมมาสัมโพธินี้ ก็คือการบำเพ็ญบารมีที่เราต้องลงมือปฏิบัติด้วยใจระมัดระวังละเอียดอ่อน ให้มันเจริญขยายจนสมบูรณ์เท่านั้น  ท่านเหลียวฝานเคยกล่าวไว้ว่า "ที่สมมุติชนิดต่าง ๆ เมื่อก่อนโน้นตายไปแล้วเมื่อวานนี้ ที่สมมุติชนิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในวันนี้" เพราะฉะนั้น เราจะหุนหันพลันเล่นโมโหละทิ้งได้อย่างไรกัน โดยเอาภัยพิบัติบุญวาสนาทั้งหลายหลบเลี่ยงจากโองการฟ้า แล้วเหตุนี้เราก็จะใช้ชีวิตส่งเดชไปวัน ๆ ทั้งชีวิตหรือ ?"  ใต้หล้านี้กว้างไกลไพศาลนัก หมื่นชาติก็ยาวนานนัก ถึงแม้จะมีมือนับหมืน มีตานับแสน มาฉุดช่วยโลกนี้ก็ยังไม่เพียงพออยู่เอง  เพราะฉะนั้นเรื่องที่เร่งด่วนคือให้การศึกษา และก็ใช่ว่าต้องสำเร็จเป็นปราชญ์อริยะเสียก่อน จึงจะสอบได้ ถ้าหากคนได้ยินเรื่องความดี ก็เกิดปิติ แล้วก็จะพูดดีไปได้ทุกหนทุกแห่ง คุยเรื่องดี  ประกาศหนังสือดี ๆ การสอนกล่อมเกลาเช่นนี้ก็ได้มากแล้ว !  ตลอดเวลาระหว่างการสั่งสอนถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงของจิตญาณ ความแยบคลายในนั้น  ไม่ใช่ว่าเราเองก็จะเข้าใจได้ !  แต่การสอนบุคคลทั่วไปก็เทียบไม่ได้กับการสั่งสอนผู้มีอัจฉริยะ ถ้าหากได้อัจฉริยะสักคนหนึ่ง แล้วเพิ่มเติมการสั่งสอนให้ เขาก็จะสามารถเกิดผลในการหมุนฟ้าดิน ทั้งยังสามารถพอที่จะช่วยคนรุ่นก่อนให้สำเร็จและฉุดช่วยคนรุ่นหลัง ยังสามารถเกิดประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงการสอน ดังนั้นการสอนเช่นนี้ก็ยังช่วยเปลี่ยนแปลงได้ถ้วนทั่ว และกว้างใหญ่อย่างผิดปกติได้ ปราชย์อริยะสมัยโบราณ กับพระสูตาคัมภีร์ ที่สืบทอดกันในโลก ล้วนเป็นหนึ่งอนันตเหตุปัจจัยทั้งนั้นนา !  และคัมภีร์เล่มนี้ก็เป็นหลักธรรมแท้ที่อัศจรรย์ที่ท่านไท่ชั่งโปรดปกกล่อมเกลาชาวโลก อันสัจธรรมลับที่บรรดาพระพุทธเจ้าฉุดช่วยเหล่าเวไนยสัตว์ก็เป็นมหากรุณาสูงสุดจริง ๆ มีความแยบคายถึงจุดยอด ต้องสืบทอดสู่โลกนี้นิรันดร สว่างไสวส่องระหว่างฟ้าดิน สำหรับผู้ที่ได้อ่านสวดคัมภีร์นี้  หรือพิมพ์แจกจ่ายสืบทอดสู่คน ล้วนก็มีหนึงอนันตเหตุปัจจัยทั้งนั้น ! ด้วยเหตุนี้หากสามารถตรัสรู้โลกกล่อมเกลาสั่งสอนผู้คน บ่มเลี้ยงปราณเดิมของสังคม สรรสร้างบุญบารมีแก่มนุษยชาติให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความดี ฟ้าดินสงบใสสะอาด ถ้าปริมาณของใจที่รองรับขยายจนสามารถโอนเก็บอวกาศได้ ก็จักสมบูรณ์ได้นิจนิรันดร์ เป็นเรื่องที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

~~~ จบคัมภีร์กั่นอิ้งเพียนบริบูรณ์ ~~~

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
ภาคผนวก :  บันทึกปิยวาท ของ พระมหาธรรมาจารย์อิ้งกวงไต้ซือ

     เมื่อโลกนี้จลาจลถึงขีดสุด
มนุษย์แต่ละคนหวังรักษาไม่เห็นต้นแก่นความหวังก็เหนื่อย ต้นแก่นอยู่ไหน ต้องรู้โดยด่วน อันแม่สอนในเรือน เป็นภูมิปราชญ์พุ่มพฤกษ์ ต้นรากสันติภาพในโลก ไม่อิงสิ่งนี้แสวงพูด การรักษาจะได้มาอย่างไร ?  แม่สอนในเรือนอันดับหนึ่ง สอนครรภ์ หลังผู้หญิงตั้งครรภ์ หน้าที่ต้องอยู่ที่ใจเคลื่อนคิดกระทำงาน ให้ตั้งใจให้ระมัดระวังหนึ่งลุกหนึ่งขยับ ไม่ให้เสียความเที่ยงตรง  โดยเฉพาะให้ตัดเรื่องคาว ๆ สวดมนต์ทุกวัน เพื่อให้ทารกน้อยได้รับปราณตรงจากแม่ เมื่อถึงเวลาคลอด ย่อมปลอดภัยสบายไม่ลำบาก มารกที่เกิดมาย่อมมีลักษณะสง่างาม อารมณ์ก็จะเมตตาดี ลักษณะฉลาด  เมื่อถึงคราวให้ความรู้ครั้งแรก ต้องพูดหลักการเป็นมนุษย์ เช่นกตัญญู  รักสายเลือด  จงรักภักดีเชื่อถือ  จริยธรรมสัตยธรรม  บริสุทธิ์มีละอาย บาปบุญ  เหตุต้นผลกรรมสามชาติ  การเวียนว่ายตายเกิดหกวิถี  ให้ใจเขามีที่เกรงกลัวเป็นนิจ  ที่มีความทะเยอทะยาน ก็สั่งให้สวดมนต์  สวดมนต์กวนอิม เพื่อเพิ่มบุญเพิ่มอายุ  พ้นเคราะห์พ้นทุกข์  ถ้าให้เจริญ ก็สั่งให้ท่องไท่ซั่งกั่นอิ้งเพียนขึ้นใจ  บทดวงชะตาของท่านเหวินเซียง พระสูตรกวนอูตรัสรู้โลก ก็จะรู้จักอาจารย์  รู้จักละเว้นกาม  เพื่อประโยชน์นำไปสู่การเรียนหนังสือ  เริ่มต้นได้ตั้งแต่เด็ก ยิ่งอ่านยิ่งรอบรู้ดี  ไม่ละเมิด แม้ไม่ถึงฐานะปราชญ์อริยะ  ก็เป็นศรีสง่าวงส์ตระกูล   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
ท่านธรรมาจารย์อิ้งกวง สังฆบดีองค์ที่ ๑๓ นิกายสุขาวดีมหายาน เตือนให้อ่านคัมภีร์เป็นหลักธรรมรักษาบุญ

     คัมภีร์กั่นอิ้งเพียนเป็นธรรมปิฏกของลัทธิเต๋า (ศาสนาธรรม)
พระเจ้าเจินจงในสมัยราชวงศ์ซ่ง  ได้พระราชทานเงินถึงร้อยหมื่น สั่งให้คนงานแกะสลักคัมภีร์ลงในหิน จึงมีการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ทั้งปราชญ์เมธีในสมัยนั้นต่างยึดถือน้อมปฏิบัติ พระเจ้าสื้อจงในสมัยหมิง ก็ยังเขียนอรรถาบท เป็นบทนำให้กับคัมภีร์แล้วแจกจ่ายทั่วไป ปีที่ 13 รัชสมัยพระเจ้าซุ่นจื๋อ แห่งราชวงศ์ชิง มีคำสั่งให้แกะตัวพิมพ์แจกจ่ายให้ทั่วประเทศ เพื่อให้ขุนนางและนักศึกษาไว้อ่าน หลายยุคหลายราชวงศ์ต่างก็ให้ความเคารพยึดถือปฏิบัติกันขนาดนี้ จึงถือเป็นหนังสือที่มีคุณค่าของมนุษย์  ฟ้าเบื้องบนก็ยิ่งให้ความนับถือ  อาทิเช่น นายหวังช้วนเจ็บป่วยได้ลงไปท่องยมโลก  เห็นเหนือแท่นบัลลังก์อีกอักษรทองเขียนว่า กั่นอิ้งเพียน  ทั้งมีฉายาว่าเปน "บททอง" นายหยางเต้าจีเจ็บป่วยได้ลงไปที่ยมโลก เจ้ายมบาลได้สั่งกับเขาว่า ให้เตือนชาวโลกท่องคัมภีร์กั่นอิ้งเพียน  นายโจวหู่ก็ยังถูกยมบาลตักเตือนเขาว่า "หลังจากเธอฟื้นคืนสู่ยมโลกแล้ว จะต้องเผยแผ่คัมภีร์นี้ให้กว้างขวางมากขึ้น คนที่สามารถถือปฏิบัติตามคัมภีร์นี้ได้ จะสามารถรอดพ้นจากความทุกข์ลำบากภัยพิบัติ จากอุทกภัย  อัคคีภัย  โจรขโมย  และการเจ็บป่วย  ขอบุตร  ขอให้อายุยืน  ขอให้มีทรัพย์ขอให้สำเร็จเป็นเซียน  ล้วนขึ้นอยู่กับคัมภีร์นี้นา ! " น่าสงสารกิเลสทะเลทุกข์ เวไนยสัตว์มัวเมากับความฝัน วัยหนุ่มสาวก็ปล่อยตัวปล่อยใจ  ยึดติดหลงใหลไม่เชื่อถือ  พอถึงยามชราก็กลายเป็นนิสัย  แก้ไม่ได้  หวังจะให้เขาสำนึกผิดคิดแก้ไขก็หวังได้ยากยิ่ง ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็น "เกิดจากมัวเมา ตายไปแล้วเหมือนฝัน" ทิ้งขว้าง  ดูแคลนไปหนึ่งชีวิต ชีวิตเกิดมาสูญเปล่า !  อนิจจา !  เมื่ออ่านคัมภีร์กรรมสนองแล้ว ถ้ารู้สึกตัวตื่นจากฝันหรือรู้ตัวตื่นจากมัวเมาได้แล้ว เขาไม่เพียงแต่สามารถผันเปลี่ยนภัยพิบัติเป็นบุญวาสนาเท่านั้น เขาเหมือนฟื้นคืนจากความตายเลยทีเดียว ปัจจุบันขอตักเตือนชาวโลกว่า :  ข้อหนึ่งต้องบังเกิดใจเชื่อถือ  ข้อสองต้องบังเกิดใจสว่าง  ใจทั้งสองนี้เตรียมพร้อมได้เมื่อไร จึงค่อยอ่านคัมภีร์กรรมสนอง  ให้จุดธูปอ่านวันละหนึ่งครั้ง เมื่ออ่านจบแล้วก็จะมีความสุข แต่ละประโยคที่อ่านก็ให้ฝึกฝน อ่านประโยคหนึ่งแก้ไขประโยคหนึ่ง อ่านพินิจให้ละเอียดทุกวันจนสามารถท่องได้  จนทุกตัวอักษรเข้าถึงใจ ผลก็ยิ่งอัศจรรย์ทีเดียว  เป็นเช่นนี้ได้ทุก ๆ วัน  ก็จะสามารถรักษาตัวได้ตลอดชีวิต ดังนั้น สิ่งที่ภาวนาขอก็จะสามารถตอบสนอง ผู้อาวุโสกล่าวว่า "ผู้มีรากธรรมต่ำ ควรอ่าน  ผู้มีรากธรรมสูง ก็ควรอ่าน ในโลกนี้ไม่มีใครที่ไม่ควรอ่าน" ตลอดจนรักษาใจให้สะอาดหมดจด นั่นคือด่านที่หนึ่ง !   

Tags: