collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ศึกษาสูตรของเว่ยหล่าง ภาคสมบูรณ์ : คำนำ  (อ่าน 44007 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        พุทธศาสนิกชนไทยชอบทำบุญโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำบุญกับพระศักดิ์สิทธิ์ด้วย ความเชื่อว่าผลบุญนั้นแรงและส่งผลเร็วเพราะเป็นเนื้อนาบุญ แต่เขาขาดสติปัญญามองไม่เห็น พระศักดิ์สิทธิ์อันแท้จริงจึงหลงไปทำบุญกับพระอรหันต์ปลอมเสียเป็นจำนวนมากและผลร้ายนั้นก็ส่งผลแรงและเร็วเฉกเช่นเดียวกันด้วยเหตุที่เป็น "เนื้อนาบุญ" ถ้าพุทธศาสนิกชนจดจำพระวจนะแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องตะเกียกตะกายไปหาพระอรหันต์ที่ไหนให้ถูกต้มตุ๋นจนเปื่อยยุ่ยเลย พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พ่อแม่เป็นพระอรหันต์สำหรับลูก" แต่เพราะผู้คนในยุคนี้ไม่รู้จักกราบไหว้พ่อแม่เหมือนพระ ตนเองจึงไร้พระศักดิ์สิทธิ์อันแท้จริง ดังนั้นชีวิตจึงตกทุกข์ระกำซ้ำซากอยู่เช่นนี้
        ผู้ชายคนหนึ่งไร้การศึกษาและยากจนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นครชัยศรี เหลือแม่ที่แก่ชราอยู่เพียงท่านเดียว ชายคนนี้ย้ายภูมิลำเนาไปตั้งรกรากอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น และจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเพื่อประมูลงานของทางราชการ เมื่อยื่นประมูลต่อทางราชการแล้วตนเองก็ไม่รู้จักพระเด่นพระดังที่ไหน เห็นแต่แม่อยู่ผู้เดียว จึงเข้าไปกราบแม่แล้วเอาฝ่าเท้าของแม่เจิมหน้าผากพร้อมทั้งพูดว่า "แม่ครับ ผมอยากรวยขอให้ผมรวยนะครับ" แม่นั้นชราภาพและเป็นอัมพาตมิได้เอ่ยวาจาแต่ประการใดเลย แต่ชายคนนี้ไปประมูลงานที่ไหนก็สะดวกได้รับชัยชนะทุกงาน จนบัดนี้ร่ำรวยเป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองขอนแก่น ชาวบ้านเรียกขานกันว่า "เสี่ยเม้ง" "พ่อแม่จึงเป็นเนื้อนาบุญอันแท้จริงของลูก"
        พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง กว่าจะเป็นเนื้อนาบุญของโลก ต้องผ่านความยากลำบากมาไม่น้อยเฉกเช่นเดียวกับพ่อแม่ กว่าจะเป็นเนื้อนาบุญของลูกย่อมต้องลำบากยากเข็ญเช่นเดียวกัน ดังนั้นการเป็น "เนื้อนาบุญ" จึงมิใช่เป็นกันได้ง่ายดังที่ผู้มืดบอดทั้งหลายคิดและปฏิบัติกันอยู่  วันหนึ่งพระธรรมาจารย์ต้องการซักจีวรที่ได้รับมอบหมายเป็นมรดกตกทอดมา แต่ไม่สามารถหาลำธารที่เหมาะ ๆ ได้ ท่านจึงเดินทางไปหลังวัดประมาณห้าไมล์ ณ ที่นั้นท่านสังเกตุเห็น ผักหญ้าและต้นไม้ขึ้นงอกงามหนาแน่น สิ่งแวดล้อมทำให้ท่านรู้ว่า ที่นี่เป็นที่อันเหมาะสม จึงได้สั่นไม้เท้าประจำตัวทำให้เกิดเสียงดังกริ่ง ๆ  แล้วปักลงไปบนพื้นดิน ทันใดก็มีน้ำพวยพุ่งขึ้นมา และไม่นานก็กลายเป็นสระน้ำ ขณะที่พระธรรมาจารย์คุกเข่าลงบนก้อนหินเพื่อจะซักจีวร ทันใดนั้นก็ปรากฏภิกษุรูปหนึ่งขึ้นตรงหน้าทำความเคารพท่าน "กระผมชื่อฟังเปี้ยน เป็นชาวเสฉวน เมื่อครั้งที่อยู่ในประเทศอินเดียตอนใต้ กระผมได้พบพระธรรมาจารย์โพธิธรรม ท่านได้แนะนำให้กลับมายังประเทศจีนโดยบอกแก่กระผมว่า "ธรรมหฤทัยอันถูกต้อง พร้อมทั้งบาตร จีวร อันเราได้รับมอบต่อ ๆ ลงมาจากพระมหากัสสปะเถระนั้น บัดนี้ได้ตกทอดมาถึงพระสังขปรินายกองค์ที่หก ซึ่งอยู่ที่เฉาซี แห่งเซ่าโจว ท่านจงไปที่นั่นเพื่อจะได้ดูสิ่งเหล่านี้ และได้ถวายความเคารพแด่พระธรรมาจารย์องค์นั้น กระผมเดินทางมาเป็นเวลานานจนมาถึงที่นี่ ขอให้กระผมได้เห็นจีวรและบาตรที่ใต้เท้าได้รับมอบเป็นทอด ๆ ลงมานั้นเถิด "
        ภายหลังได้ดูเจดีย์วัตถุทั้งสองอย่างแล้ว พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง จึงถามพระภิกษุฟังเปี้ยน ว่ามีความเชี่ยวชาญในงานชนิดใดบ้าง " กระผมถนัดมือในงานแกะสลัก ขอรับ" "ถ้าอย่างนั้นจงทำอะไรให้ฉันดูสักอย่างหนึ่ง"พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงระบุความต้องการ ภิกษุฟังเปี้ยน รู้สึกหัวหมุนในขณะนั้น แต่ต่อมาอีกสองสามวัน ท่านก็สามารถแกะสลักรูปพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงอย่างประณีตเหมือนกับมีชีวิตอยู่จริงๆ ได้สำเร็จรูปหนึ่งสูงประมาณเจ็ดนิ้วนับเป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่ง  เมื่อได้เห็นรูปแกะสลักพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงหัวเราะและกล่าวแก่พระภิกษุฟังเปี้ยน "เธอมีความรู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งของวิชาการแกะสลักจริง ๆ แต่ดูเหมือนว่าเธอไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวอันลึกซึ้งของพระพุทะเจ้าเสียเลย" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงเอื้อมมือไปลูบศรีษะภิกษุฟังเปี้ยนแล้วประกาศว่า "เธอจงเป็นเนื้อนาบุญของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ตลอดกาลนานเป็นนิจเถิด" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ตอบแทนงานด้วยการมอบจีวรผืนนั้นเป็นรางวัลซึ่งภิกษุฟังเปี้ยนได้ต้ดออกแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งตกแต่งรูปสลัก ส่วนหนึ่งสำหรับใช้เอง และอีกส่วนหนึ่งท่านได้ห่อด้วยใบลานแล้วฝังลงในดิน ขณะที่กำลังฝังได้ตั้งสัตยาทิษฐานว่า "เมื่อใดผ้านี้ถูกขุดขึ้นมา เมื่อนั้นขอให้ขัาพเจ้าได้เกิดใหม่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ และให้ได้รับภาระซ่อมแซมพระเจดีย์โบสถ์วิหารทั้งปวง"
        เหตุการในครั้งเป็นเครื่องยืนยันให้รู้ว่าการถ่ายทอดธรรมะ โดยอาศัยสัญลักษณ์ของบาตรและจีวรได้จบลงตามคำพยากรณ์ของพระธรรมาจารย์หงเหยิน   การถ่ายทอดธรรมะด้วยรูปลักษณ์ล้วนแต่ก่อให้เกิดการแย่งชิงเจดีย์วัตถุซึ่งมิใช่สัจธรรม แม้แต่ภิกษุฟังเปี้ยน ยังอุตสาหะรอนแรมด้วยความยากลำบากเพียงเพื่อได้มองเห็นเจดีย์วัตถุนั้น พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า ไม่มีความรู้สึกอันลึกซึ้งเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเสียเลย แต่เหตุไฉนท่านจึงได้ประกาศให้เป็นเนื้อนาบุญของมนุษย์และเทวดา ย่อมเป็นเครื่องยืนยันว่าภิกษุฟังเปี้ยนได้รับถ่ายทอด "หัวใจแห่งธรรมะ" ย่อมไม่อาจเป็นเนื้อนาบุญ มีแต่จะก่อสร้างเนื้อนาบาปขึ้นโดยไม่รู้ตัวเท่านั้น

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        ในบรรดาผู้ศึกษาพุทธธรรมหากไม่เข้าใจสัจธรรมล้วนวิ่งหาธรรมะนอกตัวเอง และที่น่าสงสารยิ่งนักวิ่งไปชั่วชีวิตย่อมไม่พบพุทธะที่แท้จริง  นักวิ่งหาธรรมะจึงพบแต่อาจารย์ แม้อาจารย์จะสอนว่าอย่าติดอาจารย์แต่ศิษย์เหล่านี้ก็มักติดกึกอยู่ที่อาจารย์  คำสอนต่างก็บอกว่าให้ละทิ้งอัตตาตัวตนเสียให้สิ้น  ลูกศิษย์ทิ้งอัตตาตัวตนลงไป  ได้แต่กลับติดยึดในอัตตาตัวตนของอาจารย์ เพราะฉะนั้นการศึกษาปฏิบัติธรรมจึงไม่มีอะไรก้าวหน้า  ดวงตาไม่เห็นธรรม เพราะมีแต่อัตตาของอาจารย์อยู่เต็มตา  การวิ่งหาธรรมะนอกตัวจึงไม่มีทางสำเร็จด้วยเหตุที่ธรรมะอันแท้จริงมีอยู่ในตัวเองด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงมีพระวจนะเอาไว้ว่า  "ผู้ที่อยากได้นิพพานจึงไม่ได้นิพพาน"   ความจริงสภาวะนิพพานคือ จิตเดิมแท้ หรือ ธรรมญาณ  ของตนเองซึ่งเป็นนิพพานอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องแสวงหาที่ไหนอีกเลย  ปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งปวงคือ   การกลับสู่สภาวะเดิมของตนเองเท่านั้น  สภาวะเช่นนี้เป็นเรื่องของการที่ก่อเกิดเป็นกายมนุษย์นั่นเองหรือสภาวะอันพ้นไปจากกฏของการผูกมัดในโลกนี้  การดิ้นรนให้พ้นไปจากบ่วงของโลกีย์  ผู้ที่ดวงตาไม่เห็นธรรมจึงกำหนดไปตามจริตหรือคาดหมายเอาเอง บุคคลเหล่านี้จึงไม่ต่างอะไรกับการผูกตาตัวเองคลำหาหนทางพ้นทุกข์  ส่วนผู้ที่ดวงตาเห็นธรรมย่อมเดินได้สะดวกและชี้แนะผู้อื่นได้อย่างถูกวิธี
        สมัยหนึ่งมีภิกษุรูปหนึ่งได้นำเอาโฉลกของอาจารย์เซ็นท่านหนึ่งซึ่งมีนามว่า อั้วหลุน  มาท่องบ่นว่า  "ที่จะกั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้งปวง  เมื่ออารมณ์ต่าง ๆ มิได้กลุ้มรุมจิต  ต้นโพธิก็จะงอกงามอย่างเป็นล่ำเป็นสัน" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ยินโฉลกนี้จึงกล่าวว่า "โฉลกนี้ย่อมแสดงว่าผู้แต่งยังมิได้เห็นธรรมญาณอย่างเต็มที่ ถ้าใครรับเอาข้อความมาปฏิบัติก็จะไม่ได้รับความหลุดพ้น แต่กลับจักผูกมักรัดตัวเองแน่นหนายิ่งขึ้น" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงบอกโฉลกบทหนึ่งให้แก่ภิกษุรูปนั้นไว่ท่องบ่นดังนี้ " ฮุ่ยเหนิง  ไม่มีวิธีและเครื่องมือ ที่จะกั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้งปวง อารมณ์ต่าง ๆ ย่อมกลุ้มรุมจิตของข้าพเจ้าอยู่เสมอ และข้าพเจ้าสงสัยว่าต้นโพธิจะงอกงามได้อย่างไรกัน" โฉลกทั้งสองมีลักษณะตรงกันข้ามซึ่งหมายถึงหัวใจแท้ของโฉลกนี้ย่อมไม่เหมือนกันอย่างแน่นอนเพราะฉะนั้นผลแห่งการปฏิบัติย่อมผิดแผกกันอย่างตรงกันข้ามทีเดียว  การกำหนดวิธีการขึ้นมาย่อมกลายเป็นอัตตาตัวตน หรือรูปลักษณ์อันผู้กำหนดย่อมติดยึด  แลแทนที่จะเข้าถึงธรรมญาณ ผู้ปฏิบัติเหล่านั้นจึงติดอยู่เพียง "จิต" เท่านั้น "ธรรมญาณ  กับ  จิต  ไม่เหมือนกันหรือ" ปุจฉา
"แน่นอนเพราะธรรมญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่ดั้งเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุปัจจัยใด ๆ ทั้งสิ้น  ส่วนจิตนั้นย่อมเป็นอาการไหวตัวของธรรมญาณ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วย่อมดับลงไปตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ"  การกำหนดมิให้จิตคิดจึงเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดสิ้นดี  เพราะโดยสภาพแห่งจิตก็คือ "ความคิด" ถ้าปราศจากความคิดก็ย่อมไม่มี "จิต" อาจารย์เซ็นอั้วหลุนมองเห็นความงอกงามทางปัญญา เพราะฉะนั้นย่อมมองเห็นความเหียวเฉาของปัญญาด้วยเพราะสรรพสิ่งในโลกนี้เมื่อมีเกิดย่อมมีดับเป็นสัจธรรม  ไม่ว่าการเกิดนั้นจะเป็น "รูปธรรม" หรือ "นามธรรม" ก็หนีไม่พ้นกฏแห่งความจริงข้อนี้ได้เลย
        เมื่อเป็น จิต  ย่อมมี  ดี  และ  เลว  เพราะฉะนั้นจึงก่อเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ขึ้นมากมายจนประมาณไม่ได้ และใครเล่าจักไปกั้นอารมณ์เหล่านั้นมิให้เกิดขึ้นมาได้  อาจารย์เซ็นท่านผู้นี้จึงหลงทางไปเสียจาก  ธรรมญาณ  เพราะคิดว่าความคิดดีเป็น  ปัญญา หรือ โพธิ  ความเฉลียวฉลาดกลายเป็นความเจริญทางด้านปัญญา ความคิดเช่นนี้ล้วนผิดจากหลักสัจธรรมอันแท้จริง  ส่วนความหมายแห่งโฉลกของพระธรรมาจารยฮุ่ยเหนิง ได้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ไม่อาจกำหนดวิธีการหรือเครื่องมือใด ๆ มากั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้งปวง เพราะธรรมชาติของ ธรรมญาณ เมื่อมีเหตุปัจจัยมากระทบย่อมเกิดความคิด และเกิดจิตขึ้นพร้อมกันและย่อมมีอารมณ์ปรุงแต่งไปตามเหตุปัจจัยเหล่านั้นเอง  เมื่อเห็น "ธรรมญาณ" ชัดเจนแล้วจะรู้ว่าปัญญาอันเป็นธรรมชาติแท้ของ  ธรรมญาณ  ไม่มีงอกเงยขึ้นมาแต่ประการใดเลย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอาการเหี่ยวเฉาด้วย
        ปัญญา  เป็น  คุณสมบัติของ  ธรรมญาณ  เพราะฉะนั้นจึงไม่เกิดและไม่ดับไปเช่นเดียวกับธรรมญาณ  ด้วยเหตุนี้ผู้เข้าถึง  ธรรมญาณ  มีอานุภาพทำให้  หลุดพ้น  ไปจากบ่วงร้อยรัดของโลกีย์นั่นแล

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
        บรรดาผู้ที่ติดยึดอาจารย์โดยไม่ลืมหูลืมตาได้ชื่อว่า "หลงอาจารย์" มีอยู่มากมายในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรม อาการเช่นนี้มิได้มีแต่เพียงในยุคนี้เท่านั้น แต่ไหนแต่ไรมา  กิเลสเช่นนี้มิได้หายไปจากจิตของมนุษย์ ทั้งนี้เพราะเขาเหล่านั้นเข้าไม่ถึงสัจธรรมภายในตัวเอง  คนเหล่านี้ไม่มีปัญญาหยั่งถึงสัจธรรม เพราะฉะนั้นจึงมีอุปาทานยึดมั่นอยู่แต่คำสอนของอาจารย์แต่เพียงอย่างเดียว แลเห็นคำสอนและวัตรปฏิบัติของผู้อื่นต่ำและไร้ค่า  ในสมัยพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ก็มีเหตุการณ์เช่นนี้  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงพำนักอยู่ที่วัดเป่าหลิน อาจารย์เสินซิ่ว ซึ่งเป็นหัวหน้าศิษย์ของพระธรรมาจารย์หงเหยิ่นก็สั่งสอนธรรมอยู่ที่วักอวี้เฉวียนในเมืองจิงหนัน  สำนักของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงอยู่ทางใต้  สำนักของอาจารย์เสินซิ่วอยู่ทางเหนือ สองสำนักนี้มีความรุ่งเรืองทัดเทียมกันและได้ชื่อว่า "ฉับพลันฝ่ายใต้"  และ  "เชื่องช้าฝ่ายเหนือ"  ทำให้พุทธศาสนิกชนสมัยนี้สับสนว่าจะเข้าไปศึกษาปฏบัติฝ่ายไหนดีกว่ากัน  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวถึงปัญญาหานี้ "ในส่วนที่เกี่ยวกับธรรมย่อมมีเพียงสำนักเดียว ถัาจะต่างกันก็อยู่ตรงที่ผู้สถาปนาสำนักหนึ่งเป็นชาวเมืองเหนือ และผู้สถาปนาอีกสำนักหนึ่งเป็นชาวเมืองใต้ แม้มีหลักธรรมอยู่เพียงอย่างเดียว แต่สานุศิษย์บางท่านก็เข้าใจธรรมได้ดีกว่าผู้อื่น เหตุที่มีคำว่า "ฉับพลัน"  และ "เชื่องช้า" ก็เพราะสานุศิษย์บางคนมีสติปัญญาเฉียบแหลมกว่ากันเท่านั้น สำหรับธรรมแล้วความแตกต่างระหว่าง "ฉับพลัน" และ "เชื่องช้า"  ย่อมไม่มี
        แม้พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวไปเช่นนี้ สานุศิษย์ของท่านเสินซิ่วก็ยังชอบที่จะกล่าวตำหนิพระธรรมาจารย์เสมอดูหมิ่นว่าท่านเป็นคนไร้การศึกษา ไม่อาจดำรงตนให้คู่ควรแก่การเคารพใด ๆ ได้ แต่ตรงกันข้ามกับอาจารย์เสินซิ่ว กลับยอมรับว่าท่านมีภูมิปัญญาต่ำกว่าพระธรรมาจารย์ และยอมรับว่าพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงบรรลุปัญญา โดยไม่ต้องมีอาจารย์แนะนำช่วยเหลือและมีความเข้าใจของคำสอนมหายานได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ท่านเสินซิ่วกล่าวเสริมว่า  "อาจารย์ของเราพระธรรมาจารย์องค์ที่ห้า คงไม่มอบบาตรและจีวรแกท่านผู้นี้อย่างปราศจากเหตุผลอันควร เราเสียใจที่เราเองไม่คู่ควรแก่พระบรมราชูปถัมภ์ของพระมหาจักรพรรดิ์ และเราไม่สามารถเดินทางไกล เพื่อไปรับคำสอนจากท่านผู้นี้ด้วยตนเอง พวกท่านทั้งหลายควรไปเพื่อไต่ถามธรรมจากท่านที่เฉาซี"
        คำกล่าวของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงย่อมชี้ชัดถึง ตัวธรรมะ  ย่อมไม่มีช้า ไม่มีเร็ว และไม่มีสูง ไม่มีต่ำ   ธรรมะเป็นอย่างเดียวกันเสมอกัน แต่ที่เกิดภาวะ เร็ว  ช้า  สูง  ต่ำ ล้วนเป็นเรื่องของ "คน" ที่ตนเองพอกพูนกิเลสยึดอัตตาตัวตนมั่นคงกลายเป็นกำแพงใหญ่ปิดบัง "ธรรมะ" ของตนจนหมดสิ้น ด้วยเหตุดังนี้จึงมีการแบ่งแยกแตกกอแลโจมตี ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นสงครามระหว่าง "คน" ซึ่่งแม้นับถือพระศาสดาองค์เดียวกันยังทะเลาะกันไม่รู้จบ
        วันหนึ่งท่านเสินซิ่วกล่าวแก่ศิษย์คนหนึ่งชื่อว่าจื้อเฉิง ว่า "เธอเป็นคนรอบรู้และปัญญาเฉียบแหลม ฉันขอให้เธอไปที่เฉาซีเพื่อฟังคำสอนที่นั่น เมื่อได้เรียนอะไรแล้ว ขอให้พยายามจำไว้ให้มากที่สุด และกลับมาเล่าให้ฉันฟัง"  จื้อเฉิงได้ไปที่เฉาซีตามคำสั่งของอาจารย์ตน ได้ปะปนเข้าไปกับฝูงชนเพื่อฟังธรรมโดยไม่ได้บอกกล่าวว่าตนเองมาจากไหน  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวขึ้นในที่ประชุม "มีคนซ่อนตัวเข้ามาในนี้เพื่อเรียนแบบคำสอนของเรา" ทันใดนั้น จื้อเฉิงก็ก้าวออกมาข้างนอก ทำความเคารพพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง และบอกว่าตนเองมาจากสำนักไหน พระธรรมาจารย์จึงกล่าวว่า "ท่านมาจากวัดอวี้เฉวียนใช่ไหม  ถ้าอย่างนั้นท่านต้องเป็นคนสอดแนม"  "เปล่าครับ  ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นคนสอดแนม" จื้อเฉิงตอบ "ทำไมไม่ใช่" "ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้บอกอะไรกับท่าน นั่นสิ ข้าพเจ้าจึงจะเป็นคนสอดแนม แต่นี่ข้าพเจ้าบอกกับท่านหมดจึงไม่ใช่"  "อาจารย์ของท่านสอนลูกศิษย์ว่าอย่างไรบ้าง" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงถาม  "ท่านอาจารย์สอนให้พวกเจ้าทำสมาธิในความบริสุทธิ์ ให้นั่งสมาธิอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้นอน" จื้อเฉิงตอบ  "การทำสมาธิในความบริสุทธิ์นั้น ไม่แน่วแน่และไม่ใช่สมาธิ การกักตัวเองให้นั่งขัดสมาธิอยู่ตลอดเวลานั้น ตามหลักแห่งเหตุและผลแล้วไม่เกิดผลดีอะไรขึ้นมา จงฟังโฉลกของฉัน

คนเป็นย่อมจะนั้ง  และไม่นอนอยู่ตลอดเวลา
ส่วนคนตายนั้นนอน  และไม่นั่ง
สำหรับร่างกายอันเป็นเนื้อหนังของเรานี้
ทำไมเราจะต้องคอยนั่งขัดสมาธิ"

        เหตุการณ์ที่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวแก่จื้อเฉิง เพื่อให้สำแดงตนออกมานั้นก็เพื่อให้จิตเปิดนอบน้อมยอมรับฟังคำสอนด้วยความบริสุทธิ์ใจ หากมาฟังโดยมีอคติแฝงเร้นอยู่ในใจ  โดยมุ่งหมายจับผิดย่อมไม่อาจรับฟังคำสอนนั้นได้เลยความหมายแห่งคำสอนของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตรงกันข้ามกับคำสอนของเสินซิ่วด้วยเหตุที่  บรรลุถึง "ธรรมญาณ" จึงรู้ชัดว่าธาตุเดิมนั้นมีความเป็นสมาธิอยู่ในตัวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนั่ง เพียงแต่กำกับกายเนื้อให้ปฏิบัติถูกต้องตรงตามธรรมชาติก็เป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        มนุษย์เป็นทาสรับใช้ตัวเองมาตลอดกัปป์กัลป์ เพราะหลงยึดติดว่าเป็นตัวตนที่แท้จริง เพราะเหตุนี้จึงเวียนว่ายแสวงกายสังขารไม่มีที่สิ้นสุด  คำสอนทั้งปวงสนับสนุนให้หลงติดยึด "กายสังขาร" นี่ก็เท่ากับเป็น อวิชชา  หาความรู้แจ้งมิได้ ปุถุชนเหล่านี้จึงเวียนว่ายตายเกิดเพียงเพื่อได้รับกายสังขารต่าง ๆ  อันเป็นไปตามอำนาจปรุงแต่งแห่งกรรมวิบากที่ตนเองสร้างขึ้นมาเท่านั้นเอง  แม้แต่การนั่งสมาธิก็เป็นการกักขัง "ธรรมญาณ" ของตนเอาไว้ในกายสังขารอย่างน่าสงสารนัก  จื้อเฉิง ได้ฟังคำสอนของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงแล้ว จึงทำความเคารพเป็นครั้งที่สองแล้วกล่าวว่า  "แม้ว่าข้าพเจ้าฟังคำสอนของของท่านเสินซิ่ว มาเป็นเวลา 9 ปีแล้ว ข้าพเจ้าก็ยังไม่บรรลุธรรมเลย แต่พอได้ฟังคำพูดของท่านเท่านั้น ดวงจิตของข้าพเจ้าก็สว่างไสว และเนื่องจากปัญหาแห่งการเวียนเกิดโดยไม่จบสิ้น เป็นปัญหาเฉพาะหน้า ฉะนั้นขอให้ท่านได้โปรดเมตตาข้าพเจ้าโดยสั่งสอนต่อไปด้วย "ฉันรู้ว่าอาจารย์ของท่านสอนลูกศิษย์ทางศีล สมาธิ  และปัญญา ลองบอกทีซิว่าเขาอธิบายความหมายของคำเหล่านี้ไว้ว่าอย่างไร " พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงถาม "ตามคำสอนของท่านอาจารย์นั้น การละเว้นจากการกระทำชั่วทั้งปวงเรียกว่า "ศีล" การปฏิบัติแต่ความดีเรียกว่า "ปัญญา"  และการชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์เรียกว่า "สมาธิ"  ท่านอาจารย์สอนพวกข้าพเจ้าในแนวนี้แหละขอรับ ขอท่านได้โปรดให้ข้าพเจ้าทราบหลักการของท่านบ้าง"  เมื่อจื้อเฉิงตอบแล้วถามอย่างนี้พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวตอบ "ถ้าบอกว่าฉันมีหลักการในเรื่องธรรมสำหรับสอนผู้อื่นแล้วก็เท่ากับว่าฉันหลอกลวงท่าน วิธีที่ฉันสอนลูกศิษย์ของฉัน ก็ปลดปล่อยเขาให้พ้นจากความเป็นทาสของตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วแต่จะเห็นควร การเรียกชื่อเป็นอย่างนี้อย่างนั้นไม่เกิดอะไรดีขึ้นมา นอกจากเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้แทนเพียงชั่วคราวเท่านั้น ภาวะการหลุดพ้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นสมาํธิ วิธีที่อาจารย์ของท่านสอนเรื่องศีล สมาธิ และปัญญา เป็นวิธีที่ดีวิเศษ แต่วิธีของฉันเป็นคนละอย่าง"  "มันจะต่างกันไปได้อย่างไรขอรับ  พระคุณท่าน ในเมื่อศีล สมาธิ และปัญญาต่างก็มีอยู่แบบเดียวเท่านั้น" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงตอบว่า " คำสอนของอาจารย์ท่านใช้สำหรับสั่งสอนแนะนำสานุศิษย์แห่งสำนักมหายาน ส่วนคำสอนของฉันใช้สำหรับคำสอนของสานุศิษย์แห่งสำนักสูงเลิศ ความจริงก็อยู่ที่ว่า บางคนรู้แจ้งธรรมได้รวดเร็วและลึกซึ้งกว่าผู้อื่น ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากเราตีความหมาย ในพระธรรมนั้นต่างกัน ท่านคงเคยได้ยินและทราบแล้วว่า คำสอนของฉันเหมือนกับของอาจารย์ท่านหรือไม่ ในการอธิบายธรรมแํนไม่เคยเหออกไปจากภาวะที่แท้แห่ง "ธรรมญาณ"  ฉันพูดในสิ่งที่ฉันตระหนักรู้ได้ด้วยปัญญาญาณ หากพูดอย่างอื่นไปแล้วก็แสดงว่าภาวะที่แท้แห่ง "ธรรมญาณ" ของผู้อธิบายยังมืดมัว และสามารถเขาแตะต้องได้เพียงเปลือกนอกของธรรมเท่านั้น คำสอนที่แท้จริงสำหรับศีล สมาธิ และปัญญา ควรจะยึดหลักที่ว่าอาการของสิ่งทั้งหลายได้แรงกระตุ้นมาจากภาวะที่แท้แห่ง "ธรรมญาณ"
        พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงได้อธิบายเกี่ยวกับศีล สมาธิ และปัญญา  ด้วโฉลกบทหนึ่งดังนี้
"การทำให้จิตเป็นอิสระจากมลทินทั้งปวงคือ ศีลของภาวะที่แท้แห่งจิต สิ่งที่ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั่นแหละ คือ วัชระ  การมาและการไป เป็นสมาธิในขั้นต่าง ๆ "
        ถ้าหากอธิบายโศลกของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงก็ตรงต่อพระวจนะที่ว่า ศีล คือความปกติของจิต หรือแท้ที่จริง "ธรรมญาณ" ทุกดวงต่างมีความปกติมีศีลอยู่แล้วโดยตามธรรมชาติ และใน ธรรมญาณ  นั้นเอง มีปัญญา สมบูรณ์พร้อมอยู่แล้วที่สามารถตัด กิเลสทั้งปวงได้ มีความแข็งเกร่งดุจวัชระ  จึงไม่อาจมีสิ่งใดทำให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงไปได้เลย
        ส่วนการมาและการไป หมายถึงอาการเคลื่อนไหวของ "ธรรมญาณ"  ที่ผลิตสภาพความเป็น "จิต" นั้นย่อมมีความเป็น "สมาธิ" อยู่ในตัวแล้ว เพราะฉะนั้นศีล สมาธิ และปัญญา จึงเป็นของอย่างเดียวกันแต่สำแดงลักษณะอาการแต่ละหน้าที่เท่านั้นเองจื้อเฉิงได้ฟังโฉลกแล้วจึงกล่าวขออภัยที่ได้ถามปัญหาโง่ ๆ ออกไป และได้กล่าวขอบคูณพร้อมทั้งกล่าวโฉลกว่า "ความเป็นตตัวตนนั้นไม่ใช่อะไร นอกจากเป็นภาพลวงอันเกิดจากการประชุมของขันธ์ห้า และภาพลวงนี้ก็ไม่มีอะไรที่จะเกี่ยวข้องกับความจริงแท้ การยึดมั่นว่า มีตถตา  สำหรับเราที่จะยึดหมาย และมุ่งไปสู่ย่อมเป็นธรรมที่ไม่บริสุทธิ์อย่างหนึ่ง"  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวรับรองโฉลกของท่านจื้อเฉิง อันได้แสดงให้ปรากฏว่า ตนเองนั้นดวงตาเห็นธรรมปลดปล่อยความคิดพ้นไปจากรูปลักษณ์ไม่ว่่าจะเป็นนามธรรม หรือ รูปธรรม
        ผู้ศึกษาปฏิบัติธรรมทั้งปวงแม้หมายมั่นนิพพาน ความหลุดพ้นด้วยการสร้างรูปธรรมแห่งดินแดนนิพพานขึ้นมา จึงเป็นการสร้างกรงขังใส่ตัวเองให้ตกเป็นทาษไม่มีที่สิ้นสุด  การเป็น "ทาษของตนเอง" ปลดปล่อยยากที่สุดมิใช่หรือ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        การแสวงหาความเป็นอิสระเสรีของปุถุชนย่อมเป็นการดิ้นรนจากบ่วงอันหนึ่งไปสู่ป่วงอีกอันหนึ่ง และถ้าเกิดความพอใจป่วงใหม่ก็เข้าใจผิดคิดว่านั่นเป็นผลแห่งอิสระเสรีของตนเอง และยึดเอาไว้จนกว่าเบื้อหน่าย เห็นเป็นบ่วงจึงแสวงหาบ่วงใหม่ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดที่เป็นดั่งนี้เพราะความไม่รู้ได้สร้างกฏเกณฑ์ต่าง ๆ เอาไว้จนกลายเป็นป่วงผูกรัดตัวเอง พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้กล่าวถึงเรื่องเช่นนี้เอาไว้เช่นกัน "คำสอนของอาจารย์ท่านในเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นใช้กับคนฉลาดประเภทด้อย ส่วนของฉันใช้สำหรับคนฉลาดประเภทเด่น ใครที่ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่ง ธรรมญาณ ก็อาจเลิกใช้ลัทธิเหล่านี้ได้ เช่น โพธิ  นิพพาน  และวิชาแห่งความหลุดพ้น  ผู้ที่ได้รับมอบหลักธรรมหรือไม่มีหลักธรรมสักอย่างเดียวเท่านั้นที่สามารถวางหลักเกณฑ์ในธรรมทั้งปวงได้ และผู้ที่เข้าใจความหมายของคำที่ขัดกันเองเหล่านี้เท่านั้น จึงอาจใช้คำเหล่านี้ได้
        ผู้ที่ได้ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งธรรมญาณ ย่อมไม่มีอะไรที่เห็นว่าแตกต่างกัน ไม่ว่าเขาจะวางหลักเกณฑ์ในธรรมทั้งปวงหรือไม่ก็ตาม เขาย่อมเป็นอิสระที่จะมาหรือไป (เขาอาจอยู่ในโลกหรือจากโลกนี้ไปได้ตามประสงค์) และเป็นอิสระจากอุปสรรคหรือเครื่องข้องทั้งมวล เขาจะปฏิบัติการตามความเหมาะสมกับเหตุการณ์ที่ควรเป็น เขาจะตอบคำถามตามอัธยาศัยของผู้ถาม เพียงแต่ชำเลืองดูเท่านั้น เขาก็จะเข้าใจดีว่า นิรมานกายทั้งหมดเป็นส่วนเดียวกับภาวะที่แท้แห่งจิต  เขาบรรลุความเป็นอิสระ อภิญญา  และสมาธิ ซึ่งทำให้เขาสามารถช่วยเหลือมนุษย์ชาติเป็นเป็นงานแสนลำบากได้อย่างง่ายดาย เสมือนกับว่าเป็นการเล่นสนุกของเขา บุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นคนที่ได้ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งธรรมญาณมาทั้งนั้น"
        ความหมายแห่งคำสอนนี้ถ้าติดยึดอยู่กับความรู้ชนิดใดก็ไม่อาจเข้าใจความหมายอันลึกซึ้งของท่านได้ เพราะในธรรมญาณของตนเองไม่มีลัทธิความรู้แต่อย่างใดเลย เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้ธรรมญาณ เหตุใดจึงไม่ต้องสนใจหรือเข้าใจความหมายของคำว่า โพธิ  นิพพาน เพราะภาวะเช่นนั้นปรากฏชัดขึ้นแล้วโดยไม่เกี่ยวกับคำบัญญัติใด ๆ ในโลกนี้ เหมือนกับผู้ที่เคยเห็นเงินตราสกุลอเมริกา แล้วย่อมไม่จำเป็นต้องอธิบายลักษณะของเงินตรานั้น  ผู้ที่ไม่มีหลักธรรมจึงสามารถวางกฏเกณฑ์ในธรรมทั้งปวงได้ย่อมชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ไม่รู้ย่อมสามารถสร้างกฏเกณฑ์ขึ้นสารพัดวิธีเพื่อให้เกิดความรู้ขึ้นมา แต่ความหมายในที่นี้ พระธรรมาจารย์ชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงว่าผู้ที่เข้าใจภาวะแท้จริงของธรรมญาณย่อมสามารถวางหลักเกณฑ์ในธรรมทั้งปวงได้ เพราะภาวะแห่งธรรมญาณย่อมไร้กฏเกณฑ์ หากมีกฏเกณฑ์เสียแล้วย่อมไม่อาจวางได้อีก
        ผู้ที่เข้าใจความหมายของคำที่ขัดกันเองหมายความว่า เขารู้ทั้งด้านบวกและลบของความหมายนั้นจึงถือว่าเป็นผู้ที่สามารถใช้ถ้อยคำเหล่านั้นเพื่อความเข้าใจของผู้อื่นได้  ความเป็นอิสระเสรีที่แท้จริงจึงอยู่ที่ว่าเราสามารถเข้าถึงภาวะแห่งธรรมญาณหรือไม่ ใครเข้าถึง ธรรมญาณ ย่อมเป็นอิสระเสรีอย่างแท้จริง เพราะเขาย่อมรู้อยู่เต็มอกว่า สรรพชีวิตในโลกนี้มิได้มีสิ่งใดแตกต่างกันเลย ธาตุแท้ธรรมญาณ ล้วนมาจากที่เดียวกัน และอยู่ในภาวะเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่มีการแบ่งแยกด้วยฐานะ ความรู้ ยศศักดิ์ รูปลักษณ์ทั้งปวง  มนุษย์แตกต่างกันด้วยวิบากกรรมที่ตนเองสร้างไว้ซึ่งล้วนเป็นเปลือกนอกทั้งนั้น หากเอาแก่นแท้ธรรมญาณ มาเทียบเคียงกันแล้วย่อมไม่แตกต่างกัน แม้ว่า พระอริยะกับสามัญสัตว์แตกต่างกันด้วย รูปลักษณ์ แต่ธาตุแท้ธรรมญาณ หาแตกต่างกันไม่
        จื้อเฉิงเรียนถามพระธรรมาจารย์ว่า "พวกข้าพเจ้าจะใช้หลักการอะไร สำหรับยกเลิกหลักธรรมทั้งปวง" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวตอบดังนี้ "เมื่อถาวะที่แท้แห่งธรรมญาณของเราปราศจากมลทิน ปราศจากความโง่ และปราศจากความกระวนกระวาย เมื่อเราตรวจตราภายในจิตของเราด้วยปัญญาอยู่ทุกขณะไม่ว่างเว้น เมื่อเราไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งทั้งหลาย และไม่ยึดติดอยู่กับวัตถุที่ปรากฏเราก็เป็นอิสระและเสรี เราจะวางหลักเกณฑ์ในธรรมไปทำไม เมื่อเราอาจบรรลุจุดประสงค์ได้โดยไม่มีปัญหา ไม่ว่าเราจะเหลียวซ้ายแลขวา ทั้งนี้เนื่องจากความพยายามของเราเองที่ตระหนักชัดกับการปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติพร้อมกันไป ไม่ใช่ค่อยทำค่อยไปทีละขั้น การวางหลักเกณฑ์ในธรรมจึงไม่จำเป็น เพราะธรรมทั้งหลายย่อมมีลักษณะเป็นนิพพานอยู่แล้วในเนื้อหา เราจะสามารถไปกำหนดเป็นขีดขั้นได้อย่างไร"
        เพราะเหตุนี้คำสอนที่ปลุกเร้าให้ยึดถือรูปลักษณะทั้งปวงจึงเป็นการหลอกลวง ทำให้ผู้คนลุ่มหลงมัวเมาทั้งนี้เพราะผู้หลอกลวงต้องการผลประโยชน์ตอบแทนมากมายมหาศาลนั่นเอง การวางกฏเกณฑ์จึงเป็นเรื่องของปุถุชน ที่ยังเต็มไปด้วยอวิชชาคือความไม่รู้ "ในตัวเรามีพระธรรมกายมิใช่หรือ"  ปุจฉาจากนักปฏิบัติธรรม  "แน่นอนอยู่แล้ว แม้แต่ผีก็มีอยู่มิใช่หรือ" วิสัชนา  "แล้วรูปร่างหน้าตาเป็นไฉน"  "ถ้ากำหนดออกมาเป็นรูปได้ไม่ว่าจะเป็น ดอกบัว  พระพุทธรูป ล้วนเหลวไหลไร้สาระ มิใช่ธรรมกายที่แท้จริง" "แล้วทำไมจึงมีรูปผีที่น่ากลัวเล่า"   "ถ้าพระธรรมกายมีรูปลักษณ์มันก็ไม่ต่างอะไรกับรูปลักษณ์แห่งผีมิใช่หรือ"  ความมีทั้งปวงจึงมิใช่อิสระเสรี ของภาวะแห่งนิพพานอันแท้จริง ไม่ถูกหลอกด้วยรูปผีก็จะถูกหลอกด้วยรูปพระไม่เห็นต่างกันที่ตรงไหนใ่ช่ไหม

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
               ศึกษาสูตรของเว่ยหล่าง  ภาคสมบูรณ์  :  ถาวร  --  ไม่ถาวร

        การเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์ล้วนแต่เป็นเรื่องของ "ธรรมญาณ" มิใช่รูปกายสังขาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรแปรเปลี่ยนได้ตลอดตามเหตุปัจจัย สิ่งที่เกิด - ดับ  จึงไม่เวียนว่ายเพราะหมดภาวะที่จะเวียนว่าย  สิ่งที่ไม่เกิด - ดับ  คงที่ถาวรจึงอยู่ในภาวะที่จะเวียนว่าย "ธรรมญาณ" ไม่มีใครทำลายได้เป็นของคงที่แน่นอน ไม่มีใครทำลายได้ เพราะเหตุนี้จึงเป็นตัวการที่จะเวียนว่ายไปตามเหตุปัจจัยที่ตนเองสร้างเอาไว้ ปัญหาการเวียนว่ายจึงกลายเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยปัญญารู้แจ้งและรับรสด้วยตนเองเพราะความสับสนแห่งภาวะ "นิจจัง"  และ "อนิจจัง" นี่เอง  ผู้ที่สงสัยในปัญหานี้ก็คือ ภิกษุจื้อเซ่อ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงลึกล้ำนัก  เมื่อครั้งเป็นฆราวาสมีนามว่า จางหังชัง เป็นชาวเมืองเจียงซี ในวัยหนุ่มชอบผจญภัย และเป็นเพราะข้อบาดหมางระหว่างศิษย์สำนักของท่านเสินซิ่วฝ่ายเหนือ กับพระธรรมาขารย์ฮุ่ยเหนิงฝ่ายใต้ สานุศิษย์บางคนหัวรุนแรงในทางถือพวกถือคณะ แม้อาจารย์ของทั้งสองฝ่ายต่างโอนอ่อนผ่อนตามกันมิได้ถือเขาถือเรา แต่ศิษย์ของท่านเสินซิ่ว กลับเรียกอาจารย์ของตนว่า พระสังฆนายกองค์ที่หก ทั้ง ๆ ที่อาจารย์ของตนนั้นไม่มีสิทธิ์อะไรมากไปกว่าเป็นอาจารย์ของพวกเขาก็ตาม  ศืษย์ของท่านเสินซิ่วชอบอิจฉาพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง เพราะท่านเป็นผู้ที่ได้รับบาตรและจีวรจากพระธรรมาจารย์สมัยที่ห้า จึงเป็นผู้ทรงสิทธิ์อันสมบูรณ์ในตำแหน่งนั้นใครจะปฏิเสธมิได้ ดังนั้นเพื่อกำจัดพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง  บรรดาศิษย์ขี้อิจฉาจึงจัดการจ้าง จางหังชัง ครั้งเป็นฆราวาสให้มาฆ่าพระรรมาจารย์เสีย
        พระธรรมาจารย์ย่อมเป็นผู้ที่รู้แจ้งในธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น ด้วยอำนาจอภิญญาที่อ่านกระแสจิตของผู้อื่นได้ พระธรรมาจารย์จึงทราบแผนการณ์ทั้งปวงล่วงหน้า ท่านจึงเตรียมตัวไว้พร้อมเพื่อรอรับการฆาตกรรม ครั้งนี้โดยนำเงินสิบตำลึงมาวางไว้ข้าง ๆ อาสนะ พอจางหังซังมาถึงในเย็นวันหนึ่งก็ย่องเข้าไปในห้องพระธรรมาขารย์ฮุ่ยเหนิง ซึ่งยื่นคอออกมาให้ฟันถึงสามครั้งสามคราก็ไม่เข้า  พระธรรมาจารย์จึงกล่าวว่า  "ดาบที่ตรงย่อมไม่คด  แต่ ดาบคดย่อมไม่ตรง ฉันเป็นหนี้ท่านก็เพียงเงินเท่านั้น แต่ชีวิตของฉันไม่ได้เป็นหนี้ท่านเลย"  จางหังซังตกใจสุดขีดจนเป็นลมสลบไปเวลานาน ครั้นฟื้นขึ้นมาแล้วรู้สำนึกผิดและเสียใจ จึงอ้อนวอนขอความเมตตาจากพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงและขอบวชทันที พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงมอบเงินสิบตำลึงให้และกล่าวว่า "ท่านอย่าอยู่ที่นี่เลย เพราะลูกศิษย์ของฉันจะทำร้ายท่าน ไปเสียก่อน แล้วเวลาอื่นต่อยปลอมตัวมาหาฉันใหม่ ฉันจะดูแลความปลอดภัยของท่าน"
        เมื่อได้ฟังคำสั่งเช่นนั้นเขาจึงหนีไปในคืนวันนั้น  และภายหลังได้บวชเป็นภิกษุนามว่าจื้อเซ่อ ปฏิบัติด้วยความพากเพียรยิ่ง วันหนึ่งระลึกถึงคำกล่าวของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง จึงได้เดินทางรอนแรมมาเป็นระยะทางไกล เมื่อได้เข้าไปนมัสการ พระธรรมาจารย์จึงกล่าวว่า "ทำไมถึงได้มาล่าช้าเช่นนี้ ฉันคิดถึงท่านตลอดเวลา" "เนื่องจากวันนั้น ท่านได้อภัยความผิดของข้าพเจ้าด้วยความเมตตาอย่างหาที่เปรียบมิได้ ข้าพเจ้าจึงได้บวชเป็นภิกษุและศึกษาพระพุทธศาสนาด้วยความพากเพียร แม้กระนั้นก็ยังรู้สึกว่ายากที่จะตอบแทนพระคุณท่านได้เพียงพอ นอกจากข้าพเจ้าจะแสดงความกตัญญูได้ด้วยการเผยแพร่ธรรม เพื่อความหลุดพ้นแก่สามัญสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น ในการศึกษามหาปรินิพพานสูตร ข้าพเจ้าพยายามอ่านอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า "ถาวร"  และ  "ไม่ถาวร" ขอพระคุณท่านได้โปรดกรุณาอธิบายย่อ ๆ ให้ข้าพเจ้าด้วย"  พระธรรมาจารย์อุ่ยเหนิงจึงตอบว่า "สิ่งที่ไม่ถาวรคือธรรมชาติแห่งพุทธะ สิ่งที่ถาวรคือจิตใจที่มีลักษณะต่าง ๆ ไป ตลอดจนธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศลด้วย" ภิกษุจื้อเซ่อกล่าวว่า  "ท่านครับ พระคุณท่านอธิบายค้านพระสูตรเสียแล้ว"  "ฉันไม่กล้าทำเช่นนั้นหรอกเพราะฉันได้รับมอบหัวใจแห่งธรรมของสมเด็จพระพุทธองค์" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าว "ตามความในพระสูตรนั้น ธรรมชาติแห่งพุทธะย่อมถาวร ส่วนธรรมที่เป็นกุศลทั้งมวลรวมทั้งโพธิจิตไม่ถาวร แต่ท่านกล่าวเป็นอย่างอื่นเช่นนี้ จะไม่เป็นการค้านหรือ คำอธิบายของท่านยิ่งสร้างความสงสัยและความสับสนให้แก่ข้าพเจ้ายิ่งขึ้น"   "ครั้งหนึ่งฉันได้ให้ภิกษุณีชื่อ อู๋จิ้นฉังอ่านมหาปรินิพพานสูตรให้ฟังตลอดทั้งเล่ม เพื่อที่จะได้อธิบายให้เธอฟังได้ทุก ๆ คำพูดและทุก ๆ ความหมายที่ฉันได้อธิบายไปในครั้งนั้นก็ตรงกับคัมภีร์ทั้งสิ้น และที่ฉันกำลังอธิบายให้ท่านฟังขณะนี้ก็อย่างเดียวกัน ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากคัมภีร์เลย" พระภิกษุจื้อเซ่อถามว่า "เนื่องจากปัญญาของข้าพเจ้าทึบ ท่านกรุณาอธิบายอย่างละเอียดพิสดารให้ข้าพเจ้าฟังด้วย"   "ท่านไม่เข้าใจดอกหรือว่า ถ้าหากธรรมชาติแห่งพุทธะเป็นสิ่งถาวรก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมาพูดถึงธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศลและตราบจนสิ้นกัลป์ก็ยังไม่มีใครจะปลุกโพธิจิตได้ เพราะฉะนั้นเมื่อฉันพูดว่า ไม่ถาวรก็ตรงกับที่สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสว่า ถาวรโดยแท้จริงเช่นเดียวกัน ถ้าธรรมทั้งมวลเป็นสิ่งที่ไม่ถาวร สิ่งต่าง ๆ หรือวัตถุต่าง ๆ  ก็ย่อมมีธรรมชาติของมันเองที่จะเกิดและดับ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ก็หมายความว่า ภาวะที่แท้แห่งจิตอันเป็นสิ่งที่ถาวรอันแท้จริงย่อมไม่แผ่ซ่านไปทั่วทุกแห่ง เพราะฉะนั้น เมื่อฉันพูดว่า ถาวร ก็ตรงกับสิ่งที่สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ถาวร โดยแท้จริง"
        ความหมายที่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวย่อมเล็งเห็นถึงความเข้าใจเป็นจุดสำคัญและแท้ที่จริงหาก พุทธจิตถาวร  ก็จะไม่มีพระพุทธะ พระโพธิสัตว์ลงมาฉุดช่วยเวไนย์สัตว์ เพราะเหล่าเวไนยนั้นมีความถาวรแห่งจิตพุทธะอบู่แล้ว การเวียนว่ายย่อมไม่เกิดขึ้นแน่นอน  "ธรรมญาณ" ย่อมเป็นสิ่งที่ถาวรเที่ยงแท้ เพราะฉะนั้นจึงตกอยู่ในภาวะแห่งการเวียนว่ายได้ และจำเป็นต้องได้รับการฉุดช่วยจากพระพุทธะ พระโพธิสัตว์ทั้งปวง นอกจากธรรมญาณแล้วสรรพสิ่งย่อมไร้ความถาวรโดยสิ้นเชิง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
               ศึกษาสูตรของเว่ยหล่าง  ภาคสมบูรณ์  :   ธรรมชาติที่ถาวร

        ความเข้าใจในพุทธธรรมด้วยปัญญามีความหมายต่อชีวิตของทุกคน แต่ถ้าใช้เพียงอารมณ์อันเป็นสัญญาขันธ์อย่างเดียวนับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งใหญ่ต่อชีวิต เพราะเขาเหล่านั้นจะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิไปโดยไม่รู้ตัว  บรรดาผู้ที่ยึดถือตำราเป็นสรณะ ล้วนไม่ยอมให้ใครโต้เถียงนอกตำราเป็นอันขาด ดังนั้นเมื่อตำราผิดไปจากสัจธรรมเขาย่อมปฏิบัติผิดต่อธรรมชาติอันแท้จริงของธรรมญาณ ชีวิตย่อมไม่พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด ผู้ยึดมั่นถือมั่นจึงได้ชื่อว่าเป็น ปุถุชน  อันหมายถึงเป็นผู้หนาไปด้วยความหลงผิดทั้งมวล  พระธรรมาจารย์ฮุยเหนิงได้อธิบายให้เข้าใจถึงสามัญชนและพวกมิจฉาทิฏฐิว่า "เชื่อในความถาวรที่ผิดคือ เชื่อในความเที่ยงของวิญญาณและโลก ส่วนพวกสาวกที่เข้าใจผิดว่า ความเที่ยงแท้ของนิพพานเป้นสิ่งที่ไม่ถาวร จึงเกิดความเห็นกลับกันอยู่แปดประการ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นผิดของการมองด้านเดียวเช่นนี้ สมเด็จพระพุทธองค์จึงทรงสอนให้เข้าใจง่าย ๆ ในมหาปรินิพพานสูตร ซึ่งอธิบายหลักธรรมอันสูงสุดของคำสอนในพระพุทธศาสนาคทอความถาวรที่แท้จริง ความสุขที่แท้จริง อัตตะที่แท้จริง และความบริสุทธิ์ที่แท้จริง การอ่านไปตามตัวหนังสือในพระสูตรโดยไม่รู้เรื่องอะไร ท่านจึงไม่เข้าใจในหัวใจพระสูตร ในการถือเอาว่า สิ่งใดที่แตกสิ่งนั้นไม่ถาวร ท่านจึงแปลความหมายในคำสอนครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระพุทธองค์ผิด คำสอนนี้เป็นคำสอนที่ลึกซึ้งและครบถ้วน ท่านอาจอ่านพระสูตรนี้สักพันครั้งแต่ท่านจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากพระสูตรเลย" ความเห็นที่ว่าโลกเที่ยง วิญญาณ ไม่ดับสูญนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะคนเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมชาติแท้ของ ธรรมญาณ  ซึ่งไม่เกิดไม่ดับ ไม่อาจทำลายได้ แต่บรรดาวิญญาณทั้งปวงแม้อยู่ในสภาพความเป็นทิพย์ก็เป็นเรื่องของการปรุงแต่งไปตามเหตุปัจจัยแห่งวิบากกรรมที่ตนเองสร้างสมเอาไว้ ล้วนเป็นเรื่องที่สามารถแปรเปลี่ยนได้ตลอดกาลสมัย หากเขาชดใช้หนี้เวรกรรมจนหมดสิ้น  แต่ส่วนที่เป็น "ธรรมญาณ"  ไม่อาจแปรเปลี่ยนหรือดับสูญไปได้เลย ไม่ว่าจะผ่านกาลเวลานานสักกี่แสนกัปป์ และไม่มีความร้อนใด ๆ เผาไหม้ได้เลย "ธรรมญาณ" จึงเป็นความถาวรที่แท้จริง  "ธรรมญาณ" จึงเป็นอัตตาที่แท้จริง "ธรรมญาณ" จึงเป็นความสุขที่แท้จริง "ธรรมญาณ" จึงเป็นความบริสุทธิ์ที่แท้จริง  ภิกษุจางหังชัง ซึ่งบรรลุธรรมโดยสมบูรณ์ในครั้งนั้นและกล่าวโศลกแก่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงความว่า  "เพื่อที่จะชี้ข้อผิดแก่ผู้ยึดมั่นใน "ความไม่ถาวร" สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสสอน "ธรรมชาติที่ถาวร"  ผู้ไม่เข้าใจว่า คำสอนนี้เป็นเพียง วิธีการอันชาญฉลาด ก็เหมือนเด็กที่หยิบก้อนกรวดแล้วบอกว่าเป็นเพชร โดยไม่ต้องใช้ความพยายามใดในตัวข้าพเจ้าเลย ธรรมชาติแห่งพุทธะก็ปรากฏอยู่แล้ว สิ่งนี้ไม่ใช่เนื่องมาจากคำสอนของท่านอาจารย์ และก็ไม่ใช่เนื่องมาจากการลรรลุของข้าพเจ้า"  ความหมายแห่งโศลกเพื่อแสดงให้เห็นว่า จางหังชัง อันเป็นภิกษุที่ลอบเข้ามาสังหารพระธรรมาจารย์ในครั้งก่อนนั้นได้เข้าใจถ่องแท้ต่อ "ธรรมญาณ" ของตนเองแล้วจึงเกิดความเข้าใจในสรรพสิ่ง และเกิดปัญญามองเห็นชัดเจนถึง สัจธรรม แห่ง ธรรมญาณ ว่ามันเป็นเช่นนั้นเองมีอยู่แล้วโดยสมบูรณ์ในตัวมันเอง จึงไม่จำเป็นต้องได้รับคำสั่งสอนของพระธรรมาจารย์ หรือแม้แต่การบรรลุก็ไม่มีภาวะให้เป็นที่ตื่นเต้นหรือแปลกประหลาดอันใดเลย  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวชมเชยภิกษุจางหังชังว่า "เดี๋ยวนี้ท่านได้ตระหนักชัดโดยตลอดแล้วจากนี้ไป ท่านควรได้ชื่อว่าจื้อเซ่อ ผู้ตระหนักชัดโดยตลอด" ภิกษุจื้อเซ่อกล่าวขอบคุณพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงและนมัสการจากไป  มนุษย์ทุกรูปทุกนามและทุกฐานะในโลกนี้ล้วนมีธรรมญาณ ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่ตนเองหลงใหลลืมไปชั่วเวลาอันยาวนาน และในช่วงเวลาแห่งการเวียนว่ายนั้นเองได้สร้างสมเหตุแห่งบาปเวรกรรมเอาไว้มากมายจนสุดประมาณ แม้การเวียนว่ายแต่ละชาติภพก็เกิด อวิชชา คือ ความไม่รู้ เพราะฉะนั้นแต่ละชาติจึงสร้างสมแต่บาปเวรกรรมโดยเชื่อว่าไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด เพราะมองไม่เห็น เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ นั้น พระองค์ทรงค้นพบอะไร "อริยสัจสี่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ" "ความจริงเช่นนี้มนุษย์ทุกรูปนามล้วนรู้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องค้นพบเพราะประจักษ์แจ้งกันทั่วหน้า" แต่สิ่งที่ประจักษ์ชัดในวันเพ็ญเดือนหก นั้นคือ การมองเห็นพระองค์ได้ตั้งคำถามขึ้นว่า "ดวงตาที่มองเห็นอยู่นั้น ใครเป็นผู้เห็น ดวงตากระนั้นหรือ ถ้ามีแต่ ดวงตาจักเห็นได้หรือ ตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังต่างหาก" พระองค์จึงประจักษ์แจ้งในธรรมญาณ อันเป็นตัวจริงแท้ตามธรรมชาติที่ถาวรในวันนั้น   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
               ศึกษาสูตรของเว่ยหล่าง  ภาคสมบูรณ์  :  เหนือปัญญา  --  สมาธิ

        เมื่อธรรมะไม่อาจใช้ภาษามาบรรยายได้แล้ว เหตุไฉนจึงมีการถ่ายทอดทั้งคำสอนและวิธีการเล่า  ถ้าจะเปรียบกันแล้วน่าจะเป็นในลักษณะที่ว่ามือที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ "ดวงจันทร์คือธรรมะ" นิ้วที่ชี้เป็นหนทางให้เห็นดวงจันทร์ แต่ปุถุชนที่ไม่ได้เข้าใจในธรรมะอันแท้จริงมักติดอยู่ที่นิ้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่อาจเห็นดวงจันทร์ หรือไม่รู้จักธรรมะ เพราะไปหลงเอาว่าคำสอนและวิธีการต่าง ๆ นั้นเป็นธรรมะ ในสมัยนั้นเป็นรัชสมัยของพระมหาจักร์พรรดิ์นีเจ๋อเทียน หรือ บูเช็คเทียน และมหาจักรพรรดิจงจง ได้มีพระบรมราชโองการประกาศเมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน อ้ายของปีที่ 1 แห่งรัชกาลเสินหลงมีความว่า "เนื่องจากข้าพเจ้าทั้งสอง ได้เชิญท่านอาจารย์ฮุ่ยอัน และท่านพระอาจารย์เสินซิ่ว ให้พำนักอยู่ในพระราชวังเพื่อรับของถวาย ข้าพเจ้าได้ศึกษาพุทธยาน จากท่านพพระอาจารย์ทั้งสองนี้ ทุกโอกาสที่ว่างจากพระราชกรณียกิจ แต่ด้วยความถ่อมตนอย่างบริสุทธิ์ใจ ท่านพระอาจารย์ทั้งสองนี้ได้แนะนำให้ข้าพเจ้าขอคำแนะนำจากท่านพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงแห่งสำนักใต้ซึ่งเป็นผู้ได้รับเลือก สำหรับรับมอบพระธรรมและบาตร จีวร จากพระสังฆปรินายกองค์ที่ห้า เช่นเดียวกับได้รับหัวใจแห่งธรรมของสมเด็จพระพุทธองค์ พร้อมกันนี้ข้าพเจ้าทั้งสองได้ส่งขันทีเซียเจี่ยน เป็นผู้ถือพระบรมราชโองการมานิมนต์พระคุณท่านไปเมืองหลวง และมั่นใจว่าพระคุณท่านคงเมตตาอนุเคราะห์ข้าพเจ้าทั้งสองด้วยการไปเยี่ยมเมืองหลวงโดยด่วน"  เนื่องด้วยสุขภาพไม่สมบูรณ์ พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้ตอบปฏิเสธการนิมนต์ของพระมหาจักรพรรดิและขอพระบรมราชานุญาตที่จะใช้ชีวิตอยู่ในป่า เมื่อเข้าไปนมัสการสนทนากับพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง เซียเจี่ยน ได้กล่าวว่า "บรรดาผู้เชี่ยวชาญในเมืองหลวงต่างได้แนะนำประชาชนเป็นอย่างเดียวกัน ให้นั่งขัดสมาธิเข้าสมาธิ ท่านเหล่านั้นบอกว่า เป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะตระหนักชัดถึงหลักธรรมได้ ขอให้ข้าพเจ้าได้ทราบถึงแนวคำสอนของพระคุณท่านบ้างได้ไหมขอรับ"  "หลักธรรมนั้นจะตระหนักชัดได้ด้วยจิต และไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนั่งขัดสมาธิ ในวัชรักเขทิสูตรก็กล่าวว่าเป็นการผิดที่ใคร ๆ จะยืนยันว่าตถาคตมาหรือไปและนั่งหรือนอน เพราะเหตุใดหรือ เพราะว่าสมาธิแห่งความบริสุทธิ์ของตถาคต ไม่ได้หมายความว่ามาจากแห่งใดหรือไปที่แห่งใด ไม่ได้หมายความว่ามีการเกิดหรือการดับ ธรรมทั้งหลายย่อมว่างเปล่าหรือสงบ โดยทำนองเดียวกัน บัลลังก์แห่งความบริสุทธิ์ของตถาคตก็เป็นเช่นนั้น พูดอย่างตรง ๆ แล้วไม่มีแม้แต่สิ่งเหล่านี้ที่จะบรรจุได้ ด้วยเหตุนี้ทำไมเราจะต้องทรมานตัวเองด้วยการนั่งสมาธิ" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวตอบ แต่ขันทีเซียเจี่ยนกล่าวว่า "เมื่อเดินทางกลับพระมหาจักรพรรดิทั้งสองต้องให้ข้าพเจ้ากราบทูลรายงานเป็นแน่ พระคุณท่านจะโปรดกรุณาให้คำเตือนที่เป็นหลักสำคัญในการสอนของพระคุณท่านแก่ขัาพเจ้าบ้างได้ไหมขอรับ เพื่อข้าพเจ้าจะได้สามารถกราบทูลให้พระมหาจักรพรรดิทรงทราบ และยังจะได้ชี้แจงแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ในเมืองหลวงด้วย เสมือนกับว่าแสงเพลิงจากประทีปดวงหนึ่งที่อาจจุดต่อให้แก่ประทีปอื่น ๆ อีกหลายร้อยหลายพันดวง บรรดาคนโง่ทั้งหลายจะไดเกิดปัญญาและแสงสว่าง  ย่อมก่อให้เกิดแสงสว่างต่อไปโดยไม่สิ้นสุด"  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบว่า  "หลักธรรมนั้นไม่ได้หมายถึงแสงสว่างหรือความมืด แสงสว่างและความมืดนั้น หมายถึงความคิดที่อาจสับเปลี่ยนกันได้ ฉะนั้น การกล่าวว่าแสงสว่างก่อให้เกิดแสงสว่างต่อโดยไม่สิ้นสุดจึงผิด เพราะว่ามันมีความจบสิ้น เนื่องจากความสว่างและความมืด เป้นคำคู่ปีะเภทตรงข้ามในวิมลกีรตินิเทศ สูตรกล่าวว่า หลักธรรมนั้นไม่มีข้ออุปมา เพราะว่าไม่ใช่เป็นคำที่อาจเทียบเคียงได้"
        กิเลส คือ โพธิสองอย่างนี้เหมือนกันไม่ต่างกัน การทำลายกิเลสด้วยปัญญาเป็นคำสอนของสำนักสาวกถูมิ และสำนักปักเจกพุทธภูมิ ซึ่งสานุศิษย์ของสำนักเหล่านี้ ใช้ยานเทียมด้วยแพะและใช้ยานเทียมด้วยกวาง สำหรับผู้มีความเฉียบแหลม และปัญญาสูง คำสอนดังกล่าวคงจะไร้ประโยชน์ทั้งสิ้น" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงชี้แจง
       ความหมายแห่งพระวจนะของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ชี้ให้เห็นจิตเดิมแท้หรือธรรมญาณที่อยู่เหนือบัญญัติใดในโลกนี้ เพราะธรรมญาณอยู่เหนือกาลเวลา เพราะไม่มีเกิดและดับ เพราะฉะนั้น ธรรมญาณจึงไม่มีไปและมา
       ส่วน  " จิต " ซึ่งเป็นผลผลิตของธรรมญาณ ที่เคลื่อนไหวนั้นมีการไปและมา เมื่อเราคิดถึงอดีต เป็นเรื่องเศร้า จิตนั้นก้เศร้าหมอง  ถ้าเป็นเรื่องสนุก จิตนั้นก็ร่าเริง   หากคิดถึง อนาคต  " จิต " นั้นก็แล่นไปสู่อนาคต ถ้าดีก็มีสุข ถ้าไม่ดีก็เป็นทุกข์  เพราะฉะนั้น  ธรรมญาณ แท้จึงไม่มีการเคลื่อนไหวดังจิตเพราะฉะนั้นจึงไม่ไปและไม่มา ความสงบเช่นนี้และว่างเปล่า จึงเป็นตัวแท้แห่งธรรมญาณ ที่ทุกคนต้องประสบพบด้วยตนเองจึงเกิดความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ธรรมญาณ จึงเหนือปัญญาและสมาธิ  บางสำนักจึงติดในปัญญาจนกลายเป็นอวิชชาไปอย่างไม่รู้ตัว 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                  ศึกษาสูตรของเว่ยหล่าง  ภาคสมบูรณ์  :   ธรรมชาติที่แท้จริง

        ความแตกต่างกันสองอย่างที่เป็นจริงในโลกนี้คือ มีรูป กับ ไม่มีรูป  ศักยภาพแห่งการเห็นของกายหยาบ สัมผัสได้แต่สิ่งที่เป็นรูปลักษณ์ เช่น สัตว์ ต้นไม้ แม่น้ำ ภูเขา ฯลฯ เท่านั้น  ส่วน วิญญาณ อากาศ ความว่าง พลังงาน นัยน์ตาหยาบมองไม่เห็น เมื่อเป็นเช่นนี้ ธรรมญาณ จึงถูกหลอกลวงจากกายหยาบจึงไม่รู้จัก"ธรรมชาติ" แม้อยู่ในระดับโลกโลกีย์ เพราะการที่มุ่งหมายให้ "ตัวจริง" รู้ธรรมชาติอันแท้จริงที่เหนือไปจากโลกนี้จึงเป็นเรื่องยากนัก เพราะธรรมชาติที่เหนือโลกเป็นสิ่งที่แท้จริงไม่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่ตกอยู่ในของกฏอนิจจัง  พระพุทธองค์ตรัสรู้สิ่งนั้น พระองค์จึงทรงสิ้นสงสัยใน "ธรรมะ" ทั้งปวง แต่ผู้ที่กำลังเดินอยู่บนเส้นทางแห่งการศึกษาย่อมสับสนต้นปลาย แห่ง "ํธรรมญาณ" แลหลงไปว่าทุกอย่างขาดสูญ  โดยเชื่อว่าทุกอย่างอยู่ในภาวะไม่เที่ยงแปรเปลี่ยนไปหมดทุกอย่างเพราะฉะนั้นจึงเกิด "ความสงสัย" แม้ "ธรรมะ" ในตัวเอง ขันทีนามว่า เซียเจี่ยน ก็เช่นเดียวกัน ได้กราบเรียนถามพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงว่า "คำสอนของสำนักมหายานได้แก่อะไร"  "ในทัศนะของสามัญชน ปัญญา  และอวิชชา เป็นของสองสิ่งแยกจากกัน ส่วนคนที่ฉลาด ผู้ได้ตระหนักชัดถึงภาวะที่แท้แห่งธรรมญาณโดยตลอดแล้วย่อมรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีธรรมชาติเป็นอย่างเดียวกัน  ธรรมชาติอันเป็นอย่างเดียวกัน หรือ ธรรมชาติอันไม่เป็นของคู่นี้คือสิ่งที่เรียกว่า ธรรมชาติที่แท้จริง ซึ่งในกรณีของสามัญชนและคนโง่ก็ไม่ได้มีน้อยลง และในกรณีของปราชญ์ผู้บรรลุความรู้แจ้งแล้วก็ไม่ได้มีมากขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้ไหวสะเทือนในสภาพที่มีความวุ่นวายและก็ไม่ได้สงบนิ่งในสภาพที่มีสมาธิ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ถาวร ไม่ได้ไปหรือมา ไม่อาจพบได้จากภายนอก และก็ไม่อาจพบได้จากภายใน หรือไม่อาจพบได้ในอวกาศ ซึ่งอยู่ในระหว่างสิ่งทั้งสองนี้  เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความมีอยู่และความไม่มีอยู่ เป็นสิ่งที่มีธรรมชาติ และปรากฏการณ์อยู่ในสภาพเช่นนั้นตลอดไปเป็นสิ่งที่ถาวรและไม่เปลี่ยนแปลง  สิ่งนี้แหละคือหลักธรรม" ความหมายแห่งพระวจนะของพระธรรมาจารย์นี้ ชี้ให้เห็นถึง "ธรรมญาณ" อันเป็นธรรมะที่แท้จริง ซึ่งไม่อาจเอาบัญญัติหรือภาษาใด ๆ ในโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมชาติในโลกนี้ไปเปรียบเทียบได้เลยเพราะ "ธรรมญาณ" มิได้เป็นของคู่ที่สามารถเปรีบยเทียบกันได้  ขันทีเซี่ยเจียน จึงถามต่อไป "ท่านกล่าวว่า เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความมีอยู่และความไม่มีอยู่ ถ้าเช่นนั้นท่านจะอ้างว่า ต่างกับคำสอนของพวกมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งสอนอย่างเดียวกันเช่นนี้ได้อย่างไร" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงอธิบายว่า "ในคำสอนของพวกมิจฉาทิฏฐิคำว่า "ไม่มีอยู่" หมายถึงการสิ้นสุดของคำว่า "มีอยู่" ส่วนคำว่า "มีอยู่" ก็ใช้เปรียบเทียบในทางตรงกันข้ามกับคำว่า "ไม่มีอยู่" สิ่งที่เขาหมายถึงความไม่มีอยู่ ไม่ใช่หมายถึงการทำลายล้างโดยแท้จริง และสิ่งที่เขาเรียกว่ามีอยู่ก็ไม่ได้หมายถึงความมีอยู่ที่แท้จริง  สิ่งที่ฉันหมายถึงความมีอยู่และความไม่มีอยู่ ก็คือ โดยเนื้อแท้แล้วย่อมไม่มีอยู่ แต่ในขณะปัจจุบันก็ไม่ได้ถูกทำลายล้างไป นี่แหละคือความแตกต่างระหว่างคำสอนของฉัน กับ คำสอนของพวกมิจฉาทิฏฐิ"  ถ้าจะวินิจฉัย คำสอนของพวกมิจฉาทิฏฐินั้นมีระดับความจริงแค่โลกีย์หรือในโลกนี้เท่านั้น จึงเป็นเรื่องของการปรากฏการณ์รุปลักษณ์ทั้งปวง แต่คำสอนของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงเป็นเรื่องของ โลกุตรภูมิอันเหนือไปจากความเป็นจริงของโลกนี้ และเป็น "ธรรมญาณ" อันแท้จริงที่มีสภาวะเดิมเหนือโลก เพราะฉะนั้น พระธรรมาจารย์จึงบอกแก่ขันทีเซี่ยเจี่ยนว่า  "ถ้าท่านปรารถนาจะทราบถึงประเด็นสำคัญในคำสอนของฉันแล้ว ท่านควรสลัดตัวของท่านให้ปลอดจากความคิดทั้งปวง ไม่ว่าดีหรือเลว เมื่อนั้นจิตของท่านจะอยุ่ในถาวะอันบริสุทธิ์สงบและสันติตลอดเวลา ทั้งคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากการนี้ก็มีมากมายเท่าดุจเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา"  คำสอนของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงทำให้ขันทีเซี่ยเจียนบรรลุธรรมโดยสมบูรณ์อย่างฉับพลัน เขากราบนมัสการและอำลาพระธรรมาจารย์กลับเมืองหลวง เมื่อถึงพระราชวังแล้วจึงกราบทูลรายงานต่อพระมหาจักรพรรดิ ตามที่พระธรรมาจารย์ได้กล่าว การที่จิตของเรายังคงติดอยู่ในความดี หรือ เลว ย่อมทำให้ทัศนะของเราติดและหลงไปด้วยการปรุงแต่งตามสิ่งที่ติดจึงไม่พบ "ธรรมชาติที่แท้จริง" ครั้นถึงวันขึ้นสามค่ำ  เดือนเก้าปีเดียวกัน พระมหาจักรพรรดิมีพระบรมราชโองการประกาศชมเชยพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงมีความว่า "ด้วยเหตุแห่งชราภาพและสุขภาพไม่สมบูรณ์ พระธรรมาจารย์ได้ปฏิเสธการนิมนต์มาเมืองหลวง ท่านขอสละชีวิตปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อคุณประโยชน์ของพวกเราท่านเป็นเนื้อนาบุญแห่งชาติโดยแท้จริง ท่านได้ปฏิบัติตามอย่างท่านวิมลกีรติ ซึ่งพักฟื้นอยู่ในเมืองเวสาลี ทำการเผยแพร่คำสอนของมหายานได้ไพศาล ด้วยการถ่ายทอดหลักธรรมของสำนักเซ็น และด้วยการอธิบายหลักธรรมแห่งการไม่เป็นของคู่ จากการถ่ายทอดของเซี่ยเจี่ยน ผู้ซึ่งได้รับส่วนแบ่งในความรู้ทางพุทธะจากพระสังฆนายก ข้าพเจ้าทั้งสองจึงมีโอกาสเข้าใจถึงคำสอนชั้นสูงของพระพุทธศาสนา นี่จะต้องเนื่องมาจากกุศลและรากเหง้าแห่งความดีที่ข้าพเจ้าได้สร้างสมมาแต่ชาติปางก่อน มิฉะนั้นแล้วข้าพเจ้าก็คงไม่ได้เกิดมาทันพระคุณท่าน ในการน้อมสักการะต่อพระคุณของพระสังฆปรินายก ข้าพเจ้าสุดวิสัยที่จะกล่าวคำใด ๆ ให้ทัดเทียมได้ ฉะนั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความคารวะอันสูงที่มีต่อพระคุณท่าน ข้าพเจ้าทั้งสองขอถวายจีวรโลมาและบาตรผลึก มาพร้อมนี้ และโดยคำสั่งนี้ให้เป็นหน้าที่ของข้าหลวงเซ่าโจวที่จะปฏิสังขรณ์พระอารามของพระคุณท่าน และดัดแปลงบ้านเดิมของพระคุณท่านให้เป็นวิหาร ทั้งให้ชื่อว่า กั๋วเอินซื่อ ซึ่งหมายถึงนาบุญแห่งรัฐ"  ผู้ที่จะทำความเข้าใจสัจธรรมแห่ง "ธรรมญาณ" จึงต้องวางทุกสิ่งทุกอย่างลงไปไม่ว่าเป็น "นาม" หรือ "รูป" เมื่อนั้นเขาจึงพบ "ธรรมญาณอันแท้จริง" แห่งธรรมญาณของตนเอง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                   ศึกษาสูตรของเว่ยหล่าง  ภาคสมบูรณ์  :   อนุสัย  -  สันดาน

        มีคำกล่าวคล้ายคำพังเพยที่บอกว่า " สันดอนพอขุดได้ แต่สันดานยากที่จะขุด " ความหมายแห่งการพูดนี้ชี้ให้เห็นความเป็นจริงว่า การยึดมั่นถือมั่นปฏิบัติจนเคยชินกลายเป็นอนุสัยนอนเนื่องอยู่ในขันธ์ ย่อมยากที่จะเปลี่ยนแปลแก้ไขนัก ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ต้องแปลกใจว่า เหตุไฉนคำสอนของพระบรมศาสดาที่มีเกจิอาจารย์ทั้งปวงถ่ายทอดสั่งสอนต่อประชาชนมายาวนานนับเป็นพันปี จึงไม่อาจถอนรากเหง้าแห่งความชั่วร้ายของคนลงไปได้  จิตใจของคนนับวันแต่โหดร้ายและมีพฤติกรรมไม่ได้ผิดแผกไปจากสัตว์เดรัจฉานเข้าไปทุกวัน มนุษย์สูญเสียความดีงามของตนจนเกือบหมดสิ้น แม้พระธรรมคำสอนก็ไม่อาจแทรกเข้าไปทำลายความมือบอดเหล่านี้ได้เลย อารมณ์ชั่วร้ายได้ฝังแน่นในธรรมญาณจนยากที่จะแก้ไขได้ จึงกลายเป็นอนุสัยหรือสันดานที่ตนเองเท่านั้นจักแก้ไขได้  วันหนึ่ง พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงสั่งให้ตามตัวสานุศิษย์เช่น ฝ่าไห่ จื้อเฉิง เสินฮุ่ย จื้อฉัง จื้อจง จื้อเซ่อ จื้อเต้า ฝ่าหุย  ฝ่าหยู ให้มาพบและกล่าวแก่ศิษย์เหล่านี้ว่า " ท่านทั้งหลายผิดกับคนอื่นที่เหลือ เมื่อฉันเข้าปรินิพพานไปแล้ว พวกท่านแต่ละคนจะได้เป็นอาจารย์ฌานคนละเมือง ฉะนั้น ฉันจะให้คำเตือนแก่พวกท่านในเรื่องสั่งสอน เพื่อท่านจะได้รักษาธรรมเนียมแห่งสำนักของเรา" เมื่อพระธรรมาจารย์พยากรณ์อนาคตของศิษย์เหล่านี้แล้ว จึงได้อรรถาธิบายหลักธรรมสำคัญ ๆ " ครั้งแรกกล่าวถึงธรรมสามประเภท ต่อไปก็กล่าวถึงสิ่งที่เป็นของคู่ประเภทตรงข้าม 36 คู่ อันเป็นภาวะไหวตัวที่แท้แห่งธรรมญาณ จากนั้น ก็สอนวิธีหลีกเลี่ยงความสุดโต่งทั้งสองข้าง ในการเข้ามาหรือออกไป การสอนทุกคราอย่าเบนออกไปจากภาวะที่แท้แห่งธรรมญาณเมื่อใครถามปัญหาท่านจงตอบเขาไปในลักษณะคำตรงข้ามเพื่อให้เกิดเป็นคำคู่ประเภทตรงข้าม เช่น การมา และการไป ก็เป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกัน เมื่อเพิกถอนการอ้างอิงต่อกันและกันของคำคู้นี้โดยสิ้นเชิงแล้วก็จะเหลือความหมายอันเฉียบขาด คือไม่ใช่การมาและการไป"  ปุถุชนยึดในรูปลักษณ์ เพราะฉะนั้น จิต จึงติดอยู่ใน "ดี" และ "ชั่ว" แต่ธรรมญาณอันแท้จริงของตนเองปราศจาก "ดี" และ "ชั่ว" เพราะฉะนั้นตราบใดที่ไม่สามารถถอนความยึดติดใน "ดี" และ "ชั่ว" ก็ไม่อาจทำความเข้าใจ "ธรรมแท้" ภายในตัวเองได้เลย
        พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงได้อธิบายเกี่ยวกับ ธรรม สามประเภทดังนี้
 " ขันธ์ " ห้า  อายตนะ  สิบสอง   และ  ธาตุสิบแปด " ขันธ์ห้าได้แก่ รูป อันหมายถึง สสารหรือวัตถุทั้งปวง  เวทนาการรับอารมณ์สัญญา ความจำได้หรืออาการสำเหนียกรู้ในอารมณ์   สังขารความเจตนาของจิต  และวิญญาณ ความรับรู้ในอารมณ์
" ส่วนอายตนะ แบ่งออกเป็นภายนอกหก อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความคิด   อายตนะภายในซึ่งเป็นอวัยวะรับอารมณ์หกอัน ได้แก่  หู จมูก ลิ้น  กายและใจ  ธาตุทั้งสิบ ได้แก่ วัตถุแห่งอารมณ์หก  อวัยวะรับอารมณ์หก  และวิญญาณซึ่งรู้ในอารมณ์หก"  ถ้าจะสรุปคำสอนของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง พระองค์ชี้ให้เห็นความเป็นจริงอยู่สองประการเท่านั้นคือ "ตัวปลอม" และ "ตัวจริง"   ตัวจริงได้แก่ "ธรรมญาณ" ซึ่งไม่เกิดและไม่ดับไม่เปลี่ยนแปลงมากน้อย ย่อยสลายมิได้ เพราะฉะนั้นจึงเที่ยวไปอาศัยอยู่ในตัวปลอมซึ่งมีอิทธิพล แห่งการเปลี่ยนแปลงสัจธรรม จัดเป็นอนิจจัง  ส่วนสภาวะแห่ง "ตัวจริง" ย่อมเป็น "นิจจัง" ซึ่งเป็นภาวะที่อยู่เหนือการพูดและบัญญัติใด ๆ ในโลกนี้  พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวต่อไปว่า "เนื่องจากภาวะที่แท้แห่งธรรมญาณ" เป็นสิ่งก่อกำเนิดธรรมทั้งหลาย จึงเรียกว่า วิญญาณคลัง  ในทันทีที่เริ่มวิถีแห่งความนึกคิด หรือ วิถีแห่งการหาเหตุผล ภาวะที่แท้แห่งธรรมญาณก้กลายเป็นวิญญาณประเภทต่าง ๆ เมื่อวิญญาณซึ่งรับรู้อารมณ์ทั้งหกเกิดขึ้น ก็จะสำเหนียกรู้ในวัตถุแห่งอารมณ์ทั้งหกนั้นจากทวารทั้งหก ดังนั้น กิจของธาตุสิบแปด จึงเนื่องมาจากแรงกระตุ้นของภาวะที่แท้แห่งธรรมญาณ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติกิจในทางชั่ว หรือจะปฏิบัติกิจในทางดี ก็แล้วแต่ว่าภาวะที่แท้แห่งธรรมญาณจะตกอยู่ในอารมณ์เช่นใด อารมณ์ชั่วหรืออารมณ์ดี กิจอันชั่วก็เป็นลักษณะของสามัญชน กิจอันดีก็เป็นลักษณะของพุทธะ เพราะว่ามีความรู้สึกที่เป็นของคู่ประเภทตรงข้าม ฝังติดเป็นนิสัยอยู่ในภาวะแท้แห่งธรรมญาณ" เพราะเหตุนี้เองพระบรมศาสดาจึงสอนให้สำรวมจิต เพราะเป็นต้นเหตุแห่งความดี และชั่ว อันสืบเนื่องมาจากเหยื่อทั้งปวงที่ล่อหลอก ผ่านเข้ามาทางอายตนะทั้งหกประการ   หากปิดทวารทั้งหกโดยเข้าใจว่า อายตนะเหล่านี้ไม่สามารถนำเหยื่อมาล่อหลอกจิตได้ แต่ที่ฝังเอาไว้ในธรรมญาณที่ได้เวียนว่ายมาไม่สิ้นสุดเล่า เหล่านี้ล้วนเป็น อนุสัยที่เป็นเชื้ออย่างดี ให้อารมณ์ทั้งปวงเกิดขึ้น คนหูหนวก ตาบอด จึงมิสิ้นกิเลสหรือไม่ถูกกิเลสทั้งปวงหลอกล่อ เพราะในขันธสันดานยังนอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ความเคยชินนั้นเอง

Tags: