collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์กรรม ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า : คำนำ  (อ่าน 144219 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  บ่นแค้นไม่หยุด

อธิบาย  :  คนที่มีความแค้นเคืองไม่คิดจะเอาคุณธรรมตอบแทนความแค้น กลับเก็บความแค้นไว้ในใจและหวังจะแก้แค้น และบ่นเรื่อย ๆ ไม่ลืม  ไม่ยอมหยุด  อย่างแค้นใหญ่ ๆ ที่ฆ่าพ่อแม่  การพรากเลืดอเนื้อเชื้อไข  สัตบุรุษความแค้นแบบนี้ มันมีวิถีทางตอบสนองของมันโดยตรงอยู่แล้ว ไม่ต้องไปจดจำ แต่ความแค้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ของแต่ละบุคคล ก็สามารถใช้เหตุผลมาระบายทิ้งไป สามารถใช้ความสัมพันธ์มาอภัยกันได้  ความแค้นเล็ก ๆ เช่นนี้ ก็จะแก้ไขละลายหมดไปได้  ถ้าหากยังบ่นอุบอิบไม่ลืม และคิดแก้แค้นแล้วก็ไม่มีวันได้จบสิ้น

คำคม  :  คุณอูเที่ยเจียวกล่าวว่า  "ผู้อื่นใช้อำนาจอิทธิพลมาที่ฉัน ฉันก็เปิดใจกว้าง อดทนรองรับอันธพาลนั้น  แบบนี้ก็จะขจัดปัดกวาดเมฆดำเป็นชั้น ๆ ในใจ ดับความคิดแก้แค้นที่เป็นดวงไฟไปได้"  เพราะฉะนั้น สัตบุรุษจะไม่บ่นถึงความเลวร้ายเก่า ๆ เลย !

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                 คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์  :  ดูแคลนประชาชน

อธิบาย   :  เมื่อคนชั่วรับราชการ ไม่เพียงไม่รักชาติรักประชาชน  แล้วยังกล้าทำตามอำเภอใจ ทั้งยังข่มเหงดูแคลนประชาชนด้วย  ฮ่องเต้ถังไท้จงตรัสว่า "ประชาชนเป็นฐานรากของประเทศ  คุณธรรมเป็นรากฐานของคน  หากคุณธรรมของคน ๆ หนึ่งสูงส่งก็จะเป็นที่กล่าวขานของคนทั่วไป ถ้าประชาชนสา
มารถอยู่เย็นเป็นสุข ประเทศชาติก็มีความแข็งแรงปลอดภัย"  เพราะฉะนั้น หากกษัตริย์ราชามีคุณธรรมสูง ประชาชนก็จะเคารพรัก ก็เหมือนลูกที่รักพ่อแม่ ! เรามองย้อนอดีตจนถึงปัจจุบัน มีอริยกษัตริย์ล้วนกรุณาต่อประชาชน เห็นประชาชนเหมือนผู้บาดเจ็บ รักและดูแลประชาชนเหมือนดูแลลูก ๆ นับประสาอะไรที่ข้าราชการช่วยกษัตริย์บริหารราชการ ควรที่จะเข้าใจถึงหลักการอันนี้นะ !

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                    คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  ก่อกวนการปกครอง

อธิบาย   :  เมื่อคนชั่วรับราชการ ไม่เพียงไม่รักประชาชน ยังก่อกวนการบริหาร ทำให้ระเบียบสังคมเสื่อมทรามเสียหาย  ประเทศชาติควรบ่มเพาะสันติภาพ เพื่อธำรงความสุขของปวงชาชน  ไม่ใช่จะมาเปลี่ยนแปลงสร้างกฏใหม่ตามใจชอบ ถึงแม้จะเป็นการสร้างสรรเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดีขึ้น ก็ควรระมัดระวังอย่างรอบคอบ  ถ้าเป็นความเห็นส่วนตัว คิดจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ  ถ้าหากการออกคำสั่งอย่างส่งเดชง่าย ๆ อย่างนี้ก็จะก่อความวุ่นวายเสียหาย ระเบียบที่สมบูรณ์ที่บรรพชนสร้างสมมาแล้ว และข้าราชการทุกระดับชั้นก็ถือปฏิบัติ และใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ประชาชนก็ให้ความคุ้นเคยแล้ว  รู้สึกสะดวกสบายดีอยู่แล้ว ทำไมจะต้องเปลี่ยนของเก่าที่มีอยู่เดิม มิเป็นการก่อกวนการปกครองไปเปล่า ๆ หรอกหรือ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                  คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  รางวัลคนชั่ว

อธิบาย  :  หากไม่สามารถให้รางวัลคนดี ลงโทษคนชั่ว เพื่อความกระจ่างชัดในกากรเตือนคนให้มุ่งดีและละชั่วแล้ว กลับให้รางวัลคนชั่วที่ใช้ธรรม การให้รางวัลก็เพื่อจะตอบแทนความเหนื่อยยากแก่ผู้มีคุณธรรม  "รางวัล"  จึงเป็นระบอบที่โน้มน้าวใจคนอย่างสำคัญ สิ่งที่ไม่ควรให้รางวัลก็ให้รางวัล จึงเรียกว่าไม่ยุติธรรม  เป็นการละเมิลหลักทำลายกฏกติกา เป็นการเกื้อหนุนให้กระทำชั่ว เกิดความลำเอียงเห็นแก่ตัว  เป็นการเอาคนชั่วมาเปลี่ยนคนดี การกระทำเช่นนี้เป็นการละเมิดฟ้า ให้พิโรธ เพราะฉะนั้น ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบให้รางวัล จะไม่ระมัดระวังหน่อยหรือ !

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  ลงทัณฑ์ผู้บริสุทธิ์

อธิบาย  :  การลงโทษผู้ไม่มีความผิด  ทำให้เขาถูกปรักปรำ การลงโทษทัณฑ์มีเป้าหมายเพื่อสั่งสอนคนชั่ว ให้เข็ดและหลาบจำ อริยเจ้าจำใจสร้างกฏมาลงโทษ เพราะฉะนั้น การลงทัณฑ์จึงเป็นเรื่องไม่มงคล และก็ไม่ใช่เรื่องดี ปริมาณการลงโทษและระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับจำนวนโทษของคนผิด ก็ยังต้องมีความเหมาะสมและยังต้องใช้ความเมตตาสงสารพวกเขาด้วย เป็นเพราะว่าไม่เข้าใจเหตุผลจึงล่วงละเมิดกฏหมาย อย่าเป็นเพราะหลุดคดีแล้วก็ดีใจ อย่างนี้เกรงว่าอาจเป็นรูปคดีผิดพลาดก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น คนสมัยโบราณที่วางกฏเกณฑ์การลงทัณฑ์ จะระมัดระวังอย่างมาก แม้คดีก็จะตรวจสอบให้ชัดเจน ถ้าหากการลงทัณฑ์ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้บริสุทธิ์ได้รับการทำร้าย อย่างนี้ไม่เพียงผู้พิจารณาคดีจะไม่ยุติธรรม มีบกพร่อง ทั้งยังละเมิดถึงฟ้าเบื้องบน ที่มีคุณธรรมให้กำเนิดเกิดมา หากเป็นการฆ่าคนตาย กฏหมายก็กำหนดไว้ชัดเจน ถ้าอันนี้เป็นเพราะตนเองสับเพร่าผิดพลาดไปลงโทษผู้บริสุทธิ์เข้า การประหารก็คงไม่ใช่มีเพียงคนเดียว อนาคตผู้รับกรรมตอบสนองก็จะมีแต่ข้าเพียงคนเดียว เพราะฉะนั้น การฆ่าคนต้องชดใช้ด้วยชีวิต ก็ไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไรจึงจะมีความยุติธรรมได้ !  เฮ้อ !  วิบากกรรมอันนี้ แม้จะนับว่าเป็นปกติที่เป็นผู้พิพากษาจะตรงและโปร่งใส แต่ก็หลีกไม่พ้นข้อสงสัยในรูปคดีมากมาย แม้จะมีหลักฐานที่คล้าย ๆ กัน และเอาความเห็นตนเองมากำหนดโทษอย่างลำเอียงหรือยึดถือ ไม่ตรวจตราให้ละเอียดและวางใจเป็นกลาง ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็อาจนำมาซึ่งความแค้น และเสียใจในภายหลังได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้บริสุทธิ์ถูกฆ่าตาย วิบากกรรมก็จะตอบสนองติดตามไม่ละเว้น  นับประสาอะไรกับขุนนางที่ไม่ใส่ใจในการตรวจสอบรูปคดี ผลตอบสนองจะยิ่งหนักหน่วงไม่ละเว้น เมื่อคิดมาถึงจุดนี้แล้ว จะไม่หกลัวบ้างหรือ !

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                  คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  ฆ่าคนชิงทรัพย์

อธิบาย  :  ตั้งใจฆ่าคนทำลายเขา เพื่อแย่งชิงทรัพย์สมบัติของเขา  ผู้ที่ฆ่าคนเพื่อชิงทรัพย์ การกระทำบาปเช่นนี้ ไม่ใช่ต้องเป็นโจรเสมอไป เช่นข้าราชการที่ฉ้อราฏร์บังหลวง มีความโลภที่จะเอาทรัพย์ในส่วนที่ไม่ใช่เป็นของตน จึงใช้วิธีลงโทษทัณฑ์ผู้ที่ถูกต้องขัง ถูกฆ่าตายในคุก  ยังพวกเศรษฐีที่โลภไม่รู้จักเบื่อ คนที่เป็นหนี้เขา  เมื่อถึงคราวตกอยู่ในภาวะขัดสนลำบาก พวกเศรษฐีเหล่านี้ก็มีมโนธรรมมีดบอด บังคับให้พวกเขาชำระเงินตามกำหนด ทั้งยังเพิ่มดอกเบี้ยหนักขึ้น คนใจเหี้ยมมืออำมหิตพวกนี้ ด้วยความโลกที่ต้องการเอาทรัพย์ของผู้อื่น จึงใช้โอกาสที่ผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายแย่งชิงเอามา และก็ไม่สนใจชีวิตคนอื่น ว่าจะเป็นหรือตาย นายแพทย์ที่โลภเงิน ไม่ใส่ใจชีวิตของผู้ป่วย รอเวลาที่อาการป่วยตกอยู่ในภาวะคับขัน ก็จะเรียกร้องขูดรีดค่ารักษา คนเหล่านี้ก็เพราะความโลภทรัพย์ จึงกระตุ้นให้เกิดกลไกการฆ่าขึ้น จึงลงมือกระทำ  อย่างไรก็ตาม คนที่ฆ่าคนเพื่อชิงทรัพย์เหล่านี้ ไม่มีใครสักคนที่จะถูกผีร้ายตามมาทวงเอาชีวิต แล้วเงินทองที่พวกเขาแย่งชิงมา ในที่สุดก็ละลายหายไป

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                 คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  ใช้เล่ห์แย่งตำแหน่ง

อธิบาย  :  ทำร้ายคนอื่นเพื่อแย่งชิงตำแหน่งของเขา  ในโลกนี้ตำแหน่งหน้าที่  ถึงแม้จะมีกำหนดแล้วในดวงชะตา แต่ถ้าขยันในการทำดี บำเพ็ญกุศลละเว้นการทำชั่ว  โอกาสการเลื่อนตำแหน่งก็ยิ่งสูงขึ้น  โดยปกติคนทั่วไปเพียงแต่ยอมทำกุศลให้มาก ก็มีโอกาสมีตำแหน่งในราชการอยู่แล้ว  แต่ถ้าคิดแต่หวังเลื่อนตำแหน่ง โดยวิธีใช้เล่ห์ทำลายเขา เพื่อแย่งตำแหน่งเขา แต่กฏแห่งกรรมตอบสนอง หลักธรรมชัดเจน  คนที่ทำร้ายผู้อื่น ในที่สุดแล้วก็ถูกผู้อื่นทำร้ายเอา  แย่งตำแหน่งเขาในที่สุด ตำแหน่งของตนก็จะถูกผู้อื่นแย่งชิงไป การตอบสนองนั้นเร็วมาก และสามารถเห็นได้ในปัจจุบัน !

คติ  :  คนสมัยก่อนพูดว่า  "ถึงแม้ถวายตนรับใช้เจ้าเหนือหัว ดังนั้น ร่างกายนี้ก็ไม่ใช่เป็นของตนแล้ว เพราะฉะนั้นจึงควรคิดเสมอว่า ทำเพื่อเจ้าเหนือหัว ทำไมยังมัวห่วงชีวิตตนอีกเล่า ?. ขุนนางแบบนี้ ทำไมไม่จงรักภักดีต่อประเทศชาตินะ ?"  คำพูดของคนสมัยก่อนแบบนี้ ต้องถือเป็นวลีทองของคนเหล่านี้ดี ! 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                  คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  เข่นฆ่าผู้ยอมแพ้

อธิบาย  :  ถ้าโจรผู้ร้ายยอมแพ้แต่กลับฆ่าทิ้งพวกเขาเสีย เป็นการละเมิดหลักธรรมฟ้าอย่างยิ่ง  การสงครามเป็นเรื่องอัปมงคลและอันตรายที่สุด ปราชญ์จำยอมต้องใช้ทหารออกศึก เพราะว่าในสมัยโบราณเมื่อมีสงครามศัตรูก็จะถูกฆ่าเป็นจำนวนมาก จึงทำให้รู้สึกเศร้าสลดกับพวกเขา  สงสารพวกเขาที่ต้องตายในสงคราม ฝ่ายที่ชนะสงครามก็อาจช่วยพิธีศพให้ทหารที่ตายไป กับศัตรูที่แพ้สงคราม ก็ควรที่จะให้ความสงสาร ปลอบประโลมตักเตือนพวกเขา  เมื่อศัตรูยอมแพ้แล้ว กลับเอาพวกเขาไปฆ่าทิ้ง จิตใจเช่นนี้ช่างโหดเหี้ยมเหลือทน  เป็นการสร้างวิบากกรรมอย่างมาก เพราะฉะนั้น  การได้รับกรรมตอบสนองจึงมากมายกว่านี้อีกมาก  คุณหยวนโม่วอิ๋ว ในสมัยหมิงกล่าวว่า  "ผู้มีจิตใจเมตตายิ่งก็จะไม่สามารถนำทหารไปออกศึก เป็นขุนพลไม่ได้ !  หรือที่พูดกันว่าถ้าหากเป็นขุนพลก็จะตายลูกเดียวอย่างนั้นหรือ ?.  ที่จริงไม่ใช่เช่นนั้น ถ้าหากขุนพลสามารถช่วยเหลือราษฏร ปราบจลาจลให้สงบ ทำให้ประเทศชาติอยู่เย็นเป็นสุข ถ้าเช่นนี้ การเป็นขุนนพลก็มีทางรอดอยู่ได้ เป็นเพราะว่าต้องฉุดช่วยมวลมนุษย์ จึงจำยอมต้องมีการฆ่าฟัน เช่นนี้บุญคุณไหนจะยิ่งใหญ่เท่าขุนพลเป็นไม่มี  ทำไมหรือ ?. เพราะได้อุทิศคนส่วนน้อย แต่สามารถช่วยชีวิตคนได้เป็นเรือนพันเรือนหมื่น  ถ้าเทียบกับการทำความดีปกติก็มีที่ไม่เหมือนแน่นอน  ถ้าหากเป็นการทำเพื่อความสำเร็จของตนเองให้ตนมีเกียรติยศ แล้วใช้มาตรการมาเข่นฆ่าทำร้ายมวลชน บาปกรรมก็จะมากมายยิ่งกว่าขุนพลอีก ทำไมหรือ ?.  เพราะเมื่อรบแพ้คนใต้บังคับบัญชาถูกฆ่าไปมาก ถ้าหากรบชนะก็ฆ่าศัตรูไปมาก การรบถ้าวินัยไม่เคร่งครัด ก็จะเที่ยวเข่นฆ่าประชาชนที่ไม่มีความผิด เหล่านี้เป็นหน้าที่ของขุนพล เพราะฉะนั้น การส่งขุนพลไปจะไม่ระมัดระวังไม่ได้ และทหารใต้บังคับบัญชาของขุนพลก็ยิ่งจะไม่ระมัดระวังไม่ได้เลย ! คนโบราณว่า "สามชั่วโตรเป็นขุนพล ชาวพรตจะหลีกเลี่ยง" 

        อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบฆ่าฟันเป็นเรื่องที่อาจมีขึ้น แต่เราจะวางใจใช้ได้หรือ ?. เพราะฉะนั้น เมื่อถึงคราวต้องใช้ทหาร ก็ควรเคารพ ๓ ประการ ซึ่งไม่สามารถจะละเลยได้

ข้อที่หนึ่ง   ต้องกลัวว่า ไม่มีเรื่อง แล้วเกิดเรื่อง การอุทิศชีวิตคนจำนวนทหารเป็นร้อยเป็นพัน เพื่อนำมาบำเหน็จคน ๆ หนึ่งให้เป็นเจ้าเป็นจอมพล
ข้อที่สอง   ต้องกลัวเอาความรุนแรงทำให้ยิ่งรุนแรง ทำให้ฆ่าผู้คนไปจำนวนมาก เพื่อความดีความชอบแล้วตัดหัวคนไปมาก
ข้อที่สาม   ต้องกลัวว่า ทหารทั้งสองฝ่ายต้องรบกันด้วยความลำบากทั้งฝ่ายเขาและฝ่ายเรา ต้องเข่นฆ่าล้มตายเป็นจำนวนมาก คนที่รับหน้าที่ทำสงครามก็อาจพูดว่า "ฆ่าคนแล้วแต่ข้า  แบบนี้ถึงจะถึงเป้าหมายของอำนาจ !"  ควรจะรู้ว่าวิถีแห่งขุนพลที่สำคัญต้องมีวินัยเคร่งครัด ห้ามทหารฆ่าส่งเดช ถ้ามีวินัยเคร่งครัด ทหารก็ไม่ถูกใส่ร้าย ทั้งยังได้ผลงาน  นี่คือวิธีรอดที่เป็นเหตุเป็นผลของการดำเนินด้วยการฆ่าฟัน !

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                    คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  ขับคนดีไล่ปราชญ์

อธิบาย  :  การติเตียนกล่าวโทษข้าราชการที่ดี  ขจัดผู้มีความรู้เพื่อให้เขาพ้นจากตำแหน่ง หรือถูกย้ายไปที่ทุรกันดาร เป็นการขับคนดีไล่ปราชญ์  นักปราชญ์บัณฑิตถือเป็นบุคลากรของประเทศชาติ ควรที่จะรู้จักใช้พวกเขาให้ถูกต้อง  ในคณะรัฐบาลก็จะมีผู้มีความสามารถหลากหลาย  ต่างชาติล่วงรู้ก็จะให้ความเคารพนับถือ ไม่กล้าที่จะเอารัดเอาเปรียบ  อย่าเป็นเพราะอิจฉาในความรู้ความสามารถของเขา หรือเป็นผู้ที่ไม่ลงรอยกับตนก็คิดหาวิธีขจัดพวกเขาให้พ้นตำแหน่งหน้าที่ หรือไม่ก็กล่าวโทษแล้วโยกย้ายพวกเขาไปในที่ไกล การทำร้ายชนิดนี้ เป็นผู้ทำลายประเทศชาติ เป็นผู้ก่อวิบากกรรมน่ากลัวจริง ๆ !

        ควรรู้ว่า ต้องมีผู้ชำนาญม้าเสียก่อน ภายหลังจึงจะมีม้าดี  ม้าดีมีบ่อยแต่ผู้ชำนาญม้ามีไม่มาก การที่ได้ผู้สามารถก็เหตุผลเดียวกัน  ถ้ามีผู้อำนาจปกครองประเทศเหมือนผู้ชำนาญม้า รู้จักสรรหาคนมีความรู้เอามาทำงาน  เช่นผู้มีคุณธรรมสูง มีใจกว้าง ก็ให้เขารับตำแหน่งมหาอำมาตย์ คนที่ซื่อสัตย์สุจริตก็ให้เขารับผิดชอบเรื่องการคลัง คนที่รักประชาชนก็ให้เขาไปเป็นผู้ว่า เป็นนายอำเภอ  คือรู้จักใช้คนให้ถูกงาน คนดีมีความสามารถก็ไม่เปล่าประโยชน์ อย่างนี้ประเทศชาติเจริญเป็นแน่แท้ ! 

        ในสมัยหมิง คุณหยวนโม่วอิ๋วกล่าวว่า  "ผู้กล่าวโทษคนดี ขับไล่ปราชญ์นั้น กับผู้โอบอุ้มคนดีนั้น อันที่จริงก็แตกต่างกันไม่ไกล แต่เป็นเพราะว่าถูกความเห็นของฉัน กระทบเอา สมมุติว่า "เมื่อได้ยินกิติศัพท์ของปราชญ์แล้วรู้สึกชื่นชมเขา เมื่อเขามาอยู่ต่อหน้าแล้วมีเรื่องบางอย่างที่ทนเขาไม่ได้ เมื่อสั่งสมนาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นความแค้น ดังนั้น การโอบอุ้มปราชญ์ที่อยู่กับตัวเรานั้นยากกว่า และการโอบอุ้มในเวลาช่วงสั้น ๆ ง่ายกว่าการโอบอุ้มในช่วงเวลายาว ๆ นี่เป็นเพราะอะไรหรือ ?.  เป็นเพราะว่าอารมณ์ระหว่างเขากับเราที่กระทบกัน  ความสามารถระหว่างเขากับเราที่เปรียบเทียบกัน  ชื่อเสียงระหว่างเขากับเราที่กล่าวตำหนิกัน เป็นอิทธิพลที่ก่อให้เกิดการโจมตีซึ่งกันและกัน และเหล่าปราชญ์ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติตัวระดับใจเสมอภาค  และภาพลักษณ์ไม่มีตัวฉันได้  เพราะฉะนั้น เมื่อการคบหากันระหว่างเขากับเรานาน ๆ ไปก็ทำให้เห็นจุกบกพร่องของฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น เมื่อก่อนที่เคยชื่นชมนิยมเขา มาบัดนี้กลายเป็นว่าเคารพยกย่องผิดคนไป ปัจจุบันที่อิจฉาริษยาคนดี กลับทำให้รู้สึกว่าในใจตนเองไม่มีความคลาดเคลื่อน  ที่จริงก็เป็นที่จิตใจของเราไม่กว้างที่จะยอมรับปราชญ์คนดีได้ต่างหากเล่า !  เพราะฉะนั้น การพบปะกันฉันบัณฑิต สุดท้ายกลับกลายเป็นศัตรู  ก็เป็นสาเหตุที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นยามปกติควรฝึกฝนให้กดข่มอดกลั้นไม่หวังชื่อเสียง  ไม่ยึดติดในรูปลักษณ์  และทำเพื่อประชาชน  ต่อการกล่าวหาทำลายหรือยกย่อง ก็ไม่เก็บไว้ในใจ เช่นนี้ก็สามารถสร้างบุญวาสนาให้กับลูกหลานได้ ! 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   คัมภีร์กรรม  เล่ม ๒

                   ไท่ซั่ง กั่นอิ้งเพียน ของเหลาจื่อ ศาสดาแห่งเต๋า 

                          วิถีสร้างบุญวาสนา ขจัดภัยพิบัติ 

                                     บทที่หก

                                     ชั่วบาป 

                         คัมภีร์   :  รังแกกำพร้า ข่มเหงหม้าย

อธิบาย  :  รังแกลูกกำพร้ากดดันบังคับแม่หม้าย ในบทก่อนหน้า (เล่ม ๑)  มีคำว่า สงสารกำพร้าเวทนาหญิงหม้าย ท่านไท่ชั่งก็กล่วครั้งหนึ่งมาแล้ว มาถึงตอนนี้ก็กล่าวถึง "รังแกกำพร้าข่มเหงหญิงหม้าย"  จึงเป็นการกล่าวย้ำเตือนอย่างหนักแน่นว่า เพราะว่าลูกกำพร้ากับหญิงหม้ายเป็นคนที่ไร้วาสนาของชีวิตมนุษย์ เพราะฉะนั้นฟ้าดินจึงเพ่งมองหนัก ทำอย่างไรจะให้โอกาสพวกเขาอย่าถูกข่มเหง  ถูกทำร้าย  ตลอดจนถูกแย่งชิงเอาทรัพย์ ของพวกเขาไป หรือใช้วิธีหลอกลวงส่งพวกเขาไปถูกใช้งาน หรือใช้อิทธิพลกดดันบังคับลูกกำพร้าหญิงหม้ายให้พลัดที่อยู่อาศัย  ถูกปรักปรำจนไม่มีทางต่อสู้ !  เรายังคงไม่พูดถึงผีถึงเจ้าที่ตรวจตราและการตอบสนอง ที่ไม่คลาดเคลื่อน  แต่ให้คิดคำนึงถึงว่า ลูกกำพร้าก็เป็นลูกของชาวบ้าน แล้วเอาลูกของตน ภรรยาของตนไปแทนที่เอาใจเขามาใส่ใจเรา  ก็จะทำให้เราไม่คิดรังแกข่มเหง ทำร้ายเขา อันเป็นการละเมิดหลักธรรมของฟ้าได้

คติ  :  เมื่อเห็นเคราะห์กรรมที่ตายทั้งบ้านแล้ว พวกที่กล้ารังแกกำพร้าข่มเหงหญิงหม้าย ก็ควรที่จะสำนึกผิดแก้ไขเสีย !  ตลอดจนพี่น้องร่วมตระกูล  ที่กล้ารังแกกำพร้าหญิงหม้าย ก็คือคนที่ไม่ใช่คน ที่คิดทำสิ่งที่ละเมิดธรรมสัมพันธ์ สิ่งที่ได้รับคือโศกนาฏกรรมที่ตอบสนอง ซึ่งร้ายแรงยิ่งนัก !   

Tags: