collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม ถ้อยแถลงจากผู้เรียบเรียง  (อ่าน 40251 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                 @   จิตของคนเราเหตุใดจึงชั่วดีต่างกัน

        ความชั่วดีของคนกำหนดจาก จิตแท้  จิตภาวะ  และจริต  จิตแท้เป็นอนุตตรภาวะวิเศษใส บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งชั่วร้าย จิตภาวะขุ่นใสไม่แน่นอน ชั่วก็ได้ ดีก้ได้ แล้วแต่ภาวะการณ์  จริตเป็นความอยากปรารถนา เป็นตัณหา เป็นอารมณ์ ชั่วร้ายไม่มีดี  ฉะนั้น เมื่อจิตแท้ใช้งาน เบญจธรรมจะปรากฏ การกระทำทุกอย่างจะตรงต่อความเป็นกลาง ใช้จิตภาวะทำงาน จะแยกไม่ออกในความขุ่นใส ใช้จริตทำงาน ตัณหาจะผลักดัน อารมณ์จะผันผวน ความดีมีน้อย ความชั่วจะมีมาก  ปราชญ์เมิ่งจือกล่าวว่า "จิตเป็นธาตุดีงาม"  นั้นท่านหมายถึงจิตที่เป็นธาตุแท้    ปราชญ์เก้าจื้อกล่าวว่า "จิตเป็นธาตุดีและชั่ว" นั้นท่านหมายถึงจิตที่ตกอยู่ในพลังบรรยายกาศของโลก    อาจารย์สวินจื้อที่กล่าวว่า "จิตเป็นธาตุชั่ว" นั้นท่านหมายถึงจริตที่ติดรูปวัตถุ พูดถึงจิตแท้คือหนักในอนุตตรภาวะวิมุติ ไม่หนักในจิตภาวะทางโลก ท่านเมิ่งจื้อจึงได้ชื่อว่า ปราชญ์ พูดถึงภาวะทางโลก คือรู้ภาวะทางโลกไม่รู้อนุตตรภาวะ  ท่านเก้าจื้อจึงได้ชื่อว่าเมธาจารย์ พูดถึงจริตคือรู้แต่ตัณหาฉันทาต่อสรรพสิ่ง ไม่เข้าใจความเป็นสูญญตา ไม่เข้าใจภาวะทางโลก  ท่านสวินจื้อจึงมิได้เป็นปราชญ์เมธี รวมความว่า ที่ท่านทั้งสามจื้อให้ทัศนะเกี่ยวกับความชั่วดีของจิตนั้นแตกต่างกันด้วยความตื้นลึกของธรรมะ จึงได้กล่าวไว้ไม่เหมือนกัน

                @   วิญญาณสาม  อนุสัยญาณเจ็ด*  กับวิญญาณของคนเราต่างกันอย่างไร

        จิตที่แฝงอยู่ต่างกัน ความเป็นมาก็ต่างกัน วิญญาณแฝงอยู่ในตับ อนุสัยญาณแฝงอยู่ที่ปอด รวมเป็นพลังอินหยังของจิตญาณ เมื่อพลังยังอยู่ชีวิตก็ยังอยู่ เมื่อพลังกระจายชีวิตก็ตาย  ที่กล่าวว่า "ไม่เพิ่มขึ้น ไม่ลดลง ตกน้ำไม่จม เผาไฟไม่ไหม้"  เปลี่ยนที่อาศัยแต่ไม่เปลี่ยนเจ้าบ้าน (จิตวิญญาณเดิม  กายสังขารใหม่)  ที่เป็นเช่นนี้มีแต่ธาตุแท้ธรรมญาณเท่านั้น ฉะนั้น  เราจะเห็นได้จากอักษรจีน  คำว่า  วิญญาณ ( หุน )    อนุสัยญาณ  ( ผ้อ )  ตัวประกอบอักษรข้างหนึ่งคือคำว่า ผี  ส่วนคำว่า จิตญาณ  ตัวประกอบอักษรข้างหนึ่ง คือคำว่า หัวใจ  ซึ่งเป็นหัวใจที่ตั้งตรงแฝงอยู่ในทวารวิเศษ ไม่เข้า ๆ ออก ๆ ไป ๆ มา ๆ ทำหน้าที่เป็นหลักของสังขารร่างกาย แต่ที่ทั่วไปเรียกว่าหัวใจนั้น หมายถึงรูปลักษณ์ของหัวใจอันเป็นอวัยวะ ฉะนั้น คำว่า เต๋า  ( ธรรมะ )ส่วนประกอบแรกของอักษร จึงเป็นคำว่า ศรีษะ    ( หัว )  เรื่องใหญ่หรือหัวเรื่อง  ( เรื่องเกิดเรื่องตาย ) จึงต้องกำหนดสร้างบุญกุศล โดยเริ่มจากหัว ( จุดสถิตจิตญาณอยู่ที่หัว )

หมายเหตุ  :  อนุสัยญาณเจ็ด คือ ซือโก่ว ตะกละ - ฟู่ซือ ขี้โอ่ - เฉี่ยวอิน มักมาก  -  ทุนเจ๋ย ชอบพนัน  -  เฟยตู๋ต่อ สู้ท้าทาย  -  ฉูฮุ่ย โลภ  -  โซ่วซือจุกจิกสอดรู้           

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                @   อย่างไร คือใจคน อย่างไรคือใจธรรม

        จิตใจที่เกิดจากสันดานเรียกว่าใจคน  เกิดจากธาตุแท้จิตเดิมถูกหลักสัจธรรมเรียกว่าใจธรรม คนทุกคนล้วนมีใจคน อีกทั้งมีใจธรรม  ใจคนมีดีมีชั่วไม่ปกติ ใจธรรมบริสุทธิ์ละเอียดอ่อนแต่ไม่ปรากฏชัด  แม้ไม่อาจควบคุมบังคับใจคน ใจธรรมก็นับวันจะสูญสิ้น หากควบคุมบังคับใจคนไว้ได้ ใจธรรมก็นับวันจะปรากฏ การจะบรรลุพุทธะอริยะก็จะไม่ยากเลย ใจคนเป็นแรงอารมณ์ ใจธรรมเป็นหลักสัจจะ ขณะเป็นเด็กทารกจิตเดิมแท้ยังกลมเกลี้ยงสว่างใส พอความรู้ความเข้าใจเกิดขึ้น เริ่มความเคยชินติดเป็นนิสัยไปส่วนหนึ่งก็บดบังจิตวิสัยเดิมไปส่วนหนึ่ง นานวันไปยิ่งบดบังก้ยิ่งมืดมัว จึงจมลงไปอยู่ในห้วงของกิเลสตัณหา กามราคะ อารมณ์ต่าง ๆ การบำเพ็ญมิใช่อื่นไกล ให้ตัดตัณหาความอยากภายใน ภายนอกให้กำหนดพฤติกรรม เพิ่มพาด้วยการสร้างกุศลคุณงาม วันใดที่บุญกุศลถึงพร้อม กระจกเก่าก็จะกระจ่างใสขึ้นใหม่ (คืนสู่จิตประภัสสร) เผยให้เห็นธาตุแท้อันวิสุทธิ์ได้

                @   พระธรรมคัมภีร์ทั้งหลาย  บทใดน่าอ่านที่สุด

        อ่านพระธรรมคัมภีร์ ความหมายอันแท้จริงก็เพื่อค้นหาวิถีธรรม เมื่อได้พบวิถีธรรมแล้ว จะไม่อ่านพระธรรมคัมภีร์ก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ประคองรักษาจิตญาณจุดนั้น ซึ่งจุดนั้นก็คือ สัจธรรมคัมภีร์ที่มิได้จารึกไว้ด้วยตัวอักษร ยิ่งกว่านั้น พุทธธรรมคัมภีร์มีถึงห้าพันสี่ร้อยแปดสิบบท ถ้าอ่านวันละหนึ่งบท สิบห้าปีจึงจะอ่านได้ถ้วนทั้งหมด วันเดือนผ่านไปเร็วมาก (ดังกระสวยทอผ้า) ที่ไหนเลยจะมีความปราณีตตั้งใจได้ถึงเพียงนั้น แต่ไม่อ่านก็ไม่ได้ ซึ่งการอ่านก็จะปฏิบัติตามคำสอนในคัมภีร์จึงจะได้ประโยชน์ ไม่เสียเวลาเปล่า เช่น คัมภีร์ต้าเสวียมหาสัตถ  จงยงทางสายกลาง ลุ่นอวี่ทัสนะธรรม  เมิ่งจื้อ  จินกังวัชรสูตรเต้าเต๋อคุณธรรม  ชิงจิ้งวุสุทธิสูตร  ล้วนประเทืองปัญญาน่าอ่านทั้งสิ้น

               @   ปัญญา คือชีวิตของคนเรา

        คำว่าปัญญา จื้อฮุ่ย  ที่เราพูดกันในอนุตตรธรรม หมายถึงธาตุแท้ญาณเดิม สว่างเห็นแจ้งในสรรพสิ่งเรียกว่า จื้อ  รู้ชัดในหลักสัจธรรมเรียกว่า ฮุ่ย สนองรับสรรพสิ่ง รู้จริงทำได้จริง รู้หลักทำตามหลัก เรียกว่าปัญญาจื้อฮุ่ย  ด้วยหลักการคำนวณของโป๊ยก้วยโดยสังเขปมีดังนี้  ในชั้นโลกุตตร  ภาวะจิตเป็นหยัง สว่างบริสุทธิ์ มีสัญญลักษณ์เป็น ----  เมื่อลงมาเกิดในโลก ความสมบูรณ์ขาดหายกลายเป็นอิน มีสัญญลักษณ์เป็น --  --  หยังซ้อนกันเป็นสัญญลักษณ์ฟ้า (เส้นตรงสามเส้นยาวซ้อนกัน)  อินซ้อนกันเป็นสัญญลักษณ์ดิน (เส้นตรงสามเส้นสั้น ซ้อนกัน 2ครั้ง)  หลังเกิดตาย  เมื่อภาวะอิน เข้าแทรกในหยัง ความสมบูรณ์ขาดหายกลายเป็นสัญญลักษณ์หลี่ หลี่เป็นธาตุไฟ เมื่อภาวะหยัง เข้าแทรกในอิน ภาวะจิตจากฟ้าเกิดขึ้น สัญญลักษณ์อินก็กลายเป็นขั้น  ขั่นเป็นธาตุน้ำ น้ำมีคุณสมบัติเป็นปัญญา ในคัมภีร์หลุนอวี่จารึกไว้ว่า "ผู้ทรงปัญญาจะรักน้ำ" วันนี้เราจะบำเพ็ญเพื่อกลับคืนสู่ต้นกำเนิดเดิม จึงต้องใช้ความประณีตตั้งใจ เมื่อน้ำอมฤตขั่นเพิ่มขึ้น ไฟจากหลี่ลดลง ไฟอารมณ์ไม่ลุกลาม ไม่มีโทสะ ไม่ฟุ้งซ่าน น้ำอันเป็นกายธาตุ อันเป็นปัญญาหล่อเลี้ยงกายธาตุ ผสมผสานกับธาตุไฟได้พอเหมาะก็เข้าสู่ภาวะบรรลุได้ ญาณชีวิตเดิมทีที่มาจากภาวะเหนือโลก มาอยู่ในโลกจะต้องบำเพ็ญให้กลับคืนไปให้ได้ ในศาสตร์อี้จิงได้จารึกไว้ว่า "หนึ่งอินหนึ่งหยังเรียกว่าเต๋า (ธรรมะ)"  ในกายคนมีอวัยวะธาตุต่าง ๆ เท่ากับสัญญลักษณ์ต่าง ๆ ของโป๊ยก้วย เมื่ออวัยวะธาตุต่าง ๆ ทำงานเป็นปกติสุขก็เข้าสู่ภาวะของธรรมะ ในบทเฟินเทียนเจวี่ยน จารึกไว้ว่า "โป๊ยก้วยคุมลมหายใจให้เวียนวน สักี่คนแต่โบราณที่รู้ชัด เบาปัญญาหาธรรมะในกระดาษ ใครไม่คาดธรรมะอยู่คู่ขั่นหลี่"  (ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ในตน)   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                         ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม 

               @   ธรรมะประณีตด้วยการผนึกสามห้า  หมายความว่าอย่างไร   

        สามห้าไม่เพียงแต่กล่าวกันในศาสนาเต๋าเท่านั้น ศาสนาปราชญ์และศาสนาพุทธก็เช่นกัน ศาสนาปราชญ์มีปกครองสาม ศาสนาพุทธมีไตรสรณะ ศีลห้า ศาสนาเต๋ามีคุมสาม กำหนดห้า  (คุมกายธาตุ พลังธาตุ วิญญาณธาตุ กำหนดพลังเดิมของหัวใจ ตับ ม้าม ปอด ไต เอาไว้ให้คงที่)  แม้ชื่อจะต่างกันแต่หลักเป็นอันเดียวกัน วันใดได้สมบูรณ์จะเป็นเซียน พุทะะ อริยะ  เช่นดียวกัน นี่เป็นสามห้าภายนอก ยังมีสามห้าภายในที่ง่ายกว่าอีก บทกลอนพระโอวาทพระอนุตตรธรรมเจ้า จารึกไว้ว่า  "สองห้าสมาน             กายสังขาร             ก็สมบูรณ์
                           สามห้าเข้าเกื้อกูล       คนตรงศูนย์             ฟ้าเบื้องบน
        แต่ละเดือน หนึ่งค่ำ  (ชิวอิก) ดวงจันทร์เริ่มปรากฏครบ 3 x 5 = 15 วัน  ดวงจันทร์ก็กลมเต็ม ชีวิตถึงวัยห้าสิบ ร่างกายเจริญครบถ้วน ซึ่งธรรมชาติก็เช่นกัน อะไรคือสองห้า สองห้าคือนัยน์ตา  อะไรคือสามห้า เพิ่มจิตญาณรวมกับนันย์ตาเป็นสามห้า  สองห้าเบื้องบนคือตะวันเดือนอันสะท้องส่องถึงกัน ถ้าคนย้อนมองส่องตนรวมศูนย์ไว้ไม่กระเจิง ก็คือวิธีการกลับคืนไปสู่ต้นกำเนิดเดิม คำในพระคัมภีร์แฝงความนัยไว้มากมาย แม้ไม่เข้าใจ ให้ยึดหลักหนึ่งจิตญาณ  หนึ่งญาณทวาร   เทียบเคียงให้เข้าใจ แสวงหาพระวิสุทธิอาจารย์ประทานชี้จุดก็จะเข้าใจได้ทีละขั้น เมื่อเข้าใจแล้วก็ให้ทิ้งสมมุติฐานสัญญลักษณ์ภายนอก บำเพ็ญตนให้ดีเป็นสำคัญ เช่นนี้หมายความว่าอย่างไร ในคัมภีร์จารึกไว้ว่า "อันธรรมที่เรากล่าวอ้างดังเรือแพ เมื่อรู้แท้ให้สละแพขึ้นฝั่งได้" เมื่อขึ้นฝั่งไปได้แล้วจะยังนั่งเรือแพอยู่ทำไม

                    @   อย่างไรคือสามวิเศษรวมศูนย์ ห้าพลังคุมธาตู *

        วิธีปฏิบัตินี้เป็นความประณีตในการรวมจิตตรงศูนย์ สามวิเศษ ซันฮวา คือ กายธาตุ พลังธาตุ และวิญญาณธาตุ  กายสังขารเป็นเช่นเตาไฟ ศูนย์กลางญาณทวารเป็นเช่นกะทะ ศาสนาเต๋าของท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อ สอนให้เจริญสมาธิด้วยการกำหนดวางเตาไฟ (กำหนดลมปราณอันหลู) ตั้งกะทะ (ตั้งจิตรวมศูนย์ลี่ติ่ง) ด้วยวิธีการเช่นนี้   ห้าพลัง  คือพลังจากอวัยวะภายในทั้งห้า (หัวใจ ตับ ม้าม ปอด ไต) เมื่อจิตสงบ พลังธาตุขุ่นมัวกลายเป็นเบาใส ให้รวมจิตอยู่ที่ญาณทวาร นานและไม่ขาดสาย มีตัวตนเหมือนไม่มี ดำรงภาวะนี้ไว้ยิ่งมากได้ก็ยิ่งดี ในที่สุดธาตุแท้จิตญาณก็รวมศูนย์สมบูรณ์

หมายเหต  :  เรื่องเกิดตายเป็นเรื่องใหญ่ มิใช่ฝักใฝ่อยู่กับวิธีการกำหนดลมปราณ การเจริญสมาธิเจริญญาณ จุดสำคัญอยู่ที่ให้รู้ญาณภาวะ ให้รู้ธรรมะอันเป็นชีวิตจริง ๆ ของตน และดำรงอยู่ในภาวะนั้นจนกว่าจะทิ้งกายสังขารคืนสู่นิพพานอันวิมุติ

                   @   รู้จุด  หยุดนิ่ง  สมาธิ  สงบ  พิจารณา  ได้รับ  ในคัมภีร์มหาสัตถคืออย่างไร

        วิธีนี้เป็นความประณีตในการบำเพ็ญตามวิถีพระอริยะขงจื้อ ภายในรู้กำหนดจิตให้สงบนิ่งอยู่บนฐานอันวิเศษ  ภายนอกรู้กำหนดพฤติกรรมให้อยู่ในลู่ทาง การกำหนดพฤติกรรม ให้ดำเนินด้วยใจสงบเป็นธรรมชาติ (มิได้กดดันบังคับ) รู้จุดหยุดนิ่งแล้วได้สมาธิ ได้สมาธิแล้วได้ความสงบเยือกเย็น ได้ความสงบเยือกเย็น แล้วได้ความสุขุมคัมภีรภาพ ได้ความสุขุมคัมภีรภาพจึงเกิดการพิจารณา การพิจารณานี้มิใช่อื่นไกล คือสัมมาปัญญานั่นเอง จะรู้พิจารณาว่าอย่างไรคือสัจธรรมของฟ้าเบื้องบน อย่างไรคือโลกีย์วิสัยเฉพาะตน พิจารณารู้พฤติกรรมความถูกผิด สมควรหรือไม่อย่างไรของตน อะไรคือความถูกต้องด้วยหลักสัจธรรมให้มั่นคงรักษาไว้ อะไรที่ผิดหลักสัจธรรมให้กวาดล้างไป เช่นนี้เรียกว่าได้รับ (ได้รับวิถีธรรม)  ก็คือได้รับการถ่ายทอดวิถีแห่งจิตแล้ว จิตได้ประทับจิตแล้วและไม่มีภาวะใดอันมิได้เข้าถึงและลึกซึ้งในความเป็นนั้น       

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม 

                @    ความปราณีตในการบำเพ็ญ 

        รู้จุดหยุดนิ่งแล้วเป็นสมาธิ (ศาสนาพุทธเรียกว่าฌาณสมาธิ)  (จิตสงบเรียกว่าฌาณ รู้จิตแน่วแน่เรียกว่าสมาธิ)  จุดสงบ แม้มิได้รับถ่ายทอดจากพระวิสุทธิอาจารย์ยากที่จะรู้ได้ ฌาณสมาธิอันเป็นหนึ่งทุกคนอาจมีได้ ไม่ว่าอริยะหรือสามัญชน เป็นความแน่วแน่อันไม่เปลี่ยนแปร การกล่าวว่าได้ความสงบ ได้ความสุขุมคัมภีรภาพ ได้พิจารณาได้รับ เพราะต้องอาศัยความสามารถแห่งตน ความสามารถมีมากน้อยระยะสั้นระยะยาว แต่ธาตุแท้จิตญาณอันเป็นอยู่มีอยู่นั้น ไม่เพิ่มไม่ลด ไม่มีมลทินภาวะ ไม่เป็นวิมลภาวะ เป็นภาวะเดิมทีที่แน่นอน ความสงบ ความสุขุขมฯ พิจารณา และได้รับ มีคุณสมบัติเช่นกันได้ ที่ต่างกันก็ด้วยความพยยามที่ต่างกัน มรรคผลนิพพานจึงต่างกัน ฉะนั้น จึงแบ่งวิถีธรรมเป็นสามระดับยาน แบ่งฐานบัวเป็นเก้าชั้น

                 @   บรรลุจิตเป็นกลางสมาน ดำรงฟ้าดิน ก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ไม่ทราบในคนเราจะมีวิธีใช้อย่างไร

        บรรลุจิตเป็นกลาง เป็นฐานของธรรมะ บรรลุคือผลักดันให้ถึงที่สุด ความเป็นกลางคือฐานของจิต สมานคือคุณภาพของจิต  คนโบราณกล่าวไว้ว่า "พิชิตความคิด เป็นอริยเจ้า"  ฉะนั้น การบำเพ็ญจึงมุ่งหมายให้ใจสงบ ความยินดี มีสุข โศกเศร้า โทสะ เป็นอารมณ์ มีสู้ไม่มีจะดีกว่า เช่นนี้จึงจะร่วมฐาฯเดียวกันกับฟ้าดิน เมื่อตนรู้ในคุณงามแห่งจิตแท้ตนแล้ว ยิ่งจะต้องชักจูงให้ใคร ๆ ได้บำเพ็ญจริง อันเป็นมหาเมตตามิอาจประมาณ สงสารผู้คนด้วยจิตเช่นนี้สงสารสรรพชีวิตก็เช่นนี้  ปราชญ์เมิ่งจื้อกล่าวไว้ว่า "แม้อาจปรากฏธาตุแท้จิตตนได้สมบูรณ์ ก้อาจปรากฏธาตุแท้ความเป็นคนได้ และปรากฏธาตุแท้ของสรรพสิ่งได้" เมื่อปรากฏธาตุแท้ของสรรพสิ่ง ก็มีส่วนร่วมสมานปัจยการกำเนิดของสรรพสิ่งในฟ้าดินได้ เมื่อมีส่วนร่วมสมานปัจยการกำเนิดของสรรพสิ่งในฟ้าดินได้ ก็อาจมีส่วนร่วมพลานุภาพในการก่อกำเนิดสรรพสิ่งของฟ้าดินได้ นี่ก็คือบรรลุจิตเป็นกลางสมาน ดำรงฟ้าดิน ก่อกำเนิดสรรพสิ่ง

                @   หลุดพ้นคืออย่างไร

        คำว่าหลุดพ้น หลุดหมายถึงออกจากพันธนาการของอวิชา ความรักโลภโกรธหลง  พ้นหมายถึงห่างจากความทุกข์ของผลกรรมชั่วทั้งสามโลก การจะหลุดพ้นมีทางเดียวคือ เกิดสัมมาปัญญาโดยฉับพลัน พ้นจากรูปธรรมทั้งปวง พุทธธรรมให้ตัดอวิชา มีศรัทธาในสัจธรรมเป็นหลัก ตัดรูปธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ใช้จิตว่างเป็นฐานของการบำเพ็ญ จิตหลุดพ้น ทั่วไปเรียกว่าปลงตก เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งอย่าง รู้แท้ในรสชาติเปรี้ยวหวานเผ็ดขมของชีวิตทางโลก อีกทั้งภาวนาหาทางความสงบอยู่เสมอ ทุกอิริยาบทเห็นความเที่ยงแท้ของจิตเป็นที่ตั้ง มีอะไรผ่านเข้ามารับรู้ได้ เมื่อผ่านไปก็ว่างเปล่า ทำเช่นนี้ได้ก้ไม่ไกลไปจากเห็นจิตแท้ตนมากนัก พึงรู้ว่า แม่น้ำภูเขายาวเหยียดหมื่นลี้มิใช่ของฉัน ลูกเมียมิอาจอยู่ร่วมกันตลอดไป เงินทองมากมายหลายล้านต้องหนักใจรักษาไว้  มีแต่จิตญาณ ชีวิตจากฟ้าเท่านั้น ที่เมื่อบำเพ็ญก็บรรลุเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ละทิ้งไปก็กลายเป็นผี ทุกข์สุขอยู่กับตนเป็นคนหามา เมื่อทำเช่นนี้ได้จึงจะหลุดพ้น

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

              @    กายว่าง ใจว่าง จิตว่าง ธรรมะว่าง  คืออย่างไร

        กายสังขาร พ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิด มีลมหายใจเช่นเดียวกับพ่อแม่ ทวารทั้งเก้า (สองนัยน์ตา สองหู สองรูจมูก หนึ่งปาก หนึ่งทวารหนักทวารเบา) ระบายขับถ่ายเรื่อยไป สกปรกทุกอย่าง  กายสังขารประกอบด้วยธาตุ ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  ในที่สุดต้องเสียหาย  จึงมีผู้ทรงปัญญารู้ว่าสังขารเป็นภาพลวงตา ศึกษาธรรมบำเพ็ญธรรม  เช่นนี้คือรู้แจ้งว่า "กายสังขารว่างเปล่า" 
        เมื่อย้อนมองจิตตน ไม่เกิดไม่ดับ ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด รับรู้เมื่อมีมา ดับหายเมื่อผ่านไปรู้ได้ในจิตแท้ มีสัมมาสติตลอดเวลา ไ่ม่มัวเมา ไม่หลงใหลไปตามใจกระเจิง แต่ปฏิบัติบำเพ็ญตามจิตแท้  เช่นนี้เรียกว่า "รู้แจ้งในจิตว่าง"
        เมื่อย้อนมองธาตุแท้จิตตนอันสงบคงที่ มีอภิญญารอบรู้ ปลอดว่างสว่างใส ลึกล้ำมีอำนาจปราศจากอาสวะใด ๆ ทุกอย่างเป็นไปโดยมิได้กำหนด ฯ  เช่นนี้เรียกว่า  รู้แจ้งในจิตแท้  เมื่อมองดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วิถีธรรมที่พระองค์นำพาล้วนเป็นทางสะดวก เปรียบได้ดั่งน้ำชำระละอองดิน ดังยารักษาโรค ฯ เมื่อผู้ใดได้รู้แจ้งในจิตว่างแล้ว ก็เหมือนโรคหายไม่ต้องกินยาต่อไป เช่นนี้คือ "รู้ว่างหนทางธรรม"
        สรุปว่า สัมมาปฏิบัติไม่มีอื่นใด อยู่ที่รู้แจ้งต้นตอของจิตใจ โลภอยากไม่จบ จิตถูกผูกโยง ซึ่งอันที่จริงจอตเป็นความสงบ ก็ต้องกลายเป็นหวั่นไหวบ้าง คงที่บ้าง  อันที่จริงไม่มีอะไรค้างใจก็ต้องกลายเป็นคิดบ้างหยุดบ้าง  อันที่จริงปัญญาญาณรอบรู้สมบูรณ์หมดจดปกติ ไม่คิดก็มีได้ แต่เมื่อคืดเพราะจิตไหวจิตก็ถูกบดบัง  การรู้ธรรมะจึงไม่มีประโยชน์ แต่หากจิตใจใสสะอาด ไม่หวั่นไหว ไม่ยึดติดกับสิ่งใด ไม่คิดดีไม่คิดชั่วเหมือนโง่เหมือนเซ่อ ปฏิบัติดังนี้เรียกว่า " บำเพ็ญเป็นพุทธะ "

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                  @    คัมภีร์กล่าวว่า "นัยน์ตา หู จมูก ลิ้น เป็นโจรทั้งสี่" และการไม่ยึดถือในรูปลักษณ์ทั้งหลายคืออย่างไร

        นัยน์ตา หู จมูก ลิ้น เป็นอายตนะสี่ เป็นเครื่องช่วยจิตญาณทำงาน  แต่หาก ดู ฟัง ดม พูด ผิดเพี้ยน อายตนะสี่ก็กลายเป็นโจรผู้ร้ายสี่ ทำร้ายจิตญาณ ดังนั้นท่านปราชญ์ขงจื้อจึงกำหนดสี่ไม่ คือ ไม่ดู  ไม่ฟัง  ไม่พูด  ไม่ทำสิ่งอันเป็นการเสัยจริยา ซึ่งได้สอนท่านเอี๋ยนหุยก็คือหลักนี้ ที่กล่าวว่าไม่ยึดอัตตาตัวตน ไม่ยึดบุคคล เหล่านี้ก็สัมพันธ์กับอายตนะสี่ 
        นัยน์ตาเป็นตัวให้ เป็นบุคคลา  หากสงบใจพิจารณา เวไนย์สัตว์ ล้วนเป็นเช่นเด็กไร้เดียงสา  ไม่แบ่งแยกเขาเรา ชั่วดีถี่ห่าง ฉุดช่วยด้วยความเสมอภาค เรียกว่า "ไม่ยึดในบุคลา"
        หูเป็นตัวเงียบ เป็นอัตตา แม้รู้ตัวตนเป็นมายา ใด ๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ไม่ห่วงใยแต่ชีวิตกายสังขาร แต่เดินตามแนวทางพระโพธิสัตว์ เรียกว่าไม่ยึดอัตตา
        จมูกเป็นตัวดม เป็นชีวิตา แม้รู้แจ้งในตนเองว่าไม่มีวิญญาณอันเกิดตายอย่างแท้จริง ไม่เคลื่อนไหวไปตามสภาวะสัญญาอารมณ์ แต่ปฏิบัติบำเพ็ญเป็นไปตามแรงปณิธาน เรียกว่าไม่ยึดในชีวิตา
        ปากเป็นตัวแพร่ เป็นสรรพสัตว์ แม้หากเข้าใจในความหลงโลก ให้ตัดขาดสิ้นเยื่อ ไม่เกี่ยวกรรมต่อไป เรียกว่า ไม่ยึดในสรรพสัตว์  รวมความก็คือ การจะได้มรรคผลพึงระวังอายตนะสี่  อายตนะสี่ไม่บริสุทธิ์ก็จะสร้างบาปมหันต์ ยากจะได้พบธาตุแท้ญาณเดิมแห่งตน

                     @   คัมภีร์จารึกว่า ทวารทั้งหกปิดเสมอ  ไม่ต้องเดินหนทางคนคืออย่างไร

        ทวารทั้งหกคือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ  ทวารเหล่านี้ไม่ปิด เข้า ๆ ออก ๆ ตามอำเภอใจ ไม่เพียงแต่ไม่อาจบรรลุ ภายหน้าเมื่อตายยังอาจไปสู่ชีววิถีหก ด้วยเหตุอันใดฤา ก็ด้วยตา หู จมูก ลิ้น เป็นประตูแรกของชาติกำเนิดสี่ สี่หนทาง 
        นัยน์ตาเจ้าชู้ เมื่อตายวิญญาณออกจากนัยน์ตา  จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์ปีกให้คนชมเล่น
        หูชอบฟังมิจฉาวาจาไร้สาระนัก เมื่อตายวิญญาณออกจากหู ชาติหน้าเกิดเป็นวัว ม้า แกะ ลา ฯลฯ หูผึ่งใหญ่ฟังคนเรียกใช้งาน
        จมูกติดกลิ่นมาก เมื่อตายวิญญาณออกทางจมูก ชาติหน้าจะต้องเกิดเป็นมดปลวก แมลง หมกอยู่กับความเหม็นอับสกปรกและต้องตายด้วยการสุดกลิ่นดูดกิน ชอบทำลายชื่อเสียงผู้อื่น นินทาว่าร้าย เมื่อตายวิญญาณออกทางปาก  ชาติหน้าเกิดเป็นสัตว์หรือแมลงมีเกล็ด  ตามหลักคำนวนโป๊ยก้วย ปากตรงกับสัญลักษณ์ขั่น ขั่นคือน้ำ วิญญาณออกจากปากจึงหมายึงกุ้งปลา ฯ ผู้ใดหลงอบายมุข เสพติด ผิดปกติ ดื้อร้นไม่กตัญญู ดำเนินชีวิตขัดต่อหลักธรรม ชาติหน้าจะต้องเกิดมารับกรรม ทั้งนี้เป็นวงเวียนชีวิตที่ไม่ผิดเพี้ยน บางคนถือสัมมาปฏิบัติ ประพฤติดีมีน้ำใจ แต่มิได้ผูกบูญสัมพันธ์กับการจะได้รับวิถีธรรมมาก่อน จึงยังมิได้รับวิถีธรรม ชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นคนบุญหนักศักดิ์ใหญ่ รับวาสนาสักการะเชิดชูไปชาติหนึ่ง เมื่อตายกลับลงนรกต่อไป เช่นนี้เรียกว่าการเวียนว่ายในชีววิถีหก  ฉะนั้น พระศาสดา ศาสนาเต๋าท่านเหลาจื้อ จึงสอนให้คนปิดประตูทวารทั้งหกของตนให้สนิท จะได้ไม่ต้องเข้าไปสู่ชีววิถีหก แต่ทวารทั้งห้า (ตา หู จมูก ปาก ร่างกาย) ยังควบคุมได้ ทวารภายในคือความคิดจิตใจนั้นคุมได้ยาก ความคิดจิตใจหรือธรรมารมณ์นั้นแฝงอยู่ที่ม้าม มีชื่อว่าอินเสิน วิญญาณวาภะอิน  ในศาสนาเต๋าให้ใช้วิธีโง่กำจัดคือ ทุกขณะเวลา ให้รวมจิตไว้ตรงศูนย์ญาณทวาร ใช้พลังไฟในธาตุแท้ของจิตหล่อหลอมจนเหมือนโง่เซ่อ ทำเช่นนี้ด้วยความเข้มแข็ง โดยไม่หยุดยั้งจนครบหนึ่งร้อยวัน ก็จะได้จิตสัมผัสใหม่ที่ใสสว่างมีปัญญา ปฏิบัติต่อไปนานเข้าธรรมารมณ์ก็หายไป จิตเดิมแท้ ทวารทั้งหกมิต้องบังคับกำหนดให้ปิดก็จะปิดได้เอง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม 

                  @   คำแรกในคัมภีร์อี้จิงคือ เฉียน เอวี๋ยน เฮิง ลี่ เจิน อธิบายได้หรือไม่

        เฉียน หรือ เหล่าหยัง หมายถึงสัจธรมของฟ้าเบื้องบน อยู่ในคนคือธาตุแท้ญาณเดิม เหล่าหยังเป็นพลังกำเนิดทุกสิ่ง เป็นศักยภาพที่แปรเปลี่ยนทุกสิ่ง  เอวี๋ยน เฮิง ลี่ เจิน  (คุณทั้งสี่) เมื่อเป็นภาวะของฟ้าคือฤดูกาลทั้งสี่  เอวี๋ยน คือฤดูใบไม้ผลิ  เฮิง คือฤดูร้อน  ลี่ คือฤดูใบไม้ร่วง  เจิน คือฤดูหนาว  หลังจากเจินแล้วก็เวียนมาเริ่มเอวี๋ยนใหม่ เป็นเช่นนี้เรื่อยไปไม่สิ้นสุด นี่เรียกว่าเป็นวิถีธรรม (ธรรมชาติ) ของฟ้า เมื่อเป็นภาวะของแผ่นดินโลก คือสี่ทิศ  เอวี๋ยนคือทิศตะวันออก  ลี่คือทิศตะวันตก  เจินคือทิศเหนือ เมื่อเป็นภาวะของคน คือสี่ฐาน ซื่อตวน หมายถึง เมตตา มโนธรรม จริยาฯ ปัญญา  *หลังจากกราบพระวิสุทธิอาจารย์รับรู้เอวี๋ยนธาตุแท้ญาณเดิมของตนแล้ว กำหนดให้เฮิงสำแดงคุณ (สร้างบุญฯ) ให้ชีวิตทั้งหลายได้  ลี่ดำเนินไปในภาวะอันเหมาะสมกลมกลืนด้วยกุศลภายนอกใน ชีวิตเป็นเจินดำรงอยู่สืบไปด้วยความมั่นคง (เป็นอมตะไม่เวียนว่าย) ในศาสตร์โบราณของจีนคำนวณออกมาได้ว่า อู้จี่อยู่ในตำแหน่งกลาง หมายถึงแผ่นดิน ต้นกำเนิดของชีวิตตั้งอยู่บนฐานไม่เอนเอียง ณ ที่นั้นคือ ญาณทวาร  คุณงามทั้งหลายเกิดขึ้น ณ ที่นั้น ชาวโลกเรียกหยุดนี้ว่า "ผืนนาใจ" (ซินเถือน) เมื่อมองดูอักษรของคำว่าผืนนา จะเห็นเป็นผืนนาสี่ช่อง ก็เห็นได้ว่าปลูกบุญก็เกิดบุญวาสนา ปลูกบาปก็เกิดเหตุร้ายกัยพาล บุญวาสนา  เหตุร้ายภัยพาล  มงคลหรืออัปมงคล ตนปลูกตนเก็บผล  ฉะนั้น จอมเซียนหลวี่ต้งปิน จึงกล่าวไว้ว่า "ชีวิตฉันเป็นสัจธรรมจำเดิมมา มิใช่ฟ้าแต่ฉันทำกำหนดเอง" เมื่อเจ้าใจเช่นนี้แล้ว ก็รู้จักบำเพ็ญบุญวาสนา สร้างสมอริยทรัพย์ไว้ชาติหน้า ผู้บำเพ็ญจิต จึงเป็นผู้สร้างอริยทรัพย์อมตะ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการบำเพ็ญของตน

แตกต่าง / สี่คุณ             ในกายตน             อยู่ในภาวะนิ่ง             อยู่ในภาวะไหว             ความหมาย

เอวี๋ยน                    ภายใน =  ตับ           ธาตุแท้ธรรมญาณ            เมตตา                สรรพชีวิตเป็นได้ด้วยฟ้าประทาน ธาตุแท้ธรรมญาณ
                          ภายนอก =  หู

เฮิง                       ภายใน =  หัวใจ         ธาตุแท้พลังญาณ            จริยา                  สรรพชีวิตสำแดงคุณได้ด้วย ธาตุแท้พลังญาณ
                         ภายนอก =  นัยน์ตา

ลี่                         ภายใน  =  ปอด          ธาตุแท้อารมณ์              ปัจยการ              ชีวิตต่างๆ ดำเนินไปในสภาวะอันเหมาะสม
                        ภายนอก  =  จมูก

เจิน                      ภายใน  =  ไต            ธาตุแท้กายธาตุ             ปัญญา                ชีวิตต่างๆ ดำรงอยู่สืบไปด้วยความมั่นคง
                        ภายนอก  =  ปาก     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                 @   ไม่พิจารณ์ ไม่มีกำหนด สงบนิ่ง ทรงศักยภาพ ในคัมภีร์อี้จิง หมายถึงอย่างไร

        พระธรรมาจารย์สังฆปรินายกสมัยที่สิบห้า กล่าวไว้ว่า "สัจธรรมเป็นหลักอันไม่เปลี่ยนแปลง แต่สัจธรรมอันไม่เปลี่ยนแปลงก็มีปรากฏเปลี่ยนแปลง" เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงก็ยังคงเป็นหลักสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง (เช่นการโคจรของตะวันเดือน) ความไม่เปลี่ยนแปลงเรียกว่า หลักของสัจธรรม (หลี่)  ความเปลี่ยนแปลงเรียกว่า เกณฑ์ของสัจธรรม (ซู่)  หลัก ฯ มิอาจพ้นไปจากเกณฑ์ ฯ   เกณฑ์ ฯ มิอาจพ้นไปจากหลัก ฯ  แม้พ้นจากกัน ฟ้าจะถล่มแผ่นดินทะลายผู้คนจะล้มตาย สรรพสิ่งจะถูกทำลาย หลักสัจธรรมอันทรงศักยภาพ หมายถึงจิตวิสัยจิตภาพในคน นั่นก็คือธาตุแท้จิตญาณนั่นเอง  ธาตุแท้จิตญาณของคน เป็นความสงบอันวิสุทธิ์ ไม่มีตริตรึกสำนึกอารมณ์ใด ๆ เป็นธาตุธรรมอันสมบูรณ์ เปรียบเช่นกระจกเงาส่องสิ่งใดก็ปรากฏสิ่งนั้น เมื่อสิ่งนั้นผ่านไปก็ไม่เหลือร่องรอยใด ๆ ฉะนั้น จึงสอนให้ชำระจิต กำจัดตัณหา เมื่อเมฆลอยผ่านไป จันทร์กระจ่างก็เผยโฉม ทั้งนี้ล้วนเป็นหลักสัจธรรม ยังจะต้องพิจารณากำหนดหรือ

                @   ปราชญโจวจื้อกล่าวว่า สัจธรรมบนชั้นโลกุตตรประกอบกับกายธาตุสองห้า จึงรวมตัวกัน ในคัมภีร์อี้จิงจึงจารึกไว้ว่า ฟ้าเป็นชาย  แผ่นดินเป็นหญิง หมายความว่าอย่างไร

        ที่ปราชญ์โจวจื้อกล่าวนั้น เป็นหลักการณ์กำเนิดมนุษย์ ในคัมภีร์อี้จิงเรียกว่าเต๋า โดยกล่าวถึงชั้นพรหมโลก ส่วนคนทั่วไปจะไม่รู้ว่า เหนือชั้นพรหมโลกยังมีชั้นโลกุตตร  เหล่านี้เป็นข้อความที่ปรากฏในหนังสือคัมภีร์อี้จิง  จึงได้กล่าวว่า หนึ่งอินหนึ่งหยังรวมกันเป็นเต๋า ธาตุแท้ธรรมญาณก็คือญาณที่เบื้องบนประทานไว้กับกายคน กายธาตุสองห้าคือกายธาตุของบิดากับโลหิตมารดารวมกัน ตัวชีวิตกายธาตุของบิดาได้อาศัยโลหิตของมารดาหล่อเลี้ยง ญาณชีวิตอันเป็นธาตุแท้สัจธรรมจากชั้นโลกุตตรก้เข้าสถิต จึงเป็นชีวิตที่เกิดขึ้นจากสามห้า  (สองห้าคือ ธาตุทอง ไม้ น้ำ ไฟ ดินจากพ่อแม่ ห้าที่สามคือ เมตตา มโนธรรม จริยฯ ปัญญา สัตยธรรม อันเป็นคุณสมบัติของธาตุแท้ญาณเดิมของตนเอง) พลังหยัง (ฟ้า) สูงกว่าจะเกิดเป็นชาย   พลังอิน(แผ่นดิน) สมบูรณ์จะเกิดเป็นหญิง  จึงกล่าวว่า ฟ้าเป็นชาย  แผ่นดินเป็นหญิง

                @   ในหนังสือธรรมโอวาทมีคำว่าฐาฯกับคุณ ต้นกับปลาย คืออย่างไร

        ฐาน  คุณ  ต้น  ปลาย   หมายถึงรากโคนกับปลายกิ่ง เป็นทั้งเรื่องทางโลก กับเรื่องทางธรรม  ในทางธรรมะ จิตญาณเป็นฐาน จิตใจเป็นคุณ หากจิตใจเป็นฐาน มือเท้าก็เป็นคุณ  คนทั่วไปรู้ดีว่าคนมีจิตใจเป็นหลัก แต่ที่รู้คือใจเลือดใจเนื้อ แท้ที่จริงใจที่เป็นเลือดเนื้อนั้นคืออวัยวะชิ้นหนึ่งที่ช่องอก มิใช่เจ้าชีวิตที่แท้จริง ให้นึกถึงโฉมหน้าอันแท้จริงของตนก่อนที่พ่อแม่จะให้เกิดกายมาก็จะรู้   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                    @   อนุตตรธรรม มนุษยธรรม ต่างกันอย่างไร ควรจะเริ่มอะไรก่อน

        ถ้าบำเพ็ญโดยเห็นความสำคัญของชีวิตจิตญาณ และการโปรดสัตว์ครั้งใหญ่ในยุคสามก็คืออนุตตรธรรม  ถ้าปฏิบัติดดยเห็นความสำคัญของคุณสัมพันธ์ระหว่างคนก็คือมนุษยธรรมของคนทั่วไป มนุษยธรรมเป็นกิ่งก้านสาขาของอนุตตรธรรม  ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญอนุตตรธรรมจะต้องยืนหยัดให้มั่นคงในมนุษยธรรมเป็นจุดเริ่มต้น  กตัญญู  พี่น้องปรองดอง  จริงใจ  จงรัก  มีความสัตย์จริง  มีจริยะ  มโนธรรม  สุจริตฯ  รู้ละอาย  เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของสามโลก  ฟ้าดินสอดส่องมองดูจิตใจและพฤติกรรมของคนอยู่ทุกเวลา หากไม่รู้จักกตัญญูต่อพ่อแม่บังเกิดเกล้า ไม่รู้จักรักสมัครสมานต่อพี่น้อง ไม่จริงใจต่อญาติเพื่อนฝูง ปากกับใจไม่ตรงกัน ไม่มีความสัตย์จริง ไม่มีจริยะมโนธรรม ขาดความสุจริต ไม่ละอายต่อความผิดบาป คนเช่นนี้บำเพ็ญไปก้ไร้ประโยชน์ เมื่อขาดมนุษยธรรม จะยังพูดถึงอนุตตรธรรมได้หรือ  ฉะนั้น  ผู้บำเพ็ญอนุตตรธรรม จึงพึงปฏิบัติมนุษยธรรมให้ดีที่สุดเสียก่อน ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "ศึกษาเบื้องล่าง บรรลุเบื้องบน" (ศึกษาความเป็นคน บรรลุอริยะ) เมื่อถึงพร้อมในมนุษยธรรม ก็ใกล้อนุตตรธรรมแล้ว

                    @   ปัญญาชนคืออย่างไร

        ปัญญาชนคือผู้รู้ มีแต่ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่รู้ว่ามีวิถีอนุตตรธรรมให้บำเพ็ญได้ รู้ว่ามีอริยวิชาให้ศึกษาได้ รู้ว่ามีพระวิสุทธิอาจารย์ให้แสวงขอได้ รู้ว่ามีบุญให้ทำ รู้ว่ามีบาปให้สำนึกขอขมา และที่สุด รู้ว่ามีหนทางมาสู่โลกและพ้นโลกได้  วัฏจักรกงกรรม เช่น ท้องฟ้ามีตะวัน เช่นกลางคืนมีโคมไฟ เมื่อได้รู้ได้เห็น บาปบุญคุณโทษตอบสนอง ได้รู้ได้เห็นจิตแท้แห่งตนและสัจธรรมก็จะละชั่วมาสู่ดี ละบาปมาสู่บุญ เปลี่ยนทางผิดให้เป็นทางถูก  ผิดหลักความจริงไม่พูด  ผิดต่อธรรมะไม่ทำ  มิใช่ของตนไม่หยิบฉวย  มีความเที่ยงตรงทุกขณะ  จริงใจทุกเวลา  สร้างสมคุณงาม เชืดชูเกียรติประวัติให้คงชื่อไว้ว่าเป็นผู้มีปัญญา  รวมความว่า ให้มีแต่เมตตามโนธรรม พูดแต่คุณงามตั้งตนดี  อีกทั้งช่วยผู้อื่น บรรลุตน บรรลุท่าน เพื่อจุดหมายในอันที่จะทำให้ทุกคนบรรลุสู่เส้นทางอริยปราชญ์

                     @   คนโง่เขลาคืออย่างไร

        คนโง่คือคนเขลาเบาปัญญา  คนโง่เขลาจิตใจมืดมัว ใจมืดมัวจึงไม่รู้จักความสูงต่ำ ไม่รู้ว่ามีนรกสวรรค์ ไม่เชื่อว่ามีวัฏจักรชีววิถีหก รู้แต่โลภอยากสุรานารี ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ปรนเปรอปากท้องของตน ชั่วชีวิตน้อยใหญ่นับร้อยล้าน ผูกเวรจองกรรมนับชีวิตร้อยล้าน ต้องเกิดกายเวียนว่ายมาเจอกัน ขบเคี้ยวกินกันไม่มีวันจบสิ้นด้วยเหตุอะไร วัว ควาย ม้า แพะ แกะ สัตว์ต่าง ๆ ล้วนเป็นคนสนิทชิดเชื้อเครือญาติ ทั้งดีร้ายเกี่ยวกรรมกันมา ที่สุดเมื่อตกไปสู่วงเวียนกรรมเปลี่ยนโฉมหน้าเกิดมาเป็นเดรัจฉาน คนโง่เขลาจับเอามาฆ่ากิน ก็คือฆ่าพ่อแม่ของตนเอง กินเนื้อเครือญาติของตนเอง  พ่อถูกลูกฆ่า ในหนทางเวียนว่าย พ่อลูกไม่รู้จักกัน ฆ่ากันกินกันเรื่อยไปไม่มีสิ้นสุด พ้นจากกายสังขารเป็นคนแล้ว นานนับหมื่นกัปไม่กลับคืน เช่นนี้เรียกว่าคนโง่เขลา ดังนั้น  ท่านปราชญ์ซังเจี๋ย สร้างอักษรจีนคำว่าเนื้อ  จึงประกอบด้วยคนสองคนคร่ำทำลายกันอยู่ในวงแคบ ดังคำพังเพยที่ว่า "กินเขาแปดตำลึงจ่ายคืนหนึ่งชั่ง บัญชีหักล้างยังคือคนกินคน" ความหมายเป็นเช่นนี้

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                               ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                   @    คนหลงคืออย่างไร 

          คนหลงคือเลอะเลือนไม่กระจ่าง คนหลงจะอาวรณ์โลกีย์ จะโลภในสุรานารี ปล่อยอินทรีย์หกไปตามตัณหา หลงรูป  รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ระเริงราคะจริต ชั่วช้าสามานย์ ผิดทำนองคลองธรรมมากมาย เพียงเพื่อความต้องการเฉพาะหน้า ไม่ห่วงความหายนะจะตามมา หลงหายจากสัจธรรม ติดตามแต่สิ่งนอกกาย อ่านพระธรรมคัมภีร์เสียเปล่าให้ผิดพระประสงค์ที่พระองค์ได้โปรด หันหลังให้สัมมาสติไปเข้ากับเหล่าโลกีย์ คนเช่นนี้แม้ได้ประสบอริยปราชญ์ก็ไม่อาจฉุดช่วยจะจมอยู่ในทะเลทุกข์ยาวนาน สิ้นสูญจิตแท้ตลอดไป เมื่อตกเข้าไปสู่วงเวียนกรรม หมื่นกัลป์ไม่กลับคืน เช่นนี้เรียกว่าคนหลง

                   @   คนรู้แจ้งคืออย่างไร

        คนรู้แจ้งคือคนมีสัมมาสติ   คนรู้แจ้งจะรู้ว่าจิตคนคือพุทธะ  จะชื่นชมธรรมะบำเพ็ญไม่ผิดในมโน วจี และกายกรรม หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ สะอาดสงบ รู้จักเป็นผู้ให้ในอันการควรทุกเมื่อ ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ฉุดช่วยตนฉุดช่วยคนอื่นให้รู้แจ้งต่อธรรมะเยี่ยงเดียวกัน แม้จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกวิตกวุ่นวาย แต่ก้เวียนมหาธรรมจักร แพร่ธรรมคำสอนแทนเบื้องบน เปลี่ยนนรกให้เป็นสวรรค์ ชี้คนหลงทางให้เห็นพุทธจิตตน ปฏิบัติพุทธกิจต่าง ๆ นำพาเวไนยฯให้หลุดพ้นบังเกิดมหาเมตตากรุณา ปฏิญาณว่าจะฉุดช่วย คนเช่นนี้เรียกว่าคนรู้แจ้ง

                   @   สร้างบาปเวรในวัยเยาว์ แก่เฒ่าได้บำเพ็ญ จะบรรลุหรือไม่

        ทะเลทุกข์กว้างใหญ่ไร้ขอบเขต แต่เมื่อหันหลังก็ขึ้นฝั่งได้ ชาวโลกแม้หากกลับใจ ตั้งปณิธานจะปฏิบัติบำเพ็ญ ละทิ้งสิ่งผิดมุ่งหาสิ่งถูกต้อง เปลี่ยนแปลงความชั่วไปสู่ความดี รักษาศีลกินเจ ได้กราบพระวิสุทธิอาจารย์ รับรู้หนทางตรงสัมมาปัญญา ไม่ว่าคนแก่หรือเล็กล้วนบรรลุได้ ดังคำกล่าวว่า "วางมีดที่คิดฆ่า ณ ตรงนั้น ฉับพลันก็บรรลุอรหันต์"  ท่านปราชญ์หันอุ๋นกง เริ่มศรัทธาต่อธรรมะเมื่อวัยชรา ในที่สุดก็บรรลุ ซึ่งเป็นตัวอย่างได้ในเรื่องนี้

                    @   ชั่วชีวิตถือศีลกินเจสร้างบุญกุศลต่าง ๆ แก่เฒ่ากลับเลิกเจทุศีลจะบรรลุไหม

        คนเช่นนี้แม้จะมีรากฐานบุญ แต่ไม่มีปณิธานความมุ่งมั่นยิ่งใหญ่ ไม่รู้แท้แน่ชัดในธาตุแท้ญาณตน  แต่ห่างไกลจากพระวิสุทธิอาจารย์ จึงทำให้เกิดวิปริต ละทิ้งบุญกุศลที่ทำมาก่อน โจรผู้ร้ายทั้งหก (หู ตา จมูก ปาก ลิ้น กาย ใจ)  กลับเข้ามายึดครองบ้าน ปล้นบุญกุศลเอาไป เมื่อหมดบุญวาสนาสูญสิ้นธรรมะสมบติ สุดท้ายก็ต้องจมลงในทะเลทุกข์ เวียนว่ายต่อไป จะบรรลุได้อย่างไร

                    @   ความรู้ความเข้าใจน้อย บำเพ็ญแล้วจะเพิ่มพูนหรือไม่

        อุตส่าห์เสริมสร้างบุญกุศล เพิ่มพูนปัญญาจากการทำจิตให้สงบเป็นใช้ได้ คนโบราณกล่าวว่า "สมถะเพื่อเสริมส่งใจมุ่งมั่น สงบใจเพื่อบรรลุหนทางไกล"  และกล่าวว่า "การศึกษาพึงอาศัยความสงบ ความรู้พึงศึกษา ไม่ศึกษาไม่อาจได้รู้ความ ไม่สงบใจ เรียนไม่สำเร็จ"  ผู้ผยองตนจึงไม่อาจเข้าถึงความลึกซึ้ง คนเจ้าเล่ห์ร้อนรนจึงไม่อาจพิจารณาด้วยเหตุผล หากเป็นความรู้ที่ได้มาด้วยความสงบ ความรู้และคุณงามจะดีพร้อม ผู้คงแก่เรียนทั้งหลายในโลก ด้วยเหตุใดจึงได้ข้อความและอรรถรสพิเศษจากการใช้อักษร นั่นเป็นเพราะหลังจากใจสว่างเห็นจิตภาวะตนแล้ว เหตุผลที่เขียนจึงเป็นหลักของพุทธะที่เขียนออกมาจากพุทธจิตนั่นเอง 

Tags: