collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า : คำนำ  (อ่าน 144221 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                    คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                           บทที่สี่

                                         สั่งสมกุศล   

                                คัมภีร์   :  สั่งสมบุญกุศล

อธิบาย  :  สั่งสมบุญก็เหมือนสะสมเงินทอง ค่อย ๆ เก็บก็จะเพิ่มมากขึ้น สั่งสมกุศลก็เหมือนการก่อกำแพง ก่ออิฐขึ้นทีละก้อน กำแพลก็ค่อย ๆ สูงขึ้น  บุญไม่รู้สั่งสม บุญก็จะไม่เพิ่มขึ้น  กุศลไม่ไปทำ บารมีก็ไม่มากขึ้น ก็เหมือนชาวนาที่ขยันไถหว่านก็จะเก็บเกี่ยวได้ในฤดูสารท  เหมือนพ่อค้าที่ขยันค้าขายหวังเก็บเงินไว้มาก  วันเก็บได้หนึ่งบุญ  พรุ่งนี้ก็เก็บอีกหนึ่งบุญ  วันนี้สั่งสมได้หนึ่งกุศล  พรุ่งนี้ก็เพิ่มได้อีกหนึ่งกุศล  อยากคิดจะเป็นเทพเซียนก็ไม่ใช่เป็นเรื่องลำบาก  หากจะเป็นเซียนฟ้า ต้องทำเรื่องบุญกุศลหนึ่งพันสามร้อยเรื่อง ทำไปทุกวัน แค่ 4 ปี ก็สำเร็จแล้ว ถ้าจะเป็นเซียนดินก็ทำกุศลแค่สามร้อยเรื่อง วันละหนึ่งเรื่องเพียงหนึ่งปีก็ได้แล้ว  กลัวแ่คนไม่กล้าเปิดใจไปทำหรือทำไปครึ่ง ๆ กลาง ๆ ก็เลิกแล้ว  เพราะฉะนั้น  เมื่อตั้งปณิธานก็มีความตั้งใจศรัทธา  มีใจกล้าหาญ  ใจวิริยะ  ใจแน่วแน่ ไม่ใช่ตระหนี่เงินแล้วหยุดไปเลย  หรือถูกคนอื่นเขาหัวเราะก็เกิดคลางแคลงสงสัย  อย่าได้เอาแต่ความสบายจนเคยตัว  จนไม่สามารถบังเกิดความกระตือรือร้น  อย่าให้ความอยากส่วนตัวเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง  จนกระทบกับมรรคผล อย่าเห็นว่างานใหญ่กลัวลำบาก อย่าเห็นว่าบุญเล็กจึงดูแคลน อย่าให้เรื่องงานไม่ว่างเป็นเหตุผลในการบอกปัด อย่าให้รักชื่อเสียงจึงไม่ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์  สรุปคือ  อย่าหลีกเลี่ยงการถูกตำหนิติเตียน  อย่าหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหา  อย่าเพราะเลยตามเลย  อย่างขาดตอน  อย่าตระหนี่  อย่าหวังตอบแทน  อย่าหวังชื่อเสียง  อะไรเป็นเรื่องกุศลก็ให้ไปทำอย่างยินดี  ความสำเร็จที่ได้จากอุปสรรค  จึงจะเป็นการสั่งสมบุญกุศลอย่างแท้จริง
       

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                  คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                           บทที่สี่

                                         สั่งสมกุศล   

                                คัมภีร์   :  สั่งสมบุญกุศล

นิทาน ๑  :   พระเจ้าจืิชวีหยวนจวิน กล่าวว่า "เมื่อก่อนมีคุณหูชอบเรียนธรรมตั้งแต่เด็ก เขาเข้าไปอยู่ในห้องศิลาบนเขาเจียวชัน เวลาผ่านไป 3 ปี  ทันใดก็ได้พบท่านอริยะเจ้าไท่จี๋ ให้สว่านไม่แก่เขาอันหนึ่ง  ต้องการให้เขาไปเจาะก้อนหินก้อนใหญ่ให้ทะลุ ทั้งยังบอกเขาว่า "ถ้าหากเจ้าใช้สว่านไม้เจาะทะลุหินก้อนใหญ่นี้ได้ ฉันก็จะมาฉุดช่วยเจ้า"    คุณหูก็เจาะหินก้อนนั้นนานถึง ๔๗ ปี ทันใดนั้นก้อนหินก็ทะลุ แล้วอริยะเจ้าไท่จี๋ก็มาฉุดช่วยเขาจริง ๆ ด้วย ต้องรู้ว่าการสั่งสมบุญกุศล ไม่ได้อยู่ที่เจาะก้อนหิน เพียงแต่อาศัยเป็นกรณีอธิบาย คือคนก็กลัวที่จะไม่ทำ หรือทำไปแค่ครึ่งเดียวก็หยุด เพราะฉะนั้น  ผู้ที่ตั้งใจงานก็สำเร็จ การเจาะก้อนหินของคุณหู ก็คือประจีกษ์พยานที่แจ่มชัด

นิทาน ๒  :  สมัยช้ง  ที่เจิ้งเจียงมีผู้ว่าราชการคนหนึ่งชื่อ เก๋อชี้  แต่ละปีจะทำความดีไว้หลายเรื่อง ติดต่อกันมาไม่มีหยุดนานถึง๔๐ ปี  มีคนไปขอคำชี้แนะ เก๋อชี่พูดว่า "ฉันไม่มีเวลาพิศดาร  ทุกวันจะทำเรื่องให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นสักหนึ่งสองเรื่องเท่านั้น"  แล้วเขาก็ชี้ให้ดูที่แผ่นกระดาน  ที่วางไว้ให้เหยียบขึ้นที่นั่งว่า "ถ้ากระดานที่เหยียบวางไม่ตรง ก้อาจกระแทกจนเท้าบาดเจ็บได้ เพราะฉะนั้น ฉันก็เอามันวางให้ตรงเสีย คนที่คอแห้งฉันก็เรียกเขามาดื่มน้ำ  เหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น  นับตั้งแต่มหาอำมาตย์จนถึงขอทาน ก็สามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้  ทำไปนาน ๆ ก้จะได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง"

นิทาน ๓   :  นายเจียวกง เป็นชาวตงจิง เพราะบ้านสามชั่วคนมาแล้วที่ภรรยาคนแรกไม่มีบุตรชายสืบสกุล เขาจึงเที่ยวสอบถามผู้รู้ไปทั่ว  เพราะเขาเป็นพ่อค้าที่เดินทางค้าขาย ต่อมาเขาได้พบกับพระภิกษุเฒ่ารูปหนึ่ง พระภิกษุเฒ่าบอกเขาว่า "สาเหตุของการไม่มีบุตรชาย มี ๓ อย่าง ๑. บรรพชนไม่ได้สั่งสมบุญกุศล  ๒.ชะตาอายุของสามีภรรยา อาจละเมิดข้อห้ามบางอย่างไว้  ๓.ตนเองไม่รักษาสุขภาพ ภรรยามีโรคเลือดเย็น"  เจียวกงตอบว่า  เรื่องสั่งสมบุญกุศลกับชะตาอายุของสามีภรรยา ล้วนสามารถปฏิบัติได้ แต่เรื่องโรคเลือดเย็นนี่มีวิธีรักษาอย่างไร"  ภิกษุผู้เฒ่าตอบว่า  "อันนี้ไม่ยาก แต่เธอต้องไปสะสมบุญกุศลก่อน ภายหลังก็เสริมสร้างสุขภาพให้ดีสามปีให้หลัง ก็มาถึงอู่ไถ่ชัน ข้าจะให้ตำหรับยาแก่เจ้า" จากนั้นจวงกงก็เริ่มสร้างบุญสร้างกุศลสร้างบุญลับต่าง ๆ  เขาสั่งสมบุญกุศล ๓ ปีแล้ว เขาก็มุ่งหน้าไปอู่ไถชัน เพื่อหาพระภิกษุเฒ่า ก็เห็นลูกศิษย์วัด ในมือถือม้วนกระดาษ เขาพูดกับเจียวกงว่า "หลวงพ่อบอกให้ฉันมาบอกท่าน ท่านได้สั่งสมบุญกุศลมาครบ ๓ ปีแล้ว ก็ให้ไปหายาตามใบยา แล้วก็กินอย่างนอบน้อม จะได้ลูกหลานที่ดีร่ำรวยตามแต่ใจที่ท่านคิด"  ต่อมาเจียวกงได้ลูกชาย คือเศรษฐีเจียง แต่ลูกของเศรษฐีเจียงไม่ดี เศรษฐีเจียงถึงกับเสียใจว่าบุญกุศลของตนจึงเสียหายถึงขนาดนี้  จึงไปที่อู่ไถชัน พบแต่ลูกศิษย์  ลูกศิษย์ว่า " "หลวงพ่อให้ฉันมาบอกท่านว่า จะมาถามทำไม  แต่ทำไมไม่เจริญรอยตามพ่อของท่าน  สร้างบุญกุศลยังจริงใจซิ แล้วบุตรที่โง่เขลาก็จะเปลี่ยนแปลงเป็นผู้ฉลาด มีความสามารถ ที่ยากจนก็จะร่ำรวยขึ้น เศรษฐีเจียงพูดว่า " ยากจนแล้วเปลี่ยนเป็นคนรวยนี่เป็นชะตาชีวิตของเขาเอง แต่ที่โง่เขลามันเป็นธรรมชาติจากสมองของเขา อันนี้ไม่มีทางช่วยเหลือ !" ลูกศิษย์ว่า "ท่านพูดอะไรโง่ ๆ อย่างนั้น เขาเปลี่ยนแปลงได้ซิ"  ยังพูดต่อว่า  "สมัยก่อนตู้อวี่เกิง มีบุตรชาย ๕ คน เกิดแรกๆ สุขภาพไม่ค่อยดี รูปร่างก้ไม่ครบถ้วน ต่อมาตู้อวี่เกิงจึงไปที่โจวเอี้ยนซันตั้งใจสร้างบูยสร้างกุศล บุตรชายทั้งห้ากลับกลายเป็นคนดี และยังสอบได้ตำแหน่ง เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงร้อนเปอร์เซ็นต์ ! "  เศรษฐีเจียงฟังแล้วก็ขอบคุณลูกศิษย์แล้วกลับบ้าน ตั้งใจทำดีสร้างกุศลโดยไม่ลังเลสงสัย  ๒๐ ปีต่อมา  ลูกชายก็ดีขึ้นหลายคนและทุก ๆ คนก็ได้บุตรดีด้วย
        คนในปัจจุบันก็รู้เรื่องนี้ดีว่า ตู้อวี่เกิง แห่งเอี้ยนซัน มีบุตรชาย ๕ คน ล้วนมีความร่ำรวยติดต่อกันเป็นที่กล่าวขาน และต่างก็รู้ว่าบุตรของเขาเกิดมาแรก ๆ สุขภาพก็ไม่ดี บ้างก็ไม่สมประกอบ ด้วยความมุ่งมานะทำความดีสั่งสมบุญกุศลของนายตู้อวี่เกิงเรื่อยมา จนบุตรของเขาหายจากสุขภาพไม่ดี ทุกคนสุขภาพดี ว่องไว เป็นคนดี !  จะเห็นได้ว่า ฟ้ากับมนุษย์ผสานกันได้ง่ายเช่นนี้ เพียงขอให้มนุษย์มีใจทำงานแน่วแน่และศรัทธา สร้างบุญกุศล อย่าได้เกียจคร้านเลย !   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                   คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                           บทที่สี่

                                         สั่งสมกุศล   

                                คัมภีร์   :   ใจเมตตาต่อสัตว์         

อธิบาย  :  คนดีที่สั่งสมบุญกุศล ไม่เพียงแต่เมตตาให้ความสนิทแก่ประชาชนทั่วไปแล้ว  โดยเฉพาะใจเมตตาของเขายังเผื่อแผ่ไปถึงสัตว์อีกด้วย   เมตตาก็คือ ใจกรุณา  เป็นพื้นฐานของความดีทั่วไป ความเมตตามีความหมายสองประการ  ๑. ช่วยเหลือสงเคราะห์คนจนปัดเป่าความทุกข์  ๒.  ละเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทั้งยังต้องปล่อยสัตว์เป็นหลักในการสั่งสมบุญกุศล และเป็นพื้นฐาฯของการเป็นคนดี   ในพระไตรปิฏกว่า  "หากมนุษย์ไม่ฆ่่าชีวิต รักและดูแลชีวิตสัตว์กับปล่อยสัตว์ ให้อาหารเป็นทาน ก็จะได้มีอายุยืนยาวตอบสนอง"  ปัจจุบันพวกเด็ก ๆ ที่ชอบเล่น มักจะทำร้ายสัตว์ เช่น แมลงปอ  นกกระจอก  นกเล็ก ๆ และสัตว์เล็ก ๆ อื่น ๆ เป็นต้น เหล่านี้ผู้ปกครองต้องรู้สึเจ็บปวดและห้ามปราม อย่าให้เด็ก ๆ ต้องทำร้ายสัตว์เล็ก ๆ  อย่างนี้ไม่เพียงทำร้ายชีวิตสัตว์แล้วก็ไม่ทำร้ายบุญวาสนาของเด็กด้วย  มิฉะนั้นแล้ว  ถ้าสนับสนุนให้เด็กฆ่าสัตว์  พอเด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เขาก็ไม่รู้จักเมตตากรุณาให้อภัยเลย  !  ตลอดจนคนรับใช้ในบ้านยังชอบเอาน้ำร้อนมาลาดพื้น หรือเวลาเผาฟืน  กวาดบ้าน ก็มักจะทำร้ายพวกมด  แมลง  หนอนเล็ก ๆ   
นี่ก็ต้องเป็นสิ่งละเว้นนะ  !  ไม่ว่าจะเป็นสัตว์อะไรที่ตกลงมาตาย เช่น แมลงเม่าบินเข้าหาตะเกียง  หนอนติดตาข่ายใยแมงมุม
นกเล็ก ๆ ถูกทำลาย มดถูกเหยียบ ปลาปูกุ้งหอยถูกติดแห ก็ควรเข้าไปช่วยปลดปล่อยมันไป ให้มันมีชีวิตรอด เหล่านี้ล้วนเป็นมีผลตอบสนองให้ชีวิตยืนยาว เป็นเรื่องของการทำความดี
        ปณิธานของพระโพธิสัตว์สมันตราภัทร กล่าวว่า  "หากสามารถทำให้เวไนยสัตว์ยินดีแล้ว ตถาคตทั้งหลายก็ยินดีด้วย นี่เป็นเหตุอะไร  เหตุก็คือตถาคตทั้งหลาย มีมหาเมตตาจิตเป็นพื้นฐาน เป็นปัจจัย เพราะสรรพสัตว์เป็นปัจจัย จึงเกิดมหาเมตตา เพราะมหาเมตตาเป็นปัจจัยจึงเกิดโพธิจิต เพราะมีโพธิจิตเป็นปัจจัย จึงสามารถสำเร็จมรรคผล อันเวไนยสัตวทั้งหลาย สิ่งที่รักที่สุดคือชีวิตของตน กับเหล่าพุทธเจ้าทั้งหลาย  เวไนยสัตวเป็นสิ่งที่เหล่าพุทธเจ้ารักที่สุด เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถช่วยชีวิตสรรพสัตว์ได้ ก็ทำให้ปณิธานของเหล่าพุทธองค์สำเร็จลุล่วง"  บทธรรมตอนนี้ จะเห็นได้ว่าวาจาที่พร่ำสอนของบรรดาพุทธเจ้าโพธิสัตว์ มิใช่หรือที่สอนคนให้ช่วยถอดถอนความเจ็บปวดของเวไนยสัตว์ พวกนอกรีตที่พร่ำพูดสอนคนให้กินเนื้อของเวไนยสัตว์ใช่ไหมล่ะ  !  เพราะฉะนั้น เรารู้จักตักเตือนคนให้ปล่อยชีวิต ก็คือการฟื้นฟูใจเมตตาของคน นี่ก็คือการสร้างเหตุกุศล เพื่อเป็นสุขเป็นนิจทุก ๆ กัป  การสอนคนฆ่าชีวิตก็เป็นการปลูกฝังใจโหดเหี้ยม  ก็เป็นรากวิบากกรรมที่ต้องพบกับการแก้แค้นทุก ๆ กัปไป เพราะฉะนั้น เพียงแค่วจีเดียวกัน สามารถสร้างบุญได้ก็สามารถสร้างภัยได้  เพราะฉะนั้น เวลาเราพูดจะไม่ระมัดระวังหรือ  ! 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                    คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                           บทที่สี่

                                         สั่งสมกุศล   

                                คัมภีร์   :   ใจเมตตาต่อสัตว์         

นิทาน  ๑  :  สมัยฮั่น  หยางเป่า อายุเพียง ๙ ขวบ  ได้เห็นนกกระจาบเหลืองตัวหนึ่งถูกนกใหญืจิกบาดเจ็บตกลงที่พื้นดิน บรรดามดก็เข้ามารุมกัด  หยางเป่าจึงเข้าไปช่วยเหลือ เอามันใส่ลังไว้ ดูแลมันเอาดอกไม้เหลืองป้อนมัน จนกระทั่งนกกระจาบหายแล้วก็ปล่อยมันไป ค่ำของคืนวันหนึ่ง ก็มีเด็กคนหนึ่งสวมเสื้อสีเหลือง เข้ามาขอบคุณไหว้หยางเป่า เด็กเสื้อเหลืองพูดว่า " ฉันเป็นทูตของพระแม่ชีหวังหมู่ระหว่างทางไปยังพ้งไล้ พอผ่านมาแถวนี้ก็พบกับภัยลำบาก โชคดีที่ท่านมาช่วย เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณ ฉันเอากำไลหยกให้ท่าน  ๔ อัน  มันสามารถทำให้ลูกหลานของท่านได้รับราชการ ได้ตำแหน่ง ถึงซัมกงอันเป็นตำแหน่งสูงสุด ถ้าความประพฤติของเขาเรียบร้อยดีก็จะเหมือนกำไลหยกขาวที่สะอาด"  หลังจากเด็กเสื้อเหลืองพูดจบก้ไม่เห็นเสียแล้ว ต่อมาหยางเป่ามีบุตรคือ หยางจิ้ง บุตรของหยางจิ้งคือหยางปิ่น บุตรของหยางปิ่นคือหยางสู้   บุตรของหยางสู้คือหยางปิง  สืบรุ่นกันมาถึง ๔ รุ่น ล้วนได้รับราชการเป็นถึงตำแหน่งซัมกง แต่ละคนก็มีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยม สมัยนั้นไม่มีใครสามารถเทียบเคียงได้เลย ! 

นิทาน  ๒  :  นายเชิ้นวั่นชัน เป็นคนสมัยหมิง ครั้งหนึ่งเขาเห็นคนจับกบจำนวนหลายร้อยตัวเตรียมนำไปฆ่า เชิ้นวั่นชันเห็นแล้วก็ทนเห็นพวกกบเหล่านี้ถูกฆ่าไม่ได้ จึงซื้อกบขึ้นมาทั้งหมดแล้วนำมันไปปล่อยไว้ที่สระน้ำ ให้พวกมันมีชีวิตอิสระสบาย อยู่มาวันหนึ่ง เชิ้นวั่นชัน เดินผ่านสระน้ำนั้น เห็นกบขี่กันเป็นกองใหญ่ ล้อมกันเป็นวงกลม พวกมันอยู่บนอ่างกระเบื้องใบหนึ่ง พวกมันร้องอ๊อบ ๆ เหมือนกับพูดว่า "เชิ้นวั่นชัน ๆ เอาอ่างกระเบื้องไปด้วย ! " เชิ้นวั่นชันจึงนำเอาอ่างกระเบื้องกลับบ้านไป และใช้เป็นอ่างล้างหน้า มีอยู่ครั้งหนึ่งเขาล้างมือในอ่างใบนี้ แหวนบนนิ้วก็บังเอิญหลุดลงในอ่างโดยไม่รู้ตัว  พอถึงรุ่งเช้าเขาถึงรู้ตัวจึงไปหาที่อ่าง ตอนนี้เขาเห็นแหวนเต็มอ่างไปหมด เวิ้นวั่นชันรู้สึกตกใจประหลาดใจ เขาจึงเอาก้อนทองบ้าง เงินบ้างใส่ลงไปลองดู ก็พบว่าทั้งทองและเงินเต็มอ่างไปหมด !  ที่แท้อ่างนี้จึงเป็นของวิเศษ  !  เชิ้นวั่นชันจึงกลายเป็นมหาเศรษฐีหาคนเปรียบไม่ได้

นิทาน  ๓  :  พระธรรมาจารย์เซ็นเอี๋ยงโซ่ว อยู่่ในสมัยซ่ง เดิมทีแซ่หวัง เป็นชาวเมืองตันหยาง เริ่มแรกรับราชการแผนกภาษีของอำเภออวี่เถา เพราะว่าเขามักซื้อปลาปล่อยเป็นประจำ เงินเดือนใช้จนหมดจึงไปเอาในส่วนกองคลังมาใช้ ในที่สุดเจ้านายตรวจพบ จึงรู้ว่าเขาได้ใช้เงินกองคลังไปถึงสิบหมื่น ตามกฏหมายสมัยนั้น เขาต้องโทษประหารชีวิต ขณะที่จะถูกตัดหัว สีหน้าของนายหวังไม่เปลี่ยนเลย ทั้งยังพูดกับเพื่อนของเขา ซึ่งจะเป็นผู้ประหารเขา ชื่อ สี่จื้อชินว่า  "ฉันได้ปล่อยชีวิตนับร้อยล้านชีวิตแล้ว วันนี้ฉันตายก็ไม่เสียใจ เพราะใจฉันตั้งใจจะไปเกิดแดนสุขาวดี นี่จะไม่สุขสบายกว่าหรือ" พูดจบเขาก้พนมมือท่องนามพระพุทธ ไม่กลัวตายแม้แต่น้้อย เพชฌฆาตก็แกว่งดาบฟันลงที่คอของนายหวัง ได้ยินแต่เสียงแชะ  ดาบก็ขาดเป็น ๓ ท่อน เพชฌฆาตสี่จื้อชินรีบทำรายงานเหตุการณ์ทูลพระเฉียนเหลียวอ๋อง  ท่านพระเฉียนเหลียวอ๋อง ก็เป็นคนนับถือพุทธศาสนา และมีความเมตตา เมื่ออ่านรายงานจบก็สั่งให้ปล่อยตัวนายหวัง แล้วคืนตำแหน่งให้ แต่นายหวังปล่อยวางทางโลก ออกบวชศึกษาพระธรรม มีความวิริยะ บำเพ็ฯศีลสมาธิปัญญา มีครั้งหนึ่งเขาฝันว่าพระโพธิสัตว์กวนอิมเอาน้ำมนต์กรอกใส่ปากเขา  ดังนั้น ปัญญาเขาก็สว่างขึ้น  ได้แต่งคัมภีร์หมื่นกุศลไว้ ๖ เล่ม  และประจำอยู่วัดหย่งหมิง ภายหลังได้เป็นสังฆปริณายกสายสุขาวดี  อันดับที่ ๖  อายุได้ ๗๒ ปี ก็นั่งสมาธิมรณภาพไป ต่อมามีพระสงฆ์รูปหนึ่ง จะเดินรอบเจดีย์ที่เก็บกระดูกของธรรมาจารย์เอี้ยงโซ่วทุกวัน มีผู้ถามถึงสาเหตุ พระสงฆ์ตอบว่า  "ฉันเป็นคนบู๋โจว เพราะว่าเคยป่วยหนักมาแล้ว ถูกยมทูตจับตัวไปยังยมโลก เห็นที่ยมโลกมีรูปภาพรูปหนึ่งแขวนไว้ ฉันเห็นยมบาลยังไหว้รูปภาพนั้นอย่างนอบน้อม ฉันรู้สึกแปลกใจจึงถามยมทูตที่ยืนข้าง ๆ ว่า "ภาพในรูปเป็นใคร"  ยมทูตตอบว่า "ภาพในรูปคือ อาจารย์เอี้ยงโซ่วแห่งวัดหย่งหมิง คนที่ตายแล้วก็ต้องมาที่ตรงนี้ มีแต่ท่านธรรมาจารย์เอี้ยงโซ่ว ไปปฏิสนธิแดนสุขาวดีโดยตรง ทั้งยังได้อยู่ขั้นหนึ่ง เกรดหนึ่ง ดังนั้น  ท่านยมบาลจึงนับถืออาจารย์ท่านนี้มาก เพราะฉะนั้นจึงไหว้รูปนี้"   จะเห็นได้ว่า เมตตาปล่อยสัตว์ ตั้งใตไปเกิดแดนสุขาวดี แม้ยมบาลในยมโลกก็นับถือกราบไหว้เลย !

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                    คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                           บทที่สี่

                                         สั่งสมกุศล  

                                คัมภีร์   :   ใจเมตตาต่อสัตว์          

คำคม  :  อาจารย์เหลียนฉือไต้ซือ ในสมัยหมิง ได้นิมนต์บทละเว้นฆ่าชีวิต เพื่อใช้ตักเตือนชาวโลก ท่านพูดว่า "แต่ละคนก็รักชีวิตสัตว์ก็เหมือนกันต่างอยากมีชีวิต กลัวตาย  แล้วจะไปฆ่าพวกเขาได้อย่างไร  เพื่อบำเรอปากท้องของเรา ตอนจะฆ่าก็ต้องเอามีดคมเฉียนเปิดพุงของมัน เอามีดแหลมทิ่มแทงคออวัยวะของมัน บ้างก็ลอกเอาหนัง บ้างก็ถอดเกล็ด เชือดเฉียนออกเป็นชิ้น หรือเอาหอย ปู ปลา โยนลงในหม้อน้ำเดือด หรือใช้เกลือบ้าง เหล้าบ้าง ดองหอยปูและกุ้ง น่าสงสารมาก !  พวกมันต้องพบกับความเจ็บปวดทรมาน หมดหนทางที่จะแก้แค้น ความเจ็บปวดสุดยอดเช่นนี้ อดทนได้ยากยิ่ง มนุษย์สร้างบาปกรรม ฆ่าตัดวิญญาณอันเป็นวิบากกรรมท่วมฟ้าเช่นนี้ กับเหล่าวิญญาณที่ถูกทำลาย จึงเป็นเหตุที่ได้ผูกเวรที่ต้องจองล้างจองผลาญกันไปเป็นหมื่อน ๆ ชาติ เมื่อไรที่อนิจจังมาถึงก็ต้องตกสู่ขุมนรก ต้องรับโทษในนรก ไม่ว่าจะน้ำทองแดงเดือด เตาไฟ เนินมีด ต้นงิ้ว ฯ  รับโทษจนเจ็บปวดจนกว่าโทษในนรกจะหมดลง หลังจากนั้นให้ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพื่อชดใช้หนี้ให้เขากินเนื้อ เป็นผลตอบสนอง ชดใช้หนี้ชีวิตจนหมดจึงกลับมาเกิดเป็นคนใหม่ ก็มักเจ็บป่วยบ่อย ๆ หรือไม่ก็ตายแต่เยาว์วัย  ด้วยเหตุนี้ ฉันโอดโอยบอกเล่าชาวโลก เพื่อให้ชาวโลกละเว้นฆ่าสัตว์ ทั้งยังต้องอาศัยตามแรงของตนไปปล่อยสัตว์  เพิ่มการสวดพุทธะ เช่นนี้มีเพียงเพิ่มบุญวาสนาของตนเอง ก็ยังสามารถตั้งปณิธานไปเกิดแดนสุขาวดีได้ จะได้พ้นจากวัฏสงสาร การฉุดช่วยเวไนยสัตว์  บุญกุศล เหลือคณานับ"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/04/2011, 11:15 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                   คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                           บทที่สี่

                                         สั่งสมกุศล 

                                คัมภีร์   :   จงรักภักดี  กตัญญู

อธิบาย  :  คนที่เป็นข้าราชการ ก็ต้องมีความจงรักภักดีให้ถึงที่สุด ผู้ที่เกิดมาเป็นบุตรก็ต้องมีความกตัญญูถึงที่สุดเหมือนกัน  บ่าวสุดภักดี  บุตรสุดกตัญญู เป็นกฏของหลักธรรมฟ้า และก็เป็นพื้นฐานของมนุษย์สัมพันธ์ ถ้าหากขุนนางข้าราชการไม่จงรักภักดีแล้ว  การเป็นเจ้ากับขุนนางจะมีความหมายอะไร คนที่เป็นบุตรแล้วไม่มีความกตัญญู พ่อแม่ก็จะมีความหวังอะไร ต้องรู้ว่า การไม่จงรักภักดีไม่กตัญญู เทียบสัตว์เดรัจฉานก็ไม่ปาน แล้วจะเรียกว่าเป็นคนได้อย่างไร  แม้คนที่สามารถบำเพ็ญสำเร็จเป็นเซียนได้ แต่ก็ต้องผ่านการบำเพ็ญสั่งสมบุญกุศลมาเป็นเวลายาวนาน คนที่มีมหากตัญญู  ถ้าวันนี้ตายพรุ่งนี้ก็ไปเกิดบนสวรรค์  คนทั่วไปล้วนรู้ว่า ความจงรักภักดีกตัญญูเป็นงานมหกรรมของข้าราชการ รู้หรือไม่ว่าความจงรักภักดี ยิ่งเป็นเหตุปัจจัยในการเลื่อนสู่ภพภูมิสวรรค์ด้วยนะ ! บุตรกตัญญูต้องทำให้ประเทศมีความสงบก่อน เพราะเมื่อประเทศชาติสงบได้แล้ว ครอบครัวถึงจะมีความสงบ เมื่อครอบครัวสงบแล้ว บุตรกตัญญูจึงสามารถดำเนินการกตัญญูได้ดี เพราะฉะนั้นคนสมัยก่อนแสวงหาขุนนางจงรักภักดี ก็ต้องไปแสวงหาเอาจากบุตรกตัญญู ถ้ามีความสมบูรณ์ ทั้งจงรักภักดีและกตัญญูได้ ก็ถือเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมสูงสุด  อย่างไรก็ตาม  บางทีทั้งจงรักภักดีและกตัญญู ไม่อาจทำได้พร้อมกัน  เพราะฉะนั้น  จึงควรแยกกันวิจารณ์ จึงจะทำให้เราได้รับรู้ตามแต่เหตุการณ์ที่ไม่เหมือนกัน เพื่อให้ถึงที่สุดของใจตนเอง  อันการจงรักภักดี ก็คือ  ความจริงใจที่ไม่คิดข่มเหง  เป็นหลักมนุษย์สัมพันธ์  ตัวอย่างเช่น  ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่ทำงานให้ผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้น้อยทำงานให้ผู้ใหญ่  หรือเป็นเพื่อนเสมอกัน   การคบค้าสมาคมติดต่อปฏิบัติ ต้องมีความจริงใจที่ไม่คิดข่มเหง ไม่คิดทรยศหักหลัง  หลักธรรมจงรักภักดี  มีไว้สำหรับผุ้เป็นขุนนางข้าราชการ  หรือ ผู้ใต้บังคับบัญชา  แม้แต่ความสัมพันธ์ของบิดา  บุตร  พี่น้อง  สามีภรรยา  ทุก ๆคนก็รู้เองว่าควรที่จะนับถือรักใคร่ซึ่งกันและกัน  แม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างราชากับขุนนาง  ความหมายของหลักธรรมก็ผู้กพันเข้าไว้ด้วยกันได้  คนทั่วไป  ในจุดนี้อาจเกิดความคิดเห็นที่ไม่มีวิสัยทัศน์  คนที่เป็นขุนนางข้าราชการ ก็จะมีเหตุปันใจไม่จงรักภักดีถึงที่สุด สาเหตุก็มาจากตนเองและครอบครัว  ตำแหน่งการงาน  อำนาจอิทธิพลบุญคุณความแค้น เกียรติยศ  อยู่ในทั้ง ๕ อย่างนี้  ถ้าคิดถึงตนเองกับครอบครัว  ตำแหน่ง  ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนทั่วไป แต่จะกระทบกระเทือนเสียหายไม่มากนัก  แต่ถ้าเป็นอำนาจอิทธิพล ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกกังฉิน คือพวกทรราช  อย่างนี้จะกระทบกระเทือนเสียหายมากกับประเทศชาติ  พวกขุนนางกังฉินเหล่านี้ ในที่สุดแล้วภัยพิบัติก็ย้อนเข้าตัว ตัวอย่างเช่น หลี่หลุนปู  หยางกั๊วตง  ฉินไกว เหล่านี้เป็นต้น  กับเรื่องบุญคุณ ความแค้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของราชาเจ้านาย ซึ่งก็หลีกเลี่ยงได้ยาก  ตั้งแต่ราชวงศ์ถัง  ซ่่ง  เป็นต้นมา  มีสาเหตุมาจากการแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า  จนเกิดภัยพิบัติ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

                  คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                           บทที่สี่

                                         สั่งสมกุศล 

คำคม  :  ท่านอวี่เถี่ยเจียว พูดว่า  "การที่ประชาชนอยู่ได้อย่างสงบสุขก็พึ่งอาศัยทหารตำรวจคอยคุ้มครอง  ถ้าหากไม่มีทหารตำรวจคุ้มครอง  ขโมย  โจร  อันธพาล  ฆ่าชิงวิ่งราว  ชีวิตทรัพย์สินประชาชนก็ตกอยู่ในอันตรายทั้งเช้า - ค่ำ  เมื่อคิดถึงตรงนี้ ไม่ว่าเสณษฐีหรือยาจก ล้วนได้รับการดูแลจากชาติทั้งนั้น  เหตุฉะนี้  แต่ละคนต้องทำหน้าที่ของตน คือ จงรักภักดีต่อชาติให้ถึงที่สุด  นับประสาอะไรกับพวกมีการศึกษา  หรือ ข้าราชการรับเงินเดือนของชาติ  โดยเฉพาะผู้อาสาเข้ามารับใช้ชาติ  หากไม่รู้จักคำว่าจงรักภักดี  เป็นคนที่น่าละอายอย่างยิ่ง  !

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                  คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                           บทที่สี่

                                         สั่งสมกุศล 

นิทาน  ๑  :  สมัยถัง ขุนนางเหว่ยเติ้ง มีความกล้าหาญ มีแผนการชอบที่จะเหนี่ยวรั้งฮ่องเต้ที่ทำสิ่งไม่ควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่เรื่องเล็ก ถ้าหากฮ่องเต้ทำไม่ถูก เหว่ยเติ้งก็จะไม่ตามพระทัย จะทัดทานตักเตือนอย่างยากลำบากก็ยอม ถึงแม้จะทำให้ฮ่องเต้โกรธมาก เหว่ยเติ้งก็ไม่ยอมตามพระทัย มีอยู่ครั้งหนึ่ง  ถังไถ่จงได้รับเหยี่ยวรุ้งมาตัวหนึ่งชอบมาก  มักจะให้เจ้าเหยี่ยวรุ้งเกาะอยู่บนไหล่ ครั้งหนึ่งพอเห็นเหว่ยเติ้งเข้ามา กลัวเขาเห็นเข้า ก็รีบยัดเจ้าเหยี่ยวรุ้งเข้าไปในอกเสื้อ เหว่ยเติ้งมีแผนการ ก็จะถ่วงเวลากราบทูลเรื่องราวต่าง ๆ ให้ช้าลง ดังนั้นเจ้าเหยี่ยวรุ้งจึงอบตายในอกเสื้อ  (ทั้งนี้เหว่ยเติ้งรู้ว่าฮ่องเต้ไม่สนใจทำงาน เอาแต่สำราญกับนกเหยี่ยวรุ้ง ถึงใช้วิธีการเช่นนี้ตักเตือนพระองค์)  ต่อมา ฮองเฮาเหวินเต๋อสวรรคต ถังไถ่จงทรงคิดถึงฮองเฮาไม่หยุด และสร้างหอขึ้นในอุทยาน เพื่อขึ้นไปส่องดูสุสานฮองเฮา  พระองค์เชิญเหว่ยเติ้งขึนไปบนหอด้วย  แล้วเรียกเหว่ยเติ้งมองดูสุสานฮองเฮา  เหว่ยเติ้งส่องดูอยู่เป็นนานเท่านานแล้วทูลว่า " ฝ่าบาท !  หม่อมฉันอายุมากแล้ว ตาก็ลายแล้ว มองไม่เห็นหรอก !"  ฝ่าบาท !  ถังไถ่จงจึงชี้นิ้วไปยังสุสานให้เขาดู  เหว่ยเติ้งทูลว่า  "หม่อมฉันหวังให้ฝ่าบาทมองเห็นสุสานของบรรพชน เหมือนมองสุสานของฮองเฮาแล้ว หม่อมฉันก็จะมองเห็นสุสานของฮองเฮาได้ !"  ถังไถ่จงฟังแล้วรู้สึกซาบซึ้งจนน้ำตาไหล จึงสั่งให้ทุบหอทิ้ง เลิกส่องสุสานฮองเฮาแล้ว เหว่ยเติ้งแนะนำให้ถังไถ่จงหันมาสนใจเรื่องการศึกษา  หยุดขยายการทหาร เพิ่มความรู้ให้ประชาชน ประเทศชาติก็จะมั่นคง  ศัตรูรอบข้างก็จะสวามิภักดิ์ ไม่ต้องเอาอาวุธไปปราบพวกเขา ถังไถ่จงรับฟังข้อเสนอของเหว่ยเติ้ง  ในที่สุดก็บังเกิดผลเกินคาด นี่คือรอยประวัติความจงรักภักดีของเหว่ยเติ้ง แล้วลูกหลานของเหว่ยเติ้ง  รุ่นที่ ๕ ชื่อ เหว่ยหมอ  เป็นผู้มีความชาญฉลาด เก่งกาจได้เป็นถึงมหาอำมาตย์

นิทาน ๒   :  มหาอำมาตย์ซือหม่าอุน เป็นผู้มีความขยันทำงานและรักประชาชน พลีกายให้กับชาติ เพราะตรากตรำทำงานเกินไป ร่างกายจึงเจ็บป่วย ขณะนั้นขุนนางหวังอันสือ ได้แต่งตั้งชิงเหมียว  เหมี่ยนเจอะ  ทหารเลวซึ่งยังไม่ทันได้กำจัดไป  ยังมีเมืองเซี่ยทางตะวันตก ที่ยังไม่สวามิภักดิ์แก่ซ่ง  ซือหม่าอุนถึงกับรำพึงว่า "สี่อันตารยนี้ยังไม่ถูกกำจัด ข้าตายก็นอนตาไม่หลับ"  คนที่มาเยี่ยมไข้ เห็นร่างกายเขาผ่ายผอมลงทุกวัน จึงใช้คำขอขงเบ้งที่ว่า "กินน้อยงานหนัก อายุไม่ยืน"  มาเตือนซือหม่าอุน เพื่อจะได้หักห้าม ซือหม่าอุนตอบว่า  "เกิดตายเป็นดวงชะตา ไม่ต้องห่วงใย"   เขากลับยิ่งทำงานมากขึ้น อาการป่วยของเขาก็ยิ่งหนักลง แม้สมองก็ฝ้าฟาง แล้วก็ยังครุ่นคิดถึึงราชสำนัก แม้แต่ในความฝัน  ก็ยังเป็นเรื่องราชสำนัก

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                  คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                           บทที่สี่

                                         สั่งสมกุศล 

นิทาน  ๓  :  ฮ่องเต้เหวยเกาจง  ตรัสกับบรรดาขุนนางว่า  "การปฏิบัติต่อราชาควรเหมือนการเคารพบิดาของตนเอง ถ้าบิดาทำผิด ผู้เป็นบุตรมิใช่จะเขียนบอกให้ชาวบ้านมาตักเตือนบิดาหรอกนะหากแต่อยู่ในที่่ส่วนตัวไม่มีใครเห็น แล้วเตือนบิดาจึงถูก จุดมุ่งหมายก็คือไม่ต้องการเปิดเผยความผิดของบิดาออกไปภายนอก ตัวอย่างเกาชงที่เมื่อข้าได้ทำผิดเขาก็จะเข้ามาพูดกับข้าจำเพาะหน้า ตลอดจนบางครั้งก็ทำให้ข้ายอมรับไม่ได้ แต่การเตือนของเกาชง ก็ทำให้ข้าได้รู้ความผิดของตนเอง แต่คนอื่นจะไม่รู้ความผิดของข้าเลย เพราะฉะนั้น เกาชงนับว่าจงรักภักดีต่อข้าจริง ๆ การจงรักภักดีต่อข้าอย่างจริงใจนี้ ไม่แค่เพียงเอาวิธีที่กดดันมาตักเตือนคน  ถ้ายังมีที่ยังทำไม่ได้ ก็จะใช้วิธีเปรียบเทียบเสียดสี มาตักเตือนทักท้วงคน  นับว่าเป็นวิธีที่ดีทึ่สุดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว"

นิทาน  ๔  :  ชู  เป็นขุนนางผู้ใหญ่สมัยซ่ง เขียนบทความถวายราชสำนัก วิจารณืเรื่องประเทศชาติไม่ได้รับการยอมรับจากราชสำนักแต่ยังถูกลดขั้นให้ไปทำงานที่เยี่ยวโจว  ระหว่างทางไปเมืองเยี่ยวโจว ผ่านเมืองลั่วหยาง ก็พักอยู่ที่บ้านเพื่อนชื่อ อี่ตุ้น  จึงระบายทุกข์ให้อี่ตุ้นฟังว่า  ตนเองจงรักภักดีต่อราชสำนัก กลับตกต่ำลงถึงเพียงนี้ ถูกขับไปอยู่เยี่ยวโจว  อี่ตุ้นฟังแล้วก็พูดกับเขาว่า"ตอนที่ท่านถวายรายงานแก่ราชสำนักนั้น จุดมุ่งหมายท่านเพื่อชาติบ้านเมือง หรือเพื่อชื่อตนเองและตำแหน่ง หากทำเพื่อชาติบ้านเมืองแล้ว ท่านก็ควรไปรับหน้าที่่ที่เยี่ยวโจวอย่างยินดี ถ้าหากเป็นการทำเพื่อตนเอง การทำโทษของราชสำนักครั้งนี้นับว่าเป็นโทษเบา"ชูฟังแล้วรู้สึกประทับใจ ก็ไม่กล้าที่จะกล่าวหาอะไรกับราชสำนักอีก

คำคม   :  ท่านจางเค่ออัน กล่าวว่า "บัณฑิตผู้รับราชการ หากในใจคิดแต่จะสร้างชื่อเสียงเพื่อตนเอง มีใจหาความดีความชอบแล้วละก็ จะไม่สามารถทำอะไรให้ประโยชน์แก่ประชาชนได้"  นี่เป็นเรื่องจริง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                  คัมภีร์กรรม  ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า

                                           บทที่สี่

                                         สั่งสมกุศล 

สรุป   :  ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุับัน  ขุนนางข้าราชการที่จงรักภักดีถึงที่สุด ล้วได้รับผลดีตอบสนอง ยังมีขุนนางที่ได้รับความดีความชอบแต่ไม่รับ  เมื่อมีอันตรายก็ยอมรับชะตากรรม ตลอดจนยอมฆ่าตัวตาย มองดูแล้วพวกเขาเหมือนกอดความแค้นไปตลอด เหมือนกับว่าฟ้าตอบแทนเขาไม่เหมือนกัน ควรรู้เอาไว้ว่า ข้าราชการที่ตายเพื่อชาติ ตอนที่เขายังไม่ตายก็ได้ชื่อในตอนนั้น เมื่อตายแล้วยังได้รับการกราบไหว้จากประชาชน เพราะฉะนั้น การตอบสนองของฟ้า อันที่จริงยังดีกว่าพวกคนร่ำรวยเป็นร้อย ๆเท่า สำหรับคนที่ไม่จงรักภักดี และทำลายล้างประชาชน ฟ้าขะตอบสนองพวกเขาอย่างสาสม จึงไม่ต้องพุดว่ามีการตอบแทนหรือไม่กับคนที่ภักดีกับไม่ภักดี ดูคนทั่ว ๆ ไป ข้าราชการที่ไท่สนใจประชาชน ก็มักจะได้รับผลที่ไม่ดี เพราะฉะนั้น  ท่านผู้เป็นข้าราชการทั้งหลาย จงอย่าได้ละเมิดต่อความจงรักภักดีเลย !  พูดถึงความกตัญญู คุณหยวนกวงชง เขียนวิจารณ์ไว้ว่า "ในโลกนี้มีคนที่ไม่กตัญญู ถึงแม้จะเป็นลูกไม่กตัญญู ถ้ามีใครเขาว่าเป็นลูกกตัญญู เขาจะพอใจมาก หากมีใครว่าเขาเป็นลูกไม่กตัญญูเขาก็จะโกรธและอับอาย โดยเฉพาะเวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่น ก็จะเสร้างทำเพื่อรักษาหน้าตนเอง ไม่กล้าที่จะทำตามอำเภอใจ นี่ก็เป็นเพราะจิตสำนึกดีของเขายังไม่มืดบอด เพราะฉะนั้น  จึงเพียงแค่การให้รู้จักขยายจิตสำนึกดีนี้กว้างขึ้น  ซึ่งจะเป็นต้นกล้าของความกตัญญู ถ้าหากยังไม่มีความจริงใจกลับใจตรวจสอบแก้ไขนิสัยเลวออกไป ยังไม่กตัญญูเหมือนเดิม ก็คือคนไม่กตัญญู ตรงจุดนี้ควรอธิบายให้ชัดเจน เข้าใจให้ถูกต้อง ถ้าเช่นนั้นคนที่เป็นพ่อ ก็จะรู้จักอบรมสั่งสอนลูก สำหรับผู้ที่เป็นลูกก็ต้องเข้าใจรู้จักจะกดข่มตนเอง ก็เหมือนการจับขโมยต้องรู้ว่าขโมยอยู่ที่ไหน แล้วตั้งสติจับขโมย วันข้างหน้าก็หวังเอาได้ !  ทั้งยังอธิบายอีกว่า สาเหตุของอกตัญญู มีการปลูกฝังมาถึง 4 แบบ
       
        แบบที่ 1  ตามใจ   คนที่เป็นพ่อแม่รักลูกสงสารลูกมากเกินไปจนลูกเคยตัว มีอะไรที่ขัดใจลูกเพียงเล็กน้อยก็ทนไม่ได้คือยอมลูกไปทุกอย่าง จะเอาอะไรก็เป็นได้ หากสอนลูกให้ยอมเหน็ดเหนื่อย เลี้ยงดูพ่อแม่ เขาก้จะไม่เคยชิน ต่อหน้าคนอื่นถ้าลูกทำผิด พ่อแม่ก็ไม่กล้าว่ากล่าวตักเตือน กลัวลูกอับอายทนไม่ได้ อย่างนี้ลูกก็กล้าที่จะลำเลิกดุว่าพ่อแม่  การที่พ่อชมเชยความรู้ความสามารถของลูก โดยกลัวว่าลูกจะไม่เก่งกว่าตน อย่างนี้ก็ทำให้ลูกคิดว่าความรู้ความสามารถของพ่อต้องด้อยกว่าตน เป็นการสั่งสมนิสัยความหยิ่งทะนง เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่นก็ไม่แสดงออก แต่พออยู่หน้าพ่อแม่ก็คุยโอ้อวด ทำให้เข้าใจว่าเป็นจริง โดยที่ผู้ใหญ่ก็ไม่รู้เรื่อง

        แบบที่ 2  นิสัย   เด็กที่พูดจาหยาบคายจนเป็นนิสัย ก็กล้าที่จะพูดใส่พ่อแม่ กิริยามารยาทที่ต่ำทรามทำจนชิน ก็จะเป็นคนที่ไม่รู้จักรักษามารยาท ทำตามอำเภอใจ  พ่อแม่สู้อุตสาห์เก็บของดีของชอบที่ลูกชอบกินไว้ให้จนลูกเคยชิน เด็กจะลืมพระคุณที่พ่อแม่สู้เก็บถนอมไว้ให้ไป บางทีพ่อแม่มีอาการเจ็บป่วยทนทุกข์ทนเจ็บ ไม่ปริปากบ่นให้ลูกฟัง ลูกก็จะไม่ถามไถ่ดูแลการเจ็บป่วยของพ่อแม่ไป

        แบบที่ 3  รักสบาย   ลูกพอได้พบกับคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ก็ให้รู้สึกสนิทสนมพอใจ แต่กับพ่อแม่ก็ไม่มีความหมาย พอเข้าไปในห้องภรรยาให้มีอาการพอใจ  แต่พออยู่นอกห้องมีผู้ใหญ่อยู่ด้วยก็ดูเบื่อหน่าย บางครั้งก็กล้าพูดออกมาตรง ๆ  พ่อแม่พี่น้องกลายเป็นสิ่งน่าเบื่อไม่อยากพูดคุย ในใจเขาจะมีความคิดเรื่องกตัญญู หรือความรักในสายเลือดอย่างไร

        แบบที่ 4   ลืมบุญคุณจำความแค้น    มักพูดกันว่า "บุญคุณยิ่งนานยิ่งลืม  ความแค้นยิ่งนานยิ่งสะสม"  เป็นปกติวิสัยของคน เพราะฉะนั้น ถ้าเลี้ยงข้าวคนอื่นมื้อหนึ่ง เขาจะจดจำได้ แต่ถ้าเลี้ยงข้าวจนเคยแล้ว การติเตียนโทษแค้นก็เิกิดขึ้นได้เช่นกัน ถ้าบริจาคให้ครั้งหนึ่งคนอื่นรู้สึกขอบคุณ ถ้าหากสงเคราะห์เป็นประจำ ก็จะเกิดการแยกแยอะว่ามากว่าน้อย ถ้าหากว่าพบหน้ากันครั้งเดียวก็ทำให้เขารู้สึกยกย่อง ถ้าพบติดต่อกันการคาดเดาสงสัยก็จะเกิดขึ้น นับประสาอะไรกับพ่อแม่พี่น้องที่คุ้นเคย  เคยชิน  ก็จะเห็นความรักของพ่อแม่พี่น้องคงจะเป็นของที่ไม่เปลี่ยนแปลง  ดังนั้น  พระคุณอันยิ่งใหญ่จำเพาะหน้าพ่อแม่ก็เลยไม่รู้จัก มีหรือที่จะนึกถึงความทุกข์ของแม่ที่ตั้งครรภ์เลี้ยงดูเวลาลูกเจ็บป่วยพ่อแม่ก็ตกใจเป็นทุกข์กังวล  เพราะฉะนั้น บางครั้งอารมณ์ความรักของคนจึงสับสนกลับตาลปัตร ลูกจึงไม่รู้สึกตัวสำนึกคุณ ทั้งยังเคียดแค้นพ่อแม่อีกด้วย

        ที่กล่าวมาแล้วหลายรูปแบบ ล้วนเกิดจากนิสัยที่เคยชินจนเคยตัว ทั้งยังไม่เคยรับรสของความขมขื่นอันแท้จริง  เมื่อสั่งสมนิสัยนี้ไปนาน ๆ ก็เลยไม่รู้จักความผิดพลาดว่าอยู่ตรงไหน เพราะฉะนั้น จึงสมควรที่จะรีบ ๆ ปลุกให้ตื่น  รีบ ๆ รักษาโดยเร็ว ให้ตรึกคิดเป็นนิจ อย่าเห็นว่าอย่างไรเสียพ่อแม่ก็เมตตายอมอภัยให้ฉัน อย่าเห็นว่าสังคมข้างนอกเลวร้ายอย่างนี้  ฉันยังดีกว่าคนอื่น ต้องรู้ว่าการไม่รู้จักกตัญญู เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะกลายเป็นไม่รู้จักกตัญญูมาก ๆ ไปเลย

Tags: