collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม ถ้อยแถลงจากผู้เรียบเรียง  (อ่าน 40265 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                         ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

               @   บุญสัมพันธ์ฐานบารมี คืออย่างไร

        เรื่องของบุญสัมพันธ์ฐานบารมี  จะต้องพูดถึงรากฐานกำเนิดเดิม หากผู้นั้นเป็นพุทธบุตรคนเดิม ธาตุแท้จิตจากฟ้าไม่มัวเมา เมื่อได้ยินใครพูดถึงอนุตตรธรรมความเชื่อมั่นจะเกิดขึ้นทันที เมื่อได้ฟังก็เกิดความเชื่อ เมื่อเชื่อก็บำเพ็ญ เช่นนี้ก็เรียกว่ามีพุทธสัมพันธ์ ที่ว่ามีฐานบารมีหรือฐานตำแหน่งนั้นคือ  คนที่มีพุทธสัมพันธ์ เมื่อได้รับวิถีธรรมแล้วก็ใส่ใจทุกขณะ เกรงว่าจะตกต่ำตามเขาไม่ทัน หมั่นสร้างสมกุศลบุญ ไม่กล้าชักช้า คนเช่นนี้มีวันบรรลุได้ในที่สุด หลังจากบรรลุแล้ว ก็จะได้ฐานตำแหน่งตามมรรคผล เช่นนี้เรียกว่ามีบุญสัมพันธ์ มีฐานบารมี อีกอย่างหนึ่งคือ รูแล้วไม่เรียนเรียกว่าไม่มีบุญสัมพันธ์  เรียนแล้วไม่เป็นจริงเรียกว่าไม่มีฐานบารมี  พระอริยะก่อนเก่ากล่าวไว้ว่า "เมื่อเยาว์วัยไม่ศึกษา เติบโตไม่เป็น  เติบใหญ่ไม่ศึกษา แก่เฒ่าเศร้าหมอง" อย่าคิดว่าวันนี้ไม่เรียน ยังมีวันพรุ่งนี้ ปีนี้ไม่เรียนยังมีปีหน้า วันเดือนหมดไป ขวบปีไม่รอคอยเรา ควรทำแล้วไม่ทำจะเสียใจในภายหลัง  ชายชาตรีจะไม่ทำสิ่งอันต้องเสียใจในภายหลัง เมื่อถึงเวลาสำนึกเสียใจ ยังจะทันการหรือ

                 @   พุทธบุตรคนเดิมคืออย่างไร

        เริ่มกำหนดกาลขาลป่าดงพงทึบ สัตว์ป่ามากมาย มนุษย์อยู่ร่วมกับสัตว์  ดื่มเลือดกินเนื้อสัตว์สด ๆ อาศัยอยู่ตามถ้ำโพรง ไม่อาจปกครองโลก แม้จะมีคนก็เหมือนไม่มีคน พระอภิภูผู้เป็นเจ้า ทรงเห็นว่าโลกไม่เป็นโลก จึงโปรดเจาะจงส่งพุทธบุตรทั้งหลายจากแดนพุทธะลงมาสู่โลก  เรียกว่า "พุทธบุตรคนเดิม"  (เอวี๋ยนฝอจื่อ) เรียกสั้น ๆ ว่า "คนเดิม"  จากนั้น
อิ่วเฉาซื่อ      อุบัติมา มีปัญหาในทางสร้างบ้านบนคาคบไม้ หลีกเลี่ยงอันตรายจากสิงห์สาราสัตว์ ฯ
สุยเหยินซื่อ   มีปัญญาเสียดสีไม้ให้เกิดไฟ  ให้มนุษย์พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่ต้องกินของดิบเน่าเหม็น
โฮ่วจี          มีปัญญาสอนผู้คนให้ทำไร่ไถนา
เสินหนง       รู้สรรพคุณยาต้นไม้ใบหญ้า
เซวียนเอวี๋ยน   สร้างเสื้อผ้ามาลา
ชังเจวี๋ย         สร้างอักษร
หลิงหลุน        สร้างเสียงดนตรี
        จากนั้นก็เริ่มกำหนดจริยพิธี ดนตรีศึกษา วัฒนธรรม ของโลกเริ่มพร้อมสรรพ ประมาณการความเป็นมาทั้งหมด ล้วนเกิดแต่ปัญญาของจิตญาณ

              @   วิถีธรรมนี้เป็นสัจธรรม แต่เพราะเหตุใดคนส่วนใหญ่จึงไม่เชื่อ

        เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับบุญบารมีของบรรพบุรุษประการหนึ่ง และขึ้นอยู่กับพื้นฐานบารมีของตน อีกประการหนึ่ง ผู้มีบุญสัมพันธ์สดับรับไว้แล้วไม่กล้าละทิ้ง ไม่มีบุญสัมพันธ์ดึงดันก็ไปไม่รอด แม้ไม่มีรากฐานของความเป็นพุทธะ คงยากที่จะเข้าสู่วิถีอนุตตรธรรม รวมความว่า บ้านที่มีคุณธรรมจึงได้กำเนิดบุตรบำเพ็ญได้ เรื่องนี้เปรียบเช่นเหมืองแร่ที่มีทองคำมากมาย ทางการอนุญา๖ให้ประชาชนขอสัมปทานบุกเบิก คนโง่เขลาไม่รู้เรื่อง ไม่ใส่ใจ คืดว่าในก้อนหินจะมีทองได้อย่างไร  ส่วนคนฉลาดฝีเท้าไวไปถึงก่อนได้สัมปทานบุกเบิก ขุดทองได้วันละพันตำลึงกลายเป็นเศรษฐีทันที ต่อมาคนโง่เขลารู้ว่ามีทองจริงรีบไปขอสัมปทานบุกเบิกบ้าง แต่ก็สายเสียแล้ว แร่ทองคำที่มีอยู่ทั้งหมดถูกคนฉลาดเอาไปจนเกลี้ยง ขณะนั้นคนโง่เขลาแม้จะสำนึกเสียใจก็สายเกินการ ดังนั้นจึงกล่าวว่า "มีบุญสัมพันธ์เกิดทันพระพุทธะอุบัติ ไม่มีบุญเกิดหลังพระนิพพานแล้ว"     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                 @   มักจะเห็นผู้ศึกษาธรรม เมื่อแรกเริ่มวิริยะ นานวันชักเหนื่อยล้า ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเหตุใด

        เมธาจารย์เก่าก่อนกล่าวว่า "รับธรรมง่ายแต่บำเพ็ญยาก บำเพ็ญง่ายแต่บรรลุยาก" หมายความว่า คนมักไม่อาจเสมอต้นเสมอปลาย คนเก่าก่อนกล่อมเกลาชาวโลก โดยเดิมทีมีผู้รู้ก่อนสอนให้คนข้างหลังรู้ตามมา คนที่รู้ตามมาเอาอย่างผู้รู้ก่อน บัดนี้เป็นกำหนดโปรดทั่วไป แต่ละตำหนักพระจะสำเร็จหรือล้มเหลว หน้าที่ทั้งหมดอยู่ที่ผู้รับผิดชอบ ระฆังทองไม่เคาะก็ไม่ดัง  ชาวโลกไม่เรียกก็ไม่ตื่น บรรพอริยะกล่าวว่า "คนอาจเผยแผ่ธรรมะ มิใช่ธรรมะเผยแผ่คน"พุทธบุตรปัญญาชนครั้งก่อนเก่า ยังจะต้องคอยให้อาจารย์ฉุดจูง นับอะไรกับคนสมัยนี้ที่เป็นสามัญชนเสียส่วนใหญ่ ฉะนั้นผู้นำการปฏิบัติ พึงสำนึกตนว่า เพื่อกล่อมเกลาชาวโลก จะต้องทำตัวเป็นบรรทัดฐานของผู้ปฏิบัติบำเพ็ญที่ดี แม้จะกล่าวว่า "มีแต่จะขอมาเรียน ไม่มีที่จะไปแค่นสอน" แต่ทว่าไม่สอนแล้วสำเร็จได้เองหมื่นคนหาไม่ได้สักหนึ่งเดียว จึงต้องเร่งรัดผู้นำพารับรอง (อิ๋นเป่าซือ) หมั่นบรรยาย หมั่นพูดเกี่ยวกับการกำหนดชีวิต บำเพ็ญจิตสำรวมกาย กำจัดอบายมุขละเว้นผิดในกาม มนุษย์ธรรมงามพร้อม เกรงพระโองการฟ้า ความมุ่งมั่นแข็งแกร่ง  ขจัดความคิดฟุ้งซ่านซับซ้อน ทำใจให้สงบ ขยันและประหยัด รู้จักประมาณการ ถือศีลกินเจ กำหนดคุณงาม ละเว้นความผิด กลับตัวกลับใจแก้ไขความผิด  สำนึกรู้สิบหกข้อสำคัญที่สุด ควรทำให้คนเคารพปฏิบัติได้ทุกข้อโดยไม่เปลี่ยนแปลง ท่านอาวุโสก่อนเก่ากล่าวไว้ว่า "ไม่สร้างคุณไม่ตกผล" แม้จะกล่าวว่าส่งเสริมผู้อื่น แท้จริงคือส่งเสริมตนเอง จึงต้องปฏิบัติให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่เปลี่ยนแปลง

                  @   ธรรมะสูงหนึ่งศอก มารสูงพันวา เหตุผลนี้มีจริงหรือไม่

        หลังจากกำหนดกาลขาลที่คนได้ถือกำเนิดมาในโลก จนบัดนี้ มีภัยพิบัติเกิดขึ้นหลายครั้ง บาปเวรกองเท่าภูเขา หนี้เก่าชาติก่อนกผ้ยังชำระไม่หมดยังก่อขึ้นใหม่ในชาตินี้ จนกระทั่งหนี้เวรท่วมท้น ทบต้นวนเวียนเกิดตายไม่สิ้นสุด  เมื่อได้รับวิถีธรรม หมู่มารเจ้ากรรมนายเวร เกรงว่าเราจะบรรลุพ้นไปจากวัฏจักร ไม่มีทางทวงถามได้จึงต่างไปทวงถามจากพญายม พญายมธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมเป็นที่สุด แน่นอน เมื่อมีเจ้าหนี้ทวงถามย่อมไม่อาจปิดห้ามการแจ้งความ ดังนั้น บ้างจึงชั่วร้ายไปตามภูติผี  บ้างได้รับอุบัติเหตุ บ้างเจ็บป่วยเรื้อรัง ต่าง ๆ นานา เนื่องจากมีแรงอุปสรรค ผลผักดันให้เสียหายทุกข์ยากอยู่เบื้องหลัง เฉพาะหน้าก็มีแต่เรื่องเดือดร้อนวุ่นวาย ฯลฯ อันเป็นการใช้หนี้ลบล้างบาปเวรที่ผ่านมา ผู้ที่ศึกษาไม่ลึกซึ้ง ก็จะว่า "ฉันรับธรรมะ บำเพ็ญบุญวาสนา เหตุไฉนจึงยังได้รับเคราะห์ภัย" ทำให้คนทั่วไปยิ้มเยาะ ญาติเพื่อนฝูงวิจารณ์กันข้างหลัง  เป็นเหตุให้ความตั้งใจถดถอยกันมากมาย  ซึ่งหารู้กันไม่ว่า "หยกไม่เจียระนัย ไม่เป็นรูป ทองไม่เผาไฟไม่มีค่า  แม้ไม่มีเขาสูง จะมีที่ลุ่มต่ำได้อย่างไร ผ่านการตีนับพันครั้ง จึงจะเป็นเหล็กดีได้" จึงหวังว่าจะอดทนกันได้จึงจะดี ท่านบรมครูขงจื้อกล่าวไว้ว่า "เล็กน้อยอดไม่ได้ จะเสียการใหญ่"   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                 @   คำปฏิญาณที่ว่าให้ฟ้าอัสนีตำหนิโทษ เคยได้ยินหรือไม่

        ฟ้าโกรธโทษผิด อัสนีบาตบริภาษโทษ ตรงกับคำชาวบ้านที่ว่า " อู่เหลยฮงเซิน " คือถูกผ่าด้วยสายฟ้าทั้งห้า  สายฟ้าคือความแกร่งของ " หยัง " หรือพลานุภาพของความสว่าง สายฟ้าทั้งห้าคือ สายฟ้าจากฟ้า  สายฟ้าจากดิน  สายฟ้าจากหยัง (ความสว่าง)  สายฟ้าจากอิน (ความมืด)  และสายฟ้าพลังธรรม เมื่อสายฟ้าจากฟ้าพุ่งวาบ    ความมืดมัวอับเฉาจะกระเจิงหาย
เมื่อสายฟ้าจากดินพุ่งวาบ    ต้นไม้ใบหญ้าจะตื่นตัวเจริญงาม 
เมื่อสายฟ้าจากหยังพุ่งวาบ  อัปรีย์มิจฉาบรรยายกาศปลาตพลัน 
เมื่อสายฟ้าจากอินพุ่งวาบ    งูเงี้ยวเขี้ยวขอก็หดหาย
เมื่อสายฟ้าจากพลังธรรมพุ่งวาบ   วิถีธรรมก็ฟูเฟื่อง
        ไม่ใช่เพียงเสียงฟ้าร้องฟาดครืน แต่ยังตื่นหูตื่นใจให้คนหลงได้สำนึก เช่นนี้เรียกว่าอัสนีบาตสายฟ้า ซึ่งก็หมายถึงในกายคน มีพร้อมด้วยสายฟ้าทั้งห้าเช่น ในขณะบันดาลโทสะหรือละอายใจ ใบหน้า หู ตา จะร้อนผ่าว เช่นนี้ มิใช่สายฟ้าจากฟ้าพุ่งวาบหรือ 
คนที่มีพฤติกรรมชั่ว  พะว้าพะวง เช่นนี้ มิใช่สายฟ้าจากดินพุ่งวาบหรือ
คนที่ก้าวร้าวล่วงเกินผิดจริยา จะอกสั่นหวั่นไหว เช่นนี้ มิใช่สายฟ้าจากหยังพุ่งวาบหรือ
คนที่มีเล่ห์เหลี่ยมราคะ จะประหวั่นพรั่นใจนั่ง นอน ร้อนรน เช่นนี้ มิใช่สายฟ้าจากอินพุ่งวาบหรือ
คนที่ผิดต่อธรรมะ จิตใจสับสนวุ่นวาย ฟุ้งซ่าน เช่นนี้ มิใช่สายฟ้าพลังธรรม พุ่งวาบหรือ
        ในขณะที่สายฟ้าทั้งห้าปรากฏ สัมมาทิฐิกับมิจฉาทิฐิ กำลังจะปะทะกัน ฉับพลันนั้นจิตสำนึกเกิดขึ้น ยำเกรงสายฟ้าจากฟ้า  ได้เปิดทวารฟ้าในตน สังวรณ์ระวังสายฟ้าจากดิน จะปิดทวารดิน (ทวารตัณหา) ในตนได้  คนที่รักษาสายฟ้าหยังไว้ไม่ให้พุ่งวาบ คือรักษาพลังธาตุเดิมทีไว้ได้ มิให้สายฟ้าดินพุ่งวาบ จะรักษากายธาตุเดิมแท้ไว้ไม่ให้แตกซ่าน หมั่นประคองรักษาสายฟ้าพลังธรรมไว้ จะรักษาวิญญาณธาตุไว้ได้ เมื่อคุณวิเศษทั้งสามของตน ( กายธาตุ  พลังธาตุ  วิญญาณธาตุ )  รวมศูนย์  พลังธาตุทอง  ธาตุไม้  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุดิน  ในกายตนไม่แตกซ่าน ก็ไม่ยากที่จะกลับคืนสู่โฉมหน้า ( ะาตุแท้ ธรรมญาณ ) เดิมทีของตน อันเป็นวิมุติภาวะตลอดไป เช่นนี้ ย่อมเป็นเช่นที่อริยะโจวกง * ได้  " ซาบซึ้งถึงลมและสายฟ้า "  เช่นที่ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อ " เปลี่ยนสีหน้า เมื่อฟ้าร้อง ลมกรรโชก  " * หากปล่อยให้กายธาตุหวั่นไหว พลังธาตุแตกกระจาย และ วิญญาณธาตุคร่ำเครียด จิตใจวิญญาณก็จะสะท้านกำลังขวัญไม่มั่นคง หน้าตาราศีก็จะอับเฉา โรคภัยเข้าเกาะกิน เช่นนี้ มิรู้เลยว่าเป็นทางนำไปสู่ความตาย มีหรือที่จะต้องรอให้อัสนีบาตสายฟ้าที่มองเห็นด้วยตาเนื้อลงฟาดฟัน ให้เป็นการลงโทษอย่างชัดเจน

หมายเหตุ  : 

        โจวกง  *  ท่านเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชสมัยโจวเฉิงอ๋วง เป็นข้าแผ่นดินผู้ซื่อสัตย์ และมีภาวะจิตอันสงบตรงต่อฟ้า เมื่อถูกเข้าใจผิดฟ้าจึงพิโรษ เกิดลมฟ้าคะนอง พัดข้าวในนาเอนราบไปกับดิน ถอนรากโคนต้นไม้ล้มลงเป็นแถบ เมื่อเจ้าแผ่นดินเลิกเข้าใจผิดแล้ว ก็เกิดลมฟ้าคะนองอีก พัดข้าวในนาและต้นไม้ที่ล้มราบกับดินให้ยืนต้นขึ้นใหม่ เพื่อเตือนใจเจ้าแผ่นดินและขุนนางทั้งหลายให้สำนึก

        เปลี่ยนสีหน้าเมื่อฟ้าร้องลมกรรโชก * ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อจะเคร่งขรึม นอบน้อม ห่วงใย ภาวนาสำนึกผิด และขอไถ่โทษแทนคนทั้งหลายทุกครั้งที่ฟ้าร้องคำรามและลมกรรโชก เพื่อคลี่คลายภัยพิบัติแก่แผ่นดินในทางอ้อม

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                 @   เหตุและผลกรรมคืออย่างไร

        เหตุคือต้นเริ่มเดิมที  ผลคือผลกรรมที่สำเร็จจากเหตุนั้น ชาวโลกไม่อาจ " ละเว้นความชั่วทั้งปวง ยึดถือปฏิบัติความดีทุกอย่าง "  ด้วยเหตุไม่เข้าใจหลักที่เหตุและผลกรรมตามสนอง พึงรู้ไว้ว่า หลักสัจธรรมของฟ้ากระจ่างดังกระจกใส ไม่เคยผิดพลาด  เหตุจากบุญก็ตอบสนองด้วยบุญ และเหตุจากบาปก็สนองด้วยบาป  ท่านเซ่าคังเจี๋ย ( ปราชญ์ในสมัยราชวงศ์ซ่ง ) กล่าวไว้ว่า " มีคนมาขอให้พยาการณ์ดวงชะตา ว่าอย่างไรเป็นภัย อย่างไรเป็นวาสนา " ข้าพเจ้าตอบว่า
 " เราเอาเปรียบเขาคือภัย ถูกเขาเอาเปรียบคือวาสนา "   
"  มีคฤหาสน์พันหลัง กลางคืนได้นอนเพียงแปดฟุต "
" ผืนนาอุดมนับหมื่นไร่ กินได้วันละทะนาน ยังจะดูโชคชะตาไปทำไม จะให้พยากรณ์อะไร "
" รังแกผู้อื่นจะเป็นภัย อภัยแก่ผู้อื่นเป็นวาสนา "
" ร่างแหฟ้ากว้างใหญ่ ( ไม่มีรั่วไหล ) ตอบสนองฉับไว "
       
         ท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อ กล่าวไว้ว่า
" ปลูกแตงย่อมได้แตง  ปลูกถั่วย่อมได้ถัว "
" เมื่อปลูกไว้ไม่ผิดพลาด สิบปีหยั่งรากตกผล จะเป็นถัวหรือเป็นแตง ( ผลกรรมอะไร ) ยังคงต้องใช้หนี้เหมือนกัน "

        ในพุทธคัมภีร์มีคำว่า
" อยากรู้เหตุแห่งกรรมเมื่อชาติก่อน ให้ย้อนดูที่ได้รับอยู่ในชาตินี้ "
" อยากรู้ชาติหน้าจะเป็นอย่างไร     ให้ดูจากที่ทำไว้ในชาตินี้ "   
รวมความก็คือ มีเหตุก็มีผล มีผลต้องมีเหตุ "เหตุของทุกข์ได้ผลทุกข์  เหตุของสุขได้ผลสุข " ไม่มีข้อสงสัยใดเลย

               @  คุณสัมพันธ์ห้า  ศีลห้า  ธาตุทั้งห้าเป็นหลักเดียวกันหรือไม่

ศาสนาปราชญ์ มีหลัก เมตตา  มโน ฯ  จริย ฯ  ปัญญา ฯ   และสัตย์ ฯ  เป็นเบญจธรรม 
ศาสนาพุทธ  มีหลัก ปาณาฯ  อทินนาฯ  มุสาฯ  กาเมฯ  สุราฯ  เป็นเบญจศีล
ศาสนาเต๋า   มีหลัก คุมธาตุ  ทอง  ไม้  น้ำ  ไฟ  ดิน   เป็นเบญจธาตุ
        สรุปแล้ว  ศีลทั้งสามของศาสดา แม้ว่าจะมีชื่อต่างกัน แต่ก็มีหลักเป็นอย่างเดียวกัน เหตุอันใดหรือลองคิดดู 
หากไม่ละเว้นฆ่าสัตว์    ก็เท่ากับขาดเมตตา     ขาดธาตุไม้   
หากไม่ละเว้นลักขโมย  ก็เท่ากับขาดมโนธรรม  ขาดธาตุทอง   
หากไม่ละกาม            ก็ขาดจริยา               ขาดธาตุไฟ
หากไม่ละสุราเมรัย       ก็ขาดปัญญา             ขาดธาตุน้ำ
หากไม่ละมุสามิจฉาวาจา    ก้ขาดความสัตย์     ขาดธาตุดิน
        ฉะนั้น ศาสนาปราชญ์ จึงสอนให้คนคุมธาตุทั้งห้า ให้สอดคล้องกับจิตอันเป็นกลาง รู้ละวาง รู้ให้อภัย จิตไม่เอนเอียง  ศาสนาพุทธ สอนให้คนรักษาศีลห้า เพื่อร่วมสมานกับเมตตาจิต  ศาสนาเต๋า สอนให้คนบรักษาำเพ็ญธาตุทั้งห้า เพื่อรักษาจิตญาณสว่างใส เป็นภาวะเดียวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลักทั้งนี้ไม่มีอะไรต่างกันเลย

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                  ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม 

                 @   การครองคู่ทำลายสุขภาพ เหตุใดปฏิบัติธรรมนี้จึงไม่ห้าม

        ฟ้าดินสมานกันทำให้เกิดสรรพสิ่ง หญิงชายสมานกันจึงได้แพร่พันธุ์  นี่คือการสร้างสรรค์  ศาสนาพุทธและเต๋าเวทนาสงสารที่คนต้องถูกผูกมัดเหนื่อยยากจากลูกเมีย ปลีกตัวไม่พ้นจนชั่วชีวิต จึงมิได้มีคู่ ยุคนี้เป็นยุคโปรดสัตว์อย่างกว้างขวางทั่วไป โดยไม่ขัดต่อมนุษย์สัมพันธ์ พ่อลูกร่วมบำเพ็ญ สามีภรรยาร่วมบำเพ็ญ นักศึกษาไม่ละทิ้งการเรียน ชาวนายังคงทำนาได้ต่อไป คนทำงานก็ไม่เสียงาน คนค้าขายก็ไม่เสียเวลา กึ่งอริยะกึ่งปุถุชน จะคัดเลือกผู้บำเพ็ญจริงจากครัวเรือน ดังคำกล่าวว่า "ธรรมะของกัลยาณชนเริ่มต้นจากคู่สามีภรรยา"  ที่กล่าวว่าห้ามครองคู่นั้นคือ ให้รู้ประมาณการอันควร หากมีผู้รู้ตื่นตั้งแต่ต้น เกรงจะถูกผูกพันด้วยครอบครัว บุตรภรรยา ก็จะต้องป้องกันตัวไว้ก่อนเจ็บไข้ เมื่อมีลูกก็จะยิ่งต้องขยัน ประหยัด ตั้งใจเลี้ยงดู การกระทำทุกอย่างชักนำไปในทางดี เหนือขึ้นไปไม่ละอายต่อบรรพบุรุษ ล่างลงไปไม่ผิดต่อลูก ลองดูคำว่ากตัญญู ท่อนบนเป็นตัวแก่ ข้างล่างเป็นตัวเด็ก  หากทุกคนไม่มีครอบครัว ห้าสิบปีให้หลังจักรวาลนี้ก็เป็นสถานว่างเปล่ายังจะมีธรรมะอะไรให้พูดกันอีก

                  @   สุรา  นารี  โลภ  อยาก  อารมณ์  รู้อยู่ว่าเป็นภัยแก่ตน  แก่สัจธรรม  เหตุใดจึงกำจัดได้ยาก

        ในศีลห้าของศาสนาพุทธ สุรา  นารี  เป็นข้อห้ามที่สำคัญ  สุราพาใจให้วิปริต  นารี (กามราคะ) ทำลายสุขภาพ  โลภอยากทำลายคุณงาม  อารมณ์ทำลายตับ  บุหรี่ทำลายปอด  ห้าสิ่งนี้เป็นพิาภัยทั้งห้าของฟ้าดิน ที่กล่าวว่า "โลกห้ามลทิน"  (โลกโลกีย์) ก็คือเช่นนี้ ฟ้ามีพลานุภาพของธาตุทั้งห้า  แผ่นดินมีคุณสมบัติของธาตุทั้งห้า  คนมีอวัยวะของธาตุทั้งห้า  ธาตุทั้งห้าเมื่อนำมาใช้ในทางที่ดีก็จะเป็นเบญจธรรม  เมื่อนำมาใช้ในทางไม่ดีก็จะเป็นเบญจพิษสุรา นารี โลภ อยาก อารมณ์ บุหรี่  แปรธาตุมาจากธาตุทั้งห้า
ธาตุทอง   แปรเป็น   โลภ   
ธาตุไม้     แปรเป็น    กามราคะ 
ธาตุน้ำ     แปรเป็น    สุรา
ธาตุไฟ     แปรเป็น    อารมณ์ 
ธาตุดิน     แปรเป็น    ยาสูบ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                @   ย้อนมองส่องตนคืออย่างไร

        คนเมื่อเกิดมาในกายสังขาร ความคิดคำนึงจะมากมาย คิดออกนอกตัว (โลภอยากมากมาย) จะไปได้เรื่อยเหมือนสายน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ คิดเข้าหาตัว (พิจารณาความผิดตน) จะฝืน ( เหมือนทวนกระแสความชั่ว) เดินไปได้เรื่อยจะเป็นผี (เดินทางเตียนเวียนลงนรก)  ฝืนเดินเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (เดินทางรกวกขึ้นสวรรค์) หรืออีกนัยหนึ่งคือ ปล่อยใจเป็นผี  เก็บใจเป็นอริยะ  จึงขอเตือนให้ศึกษาธรรมะ ก็คือเรียกใจคืนมา เรียกใจคืนมาคือเรียกความคิดคำนึงคืนมา ย้อนกระแสความคิดคำนึงก็คือ ย้อนมองส่องตนนั่นเอง  เมื่อมีเวลาว่าง รู้จักเก็บใจไว้ในจุดนี้ จะลืมเขาลืมเรา (จิตว่างไม่มีทั้งตนและคนอื่น)  ประคองจิตเป็นหนึ่งเสมอ เป็นหลักการของการพ้นทุกข์ได้สุข ในพุทธคัมภีร์บันทึกไว้ว่า สองหกทุกเวลาไม่ห่างจากจุดนี้ (สองหกหมายถึงสิบสองชั่วยาม ยี่สิบสี่ชั่วโมง)  ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "เรียนรู้ให้หมั่นทบทวน" (เมื่อรู้ธาตุแท้ธรรมญาณให้หมั่นกล่อมเกลา) ทั้งนี้ล้วนแต่สอนให้เราทำความปราณีตให้เกิดแก่จิตดังนั้น ผุ้มีความมุ่งมั่นในวิถีธรรมจะไม่เอาใจใส่ในการนี้ไม่ได้

               @   ฝึกฝนบำเพ็ญคืออย่างไร

        บำเพ็ญ (ซิว) คือควบคุมให้สงบ ทำให้สมบูรณ์ ฝึกฝน (เลี่ยน) คือกำจัดภาวะอับเฉา (อิน) ฟื้นฟูภาวะสว่างใส (หยัง) คนเราตั้งแต่เกิดกายสังขารความโลภอยากก็ค่อยทวีขึ้น ความเห็นแก่ตัวเป็นภาวะอิน  ธาตุแท้ธรรมญาณคือภาวะหยังบริสุทธิ์ รู้จักย้อนมองส่องตนเห็นจิตภาวะแท้ก็คือ เอาภาวะหยังบริสุทธิ์ไปแปรเปลี่ยนภาวะอิน ภายในก็ฝึกฝนขับพลังอิน ภายนอกก็ฝึกฝนขับมิจฉาพลัง ฝึกฝนด้วยความสุขุมพร้อมกันทั้งภายนอกภายในให้เกิดความพอดีอย่าให้มากหรือน้อยไป นานวันเข้าก็จะได้สัมมาภาวะความเป็นกลางอันสมานฉันท์ได้เอง

พิษทั้งห้า        ห้าธาตุ        เบญจธรรม                         ผู้ได้บำเพ็ญ

สุรา                น้ำ             ปัญญา               ธาตุน้ำภาวะอินฝึกฝนเป็นหยังจะไม่อยากสุรา

กามราคะ         ไม้              เมตตา                ธาตุไม้ภาวะอินสิ้นไปกลายเป็นหยังกำจัดกามราคะ

โลภอยาก        ทอง           มโนธรรม              ธาตุทองภาวะอินฝึกฝนเป็นหยังจะไม่โลภอยาก

อารมณ์           ไฟ              จริยฯ                  ธาตุไฟภาวะอินจะสิ้นไปกลายเป็นหยังมลายอารมณ์

ยาสูบ             ดิน              สัตยฯ                 ธาตุดินภาวะอินฝึกฝนเป็นหยังจะไม่อยากสูบบุหรี่       

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

              @   ความหมายของคำว่าเมตตากรุณา

        พุทธะมีเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน มีความสุขร่วมกับผู้อื่น (ปรารถนาให้ผู้อื่นได้สุข) เรียกว่าเมตตา มีความทุกข์ร่วมกับผู้อื่น (ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เรียกว่ากรุณา) ความสุขของผู้อื่นก็คือความสุขตน  ความทุกข์ของผู้อื่นก็คือความทุกข์ตน  จึงมีคำกล่าวว่า " ให้ความสุขคือเมตตา ช่วยให้พ้นทุกข์คือกรุณา "เวไนยสัตว์คือพุทธะ พุทธะคือเวไนยสัตว์ เวไนยสัตว์จมอยู่ในทะเลทุกข์ พุทธะตั้งปณิธานจะฉุดช่วย พ้นจากเมตตากรุณาหามีพุทธะไม่

              @   คนกับฟ้าร่วมกายคืออย่างไร

        จักรวาลคือท้องฟ้าใหญ่ คนคือท้องฟ้าผืนเล็ก หรืออีกนัยหนึ่งคือ คนคือจักรวาลน้อย ในจักรวาลมีชั้นเหนือบรรยากาศ ชั้นบรรยากาศ และชั้นสัญลักษณ์คนก็มีชั้นเหนือบรรยากาศ ชั้นบรรยากาศและสัญลักษณ์ กระดูกเลือดเนื้อและรูปลักษณ์อื่น ๆ คือสัญลักษณ์ ลมหายใจ (อารมณ์) ถ่ายเทเข้าออกนอกในกายคือชั้นบรรยากาศ จิตที่ปกครองสรรพางค์กายคือเหนือชั้นบรรยากาศ สัญลักษณ์ของคนกับเทหวัตถุของจักรวาลใกล้เคียงกัน  พลังอากาศในจักรวาลกับพลังธาตุในกายคนตรงต่อกัน จิตญาณของคนกับสัจธรรมของจักรวาลตรงต่อกัน ในจักรวาลหากพลังอากาศใสชั้นบรรยากาศเหนือกว่าพลังบนเหนือชั้นบรรยากาศ สรรพสิ่งทั้งหลายในจักรวาลจะขาดความสมดุล ฤดูกาลจะวิปริต ลมฝนจะปรวนแปร จิตใจผู้คนจะผิดเพี้ยน สังคมจะต่ำทราม ความชั่วร้ายจะมากมี เก้าเก้าแปดสิบเอ็ดมหันตภัยจะเกิดประดังกัน จิตญาณของคนจะถูกปิดกั้นด้วยลม (อารมณ์) ก็จะขาดความสมดุล จะหลงลืมธาตุแท้ภาวะธรรมติดตามไขว่คว้าแต่ลาภสักการะ ระเริงตัณหารารคะ ตกสู่วัฏสงสาร ร่อนเร่เกิดตายไม่มีวันสิ้นสุด 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                       ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม

                @   เหนือชั้นบรรยากาศ  ชั้นบรรยากาศ  และชั้นสัญลักษณ์ คืออย่างไร

        เหนือชั้นบรรยากาศคือ สุญญตาภาวะ ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีสุ้มเสียง เป็นความว่างเปล่าอันทรงศักยภาพ เมื่ออยู่ในภาวะแฝงจะเป็นที่สุดของความสงบนิ่งอันล้ำลึกเหลือประมาณ เงียบเชียบไม่เคลื่อนไหว กว้างใหญ่ไร้ขอบเขต เมื่ออยู่ในภาวะปรากฏจะเป็นมหาอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ สนองรับ สนองตอบ ราบรอบ ละเอียดถี่ ไม่มีที่จะไม่ซอกซอนซาบซึ้ง  แม้จะปราศจากรูปลักษณ์ แต่ก็สามารถก่อกำเนิดสรรพรูปลักษณ์  แม้ปราศจากสุ้มเสียง แต่ก็สามารถกำหนดสรรพสุ้มเสียง แม้จะมองไม่เห็นรูปลักษณ์ ไม่ได้ยินสุ้มเสียง แต่มิละเลยต่อสรรพสิ่ง  ไม่มีผู้ให้กำเนิด แต่สูญญตาภาวะนั้นก็ไม่เกิดไม่ดับ ยังคงความสว่างใส ศักดิ์สิทธิ์คงอยู่เป็นนิจนิรันดร์ อีกทั้งเป็นรากฐานต้นกำเนิดของสรรพสิ่งชั่วกาล ไม่ว่าจะเป็นธาตุธรรม รูปธรรม ไม่มีอะไรนอกจากการควบคุมของภาวะนี้ไปได้  สรรพสิ่งดำรงอยู่ ภาวะนี้ก็ดำรงอยู่  สรรพสิ่งดับสูญภาวะนี้ก็ยังคงดำรงอยู่ ในคัมภีร์พระหฤทัยสูตรแสดงไว้ว่า "ไม่มีมลทินภาวะ ไม่มีวิมลภาวะ"  "ไม่มี
ส่วนเพิ่มพูน ไม่มีส่วนลดน้อย" นั่นก็หมายถึงว่า ภาวะเดิมแท้ซึ่งเป็นอยู่อย่างนั้นเองของสูญญตา จึงกล่าวว่า "สัญลักษณ์อันปราศจากสัญลักษณ์ คือสัญ
ลักษณ์แท้"
         ในชั้นบรรยากาศ อากาศธาตุในจักรวาล ทั่วไปเรียกว่าท้องฟ้า อากาศธาตุเบาใส ส่วนแผ่นดินหนักหนาหมักหมม  สิ่งเบาใสมีภาวะเป็นหยัง สิ่งหนักหนาหมักหมมมีภาวะเป็นอิน อินกับหยังเป็นภาวะแตกต่างตรงกันข้าม ซึ่งเรียกว่า เฉียน คุน  เฉียนคือฟ้า คุนคือแผ่นดิน  เรามักจะกล่าวเสมอว่า "สรรพสิ่งท่ามกลางฟ้าดิน"  ฟ้าดังกล่าวมีชั้นบรรยากาศ ถ้าไม่มีฟ้านี้แผ่นดินก็มิอาจดำรงอยู่ ผู้คนและสรรพสิ่งก้ไม่อาจเกิดและเติบโต ตะวันเดือนดวงดาวก็ไม่อาจลอยอยู่ ยิ่งกว่านั้นสรรพสิ่งอันมีรูปลักษณ์ ทั้งปวงล้วนไม่อาจคงอยู่  ฉะนั้น คุณประโยชน์ของชั้นบรรยากาศก็คือขับเคลื่อนผลักดัน สับเปลี่ยนอินหยัง ผันฤดูกาล ควบคุมสรรพสิ่ง  ฯลฯ 
        ในชั้นสัญลักษณ์  คือรูปลักษณ์ต่าง ๆ เป็นโลกที่เห็นวัตถุเนื้อแท้  บนท้องฟ้ามีตะวันเดือนดวงดาว  บนแผ่นดินมีภูเขา แม่น้ำลำธาร สรรพสิ่ง พืชพันธุ์แร่ธาตุ ฯลฯ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า สิ่งใดก็ตามที่มีรูปลักษณ์ ไม่ว่าจะมีอารมณ์ความรู้สึกหรือไม่ ล้วนจัดอยู่ในชั้นสัญลักษณ์   
        รวมความว่า  เหนือชั้นบรรยากาศคือพุทธญาณภาวะของพระอนุตตรธรรมมารดา   ชั้นบรรยากาศคือเทวโลก อินหยัง  ชั้นสัญลักษณ์คือสรรพรูปลักษณะ  กระบวนการกำเนิด จะเริ่มจากเหนือชั้นบรรยากาศ กำเนิดบรรยากาศ  บรรยากาศกำเนิดสัญลักษณ์ กระบวนการเสื่อมสลาย สัญญลักษณ์เสื่อมสลายเร็วมากจากนั้นจึงเป็นบรรยากาศ ส่วนเหนือชั้นบรรยากาศไม่เสื่อมสลาย เปรียบเช่นคนใกล้ตาย จะเริ่มจากหูตาพร่ามัว มือเท้าเย็นชา จากนั้นก็ขาดใจวิญญาณออกเิดินทาง เวียนว่ายไปอาศัยกายสังขารอื่นอีก ฉะนั้น ถ้าอยากจะพ้นเวียนว่าย ไม่บำเพ็ญไม่ได้ ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "เช้าได้สดับวิถีธรรม เย็นตายไม่ห่วงเลย" หมายถึงการพ้นเวียนว่าย จบสิ้นการเกิดตายนั่นเอง       

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม 

               @  รู้ได้อย่างไรว่าชั้นบรรยากาศ ชั้นสัญลักษณ์มีการเสื่อมสลาย

        ชั้นบรรยากาศมีทวิภาวะอิน หยัง  มีการเปลี่ยนแปลง ก็มีการเกิดตาย มีการเริ่มต้นก็มีการสิ้นสุด ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "สรรพสิ่งมีต้นมีปลายเรื่องทั้งหลายมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด"  ฟ้าดินตะวันเดือน ผีสางเทวดามนุษย์ สัตว์อากาศ สัตว์บก สัตว์น้ำ ต้นไม้ ใบหญ้า ฯลฯ  สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนมีต้นมีปลาย ฤดูกาลที่หมุนเวียนเปลี่ยนผัน หนาวร้อนสลับกัน ลมฝน ฟ้าใสมืดมัว เดือนเต็ม เดือนเสี้ยว ข้างขึ้น ข้างแรม การใด ๆ ล้วนมีจุดเริ่มและสิ้นสุด  การสิ้นสุดจนถึงเริ่มต้นของชั้นบรรยากาศ เป็นเวลา หนึ่งแสนสองหมื่นเก้าพันหกร้อยปี ( 129,600 ) กำหนดได้สิบสองบรรจบกาล ( ฮุ่ย ) โดยอาศัยลำดับชวดฉลูถึงกุน เป็นสัญญลักษณ์ในการนับ
หกบรรจบกาลแรก    พัฒนาก่อเกิดสรรพชีวิต สรรพสิ่ง 
หกบรรจบกาลสุดท้าย    เก็บทำลายสรรพชีวิต สรรพสิ่ง  ก็คือจากไม่มีมาสู่การมี 
จากบรรจบกาลมะเมีย    ไปบรรจบ บรรจบกาลชวด เป็นช่วงจากความมีไปสู่ไม่มี 
เบิกฟ้าในบรรจบกาลชวด   เก็บฟ้าในบรรจบกาลจอ
ผนึกแผ่นดินในบรรจบกาลฉลู เก็บแผ่นดินในบรรจบกาลระกา
กำหนดคนในบรรจบกาลขาล เก็บคนในบรรจบกาลวอก
บรรจบกาลกุน  บรรยากาศคละเคล้าปะปน  พอเริ่มบรรจบกาลชวดก็เบิกฟ้าใหม่  หมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป
        พงศาวดารสื่อจี้บันทึกไว้ว่า " เบิกฟ้าในบรรจบกาลชวด แผ่นดินผนึกในบรรจบกาลฉลู คนเกิดในบรรจบกาลขาล"  คำกล่าวเหล่านี้ยืนยันได้ว่า ในชั้นบรรยากาศมีสิ้นสุดและเริ่มต้น  เมื่อชั้นบรรยากาศมีสิ้นสุดและเริ่มต้น ในชั้นสัญญลักษณ์ก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงอีกเลย  อีกประการหนึ่ง ความเปลี่ยนแปรของชั้นบรรยากาศก็อาจอาศัยเรื่องเล็ก ๆ มาเทียบเคียงได้เช่น หนึ่งรอบวันมีหนึ่งกลางวันกลางคืน  เท่ากับสิบสองชั่วยาม ( 24 ชม ) กลางวันเป็นหยัง กลางคืนเป็นอิน  หนึ่งรอบวันจึงมีทั้งเวลาเปิด ( สว่าง )  และเวลาปปิด ( มืด ) เป็นเช่นนี้ทุกวัน ปีหนึ่งมีสี่ฤดูเท่ากับสิบสองเดือน  ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน เป็นหยัง  ฤดูใบไม้ร่วง และ ฤดูหนาว เป็นอิน  ในเวลาหนึ่งปี จึงมีทั้งช่วงเปิด ( สว่าง ) และช่วงปิด ( มืด )  เป็นเช่นนี้ทุกปี  เทียบเคียงได้เช่นกันกับหนึ่งธรรมกาลใหญ่ ( เอวี๋ยน )  ก็มีสิบสองบรรจบกาล 
บรรจบกาลชวด ภาวะหยังก่อกำเนิด
บรรจบกาลมะเมีย อิน ดิ่งตกต่ำ 
บรรจบกาลมะเมีย  เปรียบได้ดังเที่ยงวัน
บรรจบกาลชวด  เปรียบได้ดังเที่ยงคืน
ชวดเป็นเวลาก่อเกิดสรรพสิ่ง   มะเมีย เป็นเวลาที่สรรพสิ่งเริ่มเก็บตัว  ก่อนถึงมะเมียเป็นช่วงจากความไม่มี ไปสู่ความมี  หลังบรรจบกาลมะเมีย เป็นช่วงจากความมี ไปสู่ความไม่มี   ฉะนั้น บรรจบกาลมะเมีย จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งในหนึ่งธรรมกาล และการเปลี่ยนแปรของบรรจยกาลมะเมีย ก็เป็นภาวะวิเศษยิ่ง ฉะนั้น  เมื่อคำนวนตามหลักแล้ว วันนี้จึงไล่เลียงไปถึงวันพรุ่งนี้ได้ ปีนี้จึงไล่เลียงไปถึงปีหน้าได้ ทุกอย่างทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่จึงไล่เลียงด้วยเรื่องหลักเดียวกัน  จึงรู้ได้ว่า จากธรรมกาลนี้ไล่เลียงย้อนขึ้นไปถึงธรรมกาลที่แล้ว และธรรมกาลข้างหน้าต่อไป เป็นธรรมชาติที่สอดคล้องต้องกัน ไม่มีอะไรต้องสงสัย

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                              ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม

                   @   อนุตตรญาณ  จิตภาวะ  จริต  แตกต่างกันอย่างไร

        คนอาศัยสามห้ามาเกิด* อาศัยชีวิตแท้ที่มีคุณสมบัติของเบญจธรรมเป็นญาณชีวิต  อาศัยสองห้าอันได้มาจากพ่อแม่เป็นรูปกาย  ญาณชีวิตที่ประกอบด้วยคุณสมบัติของเบญจธรรมเป็นธาตุแท้เดิมที ที่มีอยู่แล้ว ทันใดที่คลอดพ้นจากครรภ์มารดา พอเปล่งเสียงออกมา แรงกดดันในชั้นบรรยากาศเข้าทางจมูก ปาก ธาตุแท้ญาณชีวิตพลันก็เปลี่ยนไป จนกระทั่งเติบใหญ่ ถูกสภาพแวดล้อมรายรอบ วัตถุธาตุต่าง ๆ ก่อให้เกิดตัณหามาบดบัง ธาตุแท้ญาณชีวิตก็เปลี่ยนไปอีก ฉะนั้น ธาตุแท้ญาณชีวิตจึงมีคุณสมบัติแตกต่างกันในภาวะของสูญญตาและภาวะของชั้นบรรยากาศ  (หลี่ซิ่ง  สุญญตาอันเป็นธาตุแท้เดิมที ) เมื่อได้พลังจากชั้นบรรยากาศ เราเรียกว่า " จิตภาวะ " ( ชี่จื๋อ ที่ดำรงอยู่และผันแปรไปตามภาวะแวดล้อม )  เมื่อตกอยู่ในอิทธิพลของชั้นสัญญลักษณ์ ( วัตถุธาตุ ) เราเรียกว่า จริต  ( จื๋อซิ่ง  จิตที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส )

หมายเหตุ  :  เชื้อของพ่อ อันประกอบด้วยธาตุทอง ไม้ น้ำ ไฟ ดิน  ( 1 ห้า )  เลือดของแม่ อันประกอบด้วยธาตุทอง ไม้ น้ำ ไฟ  ดิน  ( 2 ห้า )  อีกทั้งชีวิตแท้ที่มีคุณสมบัติของเบญจธรรม ( 3 ห้า ) 

                  @   เป็นคนเหมือนกันแต่เหตุใดจึงต่างกันด้วยอริยปราชญ์ ปุถุชน คนโง่เขลา

        เพราะเหตุว่าอนุสัย ( ชี่ปิ่ง ที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน )  ต่างกัน  ถูกสรรพวัตถุแวดล้อมจูงใจไม่เหมือนกัน การสำแดงออกของธาตุแท้ญาณเดิมจึงต่างกัน หากอนุสัยเบาบาง วัตถุจูงใจไม่มาก ธาตุแท้ญาณเดิมมีพลานุภาพ สามารถมุ่งมั่นเจริญรอยตามบรรพอริยปราชญ์ได้ ก็บรรลุอริยปราชญ์  หากอนุสัยลึกหนา วัตถุจูงใจมาก ธาตุแท้เดิมมีกำลังอ่อน จิตใจฝักใฝ่หลงใหล ดอกไม้ในกระจกเงา ( ทุกสิ่งอันไม่จีรังดังภาพลวงตาทางโลก ) คนนั้นก็จะเป็นปุถุชนคนโง่เขลา หรืออีกนัยหนึ่งคือ ใครที่อาจถอนรากถอนโคลนตัณหาราคะ ฟื้นฟูความสว่างใสของธาตุแท้ญาณเดิมได้ก็คือ อริยปราชญ์  ผู้ที่ไม่อาจเอาชนะตัณหาราคะ ฟื้นฟูความสว่างใสของธาตุแท้ญาณเดิมได้ ก็คือปุถุชนคนโง่เขลา  เปรียบได้ดั่งกระจกเงาที่มีเนื้อแท้สว่างใส แต่เมื่อนานวันไป ฝุ่นละอองจับจนพร่ามัว แล้วมิได้เช็ดล้าง กระจกภาพนั้นก้ไม่มีวันสว่างใสได้อีก ธาตุแท้ญาณเดิมของเราก็เช่นกัน ฉะนั้น ปราชญ์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "ให้โน้มนำจิตกล่อมเกลี้ยงธรรมญาณ"   ศาสนาเต๋ากล่าวไว้ว่า "บำเพ็ญจิตฝึกธรรมญาณ"  ศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า "รู้แจ้งเห็นจิตแท้ธรรมญาณ" แม้คำกล่าวจะต่างกัน แต่สอนให้คนฟื้นฟูธาตุแท้ญาณเดิมเป็นอย่างเดียวกัน   

                  @   สรรพสัตว์ล้วนกำเนิดจากอนุตตรญาณ แต่เหตุใด คนจึงเป็นสัตว์วิเศษ

     สัตว์โลกแบ่งออกเป็นห้าจำพวกเท่านั้น คือ สัตว์ปีก  สัตว์ขน สัตว์เกล็ด สัตว์กระดอง และสัตว์เกลี้ยง ( คน )
สัตว์ปีก  อาศัยเกิดจากพลังธาตุไฟ    ทางทิศใต้   ทะยานบินได้สูง 
สัตว์ขน  อาศัยเกิดจากพลังธาตุไม้    ทางทิศตะวันออก   อ่อนนอกแข็งใน
สัตว์เกล็ด  อาศัยเกิดจากพลังธาตุน้ำ  ทางทิศเหนือ   ว่ายน้ำดำดิ่งได้
สัตว์กระดอง  เกิดจากพลังธาตุทอง   ทางทิศตะวันตก แข็งนอกอ่อนใน 
        มีแต่สัตว์เกลี้ยง  เท่านั้นที่อาศัยเกิดจากพลังธาตุดิน และได้รับพลังทั้งหมดจากทิศทั้งห้า อีกทั้งพลานุภาพวิเศษจากสามโลก ได้ห่อหุ้มกายด้วยเสื้อผ้ามาลา ได้อาศัยบ้านชายคา ปราสาท   มีสัตว์ทั้งสี่ทิศเป็นบริวาร มีคุณงามทั้งสี่ ( เมตตา  มโนธรรม จริยา  ปัญญา ) เป็นสมบัติ ฉะนั้น คนจึงเป็นสัตว์วิเศษ ต่างจากสรรพสัตว์ทั้งหลาย สูงกว่าสัตว์ใด ๆ จึงได้บรรลุมรรคผลหนทางตรง 

Tags: