collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: สิบอัครสาวก : สารบัญ  (อ่าน 29280 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                              สิบอัครสาวก

                              พระสุภูติเถระ

                 ผู้เป็นเอตทััคคะในด้าน อรณวิหารธรรม

                               บรรพชา

        การที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนานั้น เพราะว่าท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้เป็นลุงของท่านได้พบพระพุทธเจ้า และได้สร้างพระเชตวันมหาวิหาร เพื่อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในวันที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีฉลองเชตวันมหาวิหารนั้น  โดยสุภูติกุฏุมพีได้ไปกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้เป็นลุง เพื่อร่วมฉลองพระวิหารนั้นด้วย   หลังจากที่ได้ประกอบภารกิจ เกี่ยวกับการฉลองเสร็จแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรด  สุภูติกุฏุมพีเมื่อฟังพระธรรมแล้วก็เกิดศรัทธา จึงตัดสินใจออกบวช แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า หลังจากที่ประชาชนได้ถวายบังคลลากลับไป เพื่อกราบทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา   พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตแก่สุภูติกุฏฏุมพีให้อุปสมบทได้

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             สิบอัครสาวก 

                             พระสุภูติเถระ 

                ผู้เป็นเอตทััคคะในด้าน อรณวิหารธรรม
 
                             บรรลุธรรม

        เมื่อพระสุภูติบวชแล้ว ก็มีความมานะพยายามในการศึกษาพระวินัย และพระอภิธรรม จนมีความชำนาญ จากนั้นเมื่อได้เรือนกรรมฐานพอที่จะนำไปปฏิบัติได้แล้ว ท่านก็เข้าไปอยู่ในป่า ด้วยว่า ป่านี้เป็นที่วิเวก  มีความสงบสงัด  เป็นที่สงัดกายสงัดใจ  การปฏิบัติธรรมย่อมเป็นไปในลักษณะที่จิตมีความสม่ำเสมอ ไม่ต้องมาห่วงหน้าพะวงหลัง  ผลแห่งการปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าของพระสุภูติเถระ ท่านใช้เวลาไม่นานเท่าใดนัก ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            สิบอัครสาวก 

                             พระสุภูติเถระ 

                ผู้เป็นเอตทััคคะในด้าน อรณวิหารธรรม

                           อรณวิหารธรรม

        การที่ท่านได้ยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะด้าน  อรณวิหารธรรม  หมายถึง  ผู้เป็นอยู่อย่างไม่มีข้าศึก คือ เป็นอยู่ด้วยความไม่มีกิเลส ซึงแท้ที่จริงแล้ว พระขีณาสพทั้งหลาย ท่านได้โลกุตตรฌาน มีความสำราญอยู่ด้วยอาการหากิเลสมิได้ เหมือน ๆ กันทุกรูปก็จริง แต่ที่พระสุภูติเป็นเลิศกว่าผู้อื่น ก็เพราะ การแสดงธรรมของท่าน จะยึดเอาธรรมะมาเป็นหลักแห่งการเทศนา และกระทำตามแนวทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเทศนาไว้ โดยไม่ปรารถนาบุคคลที่ควรสรรเสริญ หรือควรติเตียนมาแสดงเลย ท่านนั้นปรารถนาแต่ธรรมะเพียงอย่างเดียว ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า ไม่ได้แสดงธรรมเพื่อให้เกิดศัตรูกับผู้ฟัง   

         
 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก : พระสุภูติเถระ : พระบารมี
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: 17/02/2012, 03:27 »
                            สิบอัครสาวก 

                             พระสุภูติเถระ 

                ผู้เป็นเอตทััคคะในด้าน อรณวิหารธรรม

                               พระบารมี

        ครั้งหนึ่ง  เมื่อท่านได้จาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อสร้างประโยชน์แก่มหาชน แล้วได้จาริกมาถึงกรุงราชคฤห์ ข่าวการมาถึงของพระสุภูติเถระ กระจายไปปอย่างรวดเร็ว เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงทราบ จึงได้ไปอาราธนาพระสุภูติเถระ แล้วให้ท่านรอ โดยจะให้ช่างสร้างที่อยู่ถวายแด่ท่าน ครั้นเมื่อกลับสู่พระราชนิเวศน์ ก็ทรงลืมพระสุภูติเถระเสีย  ส่วนพระสุภูติเถระ นั่งรอคอยอยู่ ตามพระวาจาของพระราชาที่ตรัสอาราธนาไว้ แต่ที่ที่พระเถระนั่งคอยอยู่นั้น
เป็นสถานที่ที่อยู่กลางแจ้ง ไม่ใช่มีที่มุงบัง  อานุภาพของพระเถระ ผู้ต้องมานั่งอยู่กลางแจ้ง เกิดทำให้ประชาชนเดือดร้อน เพราะฝนไม่ตก ประชาชนเมื่อเดือดร้อนจึงพากันไปเฝ้าพระเเจ้าพิมพิสาร ท่านก็ทรงพิจารณาว่าฝนไม่ตกด้วยเหตุผลอะไร 

        เบื้องแรก พระเจ้าพิมพิสาร ได้ตรวจดูวัตรปฏิบัติของพระองค์ก่อน ว่ามีการผิดพลาดในศีลธรรมข้อใดบ้าง แต่ไม่ทรงพบ แล้วพระองค์ก็ทรงระลึกถึงพระสุภูติเถระขึ้นได้ว่า เหตุที่ฝนไม่ตกคงจะเป็นด้วยพระเถระอยู่ในที่แจ้ง ไม่มีที่กำบังแดดและฝน เมื่อนั้น จึงได้ตรัสชี้แจงให้ประชาชนทราบ และให้ช่างสร้างกุฏิมุงด้วยใบไม้มาถวายแด่พระเถระ พอช่างสร้างเสร็จ พระราชาก็ได้ตรัสอาราธนาพระเถระ  "ขอพระคุณเจ้าจงเข้าอยู่ในกุฏิใบไม้นี้เถิด"  ตรัสดังนี้แล้วก็เสด็จจากไป เมื่อพระเถระทรงเข้าสู่กุฏิใบไม้แล้ว ฝนก็เริ่มตกลงมาปรอย ๆ แต่ยังไม่ตกลงมามาก ซึ่งทำให้ไม่พอแก่ความต้องการของประชาชน พระเถระมีความประสงค์จะสงเคราะห์ชาวโลก ก่อนจะประกาศความไม่มีอันตรายทั้งภายในและภายนอกของท่าน จึงกล่าวขึ้นว่า  "กุฏิของเรามุงดีแล้ว มีเครื่องป้องกันสบายดีแล้ว ฝนจงตกลงมา  ตกลงมาตามสบายเถิด จิตของเราตั้งมั่นดี  และหลุดพ้นดีแล้ว  เราเป็นผู้มีความเพียรอยู่ ฝนจงตกลงมาเถิด"   ความทุกข์ทรมานของประชาชน จึงได้หมดไปในเวลาที่พระสุภูติเถระกล่าวคาถานี้จบ ฝนได้ตกลงมาอย่างมากมาย จนพอแก่ความต้องการของประชาชน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             สิบอัครสาวก 

                             พระสุภูติเถระ 

                ผู้เป็นเอตทััคคะในด้าน อรณวิหารธรรม

                      บูรพเหตุ  (มโนปณิธาน)

        นับถอยหลังไปหนึ่งแสนกัป ท่านกำเนิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล มีชื่่อว่า  "นันทมาณพ"  บุคคลที่ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ จะต้องศึกษาวิชาไตรเพท เมื่อศึกษาวิชาไตรเทพเจนจบ นันทมาณพพิจารณาว่า ไตรเพทไม่มีสาระประโยชน์ จึงคิดหาสิ่งที่เป็นสาระประโยชน์ต่อชีวิตของท่าน ทั้งที่เป็นปัจจุบันและอนาคต ท่านจึงได้นำพาเหล่ามาณพบริวาร  ๘๔,๐๐๐ พัน อกบวชเป็นฤาษี ครั้งบำเพ็ญพรตตามหลักของดาบสในอดีตแล้ว นันทดาบสก็ได้สำเร็จสมาบัติ  ๘  และอภิญญา ๕  จากนั้นก็ได้ออกกรรมฐานแก่ศิษย์ของท่าน และทำให้ศิษย์เหล่านั้นได้ฌานด้วยในไม่ช้า

        ในกาลนั้น พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงอุบัติขึ้นในโลก และได้ทรงเห็นอุปนิสัยของนันทดาบสและเหล่าอันเตวาสิกในขณะตรวจสัตว์โลก จึงได้เสด็จไปทางอากาศ ไปถึงหน้าบรรณศาลาของนันทดาบส นันทดาบสทรงรู้ถึงความเป็นพระพุทธเจ้า  จึงได้แต่งอาสนะถวายพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลานั้น ดาบสทั้ง ๘ หมื่น ๔ พัน ได้กลับมาจากป่านำเอาผลไม้น้อยใหญ่ อันมีรสโอชามาถึง  นันทดาบสจึงได้กล่าวให้เหล่าอันเตวาสิก ได้รับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า โดยเปรียบกับตนว่าเสมือนเปรียบเทียบกับภูเขาสิเนรุ  ซึ่งสูงได้ ๖ ล้าน ๘ แสนโยชน์ กับเมล็ดผักกาดกระนั้น  จากนั้น ก็ได้ให้เหล่าศิษย์ทั้งหลายล้างผลไม้แล้วตนนำมาใส่บาตรของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า  เมื่อนั้น พระพุทธเจ้าได้มีดำริขึ้นว่า  "ขอพระภิกษุสงฆ์จงมาสู่สถานที่นี้"  เมื่อนั้นพระภิกษุทั้งหนึ่งแสนรูป ผู้ล้วนเป็นพระอรหันต์ จึงเหาะมาถวายบังคมแล้วยืนอยู่ในที่อันควร

        ครั้นดาบสได้เห็นพระภิกษุหนึ่งแสนรูป มาสู่ที่อยู่ของท่านเช่นนั้น จึงบอกให้ศิษย์ทั้งหลายช่วยกันแต่งอาสนะด้วยดอกไม้ เมื่อจัดแต่งอาสนะเสร็จแล้วจึงได้เชิญพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ประทับอาสนะ และต่างก็เข้าถึงนิโรธสมาบัติ เมื่อทรงเข้านิโรธสามบัติกันตลอด ๗ วันนั้น  โดยที่นันทดาบสไม่ได้ออกไปเที่ยวภิกกขาจารเลย ได้ยืนกั้นเศวตฉัตรดอกไม้อยู่ด้วยปิติสุขตลอด ๗ วัน และเมื่อทรงออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทะเจ้าได้เรียกภิกษุผู้เป็นอรณวิหารธรรม และ ภิกขุไณยบุคคลคือผู้ควรรับไทยธรรมนี้ ได้เป็นผู้กระทำการอนุโมทนาซึ่งอาสนะดอกไม้แก่หมู่ดาบสเหล่านั้น  จากนั้น พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทะเจ้า ได้ทรงแสดงธรรม  ดาบสทั้งหมดก็ได้สำเร็จอรหันต์  ยกเว้นแต่นันทดาบสเพียงผู้เดียว เพราะท่านมีจิตที่มิได้แน่วแน่ในธรรมเทศนาเพราะใจมัวแต่คิดถึงพระสาวกรูป ที่ได้รับมอบหมายให้แสดงธรรมอนุโมทนา จึงได้กราบทูลตั้งความปรารถนาว่า  "ด้วยอธิการกุศลที่ข้าพระองค์ยืนกั้นเศวตฉัตร อยู่ตลอด ๗ วัน ข้าพระองคต์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นพระสาวกผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ ในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ซึ่งจะเสด็จอุบัติขึ้นในอนาคตกาล เหมือนกับพระสาวกรูปนี้ด้วยเถิดพระเจ้าข้า" 

     เมื่อนั้น  พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสพยากรณ์รับรองในปณิธานนี้ ว่าความปรารถนาของท่านจะสำเร็จในสำนักของพระสมณโคดมพระพุทธเจ้าจากชาตินั้นมา ก็ได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์  ๘๐ ชาติ  เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หนึ่งพันชาติ  เป็นพระราชาเฉพาะประเทศอันไพบูลย์อยู่นับไม่ถ้วนชาติ ตลอดเวลาหนึ่งแสนกัปมา ท่านไม่เคยได้ตกลงสู่ทุคติอีกเลยตราบจน กระทั่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในชาติปัจจุบัน

        "กุฏิของเรามุงดีแล้ว  มีเครื่องป้องกันสบายดีแล้ว
                    ฝนจงตกลงมา  ตกลงมาตายสบายเถิด
                      จิตของเราตั้งมั่นดีและ  หลุดพ้นดีแล้ว
              เราเป็นผู้มีความเพียรอยู่  ฝนจงตกลงมาเถิด"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            สิบอัครสาวก 

                       พระมหากัจจายนเถระ

                        ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน

             "กล่าวจำแนกเนื้อความย่อแห่งภาษิตให้พิสดาร"   

                        บูรพเหตุ (มโนปณิธาน)

        พระมหาเถระ ผู้มีความสามารถอธิบายความหมายแห่งข้อธรรม  ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้โดยย่อให้พิสดาร ได้ถูกต้อง ตามพุทธประสงค์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งไม่มีสอง  และเป็นผู้ที่มีรูปงามที่สุดรูปหนึ่งอีกด้วย

        ในสมัย พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระมหากัจจายนเถระ ได้เกิดในตระกูลคฤหบดี  เมื่อเติบใหญ่ขึ้นกฌได้ไปฟังธรรมเทศนาที่วิหาร ในขณะที่ฟังธรรม ก็ได้เห็นพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งที่เลิศด้วนกล่าวแจกแจงข้อความย่อ ที่พระองค์ตรัสไว้ให้พิสดาร จึงคิดว่าอยากจะเป็นเช่นภิกษุนี้บ้าง  เมื่อคิดดังนั้นแล้ว จึงจัดการถวายมหาทาน แด่ภิกษุสงฆ์ ที่มีพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นประธานอยู่ตลอด ๗ วัน และเมื่อครบ ๗ วันแล้ว ก็ได้ตั้งปรารถนาต่อพระพักตร์พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า  "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงประเสริฐสุด ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น ด้วยผลแห่งการกระทำกุศลสักการะนี้ แต่ขอข้าพระองค์ได้ฐานันดร เหมือนกับพระภิกษุรูปที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งฐานันดรที่เลิศ ซึ่งล่วงมาได้ ๗ วันถึงวันนี้ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่งใน อนาคตกาลโน้นเถิด พระเจ้าข้า" 

        จากนั้น  พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสพยากรณ์รับรองในความปรารถนา พร้อมทั้งอนุโมทนาทานและได้เสด็จกลับไป   เมื่อถึงสมัยของพระมหากัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านมาเกิดในตระกูลหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินพพานแล้ว ท่านได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิธาตุ ของพระมหากัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการสละทองคำหนึ่งแสนตำลึง เพื่อหล่อเป็นอิฐสำหรับก่อสร้างพระเจดีย์ โดยกระทำเป็นพุทธบูชาแล้วอธิษฐานว่า  "ข้าพเจ้าเกิดในสถานที่ใด ๆ ขอให้ร่างกายมีผิวพรรณดังทองคำ" 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            สิบอัครสาวก 

                       พระมหากัจจายนเถระ

                        ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน

             "กล่าวจำแนกเนื้อความย่อแห่งภาษิตให้พิสดาร"   

                              ชาติภูมิ

        ในพุทธกาลนี้ ท่านได้มาเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ตระกูลกัจจานโคตร หรือ กัจจายนโคตร  ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในวันตั้งชื่อ บิดา
มารดาปรึกษากันว่า  "บุตรของเรามีผิวพรรณดังทองคำ ควรถือเอาเป็นนิมิตที่ดี แล้วตั้งชื่อให้ทารกนั้นว่า  กาญจนะ หรือ กัญจนะ ซึ่งแปลว่า ทอง

        กาญจนมาณพ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมา ก็ได้ศึกษาไตรเพทจนเจนจบ ทั้งมีความเชี่ยวชาญ เมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว จึงได้รับตำแหน่งราชปุโรหิต คือเป็นที่ปรึกษาในทางนิมิต ขนบธรรมเนียมประเพณีแทนบิดา และชื่อของท่านได้เปลี่ยนในภายหลังเป็น  "กัจจายนะ"  ตามชื่อตระกูล  ครั้นเมือพระเจ้าจัณฑปัชโชต  ทรงทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อุบัติในโลก ทรงมีพระราชประสงค์จะกราบทูลเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เสด็จมาทรงประกาศพระศาสนา ณ กรุงอุชเชนีบ้าง   จึงตรัสสั่งประชุมพวกอำมาตย์ราชปุโลหิต แล้วมีพระราชดำรัสถามว่าใครบ้าง ที่มีความสามารถไปกราบทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จมาได้  พวกอำมาตย์ต่างเสนอให้กัจจายนพราหมณ์เท่านั้น  พระเจ้าจัณฑปัชโชต จึงได้รับสั่งให้ท่านเป็นคนไปเชิญมา เมื่อกัจจายนพราหมณ์รับอาสา และกราบถวายบังคมลาบวช ซึ่งพระราชาก็อนุญาต  กัจจายนพราหมณ์ พร้อมด้วยพราหมณ์อีก ๗ คน ออกเดินทางมาจนถึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ได้แสดงธรรมสั่งสอน  กัจจายนพราหมณ์ พร้อมกับพราหมณ์ทั้ง ๗ ได้สำเร็จเป็นอรหันต์  พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา (ปัญญาอันแตกฉาน หรือ เกิดความรู้อันแตกฉาน) 

        เมื่อพระมหากัจจายนเถระ ได้ทูลเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังชาติภูมิของตน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า  "กัจจายนะ เธอจงไป และเมื่อเธอไป พระราชาจะทรงเลื่อมใสในเธอ"   ในระหว่างทาง  พระมหากัจจยนะพร้อมพระภิกษุ ๗ รูป ได้แวะบิณฑบาตรในนาลินิคม  ที่นาลินิคมนั้น มีธิดาเศรษฐีอยู่ ๒ คน คนหนึ่งเมื่อบิดามารดาล่วงลับไปแล้ว กลับเป็นคนยากจน ต้องไปอาศัยกับพี่เลี้ยง แต่เป็นคนมีรูปร่างสวยงาม มีผมยาวสลวยงาม  ส่วนธิดาเศรษฐีอีกตระกูลหนึ่ง เป็นคนที่มีผมน้อย เคยใช้ให้ทาสีของซื้อผมของธิดาเศรษฐีผู้ตกยาก ให้ราคาเป็น ๑๐๐ เป็น ๑,๐๐๐ กหาปณะ แต่มิอาจซื้อได้

        ในวันหนึ่ง ธิดาเศรษฐีผู้ยากจน เห็นพระมหากัจจายนะเถระเดินบิณฑบาตร ร่วมกับพระภิกษุ ๗ รูป แต่ยังไม่ได้ข้าวเลย บาตรของท่านเป็นบาตรที่ว่างเปล่าขาดอาหาร  นางคิดแล้วก็สงสารพระ จึงได้นิมนต์พระเถระทั้ง ๘ รูป ขึ้นนั่งบนบ้าน แล้วเข้าไปในห้อง ตัดมวยผมส่งให้พี่เลี้ยงพร้อมกับให้นำไปขายให้แก่ธิดาเศรษฐี ได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น  เมื่อพี่เลี้ยงเห็น ก็สงสารนางจนน้ำตาไหล แล้วแอบกุมออกไปไม่ให้พระเถระเห็น  เมื่อเอาไปขายนางก็กดราคาบอกว่า นี่เพราะว่านางตัดมาเอง  ดังนั้น จึงให้แค่ ๘ กหาปณะ แล้วธิดาเศรษฐีก็ให้พี่เลี้ยงไปซื้ออาหารมา ๘ สำรับแล้วใส่บาตรให้พระเถระ

        พระเถระทั้งหลาย มีพระมหากัจจายนะเป็นต้น เล็งเห็นถึงอุปนิสัยของธิดาเศรษฐีผู้สูงส่ง จึงให้เชิญออกมา เมื่อนางได้ออกมาไหว้พระเถระทั้งหลายก็ยิ่งมีศรัทธาทวีแรงกล้าขึ้นอีก เมื่อนั้นด้วยความศรัทธาของนาง ทำให้ผมของนางที่ถูกตัดออกไปจนสั้นเกรียน พลันกลับงอกยาวออกมาเหมือนดังเดิม  พระเถระทั้งหลายรับบิณฑบาตรแล้ว ก็ได้เหาะขึ้นสู่เวหาต่อหน้าธิดาของเศรษฐี ผู้มีศรัทธานั้นไปลงที่กาญจนอุทยานของพระเจ้าจัณฑปัชโชต  นายอุทยานเห็นแล้วจึงได้ไปบอกกับพระราชาว่าปุโรหิตกัจจายนะได้บรรพชาแล้ว และบัดนี้มาพักอยู่ที่พระราชอุทยาน และได้ถามหาพระพุทธเจ้า พระมหากัจจยนะเถระจึงได้บอกไปว่า พระผู้มีพระภาคมิได้เสด็จมา ให้อาตมามาถวายพระพรแทน แล้วพระราชาจึงถามว่า ท่านได้อาหารแต่ที่ใด พระเถระทั้งหลายจึงได้เล่าความดีของธิดาเศรษฐีผู้เป็นยอดนักเสียสละให้พระราชาทรงสดับ  พระราชาทรงพอพระหฤทัย ทรงมอบที่พักแก่พระเถระทั้งหลาย และเสด็จกลับพระราชวัง โปรดให้นำธิดาเศรษฐีมาตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี แล้วพระนางได้มียศศักดิ์สมบัติบริวารทันตาเห็น

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           สิบอัครสาวก 

                       พระมหากัจจายนเถระ

                        ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน

             "กล่าวจำแนกเนื้อความย่อแห่งภาษิตให้พิสดาร"   

                         อธิบายความย่อโดยพิสดาร                 

        มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรไว้โดยย่อ  จากนั้นก็เสด็จเข้าสู่พระวิหารที่ประทับพระภิกษุทั้งหลาย ไม่ได้มีโอกาสกราบทูลถามข้อความที่ตรัสโดยย่อให้เข้าใจกว้างขวางได้ จึงได้ไปนิมนต์ให้พระมหากัจจายนะได้อธิบายให้ฟัง  เมื่อภิกษุเหล่านั้นฟังจบ จึงพากันกราบลาพระมหากัจจายนะเถระ เข้าเฝ้ากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลข้อความที่พระมหากัจจายนเถระอธิบายให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับ  พระผู้มีพระภาคเจ้า       
ทรงตรัสสรรเสริญว่า "ภิกษุทั้งหลาย กัจจายนเถระเป็นผู้มีปัญญา  เนื้อความนั้น ถ้าพวกเธอถามตถาคต ตถาคตก็จะแก้เหมือนอย่างนั้น  เนื้อความย่อที่ตถาคตแสดงแล้ว มีความหมายดังที่กัจจายนะกล่าว พวกเธอจงจำไว้เถิด"  สมัยหนึ่ง พระมหากัจจายนะ พักอาศัยอยู่ที่ภูเขาปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ใน     
อวันตีทักขิณาปถชนบท มีชายผู้หนึ่งชื่อ โสณะอุบาสกได้ฟังธรรมในสำนักของพระมหากัจจายนะ ก็บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งในพระพุทธ - ศาสนามีจิตตั้งอยู่ในสรณะและศีล จึงได้สร้างวิหารในอันที่สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ ใกล้ปวัตตบรรพต แล้วนิมนต์พระเถระให้อยู่ในวิหารนั้น โสณะอุบาสก ได้อุปัฏฐากท่านพระมหากัจจายนะด้วยปัจจัยทั้ง ๔ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า  โสณะอุบาสกเป็นอุปัฏฐากของพระมหากัจจายนะ  ครั้งหนึ่ง โสณะอุบาสกได้เดินทางไปยังเมืองอุชเชนีกับหมู่เกวียนเพื่อต้องการค้าขาย ครั้นค่ำลงในระหว่างทางหมู่เกวียน ได้หยุดกองเกวียนไว้เพื่อพักผ่อน โสณะอุบาสกเพื่อหลีกการพักอย่างแออัด จึงหลีกไปนอนที่ท้ายหมู่เกวียน ครั้นใกล้รุ่ง หมู่เกวียนก็ออกเดินทางต่อไป โดยไม่มีใครปลุกโสณะอุบาสก  ครั้นเมื่อตื่นขึ้น โสณะอุบาสกไม่เห็นใครเลยก็ออกเดินไปตามทางเกวียนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเหนื่อยจึงได้เข้าพักยังต้นไทร ระหว่างทาง ณ ที่นั้นเขาได้พบเปรตตนหนึ่ง ยืนกินเนื้อของตนเองที่หล่นจากกระดูก โสณะอุบาสกจึงได้ถามถึงกรรมของเปรตที่ทำมาในอดีต

        เปรตนั้นก็เล่าว่า เมื่อชาติก่อนตนเป็นพ่อค้าอยู่ในเมืองการุกัจฉนคร ได้หลอกลวงเอาของของคนอื่นมาเคี้ยวกิน เมื่อมีสมณะเข้าไปบิณฑบาต ตนก็ด่าว่าจงเคี้ยวกินเนื้อของพวกเองซิ เพราะแรงกรรมนั้นจึงเสวยทุกข์เช่นนี้  โสณะอุบาสกได้ฟังดังนั้น กลับได้ความสลดใจอย่างเหลือล้น และได้เดินทางต่อไป ก็ได้พบพวกเปรตเล็ก ๒ ตน มีโลหิตดำไหลออกจากปาก จึงถามถึงบูรพกรรมของเปรตนั้น  เช่นเดียวกัน ฝ่ายเปรตเหล่านั้น ก็ได้เล่ากรรมของตนแก่โสณะอุบาสกนั้นความว่า "ในอดีตชาติ ในเวลาที่ยังเป็นเด็ก เปรตเหล่านั้นเลี้ยงชีพด้วยการค้าขายสิ่งของ ในการุกัจฉนคร เมื่อมารดาของตนนิมนต์พระขีณาสพทั้งหลายให้มาฉัน จึงไปยังเรือนแล้วด่าว่า ทำไมแม่จึงให้สิ่งของของพวกเรากับพวกสมณะ ขอให้โลหิตดำ จงไหลออกจากปากของพวกสมณะผู้บริโภคโภชนะที่แม่ให้แล้วเถิด เพราะกรรมนั้น เด็กเหล่านั้น จึงไปเกิดในนรก หมดกรรมจากนรกแล้ว ก็มาเกิดเป็นเปรตด้วยเศษแห่งวิบากกรรมนั้น  โสณะอุบาสก ได้ฟังดังนั้นก็เกิดความสลดใจอย่างเหลือล้น ครั้นเมื่อเขากลับไปยังกรุงอุชเชนีจึงได้ขอบรรพชา ต่อมาพระมหากัจจายนเถระ ท่านพระมหาเถระพิจารณาแล้วเห็นว่าญาณของโสณะอุบาสกยังไม่แก่กล้าพอต่อเพศบรรพชิต จึงได้ยับยั้งไว้ถึงสองครั้ง

        ในวาระที่สาม พระเถระพิจารณาเห็นว่าโสณะอุบาสกมีญาณแก่กล้าเพียงพอแล้ว จึงยินยอมให้บรรพชา แต่ว่าในสมัยนั้นการบรรพชาโดยพระสาวกต้องกระทำด้วยองค์ทสวรรค คือต้องหาพระสงฆ์ให้ครบ ๑๐ รูป  สมัยนั้น อวันตีชนบทอันตั้งอยู่แถบใต้ มีภิกษุน้อยรูป พระมหากัจจายนเถระกว่าจะจัดหาพระภิกษุสงฆ์ ให้ครบองค์ประชุมทสวรรคได้ก็ต่อล่วงไปถึง ๓ ปี  จึงอุปสมบทให้ท่านพระโสณะได้  ครั้นเมื่อบวชแล้วได้ระยะหนึ่ง พระโสณะเถระปรารถนาจะเดินทาง ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าจึงได้ขออนุญาตต่อพระอุปัชฌาย์คือพระมหากัจจายนเถระ ท่านพระมหากัจจายนเถระก็อนุญาต พร้อมทั้งสั่งให้ไปกราบทูลขอพระบรมพุทธานุญาต ให้พระพุทธองค์ทรงแก้ไขพุทธบัญญัติ ๕ ข้อ ซึ่งไม่สะดวกแก่พระภิกษุผู้อยู่ในอวันตีชนบท คือ :-

๑.  จังหวัดอวันตีทักขิณาบถ มีภิกษุน้อยรูป ขอได้โปรดทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยคณะสงฆ์เพียง ๕ รูปได้ทั่วปัจจันตชนบท

๒.  พื้นดินในอวันตีทักขิณาบถ มีดินสีดำมาก ดื่นดาดด้วยระแหง กีบโค  ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้พระภิกษุสวมรองเท้าหลายชั้นได้ทั่วปัจจันตชนบท

๓.  คนทั้งหลายในอวันตีทักขิณาบถ นิยมการอาบน้ำ ถือว่าน้ำทำให้บริสุทธิ์ ขอได้โปรดทรงอนุญาตการอาบน้ำได้เป็นนิตย์ทั่วปัจจันตชนบท

๔.  ในอวันตีทักขิณาบถ ใช้เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังแกะ  หนังแพะ  หนังกวาง  เป็นปกติธรรมดาเหมือนกับที่ในมัชฌิมชนบท  ใช้เครื่องลาดที่ทำด้วยหญ้าตีนกา  หญ้าหางนกยูง  หญ้าหนวดแมว  หญ้าหางช้าง  เป็นปกติธรรมดาเช่นกัน ขอได้โปรดอนุญาตให้ภิกษุได้ใช้ หนังเครื่องลาด  คือ หนังแกะ  หนังแพะ  หนังกวาง  ทั่วปัจจันตชนบท 

๕.  เมื่อมีผู้ฝากถวายจีวร ให้กับหมู่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาด้วยคำว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุผู้มีชื่อนี้  ภิกษุผู้รับฝากก็มาบอกแก่ภิกษุชื่อนั้น ๆ ว่า มีคนที่มีชื่ออย่างนี้ ฝากจีวรให้มาถวายแก่ท่าน  พวกภิกษุผู้ได้รับคำบอกกล่าวเมื่อทราบดังนั้น ก็รังเกียจ ไม่ยินดีรับจีวรที่มีผู้ฝากมาถวาย โดยคิดว่าจีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ขอได้โปรดทรงอนุญาตให้ภิกษุนั้นรับจีวร ที่มีผู้ฝากภิกษุื่อื่นมาถวายได้ โดยให้ถือว่าจีวรนั่นยังไม่ควรนับราตรี ตราบที่ยังไม่ถึงมือภิกษุผู้ที่เขาเจาะจงถวาย พระบรมศาสดาทรงอนุญาตตามที่พระมหากัจจายนเถระกราบทูลขอ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            สิบอัครสาวก 

                       พระมหากัจจายนเถระ

                        ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน

             "กล่าวจำแนกเนื้อความย่อแห่งภาษิตให้พิสดาร"   

                              อธิษฐาน

        ณ  โสไรยนคร มีบุตรเศรษฐีคนหนึ่งในโสไรยนคร เมื่อได้เห็นพระมหากัจจายนเถระ บิณฑบาต มองเห็นความงงดงาม และผิวกายที่เป็นดังทองคำ จึงคิดขึ้นว่า อยากให้พระเถระรูปนี้ ได้เป็นภรรยาของเรา หรือไม่ก็ขอให้ภรรยาของเรามีผิวกายเหมือนพระเถระนี้ เพียงคิดเท่านั้น เพศชายของเขาก็หายไปและมีเพศหญิงปรากฏขึ้นแทน  บุตรเศรษฐีแห่งโสไรยนครที่เป็นหญิง ได้อับอายมากจึงหนีไปเมืองตักกศิลา และได้แต่งงานกับบุตรชายเศรษฐีที่นั่น และให้กำเนิดบุตรด้วยตัวเองถึง ๒ คน  ในภายหลังนางได้พบกับเพื่อนเก่าสมัยครั้งที่เป็นชาย ซึ่งเดินทางมาจากโสไรยนคร จึงได้เล่าความจริงทั้งหมดให้สหายฟัง สหายได้แนะนำให้นางไปพบพระเถระเพื่อขอขมาโทษ  ทั้ง ๒ จึงพากันไปยังโสไรยนคร เมื่อพบพระเถระก็ได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง เมื่อพระเถระอดโทษให้ เพศชายจึงได้ปรากฏขึ้นตามเดิม

        พระมหากัจจายนเถระได้ฟังเรื่องนี้แล้ว ก็เกิดความสลดใจ อีกทั้งหลายครั้งที่หลายคนมักเข้าใจผิด คิดว่าท่านเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยรูปกายของท่าน นั้นงามหนักหนา มิมีพระเถรานุเถระ ทั้งหลายทั้งปวงเปรียบเทียบได้ เว้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น จึงทำให้ท่านนั้นรู้สึกว่าการที่ผู้คนยกให้เทียบด้วยพระพุทธเจ้าเป็นการไม่ควร  พระมหาเถระเมื่อพิจารณาแล้ว จึงได้อธิษฐานจิตเนรมิตร่างกายของท่านให้ย่อย่นอ้วนพี หมดความสวยงามและดูแปลกประหลาดไปจากรูปเก่า ดังนั้น รูปร่างพระมหากัจจายนเถระ จึงเป็นรูปลักษณ์ที่ไม่สวยงามจนปัจจุบันนี้

        การดับขันธ์นิพพานของท่านนั้น เป็นไปหลังการเสด็จดับขันธ์นิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่สถานที่ดับขันธ์นิพพานของท่าน ไม่ได้กล่าวไว้ว่านิพพานที่ไหน 

                    "ผู้มีจิตตั้งมั่นดี   มีจิตผ่องใสดี   มีจิตไม่ขุ่นมัว
                                เป็นผู้ไม่โหดเหี้ยมต่อสัตว์ทั้งหลาย
      การกระทำอย่างนั้น  เป็นหนทางเพื่อให้ถึงความเป็นพรหม"

                           ข้อสังเกตุ

        ในประเทศไทย มักมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับพระมหากัจจายนะ (พระสังกัจจายน์)  กับ พระศรีอาริย์ ว่าเป็นองค์เดียวกัน หรือบ้างก็เข้าใจว่าพระมหากัจจายนะ  (พระสังกัจจายน์)  เป็นพระชาติหนึ่งของพระศรีอาริย์เพราะจะมีลักษณะของพระพุทธรูปที่คล้ายคลึงกัน  คือมีลักษณะของรูปพระอ้วนพีคล้ายกัน แต่แท้จริงแล้วพระมหากัจจายนะเป็นพระสาวกในพุทธกาล และเป็นผู้ที่มีลักษณะอันงดงามองค์นี้นั้นได้กระทำการอธิฐานจิตเนรมิตร่างกายของท่าน ให้ย่อย่นอ้วยพีหมดความสวยงาม และดูแปลกประหลาดไปจากรูปเก่า ดังนั้น  รูปร่างของพระมหากัจจายนเถระ จึงเป็นรูปลักษณะของอ้วนท้วน ซึ่งจะคล้ายกับรูปของพระศรีอาริย์ในพระภาคหนึ่ง ซึ่งได้มาอุบัติในพระภาคของพระสงฆ์ถุงย่ามของจีน ที่มีลักษณะอ้วน ยิ้มแย้มแจ่มใส บ้างอาจจะเป็นรูปถือทองก้อน หรือว่ามีเด็กปีนอยู่บนกาย ดังนั้น  จึงพึงทราบว่า เป็นคนละพระองค์กัน     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            สิบอัครสาวก 

                         พระมหากัสสปเถระ 

                 ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "ทรงธุดงค์"   

                             บูรพเหตุ

        ท่านเป็นผู้ทรงธุดงค์คุณอันสูงสุด เป็นผู้สร้างประโยชน์แก่ตนและสังคม โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนตัว ตั้งใจเพื่อจรรโลงพระธรรมคำสอน และยังเป็นผู้ที่เป็นประธานในการกระทำปฐมสังคยนาอีกด้วย  กาลเมื่อพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว  ท่านเวเทหเศรษฐีได้เกิดความปิติคือความอิ่มใจ จึงได้ประชุมญาติมิตรทั้งหลายเพื่อร่วมกระทำการสักการะบูชา ท่านเศรษฐีจึงได้สละทรัพย์สิน สร้างพระเจดีย์สูง ๑๐๐ ศอก ขึ้นเป็นพุทธบูชา เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิธาตุของพระปทุมุตรรสัมมาสัมพุทธเจ้า  และได้สร้างปราสาทสำเร็จด้วยแก้ว  นอกจากนั้นเศรษฐียังได้กระทำผ้าม่านกั้นพระเจดีย์นั้น มีส่วนสูง ๑๐๐ ศอก และส่วนกว้าง ๑๕๐ ศอก  จึงได้ไปเกิดที่ดาวดึงส์  นอกจากนั้นยังได้บำเพ็ญสร้างบารมีในสมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้า จนกระทั่งได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ในครั้งนี้

Tags: