collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ศึกษาสูตรของเว่ยหล่าง ภาคสมบูรณ์ : คำนำ  (อ่าน 44043 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        ร่างกายของเราล้วนเป็นของเทียมแท้ เพราะไม่มีใครบังคับหรือกำหนดให้มั่นคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้เลย เพราะเหตุนี้จึงกำหนดว่าเป็น "ของปลอม" แต่เพราะคนติดอยู่กับของปลอมจึงเห็นเป็น "ของจริง" ยึดมั่นไม่วางลงไป จิตใจของคนเหล่านั้นจึงสับสนกระวนกระวายเมื่อเกิดอาการเปลี่ยนแปลง พระพุทธองค์ทรงค้นพบว่าภายในกายปลอมนี้มีของจริงอันเป็นสัจธรรมไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยคือ "ธรรมญาณ"  เพราะฉะนั้นจึงสามารถเวียนว่ายอาศัยอยู่ตามรูปลักษณ์แตกต่างไปตามกรรมที่ตนเองปรุงแต่งเอาไว้ ภายใน "ธรรมญาณ" นั้นเองมีพระพุทธะอยู่และมี "มาร" จับจ้องสำแดงเดชอยู่ตลอดเวลาหาก ปัญญา เกิดไม่ทัน มาร ก็เอาธรรมญาณไปครองเสีย ถ้าความเห็นผิด วิถีแห่งการบำเพ็ญปฏิบัติก็ย่อมผิดแผกแตกต่างไปจาก "สัจธรรม" และพ้นไปจากหนทางของพระพุทธะแต่กลับเข้าสู่เส้นทาง มาร โดยตนเองหารู้ตัวไม่ เพราะเหตุนี้ "ความรู้แจ้ง" ในปัญญาของตนเองจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อป้องกัน มาร นั่นเอง
      พระภิกษุจื้อทง เห็นแจ้งในปัญญาแห่งธรรมญาณในขณะนั้นเอง จึงได้กล่าวโฉลก แด่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงว่า "แน่นอนเหลือเกิน กายทั้งสามมีอยู่ในธรรมญาณ เมื่อใจเรารู้ธรรมสว่างไสว ปัญญาทั้งสี่ก็ปรากฏเด่นอยู่ในนั้น เมื่อใด กาย และ ปัญญาเหล่านั้น เกิดความรู้แจ้งซึ่งกันและกันว่าเป็นของอันเดียวกันแล้ว เมื่อนั้นเราก็สามารถตอบสนองคำขอร้องของสัตว์ทั้งปวง โดยเหมาะสมแก่อุปนิสัยและอารมณ์ของสัตว์นั้น ไม่ว่าสัตว์นั้นจะอยู่ในรูปร่างชนิดใด  การเริ่มต้นปฏิบัติ ด้วยการแสวงหากายทั้งสามและปัญญาทั้งสี่ นั้นเป็นการถือเอาทางผิดโดยสิ้นเชิง การพยายามจะ "จับฉวย" หรือ " กุมตัว " สิ่งเหล่านี้เป็นการกระทำที่ขัดขวางต่อธรรมชาติแท้ของมันอย่างตรงกันข้าม เพราะอาศัยใต้เท้าแหละขอรับ บัดนี้กระผมจึงสามารถจับใจความอันลึกซึ้งของมันได้ และตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป กระผมสามารถสลัดทิ้งความเท็จเทียมและชื่อต่าง ๆ ที่หลงตั้งขึ้นเรียกตามโมหะของตน ตลอดนิจกาล" ความหมายแห่งโฉลกนี้ได้ยืนยันชัดเจนว่า ธรรมกาย  สัมโภคกาย  และนิรมานกาย  ตลอดจนปัญญาทั้งสี่ ล้วนสถิตอยู่ในธรรมญาณเหมือนกัน แต่คนทั่วไปมักคิดว่าเป็นของคนละอย่างเพราะฉะนั้นจึงสำแดงอาการผิดแผกไปจากธรรมดาสามัญโดยจับฉวยเอาอย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นรูปลักษณ์ของตนเอง บางคนอาศัยอำนาจจิตสร้างอิทธิฤทธิ์ บางคนแต่งกายผิดไปจากกลุ่มชนเพื่อสำแดงให้เห็นว่าตนเองสูงส่งกว่าชนทั้งหลาย และผู้ปฏิบัติเช่นนี้ล้วนแยกตนเองไปจากคนทั้งปวง แลเห็นผู้อื่นต่ำกว่าตนเอง เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปกล่าวถึงว่า เขาจะเห็นสรรพสัตว์ทั้งปวงเสมอกันด้วย "ธรรมญาณ" เหมือนมนุษย์เพียงแต่เหตุปัจจัยแตกต่างกัน อาการสำแดงออกจึงไม่เหมือนกัน แต่ความรับรู้เหมือนกัน
    สมัยหนึ่ง ผู้เขียน ได้จ้างให้แม่ค้าคนหนึ่งไปหา รังมดลี่ ซึ่งเป็นมดสีน้ำตาลปนดำชอบคาบดินขึ้นไปทำรังบนต้นไม้ แม่ค้า จัดแจงเอารังมดลี่มาวางไว้หน้าบ้าน มดเหล่านั้นออกจากรังขึ้นบ้านผู้เขียนเต็มไปหมด "แล้วเอารังมดมาทำไมกัน" "เอามาทำยารักษาโรคหืดหอบดีนักแล" "รักษาอย่างไรหรือ" "เอาแต่ดินนั้นมาต้มน้ำจนเดือดและปล่อยให้เย็นลงจนรังมดนอนก้น รินแต่น้ำ และดื่มสามเวลาหลังอาหาร ดื่มเพียงห้ารัง ๆ หนึ่งต้มสามเวลา เช้า กลางวัน และเย็น รับรองว่าหายแล" "เสร็จแล้วต้องทำอะไรอีกมั้ย" "กรุณาถวายสังฆทานเจอุทิศส่วนกุศลให้มดเหล่านั้น" ผู้เขียนกลับมาบ้าน มดขึ้นเต็มบ้าน จึงยืนที่ประตูบ้าน ทำจิตให้สงบและบอกกับมดทั้งหลายว่า "วันนี้ได้เบียดเบียนรังของเธอทั้งหลาย แต่ได้นำเอาไปทำยาสร้างเป็นบุญกุศลขออุทิศส่วนกุศลครั้งนี้แก่เธอทั้งหลาย จงอย่าเบียดเบียนเราเลย จงไปพ้นจากบ้านของเราเถิด" ชั่วเวลาไม่ถึงห้านาที  มดที่ขึ้นอยู่เต็มบ้านต่างเดินพาเหรดลงดินไปจนสิ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ธรรมชาติเดิมแท้ของมดเหล่านี้คือ ธรรมญาณอย่างเดียวกับมนุษย์ จึงรับรู้ได้เช่นเดียวกัน
    เมื่อทุกสิ่งอย่างมีอยู่ในธรรมญาณ ไม่ว่าเป็นนรก - สวรรค์ ความหลุดพ้น มิอาจไปค้นหาจากที่อื่นได้เลย เกาะกุม จับฉวยก็มิได้ เพราะไร้รูปลักษณ์ ล้วนเป็นวิธีที่ผิดทั้งสิ้น ที่ถูกต้องพิจารณาให้เห็นเป็นสัจธรรมว่า ในสรรพสิ่งล้วนมีภาวะเช่นเดียวกันคือ "ในเท็จ" มี "จริง" และใน "จริง" ก็ยังมี "เท็จ" แอบแฝงอยู่ ตราบใดที่ยังค้นไม่พบ "ธรรมญาณ" ย่อมตกอยู่ในภาวะยึด "เท็จ" เป็น "จริง" เยี่ยงนี้แล

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

      ในทางวิทยาศาสตร์มีการค้นพบทฤษฏีใหม่ ๆ หลายอย่างและต่างเห็นเป็นเรื่องแปกใหม่ แม้แต่ค้นพบชามกระเบื้องฝังอยู่ใต้ดินนับเป็นพัน ๆ ปี ต่างก็ฮือฮาตื่นเต้นเพราะเห็นเป็นเรื่องแปลกประหลาดที่คนสมัยโบราณนับพันปีมีความสามารถสร้างเครื่องปั้นดินเผามีคุณภาพด้ได้ ความแปลกจึงอยู่ที่คาดไม่ถึง แต่สิ่งที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่สุดก็คือ "ธรรมญาณ" ของตนเอง อยู่กับเรามาเป็นแสน ๆ ปี ถือว่าคุ้นเคยกันที่สุด เก่าที่สุด ครั้นค้นพบกลับแปลกประหลาดนักภิกษุจื้อฉัง เป็นชาวบ้านตำบลกุ้ยกูแห่งซิ้นโจว เข้ามาบวชตั้งแต่เยาว์วัย และมีความเพียรเพื่อให้เห็น ธรรมญาณ วันนี้ภิกษุรูปนี้จึงมานมัสการพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงซึ่งถามว่า "ท่านมาแต่ไหนและมาทำไม" "เมื่อไม่นานมานี้ กระผมได้ไปที่ภูเขาผาขาวในเขตโหงโจว เพื่อสนทนากับพระอาจารย์ต้าทง ผู้ที่สามารถสอนผมได้เห็นแจ้งในธรรมญาณและลุถึงพุทธภาวะ แต่เพราะเหตุที่กระผมยังคงสงสัยอยู่หลายประการ จึงเดินทางไกลมาถึงที่นี่เพื่อนมัสการท่านอาจารย์ ขอได้โปรดอธิบายข้อสงสัยเหล่านั้นแก่กระผมด้วยเถิด" "เขาแนะนำท่านว่าอย่างไรเล่า" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงถามต่อ หลังจากพักอยู่ที่นั่นจนถึงสามเดือนแล้วโดยมิได้รับคำแนะนำอย่างใดเลย และมีความกระหายในธรรมอย่างแรงกล้าขึ้นทุกที คืนวันหนึ่งภิกษุจื้อฉัง ลำพังผู้เดียวจึงเข้าไปในห้องของอาจารย์ต้าทงและถามท่าน "ท่านอาจารย์ขอรับ ธรรมญาณของผมคืออะไร"  "เธอมองเห็นความว่างอันไม่มีขอบเขตจำกัดไหม" พระอาจารย์ต้าทงถาม "มองเห็น" ภิกษุจื้อฉังตอบ  "ความว่างที่ว่านั้นมีรูปร่างเฉพาะของมันเองหรือไม่" "ความว่างย่อมไม่มีรูปร่างฉะนั้นจึงไม่มีรูปร่างโดยเฉพาะของมันเอง" "ธรรมญาณแท้ของเธอ เป็นเหมือนกับความว่างอย่างตรงเผ็งทีเดียวละ การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีสิ่งใดเลยที่เราอาจมองพบตัวมันนี่คือ ทิฏฐิอันถูกต้อง การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีสิ่งใดเลยที่เราอาจรู้จักมันให้ถูกต้องได้นี่แหละคือ ความรู้อันถูกต้อง การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า มันไม่ใช่เขียว มันไม่ใช่เหลือง มันไม่ใช่สั้น มันไม่ใช่ยาว ว่ามันเป็นของบริสุทธิ์อยู่โดยธรรมชาติ และว่าเนื้อแท้ของมันนั้น สมบูรณ์และสดใสนี่แหละคือการเห็นแจ้งธรรมญาณและลุถึงพุทธภาวะได้ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมะที่ทำให้คนเป็นพุทธะ พระอาจารย์ต้าทงอธิบายความ  พระภิกษุจื้อฉังจึงกราบเรียนพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงถึงความสงสัยนานาประการในคำสอนของพระอาจารย์ต้าทง "ขอให้ใต้เท้ากรุณาทำความแจ่มแจ้งให้แก่กระผมด้วยเถิดขอรับ" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้ให้เห็นความเป็นจริงถึงคำสอนของพระอาจารย์ต้าทงยังเป็นผู้มีความรู้สึกที่นึกเอาเองในเรื่องอันเกี่ยวกับ "ทิฏฐิ" และ "ความรู้" และอันนี้จึงส่อให้เห็นว่า ทำไมเขาจึงไม่สามารถทำความกระจ่างให้แก่ภิกษุจื้อฉังได้ จงฟังโฉลกต่อไปนี้ "การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีสิ่งใดเลยที่เราอาจมองพบตัวมันแต่แล้วก็ยังเก็บความรู้สึกว่า "ความไม่อาจจะมองเห็นได้" ไว้อีก ข้อนี้เปรียบเสมือนกับดวงอาทิตย์ ที่ถูกบังอยู่ด้วยเมฆที่ลอยมาขวางหน้า การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีสิ่งใดเลยที่เราอาจจะรู้จักมันได้แต่แล้วก็เก็บความรู้สึกว่า "ความที่ไม่อาจจะรู้ได้" ไว้อีก ข้อนี้เปรียบได้กับท้องฟ้าแจ่มกระจ่าง แต่เสียรูปไปเพราะสายฟ้าแลบ การปล่อยให้ความรู้สึกนึกเอาเองเช่นนี้เกิดขึ้นตามสบายในใจของท่าน ย่อมแสดงว่า ท่านไม่รู้จัก ธรรมญาณ อย่างถูกต้องด้วย ทั้งไม่มีเครื่องมืออะไร ที่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้ท่านรู้ได้ด้วย ถ้าท่านรู้อย่างแจ้งฉาน แม้เพียงขณะเดียวเท่านั้นว่า ความณุ้สึกที่นึกเอาเองเช่นนี้ เป็นของผิดใช้ไม่ได้แล้ว แสงสว่างภายในจิตของท่านเอง จะลุกโพลงออกมาอย่างถาวร คำสอนของพระอาจารย์ต้าทง เมื่อเทียบกับโฉลกของพระธรรมาจารย์ฮู่ยเหนิงย่องแตกต่างกันอย่างลิบลับ เพราะพระอาจารย์ต้าทงมิได้อธิบายถึง เหตุปัจจัยสำคัญของธรรมญาณ อันกล่าวได้ว่า เหนือเหตุเหนือปัจจัยใด ๆ เพราะโดยธรรมชาติแท้จริงของ "ธรรมญาณ" ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้เหตุปัจจัยทั้งปวง เพราะเหตุนี้จึงอยู่เหนือการเดาหรือกำหนดหมายเอาเอง เมื่อฟังคำสอนของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ภิกษุจื้อฉัง ก็รู้สึกว่าใจของตนสว่างไสวในขณะนั้น จึงกล่าวออกมาเป็นโฉลกดังนี้.."การยอมให้ความรู้สึกว่า ""ความไม่อาจจะมองเห็นได้ "" และ ""ความที่ไม่อาจจะรู้ได้ "" เกิดขึ้นในใจตามความพอใจของตัวนั้นเป็นการแสวงหาโพธิโดยไม่ต้องเปลื้องตัวเองให้อิสระจากความคิดต่าง ๆ ที่ตนเดาเอาเองในเรื่องเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวงผู้ที่ผยองพองตัวด้วยความรู้สึกอันเบาเต็งว่า "บัดนี้เรารู้แจ้งแล้ว" นั้นก็ยังไม่ดีไปกว่าเมื่อเขายังไม่รู้สึกอะไรเลย ถ้าหากข้าพเจ้าไม่ได้มาหมอบอยู่แทบเท้าของพระธรรมาจารย์ ข้าพเจ้าก็ยังคงงงงัน ไม่รู้ว่าจะเดินทางไหนถูกอยู่นั่นเอง เพราะเหตุนี้ยิ่งเห็นความแปลกเกิดขึ้นก็ยิ่งห่างไกลต่อ ธรรมญาณ ของตนเองนั่นแล

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

     ครั้งหนึ่งมีเศรษฐีผู้ปฏิบัติธรรมด้วยการทำตัวประหนึ่งยาจกเข็ญใจเพราะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าราคาถูก เครื่องถนิมพิมพาภรณ์ไม่มีติดกายเลยแม้แต่ชิ้นเดียว และเธอภูมิใจนักกับวัตรปฏิบัติแห่งตน ครั้งนั้นยังมีชาวต่างชาติเธอเดินทางมาจากแดนไกลเข้าร่วมปฏิบัติธรรม แต่เธอไม่ทำตัวเยี่ยงยาจกกลับใส่สร้อยคอและข้อมือทองคำ "นี่หรือผู้ปฏิบัติธรรมยังรักสวยรักงามวางไม่ลง" เศรษฐียาจกเที่ยวติฉินนินทาจนเลื่องลือไปทั่วสถานธรรมและใคร ๆ ก้พากันเห็นดีเห็นงามตามคำตำหนิติฉินนั้น ดูถูกดูแคลนนักปฏิบัติธรรมจากแดนไกลมิใช่ผู้ที่สามารถบรรลุธรรมได้ เพราะเครื่องร้อยรัดอย่างนี้ยังวางไม่ลงเลย พระอาจารย์จี้กงจึงเรียกเศรษฐียาจกมาคุยด้วย "เธอคิดว่าการวางสร้อยคอและข้อมือเป็นเรื่องยากใช่ไหม ถ้าวันนี้อาจารย์จะใช้ให้เธอทิ้งกิจการ ลูก พ่อแม่ เดินทางไปปฏิบัติธรรมยังประเทศเขมร เจ้าจะไปได้หรือไม่" คำสอนของพระอาจารย์จี้กงนี้เพียงเพื่อชี้ให้เห็นว่า การวางเครื่องร้อยรัดนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่การวางหรือปล่อยเครื่องผูกมัดจิตใจล้วนเป็นเรื่องยากยิ่งนัก เพราะจิตใจที่ยึดเหนี่ยวแสนเหนียวแน่นยิ่งกว่าการผูกมัดด้วยเส้นเชือกใด ๆ  วันหนึ่งพระภิกษุจื้อถัง ได้เรียนถามพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงเกี่ยวกับ พระพุทธองค์ได้ประก่ศคำสอนเรื่อง "ยานสามชนิด" และเรื่อง "ยานสูงสุด" ไว้ด้วย "แต่กระผมไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้ขอความกรุณา ใต้เท้าช่วยอธิบายด้วยเถิด"  "ในการพยายามเพื่อเข้าใจเรื่องเหล่านี้ ท่านควรจะส่องดูที่ใจของท่านเองและทำตัวต่อสิ่งทั้งปวงภายนอกอย่างมีอิสระ ความแตกต่างระหว่างยานสี่ชนิด มิได้อยู่ที่ตัวธรรมะ แต่อยู่ที่ความแตกต่างของใจคนที่จะปฏิบัติธรรมะ" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบและอธิบายถึงยานทั้งสี่ต่อไป "การดู การฟัง การท่องพระสูตร  เป็นยานขนาดเล็ก  การรู้ธรรมและเข้าถึงความหมาย เป็นยานขนาดกลาง  การเอาธรรมะที่รู้นั้นมาปฏิบัติจนเป็นปกตินิสัยนี่คือยานขนาดใหญ่ การเข้าใจธรรมทั้งปวงอย่างปรุโปร่งได้ดื่มรสพระธรรมนั้นอย่างสมบูรณ์เป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง มีใจอยู่เหนือสิ่งทั้งปวง และไม่ถืออะไรไว้โดยความเป็นของตน นี่แหละคือยานอันสูงสุด ความหมายที่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้อธิบายถึงยานต่าง ๆ นั้นเป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่ายานขนาดเล็กเป็นเรื่องเฉพาะตัวและไม่อาจพาตนเองให้พ้นไปจากการเวียนว่ายได้เลย เพราะการฟัง การอ่าน หรือแม้แต่การท่องพระสูตรย่อมพาให้จิตหลงวนเวียนพ้นไปจากหนทางแห่งพุทธธรรมได้ง่ายนัก บางคนท่องพระสูตรด้วยเห็นเป็นความศักดิ์สิทธิ์จนกลายมาเป็นมนต์คาถาและใช้ปลุกเศก เพื่อหวังผลสำเร็จ แท้ที่จริงยิ่งกลายเป็นความมืดมิดหลงไปในวังวนแห่งการเวียนว่ายไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ท่องไม่รู้ความหมายแห่งพระสูตรเหล่านั้น จึงไม่อาจเกิดปัญญาของตนเองได้เลย ส่วนผู้ที่รู้ความหมายแห่งพระธรรมและเข้าถึงความหมายนั้นก็ยังเป็นเพียงผู้ปฏิบัติระดับกลาง เพราะมีแต่ความรู้ แต่หาได้ปฏิบัติให้เป็นจริงได้ไม่ คนเหล่านี้ยังอยู่ในระหว่างกึ่งกลางแห่งความหลงและรู้แจ้ง ถ้าติดในความรู้และความหมายยังคงมีโอกาสหลงวนเวียนได้เพราะยังมิได้ปฏิบัติให้เกิดผลจริง ๆ
    สำหรับผู้ที่เอาธรรมะนั้นมาปฏิบัติจนกลายเป็นปกตินิสัยย่อมจัดว่าเป็นยานระดับใหญ่ เพราะยังให้คนทั้งหลายได้เกิดศรัทธาปสาทะปฏิบัติตามได้ ส่วนยานอันสูงสุดนั้นย่อมพ้นไปจาก "ความดี" และ "ความชั่ว" ปล่อยวางได้ทั้งหมดจนเห็นแต่ "ธรรมญาณ" ของตนเท่านั้น พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงอธิบายต่อไป "เนื่องจากคำว่า "ยาน" หมายถึง "เครื่องเคลื่อน" ดังนั้นข้อโต้แย้งในเรื่องเหล่านี้จึงไม่มีความจำเปผ็นเสียเลย ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการฝึกฝนตนเอง ดังนั้นท่านจึงไม่จำเป็นต้องถามปัญหาใด ๆ อีกเลย แต่ฉันขอเตือนให้ท่านระลึกไว้ว่า ตลอดทุกกาลเวลา ธรรมญาณ แท้ยังคงดำรงอยู่ในภาวะแห่ง "ความเป็นเช่นนั้น" อยู่เสมอ เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่า "ยาน" คือการน้อมนำเข้ามาปฏิบัติจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัว และเป็นจิตใจของแต่ละคน เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าเป็นปัญหาที่ต้องโต้แย้งว่า วิธีของใครถูกต้องตรงแท้ ผู้ปฏิบัติธรรมที่ยังคงเคร่งครัดอยู่กับการสวดมนต์ภาวนา แม้เอาพระสูตรไปอธิบายให้เ้ข้าใจความหมายอย่างไร จิตใจของคนผู้นั้นย่อมไม่เปิดรับเป็นแน่นอน ดังนั้นความหมายแห่งพระสูตร จึงไม่ "เข้าใจ" เพียงแต่ "เข้าหู" คนที่ขยันสวดมนต์ ใจจึงไม่อาจเปิดกว้างได้เพราะเชื่อเสียแล้วว่ามนต์ศักดิ์สิทธิ์ในตัวของมันเอง แต่มิได้รู้ว่าความศักดิ์สิทธิ์แท้จริงอยู่ที่ จิตของแต่ละคนต่างหาก ความเชื่อเหล่านี้จึงปล่อยวางความติดยึดไม่ลง เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้จึงมิได้อะไรเพิ่มเติม แม้เขาจะท่องพระสูตรไปชั่วกัปป์กัลป์ แต่ถ้าเขาปล่อยวางมากเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งได้ความลึกซึ้งละเอียดอ่อนของความหมายแห่งพระสูตรนั้น ๆ  พระภิกษุจื้อฉังแสดงความเคารพพระธรรมาจารย์ จากนั้นจึงเป็นผู้ปรนนิบัติพระธรรมาจารย์ตลอดพระชนม์ชีพของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

      การศึกษาและปฏิบัติธรรมหากยังก้าวไม่พ้นเขตแห่งความสงสัยในธรรมทั้งปวงแล้ว ความสับสนย่อมบังเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ความเป็นมาและความเป็นไปแห่งกายหยาบที่มองเห็นด้วยนัยตาเนื้อย่อมไม่สร้างความสงสัยให้เกิดขึ้น เพราะรู้อยู่ว่ามีต้นกำเนิดมาจาก พ่อแม่ และสิ้นสุดลงด้วยการแตกกายทำลายขันธ์กลายเป็นธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ กายเนื้อไม่มีใครสามารถบังคับมิให้เปลี่ยนแปลงเสื่อมสลายได้เลย "และอะไรเล่าที่ผู้คนสงสัยจนสับสนในต้นกำเนิด" "ธรรมญาณอันเป็นตัวตนที่แท้จริง ไม่มีวันเสื่อมสลายแตกดับนี่เอง" ความสงสัยเช่นนี้จึงก่อให้เกิดความสับสนจนมีผู้เชื่อถือว่า ไม่มีธรรมญาณตากแล้วดับสูญ หรือบางเหล่าก็เชื่อว่าตายแล้วไม่สูญสลายหายไป ความเชื่อทั้งสองประการนี้ถือเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือเป็นความรู้ที่ผิดโดยสิ้นเชิง  ภิกษุจื้อเต้า เป็นชาวเมืองหนันไห่แห่งกวางโจว ได้มาหาพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงเพื่อขอคำแนะนำตักเตือนโดยกล่าวแก่พระธรรมาจารย์ "นับแต่กระผมได้บวชมานี้ กระผมได้อ่านมหาปรินิรวาณสูตรมากว่า 10 ปีแล้ว แต่กระผมก็ยังไม่สามารถจับฉวยเอาใจความสำคัญของสูตรนั้นได้ ขอให้ใต้เท้ากรุณาสอนด้วยเถิด" "สูตรตอนไหนเล่าที่ท่านยบังไม่เข้าใจ" พระธรรมาจารย์ถามไถ่ "ข้อความในพระสูตรตอนที่กระผมไม่เข้าใจนั้นมีว่า สิ่งทุกสิ่งไม่คงอยู่ถาวร ดังนั้นสิ่งทั้งปวงจึงตกอยู่ใต้อำนาจของธรรมที่เป็นความเกิดขึ้นและความแตกดับ เมื่อความเกิดขึ้นและความแตกดับมาสิ้นสุดลงด้วยกัน ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลง ย่อมปรากฏขึ้น"  "อะไรเล่าที่ทำให้ท่านยังสงสัย" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงถาม"สิ่งมีชีวิตทั้งปวงย่อมมีกายสองกาย กล่าวคือ กายเนื้อและกายธรรม  กานเนื้อไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร มันมีอยู่และตายไป ส่วนกายธรรมนั้นตั้งอยู่อย่างถาวร ไม่รู้อะไร ไม่มีความรู้สึกอะไร ทีนี้ในพระสูตรกล่าวว่า "เมื่อความเกิดขึ้น และความแตกดับมาสิ้นสุดลงด้วยกัน ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์และความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลงย่อมปรากฏขึ้นมา" ดังนั้น กระผมไม่เข้าใจได้เลยว่ากายไหนสิ้นสุดลงและกายไหนยังอยู่ เพื่อดื่มรสแห่งศานติสุขนั้น มันเป็นไปไม่ได้ที่กายเนื้อจะดื่มรสแห่งศานติ เพราะว่าเมื่อมันตาย มหาภูตะทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ จะกระจัดกระจายจากกันและการกระจัดกระจายนั้นเป็นความทุกข์ล้วน ๆ และตรงกันข้ามจากศานติสุขโดยสิ้นเชิง ถ้าหากว่าเป็นธรรมกายที่สิ้นสุดลงไป แล้วมันจะตกอยู่ในลักษณะเช่นเดียวกันกับสิ่งที่มิใช่สัตว์ซึ่งได้แก่ ผักหญ้า ต้นไม้ ก้อนหิน และอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ใครเล่าจะเป้นผู้ดื่มรสแห่งศานตินั้น" ความหมายแห่งคำถามนี้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจผิดว่า ธรรมญาณนั้นไม่มีเมื่อสิ้นสุดลงจึงกลายเป็น ดับสูญหมดไป อันเป็นความเห็นที่สุดโต่งไปอีกข้างหนึ่งนั่นเอง ภิกษุจื้อเต้า แสดงข้อกังขาของตนต่อพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงต่อไป "ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สภาวะธรรมดา ย่อมเป็นหัวใจหรือตัวการของความเกิดขึ้นหรือความแตกดับ อันแสดงตัวออกมาในรูปของขันธ์ทั้งห้าอันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือจะกล่าวกันอย่างง่าย ๆ ก็คือมีตัวการแต่ตัวเดียว แต่อาการของมันมีถึงห้าอย่างนั่นเอง กระแสแห่งการเกิดขึ้นและการแตกดับนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่ออาการหรือการทำตามหน้าที่ยัง "มีออกมา" จากตัวการนั้นแล้ว กระแสนั้นมีไหลไปเรื่อย ๆ เมื่อการปฏิบัติงานหรืออาการนั้นถูกดูด กลับคืนไปยังตัวการกระแสก็หยุดไหล เมื่อการถือกำเนิดใหม่ยังมีอยู่เพียงใดก็ย่อมไม่มี "การสิ้นสุดแห่งการเปลี่ยนแปลง" อยู่เพียงนั้น ดังจะเห็นได้ในกรณีของสัตว์มีชีวิตทั่วไป ถ้าการถือกำเนิดใหม่ไม่เข้ามาแทรกแซงแล้ว สิ่งต่าง ๆ ก็จะอยู่ในสภาพของสิ่งที่ไร้ชีวิตดังเช่นวัตถุต่าง ๆ ที่ไม่มีชีวิตทั้งหลาย เมื่อเป็นดังนี้แล้ว ภายในขอบเขตอันจำกัดเฉียบขาดของนิพพานนั้น ย่อมมีไม่ได้แม้แต่ความมีอยู่ของสัตว์ เช่นนี้แล้ว จะมีความปรีดิ์เปรมอะไรได้เล่า" ความสงสัยข้อนี้ตกอยู่ในความเชื่อที่ว่า สรรพสิ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาหามีการดับสูญไม่ เพราะฉะนั้นภายใต้การเกิดย่อมปราศจากนิพพาน อันเป็นความเชื่อสุดโต่งอีกด้านหนึ่งแลเป็นความเชื่อที่ผิด พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบข้อสงสัยนี้อย่างแยบยลโดยกล่าวถึงความเห็นทั้งสองประการล้วนเป็นความเห็นผิดแห่งสัสตทิฎฐิและอุจเฉททิฎฐิของพวกนอกศาสนาพุทธและเป็นการตำหนิคำสอนของลัทธิอุตตรยานคือยานอันสูงสุด "ข้อแย้งของท่านยืนยันว่า มีกายธรรมอยู่ต่างหากจากายเนื้อและว่า "ความหยุดได้สมบูรณ์" และ "ความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลง"นั้น ต้องแสวงหาจากที่อื่นนอกจากไป "ความเกิดขึ้นและความแตกดับ" ยิ่งกว่านั้นจากข้อที่กล่าวว่า "นิพพานเป็นความปรีดิ์เปรมไม่มีที่สิ้นสุด" นั่นเอง ท่านเชื่อโดยการพิสูจน์เอาว่า ต้องมีใครคนใดคนหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นผู้เปรมปรีดิ์"  ความเห็นผิดเหล่านี้เอง มิใช่อื่น ที่ทำให้คนทั้งปวงทะเยอทะยานอาจเกิดเป็นสัตว์ชนิดที่มีอวัยวะรู้รสอารมณ์ และปรนปรือตัวเองด้วยความเพลินอย่างวิสัยโลก และเพื่อคนเหล่านี้ซึ่งเป็นเหยื่อของอวิชชา ซึ่งถือว่าการประชุมของขันธ์ห้าเป็น ตัวตน และถือสิ่งนอกนั้นว่ามิใช่ตัวคนจึงหลงรักการเกิดของตัวและชิงชังความตายอย่างสุดจิตสุดใจ จึงลอยไปมาอยู่ในวังวนของความเกิดและความตาย โดยไม่มีการสำนึกถึงความว่างกลวงไร้แก่นสารของโลกียภพ ซึ่งเป็นความเพียรแห่งความฝันของมายาจึงทำให้เกิดความทุกข์แก่ตัวโดยไม่จำเป็นด้วยการพ่วงตัวเองเข้ากับสังสารวัฎแห่งการเวียนเกิดอันเป็นความเข้าใจผิดต่อภาวะแห่งความเปรมปรีดิ์ ไม่มีที่สิ้นสุดของนิพพาน และตกอยู่ในฐานะเป็นความทุกข์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งเล่นตามหาความเพลิดเพลินจากอารมณ์อยู่เนืองนิจ ด้วยเหตุนี้เองพระพุทธองค์ผู้ทรงมหากรุณาจึงแสดงศานติอันแท้จริงของนิพพานไว้ให้นั้นเอง" หากขจัดความสับสนนี้ได้ ความสงสัยในด้านกำเนิดของ "ธรรมญาณ" จึงหมดไป

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

     สรรพชีวิตในโลกนี้เมื่อมีการเกิดย่อมมีการดับเป็นธรรมดา และที่น่าสังเกตุชีวิตใดที่เกิดไวย่อมดับไว ตัวอย่างเช่น ยุงวงจรการเกิด - ดัับ สั้นยิ่งนัก  ยุงจะเกิดเร็วและตายเร็ว  แต่สภาวะการเกิดของจิตรวดเร็วจนกระทั่งเราจับไม่ทันการเกิด - ดับ นั้น  เพราะฉะนั้นปุถุชนหลงยึดถือจิตของตนเองเป็น อัตตาตัวตนจึงนำความทุกข์มาให้ไม่สิ้นสุด "ทำไมถึงอยากไปนิพพานกันนัก"  "เชื่อกันว่า  นิพพาน ไม่มีเกิดและไม่มีดับมิใช่หรือ"  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึง นิพพานไว้ดังนี้  "ไม่ว่าเป็นขณะใด นิพพานย่อมไม่มีปรากฏการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงหรือแห่งการเกิดดับ ไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้นและความแตกดับ นิพพานเป็นการแสดงออกของ "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์และความสิ้นสุดของควงามเปลี่ยนแปลง"  แต่แม้ในขณะแห่งการแสดงออกนั้นก็ไม่มี "ความเห็น" ว่าเป็นการแสดงออก ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า "ความเปรมปรีดิ์อันไม่รู้จักหมดสิ้น" ซึ่งไม่ต้องมีตัวผู้เปรมปรีดิ์หรือผู้ไม่เปรมปรีดิ์แต่อย่างใด"  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงไได้กล่าวโศลกเพื่อชี้ให้เห็นถึงนิพพาน "มหาปรินิพพานอันสูงสุดนั้น เป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยม ถาวร  สงบ และรุ่งเรืองสว่างไสว  คนสามัญและคนเขลา หลงเรียกนิพพานนั้นว่า ความตาย  ฝ่ายพวกมิจฉาทิฎฐิก็ถือเอาตามใจชอบว่า นิพพานนั้นเป็นความขาดสูญ  พวกที่เป็นฝ่ายสาวกยานและปัจเจกพุทธยาน  เห็นพระนิพพานว่าเป็นสิ่งที่ "ไม่มีการกระทำ"  ทั้งหมดนี้  เป็นเพียงชื่อต่าง ๆ ที่คิดเดาเอาเอง  ประดิษฐ์ขึ้นเอง ในขณะที่เขาไม่รู้จะทำอย่างไรต่อสัจธรรมอันสูงสุดนั้น  ความหมายแห่งโศลกตอนนี้ ชี้ให้เห็นถึงภูมิปัญญาของผู้ที่ยึดติดในอุปาทานที่ตนเองสร้างขึ้นมาต่อสิ่งที่ไม่รู้จัก  สัจธรรม และหลงยึดมั่นในสิ่งที่ตนเองสมมุติว่าเป็น  สัจจะ  เพราะเหตุนี้ นิพพานจึงติดอยู่แค่ริมฝีปากเท่านั้น
     พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงพวกที่มีใจสูงเหนือสิ่งทั้งหลายที่คนใจต่ำบัญญัติเอง "คนเหล่านี้อาจเข้าใจได้ถูกต้องว่า นิพพานนั้นคืออะไรกันแน่และวางตนไว้ในลักษณะที่เข้าพัวพันด้วยก็มิใช่ เฉยเมยก็มิใช่ทั้งสองอย่าง ท่านเหล่านั้นย่อมรู้ว่า ขันธ์ทั้งห้า และสิ่งที่เรียกกันว่า ตัวตน  อันเกิดขึ้นจากการประชุมพร้อมของขันธ์ทั้งห้านั้น รวมทั้งวุตถุและรูปธรรมภายนอกทุกชนิดและทั้งปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของศัพท์และสำเนียง ล้วนแต่เป็นของเทียม ดังเช่นความฝันและภาพมายา เสมอกันหมด  ท่านเหล่านั้นไม่เห็นว่ามีอะไรแตกต่างกัน ระหว่างพระมุนีกับคนธรรมดา หรือจะมีความคืดเดาเอาเองในเรื่องนิพพาน ก็หาไม่ ท่านเหล่านี้ย่อมอยู่เหนือ "การรับ" และ "การปฏิเสธ" และท่านเหล่านี้ทำลายเครื่องกีดขวางทั้งที่เป็น อดีต  ปัจจับัน  อนาคต  ท่านเหล่านี้ย่อมใช้อวัยวะเครื่องทำความรู้สึกของท่าน ในเมื่อมีเรื่องต้องใช้แต่ว่าความรู้สึกยึดถือใน "การใช้" นั้นมิได้เกิดขึ้นเลย แม้ขณะที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลกในที่สุดของกัลป์ เมื่อท้องมหาสมุทรแห้งไปหรือขณะที่ลมมหาประลัยพัดทำลายโลกจนภูเขาล้มชนกันระเกะ  ศานติสุขอันแท้จริงและยั้งยืนของ "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์"  และ "ความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง" แห่งนิพพานย่อมยังคงอยู่ในสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย" 
     พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวแก่ภิกษุจื้อเต้า  "นี่ฉันได้พยายามอธิบายแก่ท่าน ถึงสิ่งบางสิ่งที่เหลือที่จะพูดออกมาได้ เพื่อให้ท่านสามารถกำจัดความเห็นผิดของท่านเสีย แต่ถ้าท่านไม่ตีความแห่งคำพูดของฉันให้ตรงตามความหมายแล้ว ท่านอาจเรียนรู้ความหมายของนิพพาน แต่เพียงกะจิดริดนิดหนึ่งเท่านั้น "  ความหมายแห่งโศลกของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงย่อมชี้ให้เห็นเป็นสัจธรรมชัดเจนในธรรมญาณนั้นไม่อาจกำหนดความหมายใด ๆ ได้เลย และไม่มีการยึดมั่นถือมั่นในอายตนะหกประการ  ครั้งหนึ่งพระสองรูปเดินทางร่วมกันระหว่างทาง  พระอาวุโสช่วยอุ้มหญิงคนหนึ่งข้ามคลอง พระอ่อนพรรษาครุ่นคิดตลอดทั้งคืนว่าเป็นการกระทำผิดต่อพระวินัยอย่างร้ายแรง  " ทำไม ท่านจึงอุ้มสีกาไม่กลัวบาปกรรมรึไง" พระอ่อนอาวุโสปรารถตอนเช้า  " อ้าว  อาตมาวางนางตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว นี่ท่านยังอุ้มเอาไว้ทั้งคืนรึเนี่ย" อาวุโสตอบ  วงจรการเกิด - ดับ ของจิตนั้นรวดเร็วจนประมาณมิได้ เพราะฉะนั้นปุถุชนที่ยังไม่เข้าถึงธรรมญาณจึงเวียนว่ายอยู่ใน ทะเลทุกข์ไม่สิ้นสุด ด้วยยึดถือ "จิต" เอาไว้นั่นแล
 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

     ในหมู่ของผู้ปฏิบัติบำเพ็ญที่หลงทางไปจากสัจธรรม ล้วนลุ่มหลงงมงายอยู่กับ คุณธรรมวิเศษ  โดยเล็งที่ผลแห่งการบรรลุธรรม สามารถแสดงความวิเศษ ได้นานาชนิด อาการลุ่มหลงเช่นนี้มิได้มีแต่สมัยนี้ แม้ในอดีตกาลในสมัยพระพุทธองค์มีพระชนม์ชีพอยู่ก็ปรากฏความลุ่มหลงเช่นนี้ในหมู่ของปุถุชน  พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นหายนะภัยแห่งการบำเพ็ญธรรมด้วยความลุ่มหลงในอิทธิปาฏิหาริย์ จึงทรงบัญญัติข้อห้ามสำหรับพระภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกคือ การอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีตัวตน ซึ่งมีความหมายว่าหากตนไม่มีคุณธรรมวิเศษแล้วอวดย่อมต้องอาบัติปาราชิก ส่วนพระอรหันต์ย่อมแสดงคุณวิเศษที่มีในตนได้  แม้กระนั้นก็ยังเป็นความผิดเล็กน้อย ที่พระพุทธองค์ทรงตำหนิและห้ามมิให้แสดงโดยปฐมเหตุเกิดจากเศรษฐีผู้มีไม้แก่นจันทร์ได้แกะสลักเป็นบาตรและแขวนไว้กลางเวหา พร้อมทั้งประกาศให้พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์เหาะขึ้นไปเอาเอง เพราะเศรษฐีอยากเห็นพระอรหันต์ว่ามีฤทธิ์จริงหรือไม่  ในครั้งนั้นบรรดาผู้ปฏิบัติบำเพ็ญแบบหลงทางของลัทธิอื่นนิกายอื่นต่างก็ทำท่าทางว่าตนเองมีฤทธิ์แต่แสดงไม่ออกสักที พระเถระสององค์คือ  พระโมคคัลลานะ และ พระปิณโฑติกเถระผ่านไป   พระโมคคัลลานะเถระจึงนิมนต์ให้พระปิณโฑติกเถระแสดงฤทธิ์เหาะขึ้นไปเอาบาตรไม้จันทน์นั้น  การแสดงปาฏิหาริย์ในครั้งนั้นทำให้อื้ออึงเลื่องลือไปทั่วกรุงสาวัตถีจนความล่วงรู้ไปถึงพระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติข้อห้ามนี้เอาไว้ เหตุที่พระพุทธองค์ทรงห้ามการแสดงอุตรมนุสธรรมนั้นคงเล็งเห็นว่าอิทธิปาฏิหาริย์มิใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริงมีแต่ทำให้ปุถุชนลุ่มหลงมัวเมาไร้สาระ ยึดติดในสิ่งที่ไม่เป็นปัญญาอันแท้จริง  บัดนี้ผู้คนก็ยังคงลุ่มหลงในสิ่งที่ไร้สาระแก่ชีวิตมัวแต่วิ่งหาพระอรหันต์นอกกายกันวุ่นวายและเที่ยวตั้งองค์โน้นองค์นี้เป็นพระอรหันต์ ล้วนเป็นอรหันต์แห่งความงมงายลุ่มหลงทั้งสิ้น เพราะทั้งผู้ชี้แนะและอาจารย์ยังมิใช่อรหันต์  การบำเพ็ญธรรมที่แท้จริงพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ ปาฏิหาริย์แห่งคำพูดที่เปลี่ยนแปลงจิตใจของผู้อื่นจากกรรมชั่วให้มาประพฤติกรรมดี หรือชี้หนทางสว่างแห่งชีวิตพ้นไปจากอบายภูมิเช่นนี้จึงจะเป็นปาฏิหาริย์อันสูงสุดและอิทธิปาฏิหาริย์อันเลิศแท้ก็คือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตนเองจากการเวียนว่ายเข้าไปสู่กระแสของพระนิพพาน
     ในสมัยของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง มีอาจารย์องค์หนึ่งในนิกายเซ็นนามว่า พระภิกษุหังจื้อ  เกิดที่อันเฉิงแห่งจี๋โจว ในแซ่สกุลหลิว ได้ยินข่าวเล่าลือว่าคำสอนของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงยังให้ชนทั้งปวงมีความสว่างไสวในธรรม ท่านจึงตรงมาที่ตำบลเฉาซีทันที ทำความเคารพแล้วตั้งคำถาม  ผู้ปฏิบัติควรส่งจิตของตนพุ่งไปยังสิ่งใด อันจะทำให้การบรรลุธรรมของเขาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดด้วย "เครื่องวัดคุณวิเศษ" ตามที่คนทั่วไปเขารู้กัน  "ก็ท่านกำลังปฏิบัติอยู่อย่างไรเล่า" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงย้อนถาม  "แม้ธรรมคืออริยสัจทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ องค์สอนไว้ ข้าพเจ้าก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะเข้าไปแตะต้องด้วย" ภิกษุหังจื้อตอบ  "แล้วเดี๋ยวนี้ท่านอยู่ใน "ชั้นแห่งคุณวิเศษ" ชั้นไหนเล่า พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงถามต่อ  "จะมีชั้นคุณวิเศษ อะไรที่ไหนเล่าในเมื่อข้าพเจ้าปฏิเสธไม่เข้าเกี่ยวข้องด้วย แม้กับอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สอนไว้" ภิกษุหังจื้อตอบ  การโต้ตอบได้ทันควันเช่นนี้ทำให้พระธรรมาจารย์สรรเสริญและถึงกับตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะหนึ่งในนิกายเซ็น
     การสนทนาโต้ตอบในครั้งนี้มีลักษณะการสนทนาธรรมของผู้ที่เข้าใจแจ่มแจ้งใน ธรรมญาณ แห่งตนแล้ว เพราะฉะนั้นจึงฟังดูเหมือนกับถาม "ไปไหนมา" แต่กลับตอบ "สามวาสองศอก"  แต่ความเป็นจริงแห่งคำสนทนานี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นสัจธรรมแห่งการบำเพ็ญปฏิบัตินั้น มิได้มีความหวังในเรื่องของ  "คุุณธรรมอันวิเศษ"  แต่ประการใดเลย เพราะโดยสภาพแห่งธรรมญาณ แล้วเราต่างมีคุณวิเศษเสมอเหมือนกันหมด  คนธรรมดาปุถุชนกับพระอริยเจ้า ล้วนมีธรรมญาณเสมอเหมือนกัน โจรกลับใจจึงจะเป็นพุทธะ  พระภิกษุหังจื้อเข้าถึงธรรมญาณของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องสนใจศึกษาสัจธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย ด้วยเหตุที่เข้าใจภาวะเยี่ยงเดียวกับพระพุทธเจ้าทั้งปวงแล้ว สภาวะเช่นนี้จึงไม่จำเป็นต้องหาเครื่องวัดอะไรมาเป็นเครื่องบ่งชี้แต่ประการใดเลย มีแตาปุถุชนเท่านั้นที่วิ่งหา "เครื่องวัด" เพราะตนเองไม่รู้ถึงความตื้นลึกหนาบางอะไรเลย  วันหนึ่ง พระธรรมจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวแก่ภิกษุุหังจื้อ"ท่านควรไปประกาศธรรมในท้องถิ่นของท่านเอง เพื่อคำสอนนี้จักไม่ลับหายสิ้นสุดไป"  เพราะเหตุนี้ พระภิกษุหังจื้อ  จึงกลับไปยังภูเขาชิงเอวี๋ยน อันเป็นภูมิลำเนาของท่าน พระธรรมคำสอนแห่งนิกายเซ็นจึงถูกมอบหมายทอดช่วงและเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง และทำให้คำสอนนี้ได้ลงรากอย่างมั่นคง  เมื่อพระภิกษุหังจื้อมรณภาพแล้ว สาธุชนจึงพากันให้สมัญญาแก่ท่านว่า "หงจี้" ผู้เป็นอาจารย์แห่งนิกาย เซ็น องค์หนึ่ง  ผู้โง่งมที่วิ่งหาแต่ "คุณธรรมวิเศษ"  จึงเป็นผู้หลงวนเวียนอยู่แต่ความหลงในทะเลทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

     บรรดาที่ตั้งตัวเป็นอาจารย์ทางธรรมะของชนทั้งหลาย  มักหลงติดในอัตตาตัวตนของตนเองด้วยเหตุที่บรรดาศิษย์ทั้งปวงยกย่องป้อยอจนหลงลืมตน ผู้ปฏิบัติบำเพ็ญเหล่านี้จึงมิได้พบหนทางสายกลางอันแท้จริง เพราะกำลังหลงไหลได้ปลื้มต่อคำยกย่องสรรเสริญ  แลเห็นศิษย์ทั้งหลายเป็นสัตว์ผู้ยากที่ต้องโปรด  ด้วยเหตุดังนี้ทั้งศิษย์แลอาจารย์จึงพากันเดินทางหลงไปด้วยกัน  "ธรรมญาณ"  ที่ลงมาสู่โลกนี้ต่างมาจากที่เดียวกัน  แต่เพราะความไม่รู้ที่เวียนว่ายเสียหลายร้อยเที่ยวจนลืมเลือนศักยภาพของตนเองเสียสิ้นจึงพากันหลงในศักยภาพของผู้อื่น  และใครมีศักยภาพมากกว่าคนอื่นก้ยกตนเองขึ้นเหนือกว่าเพื่อให้คนอื่นกราบไหว้บูชาและเชื่อฟังทุกสิ่งอย่างขัดแย้งมิได้  ผู้ปฏิบัติบำเพ็ญเช่นนี้จึงไม่รู้รากเหง้าที่แท้จริงของตนเองและผู้อื่น  สมัยหนึ่งพระภิกษุนามว่า  ไฮว๋ยั้ง   เป็นอาจารย์ในนิกายเซ็นองค์หนึ่ง  เกิดในตระกูลเต๋า  ในจินโจว  เมื่อไปเยี่ยมท่านอั่นกั๋วซื่อ แห่งภูเขาซงซัน ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำเมือง  ก็ถูกท่านผู้นี้บังคับให้รีบไปที่ตำบลเฉาซี   เพื่อสนทนาธรรมกับพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง  ครั้นมาถึงได้ทำความเคารพตามธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงถาม  "ท่านมาจากไหน" "มาจากซงซัน"  "สิ่งที่มานั้นเป็นอะไร มาได้อย่างไร" พระธรรมาจารญ์ย้อนถามอีก "จะว่ามันเหมือนกับอะไร ก็เป็นการผิดทั้งนัี้น" พระภิกษุไฮว๋ยั้งตอบ "เป็นสิ่งที่ลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติตนหรือ""มิใช่เป็นการสุดวิสัยที่จะลุถึงได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตน  แต่ว่าเป็นการสุดวิสัยจริง ๆ ที่จำทำสิ่งนี้ให้เศร้าหมองมีมลทิน" คำถามและคำตอบระหว่างพระธรรมาจารย์และพระภิกษุไฮว๋ยั้งดูเหมือนว่าจะเป็นคนละเรื่อง  แต่ถ้าผู้ที่เข้าใจในอนุตตรธรรมก็จะเข้าใจว่าเป็นคำถามและคำตอบที่ตรงต่อหลัดสัจธรรมอันแท้จริง  "ธรรมญาณ" เป็นเหมือนมาจากต่างดาวเพราะฉะนั้นจึงไม่อาจเอาสรรพสิ่งรวมทั้งภาษาในโลกนี้มาเปรียบเทียบหรือบอกกล่าวได้เลยว่าเหมือนอะไร  คุณสมบัติของสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนถูกครอบงำด้วยกระแสของโลกมันแปรเปลี่ยนไปได้ตามกาลเวลาหรือสิ่งแวดล้อม  แต่ธรรมญาณมิได้เป็นเช่นนั้นพ้นไปจากอิทธิพลใด ๆ ที่จะทำลายเสริมสร้างให้ผอดแผกไปจากเดิมได้เพราะเหตุนี้จึงไม่อาจบอกได้ว่า "ธรรมญาณ" เหมือนอะไร  "ภาษาธรรมและภาษาคนจึงแตกต่างกันตรงนี้"  ภาษาคนสามารถเทียบเคียงเปรียบเทียบได้ทุกอย่าง เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายของโลก  แต่ภาษาธรรม  เป็นเรื่องนอกโลกเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง แต่ที่มันประหลาดสุด -สุดก็คือ  มีอยู่เต็มพร้อมแล้วในธรรมญาณของเราเอง  แต่กลับพูดไม่ออกบอกไม่ถูก  เพราะเหตุนี้การบรรลุธรรมจึงมิได้อยู่ที่การฝึกฝนปฏิบัติตัวเอง  ซึ่งความหมายแห่งคำตอบนี้ ต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่า การบำเพ็ญกายแต่เพียงสถานเดียวไม่อาจบรรลุธรรมได้เลย  แม้การบำเพ็ญจิตอย่างเดียวก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้เช่นกัน  เมื่อธรรมญาณอาศัยอยู่ในกายเนื้อจึงจำเป็นต้องอาศัยสองสิ่งมาปฏิบัติให้สอดคล้องกันตามหลักสัจธรรม  เพราะทั้งสองสิ่งนี้เป็นปฏิภาคหรือสวนทางกันตลอดเวลา
     กายไฝ่ต่ำ  แต่   ธรรมญาณ   ไฝ่สูง   ถ้ากายนำ   ธรรมญาณย่อมตก   ถ้าธรรมญาณนำหน้า  กายย่อมพ้นไปจากทุกข์ภัย  ตามธรรมชาติเดิมแท้ " ธรรมญาณ"  นั้นมีความบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่แล้วจนไม่มีสิ่งใดที่จักทำให้ตัวของธรรมญาณสกปรกหรือสะอาดได้เลย  แต่ทำไมคนจึงมีความคิดชั่วได้  ที่เป็นดังนี้เพราะอิทธิพลของจิตที่ถูกครอบงำด้วยพลังของความชั่วชักจูงไป  พระพุทธองค์จึงมีพระพุทธวจนะว่า  "สุทธิ  อสุทธิ  ปัจจัตตัง"  แปลความว่า "บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์  รู้ได้ด้วยตนเอง" นัยยะแห่งพระพุทธวจนะนี้ย่อมเล็งไปถึงว่า ไม่มีใครทำให้ใครบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ได้เลย นอกจากตัวเองเท่านั้นทั้งนี้เพราะ  ธรรมญาณ  เดิมย่อมบริสุทธิ์และเป็นตัวของตัวเองอยู่แล้ว ถ้าไม่มีคุณสมบัติเช่นนี้  พระพุทธวจนะดังกล่าวย่อมไร้ความเป็นจริง
     พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ยินคำกล่าวของพระไฮว๋ยั้งจึงเปล่งเสียงออกมาดัง ๆ ว่า  "มันได้แก่สิ่งที่ไม่รู้จักเศร้าหมองนี้จริง ๆ  ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เอาพระทัยใส่ถึงท่านก็ต้องเป็นอย่างเดียวกัน  ถึงแม้ข้าพเจ้าต้องเป็นอย่างเดียวกัน  พระสังขปรินายกชื่อ  ปรัชญาตาระแห่งอินเดียได้ทำนายไว้ว่า  ลูกม้า ตัวหนึ่งจะออกมาจากใต้ฝ่าเท้าของท่านและจำกระโจนเหยียบย่ำมหาชนไปทั่วโลก  ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องพยากรณ์ความข้อนี้เร็วเกินไปเพราะคำว่าพยากรณ์นั้น  ท่านหาดูได้ในใจของท่านเอง"  คำรับรองของพระธรรมาจารย์ครั้งนี้ทำให้พระภิกษุไฮว๋ยั้งมีความเข้าใจปรุโปร่่่งซึมซาบแจ่มแจ้งในธรรมญาณ  แต่วันนั้นเป็นต้นมาจึงได้เป็นศิษย์ติดตามพระธรรมาจารย์อยู่ 15 ปี มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาลึกซึ้งยิ่งขึ้นจึงได้ตั้งสำนักเผยแพร่คำสอนของพระธรรมาจารย์ออกไปกว้างขวาง  และมีลูกศิษย์  แซ่สกุล หม่า  คำนี้มีคำแปลว่า "ม้า" เป็นแรงช่วยให้คำสอนนั้นกว้างไกล  สมคำพยากรณ์  เมื่อถึงแก่กาลมรณภาพแล้วจึงได้รับสมัญญาว่า "ต้าฮุ่ย"  อันมีความหมายว่า "เป็นผู้มี ปัญญาอันยิ่งใหญ่" นั่นเอง  วิบากกรรมผิดแผกกัน  เพราะเหตุปัจจัยต่างกัน แต่ "ธรรมญาณ" นั้นเหมือนกัน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        สามัญชนไม่รู้จัก "ธรรมญาณ"  คุ้นเคยอยู่แต่ กาย ของตนเอง เพราะฉะนั้นจึงคิดและกระทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ด้วยการดิ้นรนที่จะให้ กาย  เป็นอิสระจากความตาย  ความคิดและการกระทำเช่นนี้เป็นเรื่องน่าหัวเราะเยาะ มนุษย์สามัญจึงแสวงหาแต่ยาอายุวัฒนะเพราะเชื่อว่า ยาเช่นนี้จะทำให้ กาย  อยู่เป็นอมตะนิรันดร  "แล้วยาชนิดเช่นนี้มีอยู่หรือ" "มีซี  แต่คนทำและคนกินต่างตายไปเรียบร้อยแล้ว  "กาย"  ไม่อาจเป็นอิสระจากสิ่งที่ควบคุมผูกมัดเอาไว้ตามธรรมชาติ เพราะ กาย ประกอบไปด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ  ย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เพราะฉะนั้นใครมัวแต่คิดให้ กาย อยู่เป็นอมตะ จึงเป็นความคิดอันไร้สาระโดยแท้จริง  แต่สิ่งที่เป็นอิสระโดยธรรมชาติของมันเองมีอยู่แล้ว มนุษย์กลับผูกมัดรัดตรึงให้สิ้นอิสระภาพ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องน่าขันนักที่ทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามเสมอ  ธรรมญาณ  เป็นอิสระโดยธาตุแท้อยู่แล้ว เพราะปราศจากรูปลักษณ์  แต่ที่สิ้นอิสระภาพเพราะถูกขังเอาไว้ใน กาย  จึงยึดติดอยู่กับกายสังขารแล้วเกิดอาการปรุงแต่งไปตามสิ่งแวดล้อมชักจูงไป พระอริยเจ้าทั้งปวงได้แสวงหาหนทางแห่ง อิสระ  จนพบธาตุแท้ธรรมญาณของตนจึงมิต้องกลับมาเวียนว่าย หนทางนั้นจึงเป็นอิสระอย่างแท้จริง  สมัยหนึ่งพระภิกษุนามว่า เสวียนเจี๋ย  แห่ง หย่งเจีย  ซึ่งเป็นอาจารย์นิกายเซ็นรูปหนึ่ง ท่านเกิดในตระกูลไต่ในอุนโจว เมื่อยังหนุ่มอยู่ได้ศึกษาพระสูตรและศาสตร์ต่าง ๆ  จนเป็นผู้แตกฉานในหลักสมถะ และวิปัสสนาแห่งนิกายเทียนไถ และโดยที่ได้อ่านวิมลกีรตินิเทศสูตร ทำให้ทราบถึงข้อลี้ลับแห่งใจของท่านอย่างปรุโปร่ง  เมื่อพบพระภิกษุ  เสวียนเซ่อ  อันเป็นศิษย์ของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง หลังจากสนทนาธรรมกันแล้วเป็นเวลานาน  ภิกษุเสวียนเซ่อ สังเกตุเห็นว่า ถ้อยคำสนทนานั้นเข้ากันได้ดีกับคำสอนต่าง ๆ ของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง "ผมใคร่ขอทราบนามอาจารย์ของท่าน ซึ่งได้สั่งสอนธรรมให้แก่ท่าน" ภิกษุเสวียนเซ่อถาม  "ผมมีอาจารย์ที่มากมายสอนผม และขณะที่ผมศึกษาสูตรและศาสตร์ต่าง ๆ  แห่งสำนักไวปูลยะ แต่หลังจากนั้นมาเป็นเพราะได้อ่านวิมลกีรตินิเทศน์สูตร  ผมจึงมองเห็นแจ่มแจ้งถึงความสำคัญของนิกายพุทธจิตตะแล้ว  ในตอนนั้นผมยังไม่มีอาจารย์คนใดที่จะพิสูจน์และยืนยันความรู้ของผม"  พระภิกษุเสวียนเซ่อจึงกล่าวว่า " ถ้าในยุคก่อนหน้าพระภิสมควรชิตศวร พระพุทธเจ้าองค์แรก ก็พอเป็นไปได้ที่ใคร ๆ จะรู้ธรรมได้โดยไม่เกี่ยวกับอาจารย์ แต่หลังจากนั้นมาแล้ว ผู้ที่บรรลุธรรมโดยไม่อาศัยความช่วยเหลือและยืนยันของอาจารย์คนหนึ่งคนใดแล้ว ดูเหมือนจะใช้ไม่ได้เป็นธรรมดา"  "ถ้าเช่นนั้นท่านช่วยเป็นผู้พิสูจน์การรู้ธรรมของผมได้ไหมเล่า" พระภิกษุเสวียนเจวี๋ย เอ่ยขึ้น "คำพูดของผมไม่มีน้ำหนัก  ที่ตำบลเฉาซีมีพระธรรมาจารย์องค์ที่หกอยู่ที่นั่น คนเป็นจำนวนมากมาหาท่านจากทิศต่าง ๆ ด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน คือเพื่อการรับเอาธรรม  ถ้าท่านใคร่จะไปที่นั่น ผมยินดีที่จะไปเป็นเพื่อนท่าน" พระภิกษุเสวียนเซ่อกล่าวรับรอง  เมื่อเร็ว ๆ นี้มีนักบวชนิกายหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมยกย่องจากคนเป็นจำนวนมากโดยถ่ายทอดวิถีแห่งกวนอิมได้ให้สัมภาษณ์ออกอากาศทางวิทยุรายการหนึ่งซึ่งมีผู้ถามว่า "อาจารย์ของท่านคือใคร"  "เราไม่แน่ใจว่าอาจารย์ประสงค์จะให้เอ่ยนามหรือไม่ เพราะฉะนั้นจึงไม่อาจบอกได้"  คำตอบนี้แสดงให้เห็นความเป็นจริงอย่างหนึ่งคือ ต้องการปิดบังอาจารย์เอาไว้ ส่วนตนเองประกาศชื่อเสียงเต็มท้องถนน ด้วยเหตุนี้ถ้าเอาถ้อยคำของท่านเสวียนเซ่อมาพิจารณาก็จะรู้ว่า  ธรรมะ  ที่นักบวชผู้นี้นำมาเผยแพร่ใช้ไม่ได้กับธรรมญาณของตนหรือว่าบรรดาผู้ที่ฝากตัวเข้ามาเป็นศิษย์มีหน้าที่เพียงแต่รองรับใช้อาจารย์เพียงสถานเดียว ส่วนหนทางแห่งความเป็นอิสระก็เป็นเรื่องที่อาจารย์จะชี้ให้เท่านั้นเอง  เมื่อภิกษุทั้งสองรูปไปถึงเฉาซี  และพบปะกับพระธรรมาจารย์ท่านเสวียนเจวี๋ย เดินเวียนรอบ ๆ พระธรรมาจารย์สามครั้งแล้วก็หยุดยืนถือไม้เท้านิ่งอยู่ โดยปราศจากแสดงความเคารพ พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงเอ่ยขึ้น "ก็ภิกษุย่อมเป็นที่เกาะอาศัยของศีลสิกขาบทสามพันข้อ และสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกแปดพันข้อ ผมสงสัยเหลือเกินว่าท่านมาจากสำนักไหนและมีอะไรที่ทำให้ท่านถือตัวถึงเพียงนี้" ปัญหาของการเวียนเกิดไม่รู้สิ้นสุดเป็นปัญหาด่วนจี๋ และความตามอาจจู่มาถึงขณะใดก็ได้ ผมจึงมีเวลาไม่มากพอที่จะเสียไปในการทำพิธีรีตองเช่นนั้น" เสวียนเจวี๋ยตอบ  "แล้วทำไม่ท่านไม่ทำความแจ่มแจ้งในหลักธรรมเรื่อง "ความไม่เกิด" และแก้ไขความยุ่งยากแห่งความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตให้หมดไปด้วยธรรมนั้นเล่า"  "การเห็นแจ้งธรรมญาณเป็นการทำตนให้เป็นอิสระจากการเวียนเกิด จัดการกับปัญหาข้อนี้ให้ลุล่วงไปเพียงข้อเดียว ปัญหาเรื่องความไม่เที่ยง ก็จะไม่เหลืออีกต่อไป" ท่านเสวียนเจวี๋ยตอบ พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบรับ "ถูกแล้ว ถูกแล้ว" ถึงตอนนี้ท่านเสวียนเจวี๋ยจึงยอมทำความเคารพอย่างเต็มที่ตามธรรมเนียมไม่กี่อึดใจจึงกล่าวคำอำลาพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง  เมื่อพบธรรมญาณด้วยคำพูดเพียงไม่กี่คำของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง  ความเป็นอิสระเหมือนถูกปลกปล่อยจึงเกิดขึ้น   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        ธรรมะอันบริสุทธิ์ปราศจากรูปลักษณ์และการปรุงแต่งทั้งปวงเพราะอยู่เหนือสรรพสิ่งในโลกนี้ ด้วยเหตุนี้ ภาษาคน จึงอธิบายธรรมะได้เพียงนิดเดียวเท่านั้น  สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในสวนประดู่ลาย พระองค์ทรงหยิบใบประดู่ขึ้นมากำมือหนึ่งแล้วถามสาวกทั้งหลาย "ใบประดู่ในมือของตถาคตกับในป่า อย่างไหนมากกว่ากัน" "ในป่าพระเจ้าข้า" สาวกทูลตอบ " แม้พระธรรมที่ตถาคตตรัสแล้วก็เฉกเช่นเดียวกันยังมีธรรมะที่ตถาคตยังมิได้ตรัสอีกประมาณมิได้" ความหมายแห่งพระพุทธวจนะพิจารณาได้เป็นสองนัยคือ ธรรมะที่ตรัสได้นั้นมีเพียงนิดเดียว  ส่วนใหญ่ไม่อาจใช้ภาษาคนมาสั่งสอนได้ หรืออีกนัยหนึ่ง ธรรมะอันแท้จริงย่อมไม่พูดออกมาเป็นภาษาคนได้เพราะอยู่นอกเหนือเหตุผลของภาษาในโลกนี้ เวลาที่พระผู้เข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมะสนทนากันหลายหนคนธรรมดาไหยเลยเกิดความเข้าใจความหมายแห่งคำพุดนั้น บางหนบางทีฟังดูเหมือนท่านพูดกันคนละเรื่อง อย่างที่พระภิกษุเสวียนเจวี๋ยกราบอำลาพระธรรมาจารย์ "ท่านกำลังจะกลับเร็วเกินไปแล้ว ใช่ไหมล่ะ" พระะรรมาจารย์กล่าว " ความเร็วจะมีได้อย่างไรกันในเมื่อความเคลื่อนไหวเอง ก็มิได้มีเสียแล้ว" คำตอบของพระภิกษุเสวียนเจวี๋ยเป็นการอธิบายให้รู้ว่า ธรรมญาณมิได้เคลื่อนไหวเพราะฉะนั้นจักมีความเร็ว ไปไม่ได้  พระธรรมาจารย์จึงย้อนถามอีก  "ใครเล่า ที่จะรู้การเคลื่อนไหวก็มิได้มี"  "ท่านขอรับ กระผมหวังว่าท่านจะไม่ชี้ระบุตัวตนอะไรที่ไหน" ภิกษุเสวียนเจวี๋ยตอบ  ตามความเป็นจริงแห่งธรมญาณมิได้มีรุปลักษณ์ เพราะฉะนั้นจึงไม่อาจระบุตัวตนได้ ถ้าใครระบุตัวตนได้สิ่งนั้นย่อมมิใช่ ธรรมญาณ   พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงสรรเสริญท่านเสวียนเจวี๋ย "ท่านมีความเข้าใจในเรื่อง ความไม่เกิด ได้อย่างกว้างขวางปรุโปร่ง พระภิกษุเสวียนเจวี๋ยได้ตั้งข้อสังเกตุเชิงคำถาม "ก็ใน ความไม่เกิด นั้น มี ความเข้าใจอยู่ด้วยหรือ พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกลับย้อนตอบเป็นเชิงคำถาม "ไม่มี ความเข้าใจ แล้วใครเล่าที่สามารถชี้ระบุตัวตน" พระภิกษุเสวียนเจวี๋ยจึงตอบว่า "สิ่งที่ชี้ระบุตัวตนนั้น หาใช่ความเข้าใจไม่"  คำโต้ตอบของพระธรรมาจารย์และพระเสวียนเจวี๋ยล้วนมีความหมายถึง ธรรมะอันสูงสุดและชี้ตรงไปที่ ธรรมญาณ ทั้งสิ้น ซึ่งใช้ภาษาคนฟังแล้วย่อมไม่เกิดความเข้าใจใด ๆ เลย แต่ถ้านำเอาภาษาธรรมมาพิจารณาด้วยใจของตนเองแล้วย่อมบังเกิดความเข้าใจ  ธรรมญาณเป็นสิ่งที่ไม่มีวันเกิด เพราะเหตุนี้จึงไม่มีวันตายและคงอานุภาพเป็นอมตะนิรันดรที่ไท่มีเหตุใด ๆ มาแปรเปลี่ยนได้เลย แต่สิ่งที่มิใช่ธรรมะตกอยู่กับเหตุปัจจัยและการปรุงแต่งย่อมมีวันเกิด และ วันตาย  ธรรมญาณมีความสมบูรณ์พร้อมอยู่ในธรรมชาติแล้ว มีปัญญารู้แจ้งด้วยตนเอง ส่วนความเข้าใจ ย่อมอาศัยเหตุแห่งการปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นจึงมีผล ส่วนการที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งย่อมอยู่นอกเหตุ และเหนือต่อผลที่จะปรากฏขึ้นโดยไม่อาจระบุถึงเหตุได้เลย  เพราะฉะนั้น ธรรมญาณ จึงอยู่ในวิสัยของการเวียนว่ายไปตามเหตุ ปัจจัยที่จิตได้สร้างขึ้น และ ยึดมั่นว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ถ้า ธรรมญาณ เกิด และ ดับได้ เสื่อมสลายได้ อาการเวียนว่ายย่อมไม่เกิดขึ้นเป็นแน่นอน สัจธรรมย่อมไม่เป็นสัจธรรม  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงร้อง "สาธุ" และขอร้องให้ท่านเสวียนเจวี๋ยยับยั้งการกลับอยู่ค้างคืนสักคืนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ท่านเสวียนเจวี๋ย จึงได้รับการขนานนามจากพวกเพื่อนในสมัยนั้นว่า ผู้รู้  ซึ่งเคยค้างคืนกับพระธรรมาจารย์" ต่อมาภายหลังท่านเสวียนเจวี๋ยได้ประพันธ์วรรณกรรมอันมีชื่อเสียงเรื่อง "บทขับเกี่ยวกับการบรรลุทางฝ่ายใจ" และแพร่หลายไปทั่วอย่างกว้างขวาง เมื่อท่านมรณภาพแล้วจึงได้สมัญญาว่า อู๋เชี่ยง" ซึ่งแปรความว่า ผู้อยู่เหนือสิ่งต่าง ๆในโลก แต่พวกเพื่อนในสมัยเดียวกันพากันเรียกท่านอีกนามหนึ่งว่า "ธยานาจารย์ เจินเจวี๋ย" ซึ่งมีความหมายว่า "เป็นอาจารย์ฌานผู้รู้จริง" ความรู้ที่แท้จริง ที่ท่านเสวียนเจวี๋ย ได้รับย่อมเกิดจากการบรรลุ ธรรมญาณ ของตนเอง มิได้รับคำสั่งสอนจากพระธรรมจารย์ฮุ่ยเหนิง เพียงแต่การยอมรับและรับรองว่าสิ่งที่ท่านรู้นั้นเป็น ของจริง อันอยู่ในตัวตนกายเนื้อนี้เท่านั้น และสามารถทำให้เป็นจริงได้ภายในธรรมญาณของตนเอง การรับรู้ได้เฉพาะตนจึงเป็นเรื่องที่ยากที่จะใช้ภาษาคนมาอธิบายให้เกิดความเข้าใจเพราะอยู่ "นอกเหตุ " และ "เหนือผล" ของโลกียวิสัย

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        ความเห็นในเรื่องการนั่งสมาธิมีความแตกต่างกันจนประมาณมิได้และขัดแย้งกันมานานนับพัน ๆ ปี หาข้อยุติมิได้ ต่างฝ่ายต่างยึดว่าของตนเองเป็นของจริง ฝ่ายตรงข้ามของปลอม บางสำนักเถียงกันจนไม่เป็นอันนั่งสมาธิ และที่น่าขันบางสำนักอาจารย์ทำท่าว่าสมาธิแก่กล้า แต่ลูกศิษย์กลับกราดเกรี้ยวไม่แพ้อันธพาลเลย อาการหลงผิดในสมาธิยากแก่การแก้ไขนัก ถ้าตนเองดวงตาไม่เปิดกว้างมีแต่อุปาทานยึดมั่นถือมั่นสถานเดียว เหมือนอย่างพระภิกษุจื้อหวงเป็นนักศึกษาผู้หนึ่งในนิกายฌาน หลังจากได้สอบถามพระธรรมาจารย์หงเหยิ่นเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการบำเพ็ญธรรมของตนเองแล้ว ก็เกิดความเข้าใจเอาเองว่าตนเองบรรลุสมาธิ ดังนั้นจึงเก็บตัวเงียบอยู่ในวิหารเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเป็นเวลาถึงยี่สิบปีและเฝ้าแต่นั่งขัดสมาธิอยู่ตลอดเวลา ภิกษุกเสวียนเช่อ อันเป็นศิษย์ของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงเดินทางจาริกไปทางฝั่งเหนือของแม่น้ำฮวงโห ได้สดับเรื่องราวเช่นนี้จึงแวะไปที่วัดเพื่อเยี่ยมเยียนพระภิกษุจื้อหวง "ท่านทำอะไรอยู่ที่นี่" ภิกษุเสวียนเช่อถาม "ข้าพเจ้ากำลังเข้าสมาธิอยู่" ภิกษุจื้อหวงตอบ "ท่านว่าท่านกำลังเข้าสมาธิอยู่หรือ ข้าพเจ้าอยากทราบว่าท่านทำสมาธิอยู่ด้วยความรู้สึก เพราะถ้าหากท่านทำสมาธิอยู่โดยไม่มีความรู้สึก มันก็หมายความว่า สิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งปวง เช่น กระเบื้อง  ก้อนหิน  ต้นไม้และผักหญ้าทั้งหลาย ก็ลุถึงได้สมาธิเหมือนกัน หรือไม่อย่างนั้นถ้าท่านทำสมาธิโดยมีความรู้สึกอยู่ และตัวสัตว์ที่มีชีวิตหรือมนุษย์ก็ตามทั้งหมดนั้น ก็จะพลอยเป็นผู้ที่อยู่ในสมาธิไปด้วยทั้งสิ้น" เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในสมาธินั้น ข้าพเจ้าไม่รู้สึกเลยว่า มีความรู้สึกหรือไม่มีความรู้สึก" ภิกษุจื้อหวงตอบ "ถ้าเอาอย่างที่ท่านว่า มันต้องเป็นความสงบตลอดกาล ซึ่งในภาวะเช่นนั้นไม่มีทั้งการเข้าอยู่และการออกมาอาการที่ท่านยังเข้า ๆ ออก ๆ ได้อยู่นั้น ยังไม่ใช่สมาธิชั้นเยี่ยม" ภิกษุจื้อหวงรู้สึกงงต่อคำตอบของภิกษุเสวียนเช่อไปพักหนึ่งแล้วจึงเอ่ยวาจา "ข้าพเจ้าขอทราบว่าอาจารย์ของท่านเป็นใคร" "อาจารย์ของข้าพเจ้าคือ พระธรรมาจารย์องค์ที่หกแห่งเฉาซี"  "อาจารย์ของท่าน ได้กล่าวสรุปความเรื่องฌาน และสมาะิไว้อย่างไรเล่า" "คำสอนของอาจารย์มีว่า ธรรมกายเป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยมและสงบ ตัวแท้และการทำหน้าที่ของธรรมกายย่อมอยู่ในภาวะแห่ง "ความคงที่เสมอ"ขันธ์ทั้งห้าเป็นของว่างโดยแท้จริงและอายตนภายนอกทั้งหก เป็นของไม่มีอยู่ ในสมาธิไม่มีทั้งการเข้าและไม่มีทั้งการออกไม่มีทั้งความเงียบและไม่มีทั้งความวุ่นวาย ธรรมชาติของฌานไม่ใช่เป็นความเข้าอยู่ ดังนั้นเราควรจะขึ้นไปให้เหนือภาวะแห่ง "การเข้าอยู่ในความสงบแห่งฌาน" ธรรมชาติของฌานนั้นมิใช่สิ่งที่ใครจะสร้างขึ้นมาได้ ดังนั้น เราจึงควรจะขึ้นไปให้เหนือความคิดแห่ง "การสร้างภาวะของฌาน" ภาวะของจิตนั้น อาจเปรียบได้กับอวกาศ แต่มันเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ดังนั้นจิตจึงมีอยู่โดยปราศจากการจำกัดเขตของอวกาศ" เมื่อได้ฟังดังนั้น ภิกษุจื้อหวงจึงรีบออกเดินทางไปเฉาซี เพื่อไต่ถามพระภิกษุฮุ่ยเหนิง ภิกษุจื้อหวงจึงได้เล่าเรื่องที่ตนเองได้สนทนากับภิกษุเสวียนเช่อให้พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงฟังโดยละเอียด "ข้อความที่เสวียนเช่อพูดนั้นถูกต้องทีเดียว จงทำใจของท่านให้อยู่ในสภาพเหมือนความว่างอันหาขอบเขตมิได้ แต่อย่าให้มันเข้าไปติดอยู่ในทิฏฐิว่า "ดับสูญ"  จงให้ใจของมันทำหน้าที่อย่างอิสระ ไม่ว่าท่านกำลังทำงานหรือหยุดพัก จงอย่าให้ใจของท่านเกาะเกี่ยวกับสิ่งใด จงอย่าไปรู้สึกว่ามี ความแตกต่างระหว่างอริยบุคคลกับบุคคลธรรมดา อย่าไปคิดว่ามีความแตกต่างระหว่างตัวผู้กระทำกับสิ่งที่ถูกกระทำ จงปล่อยธรรมญาณและสิ่งทั้งปวงไว้ในสภาพแห่งความเป็นเช่นนั้น แล้วท่านก็จะอยู่ในสมาธิตลอดเวลา" เมื่อได้ฟังถ้อยคำของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงดังนี้ ภิกษุจื้อหวงจึงสว่างไสวในธรรมถึงที่สุด ความคิดที่ตนเองได้บรรลุสมาธิมาแล้วตั้งยี่สิบปี บัดนี้ได้สูญสิ้นไปแล้วในคืนวันนั้นเอง พวกชาวบ้านเหยเป่ยได้ยินเสียงอัศจรรย์บนท้องฟ้า ซึ่งแสดงว่าท่านอาจารย์จื้อหวง แห่งนิกายฌานรู้ธรรมในวันนั้น และต่อมาอีกไม่นานภิกษุจื้อหวงก็อำลาพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกลับไปเหอเป่ย อันเป็นที่ซึ่งท่านได้สั่งสอนมหาชนชายหญิงเป็นจำนวนมากทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์สืบมา
        วจนะของท่านฮุ่ยเหนิง ย่อมชี้ให้เห็นชัดเจนต่อธรรมญาณของตนซึ่งอยู่ในสภาวะไม่ยึดติดในสิ่งใดไม่ว่าสิ่งนั้นเป็น รูปธรรม หรือนามธรรม  ถ้ายังติดอยู่ในนามธรรม ก็อาจกลายไปเป็นอรูปพรหมที่มั่นอยู่ในสมาธิินับเป็นแสนกัปป์กัลป์ ครั้นหมดอุปาทานเช่นนั้นแล้วว่าย่อมร่วงหล่นลงมาเวียนว่ายในทะเลทุกข์อีกไม่มีที่สิ้นสุด สภาวะมีของสมาธิก็คือ "ไม่มีอะไรเลย" แม้แต่การ "เห็น" หรือไม่เห็นก็เช่นเดียวกัน สมาธิที่แท้จริงไม่จำเป็นต้องเห็นอะไรเลย
        ครั้งหนึ่งมีภิกษุองค์หนึ่งถามพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงว่า "บุคคลประเภทไหนที่สามารถรับเอาใจความสำคัญแห่งคำสอนของพระธรรมาจารย์หงเหยิ่นแห่งหวงเหมยได้"  "ผู้ที่เข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้าได้นั่นแหละคือผู้ที่สามารถรับเอาไว้" "ก็ใต้เท้าเล่าได้รับหรือเปล่า"  "ฉันไม่รู้สึกว่ามีธรรมะของพระพุทธเจ้าเลย" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบใครที่รู้สึกว่าตนเองบรรลุธรรมจึงไม่ใช่ผุ้บรรลุธรรมนั่นแล

Tags: