collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาเมิ่งจื่อ : ปราชญ์เมิ่งจื่อ : เริ่มเรื่อง  (อ่าน 67674 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 

                       ๒. บทกงซุนโฉ่ว  ตอนต้น

        กงซุนโฉ่ว ศิษย์ของครูปราชญ์เมิ่งจื่อ ขุนนางเมืองฉี เรียนถามครูปราชญ์ว่า "สมมุติว่า ครูท่านกุมอำนาจใหญ่ทางการปกครองบ้านเมืองฉี การกระทำของสองอภิขุนนาง คือ ก่วนจ้ง กับ เอี้ยนจื่อ  จะปรากฏใช้ได้อีกหรือไม่" ครูปราชญ์เมิ่งจื่อตอบแก่ศิษย์ว่า "ศิษย์ช่างเป็นคนของเมืองฉีนัก รู้จักแต่ก่วนจ้ง กับเอี้ยนจื่อ (ไม่รู้จักปราชญ์เมธี)" แต่ก่อน มีคนถามเจิงซี หลานชายของท่านปราชญ์เจิงจื่อ (ศิษย์เมธีของท่านบรมขงจื่อ) ว่า "ระหว่างท่านกับจื่อลู่ (ศิษย์เมธีของท่านบรมครูจอมปราชญ์ขงจื่อ) ผู้ใดจะสามารถปราดเปรื่องกว่ากัน" เจิงซี (ซึ่งเป็นรุ่นหลาน) อกสั่นขวัญหายไม่สบายใจ ตอบไปว่า " ท่านปราชญ์จื่อลู่เป็นผู้ที่บรรพชนเราเคารพยำเกรง เราจะบังอาจเปรียบกับท่านได้อย่างไร" ผู้นั้นถามอีกว่า "ถ้าเช่นนั้น ท่านเปรียบกับอภิขุนนางก่วนจ้งล่ะ ใครจะสามารถปราดเปรื่องกว่ากัน" เจิงซีได้ยินคำถามนี้เกิดโทสะทันทีตอบว่า "ทำไมท่านจึงเอาเราไปเปรียบกับก่วนจ้งอีก ก่วนจ้งเป็นขุนนางที่ฮ่องเต้โปรดปราณไว้วางใจ การกระทำของเขาล้วนใช้อภิสิทธิ์ คิดเองตัดสินใจเอง หากพูดถึงบริหารบ้านเมือง ถือว่าเขาทำมานาน แต่หากพูดถึงผลงาน สิ่งที่เขาทำล้วนต่ำช้าสามานย์ ทำไมท่านจึงเอาเราไปเปรียบกับก่วนจ้งคนพรรค์นั้น" ครูปราชญเมิ่งจื่อยกตัวอย่างเรื่องนี้ให้ศิษย์กงซุนโฉ่วฟัง เพื่อจะบอกว่า ความประพฤติกับการกระทำของอภิขุนนางก่วนจ้ง แม่แต่เจิงซียังไม่อยากเห็นดีด้วยเลย ศิษย์คิดว่าครูจะเห็นดีด้วยหรือ  ศิษย์กงซุนโฉ่วกล่าวอีกว่า "ก่วนจ้งทำให้ฮ่องเต้เขาเป็นจักรพรรดิ์ผู้พิชิต ส่วนเอี้ยนจื่อทำให้อำนาจของฮ่องเต้โด่งดังน่าคร้ามไปทั่ว ความดีความชอบของทั้งสอง ยังไม่เพียงพอที่จะทำตามอีกหรือ" ครูปราชญ์ตอบว่า "ความยิ่งใหญ่ของเมืองฉีขณะนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ขุนนางชั่วช่วยเสริม หากเปลี่ยนเป็นปกครองโดยธรรม จะง่ายดั่งพลิก  ศิษย์กงซุนโฉ่วยังคงสงสัย เรียนถามต่อไปว่า "ถ้าอย่างนี้ ศิษย์ยิ่งไม่เข้าใจ เหตุใดคุณธรรมของกษัตริย์โจวเหวินอ๋วง ซึ่งมีพระชนม์ยืนยาวเกือบร้อย (เก้าสิบเจ็ดปี) ยังไม่อาจปรกแผ่กรุณาบารมีไปทั่วหล้าได้ จนถึงรัชสมัยอู่อ๋วงราชบุตรกับปู่เจ้าโจวกงสืบต่อ จึงได้สำเร็จการปกครองโดยกรุณาธรรม ดู "ง่ายอย่างกับพลิกฝ่ามือ" ถ้าเช่นนั้น วิธีการของเหวินอ๋วง ก็เอาหาใช้ไม่ได้น่ะสิ" (้พราะใช้เวลาเกือบชั่วชีวิต ยังไม่สำเร็จได้)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                       ๒. บทกงซุนโฉ่ว  ตอนต้น

        ครูปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "เหวินอ๋วงจะเทียบอย่างไรได้ เนื่องจากช่วงเวลาที่กษัตริย์ทังราชวงศ์ซัง จะสืบต่อจนถึงอู่ติงนั้น ยังมีกษัตริย์เมธีเกิดขึ้นอีกถึงหกเจ็ดสมัยทั่วหล้าสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ซังมาช้านาน ด้วยเหตุที่เนิ่นนานมาก ฉะนั้น จะปรับเปลี่ยนจึงยากมาก เมื่อกษัตริย์อู่ติงฟื้นฟูความสำพันธ์กับเจ้าเมืองทั่วหน้าด้วยมิตรไมตรีทุกอย่างจึงง่ายดายเหมือนสิ่งอันอยู่กลางใจมือ จึงได้รับความเคารพสนิทใจจากเจ้าเมืองทั้งหลาย ยิ่งกว่านั้น ช่วงที่ทรราชโจ้วอ๋วงก่อการ ยังห่างจากกษัตริย์อู่ติงไม่นาน ลูกหลานขุนนางก่อนเก่ายังยึดถือในคุณงามความดีดั้งเดิมอยู่ อีกทั้งยังมีขุนนางคนดี อาทิ เอว๋ยจื่อ เอว่ยจ้ง  หวังจื่อ ปี่กัน จีจื่อ  เจียวเก๋อ ล้วนขุนนางศรีเมธีปราชญ์ ช่วยกันบริหารบ้านเมือง ฉะนั้น ภายหลังแม้ทรราชโจ้วอ๋วงจะชั่วร้าย แต่บ้านเมืองก็ยังดำรงอยู่ได้ (เนื่องจากพื้นฐานดีมานาน ลูกหลานขุนนางดี ยังรักษาความดีอยู่ มีเมธีชนช่วยอุ้มชู) ช่วงนั้น แผ่นดินทุกตารางนิ้วถูกทรราชยึดครอง ประชาราษฏร์ทุกคนอยู่ใต้อาณัติของทรราช อีกสาเหตุหนึ่งที่เหวินอ๋วงยังไม่อาจสำเร็จคุณของการปกครองแผ่นดินโดยธรรมได้ เพราะเหวินอ๋วงเริ่มก่อร่างสร้างบ้านเมืองด้วยเนื้อที่โดยรอบเพียงหนึ่งร้อยลี้เท่านั้น กับการจะปกครองแผ่นดินด้วยกรุณาธรรม ดังนั้น ความสำเร็จที่จะเกิดมีได้จึงยากแท้  ชาวเมืองฉีกล่าวกันว่า "แม้ฉลาดปราดเปรื่องนัก มิสู้รู้จักฉวยโอกาส แม้มีเครื่องมือไถคราด มิสู้ลมฟ้าอากาศมาอำนวย" (ซุยโหย่วจื้อฮุ่ย ปู้หยูเฉิงซื่อ  ซุยโหย่วจือจี ปู้หยูไต้สือ)  บัดนี้ เป็นโอกาสที่จะดำเนินการปกครองบ้านเมืองด้วยกรุณาธรรมอย่างง่ายดายแล้ว  ในรัชสมัยเซี่ย ซัง และโจว เป็นยุดเฟื่องฟูที่สุด ที่ดินกรรมสิทธิ์ของแต่ละเจ้าเมือง ยังไม่มีที่จะเกินหนึ่งพันลี้ แต่บัดนี้เมืองฉีกลับครอบครองที่ดินกว้างใหญ่ไพศาล เสียงไก่ขันสุนัขเห่า ก็ต้อนรับกันไปทั่วถึงชายแดน (เพื่อนบ้านเรียกขานกันไม่ห่าง) เมืองฉีในบัดนี้ มีประชากรมากมาย ที่ดินทำกินก้ไม่ต้องบุกเบิกใหม่อีก ประชาชนก็ไม่ต้องโยกย้ายถิ่นฐานเหมือนแต่ก่อน  ฉะนั้น จึงถือโอกาสนี้ดำเนินการปกครองด้วยกรุณาธรรม ประกาศตนเป็นอ๋องผู้ทรงธรรมจะไม่มีผู้ใดขัดขวางเป็นแน่ อีกทั้งการไม่ปรากฏอ๋องผู้ทรงธรรม ไม่มีช่วงใดน้อยไปกว่านี้อีกแล้ว ประชาราษฏร์ที่ซูบโทรม ครวญคร่ำ ภายใต้ระบบกดขี่ก็ไม่มีที่เลวร้ายไปกวานี้ คน ขณะหิว จะง่ายต่อการให้อาหาร ขณะกระหาย จะง่ายต่อการให้ดื่ม ท่านบรมครูกล่าวไว้ว่า "เกียรติคุณของการปกครองโดยธรรม แพร่สะบัดรวดเร็วยิ่งกว่าการส่งสาส์น" ยุคนี้ หากบ้านเมืองมีรถม้าศึกหมื่นคัน ยินดีดำเนินธรรมประชาราษฏร์ย่อมยินดีปรีดา ประหนึ่งช่วยพวกเขาให้พ้นทุกข์จากการผู้แขวนห้อยหัวลง ฉะนั้น สิ่งที่ทำ ขอเพียงยอมเหนื่อยแค่ครึ่งเดียวของท่านทั้งหลายในกาลก่อน ผลงานที่เกิดก่อนย่อมทวีคูณกว่าท่านแต่กาลก่อนอย่างแน่แท้  "มีแต่เวลานี้เท่านั้นที่จะปฏิบัติการได้" (บทนี้ ปราชญ์เมิ่งจื่อให้ศิษ์กงซุนโฉ่วพิจารณาโอกาสของการดำเนินธรรม)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                       ๒. บทกงซุนโฉ่ว  ตอนต้น

        ศิษย์กงซุนโฉ่วเรียนถามครูปราชญ์อีกว่า "หากครูท่านอยู่ในตำแหน่งมุขมนตรีแห่งเมืองฉี ได้ดำเนินการปกครองโดยธรรม จากนั้น ก็ได้เป็นใหญ่เหนือบรรดาเจ้าเมือง ยิ่งกว่านั้น ยังได้เป็นมหาราชา  ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ ครูท่านจะหวั่นไหวหรือไม่" ครูปราชญ์ตอบว่า "ไม่ เมื่อครูอายุได้สี่สิบ ก็ไม่หวั่นไหวแล้ว"  "ถ้าเช่นนั้น ครูท่านก็เหนือกว่าเมิ่งเปินยิ่งนัก" นักรบผู้กล้าของเมืองเอว้ย ไม่เกรงกลัวภยันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น)  ครูปราชญ์ตอบว่า ทำได้ไม่ยาก ปราชญ์เก้าจื่อ (ศิษย์ของครูเอง) ยังทำใจไม่หวั่นไหวได้ก่อนครู" ศิษย์เรียนถามอีกว่า "ใจไม่หวั่นไหวมีวิธีฝึกหรือไม่" ครูปราชญ์ตอบว่า "มี จะเล่าตัวอย่างคนสองคนให้ฟัง เป่ยกงอิ่ว นักรบผุ้กล้าแห่งเมืองฉี ประคองรักษาความไม่หวั่นไหวด้วยการไม่หดหนีเมื่อเนื้อหนังถูกเข็มทอง ไม่เคลื่อนไหว ดวงตาเหมือนดวงตาถูกเข็มแทง ความคิดของเขา การถูกเหยียบย่ำแม้ขนอ่อนหนึ่งเส้น ก้จะน่าอับอาย เท่ากับถูกตีด่าในท้องพระโรงหรือตลาดนัด เขาจะไม่ยอมให้สามัญชนสบประมาท ไม่ยอมจน แม้ว่าเจ้าเหนือหัวผู้ครอบครองรถม้าศึกถึงหมื่นตัวมาสบประมาท (ไม่หวั่นไหว ใจเข็ง กล้าสู้กล้าเผชิญ) แม้เห็นเจ้าเมืองถูกแทงตาย ก็เห็นเป็นธรรมดา เหมือนคนทั่วไปถูกฆ่า ไม่หวดหวั่นต่ออิทธิพลอ๋องใด หากมีเสียงด่าทอเข้าหู เขาก็จะตอบโต้หยาบคายกลับไปทันที  อีกคนหนึ่งชื่อ เมิ่งซือเซ่อ เขามีวิธีการฝึกความกล้าคือ เห็นความพ่ายแพ้เป็นชนะ (ไม่กลัวพ่ายแพ้) แต่จะประมาณกำลังคู่ต่อสู้เสียก่อน เห็นว่าสู้ได้ จึงรุก เห็นว่าชนะจึงประจัญรบ นี่คือไม่ประมาท ด้วยเกรงว่ากำลังศัตรูจะมากกว่าสามกองรบ (กองรบละหนึ่งหมื่นสองพันห้าร้อย คูณสาม) เขากล่าวว่า มิใช่ว่าข้าฯ เมิ่งซือเซ่อ จะชนะศึกได้ ทุกครั้งเพียงแต่เตรียมใจได้ไม่ให้หวาดหวั่นเท่านั้นเอง" ศิษยฺเรียนถามอีกว่า " เมิ่งซือเซ่อ มีส่วนคล้ายท่านปราชญ์เจิงจื่อ ที่เรียกร้องความถูกต้อง เป็นไปได้จากตนเอง เป่ยกงอิ่ว มีส่วนคล้ายท่านปราชญ์จื่อเซื่ยที่มุ่งชนะ หนักแน่นมั่นคงต่อการรักษาสัตย์สัญญา ถ้าเช่นนั้น ผู้แกร่งกล้าที่ไม่หวั่นไหวทั้งสองนี้ ใครหรือที่ปัญญาปราดเปรื่อง คุณธรรมงามสง่ากว่ากัน" ครูปราชญ์ตอบว่า "เมิ่งซือเซ่อ รักษาความกล้าแกร่งแห่งธรรมได้ดีกว่าเป่ยกงอิ่ว  ท่านปราชญ์เจิงจื่อ (ศิษย์บรมครู) เคยกล่าวแก่ศิษย์จื่อเซียงว่า"ศฺิษย์จื่อเซียง เธอใฝ่ฝันมนความกล้ากระนั้นหรือ ครูเอง (เจิงจื่อ) เคยได้ยินท่านบรมครู กล่าวถึงความกล้าอันยิ่งใหญ่มาแล้ว นั่นก็คือ "หากย้อนถามใจตนเอง รู้ว่าเหตุผลของตนไม่ตรงไม่ถูกต้อง  แม้คู่กรณีจะเป็นเพียงสามัญชน  เราก็จะยอมรับผิด ไม่หวั่นเกรงอัปยศอดสูกระนั้นหรือ หากถามใจตน ตรงต่อหลักธรรมไม่ผิด แม้จะมีผู้ต่อต้านนับหมื่นพัน ก็จะก้าวต่อไปไม่หวั่นกระนั้นหรือ" เห็นเช่นนี้แล้ว การรักษาความกล้าของเมิ่งซือเซ่อ ก้ยังมิอาจเทียบได้กับท่านปราชญ์เจิงจื่อ (เมิ่งซือเซ่อรักษาพลังความกล้าของกาย แต่ปราชญ์เจิงจื่อ ท่านรักษาหลักธรรมความถูกต้อง โดยไม่หวั่นไหวไว้ได้)  ศิษย์ (กงซุนโฉ่ว) บังอาจเรียนถามครูปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ที่ใจท่านไม่หวั่นไหว กับที่ใจของท่านปราชญ์เก้าจื่อไม่หวั่นไหวนั้น เป็นเช่นไร" ความไม่หวั่นไหวของปราชญ์เก้าจื่อนั้น ท่านกล่าวว่า "เกิดมีคำพูดไม่เหมาะ ไม่ใฝ่ใจครุ่นคิด เกิดมีความคิดไม่เหมาะ เป็นผลให้จิตใจวุ่นวาย สับสน กระวนกระวาย ให้ระงับจิตใจ ไม่อาศัยพลังในกาย แสดงออกด้วยการกระทำ ประการหลังนี้ใช้ได้ แต่ในข้อ "คำพูดไม่เหมาะ ไม่ใฝ่ใจ ครุ่นคิดนั้น" ใช้ไม่ได้ อันความมุ่งมั่นนั้น เป็นตัวเอกของพลังกาย พลังกายประจุอยู่ทั่วตัว เมื่อถึงที่สุดของใจมุ่งมั่น พลังกายจะเป็นตัวรอง จึงกล่าวว่า ดำรงความมุ่งมั่น แต่อย่าได้เสียหายแก่พลัง (ความคิดของท่านปราชญ์เมิ่งจื่อคือ หากไม่ได้คำพูดที่เหมาะที่ควรจากผู้ใด ให้พิจารณาตน)  (ความมุ่งมั่นของท่านปราชญ์เมิ่งจื่อคือ สร้างสันติธรรมทั่วหล้า "จึงสู้อุตสา่ห์จาริกกล่อมเกลา แต่คำตอบที่สะท้อนกลับมาล้วนไม่เหมาะต่อการดำเนินสันติธรรม จึงต้องครุ่นคิดพิจารณา หาทางสร้างสรรค์ต่อไป ประโยคสุดท้ายจึงกล่าวว่า " ดำรงความมุ่งมั่น แต่ไม่ให้เสียหายแก่พลัง") เรียนถามต่อไปว่า " ในเมื่อกล่าวว่า "มุ่งมั่นเป็นเอก พลังเป็นรอง" อีกทั้งกล่าวว่า "ดำรงความมุ่งมั่น แต่ไม่ให้เสียหายแก่พลัง" แล้วจะเป็นเช่นไร ครูปราชญ์ว่า "ใครก็ตามที่มุ่งมั่นต่อการหนึ่งก็จะสะเทือนถึงพลังในกาย หากเจาะจงใช้พลังในกายทำการหนึ่งการใด ความมุ่งมั่นก็จะหวั่นไหว" ตัวอย่างเช่น คนหกล้มกับวิ่งเร็ว มันเริ่มจากพลังในกายใช้งาน แต่สุดท้ายผลก้กระทบใจ มันเกี่ยวเนื่องกัน ฉะนั้น เมื่อตั้งความมุ่งมั่นแล้ว ยังจะต้องสงบใจ รักษาพลังไว้ให้ปกติ (มุ่งมั่นแต่อย่าทะยานฮึกเหิม)"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                    ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                       ๒. บทกงซุนโฉ่ว  ตอนต้น

        บังอาจเรียนถามครูปราชญ์  "ความประณีตในการ "ไม่สะเทือนแก่ใจ" มีข้อดีอะไร" ครูปราชญ์ตอบว่า "พูดเท่าที่ครูรู้ ครูประคองหล่อเลี้ยงพลังแกร่งตรงคงมั่นของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ได้"  (หว่อเหนิงหันหย่างต้าจื้อหยันเตอเจิ้งต้ากังจื๋อจือชี่)
บังอาจเรียนถาม "อย่างไรคือ "มหาพลานุภาพ" อันเป็นเช่นนั้นเอง" ครูปราชญ์ว่า "ตอบยาก มหาพลังนี้กว้างไกลไม่ประมาณ แกร่งกล้าไม่ประมาณ ใช้มหาพลานุภาพเที่ยงธรรมนี้ ดำรงเลี้ยงจิตภายในเรื่อยไป อย่าให้เสียหายแก่เขา มหาพลานุภาพนั้น ก็จะประจุเต็มท่ามกลางฟ้าดิน มหาพลานุภาพเที่ยงธรรมนี้ปลูกฝังสร้างสรรค์ บำรุงเลี้ยงด้วยสัจจมโนธรรมประกอบกัน หากปราศจากสัจจมโนธรรมกับสัจจธรรมประกอบกันไว้ มหาพลานุภาพก็จะเหี่ยวแห้งอับเฉา ไม่อาจเติมเต็มเป็นจริง มหาพลานุภาพเที่ยงธรรมนี้ ก่อเกิดเติบโตได้ด้วยสัจจมโนธรรม แต่มิใช่บรรจบพบกับสัจจมโนธรรมโดยบังเอิญ แล้วก็จะรับเอาได้ง่าย ๆ เลย การกระทำ  ความประพฤติ มีส่วนไม่เหมาะกับน้ำใจงาม มหาพลานุภาพนั้นก็จะเหี่ยวแห้งอับเฉา ไม่อาจเติมเต็มได้"  ครูจึงได้กล่าวว่า "ปราชญ์เก้าจื่อ ยังเข้าไม่ถึงความหมายอันแท้จริงของมหาพลานุภาพ เพราะเขาเข้าใจว่า มหาพลานุภาพนี้ มีได้ด้วยการรับเอาจากภายนอก ซึ่งยังจะต้องรู้อีกว่า มหาพลานุภาพนี้ จะมุ่งกระทำการใดเพื่อให้เกิดมีก็มิได้เพราะจะไม่เที่ยงธรรม ขอเพียงรักษาภาวะจิตสัจจมโนธรรมไว้ไม่ลืม (ดำรงความเป็นเช่นนั้นเอง มีอยู่  เป็นอยู่  ด้วยภาวะของธรรมชาติ)  แต่อย่าได้ยึดหมายในความมีอยู่นั้น อีกทั้งอย่าได้หาทางสร้างเสริมเพิ่มพูน ด้วยว่าภาวะของมหาพลานุภาพ เป็นสิ่งซึ่งจะเป็นไปเองโดยธรรมชาติ จึงอย่าได้ทำอยางชาวซ่งคนหนึ่ง กล่าวคือ... ชาวเมืองซ่งคนหนึ่ง ห่วงกังวลว่าข้าวกล้าที่หว่านไว้ไม่เติบใหญ่  จึงช่วยดึงต้นให้สูงขึ้น เขากลับบ้านด้วยความอ่อนล้า บอกแก่ทุกคนในบ้านว่า ฌหนื่อยนัก ฉันได้ช่วยข้าวกล้าสูงขึ้น"  (อย้าเหมียวจู้จั่ง).....
บุตรชายรีบวิ่งไปดู ปรากฏว่าข้าวกล้าในนาเหี่ยวเฉาหมดสิ้น
        คนในโลกนี้ ที่ไม่ช่วยดึงต้นกล้าให้สูงขึ้นนั้นน้อยนัก (รวบรัดสุกเอาเผากิน)  เห็นความประณีต สุขุมลึกล้ำอย่างธรรมชาติ เช่น การสั่งสมมหาพลานุภาพอันเป็นเช่นนั้นเอง ดำรงอยู่เอง เป็นเรื่องเสียเวลาหาประโยชน์มิได้  จึงเท่ากับไม่บำรุงรักษาข้าวกล้า  แต่เร่งถอนให้ต้นสูงขึ้น ซึ่งเท่ากับทำลายไป ไม่เกิดผลดี"  กงซุนโฉ่ว เรียนถามครูปราชญ์อีกว่า "อย่างไรจึงจะรู้วาจา" (รู้เจตนาเบื้องหลังของคำพูด)   ครูปราชญ์ว่า
"วาจาที่โน้มเอียง                      ก็จะรู้ว่า เขาถูกผลประโยชน์บดบังใจ
วาจาลามกเสียจรรยา                  จะรู้ได้ว่า เขาถูกตัณหาราคะครอบงำ
วาจาลื่นไหลไม่เข้าหลักเที่ยงตรง     ก็จะรู้ว่า เขาห่างสัจจมโนธรรม
วาจาที่หลีกเลี่ยงวกวน ปฏิเสธปิดบัง  นั่นคือ เขากำลังอับจนลำบากใจ
        ส่วนใหญ่หนึ่งคำพูดล้วนเกิดจากใจ หากเป็นขุนนางใจเสียหาย จะเสียหายต่องานความรับผิดชอบ จากนั้นสู่คนร่วมงาน สุดท้าย เสียหายต่อการปกครองบ้านเมืองอันเป็นเรื่องใหญ่ หลักเหตุผลนี้  แม้พระอริยะอุบัติมา ก็จะอบรมเช่นเดียวกันนี้  ปราชญ์ไจหว๋อ  จื่อก้ง  ศิษย์เมธีทั้งสองของท่านบรมครูเป็นผู้มีวาทะศิลป์ดีมาก  ปราชญ์หยั่นหนิว  หมิ่นจื่อ  เอี๋ยนเอวียน (หยั๋นป๋อหนิว   หมิ่นจื่อเซียน  เอี๋ยนหุย)  อรรถาจริยคุณธรรมได้ดีเลิศ  (ด้วยท่านเป็นเช่นนั้น)   ท่านบรมครูขงจื่อมีความล้ำเลิศทั้งสองประการ  แต่ท่านกลับน้อมใจกล่าวว่า "เรายังไม่สามารถใช้ถ้อยคำวาจาดีได้ดังนี้เลย" กงซุนโฉ่วว่า "ครูปราชญ์ (เมิ่งจื่อ) ท่าน "รู้วาจา" ได้ถึงเพียงนี้ (อีกทั้งดำรงเลี้ยงมหาพลานุภาพจิตให้คงอยู่อย่างธรรมชาติได้) ท่านก็คืออริยปราชญ์แล้ว"  (ปราชญ์เมิ่งจื่อแดสงความเป็นผู้ "รู้วาจา" เข้าถึงมหาพลานุภาพเที่ยงธรรมแห่งฟ้า" มิใช่โอ้อวด แต่เพียงนำทางและแสดงหลักหลักสัจธรรมแก่ศิษย์กงซุนโฉ่ว ส่วนท่านบรมครูที่กล่าวว่า "เรายังไม่สามารถใช้ถ้อยคำวาจาดีได้ดังนี้เลย" นั้น  เป็นการสะท้อนความชื่นชมต่อศิษย์ที่ทำได้ดีแล้ว อีกทั้งเสริมส่งศิษย์ข้างหลังต่อไป มิใช่เพื่อแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อตน"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                  ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                       ๒. บทกงซุนโฉ่ว  ตอนต้น

        ปราชญืเมิ่งจื่อว่า  "โอ กล่าวเช่นนี้ได้อย่างไร ครั้งกระนั้น ปราชญ์จื่อก้ง (ศิษย์บรมครู) ถามท่านบรมครูว่า "ท่านบรมครูเป็นอริยปราชญ์ใช่หรือไม่" บรมครูขงจื่อตอบว่า "อริยะนั้น ครูมิอาจรับ ที่เป็นได้คือ ศึกษาไม่รู้หน่าย สอนให้ไม่รู้หนื่อย" (เสวียเอ๋อปู๋เอี้ยน เจียวเอ๋อปู๋เจวี้ยน)
ศิษย์จื่อก้งว่า "ศึกษาไม่รู้หน่าย คือปัญญาธรรม สอนให้ไม่รู้เหนือย คือ กรุณาธรรม   ผู้สูงส่งด้วยกรุณาปัญญาธรรมดังนี้ ก็คืออริยเมธีแล้ว" (เสวียปู๋เจวี๋ยน จื้อเอี่ย เจียวปู๋เจวี่ยน เหยินเอี่ย  เหยินเฉี่ยจื้อ ฟูจื่อจี้เซิ่งอี่)
(เมิ่งจื่อ) ดูเถิด ระดับท่านบรมครูขงจื่อ ยังไม่ยอมรับฐานะความเป็นอริยะ แล้วศิษย์กล่าวอะไรออกมา" กงซุนโฉ่วว่า "เคยได้ยินมาว่า ปราชญ์จื่อเซี่ย  จื่ออิ๋ว  จื่อจาง  ล้วนได้เรียนรู้ส่วนหนึ่งของความเป็นอริยะ  สำหรับหยั่นหนิว  หมินจื่อ กับ  เอี๋ยนเอวียนนั้น แม้จะได้เรียนความสมบูรณ์ของอริยะ แต่ยังได้แก่ตนไม่มาก ดังนี้แล้ว ครูท่านเห็นเป็นเช่นไร"  ตอบว่า "อย่าเพิ่งพูดถึงท่านเหล่านี้เลย" (กงซุนโฉ่วอยากถามบุคคลที่เป็นแบบอย่างเพื่อเจริญรอยตาม) กงซุนโฉ่วถามอีกว่า "ราชบุตรป๋ออี๋ กับ สัตบุรุษอี๋อิ่นล่ะ เป็นเช่นไร"  ปราชญ์เมิ่งจื่อตอบว่า "ท่านต่างจากเราคือ หากมิใช่เจ้าเหนือหัวแห่งตน จะไม่สวามิภักดิ์ หากมิใช่พสกนิกรแห่งตน จะไม่ใช้งาน  ขณะบ้านเมืองปกติสุข จะออกมารับราชการ หากบ้านเมืองวุ่นวาย จะลาพักราชการอยู่กับบ้าน นี่คือ จุดหมายของการใช้ชีวิต (รักสันโดษ รักสงบ) ของราชบุตรป๋ออี๋"   ส่วนสัตบุรุษอีอิ๋นนั้น จุดหมายของการใช้ชีวิตก็คือ ไม่มีพระราชาบ้านเมืองใดที่จะรับใช้ไม่ได้ ไม่มีชาวเมืองใดที่จะใช้งานไม่ได้ บ้านเมืองปกติสุขก็รับราชการอยู่ บ้านเมืองวุ่นวายก็ยังคงรับราชการอยู่ (อะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้) นี่คือ อีอิ่น
        สำหรับบรมครูนั้น วาระอันควรรับราชการก็รับ วาระอันควรหยุดพักก็หยุด วาระอันควรยาวนานยั่งยืนก็ยั่งยืนต่อไป วาระอันควรเร่งรีบถอดถอนก็ถอดถอน นี่คือจุดหมายการใช้ชีวิตของท่านบรมครู (ไม่ยึดหมาย ให้พิจารณาการอันควร)  ทั้งสามท่านนี้ ล้วนอริยชนคนก่อนเก่า ครูเอง (เมิ่งจื่อ) ยังไม่อาจเลียนอย่างท่านได้ แต่ที่ปรารถนานั้น คือ เจริญเรียนตามท่านบรมครูขงจื่อ"   กงซุนโฉ่วถามว่า "ป๋ออี๋  อีอิ่น  กับบรมครูขงจื่อ อริยชนระดับเดียวกันกระนั้นหรือ"  ปราชญ์เมิ่งจื่อ ตอบว่า "มิได้เลย ตั้งแต่มีมนุษยชาติมาจนบัดนี้ ยังไม่มีคุณธรรมความเป็นคนสมบูรณ์แบบที่ยิ่งใหญ่เช่นท่านขงจื่ออีกเลย กงซุนโฉ่วว่า "ถ้าเช่นนั้น ทั้งสามท่านมีอะไรเหมือนกันหรือไม่"  ตอบว่า "มี  สมมุติหากมีแผ่นดินร้อยลี้ (เล็กมาก)  ให้ท่านเป็นกษัตริย์ ท่านสามารถทำให้เจ้าเมืองน้อยใหญ่ทั้งหมดเคารพสยบใจได้ แต่หากจะให้ท่านทำเรื่องผิดต่อมโนธรรมสักเรื่องหนึ่ง หรือสังหารคนไม่มีโทษผิดสักคนหนึ่ง เพื่อให้ได้มหาอำนาจครองโลก ทั้งสามท่านจะไม่ทำเป็นอันขาด นี่คือสิ่งที่เหมือนกัน"  กงซุนโฉ่วว่า  "ขอบังอาจเรียนถามอีกว่า สิ่งต่างนั้นเช่นไร" ตอบว่า "ปราชญ์ไจหว่อ  จื่อก้ง  โหย่วยั่ว  ทั้งสามท่าน ปัญญาล้วนพร้อมพอต่อการเรียนรู้ได้ในความเป็นอริยะ เชื่อว่าการเรียนรู้ได้และมั่นใจ่ออริยะ จะไม่เกิดจากความคิด จิตลำเอียง หรือเป็นไปตามอารมณ์พอใจยินดีของตนต่อท่านผู้นั้น (ซึ่งเป็นอริยะ) ปราชญ์ไจหว๋อกล่าวว่า "จากการที่ได้พินิจพิจารณาบรมครูขงจื่อ ทุกอย่างที่ท่านทำทุกอย่างที่ท่านเป็น และทุกอย่างที่เป็นท่าน ล้วนเลิศล้ำ งามสง่า ยิ่งกว่าอริยกษัตริน์เหยากับซุ่นอีกมากนัก"  ปราชญ์จื่อก้งก็กล่าวว่า " อดีตกษัตริย์แม้ผ่านหายไปามกาลเวลา แต่พิจารณาจากบทบัญญัติจริยประวัติของพระองค์แล้ว ก็จะรู้ได้ว่า การดำเนินการปกครองบ้านเมืองของพระองค์นั้น ดีหรือไม่อย่างไร ฟังลีลาดนตรีที่ท่านประพันธ์ทำนองไว้ ก็จะรู้คุณธรรมความเป็นท่านนั้นเป็นอย่างไร (เจี้ยนฉีหลี่เอ๋อจือฉีจื้อ เหวินฉีเอวี้ยเอ๋อจือฉีเต๋อ)
        จากจุดนี้ แม้เนื่องนานผ่านไป กษัตริย์ภายหลังหนึ่งร้อยสมัยพิจารณาตัดสินความเป็นไปของกษัตริย์ก่อนหน้าร้อยสมัย จึงไม่มีผิดพลาดได้แน่นอน   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                   ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                       ๒. บทกงซุนโฉ่ว  ตอนต้น

        ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ ยังไม่เคยมีที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าท่านบรมครูขงจื่อเลย  ปราชญ์โหย่วยั่ว กล่าวว่า "ไฉนจึงมีผู้ต่างจากคนทั่วไป"  กิเลน (ฉีหลิน        ) กับจัตุบาทอื่น  หงส์ฟ้าพรรณราย           (เฟิ่งหวง)  กับนกทั้งหลาย มหาบรรพตกับเนินดิน  ทะเล  แม่น้ำ  กับแอ่งน้ำ ล้วนจำพวกเดียวกัน อริยชนกับคนทั้งหลาย ล้วนคนด้วยกัน แต่คุณสมบัติต่างจากพวกเดียวกัน อริยคุณธรรมล้ำเลิศเหนือคนด้วยกัน ตั้งแต่มีมนุษยชาติมา ยังไม่เคยมีคุณธรรมล้ำเลิศกว่าบรมครูขงจื่อเลย" (จื้อเซิงหมินอี๋ไหล  เอว้ยเจี้ยนฟูจื่อเอี่ย)..........
        ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "เอาชนะด้วยกำลัง จากนั้นเสแสร้งกรุณา เช่นนี้ เรียกว่าผู้พิชิต"  ผู้พิชิตจะต้องมีกำลังของความเป็นมหาอำนาจ เป็นราชอาณาจักรใหญ่ เอาชนะด้วยคุณธรรม จากนั้นให้ความกรุณา เช่นนี้ เรียกว่า "ผู้เป็นเจ้า"  (อ๋อง)     ความเป็นอ๋อง มิพึงต้องรอให้ยิ่งใหญ่เสียก่อน กษัตรย์ซังทังผู้ทรงธรรม ภาคภูมิในความเป็นอ๋อง บนผืนแผ่นดินเพียงเจ็ดสิบลี้โดยรอบ เอาชนะด้วยกำลัง มิอาจเอาชนะใจฝ่ายตรงกันข้ามได้ เขาสยบเพราะอ่อนกำลังตอบโต้ เอาชนะด้วยคุณธรรม ยินดีสยบด้วยศรัทธา เช่นเดียวกับเจ็ดสิบศิษย์เอกที่สยบต่อบรมครูขงจื่อ  ในคัมภีร์ซืออจิง จารึกว่า "จากตะวันตกถึงตะวันออก จากใต้ไปเหนือ ไม่มีสักคนที่คิดจะไม่สยบศรัทธา"  ย้อนมองส่องตน              (หุยกวงฝั่นเจ้า) คุณธรรมล้ำเลิศได้ด้วยใจจริง มิใช่ด้วยฐานะ สถานภาพ  โอกาส  กรณีเสริมส่งจึงเป็น "ผู้ให้"  เพื่อเขาจะ "ได้"  โดยไม่หวังตอบแทนใด ๆ ... ฉันเป็นเช่นนี้ไหม
        ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ผู้เป็นใหญ่มีกรุณาธรรม ย่อมเจริญ ย่อมภาคภูมิใจ  ขาดกรุณาธรรม จะย่ำแย่อัปยศ"  ทุกวันนี้ ประมุขของบ้านเมืองรู้จักแต่จะรังเกียจความอัปยศ แต่ก็ไม่ตั้งอยู่บนกรุณาธรรม จึงเหมือนกับ ไม่ชอบความอับชื้น แต่ก็ชอบที่จะอยู่ในหุบลึก  หากเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง รังเกียจความอัปยศจริง วิธีหลีกเลี่ยง ไม่มีอะไรดีไปกว่าเทิดทูนคุณธรรม  ยกย่องขุนนางศรี เชิดชูเมธีคนดีทั้งหลาย เมื่อราชาธิบดีเป็นเมธีมีคุณธรรม นำขุนนางศรีผู้มีความสามารถช่วยกันบริหารบ้านเมือง จะเกิดสุขสงบทั่วหน้า เมื่อถึงเวลานั้น พิจารณาการอาญากับการปกครองบริหารให้เข้าทำนองคลองธรรม ดังนี้แล้วแม้บ้านเมืองใหญ่ ยังจะต้องหวั่นเกรงบ้านเมืองนี้
        ในคัมภีร์ซือจิง  จารึกไว้ว่า  "รักษาโอกาศขณะฝนยังไม่ชุก นกน้อยเร่งรีบจิกรากหม่อน ลอกเปลือกไม้เป็นใบยาง เอามาซ่อมแซมรังของตนให้มั่นคง รังจะไม่โปร่งสบายไม่อับชื้น (แซมรังก่อนฝน)                (เอว้ยอวี่โฉวโหมว) "  "หากเตรียมการดังนี้แก่ประชาราษฏร์ ใครหรือจะกล้ามารุกราน" ธรรมกวีบทนี้ เมื่อท่านบรมครูได้อ่าน ท่านชื่นชมว่า "ผู้เขียนกวีบทนี้ รู้หลักธรรมดี รู้ที่จะปกครองป้องภัยแก่บ้านเมือง ใครจะกล้ามาราวี"
        วันนี้ ผู้เป็นใหญ่ในบ้านเมือง  เมื่ออยู่กับภาวะปกติสุขปลอดสงครามโจรภัย แทนที่จะใช้โอกาสดี สร้างฐนสุขสวัสดิ์แก่บ้านเมือง แต่กลับส้องเสพบันเทิงใหญ่ เกียจคร้าน  ไม่ใส่ใจต่อประชาราษฏร์ วางอำนาจหยิ่งผยอง  ดังนี้คือ "หาภัยใส่ตน"  เคราะห์ภัยวาสนา ไม่มีที่มิใช่ใฝ่หาเข้ามาเอง ในคัมภีร์ซือจิงจารึกไว้ว่า "คำนึงถึงการอันตรงต่อฟ้าทุกเวลา เรียกหาความถูกต้องจากตนเอง ตนย่อมสมบูรณ์พร้อมวาสนา"           (อย่งเอี๋ยนเพ่ยมิ่ง จื้อฉิวตัวฝู) ในหนังสือซังซู บทไท่เจี่ย จารึกไว้ว่า "ภัยพิบัติอันเกิดจากฟ้า ยังอาจหาทางเลี่ยงหลบพ้น  ภัยพิบัติอันเกิดจากตน หลีกไม่พ้นไม่รอดได้"  (เทียนจั้วเนี่ยอิ๋วเข่อเอว๋ย จื้อจั้วเนี่ย ปู้เข่อหัว)                              ก็คือเช่นนี้

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                      ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                       ๒. บทกงซุนโฉ่ว  ตอนต้น

        ปราชญ์เมิ่งจื่อ ว่า  "ยกย่องให้เกียรติเมธีผู้มีคุณธรรม ให้ตำแหน่งแก่ปรีชาชนคนที่ไว้ใจได้ ปราชญ์เมธีคนดีอื่น ๆ จะต่างยินดีเข้าร่วมงานบ้านเมือง เก็บภาษีร้านค้า ไม่เก็บภาษีสิ่งของ เป็นระเบียบ ไม่ซ้ำซ้อน พ่อค้าวานิชทั้งหลายต่างพอใจ จะซื้อขายในบ้านเมืองนี้  ตั้งด่านตรวจตราสิ่งของต้องห้าม แต่ไม่เรียกเก็บภาษี คนเดินทางต่างยินดีเข้าออกบ้านเมืองนี้ ไม่เรียกเก็บภาษีที่นา แต่ให้ชาวนาช่วยกันลงแรงในแปลงกลาง ที่เก็บเกี่ยวเข้ายุ้งฉางคลังหลวง ดังนี้ ชาวนาทั้งหมดล้วนยินดีลงแรงทำไร่นา  หากไม่ริบเอาที่อาศํยแทนเงินค่าภาษี ชาวบ้านชาวเมืองทุกหนแห่ง ต่างยินดีมาเป็นประชากรบ้านเมืองนี้  ประมุขผู้เป็นใหญ่  หากทำห้าประการนี้ได้ ชาวเมืองใกล้เคียงก็จะเทิดทูนประหนึ่งพ่อแม่ใกล้เคียงของประชาราษฏร์ จะประณามการปกครองที่ไม่เป็นธรรมของบ้านเมืองตน พาลูกหลานมาอยู่บ้านเมืองนี้  ตั้งแต่มีมนุษยชาติมา ยังไม่มีประมุขใดทำได้เพียงนี้  ควรทำดังนี้ จึงจะไม่มีศัตรู ไม่มีศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินก็คือ ผู้รับบัญชามาจากเบื้องบน ดังนี้ มิใช่อ๋องผู้เป็นใหญ่ในโลกหล้า คงจะไม่มี"   ปราชญ์เมิ่งจื่อ ว่า "คนล้วนมีจิตที่มิอาจอดใจดูดาย กษัตริย์โบราณมีจิตที่มิอาจอดใจดูดาย จึงได้มีการปกครองบ้านเมืองที่มิอาจอดใจดูดาย  เอาจิตที่มิอาจอดใจดูดายนี้ ดำเนินการปกครองที่มิอาจอดใจดูดาย การปกครองโลกหล้า ก็จะช่วยเหมือนลูกแก้วกลิ้ง ในกลางใจมือ"  ที่กล่าวว่า คน ล้วนมีจิตมิอาจอดใจดูดาย เช่น เมื่อเห็นเด็กน้องกำลังจะหัวทิ่มลงบ่อ ไม่ว่าเขาผู้เห็นจะเป็นคนเช่นไร ล้วนบังเกิดจิตสงสารสะท้านลึก  มิใช่ด้วยคิดว่าจะต้องนำเด็กไปส่งพ่อแม่ (ไม่ทันเกิดแผนคิดใด ๆ ) ไม่ใช่คิดว่า จะได้ชื่อเสียงคำชื่นชมจากใคร ๆ อีกทั้งมิใช่เกลียดเสียงเด็กตกน้ำ  (จิตที่มิอาจอดสูดูดายนี้ เป็นธาตุแท้ของจิตเดิมแท้ที่มีอยู่เอง)  จะเห็นได้ดังนี้ ...

ผู้ไม่มีจิตสงสารสะท้านลึก ไม่นับได้ว่าเป็นคน
ผู้ไม่มีจิตละอายต่อความชั่วผิดบาปของตน ก็ไม่นับได้ว่าเป็นคน
ผู้ไม่มีจิตเลี่ยงละสละให้ ก็ไม่นับได้ว่าเป็นคน

                                                   :
                                                 
                                                   :

                                                    :

                                                     ํ

(อู๋เซ่ออิ่นจือซิน  เฟยเหยินเอี่ย

อู๋ซิวเอ้อจือซิน   เฟยเหยินเอี่ย

อู๋ฉือยั่งจือซิน    เฟยเหยินเอี่ย

อู๋ซื่อเฟยจือซิน  เฟยเหยินเอี่ย

จิตสงสารสะท้านลึก เป็นจุดเบื้องต้นของกรุณาธรรม      (เซ่ออิ่นจือซิน  เหยินตือจวน)   
จิตละอายต่อความชั่วผิดบาป เป็นจุดเบื้องต้นของมโนธรรมสำนึก  (ซิวเอ้อจือซิน อี้จือตวน)
จิตเสียสละเลี่ยงให้ เป็นจุดเบื้องต้นของจริยธรรม (ฉือยั่งจือซิน  หลี่จือตวน)
จิตรู้ผิดชอบชั่วดี เป็นจุดเบื้องต้นของปัญญาธรรม  (อู๋ซื่อเฟยจือซิน จื้อจือตวน)

        หากคนมีสี่จุดเบื้องต้นนี้ เปรียบได้ดั่งมีมือเท้าทั้งสี่  มีจิตที่เป็นจุดเบื้องต้นของธาตุแท้อยู่กับตน แต่กลับปฏิเสธว่าทำความดีไม่ได้ เท่ากับทำร้ายตน (ไม่ใช้มือเท้า [คุณความดี] ให้เกิดประโยชน์)  ผู้รักษา "สี่จุดเบื้องต้น" ในตนไว้ได้ ล้วนรู้ที่จะขยาย และเติมเต็มให้แก่พลังนั้น เหมือนเพลิงไฟที่เริ่มลุกโชนเหมือนลำธารที่เริ่มไหลโกรก หากเติมเต็มแก่พลังนั้นได้ พลังนั้นก็จะโอบอุ้มรักษาได้ทั่วหล้า  แต่หากไม่เติมเต็ม ก็ยังไม่พอต่อการปฏิการะบิดามารดา (จุดเบื้องต้นของคุณงามความดีที่แฝงอยู่ในตน มิได้สำแดงแม้แต่เป็นที่พึ่ง ที่ภาคภูมิใจ ที่ปลอบขวัญ ยังไม่พอ)  ปราชญ์เมิ่งจือ ว่า "ผู้สร้างลูกธนู จิตเดิมแท้ของเขานั้นขาดความกรุณาต่อผู้สร้างเกราะป้องกันกระนั้นหรือ หาเป็นเช่นนั้นเสมอไปไม่  ผู้สร้างลูกธนู เกรงแต่จะสร้างได้ไม่แหลมคม  ผู้สร้างเกราะ เกรง
แต่จะสร้างได้ไม่แข็งแกร่ง ป้องกันไม่ได้  อาจารย์เวทมนต์คาถากับช่างไม้ก็เป็นเช่นเดียวกัน (อาจารย์เวทมนต์คาถา ภาวนาไม่ให้เขาตาย แต่ช่างไม้เกรงจะขายโลงศพไม่ได้)  ดังนั้น งานช่างฝีมือทั้งสี่นี้ เมื่อพิจารณาจะรู้ว่า ทุกอย่างพึงชั่งใจ"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                    ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                       ๒. บทกงซุนโฉ่ว  ตอนต้น

        บรมครูขงจื่อท่านเคยกล่าวไว้  "ในหมู่บ้าน จะต้องมีประเพณีนิยมของกรุณาธรรมประจำใจ จึงจะดี เลือกถิ่นฐานที่อยู่อาศัยที่ไม่มีบรรยากาศของกรุณาธรรมจะนับว่าฉลาดมีปัญญาได้หรือ"  จึงกล่าวได้ว่า กรุณาธรรมเป็นศักดิ์ศรีสูงส่งของฟ้าเบื้องบน เป็นฐานตำแหน่งที่ตั้งอันปลอดภัยที่สุดของคน จะก้าวขึ้นสู่ศักดิ์ศรีอันสูงส่ง จะอาศัยอยู่กับฐานตำแหน่งที่ตั้งอันปลอดภัยนั้น ไม่มีใครต่อต้าน  คนที่ไม่รู้จักดำเนินกรุณาธรรมเป็นคนขาดปัญญา ไม่มีกรุณาธรรมอีกทั้งไม่มีปัญญา ก็จะไม่มีจริยระเบียบ และยังไม่รักษาทำตามหลักของมโนธรรมอีกด้วย ถ้าเช่นนั้น ก็เท่ากับเป็นคนที่ใช้ไม่ได้ จะต้องรับสภาพความเป็นข้าทาส เมื่อตกสู่ฐานะต่ำต้อยรับสภาพอย่างนั้น จึงรู้สึกตัวว่าน่าอดสู อย่างเดียวกับช่างทำเกาทัณฑ์อดสูใจที่สร้างอาวุธทำร้ายคน อย่งเดียวกับช่างทำลูกธนูอดสูใจที่ทำลูกธนูทำร้ายคน  ยอมทนอยู่กับความอดสูใจ  มิสู้ดำเนินชีวิตใหม่ด้วยกรุณาธรรม จะดำเนินกรุณาธรรม เริ่มจากตั้งตนเที่ยงตรง เหมือนคนจะยิงธนูให้ตรงเป้า ผู้ยิงจะต้องยืนตัวตรงเสียก่อนเล็งตรงเป้าหมาย แล้วจึงยิง (เหมือนตั้งหลักกรุณาธรรม)  หากพลาดเป้า (ใช้กรุณาธรรมแล้ว ผลตอบสนองยังไม่ดี) อย่าขัดเคืองผู้ชนะเหนือกว่าตน  แต่จงเรียกร้องความถูกต้องจากตนเองให้เที่ยงตรงยิ่งขึ้น (ฝั้นฉิวจูจี่่)
        ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ปราชญ์จื่อลู่ (ศิษย์จอมปราชญ์) นั้น หากมีใครชี้จุดผิดพลาดให้ จะดีใจได้แก้ไข" อริยกษัตริย์อวี่ เมื่อได้ยินใครกล่าวคติเตือนใจให้ปิยวาจาจะแสดงความเคารพ  อริยกษัตริย์ซุ่น สูงส่งยิ่งกว่าสองท่านนี้นัก พระองค์จะทรงฟังความเห็นของทุกคน (รักประชามติ) จะสละพระประสงค์เดิม เมื่อประชามติต้องการเป็นอย่างอื่น  ก็ยินดีรับเอาความสามารถของใคร ๆ ไว้ศึกษาเป็นแบบอย่าง พระองค์เริ่มจากทำไร่ไถนา ทำงานเผาเครื่องเคลือบหาปลา จนกระทั่งถูกเชิญให้ขึ้นครองราชย์ ไม่มีขณะใดเลยที่ไม่น้อมใจฟังเหตุผลที่ถูกต้อง ยินดีเรียนรู้ความสามารถพิเศษของผู้อื่น แล้วปฏิบัติตามนั้น  การเอาปิยวาจา คติธรรม  เอาความประพฤติปฏิบัติดีของใครเป็นแบบอย่าง นั่นก็เท่ากับช่วยให้ใคร ๆ ได้สัมฤทธิ์ผลในการ คิดดี  พูดดี  ทำดีนั้นด้วย กล่าวได้ว่า กัลยาณชนคนดีงาม ไม่มีคุณธรรมใดที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าช่วยใคร ๆ ให้ได้ปฏิบัติ ให้ได้สัมฤทธิ์ผลในคุณความดีของเขา (ความถูกต้องดีงามทั้งปวงเพื่อส่วนใหญ่ หากไม่มีใครเชื่อฟังทำตาม ความถูกต้องดีงามย่อมไม่ผลิดอกตกผล)  ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ท่านป๋ออี๋นั้น หากมิใช่ประมุขแห่งตน จะไม่รับใช้งานมิใช่เพื่อนอันพึงคบหา ก็จะไม่เสวนาด้วย ไม่ยอมเหยียบย่างเข้าในราชฐานของทรราช ไม่ทักทายพูดจากับคนชั่วช้าสามานย์ แม้ยืนอยู่บนราชฐานของทรราช(โดยไม่ได้สมัครใจยินดี) และมีความจำเป็นต้องตอบโต้กับทรราช ความรู้สึกจะเหมือนสวมหมวก เครื่องยศชุดวังเต็มภาคภูมิเข้าท้องพระโรงใหญ่ แต่ต้องนั่งอยู่ในโคลนตมความรัง้กียจชิงชังต่อความไม่ถูกต้องของใคร ๆ (ด้วยคาดหมายต่อความดีที่ทุกคนจะต้องมี จะต้องเป็น) แม้กระทั่งเมื่อยืนอยู่กับเพื่อนบ้าน ตั้งใจจะพูดจาทักทาย แต่เมื่อเหลียบเห็นหมวกที่เขาสวมใส่ไม่ตรง ดังนี้ ท่านก็จะผละจากไปทันที เสมือนเห็นสิ่งปฏฺกูลอันจะป้ายเปื้อนถึงตัวได้" ด้วยเหตุ (เคร่งครัดมุ่งหมายให้ถูกต้อง) ดังนี้ แม้เจ้าเมืองมากหลายที่มีวาทะคมคาย จะพยายามมาโน้มน้าวให้ไปเป็นขุนนาง ก็ล้วนถูกปฏิเสธ ที่ไม่ยอมรับนั้นคือ เห็นความเป็นขุนนางไร้ค่า หามีศักดิ์ศรีไม่  ขุนนางข้าราช ฯ คือ หมู่ชนน่ารังเกียจ ชอบแต่จะกลั่นแกล้ง แก่งแย่ง ป้ายสี  ป้อยอ สอพลอ ฉ้อฉล ใช้อำนาจบาตรใหญ่เพื่อประโยชน์ตน) หลิ่วเซี่ยฮุ่ย ขุนนางเมธีแห่งเมืองหลู่ (ความคิดจิตใจต่างไปจากป๋ออี๋) จะไม่รู้สึกน่าอับอายที่มีประชุมไม่สำรวม แม้จะให้รับตำแหน่งขุนนางระดับล่าง ก็รับได้ไม่รังเกียจ ท่านรับราชการพร้อมกับแสดงความดีของเมธีชน งานทุกอย่างปฏิบัติด้วยความถูกต้องเป็นธรรม ถูกสั่งพักงาน (ดีเกินไป) ก็ไม่ขัดเคือง สิ่งแวดล้อมจะเลวร้าย ก้ไม่ทุกข์เศร้า  ท่านกล่าวเสมอว่า "เขาทำของเขา เราทำของเรา แม้เขาจะสวมเสื้อเปิดไหล่หรือเปล่าเปลือย ยืนอยู่ข้าง ๆ เรา เขาจะป้ายเปื้อนแก่เราได้หรือ"  หลิ่วเซี่ยฮุ่ย จึงเป็นตัวของตัวเอง จะยืนอยู่กับใคร ก็ยังคงความเป็นผู้มีพลังเที่ยงธรรมในตนได้  เมื่อขอลาออกจากหน้าที่  แต่หามีผู้รั้งไว้ ก็อยู่ต่อไป เมื่อรั้งและอยู่ต่อไป จึงหมายความว่า ไม่ตั้งใจจะลาออกอย่างแท้จริง  ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ป๋ออี๋ ไม่เปิดใจกว้าง ไม่ยอมรับในผู้อื่น  ส่วนหลิ่วเซี่ยฮุ่ย ตามสบายไม่เคร่งครัด เท่ากับไม่มีความเคารพ ทั้งสองลักษณะนี้ กัลยาณชนมิพึงเอาเยี่ยงอย่าง"
             
                        ~ จบบทกงซุนโฉ่ว  ตอนต้น ~

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 

                          ๒.  บทกงซุนโฉ่ว  ตอนท้าย

        ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า " วาระฟ้า  ฤกษ์ยาม  ฤดูกาล "  มิสู้  " ทิศทาง  สภาพ  ชัยภูมิ "  " สภาพทิศทางชัยภูมิ "  มิสู้  " ผู้คนสมานใจ "  (เทียนสือปู้หยูตี้ลี่  ตี้ลี่ปู้หยูเหยินเหอ ) ........................................  สมมุติเช่น มีกำแพงเมืองชั้นในล้อมไว้สามลี้ มีกำแพงชั้นนอกล้อมไว้อีกเจ็ดลี้ เพียงเท่านี้ ยังตีเมืองไม่แตก แต่เมื่อล้อมเมืองไว้นานเข้า ผลจกวันเวลาจะเอื้ออำนวยให้ ( เช่น ในเมืองเกิดอดอยาก เกิดภัยธรรมชติ...) อย่างนี้เรียกว่าเป็นไปตาม " วาระฟ้า ฤกษ์ยาม  ตามฤดูกาลกำหนด " จึงตีเมืองได้  แต่หากยังตีไม่ได้ ก็ด้วย " วาระฟ้า  ฤกษ์ยาม ฤดูกาล " มิสู้  " ทิศทาง สภาพชัยภูมิ "  ชัยภูมิบ้านเมืองของเขาอาจมีสภาพเอื้ออำนวยความมั่นคงปลอดภัย ไม่ขาดแคลน ปิดล้อมไว้นานเพียงใด ก็ยังอยู่ได้ กำแพงเมืองนั้น มิใช่ไม่สูงทะมึน คูล้อมเมืองรอบนอก ก็มิใช่น้ำไม่ลึก อาวุธสงคราม ก็มิใช่ไม่แกร่งกล้าเพียบพร้อม เสบียงอาหารในเมือง ก็มิใช่ไม่อุดมสมบูรณ์ แต่สุดท้าย ทหาร ผู้คน พากันหนีหายออกไปจากเมือง ทิ้งเป็นเมืองร้างไว้ ไม่ต้องโจมตีก็เข้ายึดเมืองได้สบาย ๆ นี่เรียกว่า " สภาพทิศทางชัยภูมิ "  มิสู้  " ผู้คนสมานใจ "  จึงกล่าวว่า " มิพึงปิดชายแดนกำจัดสิทธิห้ามชาวบ้านผ่านเข้าออกอย่างเสรี มิพึงอาศัยเขาสูงเหวลึก เป็นชัยภูมิป้องกันบ้านเมือง  หรือมีอานุภาพโดยมิต้องใช้ศาสตราวุธข่มขู่ไว้หากการปกครองนั้น ถูกต้องตามทำนองครองธรรม ผู้ช่วยเหลือสนับสนุนจะมากมาย  แต่หากปกครองอย่างไม่เป็นธรรม ผู้ช่วยเหลือสนับสนุนก็จะมีน้อย ที่สุดของการขาดความช่วยเหลือสนับสนุนคือ แม้แต่ญาติกันก็หันหน้าหนี  "  ที่สุดของการได้รับความช่วยเหลือสนับสนุน จะได้จากชาวประชาทั่วฟ้ากว้างทุกคนต่างมุ่งหน้ามาสวามิภักดิ์ บ้านเมืองที่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างดีจากประชาราษฏร์ จะจัดการกับบ้านเมืองที่แม้แต่ญาติยังหันหน้าหนีย่อมไม่มีอะไรกั้นขวาง กษัตริย์ทรงธรรมผู้ไม่ปรารถนาสงคราม หากมีความจำเป็นจะต้งรับมือ ก็จะชนะได้แน่นอน   ปราชญ์เมิ่งจื่อกำลังจะไปพบฉีเซวียนอ๋วง แต่อ๋องส่งคนมาบอกว่า  " เราตั้งใจจะมาพบท่าน แต่เกิดเป็นหวัด ถูกลมไม่ได้ จึงมิได้มา พรุ่งนี้เช้าออกบัลลังก์ว่าราชการ ท่านจะมาพบเราได้หรือไม่ " ตอบไปว่า " น่าเสียดายที่ไม่ค่อยสบาย จึงมิอาจเข้าวัง "  วันรุ่งขึ้น ปราชญ์เมิ่งจื่อไปงานพิธีเคารพศพขุนนางเมืองฉี ที่บ้านสกุลตงกัว ศิษย์กงซุนโฉ่วถามครูปราชญ์ว่า "เมื่อวานท่านปฏิเสธที่จะเข้าวังโดยอ้างว่าป่วย แต่วันนี้กลับมาเคารพศพ มันอาจจะไม่เหมาะกระมัง" ครูปราชญ์ตอบว่า "เมื่อวานป่วย วันนี้หาย ไฉนจะมางานศพไม่ได้"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 

                          ๒.  บทกงซุนโฉ่ว  ตอนท้าย

        เวลานั้น อ๋องส่งตัวแทนมาเยี่ยมไข้พร้อมด้วยแพทย์หลวงเมิ่งจ้งจื่อ ลูกพี่ลูกน้องปราชญ์เมิ่งจื่อรับหน้าที่อยู่ กล่าวแก่ตัวแทนเยี่ยมไข้ว่า "เมื่อวานได้รับบัญชาเชื้อเชิญ แต่ปราชญ์ท่านไม่ค่อยสบายจึงไปเข้าเฝ้าไม่ได้ วันนี้ค่อยหายป่วย จึงรีบเดินทางเข้าวัง ไม่ทราบว่าบัดนี้ไปถึงแล้วหรือไม่"  พร้อมกันนั้น ได้ส่งสองสามคนไปดักท่านเมิ่งจื่อกลางทาง บอกว่า "อย่ากลับบ้านเป็นอันขาด (อาจถูกจับผิด) ให้รีบเดินทางเข้าวังไป" ท่านปราชญ์เมิ่งจื่อย้อนกลับไปค้างบ้านขุนนางฉี จิ่งจื่อรู้เรื่องนี้เข้า กล่าวแก่ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ในบ้าน สำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก อยู่ในราชสำนัก สำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์ระหว่างประมุขกับขุนนาง  นี่คือธรรมะอันเป็นคุณสัมพันธ์ของคน ระหว่างพ่อกับลูก หลักใหญ่ให้รู้พระคุณความสนิทชิดเชื้อ  ระหว่างประมุขกับขุนนาง หลักใหญ่ให้เคารพ ให้เกียรติ  ขณะนี้ ข้าฯเห็นแต่ประมุขให้เกียรติท่าน แต่ไม่เห็นท่านเคารพประมุขเลย"  ปราชญ์เมิ่งจื่อสะท้อนใจกล่าวว่า "คำพูดนี้ พูดได้อย่างไร ชาวเมืองฉี ไม่มีสักคนที่จะถวายวาจากรุณาธรรมแด่อ๋องหรือเห็นว่า กรุณาธรรมมิได้ดีงาม ในใจของพวกเขายังอาจพูดว่า "เหตุใดจึงกล้าเอากรุณาธรรมไปกล่าวสอนอ๋อง" หากคิดเช่นนี้ ถือเป็นความไม่เคารพต่ออ๋องเป็นอย่างยิ่ง นอกจากหลักธรรมที่อดีตอริยกษัตริย์เหยากับซุ่น ใช้ปก
ครองบ้านเมื่องทั่วหล้าแล้ว คำพูดอื่น ๆ ข้าฯ มิกล้ากล่าวแก่อ๋องท่านเลย ฉะนั้น ข้าฯ จึงกล้าูพูดได้ว่า ชาวเมืองฉี ไม่มีสักคนที่เคารพอ๋องเท่ากับข้าฯ" (เคารพให้สติ ให้ข้อคิด)  จิ่งจื่อว่า "หามิได้ มิใช่กล่าวเช่นนั้น" ในคัมภีร์หลี่จี้ จารึกไว้ว่า "บิดาเรียกใช้ มิให้ชักช้าที่จะขานรับ ประมุขผู้เป็นใหญ่ให้หา จะรอจนรถม้าเตรียมเสร็จมิได้" อันที่จริง ปราชญ์ท่านเตรียมจะเข้าวังไปพบอ๋องอยู่แล้ว พอได้ยินว่า มีพระบัญชาส่งคนมาเรียก ก็กลับเปลี่ยนความตั้งใจเสีย การกระทำดังนี้  ดูเหมือนจะขัดต่อจริยธรรมที่จารึกไว้ในคัมภีร์หลี่จี้"  ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ในคัมภีร์หลี่จี้กล่าวไว้ เป็นกรณีเดียวกันกับเรื่องนี้หรือ แต่ก่อน ท่านปราชญ์เจิงจื่อกล่าวว่า "ความร่ำรวยของเมืองจิ้น เมืองฉู่ เรามิอาจเทียบได้ เมื่อเขาเอาความร่ำรวยมาโอ้อวด เราจึงกล่าวอ้างถึงกรุณาธรรม (ความร่ำรวยที่เรามี) เมื่อเขาเอาบรรดาศักดิ์มาจูงใจเรา เราจึงเอาหลักมโนธรรมไปต้านเขา เรามีอะไรที่ขาดพร่องกว่าเขาหรือ" คำพูดเหล่านี้ มิใช่หลักเหตุผลดอกหรือ ท่านเจิงจื่อยังแฝงหลักธรรมอีกชั้นหนึ่งว่า "คนในโลก มีคุณสมบัติเป็นที่เคารพของใคร ๆ ได้สามประเภทคือ ยศศักดิ์สูง  อายุสูง  คุณธรรมสูง  ในพระราชฐาน ไม่มีที่เกินกว่ายศศักดิ์สูง (ได้รับความเคารพ) ในหมู่บ้าน ไม่มีที่เกินกว่าอายุสูง  หากพูดถึงการอุ้มชูกอบกู้ชาวโลก ก้จะไม่มีที่เกินกว่าคุณธรรมสูงดังนี้แล้ว ไฉนจึงเหตุยศศักดิ์สูงเพียงอย่างเดียว ก็จะดูแคลนอายุสูงกับคุณธรรมสูงไปเสียได้"  ฉะนั้น  ประมุขผู้เป็นใหญ่ทำงานใหญ่ในแผ่นดินตั้งแต่โบราณมา  จะต้องมีขุนนางใหญ่  ผู้รับใช้คนสำคัญที่ "มิให้เรียกใช้" ไม่เรียกให้เข้าเฝ้าโดยไม่จำเป็น อีกทั้งจะต้องยกย่องไว้ในฐานะเฉพาะกิจเฉพาะการ จะพร่ำเพรื่อมิได้ หากมีแผนงานจะต้องปรึกษาหารือด้วย  ประมุขยังจะต้องน้อมองค์ลงไปหา  แสดงถึงความทรงธรรม ให้ความสำคัญแก่คนสำคัญ แก่เรื่องสำคัญที่จะหารือ หากไม่ปฏิบัติเช่นนี้ ก็น่าจะไม่มีการร่วมงานสำคัญเฉพาะกับเขา ฉะนั้น  กษัตริย์ซังทัง ยกย่องเรียกให้อีอิ่น จึงเริ่มน้อมองค์ลงศึกษาวิชาการจากอีอิ่น จากนั้น จึงยกย่องขึ้นเป็นขุนนางใหญ่ กษัตริย์ซังทัง จึงสำเร็จการใหญ่ เป็นอ๋องผู้ยิ่งใหญ่ทั่วแผ่นดิน  โดยมิต้องยุ่งยากลำบากใจเลย สำหรับพระเจ้าฉีหวนกง ที่ไว้ใจเรียกใช้ก่วนจ้งนั้น ก็เริ่มจากน้อมองค์ศึกษาวิชาการระดับสูงจากก่วนจ้งเช่นกัน จากนั้น จึงโปรดให้รับตำแหน่งขุนนางใหญ่ดังนั้น พระเจ้าฉีหวนกง จึงสำเร็จความเป็นอ๋องผู้พิชิต โดยมิต้องยุ่งยากลำบากใจเลย

Tags: