collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์ทางสายกลาง (ปฐมบท)  (อ่าน 25147 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                  คัมภีร์

                            ทางสายกลาง

                       ศุภนิมิต  แปลเรียบเรียง 

                                คำนำ

        ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเบื้องบน ด้วยอริยคุณพระบรรพจารย์ บารมีคุณท่านเหล่าเฉียนเหยิน ท่านเฉียนเหยิน ได้โปรดปรกแผ่ เตี่ยนฉวนซือได้โปรดเกื้อกูล นักธรรมผู้ใหญ่ได้หนุนนำ คัมภีร์ธรรม "จง - อยง" ซึ่งเคยศึกษากันอยู่แต่ในหมู่บ้านของปัญญาชน จึงได้รับการส่งเสริมถ่ายทอดให้เรียนรู้กันอย่างแพร่หลายในอาณาจักรอนุตตรธรรม บีดนี้  ในอาณาจักรธรรมอนุตตรธรรมประกอบด้วยสาธุชน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา ทุกระดับการศึกษา ทุกศาสนานิกาย ทุกฐานะความเป็นอยู่ ผู่ที่ศรัทธามุ่งมั่นจะปฏิบัติบำเพ็ญมีอยู่มากมาย ท่านเหล่านั้นพยายามขวนขวายเพื่อที่จะเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับวิถีอนุตตรธรรม อันเป็นวิถีแห่งจิตโดยตรง เพื่อการเจริญธรรมแห่งตน ฉะนั้น เมื่อท่านเฉียนเหยิน ได้โปรดกำหนดเอาคัมภีร์ธรรม จง - อยง  ลำดับเข้าไว้ในหลักสูตรของการศึกษษธรรมระดับชั้น "จื้อชั่นปัน" ผู้ศึกษาธรรมจึงต่างสำนึกในพระคุณของท่านเป็นยิ่งนัก  แม้จะต้องเชิญกับอุปสรรคทางอักษรและภาษาแต่ต่างก็ยินดีที่จะพากเพียรเรียนรู้ให้จงได้ ข้าพเจ้าจึง ขอน้อมใจรับใช้อาณาจักรธรรม นำเอาความเข้าใจที่มี ต่อคัมภีร์จง - อยง  ในระดับหนึ่งพิมพ์เฉพาะปฐมบทร่วมศึกษากับท่านทั้งหลาย ความผิดพลาด บกพร่องประการใดใดในการแปล - เรียบเรียงคัมภีร์ธรรมบทนี้ที่เกิดมี ข้าพเจ้าน้อมจิตกราบขออภัยต่อทุกพระองค์ น้อมจิตกราบขออภัยต่อทุกท่าน ที่โปรดสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมจรรโลงคุณค่าของคัมภีร์ธรรมจง - อยง ให้สืบทอดเรื่อยมา จนตราบเท่าทุกวันนี้ด้วย

                                                                      ศุภนิมิต

                                                จง - อยง 

                                          เที่ยงตรง - สัจธรรม     

                                            (ทางสายกลาง)

        คัมภีร์จง-อยง ปรากฏอยู่ในมหาคัมภีร์จริยธรรมหลี่จี้ ซึ่งผ่านการพิจารณาชำระโดยท่านปราชญ์ไต้เซิ่งผู้สูงส่ง  คัมภีร์จง-อยง แสดงธรรมอันตรงต่อชีวิตจิตญาณ เป็นธรรมอันเที่ยงแท้คือสัจธรรม ธรรมอันเป็นทางสายกลาง  ท่านซือหม่าเซียน สมัยราชวงศ์ฮั่น ผู้เขียนบันทึกประวัติศาสตร์จีนอันยิ่งใหญ่ลงความเห็นว่า คัมภีร์จง-อยง เป็นผลงานบันทึกของท่านปราชญ์จื่อซือ ซึ่งเป็นหลานของท่านปราชญ์ขงจื้อ  จง-อยง ยังแสดงออกถึงความคิดเห็นอันเฉียบแหลมคมของปรัชญาศาสตร์ ซึ่งเป็นทัศนคติที่สามารถ เปรียบเทียบสะท้อนตอบทัศนคติของปรัชญาแนวอื่นที่ขัดแย้งได้ เมื่อมองดูตามหลักปรัชญาศาสตร์ จะเห็นว่าคัมภีร์จง-อยง สามารถแสดงออกให้เห็นเป็นรูปของคุณธรรมได้จากสภาวะของความสงบนิ่ง สามารถแสดงออกให้เห็นเป็นรูปของคุณธรรมได้จากสภาวะของความศักดิ์สิทธิ์ลี้ลับอยู่เหนือรูปลักษณ์ ในทางธรรมอันอยู่เหนือรูปลักษณ์ อยู่เหนือวัตถุธาตุ สื่อสัมพันธ์ สำคัญยิ่งที่ถ่ายทอดตอบรับด้วยจิตญาณ
หรือสภาวะธรรมนั้น ความศรัทธา จริงใจ สัตย์ซื่อบริสุทธิ์โดยแท้ มาร้อยรวมทุกวิถีธรรมในโลกให้เข้าสู่สภาวะอนุตตรธรรมในมหาจักรวาลหนึ่งเดียวอันเป็นที่สุด ท่านปราชญ์เมธีจูซี ผู้สูงส่งในสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้แสดงคำนำโดยเชิญเอาคำนิยามของท่านปราชญ์เฉิงจื่อ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านเองมาอรรถาธิบายว่า""จง-อยงคือ เที่ยงตรง เป็นกลาง เป็นปกติไม่แปรไม่เปลี่ยนคือสัจธรรม""" จง-อยง จึงหมายถึง หลักอันเป็นความเที่ยงตรง เป็นหนทางสว่างอันโอฬารที่สุดในโลก หลักของความเป็นปกติไม่แปร ไม่เปลี่ยน อีกทั้งเป็นสิ่งยั่งยืนนี้เป็นความเที่ยงแท้อยู่ในหลักสัจธรรม มิใช่เป็นไปตามดำริ
ของคน เป็นวิถีธรรมอันปราณีต สุขุม คัมภีร์ภาพนี้ ในสายธรรมของท่านจอมปราชญ์ขงจื้อและอาจารย์แต่ละสมัย จะถ่ายทอดแด่ศิษย์เรื่อยมาตามลำดับเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยการ""ให้จิตประทับรับรู้ด้วยจิต""เท่านั้น  ท่านปราชญ์จื่อซือ ซึ่งเป็นหลานของท่านปราชญ์ขงจื้อ เกรงว่านานปีต่อไปการถ่ายทอดวิถีธรรมอันตรงต่อจิตเช่นนี้ จะมีการผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงได้จารึกคัมภีร์จง-อยง ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จนกระทั่งต่อมาได้ถ่ายทอดแด่ท่านปราชญ์เมิ่งจื้อ เพื่อสืบสายธรรม"""วิถีแห่งจิต"" ต่อไปมิให้ขาด
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12/11/2011, 16:44 โดย ติ๊กน้อย »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
中庸

天命之谓性,
率性之谓道,
修道之谓教。
道也者,
不可须臾离也。
可离非道也。
是故君子
戒慎乎其所不睹,
恐惧乎其所不闻。
莫见乎隐,
莫显乎微。
故君子
慎其独也。
喜怒哀乐之未发,谓之中。
发而皆中节,谓之和。
中也者,天下之大本也
和也者,天下之达道也。
致中和,天地位焉,万物育焉



    ชีวิตธรรมญาณจากฟ้าอันเป็นที่มาของจิตญาณ

ชีวิตธรรมญาณของคนเรา เป็นพลังงานส่วนหนึ่งอันวิเศษยิ่งที่คงอยู่เรื่อยไปไม่ดับสูญจากแหล่งรวมพลังงานมหาศาล อันยิ่งใหญ่ไม่อาจประมาณแห่งมหาจักรวาล ร่างกายของบุตรที่เกิดจาก""คน""หรือท้องแม่เป็นวัตถุธาตุอย่างหนึ่งที่ประกอบขึ้นด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในโลก
เป็นรูปธรรมที่จับต้องมองเห็นได้ มีสภาวะธรรมของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นกฏเกณฑ์แน่แท้
    ดวงธรรมญาณอันเป็นภาคเล็ก ๆที่แยกจากอุทรธรรมของพระผู้สร้างเป็นนามธรรม ที่ไม่อาจมองเห็นได้ อยู่เหนือ
สภาวะธรรมของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ธรรมญาณจึงได้ชื่อว่า""ชีวิตนิรันทร์""
   ผู้ให้กำเนิดกายสังขารอันเป็นวัตถุธาตุเราเรียกว่าพ่อแม่ บิดามารดา
   ผู้ให้กำเนิดดวงธรรมญาณอันเ็ป็นชีวิตนิรันทร์เราถวายพระนามว่าพระผู้สร้าง อนุตตรธรรมมารดา พระแม่องค์ธรรม
พระองค์ธรรมชาติ ฯลฯ
   กายสังขารที่เกิดจากพ่อแม่ บิดามารดา เราเรียกว่าบุตร  ลูกคน ลูกสัตว์
   ดวงธรรมญาณชีวิตนิรันทร์ที่เกิดจากอนุตตรธรรมมารดาเรียกว่า""พุทธบุตร""ชีวิตสว่าง สภาวะธรรมสว่าง
ชีวิตพระโองการฟ้า ดวงธรรมญาณเป็นชีวิตสว่างอันได้กำเนิดจากพระโองการฟ้า มีสภาวะธรรมเพรียบพร้อมสมบูรณ์
ด้วยธาตุแท้ห้าประการ หรือ เบญจสภาวะธรรม คือ
๐ มีสภาวะของการุณย์ธรรม คือ ""เหยิน"" เป็นธาตุแท้
๐ มีสภาวะของคุณธรรม ความถูกต้องสูงส่ง คือ ""อี้"" เป็นธาตุแท้
๐ มีสภาวะของจริยธรรม ความกลมกลืน ความสมานฉันท์ คือ ""หลี่"" เป็นธาตุแท้
๐ มีสภาวะของปัญญาธรรม ความรอบรู้อันล่วงพ้นกาลเวลาและนามรูปได้ คือ ""จี้อ"" เป็นธาตุแท้
๐ มีสภาวะของสัตยหรือสัจธรรม อันเป็นหลักของสภาวะธรรมทั้งสี่ข้างต้น คือ ""ซิ่่น""เป็นธาตุแท้
   สภาวะธรรมทั้งห้าหรือเบญจสภาวะธรรมนี้เป็นสภาวะ""ปกติ"" ดั้งเดิม ของธรรมญาณที่เป็นอยู่อย่างนั้นเอง
โดยไม่เอียง ไม่อิงสิ่งใดเลยจึงเรียกได้ว่าเป็น""จง-อยง คือ เที่ยงตรง + สัจธรรม
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12/11/2011, 17:07 โดย ติ๊กน้อย »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
     สภาวะธรรมทั้งห้าอันเป็นสภาวะปกติดั้งเดิมของธรรมญาณ ยังมีพร้อมด้วยคุณสมบัติของ"พลานุภาพ"
"ศักยภาพ" และ "ธรรมานุภาพ"
     พลานุภาพ  เป็นพลังงานที่ทรงอานุภาพของธรรมญาณ เมื่อธรรมญาณได้เข้าครองกายสังขารแล้วจะ
เห็นได้เช่น ทารกแรกเกิดจะกำมือแน่นและแผดเสียงร้องจนคนรอบข้างสะเทือนใจ ไม่อาจนิ่งดูดายได้
เมื่อเจริญวัยขึ้นอีกหน่อย เมื่อถูกขัดใจเด็กน้อยจะแสดงอาการดีดดิ้น กรีดร้อง เพื่อแสดงพลังและอานุภาพ
ในตัวเองโดยไม่เคยเห็นเยี่ยงอย่างมาก่อน
     พลานุภาพของธรรมญาณ มีผลทำให้คนทะยานตนทะยานใจทั้งในทางดีและทางชั่ว (ชั่ว หลังจากอาศัย-
กายสังขารเวียนเกิดเวียนตาย สั่งสมกิเลสตัณหามาแล้ว จนรวมตัวเป็นแรงกรรม อีกทั้งสั่งสมเป็นสัญญาความจำ
หล่อหลอมเป็นอนุสัยที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานต่อมา )
     ศักยภาพ คือคุณสมบัติของความสามารถในการพัฒนาสร้างสรรค์ เมื่อธรรมญาณได้เข้าครองกายสังขารแล้ว
จะเห็นได้ว่าเช่นทารกแรกเกิดจะรู้จักขยับปากดูดนมได้เองทันที เมื่อเจริญวัยขึ้นอีกหน่อย ก็จะรับรู้เรียนรู้ ริเริ่ม
หรือทำสิ่งต่าง ๆ ได้เอง เราเรียกว่า สัญชาติญาณ วิจารณญาณ ปัญญาญาณ
    ศักยภาพมีคุณสมบัติของ"สัญชาตญาณ"และ"ปัญญาญาณ" ร่วมอยู่ ธรรมญาณ จึงมีคุณสมบัติทำให้คนรู้จัก
สร้างสรรค์วิทยาการณ์ต่าง ๆ ได้หลากหลายมากมาย กว้างขวาง โดยไม่มีขีดจำกัด
     ธรรมานุภาพ คืออานุภาพของความเป็นธรรมะ ความเป็นธรรมะเป็นสภาวะของความสูงส่งดีงาม ทำให้คนมีจิต
สำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี รู้จักย้อนต้นค้นหาภาวะเดิมทีของตนเองก่อนที่จะมาอาศัยอยู่กับกายสังขาร
     ธรรมานุภาพ คือคุณสมบัติในดวงธรรมญาณเป็นแรงผลักดัน ก่อให้เกิดการปฏิบัติบำเพ็ญเพื่อการหลุดพ้น
กลับคืนไปสู่ต้นกำเนิดของความเป็นธรรมญาณแห่งท้องฟ้ามหาจักรวาลดังเดิม

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
      เจ้าชายสิทธัตถะ พระธิดาเมี่ยวซั่น ท่านขงจื้อ ท่านเมิ่งจื้อ....ล้วนบรรลุได้ด้วยธรรมานุภาพอันเป็นธาตุแท้ของธรรมญาณ
ที่สำแดงคุณเป็นแรงผลักดันอย่างแรงกล้าเหนือกว่าอิทธิพลจากแรงผลักดันของวัตถุสัมพันธ์ทางโลก ทั้งสิ้น
     เมื่อชีวิตธรรมญาณประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ชีวิตธรรมญาณจึงเป็นชีวิตนิรันดร์ ยั่งยืน สูงส่ง ศักดิ์สิทธิ์
ล้ำเลิศ ประเสริฐกว่าสิ่งใด ๆ ในโลก แต่เมื่อชีวิตธรรมญาณได้ประกอบเข้ากับกายสังขารอันเป็นวัตถุธาตุ อีกทั้งร่วมอยู่ทั้งสัมพันธ์
อยู่กับสิ่งต่าง ๆ ในโลกของวัตถุธาตุที่เปลี่ยนแปรไปตลอดเวลา
     ชีวิตธรรมญาณอันสูงส่งดีงามแทนที่จะแสดงคุณสมบัติเป็นหลักครองกายสังขาร บงการสังขาร หรือใช้กายสังขารให้แสดงคุณสมบัติอันสูงส่งดีงามของดวงธรรมญาณกลับกลายเป็นอาศัยกายสังขารคล้อยตาม ปรุงแต่งไปกับวัตถุธาตุต่าง ๆ ในโลก
     อารมณ์แปรปรวนจึงเกิดตามมา การยึดหมายวัตถุธาตุด้วยความรัก โลภ โกรธ หลง จึงแน่นหนายิ่งขึ้นเรื่อยมา ดวงธรรมญาณสว่างใสจึงถูกครอบคลุมอยู่ภายใต้อิทธิพลของ วัตถุสัมพันธ์
     ชีวิตธรรมญาณจากฟ้าอันเป็นที่มาของจิตญาณ หรือชีวิตจิตญาณอันได้รับมาจากพระโองการฟ้า ชีวิตธรรมญาณจากฟ้าอันเป็นที่มาของจิตญาณที่ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อ และธรรมาจารย์ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นหลังของท่านใช้ถ่ายทอดแด่ศิษย์รุ่นหลังต่อมาตามลำดับเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงเป็นวิถีแห่งจิตโดยตรงที่นำจิตเข้าสู่สภาวะธรรมความเป็นปกติดั้งเดิมที่เป็นธาตุอันปราณีต สุขุมคัมภีร์ภาพของดวงธรรมญาณอันเป็นชีวิตแท้จริงของคนเรา
      การถ่ายทอดวิถีแห่งจิตในสมัยนั้น เป็นการถ่ายทอดด้วยนามธรรม คือ จิตประทับจิต  จิตประทับจิตคือจิตภาพอันสูงส่งดีงามด้วยเบญจสภาวะธรรม ซึ่งอีกทั้งยังสูงส่งด้วยคุณสมบัติของพลานุภาพ ศักยภาพ และธรรมานุภาพอันเป็นธาตุแท้ของธรรมญาณจากอาจารย์ผู้ถ่ายทอดสื่อตรงต่อจิตของศิษย์ผู้ได้รับการถ่ายทอดต่างก็มีสภาวะของจิตภาพที่่ค่อนข้างสูงส่งดีงามเช่นกันหลังจากบอกกล่าวส่งเสริมด้วยสัจธรรมคำสอนอีกไม่กี่ประโยค ศิษย์ผู้ได้รับการถ่ายทอดก็สามารถเข้าสู่สภาวะธรรมหรือเข้าถึงจิตเดิมแท้แห่งตนได้ เช่นเดียวกับในครั้งพุทธกาลที่ผู้ได้สดับธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง แม้เพียงครั้งเดียวก็อาจบรรลุธรรมได้ฉับพลันเช่นกัน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
        ประคองรักษาจิตญาณอันเที่ยงตรงนั่นคือธรรม เมื่อดวงธรรมญาณเข้าอาศัยกายสังขารแล้วคล้อยตามปรุงแต่งไปกับวัตถุสัมพันธ์ทางโลกแน่นอนธรรมญาณดวงนั้นย่อมผิดจากสภาวะธรรมความเป็นปกติดั้งเดิมที่เป็นธาตุแท้อันปราณีตสุขุมคัมภีรภาพซึ่งเป็นชีวิตแท้จริงของตน คุณสมบัติของพลานุภาพ ศักยภาพ และธรรมานุภาพก็อ่อนกำลังลงด้วยหากยิ่งคล้อยตาม ปรุงแต่ง หลงใหล หมกมุ่น มัวเมาอยู่กับวัตถุสัมพันธ์ทางโลกมากเท่าไรสภาวะธรรมก็อ่อนกำลังลงเท่านั้น
        เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นคน""หลงโลก ลืมธรรม"" ชีวิตสว่าง(หมิงเต๋อ) แต่เดิมทีจึงกลายเป็นปุถุชนที่ใช้ชีวิตจิตญาณอยู่กับความโลภ โกรธ หลง  ชีวิตพระโองการฟ้า(เทียนมิ่ง)ภายหลังที่ทิ้งกายสังขารแล้วซึ่งควรจะกลับสู่สภาวะธรรมอันสูงส่งที่อยู่เหนือสภาวะธรรมของการเิกิด แก่ เจ็บ ตาย ทางโลกจึงต้องกลับกลายเป็นวิญญาณผี เวียนเกิดเวียนตายเรื่อยไปตามแรงกรรมที่เกาะเกี่ยวอยู่กับวัตถุสัมพันธ์ทางโลก
        เราจึงเห็นได้ว่าพระผู้บรรลุแล้วทั้งหลายในอดีตกาลที่ผ่านมา จึงล้วนแต่เริ่มปฏิบัติบำเพ็ญด้วยการสละ ละวางวัตถุสัมพันธ์โดยไม่ยึดหมายใด ๆไม่ปรุงแต่งใด ๆ และไม่คล้อยตามวัตถุสัมพันธ์ใด ๆ
        จิตญาณของพระองค์จึงหลุดพ้นจากอิทธิพลตัวตนของพระองค์เอง ซึ่งแม้แต่ตัวตนก็นับเป็นวัตถุธาตุอย่างหนึ่งที่จะต้องสละ ละ วางลงเช่นกัน เมื่อจิตญาณอยู่เหนือวัตถุสัมพันธ์ จิตญาณจึงอยู่เหนือสภาวะธรรมของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย จิตญาณจึงเป็นอิสระอยู่เหนือโลก จิตญาณจึงกลับคืนไปสู่สภาวะธรรมเดิมแท้ ซึ่งเรียกกันว่า""บรรลุธรรม""

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

       การบำเพ็ญเป็นที่มาของศาสนาคำสอน  ""ศาสนา""คือคำสอนที่ได้รับรู้จากศาสดา  ""ศาสดา""คือครูที่รู้ดีแล้วในคำสอนนั้น ครูที่รู้ดีแล้วจะต้องมีประสบการณ์ชัดเจนต่อสิ่งที่นำมาสอน มีความเป็นจริงต่ิอสิ่งที่นำมาถ่ายทอด ศาสดาของศาสนาปราชญ์ ศาสดาของศานสนาพุทธ ศาสดาของศาสนาเต๋า ศาสดาของศาสนาอิสลาม และศาสดาของศาสนาคริสต์ ล้วนเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่
      ทุกพระองค์""เข้าถึง รู้ซึ้ง เป็นจริง"" ต่อธรรมภาวะของพระองค์เองแล้วจึงได้ประกาศคำสอนอบรมกล่อมเกลาผู้คนให้มีจิตใจที่ดีงาม ซึ่งภายหลังต่อมาองค์ประกอบของการอบรมกล่อมเกลานั้นเราเรียกว่า""ศาสนา""
      ศาสนาปราชญ์  เน้นการอบรมกล่อมเกลาผู้คนให้ตั้งตนอยู่ใน""เบญจสภาวะธรรม"" (อู่ฉัง)
      ศาสนาพุทธ     เน้นให้ตั้งตนอยู่ใน""เบญจศีล"" (อู่เจี้ย)
      ศาสนาเต๋า       เน้นเรื่อง""วิสุทธิธรรม"" (ซิงผิง) ทำจิตให้สงบราบเรียบ
      ศาสนาคริสต์    เน้นเรื่อง""ความรักแผ่ไพศาล"" ( ป๋อไอ้ ) ให้ความรักจริงใจต่อสรรพสิ่งและชีวิตทั้งหลาย
      ศาสนาอิสลาม  เน้นเรื่อง""จิตบริสุทธิ์""(ชิงเจิน) ให้จิตเข้าถึงพระอัลเลาะห์
แม้ภาษาและคำสอนจะแตกต่างกันไปบ้างแต่หลักของคำสอนสรุปได้เป็นอย่างเดียวกันว่าไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้เพียบพร้อมและทำใจของตนให้บริสุทธิ์เพื่อนำจิตตนให้หลุดพ้นจากโลกีย์วิสัย กลับคืนไปสู่สภาวะธรรมต้นกำเนิดของดวงธรรม
พระศาสดาทุกพระองค์ต่างก็ถือกำเนิดเกิดกายด้วยรูปลักษณ์ของคน ต้องผจญกับอิทธิพลของวัตถุสัมพันธ์ทุกอย่างในโลกมาก่อนทั้งนั้น แต่พระองค์ก็ฝ่าฟันผ่านพ้นไปได้ทุกพระองค์ กลับคืนสู่สภาวะเดิมที่บริสุทธิ์สูงส่งได้ แสดงให้เห็นว่าชีวิตจิตญาณของคนเราแต่เดิมทีคือดวงธรรม (เทียนมิ่ง) ชีวิตจิตญาณของคนเราแต่เดิมทีเป็นชีวิตสว่าง อันได้กำเนิดจากพระโองการฟ้าแน่แท้มีธรรมคติพจน์มากมาย เช่น เหยิน ๆ เจียเข่อ อุ้ยเหยาซุ่น แปลว่า"ทุกคนอาจบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับกษัตริย์เหยาและซุ่น"
ท่านหวังหยังหมิง ผู้บรรลุแล้วก็เคยแสดงธรรมว่า"ทั่วท้องถนนล้วนแต่อริยบุคคล" ซึ่งตรงกับคำอุทานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงอุทานหลังจากตรัสรู้แล้วว่า"ทุกคนล้วนมีจิตพุทธะทุกคนล้วนอาจบรรลุได้"เหล่านี้ล้วนเป็นข้อยืนยันว่า""คำสอน""ที่ตรงต่อหลักสัจธรรมซึ่งยั่งยืนเรื่อยมาเป็นปรัชญาที่เกิดจากการ""เข้าถึง รู้ซึ้ง เป็นจริง"" แล้วของอริยบุคคล ท่านบรมครูขงจื้อจึงได้โปรดแสดงธรรมว่า""การบำเพ็ญเป็นที่มาของศาสนาคำสอน"""   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
      ธรรมะนั้นเป็นสิ่งซึ่งมิอาจจากพรากแม้ชั่วขณะจากพรากได้มิใช่ธรรมะ""ธรรมะ""เมื่ออยู่กับสภาวะของมหาจักรวาลก็คือ""หลักสัจธรรม""ของการดำรงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ ในมหาจักรวาลเช่นการดำรงอยู่ของตะวัน เดือน ดวงดาว ลมฟ้าอากาศ การดำรงอยู่ของสรรพสิ่งและการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทดแทนกัน อันเป็นหลักเที่ยงแท้แน่นอน
      ธรรมะเมื่ออยู่กับคนนั่นคือพลังงานวิเศษแยบยล เมื่อพลังงานวิเศษแยบยลนั้นอยู่กับกายเนื้อ กายเนื้อจึงเคลื่อนไหวได้พัฒนาเจริญเติบโต ธรรมะเมื่ออยู่กับคนนั่นคือจิตญาณตัวรู้อันวิเศษแยบยล คนจึงมีความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ได้ ธรรมะเมื่ออยู่กับคนนั่นคือคุณสมบัติสูงส่งดีงาม คนจึงมีจิตสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี มีเมตตากรุณาธรรม ธรรมะอันเป็นคุณสมบัติสูงส่งดีงามแม้หากจากพรากไป ความชั่วร้ายจะครอบงำผู้นั้น
      ธรรมะอันเป็นพลังงานวิเศษแม้หากจากพรากละทิ้งสังขารไป กายเนื้อที่เหลืออยู่จะเป็นเพียงซากศพ ธรรมะอันเป็นจิตญาณแม้หากพรากจากกายจิตญาณไม่อยู่ควบคุมบงการสังขาร สังขารนั้นแม้จะมีลมหายใจก็เท่ากับตาย ท่านบรมครูจอมปราชญ์ขงจื้อซึ่งเป็นครูผู้รู้ดีแล้วตั้งแต่ครั้งสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อนจึงได้โปรดสั่งสอนศิษย์ทั้งสามพันคนของท่านให้หมั่นสำเหนียกความสำคัญยิ่งของธรรมะในตนอยู่เสมอว่า""ธรรมะนั้นเป็นสิ่งซึ่งมิอาจจากพรากแม้ชั่วขณะ จากพรากได้มิใช่ธรรมะ""

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
      ด้วยเหตุดังนี้ กัลยาณชนจึงหักห้าม สำรวมกาย วาจา ใจ มิให้มองข้ามความผิดแม้เพียงเล็กน้อยที่ผู้อื่นมองไม่เห็น กัลยาณชนจึงระแวดระวังกับสิ่งซึ่งไม่ควรฝักใฝ่ใส่ใจหรือไม่ควรสดับตรับฟังแม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยที่ผู้อื่นมองข้ามความผิดไป
      กัลยาณชนผู้มุ่งมั่นในคุณความดีหรือสูงขึ้นไปจนถึงผู้ปฏิบัติบำเพ็ญเพื่อการหลุดพ้น ล้วนเริ่มต้นจากการสำรวมระวังตนเป็นสำคัญ ความผิดบาปที่เกิดขึ้นจากตนมากมาย มักเริ่มจากการปล่อยตัวปล่อยใจ ไม่หยุดคิดพิจารณา
      ศิษย์เคยกราบทูลถามพระอาจารย์จี้กงว่า"พุทธระเบียบ"คืออย่างไร (พุทธระเบียบในทางปฏิบัติตน มิใช่พุทธระเบียบพิธีการ)พระอาจารย์โปรดประทานพระโอวาทว่า""พุทธระเบียบคือระเบียบของความเป็นพุทธะ คิดอะไรให้ถามตัวเองว่า พระพุทธท่านจะคิดอย่างนี้หรือไม่ ก่อนจะพูดอะไรให้ถามตัวเองว่าพระพุทธะท่านจะพูดอย่างนี้หรือไม่ ก่อนจะทำอะไรให้ถามตัวเองว่าพระพุทธะท่านจะทำอย่างนี้หรือไม่"""
      เมื่อชีวิตของคนเราเริ่มต้นมาจากความเป็น"พุทธบุตร"สามารถหลุดพ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายด้วยกายสังขารจนถึงขั้นบรรลุเป็นพระพุทธะได้เราจึงควรสำรวมระวังกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในระเบียบของความเป็นพุทธะอยู่เสมอ เมื่อเกิดการระวังสำรวมจนเคยชินจิตก็จะค่อยๆ ปราณีตขึ้น จิตมีความปราณีตมากก็จักเห็นแม้ความผิดละเอียดเล็กน้อยได้ จิตยิ่งปราณีตเท่าใดก็ยิ่งใกล้ความเป็นพุทธะมากขึ้นเท่านั้น
      ด้วยเหตุนี้กัลยาณชนจึงไม่มองข้ามความผิดที่ผู้อื่นมองไม่เห็น จึงหักห้ามสำรวมกาย วาจา ใจกับสิ่งซึ่งไม่ควรมองดูหรือรู้เห็น กัลยาณชนจึงระแวดระวังกับสิ่งซึ่งไม่ควรฝักใฝ่ไม่ควรใส่ใจสดับตรับฟังและควรระมัดระวังแม้กระทั้งเรื่องเล็กน้อยที่ผู้อื่นมองข้ามความผิดไป

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
       อย่าได้ก่อเกิดการปรุงแต่ง คิด พูดทำแม้ในที่ลับตา อย่าได้สำแดงการอันไม่สมควรแม้ในเรื่องเล็กน้อย ดังนั้นกัลยาณชนจึงสำรวมระวังแม้ขณะอยู่ลำพังเฉพาะตน มีคำกล่าวว่า ""คลื่นน้อยใหญ่ในทะเลมหาสมุทรสุดสายตา ยังอาจหาที่มาที่สิ้นสุดหยุดหายลงได้บ้าง...""กระแสความคิดจิตใจของคนเราเป็นสิ่งเร้นลับสับสน ซึ่งแม้แต่ตัวเองก็ไม่อาจมองเห็นเกลียวคลื่น ความคิดในทะเลใจของตัวเองได้ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อใด อย่างไร โดยเฉพาะความรู้สึกนึกคิดของปุถุชนคนทางโลกจะสงบหยุดนิ่งแม้ชั่วขณะนั้นยากนัก
       จิตเดิมแท้ของคนเราแม้จะถือกำเนิดมาจากต้นธาตุต้นธรรมอันสว่างใส แต่เมื่อตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัตถุสัมพันท์ทางโลกและถ้าหากพลังของธรรมานุภาพในจิตสำนึกไม่แข้มแข็งจริงจังพอ แม้จะอยู่เพียงลำพัง จิตใจก็ยังปรุงแต่งวาดภาพ คาดการณ์ ฟุ้งซ่าน มุ่งหมาย ใคร่ได้ ใคร่เห็น ใคร่เป็น ใคร่รู้ วุ่นวายอยู่ได้ไม่จบสิ้น จึงมีคำเตือนที่ว่า"อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด"
        ความคิดเกาะเกี่ยวแม้เพียงนิดเดียวก็เป็นเหตุที่ก่อเกิดวัฏจักรของการเวียนว่ายตายเกิดเสียแล้ว ผู้บำเพ็ญจึงพึงถือเป็นข้อเตือนใจไว้เสมอว่า"ในความว่างรัตติกาลอันสงัดได้ยินชัดเสียงเข็มหล่นบนผืนพรม" ในความว่างคือเมื่อจิตมีสมาธิ รัตติกาลคือเมื่อจิตอยู่ในสภาวะธรรมอันสงบ
        ผู้ปฏิบัติบำเพ็ญจริง เมื่อจิตเป็นสมาธิอยู่ในสภาวะธรรมอันสงบ การเคลื่อนไหวแม้เพียงเล็กน้อยของจิต เจ้าตัวเองก็จะรู้ได้ทันที จะระงับยับยั้งก็ย่อมทำได้ทันที ก่อนที่ความคิดจะลุกลามกว้่างไกลออกไป ฉะนั้นจึงมีคติธรรมคำเตือนอีกว่า"หลุดพ้นได้เมื่อจิตไร้ซึ่งมลทิน แม้ราคินเท่า ฝุ่นผงจงอย่ามี"
        ท่านบรมครูขงจื้อจึงได้โปรดแสดงธรรมที่ตรงต่อวิถีแห่งจิตแด่ศิษย์ทั้งหลายว่า"อย่าได้ก่อเกิดการปรุงแต่ง คิด พูด ทำแม้ในที่ลับตา อย่าได้สำแดงการอันไม่สมควรแม้ในเรื่องละเอียดเล็กน้อย ดังนั้นกัลยาณชนจึงสำรวมระวัง แม้ขณะอยู่ลำพังเฉพาะตน""

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
       ในขณะที่ความชอบใจ ขัดใจ เสียใจ สุขใจยังมิได้ก่อเกิด ขณะนั้น จิตมีสภาวะเป็นกลางเที่ยงตรง (ไม่เอียงไม่อิง )ดังกล่าวแล้วว่าจิตใจของคนเราตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัตถุสัมพันท์ทางโลก ความรู้สึกนึกคิดจึงคล้อยตามปรุงแต่งไปกับสิ่งต่าง ๆ ทางโลกเหมือนน้ำในทะเลมหาสมุทร ซึ่งต้องปั่นป่วนไปตามสภาพการณ์
       มีกลอนบทหนึ่งซึ่งให้ข้อคิดเป็นอุทาหรณ์สำหรับเรื่องนี้ได้ดีมาก คือ""ผืนน้ำมิร่ำไห้ หน้ายับไปเพราะลมโชย หิมะโปรยจึงผมขาว ดอกไม้ร่วงลงดิน ไม่ถวิลคืนต้นเก่า แปลกแท้แต่คนเรา ชอบมัวเมาหาเศร้าเอง"""
       ผืนน้ำ  ซึ่งอันที่จริงน่าจะราบเรียบเหมือนแผ่นกระจก แต่ต้องย่นยับเหมือนใบหน้าของคนที่มีแต่ริ้วรอยของความกังวลหม่นหมองเพราะต้องแรงลม ด้วยผืนน้ำมิอาจขัดขืนแรงลมเพื่อให้คงความราบเรียบอยู่ได้
       เขาเขียว  ก็ตกอยู่ภายใต้ิอิทธิพลของฤดูกาลโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จึงจำใจต้องขาวโพลนไปตามสีหิมะ
       ดอกไม้   พ่ายแพ้แก่กาลเวลา บานมาแล้วร่วงไปช่วยอะไรตัวเองไม่ได้เลย
       น้ำ         หากจำกัดอยู่ในขอบเขตของภาชนะและสภาพอันเป็นปกติ น้ำอาจสงบนิ่งไม่ปั่นป่วนเป็นเกลียวคลื่น แต่น้ำไม่มีคุณสมบัติที่จะ""หยุด"" ตัวเองได้   จิตใจ จึงดีกว่า น้ำ เพราะมีคุณสมบัติที่จะ หยุดตัวเองได้
      ธรรมญาณ จึงดีกว่า ดอกไม้เพราะอยู่เหนือกาลเวลาอีกทั้งเป็นอมตะได้ หากจิตใจไม่แกว่งไกว จิตใจย่อมไม่ย่นยับ และไม่จำต้องรับสภาพ หากจิตใจอยู่เหนือสภาพ ความผิดพลาด ความไม่ยุติธรรมในการตัดสินใจ ความไม่ยุติธรรมในการตัดสินความทุกประการ ก็เนื่องจากจิตใจตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอารมณ์ที่ปรุงแต่งคล้อยตามสถานการณ์ จิตใจจึงเอียงอิง เมื่ออิงจึงไม่เที่ยง เมื่อเอียงจึงไม่ตรง
       ท่านบรมครูจอมปราชญ์ขงจื้อจึงได้โปรดชี้ชัดว่า " ในขณะที่ความชอบใจ ขัดใจ เสียใจ สุขใจ ( โลภ โกรธ หลง )ยังมิได้ก่อเกิดขณะนั้น จิตมีสภาวะเป็นกลาง เที่ยงตรง ไม่เอียง ไม่อิง

Tags: