collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาเมิ่งจื่อ : ปราชญ์เมิ่งจื่อ : เริ่มเรื่อง  (อ่าน 67695 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 

                                             ๓

                                 บทเถิงเหวินกง ตอนท้าย

        ได้ล้มล้างบ้านเมืองพรรคพวกกับทรราชโจ้วอ๋วง ไปประมาณห้าสิบเมือง ขับต้อนเสือโคล่ง  เสือดาว  แรด  ช้าง  ที่ทรราชโจ้วอ๋วงเลี้ยงไว้ออกไปให้ไกล ชาวบ้านชาวเมืองพากันดีใจได้สงบสุข ในคัมภีร์ซูจิง จารึกว่า "เป็นแผนงานวิเศษใหญ่ยิ่งของกษัตริย์เหวินอ๋วงแล้ว..."  กษัตริย์อู่อ๋วงสืบต่อความยิ่งใหญ่นี้ เบิกทางให้คนข้างหลังเดินไปบนความเที่ยงตรงสมบูรณ์แบบ พอถึงช่วงราชวงศ์โจวย้ายถิ่นฐานไปทางทิศตะวันออก บรรยายกาสธรรมต่ำลง ผู้คนเสื่อมเสีย มิจฉาศาสตร์กับการกระทำร้ายกาจเกิดขึ้นทั่วไปอีก ข้าราชฯ ปองพระชนเจ้าเหนือหัว ลูกฆ่าพ่อ พฤติกรรมสุดโหดโฉดชั่วปรากฏมากมาย ท่านบรมครูรู้เห็นเหตุการณ์เหล่านี้ ให้หวาดหวั่นสะท้านใจนัก จึงได้้จารึกหลักธรรมเป็นหนังสือ ชุนชิว  กุก่อง - กวาดเก็บ (ฤดูผลิใบงอกงามจนถึงฤดูใบไม้ร่วงเสื่อมทราม) หนังสือพงศาวดาร ชุนชิว กุก่อง - เก็บกวาด  ชุดนี้ล้วนให้คติตำหนิโทษบาป ระบือความดี  เขียนถึงความเป็นบุตรแห่งฟ้าของประมุขหนือหัว  ฉะนั้น บรมครูจึงกล่าวว่า  "ใคร่รู้ว่าเรานี้มีความทุกข์ห่วงใยชาวโลกเพียงใร ขอให้อ่านหนังสือนี้ ผู้ใคร่จะว่ากล่าวเรา ก็ขอให้อ่านหนังสือนี้"  จากนั้นแล้ว อริยกษัตริย์ไม่เกิดมีอีก เหล่าเจ้าเมืองฮึกเหิมทำตามอำเภอใจ ใครคับแค้นที่แฝงผละตนออกไปจากการบ้านการเมือง พากันออกมาแสดงทฤษฏีผิด ๆ ตามความคิดของหยางจู กับม่อตี๋  จนมืดฟ้ามัวดิน บ้างอยู่ฝ่ายหยางจู บ้างอยู่ฝ่ายม่อตี๋  ทฤษฏีของหยางจูคือ ทุกอย่าง "เพื่อประโยชน์ตน"  ไม่เคารพผู้ครองแผ่นดิน  ทฤษฏีของม่อตี๋คือ รักแผ่ไพศาลโดยไม่มีชั่วดีถี่ห่าง ไม่มีข้อต่างทั้งพ่อแม่และเหนือหัว ไม่เจาะจงกตัญญูเฉพาะใคร จึงเป็นทฤษฏีเดรัจฉานกงหมิงอี๋ นักปราชญ์เมืองหลู่ เคยกล่าวไว้ว่า "ในครัวมีเนื้อมันหนา ในคอกม้ามีม้าอ้วนพี แต่ชาวบ้านมีสีหน้าอดอยากซีดเซียว ที่รกร้างมีซากศพคนอดตายการปกครองเยี่ยงนี้ คือนำสัตว์ป่ามากินคนชัด ๆ "  หากมิจฉาทฤษฏีของหยางจู กับ ม่อตี้ ยังไม่ดับสิ้นไป หลักธรรมของบรมครูขงจื่อท่านก็มิอาจชัดแจ้ง การใช้มิจฉาทฤษฏีมามอมเมาประชาชน กรุณามโนธรรมสำนึกที่มีอยู่แต่เดิมทีในใจของประชาชนเอง ก็จะพากันตื้อตันไปหมด  เมื่อจิตกรุณามโนธรรมตื้อตัน จะไม่เพียงนำสัตว์ป่ามากินคน แม้ในระหว่างคนด้วยกันก็ยังขบกินกันเอง สภาพการณ์ดังนี้ ทำให้เราทุกข์ใจ ห่วงใย หวาดหวั่น จึงจำต้องเจริญรอยตามคำสอนของอดีตอริยะ ไปต่อสู่กับมิจฉาทฤษฏีของหยางจูกับม่อตี๋ กำจัดถ้อยคำวาจาน่ารังเกียจ ระงับความเหิมเกริมของผู้กล่าวมิจฉาวาจาเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้มิจฉาคติหากก่อเกิดขึ้นในใจ ก็จะเป็นผลร้ายต่อการกระทำของเขา เมื่อสิ่งที่เขาทำนั้นผิดไป ก็จะเป็นภัยต่อการปกครองของบ้านเมือง หลักเหตุผลนี้ แม้หากอริยะอุบัติมาใหม่ ก็จะไม่แก้ไขคำพูดเหล่านี้ของเราเป็นแน่ 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 

                                             ๓

                                 บทเถิงเหวินกง ตอนท้าย

         ครั้งกระนั้น อริยกษัตริย์อวี่ รับบัญชาจากอริยกษัตริย์ซุ่น จัดการชลประทานครั้งใหญ่จนบ้านเมืองสงบสุข ภายหลังปู่เจ้าโจวกง ร่วมกับชาวอี๋ตี๋ ขับต้อนสัตว์ป่าดุร้ายออกไปจากถิ่นที่ผู้คนอาศัย จากนั้น ชาวบ้านจึงอยู่อย่างสงบสุข หลังจากที่ท่านบรมครู บันทึกเรื่องราวอัปยศคดโกง โหดเหี้ยมเหลี่ยมร้ายของผู้เป็นใหญ่ทั้งหลายลงในหนังสือ "ชุนชิว" แล้ว ขุนนางคนชั่วจึงได้ขยาดกลัว  ในคัมภีร์ซือจิง จารึกว่า "เมืองซีหยง เป่ยตี๋ เมืองจิง เมืองซู ซึ่งขาดวัฒนธรรมเหล่านี้ จะต้องปราบปรามเพื่ออบรม จึงจะไม่มีใครกล้าใช้มิจฉาวาจามาต่อต้านคุณธรรม" การเสื้อมสอนของทฤษฏีว่าด้วย "ไม่มีความเป็นพ่อ หรือประมุขอันพึงปฏิการะ" เป็นเรื่องที่ปู่เจ้าโจวกงพิชิตเอง  ครู  ก็ใคร่ปรับแปรใจคนให้เที่ยงธรรม ระงับมิจฉาวาจา ต่อต้านการกระทำนอกลู่นอกรอย กำจัดคำกล่าวที่ผิดจริยะดีงามเพื่อสืบต่อคุณธรรม ( อวี่ โจวกง ขงจื่อ ) สามอริยะ นี่หรือที่ว่า ครูชอบโต้แย้ง  แท้จริงเป็นเรื่องจำใจ "อย่างไรก็ตาม ที่ปฏิเสธมิจฉาทฤษฏีของหยางจู กับม่อตี๋ ได้ ก็นับว่าเป็นศิษย์ของอริยะแล้ว" ควงจัง ชาวเมืองฉี  เรียนถามท่านปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "เฉินจ้งจื่อ  ชาวเมืองฉีของข้าฯ คนนี้ นับเป็นสุจริตชนแท้จริงได้หรือ เขาหนีออกจากบ้านพี่ชายที่ฉ้อราษฏร์บังหลวง ไปอยู่กระท่อมที่อูหลิง สามวันไม่กินข้าวจนหูอื้อนัยน์ตาพร่ามัว ใกล้บ่อน้ำข้างที่พักของเขา มี  " ลี้ "  ผลหนึ่งอยู่บนต้น ถูกแมลงวันทองชอนกินไปกว่าครึ่งลูกแล้ว เขาค่อยคลำทางไปเก็บมากิน  กินไปได้สามคำ มีอาหารตกถึงท้องบ้าง หูอื้อตาลายจึงค่อยทุเลา" ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ในหมู่ขุนนางเมืองฉี ก็ต้องถือว่าเฉินจ้งจื่อผู้นี้เป็นที่หนึ่ง แม้จะนับว่าจ้งจื่อ เป็นสุจริตชนหรือไม่ก็ตาม แต่หากจ้งจื่อใช้ชีวิตสมถะเรียบง่ายอย่างใส้เดือนได้ ก็นับว่าใช้ได้"  อันว่าใส้เดือนนั้น โผล่ขึ้นกินดินแห้ง มุดลงดินกินน้ำซึม ไม่เดือดร้อนยุ่งยากกับใคร  แต่บ้านที่จ้งจื่ออาศัย ผู้ปลูกสร้างเป็นสุจริตชนสูงส่งเช่นราชบุตรป๋ออี๋ หรือปลูกสร้างโดยมหาโจรเต้าจื๋อผู้เลื่องลือ อีกทั้งข้าวที่เขากินนั้น ปลูกโดยป๋ออี๋ผู้สุจริตสูงส่ง หรือปลูกโดยมหาโจรเต้าจื๋อเล่า นั่นเป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้  ควงจังว่า "เรื่องบ้าน  เรื่องข้าว  ใครสร้างให้อยู  ใครปลูกให้กิน  ไม่น่าเป็นปัญหาสำหรับการได้รับยกย่องว่าสุจริตชน เพราะความเป็นอยู่ปัจจุบัน เขาถักรองเท้าฟางเอง ภรรยาฟั่นเชือกไปแลกของใช้ของกิน"  ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "จ้งจื่อเป็นบุตรหลานตระกูลขุนนางมาหลายชั่วคน พี่ชายของเขาชื่อว่า เฉินไต้  รับเงินบำเหน็จของอำเภอไก้ ปีละถึงหนึ่งหมื่นจง  จ้งจื่อเห็นว่าเงินบำเหน็จของพี่ชายไม่สุจริตถูกต้อง จึงไม่ยอมกิน ไม่ยอมใช้ทุกอย่างที่ได้มาจากเงินบำเหน็จของพี่ชาย คิดว่าบ้านที่พี่ชายสร้างผิดต่อมโนธรรม จึงไม่ยอมร่วมอยู่"   จ้งจื่อหลบจากพี่ชายกับมารดาที่อยู่ร่วมชายคาเดียวกัน ไปอยู่ที่เชิงเขาอูหลิง  วันหนึ่ง เขากลับมาบ้าน พอดีมีคนเอาห่านเป็น ๆ มากำนัลพี่ชาย  จ้งจื่อขมวดคิ้วไม่ยินดี กล่าวว่า  "ทำไมจะต้องกำนัลด้วยชีวิตเป็น ๆ อย่างนี้ด้วย"  หลายวันผ่านไป แม่จัดการเชือดห่านตัวนั้นทำอาหารให้จ้งจื่อขณะกินห่านนั้น พี่ชายกลับมาบ้านเห็นเข้า จึงบอกแก่จ้งจื่อน้องชายว่า  "นี่ก็คือเนื้อของได้ตัวที่ร้อง "ห่าน ๆ" อยู่เมื่อวานนั่นแหละ"  จ้งจื่อได้ฟังดังนั้นเขารีบออกไปล้วงคอตนเองให้อาเจียนเนื้อห่านออกทันที  จ้งจื่อไม่ยินดีกินอาหารจากมารดา แต่ยินดีกินอาหารจากภรรยาแลกเปลี่ยนมา ไม่ยินดีอยู่บ้านของพี่ชาย แต่อยู่บ้านที่อูหลิงได้ เช่นนี้เรียกว่าสุจริตชนสูงส่งได้หรือ เมื่อรู้ว่าพี่ชายไม่ถูกต้องทำนองคลองธรรม ควรจะหาทางตรงท่ามกลางความคด เอาธรรมะค่อย ๆ ซึมซาบสู่พี่ชายอย่าให้หลงผิด หากความคิดของสุจริตชนเป็นเช่นจ้งจื่อ ก้ควรจะเอาอย่างใส้เดือนไปเสียเลย ที่โผล่ขึ้นกินดินแห้ง มุดลงดินกินน้ำซึม เป็นตัวของตัวเองจริง ๆ ไม่เดือดร้อน  ไม่เกี่ยวข้องกับใคร ๆ

                                                    ~ จบบท ~ เถิงเหวินกง ~ ตอนท้าย ~

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 
 
                                              4

                                     บทหลีโหลว ตอนต้น

        หลีโหลว หรือ หลีจู เป็นคนโบราณสมัยอริยะกษัตริย์เซวียน เอวี๋ยนหวงตี้ มีสายตาคมชัดยาวไกล เห็นสิ่งเล็กละเอียดได้ แม้ห่างไปเกินกว่าร้อยก้าว ในหนังสือจวงจื่อ บท "เทียนตี้ ฟ้าดิน" จารึกว่า "เมื่อครั้งอริยกษัตริย์หวงตี้ เสด็จประพาสเหนือแม่น้ำซื่อสุ่ย สู่คุนหลุนมหาบรรพต  แก้ววิเศษประจำพระองค์หล่นหาย ได้โปรดบัญชาให้หลีโหลวเป็นผู้มองหา"  ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "สายตาคมชัดยาวไกลของท่านหลีโหลว ฝีมือปฏิมากรรม ประอิษฐกรรมสรรค์สร้างอย่างล้ำเลิศวิเศษยิ่งของท่านกงซูจื่อ  หลู่ปัน  ชาวเมืองหลู่ ยุคชุนชิว หากไม่ใช้วงเวียน มาตรวัดบรรทัดฐาน จะไม่อาจประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ได้เที่ยงตรงทั้งกลมเหลี่ยม  ประสาทแยกเสียงได้อย่างวิเศษของท่านซือคั่ง ครูดนตรีของพระเจ้าจิ้นผิงกง  สมัยชุนชิว แต่หากไม่ใช้บันไดเสียงเทียบเคียงระดับความสูงต่ำ ก็จะไม่อาจกำหนดเสียต่างทั้งห้า (เดิมที)   หลักการปกครองบ้านเมืองของอริยกษัตริย์เหยา - ซุ่น  หากไม่ใช่หลักกรุณาธรรมอบรมประชาราษฏร์ก้ไม่อาจสงบราบเรียบได้   บัดนี้  แม้ประมุขบางบ้านเมืองจะได้รับการกล่าวขวัญว่า มีความรักกรุณา แต่ประชาราษฏร์ก็มิได้รับบริบาลความชุ่มฉ่ำจากน้ำพระทัย  ประมุขมิได้คงแบบอย่างไว้ให้ประชาราษฏร์เจริญตาม ก็เพราะมิได้ดำเนินการปกครองด้วยกรุณาธรรมอย่างอดีตกษัตริย์ จึงกล่าวว่า "มีแต่ใจดีที่มิได้สร้างสรรค์การปกครอง หรือได้แต่กำหนดว่าจะปกครองโดยธรรม แต่มิได้ดำเนินจริง เจ้าตัวของการปกครองโดยธรรม มันไม่อาจสำแดงตนให้เป็นผลได้ด้วยตัวของมันเอง  ในคัมภีร์ซือจิง จารึกว่า "อย่าได้มีความผิดพลาด อย่าลืมการปกครองโดยธรรมจากอดีตกษัตริย์ ทำตามบัญญัติเดิม หลักการเดิมของพระองค์แล้วจะผิดพลาดนั้น ไม่เคยปรากฏมี" อริยะท่านได้พยายามสุดสายตาแล้ว ที่จะสอดส่องให้ชัดเจน จากนั้นก็ได้ใช้วงเวียนมาตรวัดบรรทัดฐาน  วิธีการกุศโลบายต่าง ๆ เข้าช่วย เพื่อให้สิ่งอันต้องขัดเกลา ตรงเรียบได้รูป ใช้การได้เต็มที่เมธาจารย์ก่อนเก่าได้ใช้โสตสัมผัสเต็มที่แล้ว จึงได้แยกแยะระดับ ประเภทเสียงที่ต่างกัน คนภายหลังจึงได้ใช้ประโยชน์ไม่จบสิ้น ในเมื่ออริยเมธาจารย์ได้ครุ่นคิดใคร่ครวญสุดใจแล้ว เราจะต้องสืบต่อด้วยการปกครอง ไม่ใจร้ายดูดาย เช่นนี้ ความรักกรุณาจะปกหล้า จึงกล่าวได้ว่า "พูนดินขึ้นเนิน เนินสูงได้ง่าย"  "ขุดแอ่งที่ลุ่ม ทุ่นงาน ทุ่นแรง"  การปกครองก็เช่นกัน หากไม่ตามรอยกรุณาของอดีตกษัตริย์ จัดว่ามีปัญญาไหม ฉะนั้น จึงมีแต่คนที่สามารถปกครองโดยกรุณาธรรมเท่านั้น ที่สมควรแก่ตำแหน่งเบื้องสูง หากขาดกรุณาธรรม ดำรงตำแหน่งสูงกุมอำนาจปกครอง ก็จะกระจายความชั่วร้ายไปสู่ปวงชน  ประมุขไม่มีธรรมนำทาง ขุนนางไม่อาจรักษาการเต็มภาคภูมิ ในพระราชฐาน ไม่ดำเนินตามธรรมอรัยกษัตริย์ก่อนเก่า ข้าราชฯน้อยใหญ่ จะไม่เคารพเชื่อถือระบบระเบียบของบ้านเมือง  เมื่อข้าราชฯ ทั้งหลายผิดต่อหลักสัจจมโนธรรม ชาวประชาก็จะละเมิดกฏหมาย บ้านเมืองเมื่อรวนป่วนถึงเช่นนี้ ถ้ายังรักษาเสถียรภาพมั่นคงอยู่ได้ ก็ถือว่าเป็น  "เคราะห์ดี"  จึงกล่าวว่า "กำแพงล้อมเมืองชั้นนอก - ชั้นใน จะไม่สมบูรณ์แข็งแรง ไพร่พลอาวุธจะไม่พร้อมพรัก เหล่านี้ยังมิใช่เหตุแห่งภัย ไร่นาไม่เจริญ การค้าไม่คับคั่ง ก็ยังมิใช่เหตุแห่งความเสื่อมโทรม  แต่หากเบื้องสูงรวน ส่ายไร้จริยธรรม เบื้องล่างขาดความเข้าใจไม่อบรมให้เรียนรู้ โจรผู้ร้ายได้โอกาสฮึกเหิม ความหายนะจะเกิดแก่บ้านเมืองนั้นในไม่ช้า"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 
 
                                              4

                                     บทหลีโหลว ตอนต้น

        ในคัมภีร์ซือจิง จารึกว่า "เจตนาแห่งฟ้าเบื้องบนจะพลิกคว่ำบ้านเมืองของเจ้าอยู่แล้ว เจ้ายังคงระเริงใจไม่ใฝ่งานบริหาร เอาแต่สอพลอผู้เป็นใหญ่ นั่งนอนกับเงินหลวงตามสบายไม่หนาวร้อน ไม่มีมโนธรรมสำนึกต่อเหนือหัว ไม่มีจริยธรรมยำเกรง พูดจาวิจารย์การปกครอง ทำลายล้างคุณธรรมอดีตกษัตริย์ ผิดพลาดก็ยังคงสบาย ๆ ไม่รับรู้" จึงกล่าวว่า "นบนอบเบื้องสูงจงทักท้วง นำทางปกครองโดยธรรม เคารพเบื้องสูงให้แนะนำสัมมาวิถี ปิดทางมิจฉาหายนะ อย่าเบี่ยงบ่ายว่าได้เสนอแนะ แต่องค์ท่านทำไม่ได้ ดังนี้ไซร์ เจ้าจะเป็นขุนนางอันไม่ต่างกับโจร" ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า"วงเวียนสร้างกรอบกลม บรรทัดสร้างกรอบเหลี่ยม ให้เหลี่ยมกลมตรงเที่ยงไม่เอนเอียง อริยชนสร้างคนด้วยคุณสัมพันธ์งดงามต่อกัน ให้เที่ยงตรงไม่เอนเอียง จะเป็นองค์ประมุข ให้ถึงที่สุดด้วยธรรมแห่งประมุข จะเป็นข้าราชฯ ขุนนาง ให้ถึงที่สุดด้วยข้าราชฯ ขุนนาง  สองสภาพนี้ เพียงให้เจริญรอยตามจริวัตรอริยกษัตริย์เหยากับซุ่นก็พอเพียง แม้ไม่ใช้ความเที่ยงตรงเช่นอริยกษัตริย์ซุ่น ที่เทิดทูนปฏิยัติต่ออริยกษัตริย์เหยา เท่ากับไม่เคารพองค์ประมุข แม้ไม่ใช้หลักธรรมที่อริยกษัตริย์เหยาปกครองประชาราษฏร์จะเท่ากับเป็นโจรภัยให้ร้ายประชาราษฏร์"  ท่านบรมครูขงจื่อ กล่าวว่า "หลักการปกครองใต้หล้าฟ้านี้ มีเพียงสองสถาน คือ การุณย์รัก กับ ไม่การุณย์รักเท่านั้น กดขี่ถึงที่สุด ผู้กดขี่ตาย บ้านเมืองล่มสลาย  กดขี่ยังไม่ถึงที่สุด ผู้กดขี่แม้ไม่ตายอันตรายก็จะถึงตัวบ้านเมืองจะถูกรุกรานแทรกแซง  ผู้กดขี่แม้ตัวตาย ยังไว้ชื่อต่อไปว่า "ประมุขผี"  "ประมุขโหด"  แม้จะมีลูกหลานดีเด่นเกิดมาภายหลัง ก้ไม่อาจลบล้างสมญาน่ากลัวน่ารังเกียจนี้ได้"  คัมภีร์ซือจิง จารึกไว้ว่า "ดูอย่างทรราชโจ้ว กับ เจี๋ย  เป็นตัวอย่างที่สังวรความหมายเป็นเช่นนี้"  ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า "ราชวงศ์ เซี่ย ซัง โจว ที่ได้ใต้หล้ามาครอบครอง ก็ด้วยกรุณาธรรม ภายหลังต้องสูญเสีย จบสิ้นราชวงศ์หลายร้อยปี คือเกือบหนึ่งพันปีต่อมา ก็ด้วยขาดกรุณาธรรม ความรุ่งเรืองเฟื่องฟู คงอยู่หรือจบสิ้น ก็ด้วยสาเหตุนี้เป็นสำคัญ"

 เจ้าฟ้าขาดกรุณาธรรม มิอาจปรกนำสี่สมุทรสุดหล้า                   เทียนจื่อปู้เหยิน  ปู้เป่าซื่อไห่

 เจ้าเมืองขาดกรุณา ไม่อาจรักษาขันธสีมาบ้านเมือง                  จูโหวปู้เหยิน   ปู้เป่าเซ่อจี้

 ขุนนางมนตรีไม่มีกรุณา ไม่อาจรักษาศาลบูชาบรรพชน              ชิงต้าฟูปู้เหยิน    ปู้เป่าจงเมี่ยว   

สามัญชนขาดกรุณา ไม่อาจรักษาสุขภาพร่างกาย                     ซื่อซู่เหยินปู้เหยิน   ปู้เป่าซื่อถี่

        คนปัจจุบันเกลียดชังความตาย แต่กลับหาความสุขพอใจ จากการขาดกรุณาธรรม ไม่ต่างกับคนชิงชังอาการเมามาย แต่ไม่ละสุราเมรัย

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 
 
                                              4

                                     บทหลีโหลว ตอนต้น

         ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า "รักเขา เขาไม่สนิทชิดใกล้  ให้ย้อนมองความขาดพร่องของตนต่อกรุณาธรรม
อบรมเขา เขาไม่ยินดีตามที่สอน ให้ย้อนมองความขาดพร่องของตนต่อปัญญาธรรม
น้อมเคารพเขา เขาไม่น้อมเคารพตอบ  ให้ย้อนมาองความขาดพร่องของตนต่อความเคารพ
ทำการใด ๆ ไม่อาจสัมฤทธิ์ผล ล้วนจะต้องเรียกร้องย้อนหาจากตนเอง"
(ไอ้เหยินปู้ชิน  ฝั่นฉีเหยิน
ฉือเหยินปู๋จื้อ   ฝั่นฉีจื้อ
หลี่เหยินปู้ต๋า   ฝันฉีจิ้ง
สิงโหย่วปู้เต๋อเจ่อ  เจียฝั่นฉิวจูจี่)

        ตน  ตั้งตนอยู่อย่างเที่ยงตรง ส่งผลให้ทุกคนมุ่งหา  ในคัมภีร์ซือจิง จารึกว่า "ย้อนมองส่องตน ทั้งวาจาอาการให้ตรงต่อฟ้าเสมอ เรียกร้องความถูกต้องจากตนเองเป็นประจำ ย่อมนำสุขวาสนามาสู่" (อย่งเอี๋ยนเพ่ยมิ่ง  จื้อฉิวตัวฝู)
       
         ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "มีคำพูดประโยคหนึ่งที่พูดกันเสมอว่า "ใต้หล้าฟ้าบ้านเมือง"  (เทียนเซี่ยกว๋อเจี๋ย)  แท้จริงแล้ว ใต้หล้าจะสดใสอับเฉา ขึ้นอยู่กับบ้านเมืองต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์หรือทำลาย  บ้านเมืองจะสดใสหรืออับเฉา ขึ้นอยู่กับทุกคนในครอบครัวจะสร้างสรรค์หรือทำลาย  โดยเฉพาะหัวหน้าครอบครัวทำตัวเป็นแบบอย่าง"   
       
        ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า  "บริหารบ้านเมืองนั้นไม่ยาก เพียงแต่อย่าทำให้ผู้มีฐานะตระกูลใหญ่ในบ้านเมืองต้องผิดหวังต่อคุณธรรมอันพึงมี หากทำให้เขาเหล่านั้นชื่นชมโสมนัส ชาวบ้านชาวเมืองก็จะพลอยเห็นดี  คนทั้งบ้านเมืองชื่นชม โลกกว้างต่างชื่นชม เช่นนี้ คุณธรรมคำสอนของเขา ก็จะเป็นกระแสธารไหลผ่านไปทั่วโลกกว้าง" 

        ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า  "ยุคนี้โลกนี้มีธรรม เจ้าเมืองที่ไม่สำรวมดี ยังจะยอมเชื่อฟังกษัตริย์ผู้ทรงธรรม เจ้าเมืองผู้ด้อยความสามารถ ก็ยอมรับความสามารถของกษัตริย์ผู้ปรีชา  แต่หากเป็นยุคที่ไม่มีธรรมค้ำชูอยู่ เจ้าเมืองเมืองเล็กจะถูกเจ้าเมืองเมืองใหญ่ข่มขวัญบัญชา  เจ้าเมืองที่บ้านเมืองอ่อนแอ ก็จะถูกเจ้าเมืองมีกำลังข่มขวัญบัญชา มันแน่แท้นัก  ฉะนั้น  ทุกสิ่งอย่างให้เป็นไปตามครรลองธรรม  จึงจะอยู่ได้  ผิดต่อครรลองฟ้าชะตากำหนด ย่อมหมดสิ้นดับสลาย"

        อันที่จริงบ้านเมืองยิ่งใหญ่เกรียงไกรแห่งราชวงศ์ฉี รุ่งเรืองอยู่หลายปี พอถึงรัชสมัยพระเจ้าฉีจิ่งกง ก็เริ่มอ่อนกำลังลง จึงถูกคุกคามจากเมืองอู๋ ผู้ด้อยอารยธรรม  พระเจ้าฉีจิ่งกงกล่าวแก่ขุนนางว่า  "จะทำอย่างไรได้ เมื่อตกอยู่ในฐานะที่ไม่อาจเอาชนะ อีกทั้งไม่ยอมจำนนแก่เขา มันจนหนทางเสียแล้ว"  ฉีจิ่งกงปวดร้าวร่ำไห้ จำใจต้องยกพระธิดาเป็นเครื่องบรรณาการแก่เจ้าเมืองอู๋  บัดนี้  เมืองเล็กเอาอย่างเมืองใหญ่ เห็นว่าการรับบัญชาจากเมืองใหญ่เป็นเรื่องอัปยศ เฉกเช่นศิษย์ที่รู้สึกอัปยศเมื่อรับบัญชาจากครูบาอาจารย์  หากรู้สึกอัปยศดั่งนี้โดยแท้ ก็จงเจริญรอยตามอริยกษัตริย์โจวเหวินอ๋วงที่ปกครองโดยกรุณาธรรมเสียปะไร หากเจริญรอยตามได้ เมืองใหญ่ตั้งใจ จะใช้เวลาเพียงห้าปี เมืองเล็กตั้งใจ จะใช้เวลาเพียงเจ็ดปี บ้านเมืองก็จะเป็นปกติสุขโดยธรรม  ในคัมภีร์ซือจิง จารึกว่า "รัชทายาทของราชวงศ์ซังมากมายเกินกว่าคณานับ แต่พระโองการฟ้า (เทียนมิ่ง) ได้แปรไปสู่ราชวงศ์โจว ดังนั้น ลูกหลานรัชทายาทราชวงศ์ซัง จึงมิได้สืบต่อพระโองการ จำต้องถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์โจว ทั้งนี้  ด้วยเหตุอันใด ก็ด้วยพระโองการฟ้ามิใช่ตายตัว  เคลื่อนไปตามความเหมาะสมของผู้ได้รับ ข้าราชการ ขุนนางของราชวงศ์ซัง แม้จะดีเด่นเป็นศรีสง่า แต่เมื่อถึงวาระนี้ ต่างก็ต้องเข้าพิธีถวายสุรา  เซ่นไหว้เจ้าที่ในเมืองหลวง เพื่อเฉลิมชัยให้แก่ราชวงศ์โจว" 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 
 
                                              4

                                     บทหลีโหลว ตอนต้น

        ท่านบรมครูขงจื่อ ได้อ่านกลอนบทนี้จากคัมภีร์ซือจิงแล้ว ต้องทอดถอนใจว่า  "ใคร่จะปกครองด้วยกรุณาธรรม จงอย่าเสแสร้งต่อประชาราษฏร์ เมื่อดำเนินการจริง  ปวงภัยย่อมจะปลาสนาการผ่านพ้น  บัดนี้ เจ้าเมืองทั้งหลายใคร่ปราศปวงภัย แต่หาได้ดำเนินกรุณาธรรมไม่ จึงเหมือนกับจะจับของร้อน โดยไม่ชุบมือในน้ำเย็นเสียก่อน"  ในคัมภีร์ซือจิง จารึกว่า "ใครหรือที่จับของร้อนได้โดยไม่ใช้น้ำถอนความร้อนเสียก่อน"  ปราชย์เมิ่งจื่อว่า  "ต่อประมุขที่ขาดกรุณา จะพูดกรุณาด้วยได้หรือ ผลประโยชน์บดบังน้ำใจ อันตรายกับเห็นความปลอดภัย ระเริงชั่วร้ายหมายว่าสนุก หากพูดกรุณาธรรมกับคนเช่นนี้ได้ ไฉนยังจะมีที่บ้านเมือง ที่ต้องฉิบหาย"  แต่ก่อนมีเพลงที่เด็ก ๆ ร้องเล่นกันว่า "น้ำใสไหลผ่านแหล่งน้ำชังหลังสะอาดนัก จะล้างซักสายคาดหมวกของข้า เมื่อแหล่งน้ำชังหลังขุ่นตมมา ยังจะชำระล้างขาของข้าได้"  ท่านบรมครูกล่าวว่า ""เด็กน้อย (ศิษย์) ทั้งหลายจงฟัง น้ำใสใช้ชำระสายคาดหมวก น้ำขุ่นใช้ชำระเท้า"  น้ำเหมือนกัน แต่คุณค่าเพื่อใช้ต่างกัน  น้ำ ทำตัวของตัวเอง  คนมักจะลบหลู่ดูถูกตนเองเป็นเบื้องตน จึงถูกผู้คนลบหลู่ดูถูกให้ในภายหลัง ครอบครัวทำลายตนเองเสียก่อน ภายหลังจึงถูกเขาทำลาย เมืองราวีตน จากนั้นคนจึงราวีเมือง  คัมภีร์ซูจิง บทไท่เจี่ย จารึกว่า "ฟ้าให้เวรภัย ยังหลบเลี่ยงได้ ตนเองสร้างเวรภัย ไม่อาจอยู่รอด" ดังกล่าวเช่นนี้ (เทียนจั่วเนี่ย อิ้วเข่ยเอว๋ย จื้อจั้วเนี่ย ปู้เข่อหัว) 

        ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า "เหตุที่บ้านเมืองเจี๋ย กับ โจ้ว ต้องสูญเสีย เริ่มจากสูญเสียประชาชน"  เหตุที่สูญเสียประชาชน เริ่มจากสูญเสียความเชื่อมั่นของประชาชน ฉะนั้น จะได้ใต้หล้ามาครอง ต้องมีหลัก ได้ใจประชาชนก่อนแล้วจึงได้ใต้หล้า ได้ประชาชนมีหลัก คือได้จิตใจ จึงได้ประชาชน  ได้จิตใจมีหลัก คือประชาชนต้องการสิ่งใด จะต้องสร้างสรรค์อำนวยให้ ประชาชนชิงชังสิ่งใด ระงับยับยั้งอย่าสร้างความชิงชัง  ประชาชนเข้าหาการปกครองโดยธรรม จะกรูกันประดุจน้ำโกรกลงสู่ที่ต่ำ ประดุจสัตว์วิ่งเข้าหาป่าเมือเป็นอิสระ ฉะนั้น ที่ไล่ต้อนปลาไปสู่น้ำลึก คือพวกนาคที่กินปลาเป็นอาหาร  ที่ขับไล่นกเล็กเข้าป่า คือนกใหญ่ดุร้ายที่กินนกเล็กเป็นอาหาร  พวกที่ขับต้อนประชาชนให้หนีมาสวาภิภักดิ์ต่ออริยกษัตริย์ซังทังกับโจวอู่ฮ๋วง ก็คือ ทรราชเจี๋ยกับโจ้วืั้กดขี่ทำร้ายประชาชนนั่นเอง  บัดนี้  หากประมุของค์ใดในโลกยินดีต่อการปกครองโดยธรรม เจ้าเมือง ผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ก็จะเป็นผู้ขับเอาชาวเมืองของตนออกมาสวามิภักดิ์ให้เอง  แม้องค์ประมุขนั้นจะไม่ปรารถนาการเป็นผู้ครองโลก ก็ไม่อาจปฏิเสธชาวประชาที่หันหน้าหนีร้อนมาพึ่งเย็นได้  ส่วนผู้มักใหญ่ใคร่ครองโลก เหมือนคนเจ็บป่วยเรื้อรังมาเจ็ดปี จะต้องใช้สมุนไพรไอ้เฉ่า ที่เก็บค้างสามปีมารนไฟรักษาจึงจะหาย หากไม่เสาะหามาค้างปีไว้ จนตายก็ไม่มีอะไรจะรักษาได้ (โรคของคนทะยานอำนาจลืมตัว ต้องรักษาด้วยกรุณาธรรมที่สร้างสมมาสามปี จนกว่าจะมีประสิทธิภาพ)  หากไม่มุ่งมั่นใช้ความกรุณามาปกครอง ชีวิตจะหมองไหม้ ไร้เกียรติ ถูกเหยียดหยาม สุดท้ายตัวตาย บ้านเมืองสลายสิ้น  ในคัมภีร์ซือจิง จารึกว่า ""มันจะเป็นผลดีได้อย่างไร พาเขาขื่นขมล่มจมเช่นนี้" (ฉีเหอเหนิงสู ไจ้ซวีจี๋นี่)

        ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า  "คนที่กล้าทำร้ายศักดิ์ศรีตน มิอาจพูดหักธรรมด้วยได้ คนที่ยอมละทิ้งศักดิ์ศรีตน มิอาจทำการใหญ่ด้วยได้  คนที่พูดจาผิดต่อหลักจริยมโนธรรม เรียกว่า ทำร้ายศักดิ์ศรีของตน  คนที่ไม่รักษากรุณาธรรม เรียกว่า ละทิ้งศักดิ์ศรีของตน กรุณาธรรมเป็นสถานพักพิงอันมั่นคงของคน  มโนธรรมคือเส้นทางใหญ่ตรงเรียบที่น่าเดินของคน มีสถานพักพิงมั่นคงพร้อมอยู่ไม่เข้าไปอยู่  มีเส้นทางใหญ่ตรงเรียบให้เดิน ไม่เดิน น่าสมเพชนัก"

        ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า  "ธรรมะอยู่ตรงหน้า แสวงหา  ณ  ที่ไกล  เรื่องนั้นแท้ง่าย แต่กลับเรียกร้องไปให้ยาก ทุกคนสนิทชิดเชื้อเคารพผู้ใหญ่ โลกก็จะปกติสุขราบเรียบ"  ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า  "ผู้อยู่เบื้องล่างไม่ได้รับความไว้วางใจจากเบื้องสูง บ้านเมืองจะปกครองไม่ได้ " ได้รับความไว้วางใจจากเบื้องสูงหรือไม่ มีหลักชัดเจนคือ แม้ไม่ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อน จะไม่ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อน จะไม่ได้รับความไว้วางใจจากเบื้องสูง

        ใคร่ได้รับความวางใจจากเพื่อนก็มีหลักชัดเจนคือ หากไม่อาจดูแลพ่อแม่ให้ท่านยินดีได้ จะไม่ได้รับความวางใจจากเพื่อน  จะดูแลพ่อแม่ให้ท่านยินดีมีหลักชัดเจนคือ จะต้องย้อนมองส่องตนว่า กายใจที่ปฏิบัติต่อท่านนั้น บริสุทธิ์ศรัทธาจริงแท้เพียงไร  จะบริสุทธิ์ศรัทธาจริงต้องมีหลักชัดเจน หากเข้าไม่ถึงหลักปรัชญาคุณสัมพันธ์ เข้าไม่ถึงทำนองคลองธรรมแล้ว ใจก็จะไม่อาจบริสุทธิ์ศรัทธาจริงแท้ได้ (กาลก่อน "เพื่อน"  หมายถึงผู้อุ้มชูดูแลซึ่งกันจนถึงสละชีพเพื่อกัน)  จึงกล่าวว่า ความบริสุทธิ์ศรัทธาจริงใจเป็นภาวะของจิตเดิมแท้ธรรมญาณอันได้มาจากฟ้า ใคร่รักษาความบริสุทธิ์ศรัทธาจริงใจ ให้รักษาหลักธรรมอันพึงรักษา หากได้ให้ศรัทธาจริงใจจนหมดสิ้นต่อเขาแล้ว เขายังไม่ซาบซึ้ง เช่นนี้ยังไม่เคยมี จะมีแต่ไม่ศรัทธาจริง จึงยังไม่มีที่ซาบซึ้ง   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 
 
                                              4

                                     บทหลีโหลว ตอนต้น

        ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า "เมื่อครั้งราชบุตรป๋ออี๋ หลบทรราชโจวไปซ่อนตัวที่เป่ยไห่ พอได้ข่าวว่ากษัตริยฺเหวินอ๋วง ถูกยกย่องขึ้นเป็น "ซีป๋อ ผู้นำเหล่าเจ้าเมือง" และกปครองโดยธรรม ราชบุตรป๋ออี๋ปีติยิ่ง กล่าวว่า "ไฉนเราจะไปม่ไปพึ่งบารมีเล่า ได้ยินว่าซีป๋อท่านนี้เคารพผู้สูงวัย สงเคราะห์คนแก่แม่หม้ายผู้เยาว์ " พระเจ้าปู่เจียงไท่กง ราชครูในพระเจ้าโจวเหวินอ๋วง (พระประวัติ สายทองเล่มหนึ่ง หน้า70) ขณะหลบทรราช แฝงองค์อยู่ชายทะเลตงไห่ พอได้ข่าวซีป๋อ ผู้นำเหล่า้เจ้าเมือง "ก็ยินดีนักกล่าวว่า "ไฉนเราจึงไม่รีบไปพบ "ซีป๋อ" ผู้นำเจ้าเมือง ผู้ชอบเคารพเลี้ยงดูผู้สูงวัย" เมื่อผู้สูงวัยกับสูงคุณธรรม อันเป็นเสมือนบิดาที่เคารพยิ่งของมหาชน พร้อมกันมาน้อมรับพระบารมีอริยกษัตริย์โจวเหวินอ๋วง ชาวบ้านชาวเมืองทั่วหล้าฟ้าไกลต่างก็พากันสวาภิภักดิ์" 
 
        เมื่อราชบุตรป๋ออี๋ กับพระเจ้าปู่เจียงไท่กง ผู้สูงวัยด้วยคุณธรรมทั้งสอง อันเป็นเสมือนบิดาที่เคารพยิ่งของมหาชน น้อมรับพระบารมีอริยกษัตริย์แล้วลูกหลานของบ้านเมืองจะไปไหนเสีย ฉะนั้น เหล่าเจ้าเมืองที่ได้รับการปกครองโดยธรรมจากโจวเหวินอ๋วง ภายในเจ็ดปี บ้านเมืองจะสงบราบเรียบแน่นอน

        ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า  "ครั้งกระนั้นท่านหยั่นฉิว (ศิษย์บรมครู) ไปเป็นผู้จัดการบ้านตระกูลจี้ขุนนางเมืองหลู่ ไม่อาจปรับเปลี่ยนการรีดนาทาเร้นของขุนนางจี้ได้ ยังกลับขูดรีดหนักขึ้น  บรมครูโกรธหนัก กล่าวแก่ศิษย์ทั้งหลายว่า "หยั่นฉิวไม่ใช่ศิษย์ของครู ทุกคนช่วยกันเอาโทษโจมตีเขาให้หนัก"  จากจุดนี้จะเห็นได้ว่า องค์ประมุขไม่ทรงธรรม ขุนนางกลับ (เหมือน) มีส่วนร่วมขูดรีดจนร่ำรวย เท่ากับละทิ้งขาดสิ้นการปกครองโดยธรรมตามที่บรมครูเรียกร้อง

        ยิ่งกว่านั้น พวกฮึกหาญลาญรบ แย่งชิงแผ่นดิน ฆ่าคนเกลื่อนกลาด สู้รบชิงเมืองฆ่าคนกองพะเนิง นี่เรียกว่า "รวบแผ่นดินกินเนื้อคน" โทษคนพวกนี้ถึงตายไม่สาสม ฉะนั้น แต่ก่อนกาลมา พวกชอบฆ่าชอบรบ ต้องได้รับโทษอุกฤษฏ์ โทษรองลงมาคือร่วมกับเจ้าเมืองยกทัพช่วงชิง โทษอีกขั้นหนึ่งคือ เรียกเก็บภาษีที่ดินชั้นดีที่ชาวบ้านแผ้วถางป่ารกมาจนเลือดตาแทบกระเด็นฯ"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 
 
                                              4

                                     บทหลีโหลว ตอนต้น

        ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า  "หยั่งดูใจคน  ไม่มีอะไรเห็นชัดเท่าสังเกตแววตา  แววตาไม่อาจปกปิดความชั่วร้ายในใจ  ถ้าจิตใจซื่อตรง  แววตาก็จะมีพลังเที่ยงตรง  จิตใจไม่ซื่อตรง  นันย์ตาไม่อาจซ่อนเร้นได้"

         ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า 
"ประมุขผู้น้อมองค์ให้เกียรติยกย่องใคร ๆ จะไม่เหยียดหยามประชาราษฏร์
ประมุขผู้มัธยัสถ์จะไม่เรียกเก็บภาษีหนักขูดรีดประชาชน
ประมุขที่เหยียดหยามอีกทั้งขูดรีด ก็เพื่อแสดงเดชานุภาพ เพื่อสยบประชาชน ให้อยู่ภายใต้นโยบาย
เช่นนี้เขาจะให้เกียรติ  เขาจะมัธยัสถ์ทำไม  ให้เกียรติ มัธยัสถ์ จะต้องแสดงผลอันเป็นจริง มิใช่ใช้เสียงหรือรอยยิ้ม ก็จะเสแสร้งทำได้"

        ฉุนอวี่คุน นักคารมชาวเมืองฉี  เรียนถามท่านปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "หญิงชายไม่ควรชิดใกล้หยิบยื่นถึงมือกัน เป็นจริยธรรมหรือ" (หนันหนวี่โซ่วโซ่วปู้ชิน) ปราชญ์เมิ่งจื่อตอบว่า "ถูกต้อง"  เรียนถามอีกว่า "ถ้าเช่นนั้น หากพี่สะใภ้ตกน้ำ จะยื่นมือไปฉุดได้หรือไม่"  ปราชญ์เมิ่งจื่อตอบว่า "พี่สะใภ้หรือหญิงคนใดตกน้ำ ไม่ยื่นมือช่วยเท่ากับอำมหิต"  อันว่าหญิงชายไม่หยิบยื่นถึงมือกันเป็นจริยธรรม  แต่พี่สะใภ้ตกน้ำเป็นเหตุปัจจุบันทันด่วนอันพึงอนุโลม  ฉุนอวี่คุน เรียนถามอีกว่า "บัดนี้  ชาวโลกเหมือนจมน้ำตะเกียกตะกาย ควรทำอย่างไร"  ปราชญ์เมิ่งจื่อตอบว่า "โลกจมลง  ฉุดช่วยด้วยธรรม" (โลกจมสู่หายนะด้วยความขาดกรุณามโนธรรม) (เทียนเซี่ยนี่ เอวี๋ยนจื่ออี่เต้า)  พี่สะใภ้จมน้ำช่วยได้ด้วยมือ หรือท่านคิดจะช่วยชาวโลกด้วยมือ"

        ศิษย์กงซุนโฉ่ว  เรียนถามครูปราชญ์ว่า  "ที่กัลยาณชนไม่อบรมลูกด้วยตนเองนั้นด้วยเหตุอันใด"  ครูปราชญ์ตอบว่า "ยากด้วยสภาพการ (กัลยาณชนสุภาพเกินกว่าจะดุว่าเข้มงวด) สอนลูกจะต้องใช้หลักธรรม หากลูกไม่ทำตาม ขั้นต่อไปก็จะต้องลงโทษดุว่าเข้มงวด ลงโทษดุว่าเข้มงวดก็ด้วยรักลูก อยากให้ได้ดี แต่หากทำดังนี้ต่อไป พ่อลูกก็จะหมางใจกัน  ในใจลูกจะย้อนตำหนิว่า "บิดาเป็นครูสอนลูกด้วยหลักธรรม แต่บิดาเองไม่เห็นดำเนินต่อหลักธรรมเลย ดังนี้ ระหว่างนี้พ่อลูกก็จะหมางใจกัน เมื่อหมางใจกัน คุณสัมพันธ์รักใคร่จะกลายเป็นเลวร้าย  ฉะนั้น  คนก่อนเก่าจึงแลกเปลี่ยนอบรมลูก ด้วยเหตุ
ที่ระหว่างพ่อลูกไม่อาจดุว่าฝืนใจให้ใฝ่ดีได้  ดุว่าฝืนใจให้ใฝ่ดี  ความรักใคร่ผูกพันก็จะห่างหาย  เมื่อเป็นเช่นนี้ ผลไม่ดีจะเกิดตามมา" 

        ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า 
"ปฏิการะใดยิ่งใหญ่สำคัญ ปฏิการะบิดามารดา ยิ่งใหญ่สำคัญ  (ซื่อสูเอว๋ยต้า  ซื่อชินเอว๋ยต้า)
รักษาใดยิ่งใหญ่สำคัญ  รักษาตนยิ่งใหญ่สำคัญ "  (โส่วสูเอว๋ยต้า  โส่วเซินเอว๋ยต้า)
        "รักษาตนสุจริต  ไม่ประพฤติผิดเสียหาย  จึงจะปฏิการะบิดามารดาได้"  ดังนี้ ข้าพเจ้าเคยได้ยินมา 
ผู้ไม่รักษาตนสุจริต  ประพฤติผิดเสียหาย  ปฏิการะบิดามารดาได้  ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินมา  ผู้ใดมิพึงทำการนี้  ปฏิการะบิดามารดา เป็นรากฐานของความเป็นคนหนอ  ผู้ใดมิพึงรักษาตน  รักษาตนเป็นการรักษาฐานของชีวิตทีเดียว       

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                               ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 
 
                                              4

                                     บทหลีโหลว ตอนต้น

        ครั้งกระนั้น  ปราชญ์เจิงจื่อ (ศิษย์บรมครู) ปฏิการะเจิงซีผู้บิดา ทุกมื้อจะต้องเพียบพร้อมด้วยเหล้ายาอาหาร ครั้นจะเก็บสำรับ ก็จะถามว่า อาหารที่เหลือจะแจกจ่ายแก่ใคร  บิดาแจกจ่ายแก่ลูกหลานแล้วจะถามว่า "ยังมีเหลือหรือไม่" หากยังมีเหลือเจิงจื่อก็จะตอบว่า "มี"  เมื่อเจิงซี บิดาของเจิงจื่อสิ้นไป เจิงเอวี๋ยน หลายชาย ปฏิการะเจิงจื่อผู้บิดา ทุกมื้อก็เพียบพร้อมเช่นกัน  ครั้นจะเก็บสำรับกลับจะไม่ถามบิดาว่า ที่เหลือจะแจกจ่ายแก่ใคร  หากเจิงจื่อแจกจ่ายแก่ลูกหลาน แล้วถามว่า "ยังมีเหลือหรือไม่" แม้จะยังมีเหลือ เจิงเอวี๋ยน บุตรชายก็จะตอบว่า "ไม่มี"  ตอบเช่นนี้ ด้วยเกรงว่าบิดาจะแจกจ่ายเสียหมด ตอบว่าไม่มีจะเหลือไว้ให้บิดากินมื้อหน้าต่อไป เช่นนี้ เรียกว่า "เลี้ยงดูสังขาร"  แต่สำหรับเจิงจื่อนั้น เลี้ยงดูบิดาด้วยกตัญญู ปฏิการะบิดามารดาอย่างปราชญ์เจิงจื่อนั้นใช้ได้" 

        ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า
 "คนที่ขาดคุณธรรมใช้ไม่ได้ ไม่ต้องมัวติเตียน
องค์ประมุขบริหารบ้านเมืองได้ไม่ดี  ไม่ต้องมัวตำหนิ ขอเพียงให้มีผู้ทรงคุณธรรมสะท้อนให้เห็นความผิดพลาด
เมื่อเบื้องสูงให้กรุณาธรรมสูง  เบื้องล่างจะสูงตาม
เบื้องสูงมีมโนธรรม  เบื้องล่างจะไม่กล้าละเมิด
เบื้องสูงเที่ยงตรง  เบื้องล่างไม่กล้าคด
ประมุขเที่ยงตรงองค์เดียว บ้านเมืองมั่นคงได้

        ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า  "คนมักประสบสิ่งไม่คาดคิด เช่นคำชื่นชม หรือที่ตนคิดว่าทำดีที่สุด แต่ถูกใส่ร้ายป้ายสีทำลายชื่อเสียง"  กล่าวอีกว่า "คนที่ชอบพูดพล่อย คือคนที่ยังไม่ได้รับการว่ากล่าวติเตียนจากใคร ๆ "  กล่าวอีกว่า  "โรคประจำตัวของคน คือชอบเป็นครูเขา สู่รู้สู่สอน"

        เอวี้ยเจิ้งจื่อ  เป็นผู้ติดตามจื่อเอ๋า  ขุนนางอิทธิพลเมืองฉี  มาเมืองฉีขอเข้าพบท่านปราชญ์เมิ่งจื่อ  ปราชญ์เมิ่งจื่อตำหนิว่า "ท่านก็รู้จักจะมาพบเราด้วยหรือ"  เอวี้ยเจิ้งจื่อถามว่า "เหตุใดท่านจึงกล่าวดังนี้"  "ก็ท่านมาถึงที่นี่กี่วันแล้วล่ะ"  "สองวันก่อน"  "ก็ถูกต้องแล้วที่ถาม"  "ที่มาช้าไปเพราะที่พักยังไม่เรียบร้อย"  "ท่านเคยได้ยินมาหรือว่า จนกว่าที่พักเรียบร้อยแล้ว จึงจะมาคารวะผู้ใหญ่"  เอวี้ยเจิ้งจื่อน้อมรับว่า "เป็นความผิดของข้าพเจ้าแล้ว"

        ปราชญ์เมิ่งจื่อ ให้ข้อคิดอีกว่า  "ท่านติดตามขุนนางจื่อเอ๋าเข้าเมืองมา ก็เพื่อดื่มกิน คิดไม่ถึงว่าท่านผู้ศึกษาหลักธรรมของบรรพชน ได้แต่เอาการศึกษานั้นมาดื่มกิน"  ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า "ผิดต่อกตัญญูมีสามข้อ  ข้อที่หนึ่ง ตัดทางทายาทไม่ยอมมีบุตรสืบสกุลผิดที่สุด (ปู๋เซี่ยวโหย่วซัน อู๋โฮ่วเอว๋ยต้า) อริยกษัตริย์ซุ่น อภิเษกสมรสโดยมิได้บอกกล่าวบิดา ด้วยเกรงจะขาดทายาท ภายหลังจึงมีกัลยาณชนวิเคราะห์กรณีนี้ว่า ไม่ได้บอกกล่าว ก็เหมือนได้บอกกล่าว เนื่องจากบิดาของท่านเป็นคนโง่ หยาบ ไม่อาจรับรู้ มีแต่จะอาละวาดโวยวาย"
         ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า
 "ดำเนินกรุณาธรรมแท้จริง คือปฏิการะบิดามารดา" 
"รักษามโนธรรมแท้จริง คือโอนอ่อนผ่อนพี่ " 
มีสติปัญญาแท้จริงคือ เข้าใจหลักคุณสัมพันธ์ กตัญญู พี่น้องปรองดองอย่างมั่นคงไม่ลืม   
ความหมายที่แท้จริงของดนตรี  อยู่ที่แปรใจคนให้ได้รับความสุขโดยเหมาะกับจริยธรรม
ความยินดีต่อความสุข หากแม้ตั้งอยู่บนฐานกตัญญูน้อมใจ ความสุขอันเป็นธรรมชาติก็จะค่อย ๆ ก่อเกิด เมื่อก่อเกิดเช่นนี้ ก็จะลุ่มลึกยาวไกลไพศาล มิอาจประมาณ มิอาจยับยั้งได้  เมื่อไม่อาจยับยังความสุขอันเป็นธรรมชาตินั้น พลันมือเท้าก้อาจเคลื่อนไหว ไปตามลีลาของความสุขนั่นเอง โดยมิต้องกำหนดหมาย

        ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า

        เมื่อชาวโลกต่างปิติยินดีที่จะเข้ามา จงมองดูให้เขาปิติยินดีมา มากมายเหมือนผักหญ้า สถานภาพนี้ มีแต่อริยกษัตริย์ซุ่นเท่านั้นที่ได้รับ แต่ในใจของอริยกษัตริย์ซุ่น เห็นความกตัญญูสำคัญที่สุด จึงกล่าวว่า ผู้ไม่ได้รับความยินดีจากบิดามารดา ไม่นับว่าไม่เป็นคนโอนอ่อนตามใจ จะนับไม่ได้ว่าเป็นบุตรธิดาจากท่าน  ฉะนั้น อริยกษัตริย์ซุ่นจึงทำความกตัญญูเต็มที่ จนกระทั่งกู่โส่ว บิดาผู้โง่เขลาหยาบช้าชอบอาละวาด ยินดีปรีดิ์เปรม  ชาวโลกได้เห็นความเป็นไปจึงได้คิดว่า "พ่อแม่จะต้องให้ความรักเมตตา ลูกจะต้องกตัญญู รักษาคุณสัมพันธ์ต่อกัน  เช่นอริยกษัตริย์ซุ่นนี้ เรียกว่า "มหากตัญญู" ผู้คนจึงปิติยินดีที่จะเข้ามา

                               ~ จบบทหลีโหลว  ตอนต้น ~

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 
 
                                              4

                                     บทหลีโหลว ตอนท้าย

        ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวว่า  "อริยกษัตริย์ซุ่น ถือกำเนิดที่จูเฝิง ภายหลังย้ายไปอยู่ที่ฟู่เซี่ย สุดท้ายทรงสิ้นที่หมิงเถียว เป็นถิ่นของชนป่าดอยด้อยความเจริญทางทิศตะวันออก ปัจจุบันคือมณฑลซันตง - ซันซี  อริยกษัตริย์เหวินอ๋วง  ถือกำเนิดที่ฉีโจว  ทรงสิ้นที่ปี้อิ่ง เป็นถิ่นของชนป่าดอยด้อยความเจริญทางทิศตะวันตก ปัจจุบันคือ มณฑลสั่นซี - ซีอัน   ทั้งสองอริยกษัตริย์  ณ  ที่ห่างกันพันกว่าลี้ ยุคสมัยกาลเวลาก็ห่างกันพันกว่าปี แต่ทั้งสองพระองค์ต่างมุ่งมั่นผลักดันสร้างสรรค์การปกครองโดยธรรมอย่างเดียว ดุจดั่งลัญจกรตราประทับที่ผ่ากลางเป็นสองฝามาประกบเข้าหากัน  พระองค์หนึ่งเป็นอริยบรรพกาล  พระองค์หนึ่งเป็นอริยปัจฉิมกาล  แต่หลักธรรมอริยนั้นหนึ่งเดียวกัน (เซียนเซิ่งโฮ่วเซิ่ง ฉีขุยอีเอี่ย)

        เมื่อครั้งจื่อฉั่น ขุนนางยุคชุนชิว บริหารงานเมืองเจิ้ง เคยใช้รถม้าของตนทอดขวางเป็นสะพานให้คนข้าำมลำน้ำเจินกับลำน้ำเอว่ย  ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า
"แสดงน้ำใจโดยไม่รู้หลักใหญ่การบริหาร ถ้ารู้หลัก เดือนสิบว่างจากงานนา เดือนสิบเอ็ดงานสร้างสะพานคนข้ามก็แล้วเสร็จ  เดือนสิบสองรถม้าก็สัญจรไปมาได้ ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องลุยน้ำลำบาก คนเบื้องสูงพัฒนาให้ประชาชนสุขสบาย แม้จะต้อนผู้คนให้หลบรถม้าที่ตนขับขี่ผ่านไปก็ยังพอว่า แต่คนที่ยังเปลือยขาลุยน้ำมีมากนัก รถคันเดียวทอดเป็นสะพานให้คนเดินข้ามชั่วขณะจะพอเพียงหรือ ฉะนั้น ผู้บริหารบ้านเมือง จงอย่าได้แสดงน้ำใจเอาหน้าเอาบุญคุณส่วนตัวให้เขาชื่นชม แม้ทำเช่นนี้เรื่อยไปทุกวัน ก็ไม่ทันต่อความจำเป็น"   

        ปราชญ์เมิ่งจื่อ กล่าวแก่พระเจ้าฉีเซวียนอ๋วงว่า " หากอ๋องท่าน เห็นข้าราชฯ ประหนึ่งมือเท้าร่วมกายา ข้าราชฯ ก็จะเห็นพระองค์ประหนึ่งทรวงใจที่รักใคร่พึงปกป้อง แต่หากอ๋องท่านเห็นเขาไม่ต่างจากสุนัขหรือม้า เขาก็จะเห็นอ๋องท่านสามัญไร้ค่า  ยังมีอ๋องที่เห็นประชาชน ข้าราชฯ เหมือนผักหญ้าเศษขยะ พวกเขาก็จะเห็นอ๋องเป็นเช่นศัตรูผู้ร้ายที่น่าชัง

        ฉีเซวียนอ๋วงรู้สึกว่า ที่ปราชญ์เมิ่งจื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประมุขกับขุนนาง ออกจะจริงจังเกินไป จึงตั้งคำถามว่า  "จริยประเพณีกำหนดว่า ขุนนางเก่าที่ไปจากบ้านเมือง เมื่อประมุขที่ขุนนางเคยรับใช้สิ้นไป ขุนนางยังจะต้องไว้ทุกข์ให้สามเดือน  ประมุขจะต้องปรกบารมีคุณแก่ขุนนางนั้นมาก่อนอย่างไรหรือ ขุนนางนั้นจึงไว้ทุกข์ถวายให้"  ปราชญ์เมิ่งจื่อตอบว่า "คำทัดทานที่ดีของขุนนางนั้นพึ่งพาได้ ข้อเสนอที่ดีของขุนนางนั้นทำตามได้  เนื่องด้วยคำทัดทานและข้อเสนอนั้น เอื้อคุณแก่ประชาราษฏร์ เช่นนี้ วันใดหากขุนนางผู้นั้นมีเหตุจำเป็นด้วยกรณีพิเศษจะต้องไปอยู่บ้านเมืองตน ประมุขจะต้องจัดคณะผู้นำส่งให้เขาปลอดภัย อีกทั้งจะต้องให้คนล่วงหน้าไปยังบ้านเมืองที่ขุนนางนั้นจะไปรับตำแหน่งใหม่ ยกย่องเชิดชูเกียรติคุณแก่เขา  ส่วนตำแหน่งเดิมยังคอยเขาอยู่ สามปีไม่กลับมาจึงจะถือว่าพ้นจากสถานภาพ ทรัพย์สินไร่นาที่ปูนบำเหน็จไว้ จึงค่อยถอนกลับเข้ากองคลัง " นำส่ง  ยกย่อง  รอคอย" เรียกว่าจริยะประเพณีสามประการ และนั่นก็คือ เห็นขุนนางดั่งแขนขาในตัวตนของประมุข ขุนนางจะไม่รำลึกพระคุณ ไม่ไว้ทุกข์ให้ประมุขสามเดือนได้หรือ  แต่บัดนี้ ขุนนางทัดทาน ประมุขไม่เชื่อคำเสนอแนะ ไม่ทำตาม อีกทั้งพระมหากรุณาฯ ก็ไม่ปรากฏแก่พสกนิกร เมื่อขุนนางมีเหตุจำเป็นจะต้องจากไป ประมุขกลับจะจับกุมขัดขวาง ตัดโอกาส ทำลายความเชื่อถือแก่ตำแหน่งแห่งใหม่ ทันที ที่จะจากไป ก็จะยึดทรัพย์ที่บำเหน็จไว้ ดังนี้คือ ปฏิบัติต่อกันดั่งศัตรู เมื่อความรู้สึกเป็นสัตรูต่อกัน จะยังมีแก่ใจไ้ว้ทุกข์ถวายให้อีกหรือ"         

Tags: