collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: Re: คัมภีร์ทางสายกลาง ปฐมบท (จง -- อยง ) เที่ยงตรง -- สัจธรรม  (อ่าน 32458 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                              ศึกษาคัมภีร์ ทางสายกลาง

                                                      โดย อนัตตา

                                                        เล่มที่หนึ่ง

                                         บัณฑิตค้นหาภายในตัวเองจนพบ

                                   แต่ปุถุชนค้นหาจากภายนอกชั่วชีวิตมิพบพาน 

                                                          คำนำ   

         ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเบื้องบน บารมีธรรมของพระอาจารย์ - พระอาจาริณีและการส่งเสริมของนักธรรมอาวุโส ผู้เขียนจึงมีโอกาสได้รับ "วิถีอนุตตรธรรม"  หลังจากนั้น จึงได้ศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ "คัมภีร์ทางสายกลาง" ซึ่งตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนคือการปฏิบัติธรรมที่ไม่เน้นหนักสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง แต่เมื่อมาศึกษาคัมภีร์ทางสายกลางของพระศาสดาขงจื้อ ซึ่งภาษาจีนเรียกว่า จง - อยง จึงได้เกิดความเข้าใจหนทางสายกลางอันแท้จริงซึ่งมิใช่ของง่ายที่จะปฏิบัติได้เสมอเหมือนทุกคน "ทางสายกลาง" เป็นเรื่องของการปฏิบัติ มิได้บัญญัติไว้ในคัมภีร์เพื่อศึกษาหาความรู้เท่านั้น คัมภีร์ทางสายกลางเล่มนี้เป็นพระวจนะที่พระศาสดาขงจื้อนำเอาคัมภีร์โบราณ "หลี่จี้หรือจริยธรรม" มาสั่งสอนอบรมศิษย์ มีถ้อยคำสำคัญที่ใช้ให้เห็นว่า "ธรรมญาณ" ของมนุษย์มีรากฐานมาแต่ฟ้าเบื้องบน การรู้ต้นกำเนิดจึงรู้หนทางคืนกลับ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติ "ทางสายกลาง" เป็นหนทางเดียวที่จะได้คืนกลับต้นรากกำเนิดเดิม ถ้อยคำที่พระศาสดาขงจื้อนำมาสั่งสอน ก็คือการถ่ายทอด "วิถีอนุตตระ" แก่ศิษย์ทั้งปวง ศิษย์ชั้นหลังเกรงว่าจะสูญหายจึงบันทึกไว้เรียกว่า "จง -อยง" ผู้เขียนอาศัยสติปัญญาอันน้อยนิด นำถ้อยคำเหล่านั้นมาอธิบายความเขียนลงหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจทุกวันอาทิตย์ อาจมีข้อขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์แบบหรือตรงต่อความหมายดั้งเดิมที่พระศาสดาขงจื้อต้องการ จึงขอให้ท่านผู้รู้เมตตาชี้แนะส่งเสริม อนึ่ง หนังสือเล่มนี้สำเร็จได้ด้วยการที่อาจารย์ "ศุภนิมิต" ได้นำพาและส่งเสริมให้ผู้เขียนได้ศึกษาวิถีอนุตตระ จึงขอขอบพระคุณไว้ในโอกาสนี้  นักธรรมรุ่นน้อง "พรทัต เจริญสันติวรกุล" ได้กรุณาตรวจทานต้นฉบับครั้งแรก และ คุณเมตตา กันคล้าย กับคุณพนิดา ลาภโชติไพศาล  ซึ่งทางโลกเธอทั้งสองเป็นกัลยาณศิษย์ ในทางธรรม ถือเป็นกัลยาณมิตรได้ตรวจทาน - ช่วยเหลือ ในขณะที่ผู้เขียนมีอาการเจ็บป่วย ช่วยให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จสมบูรณ์แบบเป็นรูปเล่ม จึงขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

                                                               ขอให้ทุกคนจงเจริญในธรรม

                                                                       อนัตตา

                        คัมภีร์ทางสายกลาง

        พุทธศาสนิกชนคุ้นเคยกับคำว่า "" ทางสายกลาง "" และยึดถือเป็นวิถีอันถูกต้อง ตรงต่อสัจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเอาไว้ภายหลังที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แต่ความเข้าใจในสภาวะแห่ง "" ทางสายกลาง "" อันแท้จริงเป็นไฉนนับเป็นปัญหาที่ต้องถกแถลงกันให้กระจ่างชัดเพราะมีความเข้าใจผิดคิดว่า หนทางแห่งทางสายกลางเป็นวิถีชีวิตของปุถุชนทั่วไปที่ปฏิบัติได้อย่างง่ายดาย  ทางสายกลางเป็นอริยมรรค อันเป็นหนทางไปสู่ความเป็นพระอริยะเจ้าเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ทางสายกลางจึงมิได้ผูกขาดอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น พระอริยะเจ้าทุกพระองค์ย่อมปฏิบัติหนทางสายกลางด้วยกันทั้งสิ้น ปุถุชนเข้าใจความหมายแห่งทางสายกลางเป็นรูปธรรม กล่าวคือ ไม่กระทำสิ่งใดสุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่งและมักกล่าวอ้างเสมอว่ากระทำให้ "" พอดี "" เป็นใช้ได้  "" พอดี "" กับอะไรล่ะ ถ้าพอดีแก่ใจตนเอง หาใช่ความพอดีไม่แต่เป็นความพอใจเสียมากกว่า เพราะด้วยเหตุนี้การปฏิบัติทางสายกลางของชนสามัญจึงไม่อยู่ในขอบเขต ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ การศึกษาเกี่ยวกับ ""ทางสายกลาง"" จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเพราะอย่างน้อยเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะเพียงเสียงพูดออกจากปากว่าปฏิบัติตนตามทางสายกลางก็พอแล้ว เพราะการกระทำเช่นนั้นเป็นเพียงความเข้าใจผิด และก่อให้เกิดความสับสนในหนทางสายกลางที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ ในการศึกษาครั้งนี้ จะนำเอาคัมภีร์ทางสายกลางของบรมปราชญ์ขงจื้อ มาเป็นหลักด้วยความเชื่อที่ว่า ถ้อยรจนาของศาสดาขงจื้อกับ "" ทางสายกลาง "" ของพระพุทธองค์มิได้มีความแตกต่างกันเลย  คัมภีร์ "" ทางสายกลาง "" ของท่านขงจื้อเรียกว่า "" จง ยง ""  พระพุทธองค์ทรงเรียกหนทางนี้ว่า "" มัชฌิมปฏิปทา "" แม้ภาษาพูดแตกต่างกันระหว่างพระศาสาดาทั้งสองแต่ความหมายแห่งการสอนนั้นกลับตรงกันโดยน่าอัศจรรย์นััน ถ้านับด้วยกาลสมัยพระศาสดาทั้งสองพระองค์ร่วมสมัยกัน แต่โดยภูมิศาสตร์อยู่ต่างกัน องค์หนึ่งสถิตบนแผ่นดินใหญ่ของจีนแต่อีกองค์หนึ่งอยู่ในชมพูทวีป แต่ที่ตรัสพระสูตรออกมามีความหมายอย่างเดียวกันนั้นย่อมสำแดงให้เห็นเป็นสัจธรรมว่า ทั้งสองพระองค์ทรงมี อนุตตรภาวะเฉกเช่นเดียวกัน การสื่อสารในสมัยโบราณมิได้ทันสมัยเยี่ยงปัจจุบันเพราะฉะนั้นจึงเป็นประจักษ์พยานว่าทั้งสองพระองค์มิได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันเลย ศาสดาขงจื้อย่อมอ่านภาษาบาลีไม่ได้ พระพุทธองค์ก็ทรงอ่านภาษาจีนมิได้เช่นเดียวกัน  ศาสดาขงจื้อ ท่านสอนคัมภีร์ทางสายกลางนี้โดยบอกว่า เป็นหลักธรรมที่สำคัญที่สุดในอันที่จะกลับคืนสู่ความเป็นพระอริยะพระพุทธองค์หลังจากที่ได้ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปเทศนาให้ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน คำเทศนาในครั้งนั้นเรียกว่า "" ธัมมจักรกัปปวัฒนสูตร "" ซึ่งมีความหมายคือ "" ทางสายกลาง "" เป็นธรรมะอันสูงสุดและเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ เหตุที่พระองค์ตรัสรู้ว่า เป็นหนทางที่ถูกต้องที่สุดเพราะว่าในชมภูทวีปในขณะนั้นการแสวงหาหนทางแห่งความพ้นทุกข์มีอยู่หลายแบบ เช่นหาความสุขทุกอย่างเพื่อให้ตนเองพ้นไปจากความทุกข์ อีกอย่างหนึ่งคือการทรมานตัวเองให้ได้รับความยากลำบากที่สุด เช่นอดอาหาร ฝังร่างกายในดิน บำเพ็ญทุกขกิริยา ทั้งสองหนทางนี้เป็นการบำเพ็ญแบบสุดขอบทั้งสองข้าง แม้ว่าโดยรูปแบบนั้นแตกต่างกันแต่โดยสภาวะแห่งจิตใจแล้วเหมือนกัน คือไม่รู้หนทางแห่งการพ้นทุกข์ ถ้าจะเปรียบไปแล้วคนที่จนที่สุดกับคนที่รวยที่สุดต่างมีความทุกข์เหมือนกัน คนจนขาดเงินสิบบาทเขาก็ทุกข์มากเท่ากับเศรษฐีขาดเงินร้อยล้านบาท ใครที่เอาเงินสิบบาทมาเทียบกับเงินร้อยล้านบาทแล้วต้ดสินว่าคนขาดร้อยล้านบาทย่อมมีทุกข์มากกว่าคนขาดสิบบาท เพราะเป็นเรื่องที่นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่ที่คิดว่าเขาขาดเงินร้อยล้านบาทมีความทุกข์มากกว่าขาดสิบบาทเพราะเรานำจำนวนเงินมาเปรียบเทียบกัน มิได้นำเอาสภาวะจิตใจมาเทียบเคียงกัน เป็นการเปรียบเทียบที่ผิด เศรษฐีร้องไห้กับขอทานร้องไห้ต่างก็ทุกข์เหมือนกัน เศรษฐีหัวเราะกับขอทานหัวเราะ ความสุขเช่นนั้นก็เช่นเดียวกัน  สภาวะจิตของคนทั้งสองแบบนั้นจึงเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้การบำเพ็ญธรรมะสุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่งจึงมิใช่หนทางแห่งความขจัดความทุกข์ได้เด็ดขาด  พระพุทธองค์ได้ตรัสมัชฌิมปฏิปทาคือหนทางสายกลาง เพราะหนทางนี้มิได้บำเพ็ญตกขอบด้านใดด้านหนึ่งเลย การบำเพ็ญด้วยหนทางสายกลางนั้นสภาวะแห่งจิตใจย่อมรับได้ทั้งความดีและความชั่ว เช่นนี้จึงจักเรียกว่าเรามีหนทางสายกลางความแยบยลแห่ง " หนทางสายกลาง " นั้นมีอยู่มากมายนักและมิได้ง่ายอย่างที่ปุถุชนทั่วไปคิดเห็นแลปฏิบัติอยู่โดยเหมาเอาว่า กระทำการด้วย "" ความพอดี "" จึงเป็นหนทางสายกลางซึ่งล้วนแล้วแต่ตกไปอยู่ในขอบเขตของ "" ความพอใจ"" ทั้งสิ้น
     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 9/11/2011, 17:55 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

         เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาเพื่อโปรด ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี เราเรียกว่า ธัมมจักรกัปปวัฒนสูตร ซึ่งมีความหมายว่า เป็นพระสูตรที่หมุนกงล้อแห่งพระธรรม หรือแท้ที่จริงคือการเวียนธรรมจักร ในธรรมญาณของเรานั่นเอง  ธรรมญาณมีความเคลื่อนไหวจึงเกิด " จิต " นับไม่ถ้วนและผลแห่งจิตนั้นเป็นไปตามอิทธิพลของสิ่งที่มากระทบตามอายตนะหกที่รับเข้าไป
         จิต  แกว่งไปตามแรงของสิ่งยั่วยุ ทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
         ตา  เห็นในสิ่งที่ดี จิตก็ชอบ เห็นสิ่งไม่ปรารถนา จิตก็ไม่ชอบ
         หู   ได้ยินเสียงสรรเสริญก็ดีใจ ครั้นได้รับเสียงตำหนิติเตียนก็ไม่พอใจ  ความยึดติดเช่นนี้เป็นไปตามอารมณ์ปรุงแต่งทำให้จิตไหวเอนไป และขาดปัญญาพิจารณาให้เห็นเป็นความจริง ว่าเรื่องอย่างเดียวกันทำไมจึงวินิจฉัยได้ผลออกมาไม่เหมือนกัน
        พุทธองค์ตรัสถึงทางสายกลางเพื่อมิให้จิตของเราเบี่ยงเบนไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นหนทางที่ไม่มีการเปรียบเทียบ จึงไม่เกิดทุกข์ ใครที่สามารถทำให้จิตของตนเข้าใจถึงความสิ้นสุดของการเวียนว่ายไปมา ระหว่างความดีและความชั่วนั่นแหละ คือการเข้าสู่กระแสของ "" ทางสายกลาง "" อันเป็นความสุขสงบที่สุดของจิต
       เมื่อปัญจวัคคีย์ทั้งห้าได้สดับการชี้แนะกระแสจิตได้เข้าสู่หนทางสายกลางจึงเข้าใจถึง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของจิตแลจึงเข้าใจในอริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และเข้าใจในความไม่เที่ยงแท้ของรูปลักษณ์ทั้งปวง อายตนะทั้งหกจึงไม่อาจไปล่อหลอกให้ธรรมญาณนั้นเกิดความหวั่นไหวได้ จึงเป็นการเข้าสู่กระแสทางสายกลาง
       ทางสายกลาง จึงเป็นเสมือนหนึ่ง ธรรมะของฟ้า เพราะฟ้าไม่เคยเปรียบเทียบรังเกียจใครเลย ซึ่งตรงกับคัมภีร์ทางสายกลางของท่านขงจื้อ อันมีความหมายอย่างเดียวกันกับ มัชฌิมปฏิปทา
       คัมภีร์ทางสายกลางของจีน มีมาก่อนท่านขงจื้อ ซึ่งท่านเรียกคัมภีร์นี้ว่า "" คัมภีร์จริยธรรม "" หรือ "" หลี่จี้ "" เมื่อท่านขงจื้อได้ศึกษาคัมภีร์นี้ จึงได้กล่าวว่า "" ทางสายกลาง "" หรือ จง ยง นั้นเป็นธรรมะของฟ้า สอนให้เรามีพลานุภาพของจิตใจยิ่งใหญ่เท่าฟ้า ทางสายกลางจึงเป็นธรรมะที่ปฏิบัติได้ยากที่สุด เพราะการรักษาสภาวะแห่งจิตมิให้เปรียบเทียบหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากอายตนะทั้งหกนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบากนัก เพราะกระแสของสิ่งมากระทบย่อมก่อกำเนิดพลังผลักดันให้จิตไหวเอนซึ่งสภาวะเช่นนี้เป็นไปตามอำนาจของอารมณ์สองกระแสคือ ดี และ ชั่ว อันเป็นธรรมดาของโลกที่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพล ดี และ ชั่ว
       แม้ในกายสังขารของคนเราก็มีทั้งพลังบวก และ ลบ ควบคู่กันไป แม้ในดวงจิตที่ธรรมญาณผลิตออกมา ก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจ "" ดี "" และ "" ชั่ว "" ถ้าเอาความดีขับเคลื่อนไล่ความชั่วออกไป จึงเรียกว่า "" เวียนธรรมจักร์ "" แต่ถ้าความชั่วขับไล่ความดีออกไปจึงเรียกว่า เวียนไปสู่ความมืดบอด
      เวลาสิ่งที่ไม่พอใจมากระทบแม้ปากบอกว่า " ใจเย็น " แต่ใจมิได้ทำตามที่ปากพูด เพราะเหตุนี้จึงกล่าวว่า ปากกับใจไม่ตรงกัน "" ปากพูดดี "" แต่ใจกำลัง " เดือดปุด ๆ สภาวะเช่นนี้จึงมิใช่ความเป็นกลาง
      ท่านขงจื้อบอกว่า ธรรมะทางสายกลางเป็นธรรมะของฟ้า ถ้าพิจารณาคุณสมบัติของฟ้าซึ่งครอบคลุมทุกสิ่งอย่างเอาไว้และประทานทุกอย่างให้ทัดเทียมกัน โดยมิได้ลำเอียงแม่แต่น้อย  หากใครทำให้สภาวะจิตใจเทียบเทียมฟ้เา ก็ย่อมมีพลานุภาพที่รักทุกคนและสรรพสิ่งเท่ากันหมด แม้คนนั้นจะร้ายกับเราเราก็ยังรักและเมตตาเขาได้ จิตเช่นนี้จึงหาได้ยากนักในมนุษย์ปุถุชน มีแต่คนที่ผิดหวังกลับโทษตำหนิฟ้า อย่างเช่นในยุคสมัยในสามก๊ก ตอนที่จิวยี่แพ้กลอุบายของขงเบ้งก่อนวายชีวิตยังแหงนหน้าตำหนิตัดพ้อต่อว่าฟ้า"" เทียน เซิง หยู  เหอปี้ เซิง เหลียง  ฟ้าเอยใยส่งจิวยี่มาเกิดแล้ว ทำไมจึงให้ขงเบ้งมาเกิดด้วยเล่า ""
      แต่ไม่ว่าฟ้าจะถูกตัดพ้อตำหนิด่าว่าอย่างไร ฟ้าก็ไม่เคยโกรธแค้นตอบโต้ผู้ตำหนิเลย แต่ยังคงประทานทุกสิ่งอย่างให้เช่นเดียวกันกับผู้สรรเสริญพระคุณของฟ้า เพราะฉะนั้นจึงน่าเสียดายนักที่มนุษย์ในโลกนี้ไม่รู้ต้นกำเนิดของ "" ธรรมญาณ ""ว่าแต่เดิมนั้นมาจากฟ้าเบื้องบน และมีแต่ทางสายกลาง เท่านั้นที่จะดำเนินไปสู่จุดกำเนิดดั้งเดิมของต้นธาตุ ต้นธรรม ด้วยเหตุนี้ใครสามารถทำให้สภาวะดั้งเดิมปรากฏขึ้นมาได้จึงมีสภาวะแห่งจิตเหมือนฟ้า และย่อมได้รับความสุขสงบเพราะพ้นไปจากอิทธิพลครอบงำของสรรพสิ่งในโลกนี้
      พระพุทธองค์ทรงเป็นตัวอย่างของผู้ปฏิบัติบนทางสายกลางอันชัดเจนที่สุดพระหฤทัยของพระองค์จึงยิ่งใหญ่เทียมฟ้า เมื่อหัวหน้าพราหมณ์ มาด่าว่าพระองค์ด้วยโทสะอันแรงกล้า พระพุทธองค์มิได้ตอบโต้เลย กลับแสดงธรรมให้สติแก่พราหมณ์ว่า ข้าวอาหารที่เลี้ยงดูแขกหากแขกมิได้รับประทานเจ้าของต้องรีบประทานเอง เฉกเช่นเดียวกับคำหยาบคายทั้งปวงคถาคตมิได้รับไว้เลย  หัวหน้าพราหมณ์ได้สติ หลังจากดวงตาเห็นธรรม จึงมาสมัครเป็นศิษย์และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในเบื้องปลาย ซึ่งเป็นผลมาจากการเวียนธรรมจักร์ในจิต ขับไล่ความหลงผิดหมดไปนั่นเอง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

         สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนมี "" ที่มา "" และ "" ที่ไป "" ด้วยกันทั้งนั้นเพราะมีรูปลักษณ์ จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของการ"" เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลาย "" เป็นวงเวียนเช่นนี้ไม่รู้จบ  คัมภีร์ทั้งปวงของพระอริยะเจ้าก็หนีไม่พ้นสัจธรรมข้อนี้เฉกเช่นเดียวกัน
        พระวจนะไม่ว่าจะออกมาเป็น " คำพูด " หรือ "" อักษร "" ล้วนแปรเปลี่ยนไปจากจุดมุ่งหมายอันแท้จริงที่พระศาสดาทรงประกาศ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะชนรุ่นหลังตีความตามความเข้าใจจากประสบการณ์ ความพอใจ คาดหมาย เดาเอาจากความคิดของตนเอง  มีแต่ "" สัจธรรม "" เท่านั้นที่อยู่เหนือ อักษร และคำพูด อันเป็นของแท้ไม่มีการแปรเปลี่ยน ไม่ว่าจะผ่านกาลเวลาแสนนานเพียงใด อริยะมรรค หรือ ทางสายกลาง ที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ จึงเป็น อกาลิโก อยู่เหนือกาลเวลา บุคคล สถานที่ สิ่งเหล่านี้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงสัจธรรมได้เลย
        คัมภีร์ "" จง-อยง "" หรือ ทางสายกลาง ของท่านศาสดาขงจื้อ ก็เช่นเดียวกัน จึงทำความเข้าใจว่า อักษร เป็นเพียงสื่อเพื่อให้ความหมายในขอบเขตอันจำกัดเท่านั้น
        ท่านศาสดาขงจื้อ มิได้เขียนคัมภีร์ "" จง-อยง ""  เพียงแต่นำหลักสัจธรรมนี้มาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ที่ชื่อว่า "เอี๋ยนหุย" การถ่ายทอดในครั้งนั้นจึงไม่แตกต่างไปจากพระพุทธองค์ทรงแสดง "" ปฐมเทศนาธัมมจักรกัปปวัฒนสูตร "" เพราะเป็นการถ่ายทอดหลักสัจธรรมของฟ้าดินซึ่งเป็นหนทางของพระอริยะเจ้า
        ท่านเอี๋ยนหุย เป็นศิษย์ที่ท่านขงจื้อชื่นชมมากในฐานะเป็นผู้ล้ำเลิศด้วยปัญญา โดยมีคำกล่าวรับรองจากท่านศาสดาขงจื้อ ว่า "" ฟังคำพูดของอาจารย์เพียงหนึ่งคำ แต่มีความเข้าใจก้าวไกลไปถึงสิบคำ "" แต่ท่านเอี๋ยนหุยดำรงตนสมถะยิ่งนัก อยู่กระต๊อบเล็ก ๆ แต่งกายด้วยเสื้อผ้าเก่า ๆ ไม่แสวงหาลาภสักการะ เป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เนืองนิจ จนบรรดาศิษย์ด้วยกันอยากลองใจพิสูจน์ดู   วันหนึ่งท่านเอี๋ยนหุยกลับมาถึงกระต๊อบก็แปลกใจ เพราะหน้าประตู แขวนทองคำแท่งหนึ่งพร้อมทั้งมีอักษรจารึกว่า "" ด้วยเห็นท่านเป็นคนดีมีคุณธรรม ฟ้าจึงประทานทองคำนี้เป็นรางวัล "" ท่านเอี๋ยนหุยเพียงแต่รำพึงกับตัวเองว่า "" ไม่มีคุณงามความดีอะไรสักหน่อย "" แล้วก็เดินเลยเข้าไปในกระต๊อบโดยไม่ใส่ใจต่อทองคำที่แขวนไว้
        บรรดาศิษย์ทั้งปวงของท่านขงจื้อจึงยอมรับว่า ท่านเอี๋ยนหุย เป็นผู้ที่ดำรงตนสมถะอันแท้จริง ท่านจึงเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อ "" ทางสายกลาง "" แต่ท่านเอี๋ยนหุยอายุสั้นกลับคืนเบื้องบนเมื่ออายุ 32 ปี
        ท่านขงจื้อร้องไห้ด้วยความเศร้าโศเเสียดายยิ่งกว่าบุตรแท้ ๆ ของท่านเสียชีวิต  "" ท่านจื่อซือ ""อันเป็นหลานของท่านขงจื้อได้รับการถ่ายทอด "" ทางสายกลาง ""  อันเป็นวิถีแห่งการบำเพ็ญจิต เกรงว่าคำสอนนี้จักสูญหายหรือผิดเพี้ยนจึงได้รจนาคำสอนดังกล่าวไว้เป็นคัมภีร์และได้มอบคัมภีร์นี้นี้ให้แก่ "" ท่านเมิ่งจื้อ "" ผู้เป็นศิษย์ ซึ่งในภายหลัง ท่านเมิ่งจื้อก็เป็นปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงรองลงมาจากท่านขงจื้อ
        คัมภีร์ทางสายกลาง ซึ่ง "" ท่านจื่อซือ "" รจนามีทั้งสิ้น 33 บท และมีเพียง "" บทแรกเท่านั้นที่เป็นคำสอนของท่านศาสดาขงจื้อโดยตรง "" นอกนั้นเป็นเรื่องของการยกเอาคำสอนของท่านขงจื้อมาอธิบายขยายความ
        "" ทางสายกลาง "" เป็นหลักธรรมข้อเดียวที่สามารถขยายครอบคลุมสรรพสิ่งได้หมดสิ้นและเบื้องปลายของหลักธรรมนี้กลับย้อนคืนมาสู่หลักธรรมเพียงข้อเดียวอีก  ท่านขงจื้อกล่าวว่า "" เมื่อนำหลักธรรมทางสายกลางวางลงไปก็มีอนุภาพแผ่ครอบคลุมจักรวาล แต่เมื่อหยิบหลักธรรมนี้ขึ้นมาก็ถูกเก็บเอาไว้ในที่มิดชิด ""
         ความหมายแห่งพระวจนะนี้ชี้ให้เห็นว่า "" ทางสายกลาง "" เป็นหลักธรรมของฟ้่า เป็นอนุตตรภาวะที่สามารถก่อกำเนิดสรรพสิ่งได้ทั่วจักรวาล  ถ้าจะนำเอาพระวจนะของท่านเหลาจื้อ ในคัมภีร์ "" เต๋า เต๋อ จิง "" มาอธิบายแล้วก็ได้ความว่า "" ธรรมะนั้นกว้างใหญ่ไพศาลจนหาขอบเขตที่สิ้นสุดมิได้ และเล็กจนหาเส้นผ่าศูนย์กลางไม่พบ ""
        "" ทางสายกลาง "" จึงเป็นธรรมะอันเที่ยงแท้ไม่แปรเปลี่ยนไปตามสภาวะใด ๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ไม่มีสภาวะอันใดมีอิทธิพลจนเปลี่ยนแปลงทางสายกลางได้เลย  ดังนั้นผู้ใฝ่การศึกษาธรรมะ หากได้เพียรพยายามศึกษาและไตร่ตรอง จนเกิดความเข้าใจอย่าวจริงจังแล้ว ย่อมได้รับความรู้มากมายจนประมาณมิได้และใช้ได้ไม่มีวันหมดสิ้น ที่เป็นดังนี้เพราะ "" ทางสายกลาง ""ได้รวบรวมสรรพสิ่งไว้จนหมดสิ้น ดังนั้นใครสามารถเข้าใจสภาวะหรือมีความเป็น "" ทางสายกลาง "" จึงมีความรู้ในสรรพสิ่งได้ เพราะทางสายกลางเป็นความว่างอันยิ่งใหญ่ที่เหนือความว่างใด ๆ
          "" ความว่าง "" เช่นนี้มีความหมายเป็นไปตามนัยยะที่สามารถบรรจุทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ได้หมดสิ้น มิใช่เป็นการปฏิเสธ"" สิ่งดี และ สิ่งเลว "" ย่อมเดินอยู่บนทางสายกลางได้ทั้งสิ้น  การปฏิเสธสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วบอกว่าเป็นความว่าง สภาวะแห่งการปฏิเสธจึงมิใช่ความว่างอันแท้จริง 
         "" ความว่าง"" อันแท้จริง เป็นภาวะแห่งความสงบนิ่งจึง ไม่มา และ ไม่ไป และไม่ยอมหวั่นไหว กับสัมผัสทั้งปวงที่มากระทบ  "" ทางสายกลาง "" จึงปราศจากความ "" เป็นมา และ ความเป็นไป ""

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        ตัวตนอันแท้จริงที่เรียกว่า "" ธรรมญาณ "" มีกำเนิดมาแต่แดนดิน "" สูญญตา "" ที่เรารู้กันว่าเป็นโลกุตรภูมิ ซึ่งธาตุเดิมปราศจาก "" อารมณ์ "" และอารมณ์เกิดจากอะไรเล่า ? เพราะอนุตตรญาณมาอาศัยอยู่ในโลกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กายสังขารของมนุษย์ ซึ่งประกอบไปด้วยอายตนะหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งอยู่ในภาวะเป็นคู่
        ความเป็น "คู่" นี้หมายความว่า เป็นพลังบวก และ ลบ พลังทั้งสองมีปฏิกิริยาต่อกันจึงเกิดภาวะแห่ง อารมณ์  ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า อารมณ์เป็นพลังงานอย่างหนึ่ง ส่วนดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับสัญญาความเคยชินปรุงแต่งขึ้นมา
       ครั้งหนึ่ง อาจารย์พร้อมทั้งลูกศิษย์ทั้งสาม อาศัยอยู่บนภูเขาลูกหนึ่งเพื่อบำเพ็ญปฏิบัติธรรมให้ภาวะจิตพ้นไปจากเครื่องผูกพันของอายตนะหก  น้ำกินน้ำใช้บนสำนักหมดแล้วจำเป็นต้องลงจากภูเขาไปตักน้ำที่ลำธารเชิงเขามาใส่ตุ่ม ลูกศิษย์ใหม่ล่าสุดเป็นผู้ที่เดินลงไปตักน้ำ ครั้นโผล่พ้นยอดหญ้าริมลำธารก็ต้องตกตะลึงตัวแข็งเพราะในลำธารน้ำใสแจ๋ว มีหญิงสาวอนงค์หนึ่งเปลือยกายแหวกว่ายอยู่อย่างสำราญ ลูกศิษย์ใหม่ไม่อาจกระทำอะไร ได้แต่ยืนดูตาค้าง อาจารย์รอน้ำอยู่เป็นเวลานาน จึงใช้ให้ลูกศิษย์กลางเก่ากลางใหม่ลงจากภูเขาไปตาม พอเดินมาถึงเห็นลูกศิษย์ใหม่ยืนตาค้าง มองตามสายตาไปพบภาพอันน่าตื่นตะลึง จึงปิดตาเสีย แต่นึกอีกทีน่าเสียดายนักอดใจมิได้จึงลืมตาดู แต่พอได้สติว่าเป็นภาพไม่สมควรดู ลูกศิษย์กลางเก่ากลางใหม่จึงยืนหลับตาเปิดตาอยู่อย่างนั้น อาจารย์จึงยังไม่ได้น้ำ จึงใช้ให้ลูกศิษย์เก่าลงจากภูเขาไปตามเห็นอาการของสองศิษย์เป็นเช่นนี้จึงแลลงไปตามสายตาก็อดสูใจนัก ศิษย์เก่าเห็นว่าเป็นเรื่องน่าบัดสีนักดูมิได้ จึงนั่งสมาธิหลับตาเสีย
        อาจารย์ผู้บำเพ็ญดีเห็นท่าไม่ได้เรื่องจึงตัดสินใจลงไปตามทั้งสามศิษย์ ครั้นเห็นอาการของทั้งสามศิษย์จึงฉวยเอาถังตักน้ำลงไปตักน้ำในลำธารแล้วเดินขึ้นภูเขาไปโดยส่งเสียงบอกศิษย์ทั้งสามว่า "" โธ่เอ๊ย อีกาว่ายน้ำตัวเดียวเท่านั้น ""
       เรื่องราวนี้พอเป็นที่เปรียบเทียบให้รู้ว่า ภาวะจิตของศิษย์ทั้งสามมิได้อยู่ในทางสายกลาง แต่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเหยื่อภายนอกที่เข้ามาปรุงแต่งภาวะแห่ง "" จิต "" ฟุ้งซ่านไปตามสัญชาติญาณดั้งเดิมที่สั่งสมเอาไว้หลายชาติ
       อารมณ์ที่เกิดขึ้นจึงควบคุมจิตติดตรึงอยู่กับเหยื่อจึงไม่อาจทำการงานได้เลย แม้ศิษย์เก่าที่นั่งหลับตาทำสมาธิก็เพียงควบคุมอารมณ์ของตนเองไว้เท่านั้น ส่วนอาจารย์ผู้ละวางได้ อยู่ในทางสายกลางจึงเห็นสรรพสิ่งทั้งปวงเป็นเช่นเดียวกันมิได้แยกแยะเปรียบเทียบให้เกิดเป็น พลัง บวก หรือ ลบ ทำลายภาวะธาตุแท้ธรรมญาณของตนเอง
      ศิษย์เหล่านั้นตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความรู้อันเป็นตัณหาราคะที่ได้สั่งสมมา ในคัมภีร์ทางสายกลางบทแรกซึ่งเป็นคำสอนของท่านขงจื้อกล่าวเอาไว้ว่า ธรรมญาณเดิมแท้ที่มาจากต้นธาตุต้นธรรม เรียกว่า "" อนุตตรญาณ "" ความสูงส่งแห่งธรรมญาณนี้เทียบเท่าได้กับฟ้าดิน มีอานุภาพแห่งการจำแนกแยกแยะได้เองโดยมิต้องอาศัยความรู้
      พลานุภาพแห่งธรรมญาณนี้จึงมีปัญญาเป็นคุณสมบัติสำคัญและปัญญานี้ต้องมีฐานกำเนิดมาจากความว่างอันแท้จริงซึ่งเป็นทางสายกลางอยู่ในตัวเองแล้ว แต่มนุษย์ปุถุชนลืมเลือนความเป็นทางสายกลางของตนเองโดยสิ้นเชิงเพราะเหตุนี้จึงเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นการเพิ่มพูนปัญญาของตนเอง แท้ที่จริงการเรียนรู้สิ่งใดล้วนเป็นการเพิ่ม " ความจำ " ให้แก่ตนเองทั้งสิ้น การเริ่มต้น "  คิด " ย่อมต้องมาจากฐานแห่งความ " ว่าง " ถ้าเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับการขับเคลื่อนรถยนต์การเข้าเกียร์หนึ่งย่อมเริ่มต้นจากเกียร์ว่าง แม้ไปถึงเกียร์สอง สาม สี่ ห้า ย่อมหวนลับมาสู่จุดเริ่มต้นของ เกียร์ว่าง  ฉันใดก็ฉันนั้น
      ดังนั้นหาก ""ธรรมญาณ "" แท้ไม่ว่างเสียแล้ว "" ความคิด "" ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นแน่นอน  "" ปัญญา "" จึงมีฐานแตกต่างจาก"" อารมณ์ "" อารมณ์ มีฐานที่มาจาก "" ความมี "" เช่นเหยื่อที่มากระทบอายตนะทั้งหกจึงสร้างความมีขึ้นมา จึงมีทั้งดีและชั่ว ผู้ที่ใช้อารมณ์จึงมิได้มีโอกาสแยกแยะสิ่งใดเลย พฤติกรรมทั้งปวงจึงขับเคลื่อนไปตามแรงอารมณ์อันตนเองสร้างขึ้นมา
      การแบ่งแยกบุคคลจึงมีหนทางอยู่ตรงนี้ หากประพฤติเยี่ยงเดียวกับคนใช้อารมณ์หรือตกเป็นทาสอารมณ์ย่อมเป็นปุถุชนแท้ส่วนผู้ใช้ "" ปัญญา "" อันแท้จริงย่อมอยู่ในหนทางแห่งทางสายกลางจึงกล่าวได้ว่าโดยธรรมชาติแท้ของธรรมญาณ มนุษย์มีทางสายกลางอยู่แล้วเพียงแต่มิได้นำเอาพลานุภาพนี้มาใช้ให้เป็นคุณแก่ชีวิตและสรรพสิ่งนั่นเอง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

         ในสามโลกนี้ไม่มีอะไรสูงส่งเท่า "" อนุตตรญาณ "" ของมนุษย์อีกแล้วเพราะสามารถแปรเปลี่ยนได้ทุกสิ่งอย่าง สร้างสรรค์ได้มากมายด้วยปัญญาอันสูงส่งนั่นเอง บรรดาสัตว์นรกย่อมได้รับความทุกขเวทนาที่ตนเองได้สร้างสมเอาไว้ "" ธรรมญาณ "" นั้นจึงไม่มีโอก่สได้ใช้ปัญญาเลย
         แม้เทพเทวาในโลกสวรรค์ต่างติดอยู่ใน " ความสุข " จนลืมเลือน " ธรรมญาณ "ของตน จึงมิรู้ว่ายังมี " อนุตตรญาณ " อันเป็นปัญญาสูงสุดได้เพราะเหตุนี้ มนุษย์จึงมีโอกาสพ้นจากการเวียนว่ายกลับคืนสู่ต้นรากกำเนิดเดิมของตนเองคืออนุตตรภูมิ
        เทพเทวาจึงอิจฉามนุษย์นัก  เพราะเทพเทวาจุติเมื่อใดก็มีโอกาสตกลงเกิดกายเป็นมนุษย์ หรือสัตว์นรก หรือเดรัจฉานได้อีกตามวิบากกรรมที่ตนเองสร้างเอาไว้และยังชดใช้ไม่หมดสิ้น แต่มนุษย์มีทางเลือกได้มากกว่าเทพเทวาเพราะหากใช้ปัญญาเข้าสู่หนทางทางสายกลางได้ย่อมพ้นไปจากเวียนว่ายเข้าสู่อนุตตรภูมิคือแดนนิพพานได้
       พระพุทธองค์ทรงค้นพบหนทางนั้นและได้บัญญัติเอาไว้เป็น " ทางสายกลาง "  ซึ่งในชั้นหลังแยกแยะออกมาว่าเป็น มรรค มีองค์แปดอันหมายว่าหนทางนี้มีองค์ประกอบอยู่ 8 ประการ
1 . สัมมาทิฐิ           ความเห็นชอบ
2 . สัมมาสังกัปปะ    ความดำริชอบ
3 . สัมมาวาจา        วาจาชอบ
4 . สัมมากัมมันตะ   การงานชอบ
5 . สัมมาอาชีวะ     เลี้ยงชีพชอบ
6 . สัมมาวายามะ   ความเพียรชอบ
7 . สัมมาสติ         ตั้งสติชอบ
8 . สัมมาสมาธิ      มีสมาธิชอบ
      ความเข้าใจผิดที่ปรากฏอยู่ทั่วไปสำหรับพุทธศาสนิกชนก็คือ การไม่กระทำการใดสุดโต่งไปข้างหนึ่งถือว่าอยู่ในเส้นทางสายกลางถือ เช่น ชายคนหนึ่งเลี้ยงชีพตนเองด้วยอาหารเนื้อสัตว์วันละสามมื้อ มีความรู้สึกว่าเป็นการกระทำที่มิได้อยู่บนหนทางแห่งทางสายกลางเพราะฉะนั้นจึงเปลี่ยนแปลงเป็น มื้อกลางวันเป็นอาหารมังสวิรัติถ้าประพฤติเช่นนี้มิใช่หนทางสายกลางอย่างแท้จริง เพราะเรื่องอาหารเลี้ยงชีวิตเป็นของกาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่มีรูปลักษณ์ทั้งปวงจึงมิใช่หนทางสายกลาง เพียงแต่สิ่งเหล่านี้หล่อเลี้ยงมีชีวิตอยู่ได้ด้วย " ความเป็นกลาง " หล่อเลี้ยงเอาไว้ต่างหากเช่นกระดานหกมีจุดศูนย์กลางที่จะทำให้กระดานนี้สามารถทรงตัวอยู่ในแนวระดับเดียวกันได้แต่มิได้หมายความว่า กระดานหกนั้นมีความเป็นกลาง เพียงแต่จุดกึ่งกลางต่างหากที่ทำให้กระดานนั้นคงอยู่ในสภาพเท่ากันหรือสมดุลกัน
      คนในโลกนี้ที่ไม่เข้าใจหนทางสายกลางจึงพูดกันติดปากเพียงเพื่อความสบายของตนเองที่จะกระทำหรือไม่กระทำสิ่งที่ตนเอง พอใจและไม่พอใจเท่านั้นเอง จึงมิได้เดินอยู่บนหนทางสายกลางอันแท้จริง
     นอกจากนี้องค์ประกอบ 8 ประการของทางสายกลาง ก็มิใช่เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งจึงสำเร็จอยู่บนหนทางสายกลางก็หาไม่แต่เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติไปพร้อมกัน หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมิใช่ทางสายกลางตามที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ ถ้าหากแยกแยะกันถึงคำว่า " ชอบ " นั้นมีความหมายกว้างไกลแค่ใหน " หลวงพ่อครับ ผมมีอาชีพล่าสัตว์ขาย เป็นอาชีพที่ถูกต้องไหมครับ " ประสกคนหนึ่งถามหลวงพ่อ " โยมมิได้ทำผิดกฏหมายมิใช่หรือ เราจำเป็นต้องมีอาชีพเลี้ยงตนเองอย่างนี้ไม่ผิดหรอกโยม " การวินิจฉัยเพียงแค่นี้เรียกว่าเอากฏหมายบ้านเมืองมาเป็นบรรทัดฐานแต่ในทางสายกลางมิได้เป็นเช่นนี้ เพราะการประกอบอาชีพเช่นนี้เป็นการเอาชีวิตเขามาเลี้ยงชีวิตเรา ถือเป็นผู้เบียดเบียนตัวเองและสัตว์อื่น " เอ๊ะ เบียดเบียนตัวเองอย่างไร "  " อ้าว ก็ทำให้จิตญาณของตนต้องตกต่ำสู่เดรัจฉานภูมิในชาติต่อไปมิเป็นการเบียดเบียนตัวเองหรื "
      ความชอบ ทั้งแปดประการนี้ย่อมต้องชอบต่อสัจธรรม แม้บางคนกล่าวว่าตนเองมีวาจากับใจตรงกันเพราะฉะนั้นจึงกล่าวออกมาจากใจจริงมิได้ซ่อนเร้นอำพรางแต่ประการใด " ถ้าจิตใจมีแต่ความชั่ว วาจาที่ออกมาย่อมชั่วด้วยมิใช่หรือ " " วาจาที่ชอบ ที่ตรงต่อสัจธรรมจึงเป็นไปตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน "
      เพราะฉะนั้นทางสายกลาง ที่พระพุทธองค์ตรัสรู้จึงเป็นหนทางของ " จิต " มิใช่หนทางของ " กาย " และประการสำคัญหนทางนั้นเป็นหนทางของ " ธรรมญาณ " อันมีคุณสมบัติเป็น ทางสายกลาง อยู่แล้วโดยมิต้องสงสัย
     หนทางทั้ง 8 ประการ เป็นเพียงวิธีปฏิบัติแต่มิได้หมายความว่า ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วถึงซึ่งความเป็นกลางก็หาไม่
     ธรรมญาณ หรือ อนุตตรญาณ จึงอยู่เหนือหนทางทั้ง 8 ประการนี้ เพราะโดยสภาพแห่งความเป็นของตนเองมีความเป็นกลางอยู่แล้วโดยมิพักต้องเดินไปถึงแต่ประการใดเลย

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

      ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในโลกนี้มีสาเหตุมาจาก ไม่มีความพอดี และความพอใจ และกล่าวได้ว่า เป็นปัญหาถาวรของโลกนี้ เพราะแต่บรรพกาลมาจนถึงปัจจุบันสมัย คนในโลกก็ยังคงรักษาสถานภาพเช่นนี้เอาไว้เป็นชนส่วนใหญ่ของโลก สันติภาพอันแท้จริงจึงไม่เคยเกิดขึ้น มนุษย์โลกจึงเดินไปสู่เส้นทางแห่ง หายนะ ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหายนะภัยของตนเอง ต่างเดินไปสู่ความวิบัติด้วยความไม่รู้ตลอดเวลา
     ขอเพียงมนุษย์รู้จัก " พอ " ให้ตรงตามหลักสัจธรรม สันติภาพความสงบสุขแห่งตนจะเกิดขึ้นทันที ถ้าแยกแยะอักษรสองตัวนี้แล้วจะเห็นความแยบยล
    " พอ " ประกอบไปด้วยอักษร " พ " และ " อ "  " พ " ตัวแรกหมายถึง " พุทธะ " คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หมายถึงความรู้และความเป็นตรงต่อหลักสัจธรรม และหลักสัจธรรมอันแท้จริงคือ " ทางสายกลาง "
     มีบางคนอันเป็นส่วนใหญ่ รู้แต้เพียงอักษรแต่จิตใจปฏิบัติไม่ได้ จึงได้รับแต่ขนานนามว่า " พุทธะแต่ปาก
    " อ "  อักษรตัวนี้หมายถึง " อุปาทาน " คือการยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นภาวะที่พ้นไปจากทางสายกลางอย่างแท้จริง
      ถ้ามีแต่การยึดมั่นถือมั่น ไม่ว่าจะเป็น รูปลักษณ์  หรือไร้รูป ย่อมไม่พบความเป็นพุทธะและไม่อาจเข้าถึงทางสายกลางได้โดยนัยกลับกัน ถ้าต้องการเข้าถึงความเป็นพุทธะ เข้าถึงทางสายกลางย่อมต้องละ ความยึดมั่นถือมั่น ลงไปให้ได้
      ความไม่รู้จักพอย่อมก่อบาปและหนี้สินเวรกรรมไม่จบสิ้น ดังชาดกเรื่องหนึ่งซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นจริง  ในกรุงพาราณสี แคว้นกาสี มีครอบครัวหนึ่งเป็นพราหมณ์ มีลูกสาวสามคนชื่อ นันทา นันทาวดี และสุนทรีนันทา เมื่อพราหมณ์ อันเป็นหัวหน้าครอบครัวถึงแก่กรรมแล้ว ครอบครัวสามแม่ลูกได้รับความทุกข์ยากสารพัดที่จะเอ่ย แม้ลูกสาวแต่งงานไปแล้วในที่สุดก็ต้องกลับมาอยู่กับแม่ สี่ชีวิตมีแต่ความทุกข์รุมเร้า วันหนึ่งมีพญาหงษ์ทองบินมาเกาะอยู่ที่ท้ายครัวแล้วเปิดเผยความลับใ้ห้สี่แม่ลูกได้ทราบความจริงว่า ในอดีตชาติของตนได้เกิดมาเป็นคนและเป็นหัวหน้าครอบครัว ครั้นตายแล้วด้วยผลบุญที่สั่งสมไว้จึงมาเกิดกายเป็นพญาหงษ์มีขนสีทอง ถ้านำไปขายก็ยังชีพได้ พญาหงษ์ทองต้องการช่วยเหลือครอบครัวตนจึงสลัดขนให้หนึ่งขนแล้วบินจากไป
      ครอบครัวพราหมณีหม้ายก็ได้อาศัยขนทองของพญาหงษ์เลี้ยงชีพมีความสุขขึ้นทันตาเห็น แต่แล้ววันหนึ่ง นางพราหมณีก็ปรารภกับลูกสาวว่า " พ่อเจ้าเป็นสัตว์เดรัจฉาน หากวันใดไม่มาหาเราก็คงได้รับความยากลำบากอีก อย่ากระนั้นเลยมาคราวนี้แม่จะจับเอาไว้เลยแล้วถอนขนให้เกลี้ยงเลยดีไหม " แม้ลูกสาวคัดค้านอย่งไร แม่พราหมณีก็หาได้ฟังไม่ ดังนั้นเมื่่อพญาหงษ์ทองมาถึงจึงจัดการถอนขนออกจนหมด แต่ปรากฏว่าขนที่ถอนมานั้นได้กลายเป็นขนนกธรรมดา ไม่อาจนำไปขายแลกเงินได้เหมือนอย่างเคย เมื่อพญาหงษ์ทองปีกขนขึ้นดังเดิมแล้วจึงบินกลับไปอยู่ที่ของตนและไม่ยอมกลับมาเยี่ยมครอบครัวของตนอีกเลย นางพราหมรณีและลูกสาวจึงกลับยากจนต้องเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างต่อไป
      ชาดกเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า การเดินอยู่บนเส้นทางสายกลางย่อมต้องกระทำชอบหรือตรงต่อหลักสัจธรรม นั่นหมายถึงการละ วาง อุปาทาน ความยึดมั่นลงไปได้โดยไม่หลงเหลือในจิตเลย ภาวะเช่นนี้จึงเป็นกลางอย่างแท้จริง
      ศาสดาขงจื้อ ท่านจึงมีพระวจนะเอาไว้ว่า การปฏิบัติตามแนวทางของอนุตตรญาณจึงเรียกว่า  " ธรรมะ " แนวทางแห่งอนุตตรญาณนั้นเป็นไฉน ความสูงสุดของวิถีอนุตตร ก็คือทางสายกลางนั้นเแอง  เพราะฉะนั้นการเข้าถึงภาวะแห่งความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อันแท้จริง จึงต้องเข้าสู่ภาวะแห่งความเป็น อนุตตตรภาวะ
      ผู้ที่ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม หรือแม้แต่ พูดธรรมะ ยังมิใช่ผู้ที่เข้าถึงอนุตตรภาวะ เพราะภาวะเช่นนี้ย่อมไม่อาจอธิบายให้ใครได้รับรู้ได้เลย  ธรรมะจึงเป็น " ปัจจัตตังเว "  รู้ได้เฉพาะตน ไม่อาจอธิบายให้ใครได้รับรู้ได้เลยและที่พยายามอธิบายกันนั้นก็เป็นเพียงการชี้แนะหนทางให้แต่ละคนไปปฏิบัติเองเพื่อเข้าถึงด้วยตนเอง
      อาการของ " จิต " ที่ไหลเลื่อนออกมาจากอนุตตรญาณ ถ้าสามารถรักษาภาวะธาตุแท้ความเป็นกลางเอาไว้ได้ย่อมพ้นไปจากเหยื่อร้ายทั้งปวงที่จะมาทำร้าย ธรรมญาณ ของจนเอง เพราะเหตุนี้ผู้ที่เดินบนเส้นทางสายนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นผู้มีธรรมะและธรรมะทางสายกลาง ย่อมไม่ปฏิเสธสิ่งใดและรับสิ่งใดเอาไว้ให้นอนเนื่องอยู่ในธรรมญาณของตน เพียงแต่เป็นช่องทางให้ผ่านเข้าและออกเท่านั้นเอง  ความพอดีของทางสายกลาง ย่อมก่อให้เิกิดความพอใจในทุกสภาวะ และนั่นคือหนทางของพระพุทธะส่วนปุถุชนไม่มีทั้ง "" พอดี  และจึง  ไม่พอใจ ""

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

         เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงทรมานพระวรกายด้วยการบำเพ็ญทุกขกิริยากลั้นลมหายใจ อดอาหารจวนเจียนจะถึงซึ่งความแตกดับของกายสังขาร ตามตำนานของศาสนาพุทธหินมยานกล่าวว่า พระอินทร์ได้ดีดพิณสามสาย  สายหนึ่งขึงจนหย่อนยานดีดไม่เป็นเสียงเพลง  สายหนึ่งขึงและขันจนตึงเปรี๊ยะดีดทีเดียวพิณสายขาดดังผึง  สายหนึ่งขันพอดี ๆ ดีดจึงเป็นเสียงเพลงอันไพเราะ
        พระพุทธองค์ทรงได้สติและรู้ว่าการบำเพ็ญปฏิบัติต้องดำเนินวิถีแห่งทางสายกลาง จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกขกิริยากลับมาเสวยพระกระยาหารตามปกติ และในที่สุดพระองค์จึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ดี รู้ชอบ แต่บัดนั้น บรรดาผู้ศึกษาปฏิบัติธรรมในชั้นหลังเข้าใจผิดเพี้ยนว่าพระพุทธองค์ตรัสรู้อริยสัจสี่ประกอบไปด้วย
        ทุกข์      หมายถึง สิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้  ลำบากตรากตรำ  เศร้าหมอง
        สมุทัย    หมายถึง เหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวง
        นิโรธ      หมายถึง ค้นหาวิธีแก้ทุกข์
        มรรค      หมายถึง หนทางแห่งความดับทุกข์
 
       ความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้มิใช่เรื่องแปลกประหลาดจนพระพุทธองค์ต้องทรงบำเพ็ญถึงหกปี จึงค้นพบสิ่งที่มีอยู่และดำรงอยู่แล้ว แต่สิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ย่อมเหนือกว่าสภาวะอริยะสัจสี่จึงสามารถดับ อริยะสัจสี่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสรู้จึงเป็น " ความเป็นกลาง "  อันเป็นคุณสมบัติของ " ธรรมญาณ " มิใช่ " หนทาง "หากพระพุทธองค์มิได้ตร้สรู้เช่นนี้ก็ไม่อาจดับทุกข์ได้เลย ถ้าเปรียบไปแล้วก็เสมือนหนึ่ง ถ้ำที่เต็มไปด้วยอัญมณี และมีเส้นทางอยู่สามสาย ทางซ้าย และขวาเลยปากถ้ำ มีแต่ทางตรงกลางเท่านั้นที่ตรงปากถ้ำพอดี แม้พระพุทธองค์ทรงพบอัญมณีแล้วอธิบายว่า อัญมณีนั้นมีความวิเศษอย่างไร แต่คนชั้นหลังก็ยังติดตรึงอยู่แต่หนทาง  จึงไม่อาจเข้าใจความวิเศษแห่งอัญมณีนั้นได้เลย
       " ธรรมญาณ "  อันเป็น " ตัวจริง " ของมนุษย์นั้นมีความเป็น " กลาง " อยู่แล้วแต่เพราะอาการไหลเลื่อนไปซ้าย ขวา จึงก่อทุกข์ได้แก่ทุกผู้คนที่ไปหลงยึดติดเอาไว้  การค้นหาวิธี  ดับทุกข์  จึงเป็นเรื่องของ " ธรรมญาณ " โดยตรง ซึ่งเปล่งอานุภาพแห่งความเป็น " กลาง " ออกมาได้เมื่ิอไรย่อมหมดทุกข์ทันที เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องของ " ปัญญา " อันที่จริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ   มัชฌิมปฏิปทา จึงเป็นเพียงอาการของ " ธรรมญาณ " ซึ่งเป็นกลางอยู่แล้ว  แต่ตามตำนานของพระพุทธศาสนามหายานได้กล่าวถึง การบรรลุธรรมของพระพุทธองค์ว่า ภายหลังอาการทุกข์ทรมานจวนเจียนดับกายสังขาร หญิงแม่ลูกอ่อนช้อนพระเกศาและปรนนิบัติพระพุทธองค์ประหนึ่งมารดาดูแลบุตรฉะนั้น
        พระพุทธองค์ทรงแลเห็น " เมตตา " ของหญิงคนนั้น อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าเด็กเลี้ยงแกะ กำลังยื่นกะลาใส่นมแพะถวายพระพุทธองค์ แต่กลับทูลว่า " ข้าพเจ้าเป็นจัณฑาล กะลานี้ก็ของจัณฑาล ท่านเป็นกษัตริย์จะกล้าดื่มหรือ " ความหิวมิได้แยกแยะว่าเป็นขอทาน จัณฑาล หรือกษัตริย์ " ตำนานทั้งสองนิกายล้วนสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงว่า พระพุทธองค์ทรงค้นพบว่า " อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ " อันเป็น ปัญญา ยิ่งใหญ่ที่มีอยู่แล้วในทุกผู้คน และหนทางแห่งการค้นพบแม้ตำนานหนึ่งกล่าวถึงพิณสายกลาง อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึง เมตตา  อันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติเดิมแท้ของมนุษย์ทุกคน
        "" ปัญญาที่ยิ่งใหญ่เทียมฟ้าเป็นไฉน "" แม้ปัญญาแยกแยะดีหรือชั่วได้ แต่กลับไม่รังเกียจ กลับปฏิบัติต่อ ดีและชั่วเสมอกัน จึงได้ชื่อว่าเป็น " มหาเมตตา " เพราะไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อด้วยความพอใจหรือไม่พอใจของตนเอง ดังนั้น ปุถุชนผู้ไม่เข้าใจทางสายกลาง จึงปฏิบัติตนตามความพอใจ และอ้างว่าเป็นไปตามธรรมชาติ
        ทางสายกลาง จึงไม่ต้องกระทำอะไรเลยจะได้ไม่ก่อกรรมให้เกิดผลเวียนว่ายใช่ไหม " นับเป็นความเข้าใจผิดชนิดหนึ่ง ถ้าทางสายกลางปฏิบัติง่ายเช่นนี้ คนปัญญาอ่อน ย่อมปฏิบัติทางสายกลางได้  ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย  ทางสายกลางเป็นเรื่องของการปฏิบัติที่เที่ยงตรงต่อธรรมญาณไม่เอนหรือไหวไปตามอิทธิพลของอายตนะหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  การปฏิบัติเช่นนี้จึงไม่ก่อหนี้สินเวรกรรม ให้แก่ตนเองและผู้อื่น และการกระทำเช่นนี้จึงเรียกว่า เป็นหนทางแห่งธรรมะ
        ถ้านั่งเฉย ๆ ไม่ยอมรับรู้เหยื่อมากระทบ เหตุใดจึงรู้ว่า " ธรรมญาณ " ของตนไหวเอนไปตามอิทธิพลของเหยื่อหรือไม่ การนั่งหลับตาทำสมาธิ จึงมิใช่หนทางแห่งการปฏิบัติธรรม แต่เป็นการพักผ่อนจิตอันแสนเหน็ดเหนื่อยชั่วคราวเท่านั้นเอง หนทางแห่งการปฏิบัติธรรมจึงมิได้ขึ้นต่อรูปลักษณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ขึ้นอยู่กับอาการสั่นไหวของ " ธรรมญาณ " เท่านั้น   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

      ในร่างกายของมนุษย์มี " ตัวจริง " อันเป็น " สัจธรรม " ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงสูญหายไปเลย ไม่ว่าจะมีอะไรมาเป็นปัจจัยทำลายล้าง ก็ทำลายไม่ได้  " ตัวจริง " นี้ ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า " วิญญาณ "
                         " ตัวจริง " นี้ ภาษาธรรมะเรียกว่า       " ธรรมญาณ "
      ญาณ คืออะไร  ปรีชาหยั่งรู้ กำหนดรู้  แต่เพราะมนุษย์มิได้รู้จัดตัวเองจึงไม่มีความรู้เกี่ยวกับ ธรรมญาณ เอาเสียเลย พระพุทธองค๋ทรงเรียนรู้และจัดการกับตัวเองแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น พระองค์จึงเป็นผู้รู้แจ้งในหมื่นโลกธาตุ
      ความคิดที่ว่า วิญญาณ หรือ ธรรมญาณ นั้นทำลายมิได้แฝงอยู่ในความคิดของมนุษย์มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เช่น การแต่งเรื่อง แม่นาคพระโขนง อันแสดงความร้ายกาจของ ผีแม่นาค การปราบผี หมอผี ก็เพียงแต่ใช้คาถาอาคม เรียกวิญญาณลงหม้อและใช้ผ้ายันต์ปิดปากหม้อนำไปถ่วงทะเลเท่านั้น หมอผีไม่อาจฆ่าวิญญาณแม่นาคได้ ดังนั้นเมื่อมีเหตุให้หม้อแตกวิญญาณของแม่นาคจึงสามารถกลับมาอาละวาดได้อีก
     ธรรมญาณ  มาแต่ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่มีคุณสมบัติความดีงามพร้อมอยู่แล้วถึง ห้าประการ ดังนี้
                                                   1 .เหยิน  เป็น  ความเมตตา
                                                   2. อี้       เป็น  มโนธรรมสำนึก
                                                   3. หลี่     เป็น  จริยธรรม
                                                   4. จื้อ      เป็น  ปัญญาธรรม
                                                   5. ซิ่น      เป็น  สัตยธรรม
     ความดีงามทั้งห้าประการนี้มีอยู่เท่ากันและพร้อมที่จะสำแดงอานุภาพออกมาเหมือนกันหมด ขุนโจรคนหนึ่งมีจิตใจเหี้ยมเกรียมนัก เคยฆ่าแม้กระทั่งเด็กทารก  วันหนึ่งเดินทางไปริมแม่น้ำใหญ่แห่งหนึ่ง พลันก็ได้ยินเสียงตะโกนร้องขอความช่วยเหลือว่า " เด็กตกน้ำ "  ขุนโจรเหี้ยมคนนั้นรีบวิ่งด้วยความรวดเร็วพร้อมที่จะกระโดดลงไปช่วยชีวิตเด็ก แต่เผอิญผ่านหน้ามารดาของเด็กได้ยินเสียงร้องเตือนว่า " เร็ว ๆ ช่วยลูกชั้นด้วยให้หมื่นหนึ่ง " ขุนโจรชะงักทันทีหันมาถามว่าจะเอาเป็นหรือจะเอาตาย แม่ของเด็กย่อมต้องเพิ่มราคาทันทีเป็นสองสามเท่าตัว ขุนโจรจึงกระโดดลงไปช่วยเด็กเพื่อรับรางวัล
     ในช่วงจังหวะที่ขุนโจรใจเหี้ยมกำลังวิ่งออกไปนั้นน กระทำไปด้วยความรักและเมตตาอันบริสุทธิ์ที่มีอยู่แล้วใน ธรรมญาณ  ตามธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ทุกคน  แต่พอเสียงเงินมากมายมากระทบอายตนะ คือ หู ความโลภก็ย่อมครอบงำธรรมญาณ
ทันที การกระทำตอนหลังจึงกระทำไปด้วย " จิตโลภ " แต่เพียงสถานเดียว
     การวิ่งด้วยกำลังของเมตตาธรรมนั้นกระทำไปด้วยหนทาง "สายกลาง" โดยแท้อันเป็นความรักความเมตตมอันยิ่งใหญ่เทียมฟ้าดินที่ต้องการให้สรรพสิ่งปราศจากภัยและอยู่อย่างมีความสุข
     ขุนโจร ขณะนั้น ไม่รู้จักเด็ก และไม่คิดว่าจะรับเงินรางวัลหรือกระทำไปด้วยต้องการชื่อเสียง สิ่งตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น  อานุภาพของธรรมญาณตรงนี้จึงมีเช่นเดียวกับฟ้าดินที่กระทำให้แก่ทุกชีวิตเสมอกันโดยมิได้หวังผลตอบแทนกลับมาอย่างใดเลยเพราะเหตุนี้ คนที่กระทำการอันปราศจากเมตตา จึงขัดต่อสัจธรรมของฟ้าดิน เขาจึงต้องได้รับโทษจากการกระทำของตนเอง
     พระพุทธองค์ทรงเตือนมนุษย์ให้ระลึกถึงความดีงามอันมีอยู่แต่เดิมแล้ว แต่มนุษย์หลงอยู่ในโลกนี้จนลืมเลือนความเมตตา เพราะฉะนั้น ศีลข้อที่หนึ่งที่ว่า " ปาณาติปาตาเวรมณี " ความหมายที่แท้จริงมิได้อยู่ที่การฆ่าสัตว์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน และควรมีความรักและอาทรต่อกันต่างหาก เพราะทุกชีวิตมีถิ่นกำเนิดมาจากที่เดียวกันแต่เพราะมนุษย์ลืมถิ่นกำเนิดของ ธรรมญาณ  เพราะเหตุนี้จึงแบ่งแยกและแข่งขันช่วงชิงและฆ่าฟันกันไม่มีที่สิ้นสุด
     ความเมตตา  ความรัก  และ การไม่เบียดเบียน กันจึงเป็นอย่างเดียวกัน ไม่ว่าจะพูดด้วยภาษา จีน แขก ฝรั่ง แต่เพราะการแบ่งแยกกันตามรูปลักษณ์  มนุษย์จึงลืมเลือนความดีงามของตนเองเสียสิ้น ความคับแคบทางจิตใจึงเกิดขึ้น ความสุขสงบจึงหายไปจากจิตใจของมนุษย์ในโลกนี้
     พระศาสดาทั้งปวงที่อุบัติขึ้นมาในโลกนี้จึงมีคำสอนเป็นอย่างเดียวกัน เพราะต่างสำนึกว่า มนุษย์มาจากถิ่นที่เดียวกันและมีความดีงามพร้อมอยู่แล้ว หากได้เหตุปัจจัยอันเหมาะควรก็สามารถกลับคืนต้นรากเดิมของตนเองได้
     หากธรรมญาณมิได้มาจากถิ่นกำเนิดเดียวกันคือ ฟ้าเบื้องบนแล้ว พระศาสดาทั้งปวง คงไม่อาจปฏิบัติภาระกิจโปรดเวไนยสัตว์ได้อย่างแน่นอน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

      ความเมตตาของปุถุชนมิได้เกิดจาก " ธรรมญาณ " หรือ " ความเป็นกลาง "  ย่อมมีเงื่อนไข กาลเวลา ชนชั้น และต้องการค่าตอบแทน เพราะเหตุนี้คำกล่าวที่ยีนยันความจริงข้อนี้จึงมีอยู่ว่า "" ยามรักน้ำต้มผักยังว่าหวาน ยามชังแม้น้ำตาลยังว่าขม ""
      เมตตาของปุถุชนจึงเป็นสิ่งจอมปลอม เมื่อสิ้นเหตุปัจจัย ย่อมหมด " เมตตา " ได้ง่าย ๆ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าปุถุชนไร้เมตตา มีแต่ " ความเห็นแก่ตัว " จึงก่อทุกข์สถานเดียว  เมตตา เช่นนี้จึงไม่อาจค้ำจุนโลก มีแต่ทำลายโลกและทำลายตนเอง ปุถุชนจึงทำสิ่งที่ตรงกันข้ามปากพูดอย่างหนึ่ง แต่กระทำอีกอย่างหนึ่ง อย่างกรณีการทำบุญตักบาตร ปากพร่ำบ่นว่า "" สัพเพสัตตาสัตว์ทั้งหลายอันเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงอย่าได้มีเวรแก่กันและกัน จงอย่ามีความอาฆาตพยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกัน จงเป็นสุข ๆ เถิด ""
     แต่อาหารที่ใส่ลงไปในบาตรนั้นล้วนเป็นชีวิตเลือดเนื้อของสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เขาจึงทำตรงกันข้ามกับปากที่พูด หากจะพูดตรงต่อความเป็นจริงแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า  "" สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายอันเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงได้มีเวรแก่กันและกัน จงมีความอาฆาตพยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกัน จงเป็นทุกข์ ๆ เถิด "" ดังนั้นการทำบุญของปุถุชนจึงมีบาปปนเปไปด้วย
     ถ้าพิจารณา " เมตตา " อันเป็นทางสายกลางของพระอริยเจ้าทั้งสามพระองค์ ประกอบไปด้วย พระพุทธเจ้า  ท่านเหลาจื้อ ท่านขงจื้อ  จะเห็นความเป็นจริงว่า เป็นเมตตาที่ตรงต่อ " ทางสายกลาง " ชัดเจนที่สุด ทั้งสามศาสนามีคำพูดอย่างเดียวกันเพียงแต่ภาษาต่างกันเท่านั้นเอง   ท่านเหลาจื้อ   ให้บำเพ็ญ      ธาตุไม้   มู่
                                  ท่านขงจื้อ      ให้บำเพ็ญ      เมตตา   เหยิน
                                  พระพุทธเจ้า   ให้รักษาศีล     ปาณาติปาตา เว้นจากการเบียดเบียนชีวิตสัตว์
     ธาตุไม้ในตัวคน เมตตา ล้วนเป็นสิ่งที่สงบเยือกเย็น เป้นผู้ให้โดยปราศจากข้อผูกมัดใด ๆ ทั้งสิ้น
                       
                             เมตตาที่แท้จริง จึงประกอบไปด้วยลักษณะ 4 ประการ
1.  ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดใด ๆ จะเป็นญาติ หรือคนที่รัก หรือชัง ล้วนได้รับความเมตตา
2.   ไม่มีเวลาจำกัดไม่ว่าจะตายไปแล้วหรือล่วงไปนานเท่าใดก็บังเมตตา
3.   ไม่ต้องการค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น แม้เมตตาแล้วจะได้รับผลเลวร้ายก็ยังคงเมตตา
4.   ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะสูงส่งต่ำต้อย ยากไร้อย่างไร ก็ได้รับความเมตตาเท่าเทียมกัน
     ความเมตตาเช่นนี้จึงมีค่า " ค้ำจุนโลก "  ได้หรือมิได้ทำลายสรรพชีวิตใด ๆ เลย มีแต่ทำให้ชีวิตทั้งปวงเจริญงอกงามขึ้นมาดั่งฟ้าดินที่ให้ทุกสิ่งอย่างแก่ชีวิตโดยไม่ต้องการผลตอบแทนและเงื่อนไขใด ๆ ทุกชีวิตต่างได้รับ อากาศ น้ำ ยืนอยู่บนแผ่นดินเท่าเทียมกัน  ความเมตตาธรรมเช่นนี้จึงทำให้ชีวิตมีความสุขอันแท้จริง เพราะฉะนั้นถ้ามนุษย์เรียนรู้เมตตาเช่นนี้จึงก่อให้เกิด สันติสุขแก่ตนเองและชาวโลกทั้งปวง แต่ถ้าประพฤติผิดต่อหลักสัจธรรมของเมตตา ย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกายเพราะคนที่ไร้เมตตามักจะเป็นผู้ที่มีโทสะจริตครอบงำ โมโหโกรธามาก ๆ ย่อมกระทบกระเทือนต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย คือ " ตับ " ถ้าตับเสีย ย่อมมีผลต่อการกรองของเสียจากอาหารที่เข้าสู่ร่างกาย
     ผู้บำเพ็ญ " เมตตา " อย่างแท้จริงและตรงต่อทางสายกลางจึงเป็นการกำจัด " โทสะ " ได้และย่อมมีผลต่อร่างกายของผู้นั้นเอง หน้าตาจึงผ่องใสยิ้มแย้ม  ผู้ทีเมตตาธรรม อันตรงต่อสัจธรรมจึงไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เพราะถือเป็นการเบียดเบียนชีวิต พืชผักสีเขียวจึงเป็นคุณต่อตับ  "" ยกเว้นเพียง กุ้ยฉ่าย เท่านั้นที่เป็นพิษต่อตับ ""
     และเพื่อ "" รักษา ตับ """ มิให้กระทบกระเทือนรสชาดของอาหารจึงหลีกเลี่ยง " รสเปรี้ยวจัด "  การดำรงเช่นนี้จึงเป็นทางสายกลางอันนแท้จริง เมื่อทั้ง " กาย " และ " จิต " อยู่ในทางสายกลาง ความเมตตาจึงมีพลานุภาพต่อสรรพชีวิต
     ความหมาย " แห่ง เมตตา " จึงทนมิได้กับความทุกข์ยากของผู้อื่น  "" ความกรุณา "" จึงใคร่แบ่งปันความสุขของตนเองเพื่อให้คนอื่นมีความสุขเยี่ยงเดียวกัน  ครั้งหนึ่งผู้เขียนควรชวนเพื่อนคนหนึ่งให้เข้าปฏิบีติธรรม แต่เขากลับตอบว่า "" อ้าว ก็ทางสายกลางซีครับ "" ถ้าเช่นนั้นก็หมายความว่า จิตใจของคุณเป็นเช่น ฟ้า ดิน น้ำ อากาศ อย่างนั้นละซี  "" ไม่ใช่ อยากกินก็กิน อยากเที่ยวก็เที่ยว ไม่เบียดเบียนให้ใครเดือดร้อนเป็นใช้ได้ ""  แล้วนี่เบียดเบียนตัวเองล่ะ ใช้ได้หรือไม่
      การสนทนานั้นจบลงตรงที่ฝ่ายเพื่อนนั่งนิ่งเงียบ เพราะเขาคงได้คิดว่า เมตตาธรรมมิได้หมายความว่า เมตตาต่อผู้อื่นแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แท้ที่จริงยังต้องเมตตาต่อตนเองด้วย
      " ไม่สร้างกรรมให้ชีวิตจริงของตนเองต้องตกต่ำลงสู่ห้วงเหวแห่งนรกนั่นเอง " ถ้าธรรมญาณตกต่ำออกทางหู ย่อมไปเกิดเป็นตังมิ้ง ออกทางปากย่อมไปเป็นปลาวาฬ เพื่อบำเพ็ญ "" เมตตา "" ให้สมบูรณ์นั่นแล

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

       พ่อทำงานแสนเหน็ดเหนื่อยกลับมาถึงบ้านควรได้รับการพักผ่อน แต่กลับมาต้องเสียอารมณ์เพราะลูกชายสองคนกำลังเถียงกันพ่อได้ยินน้องชายเถียงพี่ชายด้วยท่าทีเอ็ดอึงและขาดความเคารพจึงตรงเข้าไปตบหน้าน้องชายหนึ่งที ลูกชายวิ่งหนีเข้าไปในครัว พ่อยังคงมีโทสะครอบงำจึงตามเข้าไปตบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
      แต่คราวนี้โทสะจริตครอบงำ ลูกชายจึงคว้ามีดบางในครัวเสียบเข้าที่ลิ้นปี่ของพ่อเลือดไหลนองล้มลงขาดใจตายอยู่ในครัวนั่นเอง เมื่อสติคืนกลับมา ลูกชายถือมึดเดินขึ้นโรงพักและร่ำร้องบอกว่า "" ประหารชีวิตผมเถอะ ประหารชีวิตผมเถอะ "" มโนธรรมสำนึกอันมีอยู่แล้วใน " ธรรมญาณ " ได้สำแดงอานุภาพออกมาเพราะรู้อยู่ว่าการสังหารพ่อนั้นเป็นลูกอกตัญญูโดยแท้ จึงพร้อมที่จะรับโทษทันฑ์ที่ตนเองก่อขึ้น
      ปัญหาของปุถุชนจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไร ให้มโนธรรมสำนึก มีอานุภาพก่อนที่โทสะสำแดงตนออกมาก่อน แต่เพราะความเคยชินและพ้นไปจาก " หนทางสายกลาง " จึงไม่อาจใช้มโนธรรมได้ทันที
      ท่าเหลาจื๊อ  จึงให้บำเพ็ญธาตุทอง       ซึ่งภาษาจีนเรียกว่า  จิน
      ท่านขงจื๊อ   จึงให้บำเพ็ญมโนธรรมสำนึก ซึ่งภาษาจีนเรียกว่า อี้
      พระพุทธองค์ทรงให้เจริญศีล อทินนาทานา  ซึ่งหมายถึง ไม่เอาของผู้อื่น
      มโนธรรมสำนึกนี้ตรงต่ออวัยวะภายในตัวเรา คือ ปอด
      ความหมายแห่งคำสอนของพระศาสดาทั้งสาม แม้แตกต่างกันด้วยภาษา แต่ความเป็นจริงแห่งวิถีปฏิบัติแล้วเป็นเช่นเดียวกันการบำรุงเลี้ยงรักษาธาตุทองในตนเองย่อมทำให้สามารถผนึกลมปราณให้เป็นเอกภาพได้ และการควบคุมลมปราณจำเป็นอยู่เองที่ต้องอาศัยปอดที่แข็งแรง
     ธาตุทอง มีความหมาย เป็นความแข็งแกร่งและพลานุภาพ สามารถตอบแทนต่อสรรพสิ่งที่เป็นคุณแก่ตนเองได้  การไม่เอาของผู้อื่นมาเป็นของเราย่อมต้องอาศัยมโนธรรมสำนึก รู้ถึงความเดือดร้อนที่ผู้อื่นพึงได้รับ หากตนเองเห็นแก่ตัวหยิบฉวยของผู้อื่นมาเป็นของตน เป็นการขจัดความเห็นแก่ตัวโดยแท้จริง จึงเป็นผู้เสียสละเพื่อคนอื่นได้
    ศีลข้อสอง อทินนาทานา ที่พระพุทธองค์ทรงเตือน ให้สาธุชนทั้งหลายให้ระลึกถึงคุณงามความดีของตนเองนั้น มิได้มีความหมายคับแคบอยู่แต่การที่ " ลักขโมย " เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการเก็บของผู้อื่นได้ ยังต้องคืนเจ้าของ
    มโนธรรมสำนึกนั้น มีความรู้สึกอยากตอบแทนผู้มีพระคุณ ดังนั้นการที่มนุษย์มีความรู้สึกกตัญญูต่อพ่อแม่ก็เพราะ อานุภาพแห่งมโนธรรมสำนึกนี่เอง
    ท่านศาสดาขงจื๊อ จึงสอนให้รู้จักกตัญญูต่อพ่อแม่เป็นอันดับแรก หากใครก็ตามที่ขาดความรู้สึกเช่นนี้ถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติผิดต่อสัจธรรมของฟ้าดิน และโทษที่เขาได้รับนั้นย่อมไปเกิดเป็นสุนัขเพื่อให้บำเพ็ญกตัญญูรู้คุณ ในโลกนี้จึงได้เห็นคุณงามความดีของสุนัขที่รู้จักตอบแทนคุณเจ้าของ แม้จะได้รับการตอบสนองด้วยความโหดร้ายตบตีอย่างไร สุนัขก็ยังคงไม่หนีหายไปไหน ยังคงติดตามรับใช้ด้วยความจงรักภัคดีและกตัญญูยิ่ง
    ที่ญี่ปุ่นมีสุนัขตัวหนึ่ง ทุกเช้าจะเดินมาส่งเจ้านายที่สถานีรถไฟ ตกเย็นก็มารับที่สถานีรถไฟทุกวัน สุนัขตัวนี้ประพฤติเช่นนี้เป็นแรมปีและหลายปี แต่เย็นวันหนึ่งมารอรับเจ้านาย ผู้คนลงจากรถไฟหมดแล้วแต่ไม่เห็นเจ้านายเลย มันเดินคอตกกลับบ้าน
    สุนัขตัวนี้ประพฤติเช่นนี้เป็นระยะเวลานานเป็นปี จนมีผู้สังเกตุเห็นจึงไปแจ้งกับตำรวจสะกดรอยตามจนไปถึงที่พัก ปรากฏว่าบ้านรกรุงรังเก่าคร่ำคร่าและเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า เจ้านายของหมาตัวนี้ได้ไปสิ้นชีวิตที่เมืองตนเองทำงานอยู่ สุนัขตัวนี้จึงมีชื่อเสียงเลื่องลือในฐานะที่มีมโนธรรมกตัญญูยิ่ง
    การบำเพ็ญมโนธรรมสำนึกนี้ที่เป็นไปตามทางสายกลางจะเห็นได้ว่า การสำนึกรู้ในบุญคุณย่อมพ้นไปจากการเห็นแก่ตัวอย่างแท้จริง ผู้มีมโนธรรมสำนึกย่อมระลึกถึงสรรพสิ่งที่เป็นคุณแก่ตนเองและด้วยระยะเวลาอันยาวนานตราบจนหมดลมหายใจ
    การบำเพ็ญมโนธรรมสำนึกเกี่ยวพันกับกายสังขารคือปอด ความคิดฟุ้งซ่านย่อมทำให้ปอดใช้พลังงานมากและเสียหายได้ พืชที่เป็นใบยาสูบ เป็นพิษต่อปอดคนที่สูบบุหรี่จึงคิดมากจึงทำลายอานุภาพของปอดและในที่สุดก็เจ็บป่วยสิ้นพลัง
    รสชาติของอาหารที่เป็นอันตรายต่อปอด คือ รสเผ็ด
    ถ้าพิจารณาจากวงจรของธรรมชาติจะเห็น "" มโนธรรม "" ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดวงอาทิตย์แผดเผาน้ำระเหยกลายขึ้นไปเป็นไอน้ำจับกันหนาแน่น จึงกลายเป็น เมฆ  ครั้นเมฆลอยต่ำกระทบความเย็นจึงกลั่นเป็นน้ำฝน
    น้ำฝนตกลงสู่แผ่นดินเกิดความชุ่มชื้น พืชพันธุ์ธัญญาหารเจริญงอกงาม ทำให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์จนระเหยกลายเป็นไอน้ำขึ้นไป ต่างตอบแทนกันเช่นนี้ จึงเป็นมโนธรรมสำนึกอันแท้จริงตรงตาม "" ทางสายกลาง ""

Tags: