collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร 六祖法寶壇經(ลิ่วจู่ฝ่าเป่าถันจิง)  (อ่าน 72064 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

                                      อันโพธิญาณ    รากฐานตัวแท้       แต่เริ่มเดิมมา
                                      ใจจิตคิดพา     อารมณ์คล้อยตาม   เกิดความฟุ้งซ่าน
                                      จงชำระใจ       ในภาวะวุ่น           หยุดขุ่นโดยพลัน
                                      เพิกสามเครื่องกั้น  ทั้งโลภโกรธหลง  ปลงปละละวาง

      ความหมาย...พิจารณา...
      สามเครื่องกั้น คือ โลภ โกรธ หลง  "หยุดคิดทันที โพธิเกิด" ทุกความคิดมักเกี่ยวกรรมเกี่ยววิบาก เกี่ยวกิเลส มักตกอยู่ในความโลภ โกรธ หลง อันเป็นสามเครื่องกั้นต่อการเจริญธรรม  จงล้างใจให้หมดจดสงบท่ามกลางความฟุ้งซ่าน ให้จิตใจเที่ยงตรงอยู่ในเอกะธรรมภายในตน ด้วยภาวะที่เป็นเช่นนั้นเอง
 
                                     หากชาวโลกไซร์     ตั้งใจบำเพ็ญ     เป็นผู้มีธรรม
                                     ทุกสิ่งย่อมงาม        มิพึงห่วงใย     ไม่ต้องเห็นต่าง 
                                     ความผิดตนเห็น       เป็นที่รู้อยู่        รู้ตนรู้วาง
                                     ก็จะสล้าง   เหมาะหมายในความ   เป็นธรรมแท้จริง

       ความหมาย...พิจารณา...
       พุทธพจน์ว่า "ไม่กลัวความคิดเกิด กลัวแต่รู้ตัวช้า  ไม่กลัวแต่รู้ตัวช้า กลัวแต่คิดซ้ำย้ำย้อน ถอนใจไม่สิ้น"  ในพระคัมภีร์ "สี่สิบสองบท" จารึกความว่า ระวังอย่าเชื่อ "มโนวิญญาณตน" ความคิดจิตใจตนวกวนเปลี่ยนแปลง เข้าข้างตน อภัยตน ปรนเปรอตน..เป็นทางนำจิตตนไปสู่อบายภูมิ  ""บำเพ็ญ"" ต้องไม่เอาใจตน แต่จงกำราบตนค้นหาสิ่งพึงแก้ไขในตนให้ได้ด้วยตน

                                       ทุก "รูป" ชีวิต      ทุกจิตกายร่าง      ต่างดำรงธรรม
                                       ต่างไม่ก่อนำ        ความวุ่นวายให้    ในรูปทุกสิ่ง     
                                       ห่างร่างห่างธรรม   อย่าต้องหาธรรม   ไร้ซึ่งธรรมจริง
                                       จบสิ้นชีวิน   จะมิพบพาน   ประสบ  "องค์ธรรม"
       
       ความหมาย...พิจารณา...
       จิตเดิมแท้ของทุกคน ปลอดโล่ง ปรุโปร่ง บริสุทธิ์ สะอาด ประภัสสร เรียกว่าองค์ธรรมประจำตน  เช่นโศลกที่ว่า
                                        "องค์ธรรม" ประจำกายในชีวิต
                                         ส่องสถิตจิตสว่างมิว่างได้
                                        ทั้งทิวาราตรีกาลเลยผ่านไป
                                        มิห่างหายจากเธออย่าเผลอตาม     
                                       
                                     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

                                           ระหกระเหิน         เดินด้นค้นหา      ชั่วชีวาวาตม์
                                           สุดท้ายยังพลาด   มิอาจสมหวัง       ยังอาจถลำ
                                           แม้หากใคร่พบ     ประสบจริงแท้      แน่ "สัทธรรม"
                                          "เที่ยงตรง"   จิตนำ    "สัมมาวิถี"     นี่แหละธรรมา   
         ความหมาย...พิจารณา...
         ประโยคแรกที่ว่า "ระหกระเหิน เดินด้นค้นหา ชั่วชีวาวาตม์"  ภาวะนี้เป็นสัญชาตญาณของคน  คนพอเริ่มรู้ความ ก็เริ่มปรารถนา เริ่มไขว่คว้าพยายาม เพื่อให้ได้ในสิ่งพึงปรารถนา ผู้มีกุศลมูลระดับสูง  จะปรารถนาบุญวาสนาเพื่อการสงเคราะห์ ซึ่งต่างจากคนทางโลกทั่วไป ปรารถนาอายุวัฒนะ เพื่อการสร้างคุณประโยชน์ยาวนาน  ปรารถนาปกติสุข เพื่อการเป็นผู้ให้อย่างราบรื่น ปรารถนาปัญญา เพื่อพาตนและคนทั้งหลายให้พ้นผิดบาป
         ที่สุดคือปรารถนาวิถีธรรม เพื่อการหลุดพ้นวัฏสงสาร ตั้งแต่โบราณกาลมา ผู้ปรารถนาวิถีธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากวัฏสงสารนั้นมีไม่น้อย แต่น้อยคนนักจักได้พบ บ้างต้องระหกระเหินเดินป่า เพื่อค้นหาท่านผู้รู้ เพื่อขอรับการถ่ายทอด มีไม่น้อยที่ต้องตายเสียเปล่า ระหว่างดั้นด้นค้นหา  บัดนี้ถึงการปรกโปรด ผู้มีกุศลมูลต่างได้รับวิถีธรรมกันโดยง่าย อีกทั้งร่วมกันบำเพ็ญได้ในครัวเรือน จึงพึงพิจารณาเห็นคุณค่าและโอกาส ที่คนแต่ก่อนต้องเหนื่อยยากนัก

                                           ถ้าหากแม้ใจ      ไร้ซึ่งธรรมา        คู่กายาตน
                                           ดำเนินเดินค้น     เยื่องคนบอดใส   ไม่เห็นธรรมหนา
                                           แม้เป็นผู้เพียร     เรียนรู้ธรรมแท้     แน่วแน่แก่กล้า
                                           ท่ามกลางโลกา   อย่าเห็นผู้ใด       ใช่ร้ายเลวนา

       ความหมาย...พิจารณา...
       ในอาณาจักรธรรมคำว่า "ย้อนมองส่องตน"" เป็นวจนะประทับใจผู้ปฏิบัตบำเพ็ญจริงยิ่งนัก เพราะนั่นหมายถึง การใช้พุทธญาณ ธรรมะอันงดงามของความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในตน ย้อนส่องมองหาข้อตำหนิ จุดบอดในจิตของตน อีกทั้งยังกล่าวว่าเวลาที่จะค้นหาความผิดของตนก็ไม่พออยู่แล้ว ยังจะมัวไปแคะไค้หาความผิดของใครได้อีกหรือ

                                         หากใคร่กล่อมเกลา     เขาใดใครนั่น     ให้ผันเปลี่ยนจิต
                                         ตนเองต้องคิด         พิจารณา     หากุศโลบาย
                                         อย่าให้เขาคิด      วิจิกิจฉา      ระแวงเผลอไผล       
                                         เขาเข้าถึงใน       ภาวะจิตเดิม     เริ่มจากจิตตน   

       ความหมาย...พิจารณา...
                                         พรหมวิหาร        อันสถิต       ในจิตตน
                                         จงขุดค้น           ขนมาใช้      ให้คุ้มค่า
                                         ฉุดช่วยคน         ขนขึ้นฝั่ง      ทางสุทธา
                                          ด้วยสัจจา         ปัญญายิ่ง     มิ่งขวํญธรรม 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

                                         อันพุทธธรรม   เนื่องนำปรกโปรด   ในโลกเรื่อยมา
                                         ไม่ห่างมรรคา   โลกาสำนึก          ตรึกทางหลุดพ้น
                                         แม้ห่างโลกา     หา "โพธิจิต"       คิดหากจากตน 
                                         จะเหมือนดั้นด้น  ค้นเขากระต่าย     ได้อย่างไรมี

       ความหมาย...พิจารณา...
       พระพุทธะ พระโพธิสัตว์ พร่ำสอนชาวโลกไว้มากมาย ด้วยพุทธธรรมอมฤตหลากหลาย ล้วนโปรดว่า "จงมองหาตนเอง จงมองหาตนเอง" แต่เป็นไฉนใจจึงลุกลน ชอบเที่ยวดั้นด้นค้นหาธรรมะ ที่โน้น ที่นั่น วัดโน้นดี วัดนี้ก็ดี วัดที่ไม่ไป เพราะไม่คิดว่าจะดีมีอยู่วัดเดียวคือ "วัดไม่ถึงธรรม" ที่ตนเองเป็นเจ้าอาวาส

                                        เมื่อ "เห็นชอบ" "ไซร์"   จึงได้ชื่อว่า    สัมมาพ้นโลก
                                        มิจฉาครองปรก   คือโลกวิสัย        ไม่ได้วิถี
                                        แต่หากตัดสิ้น     สัมมา - มิจฉา     ทั้งดีไม่ดี   
                                        จิตญาณรังษี       จะดุษณีย์          โพธิพุทธา

        ความหมาย...พิจารณา...
        การบำเพ็ญทั้งยุคเขียว ยุคแดง และยุคขาว  บัดนี้พุทธธรรมล้วนสอนให้พาใจออกหากจากกิเลสตัณหาออกจากโลกีย์วิสัยโดยเฉพาะการบำเพ็ญในยุคขาวให้พาตนเข้าไปสู่ชาวโลก เพื่อการปรกโปรดฉุดช่วยเขาให้ได้รับวิถีธรรม จงเอาภาระหน้าที่พร้อมพรหมวิหารสี่ เข้าไปสู่ชาวโลก แต่เรื่องอารมณ์ความคิดจิตใจ ยังจะต้องออกหากจากชาวโลก

                                       ""สรรเสริญ"" บทนี้    วิถีฉับพลัน     อันรู้แจ้งใจ
                                         อีกชื่อหนึ่งไซร์    ว่าเรือธรรมใหญ่   มหานาวา
                                         ผู้หลับหลงใหล    ได้สดับธรรม      ย้ำกัปกัลป์หนา
                                         ผู้ตื่นศรัทธา         กระจ่างแจ้งวาบ  ฉับพลันนั่นเอง

       ความหมาย...พิจารณา...
       โศลกบทนี้ที่เรียกว่า ""บทสรรเสริญ"" ด้วยพระธรรมาจารย์โปรดปรารถนาให้สาธุชนพร้อมกันขึ้นฝั่งธรรมด้วยจิตอันรู้เห็นจริงต่อฟากฝั่งอันเกษม จึงนอกจากจะสรรเสริญต่อพุทธธรรมแล้ว ยังสรรเสริญผู้มีกุศลมูล ณ  ที่นั้นด้วย
        พระธรรมาจารย์ดปรดอีกว่า ""วันนี้ ณ วัดมหาพรหมได้เทศนาวิถีฉับพลัน ปรารถนาให้สาธุชนแห่งธรรมอาณาจักรเห็นจิตญาณ รู้ความเป็นพุทธะแห่งตนได้ในฉับพลัน"" ณ บัดนั้น ผู้ว่าราชการเอว๋ย กับ ข้าราชการผู้ติดตาม ศาสนิกชน ปราชญ์ และเต๋าได้สดับธรรมจากพระมหาเถระเจ้าแล้ว ไม่มีผู้ใดไม่รู้ตื่นกันทั่วหน้า พร้อมกราบนมัสการอุทานด้วยความปีติว่า ""สาธุ คิดไม่ถึงเลยว่า พระพุทธะได้อุบัติมา ณ เมืองหลิ่งหนันนี้""

                                                           
                                                              จบบทที่ ๑
                                                             

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

                คำนำ  ::   
         
          โลกาภิวัตน์ในยุคปัจจุบัน  ""คน""ต่างพยายามก้าวเดินเพื่อให้ทันกับการพัฒนาของสรรพสิ่ง สรรพภาษา สรรพประโยชน์กันเต็มที่ ""ธรรมะรัตนะบัลลังก์สูตร"" เล่มนี้ ชื่อที่แปลกันไว้ ส่วนใหญ่คือ ""สูตรของท่านเว่ยหล่าง""  โลกปัจจุบันผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนภาษาจีนกลาง หรือ แมนดาริน เป็นภาษาทางราชการ มิใช่ภาษาท้องถิ่น จึงได้รับความนิยมมาก
        คำว่า """เว่ยหล่าง"" เป็นภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาท้องถิ่นที่เป็นหลักของชาวมณฑลกวางตุ้ง สรรพนามต่าง ๆ ในพระสูตรเล่มนี้ออกเสียงเป็นกวางตุ้งแทบทั้งนั้น
       บัดนี้ ชาวกวางตุ้งเองที่มีการพัฒนาการทางภาษา ต่างก็สะท้อนความคิดเห็นว่า น่าจะเปลี่ยนเป็นแมนดารินอันเป็นสากล  พระสูตรเล่มนี้ ต้นฉบับเดิมแท้อักษรจีนโดยตรงของพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงที่เก็บรักษาไว้ ณ ถิ่นกำเนิดของพระองค์ท่านในประเทศจีนซึ่งแปลมาจากภาษาอังกฤษ


                คัมภีร์ธรรมรัตนะบัลลังก์สูตร ๕  บทที่ ๒  อรรถาสุคติของผลบุญกับคุณธรรมบารมี ( ซึ กง เต๋อ จิ้ง ถู่ )   

        วันรุ่งขึ้น ผู้ว่าฯเอว๋ย จัดงานเลี้ยงใหญ่ ถวายภัตตาหารเจ แด่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิง หลังจากนั้นผู้ว่าฯกราบอาราธนาพระมหาเถระเจ้า โปรดขึ้นธรรมาสน์  ผู้ว่าฯกับข้าราชการและสาธุชนเหล่านั้นพร้อมก้มกราบนมัสสการอีกครั้งหนึ่งด้วยความเคารพสำรวม ผู้ว่าฯ กล่าวปุจฉาว่า "ศิษย์ได้ยินพระมหาเถระเจ้าเทศนา เป็นสิ่งมิอาจคิดคำนึงได้เลย วันนี้มีข้อสงสัยเล็กน้อย ขอมหาเมตตากรุณาโปรดแสดงวัสัชนาจำเพาะด้วย""  พระมหาเถระเจ้าโปรดว่า ""กังขาสิ่งใดให้ถาม อาตมาจะกล่าวแจงให้""
        ความหมาย...พิจารณา...
        จะเห็นได้ว่าพระมหาเถระเจ้าฮุ่ยเหนิง โปรดให้จัดประชุมธรรมสองวันที่วัดมหาพรหม  วันที่หนึ่ง ท่านโปรดแสดงธรรมเอง  วันที่สอง คือปุจฉาวิสัชนาธรรม สาธุชนถาม ท่านตอบความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นหนทางไปสู่การเจริญธรรม บรรลุธรรม
        อมตะพุทธะจี้กงพระอาจารย์ของชาวเราก็ได้โปรดไว้ใน ""ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม (ซิ่งหลี่ซึอี๋) ว่า ""จะบำเพ็ญธรรม ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจหลักธรรม วิธีเข้าใจหลักธรรมไม่มีอื่นใด ล้วนอยู่ที่มีข้อสงสัยให้ถามเท่านั้น""
        บำเพ็ญธรรมหากไม่เข้าใจหลักธรรม ก็จะเหมือนหลับหูหลับตาตามกันไป ไม่นานก็จะพลัดหลง ฉะนั้นกังขาข้อใดให้ถาม ผู้่ว่าจัดงานเลี้ยงใหญ่ ถวายภัตตาหารเจแด่มหาเถระเจ้า รวมทั้งจัดสักการะบูชาสี่พระอริยะ มีพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต็เจ้าทั้งหลาย  จักเครื่องสักการะบูชาทั้งหกคติ ทั้งสุคติ และทุคติ อันมี สวรรคติ มนุษย์คติ อสูรกายคติ เดรัจฉานคติ เปรตคติ และนรกคติ อย่างถ้วนทั่วสมบูรณ์
        ผู้ว่าฯ กราบเรียนถามว่า " ที่มหาเถระเจ้าโปรดมานี้ เป็นจุดมุ่งหมายของสมเด็จพระโพธิธรรมหรือมิใช่" มหาเถระเจ้าตอบว่า ""ใช่""  ผู้ว่าฯกล่าวว่า "ศิษย์ได้ยินมาว่า เริ่มแรกที่พระโพธิธรรมโปรดพระเจ้าเหลียงอู๋ตี้นั้น เหลียงอู่ตี้ย้อนถามว่า"ชั่วชีวิตของเรา สร้างวัดวาอาราม อุปัฏฐากสงฆ์ ทำบุญให้ทานถวายภัตตาหารเจมากมาย จะได้ผลบุญบารมีอย่างไร"  สมเด็จพระโพธิธรรมได้ตอบว่า""แท้จริงแล้วไม่มีผลบุญบารมีอันใดเลย""  ""ศิษย์ไม่เข้าใจถึงหลักธรรมข้อนี้ ขอมหาเถระเจ้าได้โปรดชี้แจง""
       ความหมาย...พิจารณา...
       ประวัติการณ์ทางพุทธศาสนาในประเทศจีน รัชสมัยที่สร้างวัดวาอารามมากที่สุด คือรัชสมัยพระเจ้าเหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์หนันเฉามากมายถึงสี่ร้อยแปดสิบแห่ง แต่ละแห่งใหญ่โตอลังการยากจะบรรยาย  ""บรรพตพุทธรังษี ฝอกวงซัน"" ที่ไต้หวันที่เห็นยิ่งใหญ่อลังการแล้ว ยังมิอาจเทียบได้ คนที่เพียงได้ร่วมปิดทองฝังลูกนิมิตสักลูกมีส่วนได้สร้างวัดหนึ่งวัด ก็หวังว่าจะได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว
       มหาเถระเจ้าโปรดว่า ""แท้จริงแล้ว ไม่มีผลบุญบารมีอันใดเลย  อย่าเพิ่งสงสัยคำของอดีตอริยะ"" (ที่กล่าวว่าไม่มีผลบุญบารมีนั้น  เนื่องด้วยจิตของเหลีบงอู่ตี้ มีอกุศลเจตนา มิรู้สัทธรรม  สร้างวัดอุปัฏฐากสงฆ์ สร้างบุญทานถวายภัตตาหารเจ ได้ชื่อว่าขอวาสนา วาสนามิอาจกลายมาเป็นผลบุญบารมีได้ ผลบุญบารมีอยู่ในภาวะกายธรรม มิได้อยู่ในภาวะวาสนา )
       ความหมาย...พิจารณา...
       ผลบุญบารมีเกิดได้มากมายหลายทาง เช่นจากการเจริญศีล สมาธิ ปัญญา เจริญพรหมวิหารธรรม   ฉะนั้นที่กล่าวว่าได้รับวิถีธรรมแล้ว ผลบุญบารมีจะมิอาจประมาณนั้น หมายถึง การรับวิถีธรรมคือ เข้าถึงวิถีจิตแห่งตนแห่งพุทธะ เขาผู้นั้นจะดำเนินชีวิตด้วยศีล สมาธิ ปัญญาต่อไป จึงกล่าวได้ว่า ""ผลบุญบารมี จะมิอาจประมาณ"" 

                         

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

       พระมหาเถระเจ้าโปรดต่อไปว่า "เห็นจิตเดิมแท้คือผลบุญ เห็นความเสมอภาคเท่าเทียมกันคือคุณธรรมบารมี" ทุกขณะจิตไม่ขัดข้อง เห็นจิตเดิมแท้ตน เกิดคุณวิเศษนั้นเสมอ ได้ชื่อว่า"ผลบุญบารมี" ประการที่หนึ่ง
      ความหมาย...พิจารณา...
      ""ผลบุญ กง เป็นกุศลกรรม""เป็นผลอันเกิดจากความดีที่ทำเพื่อผู้อื่นและตนเองโดยธรรม มิใช่ความดีตามวิสัยโลก เช่นการนำพาเวไนยให้ขึ้นฝั่งธรรมด้วยจิตปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ได้สุข ในขณะที่ทำ งดงามทั้งจิตเมตตา กระทำโดยกรุณา อนุโมทนามุทิตายินดี มิได้ยึดหมายในความดีความสำเร็จของตน เป็นอุเบกขา
     ""บารมี เต๋อ  เป็นคุณธรรมบารมี"" เห็นความเสมอภาคเท่าเทียมกันของสรรพชีวิต ไม่เบียดบังรังแก ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ล่วงเกินทั้งกาย วาจา ใจ จริงใจด้วยธาตุแท้ มิใช่ให้เฉพาะนามรูปนั้นหรือกรณีนั้น ภาวะจิตของตนเองขณะนั้นเป็นคุณธรรมบารมีที่ก่อเกิดความอบอุ่นร่มเย็นแก่ชีวิตจิตใจตน และสรรพชีวิตได้ เปรียบง่ายๆ เช่น เราถือร่มร่วมกางไปกับคนที่เราเกื้อกูลยินดี ขณะฝนตกหนักหรือแดดร้อนแรง เราค่อนร่มไปทางเขาให้มาก ...ความรู้สึกในการเป็นผู้ให้นั้น ก่อเกิดบารมี...กุศลธรรม+คุณธรรม ผลบุญ+บารมี จึงเป็นความดีบริสุทธิ์ที่ให้แก่ตนเองและผู้อื่น โดยไม่ได้ยึดหมาย มิได้แบ่งแยกเจาะจง ไใ่ว่าสิ่งที่ทำนั้นจะเล็กจะใหญ่เพียงไร เช่นคนที่เราเพียรพยายามนำพาเขาให้ได้รับวิถีธรรม จะเป็ยเศรษฐีหรือยาจก จะมาได้หรือยังมาไม่ได้อย่างไร ""ผลบุญบารมี "นั้นก็ได้เกิดแก่ผู้เพียรพยายามนำพาแล้ว
      มหาเถระเจ้ายังโปรดต่อไปอีกว่า ""ภายในใจอ่อนน้อมคือผลบุญ กง""  ""จริยาที่ปฏิบัติอยู่ภายนอกคือบารมี เต๋อ"" ประการที่สอง 
      ความหมาย...พิจารณา...
      มหาเถระเจ้าฮุ่ยเหนิงโปรดแสดงธรรมอยู่บนพื้นดินเป็นธรรมะที่ใช้ได้กับชีวิตประจำวันจริง ๆ มิได้แสดงธรรมอยู่บนยอดไม้ที่ให้สาธุชนแหงนหน้าคอตั้งบ่าขึ้นฟังอย่างรู้บ้างมิรู้บ้าง  ผลบุญ ยังเกิดจากภายในใจที่อ่อนน้อม  อ่อน = ไม่แข็งกระด้าง  น้อม =ยินดีรับ ยินดีให้  ทุกขณะจิตจนเป็นนิสัยธาตุแท้ มิใช่อ่อนน้อมต่อกรณีเฉพาะหน้า ภายในใจอ่อนน้อมจะปราศจากโทสะ โมหะ โลภะ สามพิษร้าย  ภายในใจอ่อนน้อมจะมีควมสุขุมสมาน เยือกเย็น ราบเรียบ  เป็นภาวะปกติอยู่ลึกๆในความรู้สึก
      บารมี เกิดจาก จริยาที่ปฏิบัติอยู่ภายนอก  มีคำกล่าวว่า "ให้อะไรแก่ใคร ก็จะได้สิ่งนั้นตอบสนอง"" เมื่อภายในใจอ่อนน้อม จริยาอาการที่ปฏิบัติอยู่ภายนอกก็จะงดงามจริงแท้ การตอบสนองที่ได้รับอย่างงดงามจริงแท้ เป็นการแสดงให้เห็นบารมีของผู้ที่ได้รับและนั่นคือ คุณลักษณะแท้ของผู้ศึกษาธรรม  รวมความว่า กุศลธรรม + คุณธรรม  อ่อนน้อม + จริยา = ผลบุญบารมี กงเต๋อ
     มหาเถระเจ้าโปรดต่อไปว่า ""จิตญาณตนก่อเกิดหมื่นข้อธรรมคือผลบุญ กายใจออกห่างจากดำริคิดคือบารมี""ประการที่สาม
    ความหมาย...พิจารณา...
    ครั้งนั้น ท่านฮุ่ยเหนิงได้ยินพระคัมภีร์เพียงประโยคเดียวว่า "พึงบังเกิดจิตโดยมิได้ยึดหมาย" ท่านรู้ได้ต่อไปโดยฉับพลันอีกว่า"ข้อธรรมทั้งปวงล้วนเกิดแต่จิตเดิมแท้แห่งตน""  อาจมีผู้แย้งว่า ข้อธรรมทั้งปวงเกิดจากการพิจารณาปรากฏการณ์ของสัจธรรม..แต่หากจิตเดิมแท้หรือปัญญาเดิมแท้มิอาจพิจารณาได้เล่า จะเอาอะไรไปเข้าใจในปรากฏการณ์ของสัจธรรม เมื่อจิตญาณตน ปัญญาญาณตน ก่อเกิดหมื่นข้อธรรมได้ จิตญาณและปัญญาจิตญาณนั้นต้องอยู่ในสภาวะธรรมอันละเอียดปราณีตลุ่มลึก ดุษณีย์เป็นแน่แท้ เช่นนั้นจึงเป็นผลบุญ  สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นพระสัพพัญญูหยั่งรู้สิ่งทั้งปวงได้ด้วยจิตญาณปัญญาแห่งพระองค์มิใช่เรียนรู้ได้มา "กายใจออกห่างจากดำริคิดคือบารมี" ดำริคิดเป็นบ่วงพันธนาการอันปราศจากรูปลักษณ์นับเป็นดาบสองคม ดำริคิด ยึดหมาย ทำให้ปัญญาบริสุทธิ์ยากจะเกิดขึ้นได้ ช่วยตนยังไม่ได้จะช่วยใครได้  บารมี จึงเกิดจากความเป็นอิสระเสรีทั้งกายใจ รวมความว่า " กุศลธรรม+คุณธรรม+อ่อนน้อม+จริยา+จิตญาณ+กายใจ = ก่อเกิดผลบุญบารมี กงเต๋อ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

      มหาเถระเจ้าโปรดต่อว่า " ไม่พ้นหากจากจิตญาณตน(ภาวะบริสุทธิ์)เป็นผลบุญใช้คุณประโยชน์ (จิตญาณบริสุทธิ์) โดยมิแปดเปื้อน คือ บารมี "  (ประการที่สี่)
     หากปรารถนาค้นหา "ผลบุญบารมีในภาวะกายธรรม" จงปฏิบัติเช่นกล่าวมาจะเป็น "ผลบุญบารมีที่แท้จริง" หากผู้บำเพ็ญเพียรในผลบุญบารมี ใจจะไม่ดูแคลน จะให้ความเคารพต่อทุกคนและสรรพสิ่งเสมอ หากใจมักดูแคลนเขา ไม่ละ อัตตาเขา - เรา ย่อมปราศจากผลบุญ จิตญาณตนฟุ้งเฟื้อเผลอไผลไม่เที่ยงแท้ ย่อมปราศจากบารมี   ด้วยเหตุจากตัวกูของกูเป็นใหญ่ จึงดูแคลนทุกอย่างไป
     ท่านผู้เจริญ    ทุกขณะจิตมิเว้นด้วยช่องว่าง (ไม่มีสิ่งแทรกแซง)เป็นผลบุญ ดำเนินใจตรงราบเรียบเสมอภาค เป็นบารมี  บำเพ็ญใจตน เป็นผลบุญ   บำเพ็ญกายตน เป็นบารมี  (ประการที่ห้าและหก)
     ความหมาย...พิจารณา...
     ทุกขณะจิตมิเว้นด้วยช่องว่าง... หมายถึงภาวะแห่งจิตเดิมแท้นั้น สมบูรณ์ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ ว่างจากอาสวะกิเลสสิ่งแปลกปลอมทั้งหลายจากภายนอก
     มิเว้นด้วยช่องว่าง...คือ ไม่เปิดช่องทางให้สิ่งแปลกปลอมทั้งหลายภายนอกเข้าแทรกแซงได้ จิตที่สมบูรณ์ด้วยปัญญาเดิมแท้จึงเป็นผลบุญ  รวมความว่า บุญทาน คุณธรรมความดีทุกอย่างที่สร้าง ที่สำแดง ที่ให้ออกไปจากจิตเดิมแท้บริสุทธิ์ เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้ได้รับโดยธรรมอย่างเสมอภาคแท้จริงเป็นผลบุญบารมี
     ท่านผู้เจริญ  ผลบุญบารมีจะเห็นได้จากจิตเดิมแท้ภายในแห่งตน มิใช่เรียกร้องขอได้จากการทำบุญ ให้ทานอุปัฏฐาก ถวายภัตตาหาร ดังนี้ เป็นข้อแตกต่างระหว่าง ""วาสนาบารมี"" กับ ""ผลบุญบารมี""
     เหลียงอู่ตี้ไม่เข้าใจในหลักสัจธรรม มิใช่ความเห็นผิดของสมเด็จพระโพธิธรรม พระอาจารย์แห่งเรา ที่กล่าวตอบเช่นนั้น
    ความหมาย...พิจารณา...
    ในอาณาจักรธรรม การให้ทรัพย์ วิทยาธรรมเป็นทาน แรงกายเป็นทาน นับเป็นผลบุญบารมี หรือ วาสนาบารมี  คำตอบและผลอยู่ที่ตัวของผู้สร้างสมเองว่า  ก่อนกระทำ มุ่งหมายอย่างไร  ขณะทำด้วยภาวะจิตเช่นไร  หลังจากทำแล้ว ภาวะจิตเป็นเช่นไร
     กราบเรียนถามอีกว่า  "ศิษย์มักเห็นสงฆ์ กับ ฆราวาส ต่างสวดท่องพระนามอมิตตาภะพุทธเจ้า อธิษฐานจิตไปเกิดยังสุขาวดี ของมหาเถระเจ้าได้โปรดว่า จะได้ไปเกิดที่นั่นจริงหรือไม่ โปรดได้คลายข้อกังขาแก่ศิษย์ด้วย"
    ความหมาย...พิจารณา...
    ในพระสูตร "อมิตาภะ" จารึกไว้ว่า  "หากสาธุชนหญิงชายผู้ใดได้สดับพระนามอมิตาภะพระพุทธเจ้า ปฏิบัติสวดท่องพระนามนี้ เป็นเวลา หนึ่งวัน สองวัน สามวัน สี่วัน ห้าวัน หกวัน เจ็ดวัน ด้วยในสงบไม่วุ่นวาย ผู้นั้นเมื่อถึงแก่อายุขัย ใกล้จะละสังขาร ขณะนั้นเอง อมิตาภะพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอริยเจ้าทั้งหลาย จะโปรดเสด็จมาปรากฏตรงหน้า เมื่อละสังขารแล้วจิตใจไม่สับสนผิดผัน จะได้ไปเกิดยังสุขาวดีแดนแห่งอมิตาภะพุทธเจ้า"
    ในพระสูตร "อมิตาภะ อู๋เลี่ยงโซ่วจิง" บทภาวนาที่สิบแปด ก็จารึกไว้ว่า "ขณะละสังขารนั้น หากจิตหนึ่งใจเดียวแน่วแน่มิผิดผัน ท่องพระนามพระพุทธะสิบครั้ง จะไปเกิดในสุขาวดีสวรรค์ของพระอมิตาภะพุทธเจ้า" สุขาวดีอยู่ ณ ที่ใด ในพระสูตรพระอมิตาภะ จารึกไว้ว่า "จากสหาโลก (โลกเรา) ไปทางทิศตะวันตกผ่านหนึ่งร้อยล้านพุทธภุมิ (หนึ่งพุทธภูมิ คือ สามพันมหาสัพพโลก
 ซันเซียนต้าเซียนซื่อเจี้ย)  หนึ่งพันโลกเล็ก เป็นหนึ่งหน่วยพันโลกเล็ก  หนึ่งพันหน่วยโลกเล็ก เป็นหนึ่งหน่วยพันโลกกลาง หนึ่งหน่วยพันโลกกลาง จึงเป็นมหาพันสัพพโลก หรือโลกใหญ่
     ที่ว่า "สามพันมหาสัพพโลก ซันเซียนต้าเซียนซื่อเจี้ย" ก็คือหนึ่งพันมหาโลก เพราะมีหลักพันอยู่สามหลักจึงเรียกว่าสามพันมหาพันสัพพโลก  ฉะนั้น การจะไปสู่สุขาวดีได้นั้น จะต้องผ่านแสนร้อยล้านสัพพโลก"
     ผู้ว่าฯ เอว๋ย ปุจฉาปัญหานี้ เป็นเรื่องไกลเกินคิดเหลือเกิน ถ้าเช่นนั้น การที่กล่าวกันว่า เพียงท่องพระนามอมิตาภะพุทธเจ้าเพียงสิบครั้งก่อนละกายสังขาร ก็จะไปถึงสุขาวดีได้นั้น เป็นไปได้เพียงไร
     มหาเถระเจ้าฮุ่ยเหนิงโปรดว่า "ท่านผู้ว่าฯ จงสดับฟังให้ดี อาตมาฮุ่ยเหนิงจะบอกแก่ท่าน" ครั้งนั้นเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี โปรดอีตถาธรรมชัดเจนเรื่องการไปเกิดยังสุขาวดีว่า "จากนี้ไปไม่ไกล" หากกล่าวโดยลักษณะการระยะทางสิบหมื่นแปดพันลี้ก็คือ อกุศลกรรมบทสิบ กับ มิจฉาทิฐิแปด ในตน จึงกล่าวว่า ""อยู่ไกล""
     ความหมาย...พิจารณา...
     สมเด็จพระผู้มีพระภ่คเจ้าตรัสในเบื้องต้นว่า "สุขาวดี ไปจากนี้ไม่ไกล" หมายถึง "รู้แจ้งฉับพลัน จิตบรรลุสู่สุขาวดีพลัน" ในเบื้องปลายตรัสว่า "อยู่ไกล" หมายถึง การชำระอกุศลกรรมบทสิบ กับ มิจฉาทิฐิแปดในตนของคนเป็นเรื่องยากยิ่ง จึงกล่าวว่าอยู่ไกล     หมายเหตุ ::   อกุศลกรรมบทสิบ คือ  1.ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  2.ลักขโมย  3.ประพฤติผิดในกาม  4.วาจามิชอบ  5. พูดคำหยาบ  6.พูดส่อเสียด  7. พูดเพ้อเจ้อ  8.โลภมาก อยากได้  9.พยาบาทมาดร้าย  10.เห็นผิด
         มิจฉาทิฐิแปด คือ 1. เห็นผิด   2.ดำริผิด  3. วาจาผิด  4.การงานผิด  5.เลี้ยงชีพผิด  6. ความเพียรผิด  7.ระลึกผิด  8.ตั้งใจผิด

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

      โปรดต่อไปว่า "ที่กล่าวว่า ""ไกล"" นั่นหมายถึงผู้อยู่ในอกุศลมูล มากด้วย โลภ โกรธ หลง ที่กล่าวว่า ""ใกล้"" นั่นหมายถึงผู้สูงด้วยชยานะ สติปัญญา คนมีสองประเภท แต่ธรรมะไม่มีสองจำพวก  ""หลง"" กับ ""รู้แจ้ง"" มีความแตกต่าง เห็นจิตเดิมแท้มีช้ากับเร็ว  ""คนหลง""ภาวนาระลึกถึงพระพุทธะเพื่อไปเกิด ณ  ที่นั้น   ""คนรู้แจ้ง""ชำระจิตตนให้หมดจดเอง
      พุทธพจน์จึงมีว่า ""สิ่งอันตามติดจิตตนหมดจด""คือพุทธเกษตรสุขาวดี ดินแดนหมดจดแห่งพุทธะ
      ความหมาย...พิจารณา...
      ทางโลกกับทางธรรมต่างกัน ทางโลก "ขอ"อาจได้  ทางธรรม "ปฏิบัติเอง"จึงได้ ปุถุชนขอทางโลกจนเคยชิน น้อยคนนักที่จะปฏิบัติเพื่อให้ได้มาจากความเพียรของตนเอง จึงยังคงหลงขอต่อไป
      ท่านผู้ว่าฯ คนทางบูรพาทิศ (ชาวโลก)แต่หากจิตใจหมดจด ก็จะปราศจากผิดบาป ถึงแม้จะเป็นคนทางประจิมทิศ(สวรรค์สุขาวดีแดน) แต่หากจิตใจไม่หมดจด ก็มีผิดบาปได้ คนบูรพาทิศสร้างผิดบาป ภาวนาพระพุทธะ จะระลึกยังไปเกิดขอที่ใดหรือ ปุถุชนโง่หลง มิรู้แจ้วแห่งจิตญาณตน ไม่รู้จักสุขาวดี แดนบริสุทธิ์ในตน จึงปรารถนาบูรพาทิศ ประจิมทิศ ผู้รู้แจ้งไม่ว่าไปสู่แห่งใด ก็เป็นเช่นที่เดียวกัน ฉะนั้น พุทธพจน์จึงว่า "จะเป็นแห่งหนใด ล้วนได้สุขเกษมนิรันดร์กาล"
      ท่านผู้ว่าฯ จิตใจหากปราศจากอกุศล จากจุดนี้ไปสู่ประจิมทิศสุขาวดีได้ไม่ไกล แต่หากใจแฝงไว้ด้วยอกุศลภาวนาระลึกถึงพุทธะก็ยากจะไปเกิดยังที่นั้นได้
      ความหมาย...พิจารณา...
      คำอวยพรส่งวิญญาณผู้ตาย เช่น"ขอจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด"  "ขอจงไปสู่สัมปรายภพหน้า หรือ ขอจงไปสู่สุขคติภพ" หากจิตวิญญาณของเขา มิได้ชำระให้หมดจดก่อนจะเดินทางไปคือมิได้เตรียมตัวเตรียมใจไปแม้เราจะกล่าวอวยพรชี้ชวนเท่าใด เขาก็ไปไม่ได้ ไปไม่ถึง  ฉะนั้น การถ่ายทอดวิถีธรรมในยุคนี้ ไม่เพียงทำให้เขาได้รู้จักคุ้นเคยต่อเสันทางไปสุขาวดี ยังจัดประชุมอบรมกล่อมเกลาให้เขาเตรียมการชำระกายใจเพื่อการเดินทางไกลครั้งสำคัญของชีวิตอีกด้วย
     บัดนี้ จึงขอเตือนท่านผู้เจริญว่า ""จงเริมจากกำจัดอกุศลกรรมทั้งสิบเสียเป็นเบื้องต้น นั่นเท่ากับเดินทางใกล้เข้าไปถึงสิบหมื่นลี้แล้ว  จากนั้นกำจัดมิจฉาทิฐิแปด เช่นนี้ก็เท่ากับได้เดินทางผ่านพ้นไปอีกแปดพันลี้ ระลึกรู้แจ้งในจิตเดิมแท้ตนทุกขณะ รักษาเส้นทางเดิมให้ตรงเรียบไว้เป็นประจำ จะส่องเห็นอมิตาภะพุทธเจ้าได้ในลัดนิ้วมือเดียว""
      ความหมาย...พิจารณา...
     ลัดนิ้วมือเดียว    ผู้ได้รับวิถีธรรม หนทางสิบหมื่นแปดพันลี้ เราไปถึงได้ ชั่วลัดนิ้วมือเดียว  ลัดนิ้วมือจากพุทธะจี้กงพระอาจารย์ที่นำทางผ่าน โดยนิ้วของอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม ในพิธีถ่ายทอดวิถีธรรม มีธรรมประกาศิตประโยคหนึ่งที่ว่า ""สุขาวดีแดนแม้แสนไกล บัดใจไปถึง ซือ เทียน ซุย เอวี่ยน ฉิ่ง เค่อ เต้า..."" ฉะนั้น ผู้เบิกญาณทวรเห็นทางแล้วก็จะหยุดอยู่กับที่ ยังจะรีรอต่อไปทำไมเล่า

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

       ท่านผู้ว่าฯ จงปฏิบัติกุศลกรรมบถทั้งสิบให้ถึงพร้อมเถิด ไฉนยังจะต้องตั้งความปรารถนาไปเกิด ณ สุขาวดีแดนอีก จิตใจที่ไม่ตัดขาดจากอกุศลกรรมบถทั้งสิบ ถึงเวลาละสังขาร จะให้พระพุทะะพระองค์ใดมาเชื้อเชิญนำพาไปล่ะหรือ
       ความหมาย...พิจารณา...
       ในอาณาจักรธรรม เราจะเห็นความเป็นจริงมากมายว่า อาวุโสท่านใดปฏิบัตบำเพ็ญเพียรเพียงไร เมื่อละกายสังขาร พระอง์ใดโปรดแสดงมานำพารับไป ประจักษ์หลักฐานเหล่านี้มิใช่เท็จแน่แท้
      แม้หากสำนึกรู้แจ้งวิถีธรรมอันมิเกิดมิดับฉับพลัน ประจิมทิศสุขาวดีแดนก็เห็นอยู่ ณ ที่นั้นทันใด แต่หากไม่สำนึกรู้แจ้ง ภาวนาระลึกถึงพระพุทธะเพื่อขอไปเกิด หนทางไกลนั้นอย่างไรจึงจะไปถึงได้  ""อาตมาฮุ่ยเหนิง จะย้ายประจิมทิศสุขาวดีแดนมา ณ บัดนี้ ให้เห็นได้ตรงหน้าทันที ทุกท่านปรารถนาจะได้เห็นหรือไม่"""ทุกคนในที่นั้น ต่างอนุโมทนาสาธุท่วมหัว พร้อมกับกล่าวว่า ""หากเห็นได้ในที่นี้ ยังจะจำเป็นปรารถนายิ่งอย่างไรที่จะไปเกิดยังที่นั้น ขอพระมหาเถระเจ้า ได้โปรดให้สุขาวดีแดนปรากฏแก่สิษย์ทั้งหลายได้เห็นโดยทั่วกันด้วยเถิด""
     พระธรรมาจารย์โปรดว่า ""ชนทั้งหลาย      กายร่างของชาวโลกเปรียบเช่นเมือง   
                                                       มีนัยน์ตา หู จมูก ปากเป็นประตูเมือง
                                                              ชั้นนอกมีห้าประตู
                                                           ภายในมีประตูมโนทวาร
                                                               ใจเป็นแผ่นดิน 
                                                      จิตญาณ คือ จอมประมุขผู้เป็นใหญ่
                                                 จอมประมุขประทับ ณ ใจกลางของแผ่นดิน
                                                           จิตญาณอยู่   ประมุขยังอยู่ 
                                                           จิตญาณไป   ไม่มีประมุข
                                                           จิตญาณอยู่   กายใจยังคงอยู่
                                                           จิตญาณไป   กายใจเสียหาย
                                                             พุทธะเป็นได้ด้วยจิตญาณ   
                                                             อย่าเรียกหาจากนอกกาย
                                                        จิตญาณตนหากหลงก็คือเวไนยฯ
                                                       จิตญาณตนหากสำนึกรู้ตื่นก็คือพุทธะ
                                                      เมตตากรุณาคือ พระโพธิสัตว์กวนอิม
                                         มุทิตาอุเบกขาคือ พระโพธิสัตว์มหาสถามปราปต์  (ต้าซื่อจื้อผูซ่า)
                                                      บริสุทธิ์ผุดผ่องได้ คือ  ศากยพุทธเจ้า
                                               ราบเรียบเที่ยงตรงสม่ำเสมอ คือ อมิตาภะพุทธเจ้า
       ความหมาย...พิจารณา...
       บำเพ็ญจิตเมตตากรุณา ปรกแผ่โอบอุ้มสรรพชีวิต คือ เจริญรอยตามพระบาทพระโพธิสัตว์กวนอิม บำเพ็ญจิตให้เจริญมุทิตาธรรมอุเบกขาธรรม ปรกโปรดเสมอภาคราบเรียบ คือ เจริญรอยตามพระบาทพระโพธิสัตว์มหาสถามปราปต์ ทั้งสองพระองค์สำแดงองค์ในฐานะพรหมวิหารสี่ เป็นปัญญาเครื่องตรัสรู้ อยู่เบื้องซ้ายขวาของพระอมิตาภะพุทธเจ้าพระพุทธองค์พระนามว่าโคดม เจริญในศากยสกุล ชาวจีจนิยมถวายพระนามว่า ""ศากยมุนีพุทธเจ้า   อมิตาภะพุทธเจ้าบำเพ็ญมหาบารมีราบเรียบ เที่ยงตรง สม่ำเสมอ เจริญสี่สิบแปดมหาปณิธาน บรรลุสู่สุขาวดี ณ แดนพุทธะอันบริสุทธิ์
       พระนามของพุทธะพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย   ล้วนให้ความหมายเป็นอุทาหรณ์ต่อการบำเพ็ญของเหล่าเวไนยฯ ความหมายของการให้ท่องพระนาม ก็เพื่อเตือนใจให้รำลึก ให้เจริญธรรมตามรอยพระบาทของพระองค์ด้วยประการหนึ่ง  การท่องรหัสคาถาห้าคำ ก็มีความหมายในนัยเดียวกัน
       

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

                                        การยึดหมายในอัตตาตัวตน
                              อัตตาตัวตนเขา - เรา ประหนึ่งเขาพระสุเมรุ
                                        จิตอกุศลประหนึ่งน้ำทะเล
                                    กิเลสเศร้าหมอง คือ ระลอกคลื่น
                                        อำมหิต คือ พิษมังกรร้าย
                                   เพ้อพกมุสามายา คือ ปีศาจอสูร
                               ตัณหาความอยาก คือเต่าปลาตะพาบน้ำ
                                       โลภะโทสะ คือ นรกภูมิ
                                      โมหะโง่หลง คือเดรัจฉาน

        ความหมาย...พิจารณา...
       ความยึดมั่นต่อทุกอย่างเหนียวแน่นหนักหนา พันธนาไม่ปล่อยวาง ดั่งภูเขาพระสุเมรุ เป็นอุปสรคต่อการเจริญธรรม จิตอกุศลปั่นป่วนสู้รบ ไม่สงบได้  ความขุ่นมัวเศร้าหมองเกาะกินใจ ให้ห่วงใยทุกข์กังวล อุปมาระลอกคลื่นน้อยใหญ่สาดซัดอยู่ซ้ำซาก  ใจดำอำมหิตคิดชั่วคิดร้ายต่อใคร ๆ เป็นมังกรพ่นพิษ ทำร้ายตนและคนอื่น ๆ ความไม่จริงใจฉ้อฉลหลอกลวงของตัวเองเป็นปีศาจ  ตัณหา เป็นความอยากที่ถมไม่เต็ม เหมือนเต่าปลาตะพาบที่แช่อยู่ในน้ำ วนเวียนอยู่ไม่รู้จบ  ความโลภ ความโกรธ  อิจฉาริษยา ทำให้จิตใจร้อนรุ่มเหมือนอยู่ในขุมนรกไฟ ความโกรธ ความโง่หลง เหมือนเดรัจฉานที่ไม่มีวิจารณยาณความคิด
      ท่านผู้เจริญ...ปฏิบัติกุศลกรรมบถทั้งสิบอยู่เสมอเป็นประจำ สวรรค์ก็มาถึงตัว  ขจัดอัตตตาตัวตนลง ภูเขาพระสุเมรุย่อมล้มทะลาย ไม่ขวางทาง ปราศจากจิตอกุศล น้ำทะเลที่บ้าคลั่ง เหือดหาย ปราศจากกิเลสเศร้าหมองขุ่นมัว คลื่นลมสงบสลาย ตัวการพิษร้ายถูกกำจัดไป ปลาและมังกรร้าย (ตัณหา) หายสาบสูญ บนแผ่นดินจิต (ผืนนาใจ) อันสำนึกตื่นในตถตาแห่งตน จะเปล่งรัศมีสว่างจ้า ภายนอกจะสาดส่องประตูเมืองทั้งหกให้สะอาดหมดจด (อินทรีย์ทั้งหกไม่มืดมิด) ทำลายโลกแห่งกามาวจรทั้งหกลงได้ จิตญาณตนส่องสว่างภายใน โลภ โกระ หลง สามพิษร้ายกำจัดหมดสิ้น โทษผิดบาปทั้งหลายแห่งนรก มลายหายสูญไปในทันที ภายในภายนอกปรุโปร่งสว่างแจ้ง มิต่างจากประจิมทิศ สุขาวดีแดน ไม่บำเพ็ญเช่นนี้ จะไปถึงฟากฝั่งได้อย่างไร
       ความหมาย...พิจารณา...
       สมเด็จพระโพธิธรรมจาริกประเทศจีน เผยแผ่พุทธธรรม โดยมิได้ใช้ภาษาอินเดียสื่อกับชาวจีน แม้หากจะสื่อก็ไม่เข้าใจภาษาซึ่งกัน จึงเป็นข้อยืนยันชัดเจนว่า ""ธรรมะ   สื่อถึงกันด้วยธรรมะ""
                                      ""จิตญาณ  สื่อรู้กันด้วยจิตญาณ"""
                          เมื่อภาวะตถตาเปล่งรัศมี จึงปรุโปร่งสว่างแจ้ง ส่องถึงกันและกัน
       ทุกคนในที่นั้น ได้สดับพระธรรมคำสอนจากพระมหาเถระเจ้าจบลง ต่างเห็นจิตญาณตนหมดสิ้น จึงต่างพร้อมกันก้มกราบถวายพระพร พร้อมกับอุทานเป็นเสียงเดียวกันว่า ""สาธุ วิเศษแท้""  อีกทั้งถวายสัจวาจาว่า ""ปรารถนาให้มวลเวไนยฯในธรรมธาตุผู้ได้สดับพระธรรมนี้ จงมีความเข้าใจรู้แจ้งโดยพลันด้วยเถิด"""
       ความหมาย...พิจารณา...
      หลังการถ่ายทอดวิถีธรรมแล้ว อาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรมพร้อมด้วยนักธรรมทุกท่านในที่นั้น ต่างเปล่งเสียงแสดงความปลื้อปิติต่อผู้ได้รับวิถีธรรมว่า ""กงสี่ กงสี่  น้อมแสดงความยินดี "" เป็นความหมายว่า ""ขอจงมีความเข้าใจรู้แจ้งต่อวิถีธรรมต่อวิถีจิตแห่งท่านโดยพลันด้วยเถิด "" เช่นเดียวกัน
     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

      พระมหาเถระเจ้าโปรดต่อไปว่า
      ท่านผู้เจริญ...หากปรารถนาจะบำเพ็ญเพียร อยู่กับบ้านก็บำเพ็ญได้ มิจำกัดจะต้องอยู่วัด อยู่บ้านหากบำเพ็ญได้ ก็มิต่างจากคนบูรพาทิศที่มีจิตเป็นกุศล แต่หากผู้อยู่วัดมิได้บำเพ็ญ ก็เป็นเช่นคนทางประจิมทิศที่จิตเป็นอกุศล จิตใจใสสะอาดหมดจด คือจิตเดิมแท้แห่งตน ณ ประจิมทิศ
      ความหมาย...พิจารณา...
      การจะรู้ได้ว่าอย่างไรเป็นสัมมาศาสนา ให้ิพิจารณาหลักใหญ่ในคำสอน คำสอนที่เป็นจุดประสงค์หลัก จะต้องให้ผู้ปฏิบัติบำเพ็ญ ทำจิตใจให้ใสสะอาดหมดจด เมื่อจิตใจใสสะอาดหมดจด กิเลสตัณหา อกุศลชั่วร้ายไม่มี เป็นสัมมาวิถี มุ่งสู่ความหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง จึงปราศจากพิษภัยโดยแท้ พงศาธรรมาจารย์สมัยที่หกกล่าววาจาประกาศิตว่า""วิถีธรรมอันรู้แจ้งเข้าถึงจิตตนโดยฉับพลันนี้อยุ่กับบ้านก็บำเพ็ญได้...บำเพ็ญได้ก็บรรลุได้...แน่นอน
       ฉะนั้นยุคนี้วิถีธรรมจึงโปรดสู่ครัวเรือน มิต้องทอดทิ้งภาระหน้าที่อันพึงรับผิดชอบ มีผู้บำเพ็ญสำเร็จไปมากมายในฐานะกึ่งอริยะกึ่งสามัญชนที่มิได้ขาดพร่องส่วนใด
       ผู้ว่าฯ เอ๋ยกราบเรียนถามอีกว่า ""อยู่กับบ้านจะบำเพ็ญอย่างไร ขอมหาเถระเจ้าโปรดได้สอนสั่ง""
       พระมหาเถระเจ้าโปรดว่า ""อาตมาจะได้กล่าวสรรเสริญวิถีธรรมนิรรูปแก่ทุกท่าน จงบำเพ็ญตามนั้น จะไม่แตกต่างจากร่วมอยู่กับอาตมาเสมอเหมือนบวชเรียนอยู่วัดกับพระอาจารย์ หากไม่บำเพ็ญตามเช่นนี้ แม้จะปลงผมออกบวขจะมีประโยชน์อันใดต่อธรรมะ
       ความหมาย...พิจารณา...
       อมตะพุทธะพระอาจารย์ของชาวเรา เคยโปรดเสมอว่า ""หากเจ้าตั้งใจปฏิบัติบำเพ็ญจริง เจ้าคิดถึงอาจารย์อาจารย์ก็อยู่กับเจ้าอาจารย์ไม่เคยห่างหายไปจากเจ้า""
       พระอาจารย์ฮุ่ยเหนิงก็กล่าวเช่นกันในความหมายนี้ คุณพระคุณเจ้าที่ไหนศักดิ์สิทธิ์ อุตสาห์ดั้นด้นค้นหาเดินทางทุลักทุเล มิสู้อาราธนาความศักดิ์สิทธิ์จากพระองค์ท่านมา ด้วยจิตศรัทธาบำเพ็ญเพียรจะดีกว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของท่านมาถึงเราได้ในอึดใจ อีกทั้งอยู่กับเราได้ทุกขณะจิต  ผู้ปลงผมออกบวชในศาสนาลัทธินิกายใด หรือถือบวชบำเพ็ญเช่นชาวอนุตตรธรรม ล้วนมีหน้าที่จรรโลงหลักธรรม คุณความดีที่บรรพจารย์สร้างสมมา อย่าให้ถูกกล่าวได้ว่า""มีประโยชน์อะไรต่อธรรมะ  ต่อธรรมะในตัวตน จนถึงธรรมะทุกตัวตน""

Tags: