collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: สิบอัครสาวก : สารบัญ  (อ่าน 29256 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก : พระอุบาลีเถระ : บรรพชา
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: 1/03/2012, 02:58 »
                             สิบอัครสาวก 

                             พระอุบาลีเถระ

                   ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  ทรงพระวินัย

                              บรรพชา

        ในการออกบวชของพระอุบาลีเถระ มีความเกี่ยวเนื่องกับกษัตริย์ศากยะทั้งห้า และจากโกลิยวงศ์หนึ่งพระองค์ คือเทวทัต  ทั้ง ๖ นี้ มีความปรารถนาจะบรรพชาในพุทธศาสนา กษัตริย์ทั้ง ๖ ได้ทรงมอบเครื่องทรงแก่อุบาลีกัลบก แล้วให้นำกลับไป  ฝ่ายอุบาลีนั้นก็ไม่พึงรับเลย แต่ก็มิอาจขัดราชอาชญา คืออำนาจได้ จึงจำใจรับ แต่ในที่สุด เมื่อคิดได้ว่า หากกษัตริย์ทั้งหลายเห็นเราเอาของเหล่านี้ไป คงต้องคิดว่าเราฆ่าพระราชกุมารและแย่งชิงเอามาแน่ ทั้งฉุกคิดว่า  เหตุใดท่านเหล่านั้นจุงทิ้งโอฬารสมบัติ และเครื่องอาภรณ์เหล่านี้ โดยมิได้อาลัยใยดี ประดุจถ่มซึ่งก้อนเขฬะทิ้ง แล้วออกบรรพชาในพระศาสนา แต่ทำไมเราผู้มิได้มีสมบัติใดเลย จะเสียสละออกบรรพชามิได้  จากนั้น จึงได้นำเครื่องประดับเหล่านี้ ไปแขวนไว้บนกิ่งไม้ แล้วประกาศว่า "ใครปรารถนาจะนำเอาไปใช้ประโยชน์ ขอจงถือเอาไปได้ตามความปรารถนา" แล้วก็รีบติดตามกษัตริย์เหล่านั้นไป

        เมื่ออุบาลีทูลความประสงค์ต่อราชกุมารทั้ง ๖ แล้ว ได้รับความเห็นชอบ และเดินทางไปเข้าเฝ้ากราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท แต่ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประทานบรรพชา เหล่าราชกุมารเหล่านั้น ได้กราบทูล ขอให้พระอุบาลีได้บวชก่อน เพื่อที่จะขจัดขัตติยมานะให้หมดไปจากสันดาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพระกรุณาโปรดประทานบรรพชาอุปสมบทแก่อุบาลีกัลบกนั้นก่อน แล้วโปรดประทานบรรพชาอุปสมบทแก่ราชกุมารทั้ง ๖ ภายหลัง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                               สิบอัครสาวก

                              พระอุบาลีเถระ 

                       ผู้เป็นเอคคะด้าน  ทรงพระวินัย

                               บรรลุธรรม

        เมื่อพระอุบาลีเถระบรรพชาอุปสมบถแล้ว ได้รับเอาพระกรรมฐานในสำนักของพระพุทธเจ้า  แล้วจึงกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญ ขอพระองค์ทรงอนุญาตแก่ข้าพระองค์เพื่อทรงอยู่ป่าเถิดพระเจ้าข้า"  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "อุบาลี เมื่อเธออยู่ในป่า เธอจะทำวิปัสสนาธุระให้เจริญได้เพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเธอปฏิบัติอยู่ในสำนักของตถาคต ทั้งการศึกษา และกการปฏิบัติทางใจเธอจะบริบูรณ์ แล้วเธอจะบรรลุอรหันต์" 

        พระอุบาลีถวายบังคับรับพุทธดำรัส แล้วตั้งใจเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ไม่นาน ก็ได้สำเร็จอรหัตผล  ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสสอนพระอุบาลีให้ศึกษาเล่าเรียนพระวินัยปิฏกด้วยพระองค์เอง โดยตลอด จึงเป็นสาเหตุทำให้พระอุบาลีเถระมีความเข้าใจ และทรงจำพระวินัยได้อย่างแม่นยำ และมีความชำนิชำนาญมาก ทั้งเป็นผู้ที่พิจารณาหาเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องพระวินัยได้เป็นอย่างดี

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                              สิบอัครสาวก

                              พระอุบาลีเถระ 

                       ผู้เป็นเอคคะด้าน  ทรงพระวินัย

                               ปฐมสังคายนา

        เหล่าสงฆ์ทั้งหลายได้ร่วมกัน ขอให้พระอุบาลีเถระ เป็นผู้วิสัชชนาพระวินับปิฏก เนื่องจากเคยได้รับการยกย่องจากพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นเอคคะด้านพระวินัย โดยมีการถามตอบระหว่างท่านกับพระมหากัสสปะเถระ ได้ถามถึงรายละเอียดว่า ได้บัญญัติที่ไหน ปรารภกับใคร เพราะอะไรเป็นต้น  รวบรวมเป็นคัมภีร์ทั้ง  ๕ คัมภีร์ เป็นพระธรรมขันธ์ได้  ๒๑, ๐๐๐ พระธรรมขันธ์

 " บุรุษผู้ถูกยาพิษเบียดเบียน (ความทุกข์) 
       แล้วแสวงหายาแก้พิษ (พระสัทธรรม)
                           เมื่อแสวงหาได้แล้ว
                                      ก็ดื่มยานั้น
              แล้วมีความสุข (ความหลุดพ้น)
     เพราะหมดฤทธิ์จากยาพิษแล้ว   ฉันใด 
                         ข้าแต่พระมหาวีรบุรุษ
                          ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น "

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก พระอานนทเถระ : ชาติภูมิ
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: 12/03/2012, 08:03 »
                                สิบอัครสาวก 

                               พระอานนทเถระ 

                        ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "พหูสูต "

                                  ชาติภูมิ

        พระอานนทเถระ ผู้เป็นจอมปราชญ์มีความเป็นเอตทัคคะหลายด้าน  ทั้งพหูสูต  มีสติ  มีคติ  มีธิติ  และเป็นพุทธอุปฐาก  และยังเป็นผู้ที่ทรงคุณูประการต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง โโยเฉพาะในการสังคายนาพระไตรปิฏก ที่มีท่านเป็นผู้เทศนา ในพระสูตตันตปิฏก และพระอภิธรรมปิฏก

        พระอานนทเถระเป็นโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ผู้เป็นน้องชายของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชพุทธบิดา  มีพระมารดานามว่า พระนางกีสาโคตมี และท่านเกิดพร้อมกับพระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เรียกว่า  สหชาติ  หากลำดับศากยวงศ์ ท่านก็เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                สิบอัครสาวก 

                               พระอานนทเถระ 

                        ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "พหูสูต "

                             บูรพเหตุ  (มโนปณิธาน)

        นับถอยหลังไปหนึ่งแสนกัป จากภัทรกัปนี้้ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ""พระปทุมุตตรพุทธเจ้า"  ได้ทรงอุบัติขึ้นในโลก มีอัคครสาวกชื่อว่า พระเทวิลเถระ ๑  พระจุลชาตเถระ ๑  มีพระพุทธอุปฐากนามว่า พระสุมนเถระ  พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระกนิษฐภาดา (น้องชาย) หนึ่งพระองค์ทรงพระนามว่า พระสุมนราชกุมาร  โดยพระสุมนราชกุมาร ได้รับพระราชทานบ้านส่วยให้ไปปกครอง โดยบางครั้งจะเสด็จมาเฝ้าพระราชบิดาและพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างตามโอกาสอันควร 

        อยู่มาวันหนึ่ง ที่ปลายพระราชอาณาเขตของพระสุนันทราชผู้เป็นบิดาเกิดจลาจลขึ้น พระสุมนราชกุมารได้รับบัญชาให้ปราบโจร เมื่อปราบสงบแล้วพระราชบิดารับสั่งให้เข้าเฝ้า ท่านจึงเสด็จไปพร้อมด้วยอำมาตย์หนึ่งพันคน  ในระหว่างทางพระสุมนราชกุมาร ได้ปรึกษากับอำมาตย์ว่า "ถ้าพระราชบิดาทรงประทานพรแก่ข้าพเจ้า ให้เลือกเอาตามประสงค์ ข้าพเจ้าควรเลือกพรอย่างใด"  เหล่าอำมาตย์แบ่งเป็นสองพวก พวกหนึ่งแนะนำให้ทรงขอเอาช้าง  ม้า  บ้านเมือง และแก้ว ๗ ประการ อีกพวกทูลคัดค้าน ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นไม่จำเป็น เมื่อได้มาก็ต้องทิ้งไป เมื่อสิ้นพระชนม์ มีเพียงบุญกุศลเท่านั้นที่ตามไปได้จึงให้ขอพรเพื่อปรนนิบัติพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดไตรมาสเป็นการดีกว่า

        เมื่อถึงเวลา พระสุมนราชกุมารก็ขอพรเอาอย่างหลัง แต่พระราชบิดาบอกให้ขออย่างอื่น  อ้างว่าน้ำพระทัยของพระพุทธเจ้ารู้จักได้ยาก  แต่พระสุมนราชกุมารก็ยังยืนยัน และจะไปขอทราบน้ำพระทัยของพระพุทะเจ้าด้วยตัวเอง  เมื่อไปแล้ว พระภิกษุทั้งหลายถวายพระพรถามว่า "พระราชบุตรเสด็จมาทำไมในเวลานี้"  พระสุมนราชกุมารก็ตอบว่า "กระผมมาในเวลานี้เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า "ภิกษุเหล่านั้นจึงได้บอกว่า ตนไม่สามารถจัดให้เข้าเฝ้าได้และได้แนะให้ไปหาพระสุมนเถระ  เมื่อไปพบพระสุมนเถระ ท่านก็เข้าเอาโปกสิณต่อหน้าพระราชกุมาร บันดาลให้แผ่นดินใหญ่เป็นแม่น้ำ แล้วดำลงไปโผล่ที่พระคันธกุฏิ กราบทูลขออนุญาตพระปทุมตตรพุทธเจ้า ซึ่งเหตุทั้งหมดนี้ พระสุมนราชกุมารได้เห็นมาโดยตลอด จึงทรงดำริว่า "พระภิกษุผู้นี้เป็นผู้สำคัญ" ดังนั้น เมื่อได้พบพระปทุมตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ตรัสถามว่า "ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นที่โปรดปรานของพระพุทธเจ้าเหมือนพระสุมนเถระนี้พระเจ้าข้า"  พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบว่า " ราชกุมาร เธอต้องให้ทานรักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม จึงจะสำเ็จความประสงค์นี้ได้"  เมื่อได้สดับดังนี้ พระสุมนราชกุมาร จึงได้กลับไปจัดเครื่องสักการะอยู่ตลอดราตรี และได้ถวายมหาทานต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมพระภิกษุสงฆ์ ทรงถวายอยู่ ๗ วันติดต่อกัน และได้ตรัสขอปฏิบัติต่อตลอดไตรมาส จากนั้นจึงได้ไปสร้างวิหาร เพื่อทูลเชิญพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหนึ่งแสนรูป จากนั้นได้เชิญพระพุทธเจ้าและพระภิกษุมาในวันเข้าพรรษา แล้วได้จัดถวายทาน แล้วตรัสบอกให้พระโอรสและพระชายา ตลอดจนอำมาตย์ให้ถวายทานเช่นนี้ตลอดไตรมาส ส่วนพระองค์เองจะนุ่งผ้า ๒ ผืน รักษาศีล ๑๐ ตลอดไตรมาส  สุมนราชกุมารเมื่อได้มีโอกาสใกล้ชิดพระสุมนเถระผู้อุปฐาก  ได้ทรงเห็นข้อวัตรที่พระสุมนเถระปฏิบัติต่อพระพุทะเจ้า ยิ่งทรงดำริต้องการเป็นเช่นนั้นบ้าง เมื่อออกพรรษาแล้ว ราชกุมารได้ทรงถวายทานอีก ๗ วัน  และทรงตั้งความปรารถนาว่า "ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นผู้ปฏิบัติพระพุทธเจ้าอย่างสนิทสนมเหมือนพระสุมนเถระนั้น พระเจ้าข้า" พระปทุมุตตรพุทธเจ้าตรัสว่า "ราชกุมารเธอจะได้เป็นเช่นที่ปรารถนานั้น"

        สุมนราชกุมารนั้นเมื่อเสด็จสวรรคต ก็ไปเกิดในดุสิตสวรรค์ และเกิดเป็นพระอินทร์อยู่ ๓๔ ชาติ เป็นกษัตริย์เอกราชอยู่ ๑๐๘ ชาติ และเป็นกษัตริย์อยู่ในประเทศราชอยู่นับไม่ถ้วน แล้วจึงมาเกิดเป็นพระอานาทเถระ  แต่ก็มีการบันทึกในอดีตชาติหนึ่ง ของพระอานนท์ที่ได้กระทำความผิดไว้เช่นกัน  โดยความจริง ผู้ชายที่ไม่เคยกลับเพศเป็นหญิง หรือผู้หญิงที่ไม่เคยกลับเพศเกิดเป็นชายนั้นย่อมไม่มี ด้วยว่าผู้ชายผู้ทีประพฤติล่วงในภรรยาทั้งหลายของชายอื่น เมื่อเวลาตายไปแล้วลงหมกไหม้ อยู่ในนรกอยู่แสนปีนั้นมีเป็นอันมาก เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ย่อมมีภาวะเป็นหญิงถึง ๑๐๐ ชาติ

        ดังนั้น พระอานนทเถระ ผู้เป็นอริยสาวก บำเพ็ญบารมีมาตลอดหนึ่งแสนกัป  ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร มีอยู่ชาติหนึ่งที่เกิดมาในตระกูลช่างทอง  และได้กระทำ "ปรทาิริกกรรม"  คือประพฤติผิดในภรรยาของชายอื่น แล้วตกลงไปอยู่ในนรก และด้วยเศษกรรมที่เหลือ ได้กลับมาเกิดเป็นหญิงบำเรอเท้าชายอยู่ ๑๔ ชาติ และเป็นหญิงที่เป็นหมันอยู่อีก  ๗ ชาติ

        ส่วนหญิงทั้งหลายผู้คลายในความพอใจ ในการเกิดเป็นหญิงปรารถนาจะเกิดเป็นชาย เวลากระทำบุญทั้งหลาย มีทาน  ศีล เป็นต้น พึงตั้งจิตว่า "บุญของข้าพเจ้าทั้งหลายเหล่านีี้ขอจงเป็นไปเพื่อได้กลับอัตภาพเป็นชายด้วยเถิด"  และเมื่อเสียชีวิตไป ย่อมได้กลับมาเกิดเป็นชาย  หรือหญิงผู้ใดที่ตั้งใจปรนนิบัติสามีด้วยดี ก็ย่อมได้กลับอัตภาพเป็นชายเช่นเดียวกัน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก พระอานนทเถระ : บรรพชา
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: 13/03/2012, 13:01 »
                                สิบอัครสาวก 

                               พระอานนทเถระ 

                        ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "พหูสูต "

                                 บรรพชา

        สมัยเมื่อพระบรมศาสดา ประทับอยู่ที่อนุปิยนิคม ท่านได้ออกบรรพชาพร้อมเจ้าชายทั้งหลาย คือ  ภัททิยะ  อนุรุทธะ  ภัคคุ  กิมพิละ  เทวทัต  และพระอุบาลี ผู้เป็นภูษามาลา รวม ๗ ท่านด้วยกัน  พระอานนท์อุปสมบทด้วยพุทธวิธี "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"  และได้บรลุโสดาปัตติผล หรือโสดาบัน จากการฟังธรรมกถาของพระปุณณมันตานีบุตรเถระ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                 สิบอัครสาวก 

                               พระอานนทเถระ 

                        ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "พหูสูต "

                             พระพุทธอุปัฏฐาก 

        นับแต่พระบรมศาสดาตรัสรู้มาแล้ว ๒๐ พรรษา ในช่วงปฐมโพธิกาลนั้น ไม่มีพระภิกษุผู้ปฏิบัติวัตถากเป็นประจำ ไม่มีรูปใดรับผิดชอบประจำแน่นอน จึงสร้างความยุ่งยากแก่พระบรมศาสดาดังที่เคยเกิดขึ้น  ครั้งหนึ่ง บรมศาสดาเสด็จดำเนินไปในทางไกลร่วมกับภิกษุรูปหนึ่ง พอไปถึงทางสองแพร่งแห่งหนึ่ง พระภิกษุจะไปทางหนึ่ง แต่พระบรมศาสดาจะเสด็จไปอีกทางหนึ่ง แต่ภิกษุรูปนั้นไม่ยอมล้มเลิกความตั้งใจ จึงได้มอบบาตรและจีวรคืนพระบรมศาสดา
เมื่อภิกษุรูปนั้นเดินไปตามทางของตน ก็ได้พบพวกโจรแย่งบาตรและจีวรไป ซ้ำยังถูกทุบตีศรีษะแตก โลหิตไหลโทรมด้วย

        กระทั่ง ครั้งหนึ่งพระบรมศาสดา จึงได้ประกาศให้ภิกษุทั้งหลาย จงพินิจพิจรณาเลือกดูภิกษุผู้ปฏิบัติประจำสำหรับพระพุทธองค์ ลำดับนั้น พระสารีบุตรเถระ จึงได้ลุกขึ้นกราบทูลรับอาสา แต่พระพุทธองค์มิได้ทรงอนุญาตด้วย  พระสารีบุตรนั้นไม่ว่าจะอยู่ในทิศใด ก็ชื่อว่าไม่เปล่าประโยชน์ โอวาทของท่านคล้ายด้วยโอวาทของพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าไม่ต้องการให้คนเช่นท่านมาเป็นผู้ปฏิบัติ

        ลำดับต่อมา พระมหาโมคคัลลานเถระ ก็ได้ลุกขึ้นกราบทูลรับอาสา แต่ก็ถูกพระพุทธองค์ห้ามเสีย จากนั้น พระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย ต่างก็เปลี่ยนวาระการกราบทูลอาสา แต่ก็ไม่ได้รับพระพุทธานุญาต ลำดับนั้น พระภิกษุทั้งหลาย จึงกล่าวแก่พระอานนท์ ให้กราบทูลรับอาสา พระอานนท์กล่าวตอบว่า "หากพระบรมศาสดาทรงพอพระทัย ก็จะตรัสสั่งให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติพระองค์เอง"  ในที่สุด พระพุทธองค์ก็ทรงเลือกพระอานนท์เป็นผู้ปฏิบัติซึ่งพระองค์ก่อนที่พระอานนท์จะรับหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐาก ได้ขอพร ๘ ประการ ต่อพระพุทธองค์ดังนี้

๑.  ขอพระองค์อย่าประทานจีวร อันปราณีตแก่ข้าพระองค์
๒.  ขอพระองค์อย่าประทานบิณฑบาต อันปราณีตแก่ข้าพระองค์
๓.  ขอพระองค์อย่าโปรดให้ข้าพระองค์ อยู่ในคันธกุฏิร่วมกับพระองค์
๔.  ขอพระองค์อย่าทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
๕.  ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่สถาน ที่ข้าพระองค์รับนิมนต์ไว้
๖.  ขอโปรดให้ข้าพระองค์นำพุทธบริษัททั้งหลาย ผู้มาจากทิศต่าง ๆ เข้าเฝ้าได้ทุกเมื่อ
๗.  ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์บังเกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้เข้าเฝ้ากราบทูลถามได้เมื่อนั้น  และ
๘.  ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ ของพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้งหนึ่ง

        พระบรมศาสดาจึงได้ตรัสถามว่า เพราะเหตุใดจึงได้ขอพรเช่นนี้  พระอานนท์ตอบว่า ข้อ ๑ ถึง ๔  เพื่อมิให้ถูกนินทาได้ว่า ข้าพระองค์ได้รับสิ่งเหล่านี้เพราะเป็นผู้ปฏิบัติพระบรมศาสดา ใน ๓ ข้อต่อมา เพื่อมิให้ผู้คนกล่าวหาพระพุทธองค์ว่า กับผู้ซึ่งปฏิบัติพระองค์ พระองค์ยังไม่อนุเคราะห์แม้ซึ่งสิ่งเพียงเท่านี้ส่วนข้อสุดท้าย เพื่อมิให้ผู้คนได้กล่าวว่าแม้แต่ข้อธรรมทั้งหลายยังมิทราบ จะติดตามพระองค์ไปทำไม

        เมื่อพระอานนท์ได้รับพร ๘ ประการแล้ว จึงเข้ารับหน้าที่พระพุทธอุปัฏฐาก ท่านเป็นผู้ที่มีความรอบครอบฉลาดเฉลียว รู้จักกิจใดควรทำก่อนและกระทำหลัง และปฏิบัติประจำเป็นนิตย์ไป ทั้งมีความจงรักภักดีต่อพระพุทธองค์เป็นอย่างยิ่ง แม้ชีวิตก็สละเพื่อพระพุทธองค์ได้  เมื่อครั้งพระเจ้าอชาตศัตรู หลงเชื่อคำหลอกลวงยุยงของพระเทวทัต ให้ปล่อยช้างนาฬาคีรีเชือกที่ดุร้าย เป็นช้างฆ่าคน ทั้งให้ดื่มเหล้าจนเมา เพื่อให้ทำร้ายพระพุทธองค์ ขณะที่ช้างวิ่งแล่นเข้ามา หมายจะชนพระพุทธองค์ พระอานนทเถระรีบถลันออกไปยืนขวางหน้าช้างนาฬาคีรีป้องกันมิให้กระทำอันตรายแก่พระพุทธองค์ โดยไม่เห็นแก่ชีวิตของตนเลย

        พระอานนทเถระ ได้รับการแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพระภิกษุทั้งหลายใน ๕ ประการด้วยกันได้แก่

๑.  เป็นพหูสูต คือ สดับตรับฟังมาก
๒.  เป็นผู้มีสติ คือ มีความระลึกได้ดี มีความทรงจำดี
๓.  เป็นผู้มีคติ คือ แนวทาง หรือ ทางที่ไป (คือได้หลักเพียงข้อเดียวก็เข้าใจได้หลายทาง)
๔.  เป็นผู้มีธิติ คือ ความทรงไว้ ความมั่นคง มีปัญญา มีความเพียร
๕.  เป็นพุทธอุปัฏฐาก คือ หน้าที่รับใช้พระพุทธเจ้า

        นอกจากนั้น พระอานนท์ยังเป็นผู้ที่ได้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติอีก ๗ ประการ ได้แก่

๑.  อาคมสมบัติ  คือความถึงพร้อมด้วยการสดับเล่าเรียน
๒.  อธิคมสมบัติ  คือการถึงพร้อมด้วยการบรรลุโสดาปัตติผล
๓.  ปุพพเหตุสมบัติ  คือความถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งบารมีมาแต่ปางก่อน
๔.  อัตถานัตถปริปุจฉาสมบัติ  คือความถึงพร้อมด้วยการถามสื่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
๕.  ติฏฐวาสสมบัติ  คือความถึงพร้อมด้วยการอบรมคุณธรรมให้ตั้งอยู่
๖.  โยนิโสมนสิการสมบัติ  คือความถึงพร้อมด้วยการพิจารณาเหตุผล โดยอุบายอันชอบ
๗.  พุทธอุปนิสัยสมบัติ  คือความถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยที่จะได้เป็นผู้ปฏิบัติพระพุทธเจ้า

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก พระอานนทเถระ : พระปฏิภาณ
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: 14/03/2012, 12:31 »
                            สิบอัครสาวก   

                          พระอานนทเถระ 

                   ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "พหูสูต"

                          พระปฏิภาณ

        ครั้งหนึ่งที่เมืองโกสัมพี มีคฤหบดีศิษย์ของอาชีวกคนหนึ่งไปถามท่านว่า "พระอานนท์ ใคร ได้แสดงธรรมไว้ดี ใครชื่อว่าปฏิบัติดีในโลก?" ใครชื่อว่าไปดีในโลก ?" 
พระอานนท์ใช้วิธีย้อนถามว่า "คฤหบดี ผู้ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ   โทสะ  โมหะ  พวกนั้นชื่อว่าแสดงธรรมดีหรือไม่ ?"
 "พระอานนท์ พวกนั้นชื่อว่าแสดงธรรมดี"  คฤหบดีตอบ 
"คฤหบดี พวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ  โทสะ  โมหะ  พวกนั้นชื่อว่าปฏิบัติดีหรือไม่?"
  "ชื่อว่าปฏิบัติดี" 
"พวกใดละราคะ  โทสะ  โมหะ ไม่ให้มีอยู่แล้ว ไม่ให้เกิดอีกต่อไปแล้ว พวกในชื่อว่าเป็นผู้ไปดีในโลกหรือไม่?" 
  "พวกนั้นชื่อว่าไปดีในโลก" 

        คฤหบดี ฟังการกล่าวแก้ปัญหา ของพระอานนทเถระแล้ว จึงกล่าวแสดงความชื่นชมยินดีว่า  " พระอานนท์ อัศจรรย์นัก การที่ท่านแก้ปัญหานี้ ท่านไม่ได้ยกตัวเอง ทั้งไม่ได้กล่าวดูถูกผู้อื่นเลย "

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก พระอานนทเถระ : มหาสังคยนา
« ตอบกลับ #48 เมื่อ: 14/03/2012, 14:55 »
                            สิบอัครสาวก   

                          พระอานนทเถระ 

                   ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "พหูสูต"

                          มหาสังคยนา

        หลังจากพระพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระอานนทเถระได้เที่ยวไปในชมพูทวีป ผลงานที่จัดว่าเป็นเอกที่สุด และมีผลสืบเนื่องมายังปัจจุบัน คือ การได้รับมอบหมายจากการประชุมของภิกษุสงฆ์ ๗ แสนรูป ในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาุตุของพระพุทธเจ้า โดยให้ท่านเป็นผู้วิสัชนาพระไตรปิฏกถึง ๒ ปิฏก คือ พรสูตตันตปิฏก และ พระอภิธรรมปิฏก  แต่พระอานนท์มีอุปสรรค ในการร่วมสังฆกรรม เพื่อกระทำการปฐมสังคยนา คือ ท่านเองยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ตามที่ได้กำหนดในที่ประชุมคือผู้ได้วิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔  อภิญญา ๖ ประการ  ประมาณ ๕๐๐ รูป แต่คัดเหลือเพียง ๔๙๙ รูป คงเหลือไว้ให้พระอานนท์อยู่อีกรูปหนึ่ง

        ในขณะนั้น เมื่อพระอานนท์มาถึงเมืองสาวัตถี เมื่อผู้คนทราบว่าพระอานนท์มาถึง จึงถือของหอมและดอกไม้มาต้อนรับร้องไห้รำพันระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวกันว่า  "พระอานนท์ผู้เจริญ เมื่อก่อนพระคุณเจ้ามากับพระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้ พระคุณเจ้าเก็บพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้เสียที่ไหน จึงมาแต่ผู้เดียว"  การร้องไห้มีขึ้นอย่างใหญ่หลวง เหมือนในวันดับขันธ์ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระอานนท์สั่งสอนมหาชนให้เข้าใจซาบซึ้งด้วยธรรมะอันเหมาะแล้วท่านก็เข้าสู่พระเชตุวันมหาวิหาร ทำความสะอาดที่ต่าง ๆ กระทำการทั้งปวง เหมือนครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระชนม์ชีพอยู่ และขณะทำกิจต่าง ๆ  ท่านก็รำพันไปพลาง เช่น พูดว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานี้เป็นเวลาทรงสรงน้ำ เวลานี้เป็นเวลาทรงแสดงธรรม  เวลานี้เป็นเวลาประทานโอวาทแก่พระภิกษุเป็นต้น เหตุที่เป็นเช่นนี้ ด้วยว่าท่านมีความเคารพรัก มั่นคงในพระผู้มีพระภาคเจ้า และยังไม่ได้เป็นอรหันต์ จึงเป็นผู้ที่มีจิตใจอ่อนโยนที่เกิดขึ้นโดยชอบ ด้วยความที่เคยอุปการะช่วยเหลือกันมานับแสนชาติทีเดียว

        เมื่อวันสังคยนาใกล้เข้ามา พระมหากัสสปเถระ  พระวัชชรีบุตร  ต่างก็ได้พากันมาเตือนพระอานนท์ให้กระทำการอุตสาหะ เพื่อบรรลุธรรมให้ได้  แต่ก็ยังมีภิกษุบางรูปกล่าวเหน็บแนมท่านว่า มีภิกษุรูปหนึ่งที่เที่ยวส่งกลิ่นเหม็นอยู่  พระอานนท์จึงได้ไปเดินจงกลมอยู่ตลอดเวลา ส่วนมากของราตรี แต่ในเวลาย่ำรุ่งของราตรีนั้น ท่านลงจากที่จงกลมไปสู่วิหาร  เอนกายลงด้วยตั้งใจจะพักผ่อน เพราะท่านไม่สามารถจะกระทำความเพียรมากเกิน จึงเกิดความฟุ้งซ่าน ต่อจากนั้นจึงได้คิดว่า ต่อจากนี้จะกระทำความเพียรอย่างสม่ำเสมอให้พอเหมาะพอควร  เมื่อพระอานนท์คิดได้เช่นนี้้จึงลงจากที่จงกลม ยืนล้างเท้าแล้วจึงเข้าไปในวิหาร ขึ้นนั่งบนเตียงด้วยคิดว่าเราจะพักผ่อนสักชั่วเวลาเล็กน้อย แล้วเอนกายลงบนเตียง พอเท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศรีษะยังไม่ถึงหมอน ในระหว่างเวลานี้จิตของท่านก็พลันหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย ไม่มีอุปทานความยึดมั่นถือมั่น สำเร็จเป็นอรหันต์

        ครั้นพระมหากัสสปะ แลเห็นพระอานนทเถระที่บรรลุเป็นอรหันต์แล้ว ได้เข้ามาสู่สมาคม จึงบังเกิดความรู้สึกขึ้นว่า พระอานนท์ได้บรรลุอรหันต์แล้วช่างงามจริงหนอ หากพระบรมศาสดายังทรงมีพระชนม์อยู่ คงจะพึงประทานสาธุการ คือการกล่าวยกย่องสรรเสริญ ตามที่พระบรมศาสดาควรประทานแก่พระอานนท์ แล้วท่านก็ได้ให้สาธุการแก่พระอานนท์ขึ้น ๓ ครั้ง

        หมวดธรรมที่พระอานนท์ได้ ตรัสวิสัชนามีพระสูตตันตปิฏก และ พระอภิธรรมปิฏก โดยหมวดพระสูตตันตปิฏกนั้น จะเป็นการเล่าถึงสถานที่ ที่เกิดพระสูตรนั้น บุคคลในขณะนั้น  เรื่องราวที่เกิดขึ้น และหลักธรรมคำสอนในขณะนั้น ซึ่งมีทีฑนิกายเป็นสูตรขนาดยาว ๓๔ สูตร  มัชโมนิกาย ๑๕๒ พระสูตร  สังยุตตนิกายมี ๗,๗๖๒ สูตร  อังคุตตรนิกาย ๙,๕๕๗ สูตร  ขุททกนิกาย ๑๕ คัมภีร์  รวมแล้วได้ ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  หลังจากนั้นก็ได้สังคยานาพระอภิธรรมปิฏก อีก ๔๒,๐๐๐ ปิฏก ซึ่งพระอานนท์สามารถตอบปัญหาต่าง ๆ ที่พระมหากัสสปเถระถามได้อย่างถูกต้องทั้ง ๒ ปิฏก จนเป็นที่ยอมรัยของพระอรหันต์สาวกทั้ง  ๔๙๙  รูป

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก พระอานนทเถระ : ปรินิพพาน
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: 15/03/2012, 08:15 »
                           สิบอัครสาวก   

                          พระอานนทเถระ 

                   ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "พหูสูต"

                          ปรินิพพาน

        สิ่งที่พระอานนทเถระกระทำอยู่ตลอดชีวิตคือ การสั่งสอนประชาชนด้วยธรรมกถาต่าง ๆ กาลต่อมาเมื่อท่านพิจารณาอายุสังขารของตนแล้วคิดว่า เรามีอายุ ๑๒๐ ปีแล้ว อายุสังขารของเราจะยั่งยืนไปอีกเท่าไร ก็เห็นว่าอีก ๗ วันเท่านั้นจะนิพพาน จึงประกาศให้พระภิกษุทั้งหลายทราบเรื่อง แล้วสั่งสอนภิกษุทั้งหลายในทาง  อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  พอมหาราชได้ทราบ ล้วนแต่กล่าวอย่างเสียดายว่า "เราได้เคยอุปัฏฐากพระเถระทั้งนั้น แต่ท่านจะต้องมาจากพวกเราไปเสียแล้ว"  บุคคลทั้งสองฝั่งแม่น้ำโรหิณี มีทั้งพระประยูรญาติและที่มิใช่พระประยูรญาติต่างก็มุ่งหวังจะให้พระอานนท์มานิพพานที่ฝั่งของตนพระอานนท์ได้ทราบก็คิดว่าหากนิพพานที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งก็จะเกิดการวิวาทแย่งชิงอัฐิธาตุของเราเป็นโกลาหล จึงได้ให้ทุกคนต่างประชุมอยู่ในฟากของตน

        ครั้นพอถึงวันที่ ๗ ท่านจึงไปสู่แม่น้ำโรหิณี แล้วจึงอธิฐานให้เกิดบัลลังก์สูง ๗ ชั่วลำตาล แล้วจึงขึ้นไปแสดงธรรมเรื่องไตรลักษณ์  และ  อริยสัจ ๔ ให้คนทั้งหลายที่มาประชุมได้บรรลุมรรคผลตามแต่บารมีของตน ต่อจากนั้นจึงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ แล้วตั้งสัตยาธิษฐานว่า  "เมื่อเรานิพพานแล้ว ขอให้ร่างกายของเรานี้จงแตกแยกออกเป็น ๒ ภาค แล้วตกลงภาคละฝั่งแม่น้ำ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการวิวาทกันแห่งชนสองพวก เพราะเหตุแย่งอัฐิ" 

        ครั้นอธิษฐานแล้วจึงเข้าเตโชกสิน ให้เกิดเปลวเพลิงเผาไหม้ร่างกายของท่าน และท่านได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ณ เบื้องบนอากาศ สรีระของท่านเป็นอัฐิสีขาวสะอาดดังเงิน แบ่งแยกออกเป็นสองภาค ตกลงสองฝั่งภาคแม่น้ำโรหิณีนั้น สมดังที่ท่านอธิษฐานทุกประการ  เมื่อพระอานนท์ปรินิพพานแล้ว มหาชนเสียใจร้องไห้รำพัน และเสียงร้องไห้นั้นประดุจว่าเสียงแผ่นดินทรุดลง ประชาชนต่างบ่นเพ้อร่ำไห้อยู่ตลอด ๔ เดือน  "เมื่อพระเถระถือบาตรและจีวรของพระศาสดา ยังมีชีวิตอยู่ก็จะปรากฏแก่พวกเรา เหมือนพระบรมศาสดายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ บัดนี้ พระเถระของพวกเราปรินิพพานแล้ว"

        "ข้าพเจ้าเล่าเรียนพระธรรมจากพระพุทธเจ้า
                              ๘๒,๐๐๐  พระธรรมขันธ์
                จากพระภิกษุ   มีพระสารีบุตรเป็นต้น
                                ๒,๐๐๐  พระธรรมขันธ์
                            พระธรรมที่เป็นไปในหทัย
                            และปลายลิ้นของข้าพเจ้า
             จึงมีจำนวน  ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์ "

Tags: