collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ปรัชญาเมิ่งจื่อ : ปราชญ์เมิ่งจื่อ : เริ่มเรื่อง  (อ่าน 67647 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 

                                               ๗ 

                                    บทจิ้นซิน   ตอนท้าย

        ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า   "อุ้มชูใจ ไม่มีอะไรดีกว่าละกิเลส (หย่างซินม่อซั่นอวี๋กว่าอวี้)  ละกิเลสได้ แม้บางครั้งจะพลาดเผลอไป กิเลสก้ไม่มาก  หากไม่ฝึกละเสียเลย แม้จะระงับ กิเลสก็ยังมากมาย" 

        ครั้งที่ปราชญ์เจิงซี ยังมีชีวิต ชอบรับประทานลูกพรุน (หยังเจ่า) เจิงซี สิ้นไป ปราชญ์เจิงจื่อบุตรชาย ไม่อาจทำใจกินลูกพรุน (หยังเจ่า) ได้  ศิษย์กงซุนโฉ่วเรียนถามครูปราชญ์ว่า "หมูหยอง  หมูแผ่น  กับลูกพรุน รสชาติใดดีกว่า" 
ครูปราชญ์ว่า "หมูหยองหมูแผ่นย่อมดีกว่า"
กงซุนโฉ่วว่า "ถ้าเช่นนั้น บิดาของเจิงจื่อก็ชอบกินด้วย เช่นนี้แล้ว ไฉนเจิงจื่อยังกินหมูหยองหมูแผ่นที่บิดาเคยชอบอยู่ได้  เฉพาะแต่ทำใจกินลูกพรุนไม่ได้"   
        ครูปราชญ์ว่า   "เหตุด้วยหมูหยองหมูแผ่นเป็นอาหารทั่วไปที่ใคร ๆ ก็ชอบกิน  แต่ ... ลูกพรุน (หยังเจ่า) เฉพาะบิดาของเจิงจื่อชอบกินพิเศษ อย่างเช่นคนทั่วไป หลีกเลี่ยงไม่เรียกชื่อพ่อแม่ของใครตรง ๆ แต่ไม่หลีกเลี่ยงเรียกแซ่ เพราะแซ่เป็นสกุลร่วมใช้  แต่ชื่อใช้เฉพาะตัว"

        ศิษย์วั่นจังเรียนถามครุปราชญ์ว่า   "ครั้งที่บรมครูหาคนดีไม่ได้ที่เมืองเฉิน สะท้อนใจว่า "ไยไม่กลับเมืองหลู่ของเรา ที่นั่นมีพวกทะยานกล้า เพียงแตเขามักจะละเลยเรื่องเล็กน้อย แม้เขาจะใฝ่ก้าวหน้า แต่ยังไม่ทิ้งนิสัยเดิมเท่านั้น" (คนประเภทนี้ยังพอใช้ได้)   เรียนถามครูปราชญ์ "เหตุใดอยู่เมืองเฉิน บรมครูท่านจึงหวนคิดถึงคนกล้าเหล่านั้น"

        ครูปราชญ์ว่า   "เหตุที่บรมครูแสวงคนที่จิตใจสุขุมอยู่ในทางสายกลาง เช่นศิษย์เอี๋ยนเอวียน  ซึ่งถ่ายทอดวิชาให้ได้ไม่มี เมื่อไม่มี จึงต้องหวนคิดถึงคนระดับรองลงไป  คนทะยานกล้าจะบ้าบิ่น  คนสำรวมมาก จะรักษาตัวรอด แต่ไม่ค่อยก้าวเดิน บรมครูมีหรือจะไม่แสวงหาคนสุขุม แต่ในเมื่อไม่อาจหาได้ก็จำใจพิจารณาคนระดับรองลงไปเช่นนี้"

        ศิษย์วั่นจังเรียนถามว่า   "อย่างไรเรียกว่าทะยานกล้าบ้าบิ่น"
ครูปราชญ์ว่า   "อย่างจื่อจาง  เจิงซี  มู่ผี่  เป็นศิษย์ที่ท่านบรมครูจัดไว้ว่าทะยานกล้า"
ถามว่า   "ไฉนจึงว่าบ้าบิ่น"

        ครูปราชญ์ว่า   "มุ่งมั่นทะยานใหญ่  คุยโว  วิจารณ์คนโบราณอย่างนั้นอย่างนี้  แต่เมื่อดูพฤติกรรมของพวกเขาเอง ก็ไม่อาจปิดบังสิ่งที่วิจารณ์ผู้อื่นได้ เมื่อผู้ที่ใฝ่ก้าวหน้ามากไป ไม่อาจรับวิถีอริยะได้ ก็จะต้องแสวงหาคนที่ไม่ยอมสกปรกตกต่ำ เพื่อถ่ายทอดวิถีอริยะให้   นั่นก็คือ คนที่สำรวมรักษาตัวรอด ซึ่งดีกว่าพวกใฝ่ก้าวหน้าเกินไประดับหนึ่ง"

        ศิษย์วั่นจังเรียนถามอีกว่า   "ท่านบรมครูเคยกล่าวว่า "ผ่านหน้าประตูเราไป ไม่เข้ามา (สถานศึกษาอริยปราชญ์) การที่เราไม่เสียดายค้างใจนั้น ก้ด้วยเขาเป็นคนลวง คนลวงคือ นักย่องเบาเอาความดีบังหน้า" (ไม่กล้าทุ่มตัวเจาะลึกศึกษา ชอบแต่แสดง ทั้งที่รู้ไม่จริง)
        ศิษย์วั่นจังเรียนถามว่า   "อย่างไรเรียกว่าคนลวง"

        ครุปราชญ์ว่า   "คนลวงดูดี ชอบที่จะยิ้มเยาะนักศึกษาที่ทะยานกล้าว่า "ใฝ่ก้าวหน้าอะไนนักหนา"  พูด  ไม่คำนึงการกระทำ   ทำ   ไม่คำนึงถึงเคยพูด  คนลวงเอ่ยปาก มักวิจารณ์ครโบราณอย่างนั้นอย่างนี้   คนลวงชอบยิ้มเยาะพวกรักษาตัวรอดว่า  พฤติกรรมแอบแฝงเย็นชา (ดีเกินไป)  เกิดมาทั้งที น่าจะเข้ากับชาวโลก คล้อยตามหมู่มากจะดีกว่า  แต่พวกคนลวงเอง กลับหลบหลีดปิดบังตน สีหน้าน่ายินดีที่แท้คือคนลวง"

        ศิษย์วั่นจังว่า   "ชาวตำบลยกย่องคนลวงว่า  "คนจริง"  เมื่อไปถึงไหนไม่มีที่จะไม่เป็นคนจริง แต่ท่านบรมครูว่า เขาเป็นคนลวง ย่องเบาเอาความดี ด้วยเหตุใด"  ตอบว่า "จะว่าเขาไม่ดี ก็ไม่มีเหตุให้ว่าได้ จะโจมตีก็ไม่มีข้อกล่าวหา เขาเข้ากับโลกีชนได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น เห็นการพนันเป็นบันเทิงสำเริงเล่นเป็นสุขี ดูดีมีน้ำใจ สัตย์ซื่อ สุจริต  เป็นที่ชื่นชอบของใคร ๆ ตัวเขาเองก็พอใจในตน แต่เขาไม่อาจเจริญธรรมตามอริยกษัตริย์เหยา - ซุ่น ได้ ไม่อาจศึกษาวิถีปราชญ์ จึงกล่าวว่า เป็นคนลวงย่องเบา เอาความดีบังหน้า"

      บรมครูเคยกล่าวว่า   "เราชิงชังนักคือคนที่ดูอย่างกับสัตย์ซื่อมีน้ำใจ
ชิงชังความเป็นหญ้าหางหมา ด้วยเกรงว่า จะทำให้ข้าวกล้ากลายพันธุ์
ชิงชังนัก  กับคนที่พูดดี แต่ไม่มีความจริงใจ เกรงจะวุ่นวายต่อหลักมโนธรรม 
ชิงชังนัก  กับคนพูดพล่อยคล่องปาก ด้วยเกรงว่าจะสับสนต่อสัตยธรรม
ชิงชังนัก  กับดนตรีเย้ายวน ด้วยเกรงว่าจะก่อกวนดนตรีสุนทรีย์
ชิงชังสีผสมซ้ำเลือดซ้ำหนองที่ผิดต่อสีแดงโดยแท้
ชิงชังคนจำพวกเสแสร้งเป็นคนดี อารีอารอบ  จะทำให้คุณธรรมความดีแท้ยุ่งเหยิง   ดังนั้น  กัลยาณชนจงทำตามธรรมะ อันเป็นปกติที่ยั่งยืนเรื่อยไป เป็นใช้ได้  เมื่อเราเที่ยงตรง คนทั่วไปจะซาบซึ้งฟื้นฟูวิถีธรรมเที่ยงตรง ต่อไปก็จะไม่ชั่วร้ายแอบแฝงอีก"

        ปราชญ์เมิ่งจื่อว่า   "จากอริยกษัตริย์เหยา - ซุ่น จนถึงกษัตริย์ซังทัง รวมเวลากว่าหกร้อยปี    กษัตริย์อวี่ กับเกาเอี่ยว เคยเห็นการดำเนินธรรมของท่านมากับตา จึงรู้เห็นชัดเจนในอริยบารมี  ถ้าเป็นกษัตริย์ซังทัง ซึ่งต่อมาในภายหลัง ก็จะได้แต่สดับรับฟังอริยบารมี จึงรู้ความตามที่สรรเสริญ จากสมัยซังทัง ถึงอริยกษัตริย์โจวเหวินอ๋วง ห่างกันอีกห้าร้อยกว่าปี คือ อีอิ่น  กับ  ไหลจู  ได้รู้ชัดเห็นจริงต่อบารมีธรรมของพระเจ้าซังทัง  แต่อริยกษัตริย์โจวเหวินอ๋วงได้แต่สดับรับฟังบารมีที่สรรเสริญ

        จากอริยกษัตริย์โจวเหวินอ๋วง จนถึงบรมครูขงจื่อ ก็ล่วงเลยมาอีกห้าร้อยกว่าปี  พระเจ้าปู่ หรือปู่เจ้าเจียงไท่กง (ไท่กงอ้วง) กับ ซั่นอี๋เซิง ได้รู้เห็นชัดจริงในคุธรรมบารมีของอริยกษัตริย์โจวเหวินอ๋วงด้วยตนเอง ตั้งแต่บรมครูขงจื่อ จนถึงบัดนี้ (สมัยปราชญ์เมิ่งจื่อ)  ห่างกันเพียงหนึ่งร้อยกว่าปี ถือว่าไม่ห่างไกลกันมากนัก อีกทั้งไม่ห่างถิ่นฐานบ้านท่านสักเท่าไร แต่ดูเหมือนน้อยคนจะรู้ชัดเห็นจริงต่อคุณธรรมบารมีของท่านบรมครู  เช่นนี้  ภายหน้านานไปเกรงว่าคนยุคใหม่ ยากที่จะสดับหลักธรรมคำสอนของท่านบรมครูเสียแล้ว"

        (ท่านปราชญ์เมิ่งจื่อเกรงว่า  กรุณามโนธรรมจะห่างหายไปจากจิตสำนึกของคน จึงสรุปปรัชญาของท่านลงด้วยความสะท้อนใจต่ออนาคตทางธรรม อีกทั้งแฝงความมุ่งมั่นสืบต่อภาระศักดิ์สิทธิ์ของท่านบรมครูดังนี้)

                           ~ จบบทจิ้นซิน  ตอนท้าย ~

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            ปรัชญาเมิ่งจื่อ  :   ปราชญ์เมิ่งจื่อ 

                                            ดรรชนี

(ผู้น้อยต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ที่ไม่สามารถนำลงรูปลักษณ์ของทุกพระองค์มาให้ทุกท่านดู  ขอบพระคุณค่ะ)

อริยกษัตริย์ฝูซี                  อริยกษัตริย์เสินหนง                  เซวียนเอวี๋ยนหวงตี้                  เจียงไท่กง (ไท่กงอ้วง)

อริยกษัตริย์เหยา                อริยกษัตริย์ซุ่น                       อริยกษัตริย์อวี่                        อริยกษัตริย์ทัง

อริยกษัตริย์โจวเหวินอ๋วง       อริยกษัตริย์โจวอู่อ๋วง               ปู่เจ้าโจวกง                           อีอิ่น

จื่อเซี่ย                            ป๋อหนิว                               เจิงจื่อ                                 จ้งกง

เอี๋ยนจื่อ                          ไจ่หว่อ                                จูซี                                      เมิ่งจื่อ   

จื่อเซียน                           จื่อก้ง                                 จื่ออิ๋ว                                   จื่อจาง

จื่อลู่                                จื่อซือ                                หยั่นโหย่ว                              จื่ออวี๋     

ท้ายเล่ม ...

                    หากท่านปราชญ์เมิ่งจื่อคือเมธาชนคนยุคนี้
                          ปรัชญาจากเมธีจะเป็นที่ชื่นชอบไหม     
                       จะฟันฝ่าหิงสาชนคนต่ำทรามได้อย่างไร   
                          โลกมนุษย์สุดฟ้าไกลยังมีใครเป็นสุชน 

                                 ~ จบเล่ม ~
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19/12/2011, 17:25 โดย jariya1204 »

Tags: