collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาเมิ่งจื่อ : ปราชญ์เมิ่งจื่อ : เริ่มเรื่อง  (อ่าน 67636 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                  ปรัชญาเมิ่งจื่อ

         แปลและเรียบเรียงโดย  ศุภนิมิต

คณะผู้จัดทำ

ศุภนิมิต

นายวีเกียรติ        มารคแมน
นายปรีชา          อัศวกาญจนา
นางสาวชลาลัย   วงศ์วิญญูตระการ

จัดพิมพ์โดย
สำนักพิมพ์ส่งเสริมคุณภาพชีวิต   23  ถนนจรัญสนิทวงศ์  ซอย 44  แขวงบางยี่ขัน  เขตบางพลัด  กรุงเทพฯ  10700
โทรศัพท์   0-2883 - 0620 , -  081-613-7550  โทรสาร  0-2883 - 0621

และ  ไท่ถงธรรมสถาน  19  หมู 9 บ้านเขาพระ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30320  โทรศัพท์ 0-4432-2087-8 

พิมพ์ที่
อักษรสยามการพิมพ์  1137/1  ถนนจรัญสนิทวงศ์  ซอย 13  เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2410 - 7813 

                                 สารบัญ

ปราชญ์เมิ่งจื่อ   เริ่มเรื่อง
ประวัติสังเขปปราชญ์เมิ่งจื่อ
ปรัชญาพื้นฐานจากปราชญ์เมิ่งจื่อ

1.  บทเหลียงฮุ่ยอ๋วง     ตอนต้น
     บทเหลียงฮุ่ยอ๋วง     ตอนท้าย

2   บทกงซุนโฉ่ว         ตอนต้น
     บทกงซุนโฉ่ว         ตอนท้าย

3.   บทเถิงเหวินกง     ตอนต้น
      บทเถิงเหวินกง     ตอนท้าย

4.   บทหลีโหลว        ตอนต้น
      บทหลีโหลว        ตอนท้าย

5.   บทวั่นจัง            ตอนต้น
      บทวั่นจัง            ตอนท้าย

6.   บทเก้าจื่อ          ตอนต้น
      บทเก้าจื่อ          ตอนท้าย

7.   บทจิ้นซิน          ตอนต้น
      บทจิ้นซิน          ตอนท้าย

      ดรรชนี                 

                 ปรัชญาเมิ่งจื่อ

                 ปราชญ์เมิ่งจื่อ 

                     เริ่มเรื่อง

        ก่อนคริสตศักราชหนึ่งพันหนึ่งร้อยกว่าปี เป็นสมัยปลายราชวงศ์อินซัง (สามพันสองร้อยปีโดยประมาณ)  ผู้ปกครองแผ่นดินคือ โจ้วอ๋วง ทรราชผู้ฉาวโฉ่ โจ้วอ๋วงหลงราคะ ประหารขุนนางศรีที่เตือนสติ ข้าราชฯ คนดีต่างหนีหาย ประชาชนระส่ำระสายทุกข์ยาก  ก่อนหน้านั้น ขณะรุ่งเรือง ทางทิศตะวันตกของบ้านเมืองยังมีชุมชนกลุ่มใหญ่สกุลโจว เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อบัลลังก์ทรราชสั่นคลอน กลุ่มชนสกุลโจว ซึ่งนำโดยประมุขจีฟา จึงบุกเข้าขับไล่ ขจัดภัยแก่ประชาราษฏร์   ก่อนคริสตศักราชหนึ่งพันหนึ่งร้อยสิบเอ็ดปี ทรราชโจ้วอ๋วง พ่ายแพ้ยับเยิน ไปเผาตัวตายที่เมืองเจาเกอ ราชวงศ์อินซังถึงการสิ้นสูญ  จีฟา ผู้นำกลุ่มชนสกุลโจว ก็คือ กษัตริย์โจวอู่อ๋วง ในเวลาต่อมา  เพื่อการปลอบขวัญชาวบ้านชาวเมืองเก่าของทรราชโจ้วอ๋วง  กษัตริย์โจวอู่อ๋วง ได้แต่งตั้งราชบุตรอู่เกิงของทรราชเป็นอ๋องรักษาการเมืองเก่า  แบ่งแผ่นดินผืนใหญ่ จัดสร้างเมืองใหม่แก่โจวกง (จีตั้น)  พระอนุชาผู้มีคุณต่อแผ่นดินของพระองค์  โจวกงเอาแผ่นดินพระราชทาน ซึ่งปัจจุบันคือ มณฑลซันตง อำเภอฉวี่ฟู่ สร้างเป็นเมืองหลู่ นั่นคือ ถิ่นกำเนิดของปราชญ์เมธีมากมายในภายหลัง  เนื่องจากโจวกงจะต้องดูแลราชการเมืองหลวงของกษัตริย์โจวอู่อ๋วง จึงส่งป๋อฉิน ราชบุตรของพระองค์เองไปเป็นเจ้าเมืองหลู่
        ป๋อฉิน จึงนับเป็นเจ้าเมืองต้นราชวงศ์หลู่  ได้สืบต่อยุคสมัยโดยรัชทายาท นับเป็นสายตรงจากโจวกง หรือ พระเจ้าปู่โจวกง ซึ่งเป็นพระอนุชา ผู้สูงส่งด้วยคุณธรรม จริยธรรม ของอริยกษัตริย์โจวอู่อ๋วง  หลายร้อยปีต่อมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าหลู่หวนกง  พระเจ้าหลู่หวนกง แต่งตั้งรัชทายาทจีถง (วัน เดือน เวลา กำเนิด ตรงกับพระบิดา) สืบต่อเป็นพระเจ้าหลู่จวงกง  พระเจ้าหลู่จวงกงมีพระอนุชาสามพระองค์ ได้เจริญงอกงามเป็นสามตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลเมิ่งซุน สูซุนกับจี้ซุน ล้วนเป็นมหามนตรีที่สูงส่งด้วยอำนาจราชศักดิ์

        ปราชญืเมิ่งจื่อ คือ ทายาทบุตรหลานของท่านเมิ่งซุน  จึงใช้แซ่สกุลเมิ่ง  ภายหลังบรรพบุรุษสกุลเมิ่ง รุ่นใดไม่แจ้งชัด ได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่เมืองโจว ปราชญ์เมิ่งจื่อ จึงกลายเป็นคนเมืองโจวไป  เมืองหลู่ กับ เมืองโจว ระยะทางห่างกันเพียงไม่กี่สิบลี้ ปัจจุบันคือซันตง มณฑลเดียวกัน

        บิดา ของปราชญ์เมิ่งจื่อ นามว่า เมิ่งจี วายชนม์เมื่อเมิ่งจื่ออายุได้ สามปี  มารดาของเมิ่งจื่อเป็นกุลสตรี ธิดาสกุลจั่ง เป็นยอดมารดาที่ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า "หากปราศจากท่าน โลกจะไม่มีปราชญ์ที่ชื่อว่า "เมิ่งจื่อ"   ย้อนหลังค้นหาจึงได้พบว่า ปราชญ์เมิ่งจื่อสืบสายต่อมาจากพระเจ้าปู่โจวกง  จากป๋อฉินเป็นอันดับแรก สืบต่อด้วยเจ้าเมืองหลู่อีกหลายพระองค์ จนถึงพระอนุชาเมิ่งซุน จึงเกิดแซ่สกุลเมิ่ง
       
        ปราชญ์เมิ่งจื่อถือ กำเนิดก่อนปีคริสตศักราช 372 ปี ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าโจวเลี่ยอ๋วง ปีที่สี่  ปราชญ์เมิ่งจื่อ นาม เคอ นามรอง จื่ออวี๋ เนื่องจากกำพร้าบิดา ฐานะยากจน มีแต่มารดาหาเลี้ยงอุ้มชู  ระหว่างวัย สิบห้า สิบหกปี จากการอบรมโน้มนำของมารดา เมิ่งจื่อชื่นชอบปรัชญา จึงเดินทางมาศึกษาที่บ้านเมืองจอมปราชญ์บรมครูขงจื่อ  ปราชญ์เมิ่งจื่อใกล้ชิดติดตามศิษย์ของปราชญ์จื่อซือ ศิษย์เอกของบรมครู  ปราชญ์เมิ่งจื่อรับศิษย์ปรัชญาเมื่ออายุได้สามสิบ อายุสี่สิบเริ่มปฏิบัติตามอุดมการณ์ออกเดินทางเช่นเดียวกับที่บรมครูโปรด จาริกเรียงเมือง (โจวอิ๋วเลี่ยกว๋อ) เพื่อกล่อมกลายเหล่าประมุขให้ดำเนินการปกครองโดยกรุณาธรรม แต่มิอาจฝ่าฟันกิเลสวิสัยในใจของผู้มีอำนาจได้ ปราชญ์เมิ่งจื่อจึงเดินทางกลับ ตั้งใจให้การศึกษาปรัชญาแก่อนุชน

        ศิษย์เอกของท่าน อาทิ วั่นจัง กงซุนโฉ่ว เข้าใจเจตนารมณ์สูงส่งของครูปราชญ์ จึงร่วมช่วยงานรวบรวมพิจารณาปรัชญาของท่านจอมปราชญ์ขงจื่อ กับ ปรัชญาความคิดของครูปราชญ์เมิ่งจื่อ ให้ปรากฏแก่ชนรุ่นหลัง อย่างน้อยก็เพื่อฉุดยั้งความเสื่อมทรามของจิตใจ รักษาไว้ซึ่งคุณธรรม จริยธรรม กรุณาธรรม ที่ทั้งท่านบรมครูขงจื่อ และ ครูปราชญ์เมิ่งจื่อ ได้เพียรพยายามเรียกร้องด้วยชีวิตทั้งชีวิตที่อุทิศสิ้นแล้ว

        ปราชญ์เมิ่งจื่อ ละสังขารในปีก่อนคริสตศักราช 289 ปี รวมสิริอายะ แปดสิบสี่ปี สรีรร่างแห่งความเป็นปราชญ์ชนของท่าน ได้รับการฝังไว้บนแผ่นดินด้านประตูเมืองทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ยี่สิบห้าลี้ บนเทือกเขาด้านตะวันตก ซีจีซัน

 ศุภนิมิต  แปลและเรียบเรียง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20/11/2011, 11:54 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                   ปรัชญาเมิ่งจื่อ 

                   ปราชญ์เมิ่งจื่อ  :  ประวัติสังเขป

        ท่านปราชญ์เมิ่งจื่อ นาม เมิ่งเคอ  นามรองจื่ออวี๋ เป็นชาวเมืองโจวโดยกำเนิด (ก่อนคริสตศักราช 327 - 289) ศึกษาปรัชญาจากท่านปราชญ์จื่อซือ (ศิษย์ท่านบรมครู) ท่านปราชญ์เมิ่งจื่อแจ้งใจในหลักปรัชญาแล้ว เดินทางไปแสดงธรรมแก่พระเจ้าฉีเซวียนอ๋วง ฉีเซวียนอ๋วง ยินดีนักแต่ปฏิบัติตามไม่ได้ ท่านจึงจาริกต่อไปที่เมืองเหลียง พระเจ้าเหลียงฮุ่ยอ๋วง เข้าใจดี แต่ไม่ปฏิบัติตามท่านสอน ซ้ำยังกลับกล่าวหาเพื่อแก้ตัวว่า ปรัชญาเหลวไหลเป็นไปไม่ได้  สมัยนั้นเป็นยุคขุนศึกจั้นกั๋ว บ้านเมืองน้อยใหญ่ต่างกระหายสงคราม ช่วงชิงความเป็นใหญ่ ใคร่ได้ใคร่ครองแผ่นดินของกันและกัน ปรัชญาปกครองแผ่นดินโดยธรรมของท่านปราชญ์เมิ่งจื่อ จึงมีอันเป็นต้องตายเสียก่อนเกิด เมื่อไม่อาจเผยแพร่ปรัชญาธรรมเพื่อความสงบสุขแก่ปวงประชาได้ ท่านปราชญ์เมิ่งจื่อจึงเดินทางกลับบ้านเมืองท่รวบรวมประพันธ์หนังสือว่าด้วยกรุณามโนธรรม  สืบต่อผลงานของท่านบรมครู โดยมีศิษย์เอก อาทิ  กงซุนโฉ่ว กับ วั่นจัง ร่วมกันพิจารณาเรียบเรียง
        หลักปรัชญาของท่าน แสดงความสำคัญที่ประมุขของบ้านเมือง จะต้องทำหน้าที่อุ้มชูประชาราษฏร์ มิให้กดขี่ข่มเหงเอารัดเอาเปรียบ ให้ทุกคนมีกรุณามโนธรรมสำนึก ตั้งแต่ประมุขเบื้องสูงจนถึงชนเบื้องล่างทุกระดับ ให้ทุกคนค้นหาจิตเดิมแท้แห่งตน มิให้กระเจิงหายเหมือนเป็ดไก่ที่เตลิดไปจากเล้า ให้เสริมสร้างจิตมหาพลานุภาพเที่ยงธรรมในตน ให้ตรงต่อฟ้าดินด้วยมโนธรรมสำนึก
        มาถึงรัชสมัยปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ซ่ง เกียรติคุณอันสูงส่งของปราชญ์เมิ่งจื่อยิ่งได้รับการเทิดทูน  ต่อมาในรัชสมัย จื้อซุ่น  ราชวงศ์เอวี๋ยน  ท่านได้รับการเทิดทูนถึงขั้นปราชญาจารย์ระดับที่สอง รองจากท่านจอมปราชญ์ขงจื่อ เท่านั้น เรียกว่า รองจอมปราชญ์  หรือ อริยปราชญ์เจริญรอย (อย่าเชิ่ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                  ปรัชญาเมิ่งจื่อ 

                  ปราชญ์เมิ่งจื่อ  :  ปรัชญาพื้นฐานจากปราชญ์เมิ่งจื่อ

        ประมุขทรงธรรมนำพาประชาราษฏร์

        ย่อมแคล้วคลาดทุกข์ภัย  ได้สุขเกษมศานต์

        ดังนี้ ท่านปราชญ์เมิ่งจื่อจึงสู้อุตสา่ห์ฝ่าฟันอุปสรรค ฝ่าฟันอันตรายจาริกไป หวังจะกล่อมกลายฮ่องเต้ เจ้าเมือง อ๋องผู้ครองแคว้น ให้ใช้ธรรมะเป็นหลักปกครองประชาราษฏร์ เช่นเดียวกับที่ท่านจอมปราชญ์ขงจื่อบรมครูได้เคยจาริกเรียงเมือง (โจวอิ๋วเลี่ยกว๋อ) เพื่ออุดมการณ์นี้ก่อนหน้ามาแล้ว

        ชี้แจงต้นบท

        ตามความเป็นจริง ปราชญ์เมิ่งจื่อไปพบพระเจ้าฉีเซวียนอ๋วง ก่อน แต่เพื่อจะชี้ให้เห็นจิตใจของคนที่มุ่งหมายประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง จึงนำเรื่องด้วยบทสนทนาธรรมกับพระเจ้าเหลียงฮุ่ยอ๋วง เป็นอันดับแรก

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                         ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 

                         ๑. บทเหลียงฮุ่ยอ๋วง ตอนต้น

        เมื่อได้พบกันกับพระเจ้าเหลียงฮุ่ยอ๋วง เจ้าเมืองเอว้ย เหลียงฮุ่ยอ๋วงเอ่ยถามท่านปราชญ์เมิ่งจื่อทันทีว่า "ท่านผู้สูงวัยสู้เดินทางมาไกล คงจะมีอรรถประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองเราสินะ" ปราชย์เมิ่งจื่อตอบว่า "อ๋องท่านไฉนเอ่ยหาอรรถประโยชน์ ข้า ฯ มีแต่กรุณา มโรธรมเท่านั้น (ที่จะให้)  เมื่อผู้เป็นอ๋องเอ่ยหาอรรถประโยชน์เพื่อแผ่นดินที่ครอบครอง  ขุนนางก็จะเอ่ยหาอรรถประโยชน์เพื่อครอบครัวที่ครองครอง นักศึกษาประชาชน ก็จะเอ่ยหาอรรถประโยชน์เพื่อตนที่ครอบครอง ทุกระดับต่างจับจ้องช่วงชิง ดังนั้น บ้านเมืองจะมีภัย"  เหตุนี้ บ้านเมืองของมหากษัตริย์ที่มีหมื่นคันรถศึก ผู้อาจหาญปลงพระชนม์ ก็จะเป็นเหล่ามหามนตรีที่มีนับพันรถศึกในครอบครอง หัวเมืองที่มีนับพันรถศึก ผู้อาจหาญพิฆาตอ๋อง ก็จะเป็นขุนนางใหญ่ผู้ที่มีนับร้อยรถศึกในครอบครอง เหตุผลนี้ไม่ต่างกัน บ้านเมืองที่มีนับหมื่นรถศึก รุกรานกลืนกินบ้านเมืองที่มีนับพันรถศึก  บ้านเมืองก็มีนับพันรถศึก กลืนกินแว่นแคว้นที่มีนับร้อยรถศึก ตัวเลขดังนี้ไม่นับว่าไม่มากไม่ได้  หากแม้เห็นแก่อรรถประโยชน์มโนธรรม ไม่ช่วงชิงถึงมือได้ จะไม่พอใจ พึงรู้ไว้ไม่เคยที่คนมีกรุณาธรรมจะละทิ้งพ่อแม่ ไม่เคยที่คนมีมโนธรรมจะละเลยประมุขบ้านเมือง ฉะนั้น อ๋องท่านจึงพึงเอ่ยหาแต่กรุณามโนธรรมเทานั้น จะเอ่ยหาอรรถประโยชน์ทำไม" หมายเหตุ  :  อรรถประโยชน์ คือประโยชน์เพื่อการบำรุงบำเรอตน  ปราชย์เมิ่งจื่อพบกับพระเจ้าเหลียงฮุ่ยอ๋วงอีกครั้งขณะที่เหลียงฮุ่ยอ๋วง ประทับยืนข้างหนองน้ำในพระราชอุทยาน ชื่นชมนกฮ้งใหญ่ นกเป็ดน้ำตัวเล็ก กีบกวางน้อยใหญ่  เหลียงฮุ่ยอ๋วงเอ่ยถาม  "เมธีท่านก็ชื่นสุขต่อสิ่งเหล่านี้ด้วยหรือไม่"  ปราชญ์เมิ่งจือตอบว่า "ผู้เจริญธรรมแล้วจึงชื่นสุขต่อสิ่งเหล่านี้ หากมิใช่ผู้เจริญธรรม แม้มีสภาพแวดล้อมนี้ก็หามีความชื่นสุขไม่"  ในคัมภีร์กวีธรรม (ซือจิง)  บทเนินสุชีพ (หลิงไถ) จารึกความว่า เมื่อครั้งที่ (อริยกษัตริย์โจวเหวินอ๋วง) เริ่มจัดสรร กำหนดแผนงานก่อสร้าง "เนินสุชีพ หลิงไถ" นั้น ประชาราษฏร์รู้ข่าว ต่างกรูกันเข้ามาช่วยสร้าง ไม่นานวันก็เสร็จสิ้นสมบูรณ์เป็นวนอุทยานแห่งชาติ  เดิมทีพระองค์มิได้เร่งรีบ แต่ประชาราชษฏร์ประดุจลูกหลานกรูกัน  ขณะที่เหวินอ๋วงประทับ ณ อุทยาน เห็นแม่กวางมอบพักสบาย แม่กวางอ้วยท้วนขนเงางาม นกสีขาวสะอาดก็ดูสมบูรณ์ เมื่อทรงทัศนาริมหนองน้ำ ก็อุทานชมหมู่มัจฉาที่กระโดดเล่นน้ำกัน เหวินอ๋วงได้อาศัยแรงงานของประชาราษฏร์สร้างเนิน  สร้างหนองน้ำ  ประชาราษฏร์ต่างยินดีปรีดา พระองค์จึงโปรดประทานชื่อเนินนี้ว่า "เนินสุชีพ"  ประทานชื่อหนองน้ำนี้ว่า "หนองน้ำสุชีพ" ทุกคนต่างชื่นสุขกับหมู่กวาง ตะพาบ ปลา  โบราณกาล กษัตริย์กับประชาราษฏร์ล้วนชื่นสุขร่วมกัน จึงเป็นความชื่นสุขอย่างแท้จริงได้ทั่วหน้า  หมายเหตุ : สุชีพ  อริยกษัตริย์โจวเหวินอ๋วง ทรงเห็นชีวิต ประชาราษฏร์และชีวิตทั้งปวงมีค่า สูงส่ง ดีงาม ศักดิ์สิทธิ์ จึงเรียกว่า สุชีพ (หลิง) ชีพอันศักดิ์สิทธิ์

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                         ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                         ๑. บทเหลียงฮุ่ยอ๋วง ตอนต้น

        ในคัมภีร์ซูจิง บททังซื่อ จารึกไว้ว่า "วันเวลาที่อยู่กับการเข่นฆ่าทำลาย ประหนึ่งแดดกล้าเผาหัว ขณะนี้ ข้าอยากตายไปพร้อมกับเจ้าเมือง" (เซื่อเจี๋ย ทรราชผู้โฉดชั่ว) ประชาราษฏร์อยากพลีชีพฆ่าเจ้าเมือง ยอมตายไปพร้อมกัน ความแค้นแสนสาหัสนี้ แม้จะมีวนอุทยานนก และจัตุบาท เช่นเนินสุชีพ หนองน้ำสุชีพอันน่าชื่นสุข จะชื่นสุขอยู่ลำพังได้อย่างไร (ท่านปราชญ์เมิ่งจื่อ เปรียบเทียบให้พระเจ้าเหลียงฮุ่ยอ๋วงได้คิด  ระหว่างอริยกษัตริย์โจวเหวินอ๋วงกับเซี่ยเจี๋ย ทรราชผู้โฉดชั่ว) เหลียงฮุ่ยอ๋วง กล่าวแก่ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "เราปกครองบ้านเมืองอย่างได้ตั้งใจเต็มที่แล้ว เช่น แผ่นดินด้านในแม่น้ำเกิดวิกฤติ ก็จะขนย้ายประชาชนไปอยุ่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำ ส่งเสบียงไปให้ด้านใน ช่วยประชาชนที่เหลืออยู่ในพื้นที่อดอยาก เมื่อด้านตะวันออกของแม่น้ำฝนแล้งอดอยาก ก็จะช่วยเหลือในทำนองเดียวกัน มองดูการปกครองของบ้านเมืองใกล้เคียง ไม่มีที่จะตั้งใจดีเช่นเราเลย แต่ประชากรบ้านเมืองใกล้เคียง มิได้ลดน้อยลง ประชาชนของเราก็มิได้เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุอันใดหรือ" ปราชญ์เมิ่งจื่อตอบว่า " อ๋องท่านชอบสงครามสู้รบก็จะเอาสงครามมาเปรียบเทียบให้ฟัง การสงครามใ้ช้กลองศึกกระตุ้นให้ปะทะกัน ก็มีทหารทิ้งเกราะ ทิ้งอาวุธหนีไป บ้างก็วิ่งไปหนึ่งร้อยก้าวก็หยุดวิ่ง บ้างวิ่งไปห้าสิบก้าวแล้วหยุดวิ่ง ผู้วิ่งหนีห้าสิบก้าว หัวเราะผู้วิ่งหนีร้อยก้าวว่า ขี้ขลาด (อู่สือปู้เซี่ยวไป่ปู้) ดังนี้ อ๋องท่านเห็นเป็นเช่นไร" เหลียงฮุ่ยอ๋วงตอบว่า "จะหัวเราะเยาะไม่ได้ เขาเพียงยังวิ่งไปไม่ถึงร้อยก้าว แต่ก็เท่ากับวิ่งหนีเหมือนกัน" ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวต่อไปอีกว่า "เมื่ออ๋องท่านรู้เหตุผลเช่นนี้แล้ว ก็มิพึงต้องมุ่งหวังให้ประชากรมากกว่าบ้านเมืองใกล้เคียงอีก" อย่าผิดต่อฤดูเพาะปลูก พืชพันธุ์ธัญญาหารก็เกินจะกินแล้ว ร่างแหถี่เล็ก ไม่ลงช้อนจับในบ่อลึกน้ำนิ่ง ตะพาบ ปลา สัตว์น้ำ ก็เกินกว่าจะกินแล้ว แบกขวานเข้าป่าให้ถูกต้องตามฤดูกาล ไม้ก็มากมีเกินกว่าจะใช้แล้ว เมื่อพืชพันธุ์ธัญญาหารกับสัตว์น้ำเกินกว่าจะกิน ไม้มากมีเกินกว่าจะใช้ ก็คือการชุบชีวิตประชาราษฏร์ แม้ตายก็ไม่ผิดหวังค้างใจ เมื่อชีวิตรับได้รัยชุบชู แม้ตายก็ไม่ผิดหวังค้างใจ เช่นนี้ จึงเป็นธรรมะเบื้องต้นแห่งเจ้าผู้ครองบ้านเมือง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                         ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                         ๑. บทเหลียงฮุ่ยอ๋วง ตอนต้น

        ทุกครอบครัวให้มีบ้านอาศัยในเนื้อที่ห้าหมู่ (หนึ่งหมู่เท่ากับหกพันตารางฟุต) ปลูกต้นหม่อนไว้ริมรั้วบ้านเพื่อเลี้ยงไหมทอผ้า อายุห้าสิบ ก็จะได้สวมใส่ผ้าไหนแพรพรรณแล้ว สุนัข สุกร ไก่ สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ หากไม่ผิดต่อการเจริญพันธุ์ตามควรแก่ฤดูกาล คนที่อายุเจ็ดสิบปี จะกินเนื้อสัตว์ก็มีจะกินได้ จัดสรรที่นาทำกินให้ครอบครัวละหนึ่งร้อยหมู่ เพาะปลูกให้ถูกต้องตามฤดูกาล เฉลี่ยสมาชิกในครอบครัวมีแปดคน ก็จะไม่มีที่ต้องอดตาย อีกขั้นหนึ่งคือ ก่อตั้งสถานศึกษา ให้การอบรมธรมะของความกตัญญู พี่น้องปรองดอง คนผมขาวก็จะไม่ต้องแบกหามของหนักอยู่ตามทาง  สูงวัยไม่ต้องระหกระเหินตรากตรำ ด้วยลูกหลานมีจิตสำนึกเลี้ยงดู อายุเจ็ดสิบ สูงวัยได้แพรพรรณสวมใส่ ได้กินอิ่ม ไพร่ฟ้าประชาราษฏร์ไม่ต้องทนหิวทนหนาว ไม่ขาดแคลนเสื้อผ้าอาหาร เช่นนี้แล้ว บ้านเมืองยังไม่รุ่งเรืองได้ ไม่มีเลยสุนัข สุกร กินอาหารที่คนกิน แต่ไม่รู้จักจัดสรรตามควร ริมทางมีคนอดอยาก เหตุด้วยไม่สงเคราะห์เอื้อเฟื้อให้ เขาตาย กลับพูดว่า ไม่ใช่ความผิดของข้า เป็นเพราะภัยแล้ง หากดูดายเช่นนี้ จะต่างอะไรกับที่เอามีดมาเข่นฆ่าเขา อีกที่ปฏิเสธว่า "ไม่ใช่ความผิดของข้า เขาตายเพราะการรบ" หากอ๋องไม่มีการเบี่ยงบ่ายป้ายโทษ ชาวประชาก็จะมาสวามิภักดิ์ พระเจ้าเหลียงฮุ่ยอ๋วงว่า "เรายินดีสงบใจรับฟังคำชี้แนะ" ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ฆ่าคนให้ตายโดยใช้ไม้พองหรือใช้มีด แตกต่างกันหรือไม่" ตอบว่า "ไม่แตกต่าง" (ที่สุดก็คือตาย) ถามอีกว่า "ใช้มีดฆ่าคนให้ตาย กับใช้การปกครองฆ่าคนให้ตาย ต่างกันหรือไม่" ตอบว่า"ไม่ต่างกัน" (ที่สุดก็คือตาย) ในครอบครัวของวังหลวงมีมังสาหารอุดมสมบูรณ์ ในคอกม้าของวังหลวงมีม้าอ้วนพี แต่ประชาชนผอมโซหิวโหย อีกทั้งมีศพผู้คนที่อดตายแถบชายป่า เลี้ยงม้าให้อ้วนพีแต่ประชาชีกลับอดอยาก เช่นนี้ จะต่างอะไรกับนำสัตว์มากินคน สัตว์ขย้ำกินกันเองคนยังเกลียดชังมัน นับประสาอะไรกับผู้ที่เป็นพ่อแม่ของประชาราษฏร์ ท่านบรมครูขงจื้อโปรดไว้ว่า "ผู้ริเริ่มทำหุ่นคน ร่วมฝังไปกับผู้ตาย เขาคงจะขาดสิ้นลูกหลานกระมัง" ใช้หุ่นคนไปร่วมฝังกับผู้ตาย ท่านขงจื้อยังตำหนิให้ นับประสาอะไรกับที่ปล่อยให้ประชาราษฏร์ผู้รับใช้บ้านเมืองต้องอดตาย พระเจ้าเหลียงฮุ่ยอ๋วงว่า "แผ่นดินจิ้น (ครั้งบรรพบุรุษของแผ่นดินเหลียงนี้) ใต้หล้าหามีใครเทียมได้ไม่ ปราชญ์ท่าน (เมิ่งจื่อ) ก็ย่อมรู้ดี บัดนี้สืบต่อมาถึงตัวเรา ดินแดนทางตะวันออกพ่ายแพ้แก่เมืองฉี ลูกชายคนโตของเราตายในการรบ ครั้งนั้น ทางตะวันตกสูญเสียดินแดนแก่เมืองฉินไปเจ็ดร้อยลี้ ทางใต้ถูกเมืองฉู่เหยียดหยามย่ำยี เราอปยศอดสูนัก อยากจะล้างแค้นแทนผู้ตายเหล่านั้นสักที ควรทำอย่างไรดี"  ปราชญ์เมิ่งจื่อตอบว่า "แผ่นดินแม้เล็กน้อยเพียงร้อยลี้ ก็อาจปกครองเป็นอ๋องของแผ่นดินได้ หากปกครองประชาราษฏร์โดยธรรม ยกเว้นการลงทัณฑ์ ทำทารุณกรรม ลดหย่อนภาษี สอนชาวนาคราดไถให้ลึก ง่ายแก่การกำจัดวัชพืช คนหนุ่ม วัยแรง ใช้วันว่างงาน ศึกษาวิชาเรียนรู้กตัญญู พี่น้องปรองดองซื่อสัตย์จงรักภักดี สัตย์จริง เข้าบ้านให้รับใช้ใกล้ชิดพ่อแม่ ดูแลพี่น้อง ออกจากบ้านให้เคารพรับใช้ผู้ใหญ่ เคารพผู้สูงวัยให้เกียรติเมธี (จิ้งเหล่าจุนเฉียน) สอนให้พวกเขาทำไม้พอง ฝึกซ้อมวิทยายุทธ เพื่อเอาไว้รับมือฟาดฟันกับเกราะแข็งอาวุธคมของทหารจากเมืองฉิน เมืองฉู่ (ที่มารุกราน) ได้  เมื่ออ๋องฝ่ายโน้นริดรอนฤดูทำนาของประชาราษฏร์ ทำให้ไม่อาจคราดไถเพาะปลูก ไม่อาจเลี้ยงดูพ่อแม่ พ่อแม่ต้องเหน็บหนาวอดอยาก พี่น้องลูกเมียต้องพลัดพราก เท่ากับอ๋องฝ่ายโน้นได้ฝัง ได้กดประชาราษฏร์ให้จมน้ำ เมื่อนั้น หากเหลียงฮุ่ยอ๋วง ท่านยกทัพไปปราบปราม ยังจะมีใครต่อต่านได้อีก จึงกล่าวว่า "ผู้มีกรุณาธรรม ย่อมปราศจากศัตรู (เหยินเจ่ออู๋ตี๋) อ๋องท่านโปรดอย่าได้สงสัยเลย"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                         ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                         ๑. บทเหลียงฮุ่ยอ๋วง ตอนต้น

        ปราชญ์เมิ่งจื่อเข้าพบเหลียงเซียงอ๋วง (ราชบุตรของเหลียงฮุ่ยอ๋วง) เมื่อกลับออกมาแล้ว ได้กล่าวแก่ใคร ๆ ว่า "มองแต่ไกลไม่เหมือนลักษณะของประมุขเข้าใกล้ก้ไม่เห็นน่าเกรงขาม" แต่ทันใดเหลียงเซียงอ๋วง กลับเอ่ยถามว่า " จะปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขได้อย่างไร" ข้าพเจ้าตอบว่า " สงบสุขได้ด้วยความเป็นหนึ่ง"ถามอีกว่า "ผู้ใดสามารถทำความเป็นหนึ่งได้" ตอบไปว่า "ผู้ไม่ใฝ่สงครามเข่นฆ่า จะสามารถทำความเป็นหนึ่งได้" ถามอีกว่า "ใครจะมาสมานร่วมด้วยได้" ตอบว่า "ทั่วหล้าไม่มีที่จะไม่มาสมานร่วมด้วย อ๋องท่านรู้เห็นต้นข้าวกล้าไหม ระหว่างเดือนเจ็ดเดือนแปดแล้งฝน ต้นกล้าเหี่ยวเฉา พลันเมื่อฝนตกลงมาห่าใหญ่ ต้นกล้าก็พลันชูต้นเจริญงาม  อ๋องเป็นเช่นเดียวกับน้ำฝน ใครจะต้านทานไม่ให้เขามาสมานร่วมด้วยได้"  บัดนี้ ประมุขผู้ปกครองประชาราษฏร์ในโลก ไม่มีที่จะไม่ชอบฆ่าคน หากมีที่ไม่ชอบฆ่าคน ประชาชนทั่วหล้าล้วนจะมุ่งมาสวามิภักดิ์ เพียงหากไม่อยากเข่นฆ่าเช่นนี้จริง ๆ ประชาชนที่มุ่งเข้าหาสวามิภักดิ์ จะเหมือนน้ำจากที่สูงไหลลงสู่ที่ต่ำ โกรกกรากลากล้นจนใครหรือจะต้านได้  พระเจ้าฉีเซวียนอ๋วงแห่งแผ่นดินฉี เรียนถามปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "เรื่องราวของพระเจ้าฉีหวนกง กับ พระเจ้าจิ้นเหวินกง ท่านได้ยินมาหรือไม่" ปราชญเมิ่งจื่อตอบว่า "ศิษย์ท่านบรมครูขงจื่อ ไม่เคยพูดคุยกันถึงเรื่องราวของพระเจ้าฉีหวนกง กับ พระเจ้าจิ้นเหวินกง ฉะนั้น เรื่องราวของอ๋องทั้้งสองในสมัยนั้น จึงมิได้แพร่หลาย ข้าฯไม่เคยได้ยิน  อย่ากระนั้น เราจงสนทนาหลักธรรมแห่งอ๋องกันเถอะ"  เซวียนอ๋วงจึงเรียนถามว่า"จะต้องกอปรด้วยคุณธรรมใดหรือ จึงจะสมกับเป็นอ๋องได้" ปราชญ์เมิ่งจื่อตอบว่า "เอาคุณธรรมที่ปกป้องประชาราษฏร์มาให้อ๋อง ก็ไม่มีอะไรต้านได้แล้ว"  ถามว่า "อย่างเช่นเรานี้ จะปกป้องประชาราษฏร์ได้หรือไม่"  ตอบว่า "ได้"  ถามว่า "ท่านรู้ได้อย่างไรว่าเราทำได้" ตอบว่า"ข้าฯได้ยินจากคนชื่อหูเหอ เล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งอ๋องท่านหนึ่งประทับนั่ง ณ พระราชฐานเปิด มีชายคนหนึ่งจูงวัวที่ไถนาผ่านมา พอได้เห็น อ๋องท่านก็ถามไปว่า "จะจูงวัวไปทำอะไร" ทูลตอบว่า "นำไปฆ่าเพื่อจะเอาเลือดทาระฆังที่เพิ่งสร้างเสร็จ อ๋องท่านรีบห้ามชายผู้นั้นทันทีว่า "ปล่อยมันไปเถิด เราไม่อาจทนเห็นมันสะท้านกลัวอย่างนี้ได้ ดูอย่างกับตัดสินประหารชีวิตคน ทั้งที่เขาไม่ผิด" ชายผู้นั้นทูลตอบว่า "ถ้าเช่นนั้น ก็จะโปรดให้ยกเลิกพิธีกรรมเอาเลือดทาระฆังกระนั้นหรือ" อ๋องท่านตอบว่า "จะยกเลิกความเชื่อดั้งเดิมได้อย่างไร ถ้าเช่นนั้นเอาเลือดแพะแทนก็แล้วกัน..." ไม่ทราบว่ามีเรื่องประการนี้หรือไม่" อ๋องตอบว่า "มีจริง"  ปราชญ์เมิ่งจื่อจึงกล่าวว่า "จิตใจเช่นนี้เพียงพอที่จะป็นอ๋องได้ ประชาราษฏร์อาจเห็นว่าอ๋องท่านคงเสียดายวัว (ตัวใหญ่ช่วยงานได้) แต่ข้าฯรู้ดีว่า เป็นเพราะอ๋องท่านไม่อาจทนเห็นทารุณกรรมได้ซึ่ง ๆ หน้า"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                         ๑. บทเหลียงฮุ่ยอ๋วง ตอนต้น

        พระเจ้าฉีเซวียนอ๋วงว่า  "ถูกต้อง มีประชาชนที่เข้าใจเราผิดเช่นนี้จริง ๆ  เมืองฉีของเราแม้จะเป็นบ้านเมืองเล็กๆ แต่จะอัตคัตถึงกับเสียดายวัวตัวใหญ่ให้แลกกับแพะตัวเล็กเชียวหรือ ที่ทำเช่นนี้ เพราะไม่อาจอดใจทนดูภาพสั่นสะท้านหวั่นหวาดของวัวตัวนั้นได้ เหมือนกับประหารชีวิตคนที่ไม่มีความผิด ฉะนั้น จึงจะเปลี่ยนใช้แพะแทน"  ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า "วิธีการของอ๋องท่าน ก็ไม่แปลกหรอกที่ประชาชนจะเข้าใจผิดว่า รักเสียดายวัว เอาตัวเล็กตายแทนตัวใหญ่ ใครจะรู้เจตนาดีของท่านอ๋องได้ หากอ๋องท่านสงสาร มิอาจอดใจทนเห็นความตายอันไม่ยุติธรรม ถ้าเช่นนั้น การตายของวัวกับแพะ มันจะต่างกันอย่างไรหรือ (เป็นชีวิตที่เจ็บปวดกระแด่วดิ้นเช่นกัน)"  พระเจ้าฉีเซวียนอ๋วง ทรงสรวลในความขาดสติปัญญาต่อการตัดสินของพระองค์เอง แล้วว่า "ขณะนั้น ด้วยความคิดจิตใจอย่างไรหนอ ทำให้ตัดสินใจอย่างนั้น เรามิได้รักเสียดายทรัพย์สินที่เทียบค่าเป็นราคา จึงแลกกับแพะ ซึ่งด้อยค่ากว่า...ก็สมควรแล้วที่ประชาชนจะคิดเห็นเจตนาของเราผิดไปเช่นนี้" ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ไม่ใช่ความผิดนักหนาอะไร นั่นเกิดจากท่านอ๋องมีกรุณาธรรมเป็นพื้นฐาน เห็นสภาพหวาดกลัวตัวสั่นของวัว แต่ไม่ได้เห็นว่าแพะก็จะมีสภาพเช่นเดียวกัน จึงมิได้ยั้งคิด อันว่าอ๋องผู้เป็นใหญ่ในทวยราษฏร์นั้น ล้วนมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งปวง เมื่อเห็นเขามีชีวิต ย่อมไม่อดใจทนเห็นเขาตาย แม้เพียงได้ยินเสียงเขาร้อง ก็มิอาจอดใจกินเนื้อเขาได้ ดังนั้น ประมุขทรงธรรมผุ้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน จึงห่างไกล (ไม่อยากเข้าใกล้) ครัวไฟที่ประกอบอาหารจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต" (เจี้ยนฉี่เซิง  ปู้เหยิ่นเจี้ยนฉีสื่อ  เอวิ๋นฉีเซิง  ปู้เหยิ่นสือฉีโย่ว  ซื่ออี่จวินจื่อเอวี่ยนเผาฉูเอี่ย) พระเจ้าฉีเซวียนอ๋วง ได้ยินแจกแจงดังนี้ ด้วยความปลื้อปิติที่ปราชญ์เมิ่งจื่อเข้าใจ จึงกล่าวว่า "ในคัมภีร์ซือจิง จารึกว่า เขามีความในใจ เราช่วยประเมินคลี่คลาย" เช่นเดียวกับปราชญ์ที่ทานกล่าวมานี้ เรื่องราวที่เกิดขึ้น เราเป็นผู้กระทำเอง แต่กลับไม่รู้ใจตน เมื่อปราชญ์ท่านแจกแจง ทำให้เราใจตื้นตันหนัก แต่ทว่า จิตใจเยี่ยงนี้ ที่ว่าสมควรแก่การเป็นอ๋องนั้น อย่างไร" ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า " หากมีผู้กราบทูลท่านอ๋องว่า ข้าพเจ้ายกน้ำหนักได้ร้อยชั่ง แต่ยกขนไก้ก้านหนึ่งหาขึ้นไม่ หรืออาจมีผู้กราบทูลว่า "ข้าพเจ้าเห็นความเล็กละเอียดได้ชัดเจน แม้เพียงขนอ่อนเพิ่งงอกบนตัวนกน้อย แต่ไม่อาจมองเห็นท่อนฟืนทั้งคันรถได้ (หมิงฉาชิวเหา) ดังนี้ อ๋องท่านจะเชื่อหรือไม่" ตอบว่า "ไม่"  บัดนี้ พระกรุณาฯ อ๋องท่านปรกแผ่ไปถึงสัตว์ทั้งหลายได้ แต่พระบารมีกลับไม่อาจปรกแผ่ ไปถึงสัตว์ทั้งหลายได้ จะเป็นด้วยเหตุผลอันใดหรือ แต่หากไม่อาจยกแม้ขนไก้ก้านเดียวนั่น (เหตุผล) ก้คือไม่ใช้แรง และก็ไม่เห็นท่อนฟืนทั้งคันรถคือไม่ใส่ใจมองดู ถ้าประชาราษฏร์ไม่ได้รับการเหลียวแล นั่นก็คือ เหนือหัวมิได้ปรกแผ่กรุณาฯ  ฉะนั้น อ๋องที่ไม่มีคุณธรรมความเป็นอ๋องได้นั้น ก็คืออ๋องที่ไม่ได้ทำหน้าที่ให้ดี มิใช่ทำไม่ได้  พระเจ้าฉีเซวียนอ๋วงเรียนถามต่อไป "ที่ไม่ได้ทำกับทำไม่ได้นั้น ต่างกันอย่างไร" ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ถ้าจะบอกกับใคร ๆ ว่าหนีบเอาไท่ซันมหาบรรพตไว้กับตัวแล้วก้าวข้ามทะเลเป่ยไห่" การนี้เราทำไม่ได้ แต่ถ้าจะหักกิ่งไม้ให้ผู้ใหญ่สักกิ่งหนึ่ง แ้ล้วบอกกับใคร ๆ ว่า"เราทำไม่ได้" นี่คือไม่ทำ มิใช่ทำไม่ได้ ฉะนั้น อ๋องที่ไม่เป็นอ๋อง ไม่ใช่เหมือนพวกที่จะต้องหนีบเอาไท่ซันข้ามทะเลเป่ยไห่เลย แต่อ๋องที่ไม่เป็นอ๋องนั้นคือ พวกที่หักกิ่งไม้เท่านั้น (เป็นอ๋องที่ทำดีได้ แต่ไม่ตั้งใจจะทำ) "

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                         ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                         ๑. บทเหลียงฮุ่ยอ๋วง ตอนต้น

        จงปฏิการะคนชราของเรา จนถึงขราของเขาอื่น  จงอุปการะผู้อ่อนเยาว์ของเรา จนถึงผู้อ่อนเยาว์ของเขาอื่น (เหล่าอู๋เหล่า อี่จี๋เหยินจือเหล่า อิ้วอู๋อิ้ว อี่จี๋เหยินจืออิ้ว) หากโอบอุ้มรอบรายได้เช่นนี้ การปกครองบ้านเมือง ก็จะอยู่ในอุ้งมือคุณธรรมได้ ดังในคัมภีร์ซือจิงจารึกว่า "เป็นแบบอย่างแก่ภรรยา จนถึงพี่น้อง จนกระทั่งขยายขอบเขตไปถึงการปรกครองบ้านเมือง" (สิงอวี๋กว่าชี จื้ออวี๋ชยงตี้ อี่อวี้อวี๋เจียปัง) คำพูดทั้งหมดคือ ให้ใจนั้นมีความรักเมตตา ปรกแผ่แก่คนทั้งหลายนั้นเอง ฉะนั้น การปรกแผ่เอื้อคุณแก่ประชาราษฏร์ จะสามารถรักษาเขตคามทั่วทิศ หากไม่ปรกแผ่เอื้อคุณ จะมิอาจรักษาแม้บุตรภรรยาตน ผุ้ปกครองแว่นแคว้นแต่โบราณ เหตุที่อยู่เหนือคนทั้งหลายได้นั้น ไม่มีอื่นใด เพียงแต่แผ่ขยายการเอื้อคุณ  ให้กว้างออกไปเท่านั้น บัดนี้้ อ๋องท่านมีเมตตาการุณย์เอื้อคุณไปถึงสัตว์ได้ แต่ยังมิได้เอื้อคุณไปถึงประชาราษฏร์ได้นั้น ด้วยเหตุอันใดหรือ?. "ชั่ง" แล้วจึงรู้ว่าหนักหรือเบา "วัด" แล้วจึงรู้ยาวหรือสั้น สรรพสิ่งล้วนเป็นเช่นนี้ จิตใจเป็นเช่นไร อ๋องท่านเป็นผู้วัดใจดูเอง หากอ๋องท่านยาตราทับ เป็นภัยต่อเหล่าทหารขุนนาง อีกทั้งสร้างความเจ็บแค้นไว้กับเจ้าเมืองต่าง ๆ อย่างนั้นแล้ว จะปรีดาปราโมทย์หรือ  พระเจ้าฉีเซวียนอ๋วงตอบว่า "ไม่ เราจะปราโมทย์ด้วยการกระทำเช่นนั้นได้อย่างไร สิ่งที่ทำให้ปรีดาปราโมทย์ได้คือ เราหวังในความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของเรา" ปราชญ์เมิ่งจื่อถามว่า "ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของอ๋องท่าน จะให้ข้าได้รับรู้หรือไม่" พระเจ้าฉีเซวียนอ๋วงทรงสรวลแต่ไม่ตอบ ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ก็เพื่อด้วยเหตุที่อาหารเลิศรสยังไม่อิ่มโอษฐ์ ฉลองพระองค์ยังไม่อบอุ่นเบาสบาย หรือเพื่อด้วยเหตุที่สีสันไม่งดงามชวนชม เสียงเสนาะยังไม่ไพเราะพอ หรือสาวสรรกำนัลในที่เรียงรายอยู่ไม่พอเรียกหาใช้สอย กระนั้นหรือ" ที่ข้าฯ มองดูขุนนางทั้งหลายของอ๋องท่าน การปรนเปรอใช้สอยล้วยสมบูรณ์แล้ว แต่อ๋องท่านยังรู้สึกไม่เต็มอิ่มกับสิ่งเหล่านี้หรือ ฉีเซวียนอ๋วงว่า "หาเป็นเช่นนั้นไม่ เรามิใช่ปรารถนาต่อสิ่งเหล่านี้" ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ถ้าเช่นนั้น ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของอ่องท่านก็พอจะรู้ได้แล้วว่า ปรารถนาจะขยายอาณาเขต ต้องการให้เมืองฉิน เมืองฉู่ มาถวายบรรณาการทุกปี ต้องการปกครองแผ่นดินจีนทั้งหมดเป้นเอกเทศ สยบขวัญชนเผ่าน้อยรอบด้าน แต่ทว่า วิธีการปกครองขณะนี้ จะหวังให้เป็นไปตามปรารถนา จะอุปมาดั่งปีนป่ายต้นไม้หาปลา (เอวี๋ยนมู่ฉิวอวี๋) อ๋องว่า "ถ้าทำเช่นนั้นจะมีภัยร้ายแรงเชียวหรือ" ปราชญ์เมิ่งจื่อตอบว่า "เป็นภัยใหญ่หลวงนัก...ปีนต้นไม้หาปลา แม้ไม่ได้ปลา หามีภัยตามมาไม่ แต่การกระทำในขณะนี้ มุ่งหวังให้เป็นไปตามปรารถนา ทุ่มเทแรงใจทำไปภายหน้าแน่นอน" อ๋องว่า "จะพูดให้เราฟังได้หรือไม่" ปราชญ์เมิ่งจื่อตอบว่า "สมมุติเช่น ชาวเมืองโจวกับชาวเมืองฉู่ สู้รบกัน อ๋องท่านประเมินดูว่าฝ่ายใดจะชนะ" อ๋องว่า "คนเมืองฉู่ชนะ" ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า " ถ้าเช่นนั้นหมายความว่า บ้านเมืองเล็กไม่อาจรบชนะบ้านเมืองใหญ่ได้แน่ คนน้อยไม่อาจต่อสู้กับคนมาก กำลังอ่อนไม่อาจเอาชนะกำลังกล้า ขณะนี้ แผ่นดินใหญ่โดยรอบทั้งสี่ทืศ อาณาเขตตารางพันลี้ มีเก้าบ้านเมือง เมืองฉีของอ๋องท่านเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น อ๋องท่านจะใช้กำลังเพียงหนึ่งส่วนที่มีน้องพิชิตอีกแปดส่วน เช่นนี้ จะแตกต่างอะไรกับชาวเมืองโจวอันน้อยนิด ที่สู้รบกับชาวเมืองฉู่ที่เข้มแข็งกว่าเล่า ซึ่งจะต้องย้อนมองหลักธรรมของความเป็นอ๋องแห่งตนแล้ว"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                         ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ

                         ๑. บทเหลียงฮุ่ยอ๋วง ตอนต้น

        วันนี้ หากอ๋องท่านใช้การปกครองด้วยการุณยธรรม เพื่อให้เหล่าขุนนาง ทหารทั้งหมด ล้วยอยากอยู่คู่ราชวงศ์อ๋องท่าน  ชาวไร่ชาวนา ล้วนอยากคราดไถบนผืนแผ่นดินของอ๋องท่าน คนค้าขาย ก็ล้วนอยากเก็บสินค้าไว้ภายในตลาดของอ๋องท่าน  คนเดินทาง ก็ล้วนอยากเข้าออกตามถนนหนทางของอ๋องท่าน  ประชาชนที่เกลียดชังเจ้าเหนือหัวของเขา ก้จะพากันมาระบายความทุกข์กับอ๋องท่าน หากเป็นเช่นนี้ ใครหรือจะต่อสู้กับอ๋องท่านได้  พระเจ้าฉีเซวียนอ๋วงว่า "เรารู้ตัวว่าด้อยปัญญา เกรงว่าจะไม่อาจทำเช่นนี้ได้ ขอท่านได้ช่วยให้เราสมความตั้งใจด้วย จงสอนเราให้ชัดเจน แม้เราจะไม่ปราดเปรื่อง ก็จะลองทำตามท่านดู" ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า"จะต้องตระหนักอีกว่าชาวบ้านชาวเมืองหากไม่มีสินทรัพย์มั่นคง จิตใจก็จะขาดความหนักแน่น จิตใจหนักแน่นนี้ มีแต่ "สุชนผู้กล้า" เท่านั้นที่เป็นได้ สำหรับชาวบ้านชาวเมืองทั่วไป หากไม่มีสินทรัพย์มั่นคง จิตใจก็จะไม่หนักแน่น เมื่อปราศจากความหนักแน่นมั่นคง ก็จะประพฤติตนนอกลู่นอกทาง เสียหายไปตามความพอใจสุดท้ายก็ต้องตกไปสู่โทษผิด ถูกจับมารับโทษ เช่นนี้ เท่ากับใช้ร่างแหไม่มีรูปขอบข่ายชาวบ้านชาวเมืองไว้ ไหนหรือคือเจ้าเหนือหัวผุ้การุณย์ปกครอง เป็นการปกครองที่ใช้ร่างแห ครอบข่ายประชาราษฏร์ ไว้มิใช่ดอกหรือ  ด้วยเหตุดังนี้ ประมุขผู้ชาญฉลาดกำหนดทรัพย์สินแก่ประชาราษฏร์ จะต้องให้เขาเห็นว่ามีฐานะพอควรแก่การปฏิการะบิดามารดา พอควรแก่การเลี้ยงดูอุปการะลูกเมีย  ในวัยฉกรรจ์ มั่นใจต่อความอุดมสมบูรณ์ได้ตลอดชีวิต  ในวัยชรา มั่นใจว่าจะไม่อดอยากตายอย่างอนาถา จากนั้น ผลักดันให้เข้าสู่คุณความดี ดังนี้ ประชาราษฏร์ก็จะยินดีอยู่ในความปกครองอย่างง่ายดาย  วันนี้นั้น ประมุขควบคุมสินทรัพย์ประชาราษฏร์ เก็บภาษีอากร จนทำให้ไม่พอแก่การปฏิการะบิดามารดาได้เต็มที่ ไม่พอแก่การอุปการะลูกเมียได้ทั่วถ้วน  ในวัยฉกรรจ์ ต้องเหนื่อยยากลำบากชั่วชีวิตเช่นนี้ มิพ้นที่ชราวัยจะต้องอนาถอดตาย  สภาพการณ์ดังกล่าว แม้เพียงช่วยเหลือผู้ที่จะต้องอดตายก็ยังไม่ทั่วถึงเลย ยังจะมีเวลาพูดถึงการปกครองโดยจริยมโนธรรม หรืออ๋องท่านแทนที่จะใช้ระบบศักดินาปกครอง ไฉนไม่เปลี่ยนการปกครองโดยธรรมเล่า ทุกครอบครัวให้มีบ้านอาศัยในเนื้อที่ห้าหมู่ (หนึ่งหมู่เท่ากับหกพันตารางฟุต) ปลูกต้นหม่อนไว้ริมรั้วบ้าน อายุห้าสิบ ก็จะได้สวมใส่ผ้าไหมแพรพรรณแล้ว  สุนัข สุกร ไก่ สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ หากไม่ิดต่อการเจริญพันธุ์ตามควรแก่ฤดูกาล คนที่อายุเจ็ดสิบปีจะกินเนื้อสัตว์ ก็จะได้กิน  จัดสรรที่นาทำกินให้ครอบครัวละหนึ่งร้อยหมู่ (6,000 ตารางฟุต X 100) เพาะปลูกให้ถูกต้องตามฤดูกาล สมาชิกครอบครัวมีแปดคน ก็จะไม่มีที่ต้องอดตาย  อีกขั้นหนึ่งคือ ก่อตั้งสถานศึกษา ให้การอบรมธรรมะของความกตัญญู พี่น้องปรองดอง คนผมขาว (ชราวัย) ก็จะไม่ต้องแบกหามของหนักอยู่ตามทาง อายุเจ็ดสิบ (สูงวัย) ได้สวมใส่แพรพรรณ กินอิ่ม ไพร่ฟ้าประชาราษฏร์ไม่ขาดแคลนเสื้อผ้าอาหาร เช่นนี้แล้ว บ้านเมืองยังไม่รุ่งเรืองได้ คงไม่มี
        (บทนี้ ท่านปราชญ์เมิ่งจื่อยกตัวอย่างตักเตือนให้พระเจ้าฉีเซวี๋ยนอ๋วง ละทิ้งความคิดเผด็จการที่จะปกครองบ้านเมืองในระบบศักดินาเบ็ดเสร็จ)

                                      จบบทเหลียงฮุ่ยอ๋วงตอนต้น

Tags: