collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: Re: คัมภีร์ทางสายกลาง ปฐมบท (จง -- อยง ) เที่ยงตรง -- สัจธรรม  (อ่าน 32421 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        ในที่ลับตาคนมักง่ายต่อการกระทำบาปเวรกรรมเพราะจิตของคนธรรมดาย่อมคิดว่าไม่มีใครรู้เห้นเป็นพยานและโฆษนาบาปกรรมของตนเอง  หารู้ไม่ว่า การกระทำทั้งปวงมีผู้รู้เห็นจดจำเอาไว้อย่างไม่ลืมเลือนคือ ""ตัวเราเอง"" และการสั่งสมเอาไว้ในจิตใต้สำนึก สักวันหนึ่งย่อมสำแดงออกมาโดยไม่รู้ตัว
       ท่านขงจื๊อ จึงกล่าวเอาไว้ว่า""สิ่งใดก็ตามที่อยู่ในที่เร้นลับเท่าไร ก้ยิ่งค้นหาได้ง่ายเท่านั้น สิ่งใดยิ่งละเอียดก็ยิ่งประจักษ์ได้ง่าย"" เพราะการซ่อนตัวอยู่ในที่เร้นลับย่อมจูงใจให้ผู้คนยิ่งระดมค้นหาเพราะฉะนั้นจึงค้นหาได้ง่ายนัก ตัวอย่างเช่น โจรคนหนึ่งหลบหนีเจ้าหน้าที่ตำรวจ หากเข้าไปในที่เร้นลับย่อมเป็นเป้าสายตาคนแต่ถ้าเขาซ่อนตัวอยู่ในที่เปิดเผยเช่นในกรุงเทพฯ ซึ่งมีแต่คนแปลกหน้า ตำรวจย่อมค้นหาได้ยากเย็นนัก แต่ในชนบทความแปลกหน้ามิใช่ธรรมดาย่อมเป้นที่สนใจ
      ถ้าเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับกำแพงสูงใหญ่ สีขาว แต่มีสีดำเพียงจุดเล็กนิดเดียว  เวลาผู้คนยืนมองกำแพงนี้จะพบจุดดำนิดเดียวนั้นก่อนอื่น การกระทำของมนูษย์ก็เช่นเดียวกัน ความผิดบาปนิดเดียวย่อมอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปเพราะจิตที่มีความชั่วนั้นตกอยู่ในสถาวะมืด ระหว่างสีดำกับสีขาวคนย่อมมองเห็นสีดำได้เร็วกว่า
     และเพราะเหตุใดผู้คนชอบเห็นแต่สิ่งที่ไม่ดีของคนอื่นเล่า เพราะการเวียนว่ายของมนุษย์ต่างได้สร้างบาปกรรมเอาไว้ในจิตใต้สำนึกเอาไว้มากมายจนกลายเป็นพลังที่สามารถสื่อถึงสิ่งที่ไม่ดีได้เร็วและง่ายกว่าสิ่งดี การกระทำที่ไม่ดีย่อมเป็นไปตามกระแสความดึงดูดของโลกเพราะฉะนั้นจึงกระทำได้อย่างรวดเร็ว  แต่การกระทำความดีย่อมเป็นสิ่งที่ยากลำบากเพราะเป็นการฝึกกระแสของโลก และความชั่วที่แฝงไว้ในจิตใจของตนเอง คนจึงมองไม่เห็นความดีของคนอื่นได้ง่าย ๆ เพราะความดีเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นพลังบวก เบา และว่างเปล่า ยิ่งเป็นคนดีแท้ปราษจากรูปลักษณ์แล้วยิ่งหาคนเห็นได้ยากนัก ดังนั้นผู้คนที่ยังต้องการคำสรรเสริญจึงพยายามโฆษนาความดีของตนเอง
      การกระทำ ""ความดี"" และ ""ความชั่ว"" ที่ยังติดอยู่ในรูปลักษณ์ย่อมกลายเป็นสิ่งที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานหรือจิตใต้สำนึกนั่นเอง เพราะฉะนั้นภาวะจิตที่เอนเอียงไปข้างหนึ่งข้างใดจึงเป้นเรื่องที่พ้นไปจาก ""ทางสายกลาง"" พลานุภาพแห่งการกระทำนั้นจึงมิได้แปล่งประกายออกมาตามธรรมญาณของตนเอง
     ปุถุชนทำความดีต้องการเสียงสรรเสริญเยินยอ เมื่อไม่ได้ตามที่ตนเองปรารถนาจึงเกิดความทุกข์และท้อถอยต่อการกระทำความดีนั้น แต่ผู้ที่มีสภาวะจิตอยู่ในหนทางสายกลาง ย่อมกระทำไปตามหน้าที่แห่งธรรมญาณเพราะไม่ยึดติดในรูปลักษณ์และผลประโยชน์ตอบแทนทั้งปวง
     การกระทำความดีของบุคคลที่สภาวะจิตอยู่ในทางสายกลางจึงกระทำได้ต่อเนื่องและยาวนาน ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมิได้หวังผลแต่ประการใด มีความต้องการเพียงสถานเดียวเท่านั้นคือ ความสุขของผู้อื่น แม้ตนเองจักทุกข์ยากอย่างไรก็ไม่เคยต้ดพ้อต่อว่าและน้อยใจ เมื่อกระทำแล้วจึงปล่อยวางทั้งการกระทำและผลแห่งการกระทำบุคคลเหล่านี้จึงไม่ต้องทุกข์ แม้ผลแห่งการทำความดีจะได้รับผลตอบแทนในทางร้ายก็ตามที
     แต่ปุถุชนที่ยังติดยึดอยู่ในความดีและความชั่วจึงห่วงใยกังวลว่า กระทำความดีแล้วไม่ได้รับผลตอบแทน และยิ่งได้รับสิ่งเลวร้ายสนองตอบยิ่งทุกข์หนักยิ่งขึ้นและกลายเป็นคนเคียดแค้นชิงชังไป คนที่กระทำความดีติดอยู่ในความดีย่อมได้รับผลเพียงจำกัดไว้แค่จิตใจที่ต้องการเท่านั้น แต่คนที่กระทำความดีแล้วปล่อยวาง อานุภาพแห่งความดีย่อมแผ่กว้างไพศาลและผลที่ได้รับย่องยิ่งใหญ่สุดประมาณ ""เหตุไฉนจึงเป็นเช่นนี้""  ""จิตใจแห่งทางสายกลางย่อมว่างเปล่าสามารถบรรจุทุกสิ่งอย่างได้ไม่จำกัดจำนวนไงล่ะ"" เพราะฉะนั้นที่พระพุทธองค์มีพระวจนะว่า ""ยิ่งอยากได้สิ่งใด ย่อมไม่ได้สิ่งนั้น"" ข้อความนี้เป็นความจริงแท้เพราะยิ่งแสวงหายิ่งไม่ได้เพราะใจที่มีแต่ความละโมบย่อมทำให้เกิดความคับแค้นไม่อาจบรรจุสิ่งใดได้เลย ""คนทำความดีโดยหวังผลจึงมักไม่ได้รับผลดี"" แต่ทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทนในตัวความดีนั้นมีคุณค่าสามารถบรรจุลงไว้ในธรรมญาณของตนได้โดยไม่มีขีดจำกัด แม้กระทำความดีในที่ลับตาของใครก็ตาม ความดีนั้นย่อมไม่รับไปจาก ธรรมญาณ โดยแท้เพราะมันเป็นต้นกำเนิดแห่งความดีที่แท้จริงนั่นแล

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        ผู้บำเพ็ญปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการนั่งสมาธิมักมีความเข้าใจผิดคิดว่า อาการของจิตที่สงบนิ่งนั้นเป็นหนทางสายกลางอันแท้จริงคงามสงบนิ่งแบบสมาธิเป็นการกำหนดหมายบังคับให้สงบนิ่ง มิได้เป็นไปตามธรรมชาติแท้ของธรรมญาณ เพราะฉะนั้นการบังคับจิตด้วยการสะกดจิตก็ดี ด้วยเล่ห์เพทุบายร้อยแปดวิธีที่จะทำให้จิตสงบจึงล้วนเป็นหนทางแห่งการหลง "ด้วยหลงผิดคิดว่าจิตสงบนิ่ง"ความนิ่งในลักษณ์เช่นนี้จึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่ประการใด ฤาษีทั้งปวงจึงสูญเสียทั้งชีวิตและเวลาเพื่อสงบนิ่งและไม่พบหนทางสายกลางอันแท้จริง จึงไม่พ้นไปจากสภาวะแห่งการเวียนว่ายของจิต
       ศาสดาขงจื๊อได้กล่าวเอาไว้ในคัมภีร์แห่งทางสายกลางว่า  สี่ นู่ ไอ เล่อ จือเว่ย ฟา   เว่ย จือ จง    แปลเป็นไทยได้ใจความว่า ""เมื่อจิตสงบนิ่งเป็นหนึ่งเดียวกับฟ้าดิน  ไม่มีอารมณ์ใดมากระทบ สภาวะเช่นนี้จึงเรียกว่า ทางสายกลาง""
     ทางสายกลางเช่นนี้ย่อมมีภาวะที่สามารถเปล่งอานุภาพออกมาได้อย่างเต็มกำลังแห่งธรรมญาณ อันเป็นอานุภาพแห่งปัญญาญาณอันแท้จริงที่มองทะลุไปในหมื่นโลกธาตุได้และทำให้พ้นสภาวะไปจากการเวียนว่ายแม้ภายในจิตของตนเอง  แต่อาการสงบนิ่งแบบสมาธิของฤาษีนั้น แม้มีอิทธิฤทธิ์ ก็เป็นไปในทางหลง เพราะกลายเป็นอารมณ์แห่งความยินดีที่จักสำแดงฤทธิ์ด้วยอานุภาพของจิต มิใช่อานุภาพของธรรมญาณ
      ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ พระเทวทัตผู้บำเพ็ญสำเร็จโลกียฤทธิ์  แม้สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้ แต่ไม่อาจข่มอารมณ์แห่งความมักใหญ่ใฝ่สูง ละโมบอยากเป็นพระศาสดาเสียเอง จึงก่อมหันตกรรมให้แก่ตนเองจนต้องจมอยู่ในอเวจีเป็นแสนกัปน์
      เมื่อมีความสงบนิ่งดั่งฟ้าดิน นั่นหมายความว่าอาการแห่งจิตมิได้เกิดขึ้นอีกแต่เป็นความสงบนิ่งตามธรรมชาติของธรรมญาณ ฟ้าดินมีความเที่ยงตรงทำหน้าที่โดยสม่ำเสมอ มิได้ผิดเพี้ยนใด ๆ เลย เพราะฉะนั้น ความเป็นไปของสรรพชีวิตในโลกนี้จึงเป็นไปด้วยความสงบสุข แต่จิตมนุษย์หาความเที่ยงตรงสม่ำเสมอยากนัก เพราะจักแปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์ที่ผ่านจากอายตนะหกมากระทบและเคลื่อนไหวไปตามกระแสของอารมณ์ แม้การสงบนิ่งด้วยการกำหนดหมายก็เป็นอารมณ์ชนิดหนึ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า"ไม่สุข ไม่ทุกข์"" อารมณ์เช่นนี้ย่อมพาให้มืดบอดทางปัญญา เพราะมิได้ใช้อานุภาพแห่งปัญญาญาณของตนเองได้เลย เมื่อมีอารมณ์หลงผิดครอบงำบรรดาผู้มีฤทธิ์ด้วฌานสมาบัติจึงสำแดงฤทธิ์ไปในทางทำลายเพื่อสนองอารมณ์แห่งตนสถานเดียว
      ความไม่ทุกข์ไม่สุข ดูเหมือนเป็นอารมณ์แห่งการสงบนิ่งที่ปราศจากความเคลื่อนไหว เพราะเหตุนี้จึงไม่อาจทำการงานที่เป็นประโยชน์ต่อใครได้ แม้แต่ตนเองก็ไม่สามารถช่วยได้ แต่ความสงบนิ่งดั่งฟ้าดินเป็นความเคลื่อนไหวที่ปราศจากแรงผลักดันของอารมณ์ใด ๆ เพราะฉะนั้นจึงกระทำไปตามหน้าที่อันไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
     พระพุทธองค์อยู่ในทางสายกลางตลอดเวลาแห่งลมหายใจเข้าออก เพราะฉะนั้นอารมณ์ใด ๆ เข้ามาแผ้วพาล พระองค์ก็มิได้ไหวไปตามอารมณ์นั้น แต่ทรงใช้พุทธิปัญญาอันสูงส่งฉุดช่วยเวไนยสัตว์ทั้งปวงได้ สมัยหนึ่งเมื่อพวกเดียรถีร์ให้นางจิญจมาณวิกาใส่ร้ายพระพุทธองค์ด้วยวิธีการอันแยบยลดังนี้ """ตอนเช้า บรรดาผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเดินทางไปเฝ้า ณ วัดพระเชตวัน นางจิญจมาณวิกาก็ทำทีเดินกลับบ้าน ตรั้นตกเย็น บรรดาพุทธศาสนิกชนเดินทางกลับบ้าน นางจิญจมาณวิกาก็เดินทางสวนกลับเข้าไปในวัดพระเชตวัน กระทำเช่นนี้ติดต่อกันหลายสัปดาห์และเป็นที่น่าสังเกตุว่า ท้องของนางก็โตขึ้นทุกวัน เมื่อมีคนถามไถ่นางก็ตอบว่าไปหาพระพุทธองค์ ครั้นท้องโตเต็มที่แล้ว วันหนึ่งท่ามกลางพุทธศาสนิกชนที่กำลังฟังเทศนาของพระพุทธเจ้า นางจิญจมาณวิกาก็ลุกขึ้นสำแดงวาจาอันหยาบหยามพระพุทธองค์ว่าดีแต่เทศนาสั่งสอนคนทั้งหลาย ทารกในครรภ์ของนางไม่รับผิดชอบหรือไร ท่ามกลางพุทธบริษัทพระพุทธองค์มิได้หวั่นไหวเพียงแต่ตรัสว่า""เรื่องของน้องหญิงมีแต่เรากับน้องหญิงเท่านั้นที่รู้ความเป็นจริง"" นางจิญจมาณวิกาจึงสำแดงอาการโมโหโกรธาเต้นเร่า ๆ จนกระทั่งไม้ที่ผูกเอาไว้ที่ท้องเกิดหลุดออกมาเรื่องจึงแดงและถูกประชาทัณฑ์จมดินตรงนั้นเอง"""
       เมื่อพระพุทธองค์ทรงดำรงอยู่ในธรรมญาณเพราะฉะนั้นเมื่อมีอารมณ์ใดมากระทบพระองค์จึงมิได้ตอบโต้แก้ข้อกล่าวหาใด ๆ เลยดุจดังเช่นฟ้าดิน แม้มนุษย์แหงนหน้าขึ้นด่าฟ้า ฟ้าก็ไม่เคยมีปฏิกิริยาตอบโต้ใด ๆ เลยและนั่นเป็นอานุภาพแห่งความสงบนิ่งอันแท้จริง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        กาย เป็นรูปธรรมเพราะเหตุนี้จึงสามารถกำหนดให้หยุดนิ่งได้ไม่ยากนัก แต่ กาย กับ จิต มักเป็นเรื่องที่ตรงกันข้าม พอกายนิ่ง จิตจะวิ่ง ถ้ากายวิ่ง จิตย่อมนิ่ง เมื่อมีภาวะตรงกันข้ามเช่นนี้ เวลาทำ ""จิตนิ่ง"" กายจึงต้องเคลื่อนไหวแม้การกำหนดด้วยลมหายใจ การนับตัวเลขย่อมเป็นความเคลื่อนไหวของกายทั้งสิ้น อาการเคลื่อนไหวของจิตจึงเป็นเรื่องยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้ เพราะโดยพลังงานของจิตย่อมไม่อยู่นิ่งอยู่แล้ว ยิ่งมีปัจจัยมาปรุงแต่ง จิตย่อมเคลื่อนไหวได้รวดเร็วจนยากที่จะจับให้อยู่นิ่งได้
       ปัจจัยปรุงแต่งมาจากใหน สิ่งที่ไหลเลื่อนมาจากอายตนะหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เข้าไปสู่การปรุงแต่งเป็นอายตนะภายใน  ตาจึงเห็นรูป   หูจึงได้ยินเสียง   จมูกจึงได้รับกลิ่น   ลิ้นจึงได้สร้างรส   กายจึงได้ผัสสะ   ใจจึงเกิดเป็นอารมณ์
       ทั้งหมดนี้จึงไปปรุงแต่งกับจิตจึงก่อให้เกิด ดี และ ชั่ว เมื่อยึดถือเอาไว้จึงกลายเป็น ""ชอบ"" และ ""ชัง"" จิตจึงแสดงออกตามสิ่งที่ตนเองปรุงแต่งถ้าชอบก็ดีใจ ถ้าไม่ชอบก็เสียใจ  กายจึงแสดงออกตามจิต รู้สึก ดีใจก็หัวเราะ เสียใจถึงร้องไห้ อาการอย่างนี้จึงเป็นการเคลื่อนไหวของจิต และเมื่อมีกายอยู่ ปัจจัยปรุงแต่งก็ย่อมมีเข้ามาตามอายตนะสม่ำเสมอเพราะฉะนั้น จิตจึงวิ่งรับตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จิตจึงได้รับการเปรียบเทียบดั่งลิง การกำกับให้ลิงอยู่นิ่งยากเย็นฉันใด การกำกับจิตให้อยู่นิ่งก็ยากเย็นฉันนั้น
      เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังเป็นสภาวแห่ง ""จิต"" อยู่แล้วย่อมมิได้หยุดนิ่งเลย การภาวนาและหาหนทางกำกับด้วกลอุบายใด ๆ เพื่อให้ ""จิตนิ่ง""จึงเป็นการหลอกลวงจิตโดยแท้จริง และมิได้เป็นหนทางแห่งการพ้นการเวียนว่ายแต่ประการใด
      ถ้ารูปแตกกายทำลายลงไป อายตนะหกหมดไป ยังจะมีอะไรปรุงแต่งหรือไม่.....แม้รูปแตกไปแล้วแต่สภาวะแห่งจิตก็ยังเกาะกุมไปด้วย รูป รส กลิ่น เสัยง ผัสสะ และอารมณ์  เหล่านี้จึงกลายเป็นแรงผลักให้ ""จิตวิ่ง"" ไปสู่วิบากกรรมที่ตนเองสร้างเอาไว้
      ตังอย่างที่แสดงให้เราเห็นได้ชัดแจ้ง.....ชายคนหนึ่งอยู่จังหวัดบุรีรัมย์มีนิสัยชอบกินเต่า เขาจึงจับเต่าในละแวกบ้านเอามาผ่าอกและยำเนื้อเต่ากินกับเหล้าด้วยความเอร็ดอร่อย  กินจนกระดองเต่าสูงเป็นภูเขาขนาดย่อมและเต่าหมดไปจากหมู่บ้าน  วันหนึ่งชายคนนี้ได้เดินทางไปหาเต่ายังต่างหมู่บ้านและได้เต่าตัวใหญ่มาตัวหนึ่งแสนดีใจเอามีดผ่าอกเต่าและต้มยำกินด้วยความดีอกดีใจนัก แต่พอกินเต่าตัวนี้หมดเท่านั้น เขาก็ล้มป่วยด้วยโรคประหลาด นอนไม่มีแรงแม้แต่จะลุกขึ้นเอง แต่ตอนกลางคืนกลับสามารถคลานอยู่ในห้องได้ วันหนึ่งหายไปจากที่นอนป่วย ผู้คนในบ้านตามหาจนทั่วจึงไปพบที่ใต้ถุนบ้าน นอนหมอบดังเต่าอยู่ในแอ่งน้ำ เมื่อนำขึ้นมาล้างทำความสะอาดแล้ว ชายคนนี้ก็นอนแบบหมดแรง แต่พอตกดึกในคืนวันนั้นเอง ชายคนนี้ได้เอามีดที่เคยผ่าอกเต่าเป็นประจำมาผ่าอกตนเองตายอย่างเอน็จอนาถนัก และที่แปลกประหลาดก็คือ มีดที่ผ่าอกเต่านี้ ภรรยาเอาไปซ่อนไว้อย่างดีแต่ชายคนนี้กลับหาพบ เมื่อเขาทำลายตัวเองพ้นไปจากมนุษย์แล้ว จิต  ของเขาซึ่งยังคงยินดีในรสชาติของเนื้อเต่าย่อมปรุงแต่งให้ตัวเองไปเกิดเป็นเต่า อันเป็นวิบากกรรมที่ได้สร้างเอาไว้ในจิตนั่นเอง
     การสำรวม กาย วาจา ใจ ที่พระพุทธองค์ทรงสอนเอาไว้ก็เพื่อให้พ้นไปจากการปรุงแต่งของจิต นั่นหมายถึง การตัดการไหลเลื่อนของอายตนะทั้งภายในและภายนอก
     เมื่อมีปัจจัยมากระทบอายตนะ ปัญญาต้องรู้เท่าทันและไม่ยึดติดต่อปัจจัยเหล่านี้ หากไม่สามารถตัดได้ขาดย่อมเป็นพลังก่อให้เกิดอาการปรุงแต่งและเก็บเอาไว้ภายในจิตของตนเอง
     การสั่งสมภาวะทั้งดีและชั่วเอาไว้ภายในจิตของตนเองจึงก่อให้เกิดอาการเคลื่อนไหวของจิต พ้นไปจากหนทางสายกลาง  การพ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่งจึงมิได้อยู่ที่การบังคับมิได้มันไหลเลื่อนเข้ามาตามช่ิงทางของอายตนะหก แต่ปล่อยให้ไหลเข้ามาแต่มิได้ยึดติดในสิ่งเหล่านี้ อาการปรุงแต่งย่อมหมดไป และสภาวะเช่นนี้จึงเป็นเรื่องของ"ธรรมญาณ"อันเป็นทางสายกลางโดยแท้จริง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

     ปุถุชนยึดติดกับตนเอง เขาจึงเรียนรู้แต่เพียงรูปกายของตนเองและยึดถือเป้นตัวตนอันแท้จริง ที่ต้องหวงแหนรักษาเอไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เขาจึงเกรงกลัวต่อการแตกแยกทำลายขันธ์  ความยึดติดจึงก่อให้เกิดความรู้สึกสืบต่อ แม้ว่ากายธาตุนั้นจะแตกดับตลอดเวลาก้หารู้ไม่ เซลล์เก่าตายไป ก่อเกิดเซลล์ใหม่ขึ้นมาด้วยเหตุนี้ร่างกายผิวพรรณของคนจึงแปรเปลี่ยน เหี่ยวย่นเพราะการเกิด - ดับ ของเซลล์ในร่างกาย ถ้าเอารูปของเราตั้งแต่ 3 ขวบ มาเรียงต่อกันจนถึงอายุ 60 ปี จะเห็นความแตกต่างของร่างกายชัดเจนมาก เด็กน้อยน่ารักคนนั้นได้ตายจากไปตั้งนานแล้วเหลือเพียงคนชราคนหนึ่งซึ่งไม่มีอะไรน่ารักอีกต่อไป แต่ที่รู้ว่าเป็นตัวเราเพราะอาการสืบต่อและยึดถือว่าเป็นตนเอง  สภาพจิตของคนก็เช่นเดียวกันเกิด-ดับ ไม่มีที่สิ้นสุด
    เมื่อจิตหนึ่งเกิดขึ้นและดับลงไปย่อมทิ้งเอาไว้เป็น ความทรงจำสืบต่อไปจนกลายเป็นวิบากที่สะสมเอาไว้ในธรรมญาณ กรรมดีกรรมชั่วจึงเป็นแรงส่งให้ธรรมญาณลงไปหมุนเวียนไม่มีที่สิ้นสุดตราบใดที่ยังไม่รู้สภาวะอันแท้จริงแห่งธรรมญาณของตนเอง ตราบนั้นก็สร้างสมวิบากเอาไว้เรื่อยไป ชาติแล้วชาตเล่า  จิตที่หวี่ยงไปตามกระแสพลังดี-ชั่วจึงพ้นไปจากทางสายกลาง
    ทำไมบางคนชอบกระทำชั่วแล้วมีความสุข    แต่บางคนชอบกระทำความดี แล้วมีความสุข  ที่เป็นดั่งนี้เพราะการสั่งสมแห่งวิบากที่ตนเองสร้างเอาไว้ด้วยความเคยชินจนแลไม่เห็นว่านั่นเป็นความชั่วที่ไม่สมควรกระทำ  คนที่ชอบเชือดไก่ เขาย่อมมีความสุขที่จักได้กินเนื้อไก่ และไม่รู้เลยว่านั่นเป็นการประกอบกรรมอันชั่วที่ตนเองจักได้รับผลของการตอบแทน จิตใจเช่นนี้ย่อมเบี่ยงเบนไปจากความเที่ยงตรงของฟ้าดินซึ่งมีแต่ความเมตตาธรรม ต้องหล่อเลี้ยงทุกชีวิตให้เจริญเติบโต
    มนุษย์ที่มีใจเบี่ยงเบนไปจากความเที่ยงตรงของฟ้าดินย่อมเสวยทุกข์เพราะเขาไม่อาจกลมกลืนกับสรรพชีวิตใด ๆ ได้เลย ความเที่ยงตรงของฟ้าดินทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในจักรวาลและสรรพชีวิตสามารถเจริญงอกงามขึ้นมาได้ เพราะฝนตกต้องตามฤดูและเวียนไปตามเวลา  ความกลมกลืนของสรรพชีวิตย่อมมีจุดร่วม และจุดร่วมสำคัญคือความเที่ยงตรงซึ่งเป็น ""ทางสายกลาง"" เพราะฉะนั้น ถ้าเลียนแบบฟ้าดินและวจักเห็นเป็นความจริงอันสัจจะว่า ฟ้าดินรับได้ทั้งดี-ชั่ว
   ไม่ว่าจะเป็นคนชั่วหรือสิ่งเลวทรามอย่างไรก็อยู่ภายใต้ฟ้าเดียวกัน  ดินรองรับทุกสิ่งอย่างแม้เป็นความเน่าเหม็นแห่งซากศพก็แปรเปลี่ยนเป็นปุ๋ยหล่อเลี้ยงธัญญพืชให้เจริญเติบโตขึ้นมาได้ แต่จิตใจของคนยอมรับในสิ่งที่ตัวเองชอบและผลักในสิ่งที่ตนเองไม่ปรารถนา เพราะเหตุนี่จึงเกิดอาการเกิด-ดับแห่งจิตตลอดเวลา จิตใจเช่นนี้จึงเป็นการเวียนว่ายไม่มีที่สิ้นสุดอาการเวียนว่ายจึงเกิดพลังซึ่งขับส่งให้ธรรมญาณเคลื่อนไปตามแรงปะจุที่มีอยู่ ผู่ที่สามารถแปรเปลี่ยนจิตใจของตนเองให้เทียบเท่าฟ้าดินได้ย่อมเป็นการตัดวงจรแห่งพลังบวก-ลบออกไปได้
    ทางสายกลางจึงเป็นหนทางแห่งฟ้าดิน  เพราะฉะนั้นทางสายกลางจึงมิได้เป็นเรื่องรังเกียจสิ่งใดหรืออยู่เฉย ๆ ไม่กระทำอะไรเลย  ทางสายกลาง เป็นเรื่องของความเคลื่อนไหวสามารถรับทุกสิ่งอย่างไม่ว่าดี-เลว เพียงแต่ไม่ยึดติดในทุกสิ่งและไม่นำมาปรุงแต่ง  ในสมัยพระพุทธกาล พระพุทธองค์เสด็จออกบรรพชาเปลี่ยนสภาพจากกษัตริย์มาเป็นภิกษุหรือผู้ขอเฉกเช่น ""ขอทาน""สมัยนั้นชนในชมพูทวีปยังแบ่งเป็น 4 วรรณะ  กษัตริย์  พราหมณ์  ไวทยะ  ศูทร  สี่วรรณะหากสมรสข้ามวรรณะกัน บุตรที่เกิดมาย่อมเป็นจัณฑาลเป็นชนชั้นต่ำอันเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมในยุคนั้น พระพุทธองค์ทรงต้องการละลายวรรณะเหล่านี้ให้กลายเป็นมนุษย์ที่กลมกลืนกัน คนทุกวรรณะสามารถมาบวชอยู่ในวรรณะแห่งผู้บำเพ็ญได้เช่นเดียวกัน
     บรรดาผู้ที่อยู่ในวรรณะนักบวชย่อมมีแต่ความสุขเพราะกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน แม้โจรไพรอย่างองคุลีมาลย์ก็สามารถเข้าบวชอยู่ในอารามเดัยวกับพระพุทธองค์ได้ ในขณะนั้นจิตใจกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันโดยยึดเอาสัจธรรมแห่งฟ้าดินเป็นบรรทัดฐานในวงการพระศาสนาขณะนั้นเป็นวงการสุขสงบ ตัวอย่างเช่นนี้จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นสัจธรรมว่าหากเรารับได้ทุกอย่างโดยมิได้ยติดยึดแบ่งฝักฝ่าย จิตย่อมสงบสุขโดยแท้จริง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

       ความโลภซึ่งเป็นอารมณ์อย่างหนึ่งย่อมเป็นแรงผลักดันให้จิตปรุงแต่งออกไปจนกลายเป็นอาการของ""ความคิดฟุ้งซ่าน"" แห่งจิต ถ้ายกตัวอย่างของหญิงคนหนึ่งซึ่งชอบซื้อสลากกินแบ่งของรัฐบาลเพราะปรารถนาความร่ำรวย ก่อนซื้อสลากกินแบ่งเธอได้ติดสินบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาไว้แล้ว ขณะที่เธอกำลังซื้อสลากกินแบ่งจิตใจย่อมเกิดความเชื่อมั่นว่า รางวัลที่หนึ่งย่อมเป็นของเธอแน่นอนเมื่อจิตคิดว่าตนเองได้เงินตราเป็นหลายล้านบาทย่อมคิดต่อไปว่าจะใช้เงินตรานั้นอย่างไร เธอย่อมคิดว่าอยากได้อะไรบ้างเธอจะซื้อทุกอย่างเช่น ตู้เย็น รถยนต์ สร้อยเพชร ทีวี รวมตลอดไปถึงสร้างบ้านและไปเที่ยวต่างประเทศ ความคิดเช่นนี้เรียกว่า""ฟุ้งซ่าน""และสภาวะแห่งจิตพ้นไปจาก""ทางสายกลาง"" จิตย่อมไม่อยู่นิ่งวิ่งไปมาระหว่างที่ตนเองปรารถนาและไม่ปรารถนา
       อาการจิตฟุ้งซ่านย่อมอาศัย สัญญาขันธ์เป็นฐานแห่งความคิดเพราะเธอต้องจดจำเอาเยี่ยงอย่างจากผู้มีเงินทั้งหลายเขาประพฤติหรือมีกันเป็นแบบอย่างที่ตนเองจักประพฤติด้วยเพื่อยกฐานะของตนเองให้เป็นผู้ร่ำรวยบ้าง
ถ้าตลอดชีวิตของหญิงผู้นี้ไม่รู้จักเพชรว่ามีค่าแค่ไหน และมีความหมายต่อคนทั้งหลายอย่างไร ครั้นเธอเห็นเพชรย่อมเห็นเป็นก้อนกรวดธรรมดาก้อนหนึ่งเท่านั้น หาค่าและความสนใจมิได้เลย การปรุงแต่งจิตจึงไปตามสํญญาขันธ์โดยแท้
      ผู้ที่ติดยึดในความจำหรือสัญญาย่อมฟุ้งซ่านได้ง่าย เพราะสามารถคิดได้ทั้งรูปธรรมนามธรรม บางคนปรารถนาอยากเป็นนักบินแต่ไม่สมปรารถนา แต่กลับจดจำเอาความปรารถนานั้นไว้ไม่ลบเลือน ทำให้จิตยึดแน่นในความต้องการเช่นนั้น คนเหล่านี้จึงเกิดอาการเพื้อและเสียสติได้ง่าย ๆ
    อาการปรุงแต่งแห่งจิตเหวี่ยงไปได้ทั้งสองทางคือ ดี-ชั่ว ถ้าเป็นการปรุงแต่งไปในทางที่ดีย่อมสร้างสรรค์สิ่งทั้งปวงขึ้นมาเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งหลายแต่ถ้าเป็นไปในทางที่ชั่วย่อมทำลายทุกสิ่งอย่างรวมทั้งตนเองด้วย แต่ไม่ว่าจิตจะวิ่งไปปรุงแต่งดี-ชั่วล้วนพ้นไปจากทางสายกลางทั้งสิ้นเพราะฉะนั้นสถาวะแห่งจิตจึงไม่แตกต่างกันมากนัก  คนที่เรียนเก่งเป็นอัจฉริยะจึงบ้า ๆ บอ ๆ ไม่เป็นปกติจึงเหมือนคนบ้าประเภทหนึ่ง
     สิ่งรอบตัวของเราประกอบกับการวิ่งของจิตที่รับรู้ทุกอย่างตามอายตนะทั้งหกเป็นได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นอาการของจิตจึงเป็นไปตามสภาพภายนอกที่เป็นสิ่งเร้า เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของผู้คนที่ไม่รู้ทางสายกลาง และปฏิบัติมิได้จึงตกเป็นเหยื่อของสิ่งแวดล้อม พระพุทธองค์จึงตรัสว่า อาตนะทั้งหกเป็น ""มหาโจรทั้งหก""
   สิ่งที่ไหลเลื่อนเข้ามาทางอายตนะทั้งหกไม่ว่าจะเป็น ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และจิต ล้วนแต่มีผลทำให้สภาวะแห่งธรรมญาณหายไปกลายเป็น""จิตดี-ชั่ว ""เสมอ เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงให้จับโจรทั้งหกประหารเสียให้สิ้น ความหมายก็คือ ธรรมญาณต้องไม่ตอดยึดไปอายตนะทั้งหก แม้ได้รับสิ่งเร้าเข้ามาก็สามารถปล่อยวางมิให้มีการปรุงแต่งสืบไป เมื่อธรรมญาณปล่อยวางได้สภาวะแห่งจิตย่อมหายไปเพราะมิได้ขยับจึงไม่เกิดจิต ปุถุชนไม่อาจจับโจรทั้งหกได้เพราะมองไม่เห็นว่าเป็น """มหาโจร"" จึงกำจัดมิได้  ผู้บำเพ็ญและรู้หนทางสายกลางย่อมมีปัญญาพิจารณาเห็น ""มหาโจรทั้งหก"" และสามารถที่จะกำหราบหรือปราบด้วยวืธีแห่งทางสายกลางนั่นเอง
    พระพุทธองค์ทรงแนะวิธีอันชอบไว้ในการกำหราบมหาโจรทั้งหก ""เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น - อย่านำมาปรุงแต่ง  เมื่อได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิิน -- อย่านำมาแต่งเติม  เมื่อได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น -- อย่าคิดว่าหอมหรือเหม็น  เมื่อได้รับรสก็สักแต่ว่าเป็นรส -- อย่าเปรียบว่ารสดีแรือเลว  เมื่อได้รับการสัมผัสก็สักแต่ว่าเป็นผัสสะ -- อย่าคิดถึงความนุ่มนวลน่าใคร่
    เมื่อคิดก็สักแต่ว่าคิดและรู้ความเคลื่อนไหว -- อย่าปล่อยให้เลื่อนลอยต่อไป การหยุดคิดเป็นการปล่อยโดยสิ้นเชิง การรู้ตัวพร้อมถึงการเคลื่อนไหวแห่งอายตนะหกย่อมเป็นหนทางมให้รู้เท่าทันต่อการปรุงแต่ง ผู้รู้ทางสายกลางย่อมพ้นไปจากมหาโจรทั้งหกได้หรือ 
    ความรู้แห่งทางสายกลาง ยังมิได้เป็นหลักประกันว่าพ้นไปจากอำนาจของมหาโจรทั้งหก เพราะอาจตกสู่อุ้งมือโจรตัวใดตัวหนึ่งได้โดยง่านเพราะมีความรู้เป็นเพียง สัญญาขันธ์อย่างหนึ่ง ซึ่งมีสภาวะแห่งอนิจจัง คือความไม่เที่ยง เพราะเกิดดับได้ตลอดเวลา  ยังมิได้พานพบมหาโจร ย่อมคุยได้ว่า กำหราบได้ แต่พอโจรปรากฏขึ้นในจิตของตนเองกลับไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น ""ความรู้แม้ทางสายกลางก็ยังตกอยู่ในสภาวะท่วมหัว เอาตัวไม่รอดเช่นเดียวกัน""" มีแต่ผู้ที่มี ""ความเป็น"" เท่านั้นจึงพ้นไปจาก มหาโจรทั้งหก เพราะไม่มีจิตปรุงแต่งอีกแล้ว นั่นแล

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

       ผู้ที่ไม่เข้าใจในหลักของ ""ทางสายกลาง"" มักคิดว่า การวางเฉยคือไม่ยุ่งเกี่ยวกับสรรพสิ่งรอบตัวประเภทที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาวความเข้าใจเช่นนี้ถือว่า ""ผิด"" เพราะเป็นการวางเฉยของคนโง่ไร้สติปัญญา
      ในสมัยโบราณมีขุนนางผู้ซื่อสัตย์ท่านหนึ่งเกษียณจากราชการแล้วก็มาหาที่วิเวกอยู่ในชนบท  ขุนนางท่านผู้นี้มีความเมตตาอารีย์ต่อประชาชนทั่วไป จนเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้าน
     วันหนึ่งมีชายเมาสุราเดินสะเปะสะปะมาถึงบ้านขุนนางท่านผู้นี้แล้วก็ร้องด่าด้วยถ้อยคำอันหยาบช้า กริยาสามหาวนัก แต่ขุนนางท่านผู้นี้ก็วางเฉยเสีย ไม่โต้ตอบและไม่ลงโทษชายขี้เหล้าคนนั้น ต่อมาอีกไม่นานก็มีผุ้มารายงานขุนนางว่า ชายเมาเหล้าคนนั้น ถูกทางการจับไปลงโทษและประหารชีวิตเสียแล้ว ขุนนางท่านผู้นี้ได้ข่าวแล้วก็แสนโศกเศร้าเสียใจนักเฝ้าแต่ตำหนิตัวเองว่า "เราช่างซื่อบื้อนักหนา"" "มิใช่ความผิดของท่านสักหน่อย"ชาวบ้านแ้ย้ง  ""มันเป็นความผิดของเรา หากวันนั้นเราจับชายคนนั้นมาลงโทษสั่งสอนเขาก็คงหลาบจำไม่กระทำผิดจนต้องโทษประหาร""
    การวางเฉยตามหลักของ""ทางสายกลาง"" กับอาการ ""ซื่อบื้อ"" จึงเป็นคนละเรื่อง การวางเฉยมิได้กระทำสิ่งใด แต่ทุกอย่างกระทำไปด้วยสติปัญญาอันแท้จริงของธรรมญาณ และเป็นการกระทำที่ไม่ได้หวังผลประโยชน์แก่ตนเองหรือเพื่ออัตตาตัวตนก็หาไม่  สมัยที่หัวหน้่พราหมณ์มาด่าพระพุทธเจ้าที่หน้ากุฏินั้น  พระพุทธองค์วางเฉยแบบทางสายกลางโดยใช้พระปัญญาอันเลอเลิศฉุดช่วยให้พราหมณ์นั้นพ้นไปจากผิดบาป ด้วยการเตือนสติพราหมณ์ให้รู้ว่าการที่มาด่าว่าตถาคตนั้น พระองค์มิได้รับคำด่านั้นเลยแม้แต่คำดียว  ความหมายคือมิได้นำมาปรุงแต่งให้เกิดอาการคึ้งเคียดตอบก็หามิได้แต่ในขณะเดียวกันพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยความแยบยล ที่จะช่วยพราหมณ์ผู้หลงผิดได้อย่างไรจึงตรัสถามว่า""พราหมณ์ด่าหมดหรือยัง"" "หมดแล้ว" ตอบด้วยอาการหอบเพราะใช้เสียงมาก ""คำด่าของพราหมณ์ตถาคตมิได้รับเอาไว้เลย"" และทรงเปรียบเทียบให้พราหมณ์ได้คิดว่า  ตัวเองรับเอาคำด่าของตนไปแต่เพียงผู้เดียว
     ในครั้งนั้น พราหมณ์จึงได้คิดมีสติเห้นความจริงจึงได้เข้ามาบวชอยู่ในอารามของพระพุทธองค์และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในการต่อมา  อาการวางเฉยแห่งทางสายกลางจึงมีความหมายแตกต่างไปจากการวางเฉยของผู้ไม่เข้าใจทางสายกลาง
     ผู้ไม่เข้าใจทางสายกลางย่อมวางเฉยโดยปราศจากสติปัญญาไม่อาจช่วยตัวเองได้ และยิ่งไม่อาจช่วยผู้อื่นได้ด้วย เพราะฉะนั้นอาการวางเฉยของปุถุชนจึงกลายเป็นอาการ ""ซื่อบื้อ"" นั่นเอง
    การวางเฉยแห่งทางสายกลางนั้นเป็นเรื่องของการกระทำ ที่มิได้กระทำเพื่อประโยชน์แห่งตนเพราะฉะนั้นจึงเป็นอาการของ ""ธรรมญาณ"" ที่มีแต่ความเมตตาเล็งเห็นแต่ความสุขของผู้อื่นเป็นสำคัญ ""ธรรมญาณ"" ที่วางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบได้ย่อมมีอานุภาพในการสร้างสรรค์ปัญญาเพื่อแก้ไขผู้อื่นอย่างแท้จริง แต่คนวางเฉยด้วยอาการของการนับหนึ่งถึงร้อยก็ดีหรือภาวนาคาถาเพื่อกำหนดจิตของตนเองมิให้เกิดอาการตอบโต้นั้นแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับการวางเฉยของธรรมญาณ  เพราะธรรมญาณเดิมมิได้มีความเอนเอียงและผูกพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแต่มิได้ละทิ้งทุกสิ่งอย่าง แต่สามารถใช้สรรพสิ่งก่ให้เกิดประโยชน์ต่อเวไนยฯสัตว์ทั้งปวง
    การวางเฉยตามทางสายกลางนั้นจึงเป็น""สติ"" อันแท้จริงพร้อมที่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลาและความหมายเช่นนี้ คือ ""เคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนไหว"" ถ้าเปรียบเทียบไปแล้วก็อาจหมายถึงกองทหารที่เตรียมพร้อมในที่ตั้งพอได้รับคำสั่งก็สามารถปฏิบัติได้ทันที สภาวะจิตที่อยู่ในทางสายกลางก็เฉกเช่นเดียวกัน ถ้าอยู่ในที่ตั้งแห่งทางสายกลางย่อมพร้อมที่จะปฏิบัติกิจอันถูกต้องได้ แต่ถ้าจิตถูกขังเอาไว้เสียด้วยเลขที่นับ หรือ คาถาที่ภาวนาแล้วไซร์ สภาวะจิตตรงนั้นมิอาจกระทำสิ่งใดได้เลย
     การไม่สนใจต่อสิ่งใด ๆ แล้วบอกว่าเป็นอาการของการวางเฉย นับเป็นการวางเฉยที่ไม่เกิดผลต่อใครทั้งสิ้นรวมทั้งตัวเองด้วยถ้าเปรียบเทียบกับการวางเฉยของฟ้าดินย่อมเห็นได้ว่า ฟ้าดินวางเฉยแต่ได้ทำหน้าที่อันถูกต้องของตนเองตรงตามภาวะของการเวลา คนที่พยายามหนีไปจากสิ่งแวดล้อมแล้วบอกว่าวางเฉยจึงไม่ถูกต้อง แต่คนที่สามารถอยู่กับสิ่งแวดล้อมทั้งปวงได้โยตนเองไม่เข้าไปอยากได้อยากเป็นจึงจะเรียกว่าเป็นการวางเฉยอย่างถูกวิธีของ""ทางสายกลาง"" อันแท้จริง  การวางเฉยเช่นนี้จึงแตกต่างไปจากอาการ ""ซื่อบื้อ"" โดยสิ้นเชิง
     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
 
       การปล่อยวางสรรพสิ่งที่เป็นรูปธรรมย่อมเป็นเรื่องง่าย แต่การปล่อยวางที่เป็นนามธรรม  อันได้แก่ อารมณ์ทั้งแปดหมื่นสี่พันธรรมารมณ์ล้วนเป็นเรื่องยากนัก แม้มนุษย์เรียนรู้การปล่อยวางทุกสิ่งได้ ย่อมเป็นความสุขสงบอันแท้จริง ปุถุชนจึงปล่อยวางด้วยวาจามากกว่าการปล่อยวางด้วยจิต  เมื่อนักการเมืองพูดว่าตัวเองไม่ได้ยึดติคกับตำแหน่ง จึงเป็นการพูดด้วยวาจาเท่านั้น  พอได้รับตำแหน่งใหม่ก็มิได้เอ่ยถึงการปล่อยวางแแต่ประการใด  บางคนปากบอกว่าไม่สนใจตำแหน่ง แต่จิตใจรุ่มร้อนวิ่งหาทางดำรงตำแหน่งนั้นให้ได้ ไม่ว่าจะเสียเงินทองหรือศักดิ์ศรีอย่างไรก็ยอมทำทั้งนั้น เพราะจิตยึดติดอยู่กับตำแหน่ง รัฐมนตรี นักการเมืองจึงเป็นตัวอย่างอันวิเศษที่ทำให้เรารู้ว่า คำพูดปล่อยวางนั้นแปล่งได้ง่ายดายนัก
      แต่การปล่อยวางด้วยจิตเป็นเรื่องยากนักหนา  พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ปล่อยวาง แม้แต่กายสังขารของตนเองยังยึดมั่นถือมั่นมิได้เพราะมันแปรเปลี่ยนได้ทุกวินาที หาความเที่ยงแท้มิได้เลย พระศาสดาขงจื๊อจึงกล่าวเอาไว้ในคัมภีร์ทางสายกลางว่า ...
       ฟา เอ๋อ เจีย จง เจี๋ย     เว่ย จือ เหอ  คำแปลเป็นภาษาไทยกล่าวว่า ""เมื่ออารมณ์ใดมากระทบ จิตรับรู้โดยเป็นกลางไม่ยึดติด รับแล้วปล่อยวางนี่คือ สภาวะแห่งอุเบกขา"" การรับรู้อารมณ์ทั้งปวงด้วยจิตอันเป็นกลางนั้นมิได้เป็นของง่าย ๆ ตามปากพูด เพราะตามสภาพของจิตปุถุชนย่อมรับรู้อารมณ์และติดยึดเอาตามความเคยชิน แม้การปล่อยวางของจิตปุถุชนก็ยังเป็นไปด้วยการชัง แต่เป็นความชอบแล้วย่อมปล่อยวางไม่ลง
    เมื่อปุถุชนพูดว่าจิตใจเป็นอุเบกขาคือวางเฉยนั้นหมายความว่า ภายในจิตใจยังเต็มไปด้วยความ ""ชอบ -- ชัง""อยู่เต็มเปี่ยม เพราะฉะนั้นการปล่อยวางของจิตปุถุชนจึงไม่เคย ""ว่าง"" อย่างแท้จริง และเข้าใจผิดเสมอว่า อุเบกขา อาการวางเฉยนั้นคือไม่กระทำสิ่งใดเลย  ความจริงแท้แห่งอุเบกขา คือ การกระทำที่เต็มไปด้วยปัญญาญาณอันแท้จริง  แต่เพราะความเข้าใจผิดของผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจว่า อุเบกขา คือการไม่กระทำสิ่งใดเลย ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางจิต การวางเฉยทางกาย เป้นสิ่งที่ง่ายดาย แต่การวางเฉยทางจิตเป็นสิ่งที่ยากลำบากนัก
    การกระทำของ""จิต"" ย่อมเป้นไปตามสิ่งเร้าอันมาปรุงแต่งเพราะเหตุนี้จึงยากแก่การหยุดยิ่งนัก  คนที่ป่วยทาง จิต ภาวะของจิตฟุ้งซ่านจนหาที่ยุติไม่ได้ เพราะจิตวิ่งวนอยู่แต่สิ่งที่ตนฝังใจ เพราะเหตุนี้คนที่จิตฟุ้งซ่านจึงสามารถนั่งบ่นได้เป็นวัน ๆ โดยบ่นเรื่องซ้ำซากอยู่เช่นนี้มิได้เบื่อหน่ายเลย นั่นเป็นการกระทำทางจิต ที่ไร้สิ่งเกาะเกี่ยวและลืมตัวตนที่แท้จริงแต่กลับติดยึดอยู่แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น  คนที่นั่งภาวนาเพื่อให้ ""จิตว่าง"" จึงเป็นความว่างที่ไม่แท้จริงเพราะติคอยู่กับ ""ความว่าง"" เข้าจังเบอร์
    การที่จิตรับรู้สิ่งใดอย่างเป็นกลางมีความหมายว่า มิได้คิดว่าสิ่งนั้นดีหรือเลว ตนเอง ""ชอบ - ชัง""เพียงแต่รับรู้ว่ามีอารมณ์นั้นเกิดขึ้นแก่ตนเองเท่านั้น ผู้ที่สามารถรับรู้อารมณ์อย่างเป็นกลาง มิได้ตัดสินว่า "ถูก-ผิด"" หรือ ""ดี-เลว""ได้อย่างแท้จริงย่อมต้องรู้ความเคลื่อนไหวของ"จิต"ตนเองอย่างแท้จริง
   แต่ทุกวันนี้ปุถุชนยากยิ่งที่จะรู้จัก""จิต""ของตนเองเพราะ "จิต"  ติดยึดอยู่สรรพสิ่งมากมายที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาจึงไม่อาจรับรู้ทุกอย่างเป้นกลางได้เลย อากรารับรู้ของคนเหล่านั้เขามีรูปแบบเอาไว้เทียบเคียงแล้วทุกอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ยิ่งเจริญมากขึ้น หน่วยความจำ จึงกลายเป็นเครื่องเปรียบเทียบสิ่งที่เขารับรู้ เพราะฉะนั้นคนในยุคนี้จึงยิ่งไม่สามารถรับรู้อย่างเป็นกลางได้เลย ถ้าผิดจากต้นแบบเป็น "ผิด" ถ้าถูกต้นแบบจึงเป็นสิ่ง"ถูก"
    ดังนั้นเมื่อมีการเปรียบเทียบขึ้นมาย่อมเกิดอารมณ์และเป็นไปตาม"ต้นแบบ"  ที่ตนเองยึดติดเอาไว้จึงเป็น"อารมณ์ดี" ปุถุชนในยุคนี้จึงปล่อยวางไม่ลง เพราะฉะนั้นความเครียดจึงปรากฏขึ้นเป็นโรดชนิดหนึ่ง ที่รักษากันไม่หาย และกลายเป็นหลายโรคเรื้อรังจนทำลายกายสังขารของตนเองไปในที่สุด
    คนในยุคความเจริญทางวิทยาศาสตร์ท่วมท้น "จิตวุ่น" มากกว่า "จิตว่าง"  ดั่งนี้แล

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
       มีเรื่องเล่ากันในวงสนทนาภาษาธรรมว่า พระภิกษุสองรูปต่างวัยต่างพื้นฐานการบำเพ็ญได้เห็นสีกาอนงค์หนึ่งเดินผ่านไป ภิกษุหนุ่มเอ๋ยเจ้าเห็นอะไรน่ะ" "ผมเห็นสตรีนางหนึ่ง  แต่น้ำเลือดน้ำหนองไหลเยิ้มไปทั้งตัวเลย แล้วท่านอาวุโสล่ะเห็นอะไร""ผมเห็นเพียงโครงกระดูกโครงหนึ่งเดินผ่านไปเท่านั้นเอง"" ถ้อยสนทนาเพียงเท่านี้พอจะหาคำตอบได้ว่า ภิกษุทั้งสองรูปเห็นต่างกันแน่นอนแต่สิ่งที่จริงแท้ ทั้งสองรูปนี้ก็ยังคงปรุงและแต่งเอาตามกำลังแห่งสัญญาของตนเองทั้งสิ้น ภิกษุหนุ่มปรุงแต่งเพียงแค่ได้เปลือกผิวหนัง ภิกษุอาวุโสปรุงแต่งไปถึงโรงกระดูก สัญญาเป็นหน่วยความจำที่รับรู้ผัสสะทั้งปวงตามที่อายตนะหกส่งเข้ามากายเป็นอายตนะภายในหกชนิดคือ รูป รสกลิ่น เสียง  สัมผัส และ อารมณ์ ส่งสัญญารับเอาไว้และจดจำได้หมายรู้
     ตัวอย่างเช่น  คนไทยคุ้นเคยกับการรับประทานมะขาม ซึ่งมีรสเปรี้ยวเพียงแต่เอ่ยนามมะขามเท่านั้น น้ำลายก็สอเสียแล้ว แต่ฝรั่งไม่เคยลิ้มรสมะขามจึงไม่รู้สึกเปรี้ยว  เพราะฉะนั้นจึงไม่มีหน่วยความจำรสเปรี้ยวเอาไว้เลย จะเอ่ยมะขามกี่ร้อยครั้งก็ไม่เกิดความรู้สึกน้ำลายสอเป็นแน่นอน แม้จะพยายามอธิบายอย่างไรก้ไม่เข้าใจจนกว่าฝรั่งจะลองชิมรสเอง
    แต่ความพยายามเข้าใจก็ต้องอาศัยการปรุงแต่งเปรียบเทียบกับผลไม้ที่ตนเองเคยรับประทานมา ซึ่งย่อมไม่เหมือนเป็นแน่นอน เช่นสตอเบอรรี่ เป็นต้น ""การปรุงแต่งนั้นจึงกลายเป็นความคิดและเป็นความคิดเชิงเปรียบเทียบจากหน่วยความจำที่ตนเองคุ้นเคยทั้งสิ้น แต่เพราะสัญญาขันธ์ หรือความจำ ย่อมตั้งอยู่บนกฏของความไม่เที่ยงแท้ อาการปรุงแต่งของจิตใจมนุษย์ปุถุชนจึงไม่เคยตรงต่อสภาพความเป็นจริงเสมอไป บางสิ่งบางอย่างจึงกลายเป็นคาดคะเนหรือเดาเอาทั้งนั้น ความผิดพลาดเช่นนี้จึงก่อให้เกิดวิบากกรรมหากความคิดนั้นเปลี่ยนไปในทางทุจริตทำลายผู้อื่น ซึ่งแท้ที่จริงเป็นการทำลายตนเองโดยแท้ เพราะอาการปรุงแต่งที่ผิดพลาดได้กลายเป็นหน่วยความจำสะสมกันไว้ใน ธรรมญาณ ซึ่งจะรอวันส่งผลต่อไป เมื่อเหตุปัจจัยครบสมบูรณ์ และคนที่รับผลครบถ้วนคือ"ตัวเอง" สภาวะที่ปรุงแต่งไปตามอายตนะหกจึงพ้นไปจากวิถีแห่งความเป็นกลางโดยแท้
      รูป จึงเป็นเหตุให้เกิด อายตนะภายในและภายนอก วิญญาณรับรู้ส่งต่อมาถึงสังขารปรุงแต่งตามความจำได้หมายรู้ และจึงก่อเกิดเป็นอารมณ์ ดี - ชั่ว ตามกำลังแห่ง สัญญา  ความจำ  
    ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งปวง มิให้มีอุปทานการยึดมั่นในขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป  เวทนา สัญญา  สังขารและวิญญาณ การปล่อยวางขันธ์ 5 ลงไปได้ก็ตัดการปรุ่งแต่ง สภาวะแห่งจิตที่ปล่อยวาง ขันธ์ 5 ลงไปได้ก็ตัดการปรุงแต่ง
   สภาวะแห่งจิตที่ปล่อยวาง ขันธ์ 5 ได้อย่างแท้จริง จึงเป็นหนทางสายกลาง แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น พระพุทธองค์ ทรงสอนว่า           นัยน์ตา  เห็นรูป         ให้สักแต่ว่าเห็น
              หู        ได้ยินเสียง    ให้สักแต่ว่าได้ยิน
             จมูก      ได้กลิ่น        ให้สักแต่ว่าได้กลิ่น
             ปาก      รับรู้รสชาด     ให้สักแต่ว่าเป็นรสชาด
             กาย      ได้รับการสัมผัส  ให้สักแต่ว่าสัมผัส
             จิต          คิด              ให้สักแต่ว่าคิด
      ความหมายนั้น คือ การปล่อยวางอย่างแท้จริงให้ทุกอย่างเป็นไปโดยปราศจากการปรุงแต่ง ซึ่งเป็นเรื่องยากนักหนาสำหรับการปฏิบัติให้ได้ตามที่พระพุทธองค์สอน ตราบใดที่สภาวะแห่งจิต มิได้อยู่บนเส้นทางสายกลาง ย่อมกวัดแกว่งไปตามแรงของการปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น การปฏิบัติทางสายกลางจึงมิใช่เป็นเรื่องง่ายดายอย่างที่เราชอบพูดกัน เพราะ ทางสายกลาง มิได้ปฏิเสทสิ่งใด รับรู้ทุกสิ่ง แต่ตัดการปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง การปฏิเสธไม่ยอมรับจิตใจก็มิได้อยู่บนทางสายกลางเสียแล้ว เพราะการไม่ยอมรับก็คือ การปรุงแต่งไปตามความเคยชินที่จิตไม่ปรารถนา แม้การยอมรับสิ่งใดที่เป็นไปตามความปารถนาก็จะเกาะเกี่ยวแน่นเหนียว ทั้งสองสภาวะแห่งจิตนี้ เบี่ยงเบนออกจากทางสายกลางโดยแท้จริง พระพุทธองค์จึงทรงแนะว่า ให้ระวัง มหาโจรทั้งหก ที่จักทำร้ายสภาวะจิตแห่งทางสายกลางให้ดี เพราะเหตุนี้ใครมี ""สติ"" รู้เท่าทันก็สามารถจับโจรทั้งหกนี้ได้ แต่เพราะภาวะแห่งจิตปุถุชนที่ไม่รู้จัก ขันธ์ห้า จึงมักปรุงแต่งเข้าด้วยกันเสมอกับเป็นพวกเดียวกับมหาโจรทั้งหก
    การประหารมหาโจรทั้งหก จึงต้องใช้ปัญญาอันเกิดจาก ธาตุแท้ธรรมญาณ ซึ่งเป็นทางสายกลาง โดยแท้จริงนั่นแล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 9/11/2010, 04:22 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

        ผู้ที่เฝ้าสังเกตุความเคลื่อนไหวของ "จิต"  ย่อมรู้ดีว่า มันไม่เคยสงบนิ่งเลยเมื่อลืมตาตื่นขึ้นมาตอนเช้า  "จิต" ก็เริ่มต้นทำงานคิดสารพัดวุ่นวายร้อยเรื่องพันเรื่องล้วนแต่ "จิต" เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทุกเรื่อง บางครั้งไม่ใชเรื่องราวของตนเองและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยสักนิดแต่  "จิต" ก็เข้าไปคิดและเกี่ยวข้องเสนอแนะจนบางครั้งเกิดเรื่องราวขึ้นมามากมาย
       ความวุ่นวายของ  "จิต"  จึงประมาณมิได้ พระอริยะเจ้าจึงกล่าวว่า "จิตปุถุชน" วุ่นวายเหมือน  "ลิง" อันธรรมชาติของลิงไม่เคยหยุดอยู่นิ่งเฉยและไม่มีใครทำให้ลิงนั่งเฉย ๆ ได้เลย  "จิต" ที่ชัดส่ายออกไปโลดเต้น มิได้เต้นเพียงอย่างเดียวแต่กลับนำเอาทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาสะสมเอไว้ในจิตใต้สำนึก เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็น กิเลส และกลายเป็นพลังขับเคลื่อนให้ "จิต" วิ่งต่อไป แม้ในเวลาที่ร่างกายพักผ่อนนอนหลับ "จิต" ของหลายคนวิ่งเตลิดไปตามพลังที่สะสมเอาไว้ซึ่งเราเรียกว่า  "ฝัน" บางคนฝันว่าวิ่งหนี ผี จนเหนื่อยหอบ แม้กายนอนหลับอยู่แต่พอตื่นขึ้นมาก็เกิดความรู้สึกอ่อนเพลียเหงื่อไหล เหตุไฉนจึงเป็นเช่นนี้ เมื่อ "จิต" ออกไปเคลื่อนไหวภายนอกกายได้เก็บความรู้สึกของความตกใจ กลัวเหนื่อยอ่อนเอาไว้ ครั้นกลับมาถึงกายภาวะแห่งจิตตอนนั้นจึงกระตุ้นปมประสาทในร่างกายให้รับรู้และมีปฏิกิริยาตรงตามที่ "จิต"ได้ออกไปโลดเต้น กายจึงแสดงออกตามจิตสั่ง
      ท่านเมิ้งจื้อ ซึ่งเป็นปราชญ์ที่สองรองจากท่านขงจื้อ  จึงกล่าวเอาไว้ว่า ""การบำเพ็ญธรรม คือการนำเอาจิตที่วิ่งออกไปมารวมศูนย์ในที่ของมัน"" ความหมายคือ การสำรวมจิตดั่งที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์เอาไว้ เพราะ  "จิต" ที่วิ่งวุ่นออกไปมิได้เป็นอิสระที่แท้จริง แต่กลับไปสู่ความผูกพันธ์ ทั้งปวงและยึดถือเอาไว้ และหลายครั้งยึดมั่นถือมั่นไม่ยอมปล่อยวาง เช่น เห็นว่ารูปสวยจึงหลงใหลได้ปลื้ม อย่างที่วัยรุ่นทั้งปวงยึดเอารูปดารา  จนเรียกว่า บ้าดารา คนที่บ้าดารานั้นติดอยู่ในรูปการแต่งกาย ท่าทาง เสียง กลิ่น และรสชาติสัมผัส  "จิต" ของวัยรุ่นมีกำลังวิ่งมาก เพราะขาดสติในการยั้งคิด ใคร่ครวญว่า ดี - ชั่ว
       วัยรุ่นเต็มไปด้วยอารมณปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นจึงสามารถไปร้องกรี็ด ๆ เพื่อส่งเสียงเชียร์นักร้องที่ตนเองพอใจ ในขณะนั้น "จิต" ของเขาวิ่งไปจับอยู่ที่นักร้อง ขาดสติ ขาดเป็นตัวของตัวเอง วัยรุ่นจึงไม่มีปัญญาแยกแยะดีชั่ว พฤติกรรมทั้งปวงจึงเป็นไปเพื่อสนองอารมณ์ของตนเอง คนเหล่านี้ติดอยู่กับอารมณ์  ครั้นผิดหวังวัยรุ่นก็จมอยู่ในความเศร้าโศกซึ่งมีความรุนแรงเสมอกับความตื่นเต้นสมใจเช่นกัน "จิต" ของวัยรุ่นจึงแกว่งไปแกว่งมา หาหยุดนิ่งและสำรวมมิได้ แต่ผู้ที่ผ่านความดีชั่วมามากย่อมสั่งสมเอาไว้เป็นบทเรียนและสามารถวางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมิได้ชื่อว่าเป็น อุเบกขา  ตามนัยแห่งทางสายกลาง เพราะยังสั่งสมเอาไว้แต่อย่างดี ชั่ว แม้กายสำรวมแต่ จิต มิได้สำรวมเลย  สีหน้าไม่แสดงอารมณ์  แต่ความขุ่นข้องเจ็บปวด ยังคงซ่อนอยู่ภายในลึก ๆ พระพุทธองค์จึงตรัสเกี่ยวกับประเภทนี้ว่า ""เวทนามี 3 อย่างคือ สุขเวทนา  ทุกขเวทนา  อทุกขสุขเวทนา"" อารมณ์ทั้งสามประเภทนี้ยังไม่อาจพ้นไปจากการเวียนว่าย ตายเกิดและอาการของเวทนาพาไป
       ความสุขเป็นที่ปรารถนาของปุถุชน    ความทุกข์ไม่เป็นที่ปรารถนาของปุถุชน  แต่ไม่ทุกข์แลไม่สุข เหตุไฉนจึงไม่เป็นเรื่องของทางสายกลาง  เพราะอารมณ์ที่วางเฉยปฏิเสธทั้งทุกข์และสุข จึงเป็นลักษณ์ของการกำหนด หรือบังคับจิตให้อยู่นิ่งเสีย
       อารมณ์เช่นนี้ยังคงมีทั้งความชอบ - ชังซ่อยอยู่ในจิตเพียงแต่ไม่แสดงออกมาเท่านั้น ดังนั้นอาการของฤาษีทั้งปวงที่นั่งเข้าฌานมาบัติจึงตกอยู่ในสภาวะที่ไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริง และหลอกหลอนตนเองทำให้จิตคิดว่าตนเองทำสำเร็จมรรคผลเรียบร้อยแล้ว
มารยาทางจิตจึงร้ายแรงนักและพาให้บุคคลเหล่านั้นตกอยู่ในวงจรของการเวียนว่ายไม่รู้ตัว  ประการสำคัญอาการยึดมั่นถือมั่นแต่เพียงคนเดียวยังไม่เพียงพอแต่กลับเปิดเผยอาการนั้นสู้ผู้ที่ไม่รู้ให้หลงใหลไปด้วยบาปกรรมชนิดเช่นนี้จึงร้ายแรงจนหาที่ประมาณมิได้  อวิชชา ความไม่รู้ ธรรมญาณ จึงไม่อาจพาจิตให้อยู่ในทางสายกลางได้เลย และอวิชชานี้จึงสร้างชาติภพไม่จบสิ้น
      เมื่อ  จิต  วิ่งไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด จิตนั้นย่อมสร้างวิบากให้ตนเองไปรับเสมอ แต่ผู้ที่รู้จักธรรมญาณตัวตนอันแท้จริงย่อมพ้นไปจาก  อวิชชา  และสามารถเข้าสู่หนทางสายกลางได้และเมื่อนั้น  "ลิง"" ก็จะตายจากจิตไป ไม่วุ่นวายและสงบสำรวมอย่างแท้จริง       

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

       ความไม่รู้อันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่เป็นอุปสรรคสำคัญทำให้ไม่อาจก้าวพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิดก็คือ "ไม่รู้ต้นกำเนิด"ของตนเอง   ต้นกำเนิดนี้มิได้หมายถึง กายเนื้อเพราะทุกคนย่อมรู้ว่า ตนเองเกิดมาจากพ่อแม่ แต่ถ้าเทียบเคียงกันจะเห็นได้ว่า ใครก็ตามที่เกิดขึ้นมาแล้วแม้แต่พ่อแม่ก็ให้กายสังขารตนเอง ก็ไม่อาจรู้ได้เขาจะมีความทุกข์เพียงใด
     แต่การไม่รู้ต้นกำเนิด "จิตญาณ" ของตนเองนั้นย่อมก่อให่เกิดทุกข์ แต่เพราะความเคยชินเขาจึงลืมเลือนและคิดว่า ไม่มี "จิตญาณ" ในสมัยโบราณมีอริยปราชญ์องค์หนึ่งทรงเป็นถึงกษัตริย์ วันหนึ่งพระองค์รำพึงว่า "ก่อนมาเราเป็นใคร มาแล้วใครเป็นเรา และเราจะไปที่ไหน" พระองค์จึงพยายามแสวงหาต้นกำเนิดโดยวิธีการกราบพระวิสุทธิอาจารย์จนพบพระวิสุทธิอาจารย์ชี้หนทางพ้นไปจากการเวียนว่าย เหตุเพราะพระองค์ทรงรุ็ต้นกำเนิด "จิตญาณ" ซึ่งเท่ากับรู้จักรากฐานเดิมของตนเองและผู้บำเพ็ญกลับสู่หนทางเดิม แต่บัดนี้ปุถุชนกลับไม่รู้จักต้นกำเนิดและพาลไม่เชื่อถือว่า "จิตญาณ" มีต้นกำเนิด คนเหล่านี้จึงตนอยู่ในวังวนของความหลงไม่จบสิ้น และไม่เชื่อในเรื่องเหล่านี้จึงก่อกรรมทำเข็ญไม่มีที่สิ้นสุด กลายเป็นแรงเหวี่ยง ให้ชีวิตต้องเวียนไปในภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยที่ตนเองสร้างเอาไว้อย่างรู้ตัวและไม่รู้ตัว ชาติแล้วชาติเล่า ต่างวนเวียนอยู่ในทะเลทุกข์จนเคยชินแลไม่เห็นเป็นทะเลทุกข์
     เพาระฉะนั้น ต่างจึงลืมรากฐานต้นกำเนิดเดิมของตนเองเสียสิ้น ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อ กล่าวเอาไว้ในคัมภีร์ ทางสายกลางว่า จง เหย เจ่อ   เทียน เซี่ย จือ ต้า เปิ่น เหย่  มีความหมายว่า มัชฌิมาปฏิปทา  คือ ""หนทางสายกลางอันเป็นรากฐานสำคัญของสรรพสิ่ง"" ความหมายนี้เห็นเป็นสัจธรรมว่า สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงจักรวาลนี้ลัวนอาศัย ทางสายกลาง เป็นรากฐานสำคัญทั้งสิ้นหากปราศจากทางสายกลางแล้วสรรพสิ่งย่อมไม่อุบัติขึ้นมา
     ดวงดาวน้อยใหญ่ อุกาบาต กาแลคซี่ ล้วนเกิดจาก ทางสายกลางทั้งนั้น เพราะทางสายกลางเป็นความว่างอันยิ่งใหญ่ย่อมก่อเกิดสรรพสิ่งได้ไม่จบสิ้น
    จิตญาณ หรือ ธรรมญาณ  แท้ของเราล้วนมีต้นกำเนิดมาจากทางสายกลาง เพราะทางสายกลางเป็นความว่างที่ปราศจากขอบเขต เพราะฉะนั้นคุณลักษณะที่สำคัญยิ่งของ "ธรรมญาณ" คือ ความว่างที่ก่อให้เกิดสติปัญญาสามารถรังสรรค์สรรพสิ่งได้ไม่มีที่สิ้นสุด เวลาที่ ธรรมญาณ  ของเรามิได้เคลื่อนไหวสงบนิ่งดั่งประภัสสรย่อมไม่ก่อกำเนิดใด ๆ ขึ้นมา แต่พอเคลื่อนไหวกลายเป็นความคิด เราจะเห็นว่ามนุษย์ได้สร้างสรรค์ทุกสิ่งอย่างไว้ในโลกนี้จนยากที่หยั่งคะเนได้
     เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องบิน  รวมทั้งระเบิดนิวเคลียร์  ลัวนเกิดแต่อาการเคลื่อนไหวของ "ธรรมญาณ" ทั้งสิ้น หาก ธรรมญาณ มิได้มีความว่างดั่งสายกลางแล้วไซร์ย่อมไม่สามารถสร้างสิ่งใด ๆ ขึ้นมาในพื้นพิภพนี้ได้เลย
    ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่เราไม่อาจหยั่งคะเนได้คือ ธรรมชาติแห่งความว่าง เรามิอาจรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ถ้าหากจะกล่าวว่าไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นเลยจากความว่างเปล่านั้น ก็เป็นการคาดคะเนที่ผิดพลาด เพราะจากความว่างนั้นเองเมื่อเคลื่อนไหวย่อมก่อสรรพสิ่งและสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนต้องมีจุดศูนย์กลางคือ "ความว่าง" ผลไม้ที่เราเห็นอยู่ทุกวันภายในเมล็ดหากไม่มีความว่างเสียแล้ว เมล็ดย่อมไม่อาจแทงช่อขึ้นมาได้ ห้องถ้าไม่ว่างก็ไม่อาจบรรจุสิ่งใดลงไปได้  แม้ในร่างกายของเราก็เต็มไปด้วย "ช่องว่าง" หากไม่มีช่องว่างแล้วไซร์การเจริญเติบโตย่อมไม่มี และในขณะเดียวกันหากไม่มีความว่างก็ยากที่จะถึอกำเนิดขึ้นมาได้ เพราะในจุดศูยน์กลางของเซลล์ย่อมมี "ความว่าง" และความว่างนั้นจึงกลายเป็นพลังที่ขับเคลื่อนให้วงจรชีวิตหมุนเวียนไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด
     ต้นกำเนิดของ "จิตญาณ" จึงไม่มีใครทำลายได้และไม่อาจแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น นอกจากจะอาศัยรูปลักษณ์อย่างอื่นตามเหตุปัจจัยที่ตนเองสร้างไว้เท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่มีใครทำลายความว่างอันแท้จริงได้เลยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ธรรมญาณ" ของมนุษย์ที่มาจากความว่างอันแท้ ไม่มีใครทำลายได้เป็นอมตะนิรันดร์กาลที่แท้จริง และความว่างแห่งแดนนิพพานจึงควบคุมทั้งสามภูมิเอาไว้  ถ้าหากเรารู้ต้นกำเนิดที่แท้จริงของตนเองแล้วไซร์ การบำเพ็ญคืนกลับสู่ต้นรากอันแท้จริงย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้  แต่ใครก็ตามยังคาดหมายเดาเอาว่า ความว่างที่ตนเองกำหนดขึ้นนั้น เป็นความว่างอันแท้จริง ผู้นั้นยังคงหลงอยู่ในการเวียนว่ายและไม่รู้รากฐานอันแท้จริงใน "ธรรมญาณ" ของตนเลยเขาจึงหลงทางชาติแล้วชาติเล่า - น่าสงสารนัก   

Tags: