ใคร ๆ ก็ชอบความเที่ยงตรงและอยากให้ปฏิบัติต่อตัวเองด้วยความเที่ยงตรง แต่น่าแปลกที่ตนเองปฏิบัติต่อผู้อื่น มักขาดความเที่ยงตรงเสมอ แต่เป็นไปตามความพอใจของตนเองเสียส่วนใหญ่ การตีความหมายของ ""ความเที่ยงตรง"" จึงผิดแผกแตกต่างกันไปเพราะต่างเอาใจตนเองและกิเลสของตนเป็นผู้ตัดสิน ""ความเที่ยงตรงจึงไม่ค่อยเกิดขึ้นกับมนุษย์"" เมื่อมนุษย์ไม่มีความเที่ยงตรงจึงก่อทุกข์ภัยให้แก่ตนเองมากมายจนประมาณมิได้ และมักโทษสิ่งอื่น มิได้โทษตนเองที่ขาดความเที่ยงตรง
มนุษย์ไม่รู้จัก ""ความเที่ยงตรง"" อันแท้จริง ดังนั้นจึงปฏิบัติผิดต่อกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ ความเที่ยงตรงมิอาจนำเอาจิตใจของมนุษย์มาเป็นหลักได้เพราะจิตใจของมนุษย์แปรเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของตนเอง
ความเที่ยงตรงของฟ้าดิน จึงเป็นหลักสำคัญที่มนุษย์ควรเรียนรู้ และเอาแบบอย่างมาปฏิบัติซึ่งเป็นเรื่องยาก เพราะขัดต่อความเคยชินอันเป็นกิเลสของมนุษย์ที่สะสมเอาไว้ ฟ้าดินไม่เคยลำเอียงเข้าข้างสรรพสิ่งในโลกนี้ ฟ้าดินจึงก่อเกิดสรรพสิ่งมากมายจนประมาณมิได้ กาลเวลา ฤดูกาล การหมุนเวียน ล้วนเป็นไปตามความเที่ยงตรง ในโลกนี้มี 4 ฤดู ฤดูร้อน หนาว ใบไม้ร่วง และใบไม้ผลิ ฟ้าดินก่อเกิดฤดูกาลอย่างเที่ยงตรงสม่ำเสมอ ""ทำไมบางแห่งจึงไม่เที่ยงตรง ฤดูกาลไม่ปกติ"" ""ความเปลี่ยนแปลงนี้มิได้เกิดจากฟ้าดินแต่เป็นเพราะน้ำมือของมนุษย์"""
คนในกรุงเทพฯทุกวันนี้ไม่รู้จักฤดูหนาว เพราะไม่หนาวมาหลายปีแล้ว ล้วนมีสาเหตุมาจากความวิปริตของมนุษย์ มิใช่เกิดจากฟ้าดินวิปริต แต่มนุษย์มิได้พิจารณาความผิดของตนเองจึงโยนความผิดนี้ให้แก่ฟ้าดิน กรุงเทพฯต้ดโค่นต้นไม้มากมาย จากป่าต้นไม้กลายมาเป็นป่าคอนกรีต ด้วยเหตุนี้ กาลอากาศจึงเปลี่ยนแปลงไป เพราะขาดต้นไม้ที่จะอุ้มน้ำทำความชุ่มชื้นให้เกิดขึ้น กรุงเทพฯจึงมีแต่ฤดูร้อน และ ฝน เท่านั้น
ถ้ามนุษย์ในกรุงเทพ ฯ มีความเที่ยงตรง เยี่ยงเดียวกับฟ้าดิน ย่อมไม่ทำลายต้นไม้มากมายเช่นทุกวันนี้ มลภาวะเป็นพิษก็จะไม่ทำลายชีวิตผู้คน แต่เป็นเพราะมนุษย์ลำเอียงเข้าหนตนเองคิดแต่ว่าความสุขเฉพาะตัวซึ่งถือว่าเป็นการเห็นแก่ตัว เพราะฉะนั้น ความเที่ยงตรง จึงไม่มี สรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวของมนุษย์จึงไม่อาจเจริญขึ้นมาได้ ต้นไม้ดูดสารคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการขจัดมลพิษ แต่มนุษย์กรุงเทพฯ ทำลายต้นไม้ เพราะฉะนั้น มลพิษจึงไม่มีที่ไปจึงกลายเป็นภัยต่อคนกรุงเทพฯ
เหตุที่จิตใจของคนไม่ตรงต่อฟ้าดินเพราะเขาขาดการเรียนรู้จากฟ้าดินมิได้สังเกตุจากธรรมชาติ เพราะฉะนั้น จึงปฏิบัติผิดเพี้ยนไปจากความเที่ยงตรงของธรรมชาติ ""จิตใจของเขาจึงหันเหห่างไปจากหลักของ ทางสายกลาง""" จิตใจของคนจึงปฏิบัติผิดต่อกฏเกณฑ์ของฟ้าดินและกลายเป็นผู้ขัดขวางพยายามเอาชนะธรรมชาติคือ ฟ้าดิน สรรพสิ่งในโลกนี้จึงแปรเปลี่ยนเป็นภัยอันตรายต่อมนุษย์โดยที่มนุษย์ไม่รู้ตัว มนุษย์พยายามเอาชนะธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปมิได้
สิ่งที่มนุษย์ควรเอาชนะอย่างยิ่งคือ จิตใจของตนเองที่ผิดเพี้ยนไปจากกฏเกณฑ์ของธรรมชาติต่างหาก เมื่อยิ่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์มากขึ้นเพียงใด มนุษย์ยิ่งพ้นไปจากกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ หรือฟ้าดินมากขึ้นเพียงนั้น มนุษย์จึงพ้นไปจากทางสายกลางซึ่งเป็นกฏเกณฑ์สำคัญของฟ้าดิน เพราะฉะนั้น การครงอชีวิตของมนุษย์จึงประสบแต่ความวิบัติไปสู้อบายภูมิในที่สุด
ความเจริญทางด้านวิทธยาศาสตร์ไม่อาจเข้าถึงความเร้นลับของธรรมชาติได้ ภัยพิบัติอันเกิดจากธรรมชาติ มนุษย์ไม่เคยเอาชนะได้เลย ไม่ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปถึงไหนก็ตาม และที่น่าประหลาดเป็นที่สุด วิทยาการทางวิทธยาศาสตร์ก้าวล้ำหน้าไปในอวกาศ แต่ไม่มีวิทยาการใดเลยที่จักทำให้มนุษย์รู้จักตนเองและเอาชนะกิเลสนานาประการของตนเองได้ เมื่อจิตใจของมนุษย์ห่อหุ้มด้วยกิเลสร้อยแปด เขาจึงพ้นไปจากกฏเกณฑ์ของฟ้าดิน คือ ทางสายกลาง อันแท้จริง เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงไม่อาจสร้างความเจริญอย่างธรรมชาติได้ เขาสร้างได้แต่ความเจริญอันจอมปลอมและทำลายตัวเองโดยแท้จริง
มนุษย์หลงใหลติดอยู่กับความเจริญจอมปลอม และ ส่งเสริมกันจนห่างหายไปจากกฏเกณฑ์ของฟ้าดิน พลังความชั่วบาปเช่นนี้จึงรวมตัวกันเป็น ""มาร"" มาทำลายล้างมนุษย์ ตราบใดมนุษย์ยังไม่เข้าใจ ""ความเที่ยงตรง""และไม่อาจยังให้สรรพสิ่งเจริญงอกงาม มีแต่ทำลายสรรพสิ่งรอบตัวเอง ในที่สุดก็ถึงกาลเวลาทำลายตนเองนั่นแล