collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ท่องพุทธาลัย 3  (อ่าน 22416 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ตอนที่ 11

                            ด่านจิ่งหยาง
            สามพันแปดร้อยผลบุญญา
                     ในอักษรซ่อนตถตา
                         ฟ้าดินหญิงชาย

พระอาจารย์   : 
เรารับสนองพระโองการฯ บันทึก"ท่องพุทธาลัย"สิ่งใดที่รบกวน ขอบรรพจารย์ท่านได้โปรดอภัย  อู้เอวี๋ยน รีบเข้ามากราบคารวะพระบรรพจารย์

อู้เอวี๋ยน   : ขอพระบรรพจารย์ทรงอริยสำราญ ศิษย์ผู้โง่เขลาขอพระองค์ทรงชี้แนะ

พระบรรพจารย์   :  อู้เอวี๋ยน เชิญยืนขึ้นเถิด มิต้องมากจริยา บัดนี้ จะชี้แจงหน้าที่การงานของตำหนักนี้พอสังเขป  ตำหนักนี้ดูแลพิจารณา "กุศลภายใน (กุศลจิต)" ไม่เหมือนตำหนักอื่น ๆ ที่มีสถานลงโทษ ก้ด้วยญาณเดิมที่จะมาถึงตำหนักนี้ ล้วนผ่านการตรวจสอบต่าง ๆมาแล้ว จิตญาณเริ่มเข้าสู่ภาวะกลมงาม ดังนั้น  จุดสำคัญของตำหนักนี้คือ นอกจากจะพิจารณาชัดเจนต่อกุศลภายในแล้ว ยังได้จัด "หนึ่งหอเจ็ดห้อง" เอาไว้แก้ไขข้อบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ของผู้บำเพ็ญขณะเมื่อมีชีวิต คุณประโยชน์ที่ให้ไม่เหมือนกันดังนี้ :

1. ห้องบำบัดรักษา (อีเหลียวซื่อ)
ญาณเดิมที่เคยเจ็บป่วยเรื้อรังรักษาไม่หายเมื่ออยู่ในโลกหรือประสบภัย ญาณสังขารเสียหาย ล้วนจะได้รับการรักษาจากแพทย์ชาวฟ้า ฟูฟื้นญาณสังขารดังเดิม

2. ห้องจริยศึกษา  (เสวียหลี่ถัง) ญาณเดิมเมื่ออยู่ในโลก แม้กาย  วาจา  โสต  นัยน์ตา จะถูกต้องตามจริยา แต่หากยังมีข้อบกพร่องแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะต้องเข้ารับการทบทวนศึกษาเพื่อความงามพร้อมในห้องศึกษานี้

3. ห้องบำเพ็ญกาย (ซิวเซินถัง) ญาณเดิมเมื่ออยู่ในโลก กิริยาอาการสำรวมดี ดำเนินธรรมงามพร้อมด้วยบุคลิกพลังธรรม แต่หากยังมีตำหนิหลงเหลือ ก็จะต้องเข้ารับการบำเพ็ญให้ข้อตำหนิหมดไป

4. ห้องพิจารณาจิต  (ซันซิ่งถัง)ญาณเดิมเมื่ออยู่ในโลก เน้นหนักแต่การสร้างกุศลคุณธรรม บำเพ็ญฝึกฝนกาย แต่พิจารณาจิตภาวะน้อยไป ยึดขั้วปลายเดียว จะต้องเข้ารับการศึกษาจิตภาวะในห้องนี้ จนกระทั่งสำนึกรู้เข้าสู่ผล กลมกลืนทั้งชีวิตและจิตญาณ

5. ห้องเติมกุศล  (ปู่กงซื่อ)ญาณเดิมเมื่ออยู่ในโลก แม้เพียรสร้างกุศลแก่ชีวิต แต่ยังไม่บรรลุยอดสุดจุดสุขุม หรือวิธีฝึกฝนผิดไปไม่เกิดคุณ ล้วนจะต้องซ่อมบำเพ็ญ แก้ไขให้ถูกต้องที่ห้องนี้

6. ห้องอุเบกขา  (เหยิ่นยู่ซื่อ) อุเบกขา เป็นหนึ่งในหมื่นธรรมขันธ์จากปารมิตาหกของชาวพุทธ  ญาณเดิมเมื่ออยู่ในโลกบำเพ็ญจริง แต่จิตใจยังมิได้บำเพ็ญสมบูรณ์ อุเบกขาไม่พอ จะต้องซ่อมบำเพ็ญในห้องนี้

7. ห้องเปลี่ยนอาภรณ์  (เกิงอีซื่อ) เมื่อญาณเดิมได้ผ่านการฝึกฝนบำเพ็ญจากห้องทั้งหกข้างต้นมาแล้ว ล้วนจะต้องมาชำระญาณภาวะให้หใดจดในห้องนี้ จะได้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าอาภรณ์ใหม่หมดสดใส อิสระสุขสบายนับแต่นั้น

8. หอเลี้ยงดูจิตสงบ  (จิ้งหย่างโหลว)ญาณเดิมย้ายจากห้องเปลี่ยนอาภรณ์มาสู่หอนี้ เลี้ยงดูจิตสงบ รอเวลาย้ายไปตำหนักเจิ้นหยาง ของ ด่านจิ่วหยาง เพื่อมุ่งหน้าหนทางฟ้าของเขาต่อไป

อู้เอวี๋ยน   :  มิกล้ากราบทูลถามพระบรรพจารย์ ตำหนักของพระองค์ทำหน้าที่ "พิจารณากุศลภายในชัดแจ้ง" (เน่ยกงจิ้วหมิง) นั่นหมายถึงสามพันกุศลแปดร้อยผล (ซันเซียงกงปาไป่กว่อ) หรือมิใช่ขอรับ

พระบรรพจารย์   :  ถูกต้อง

อู้เอวี๋ยน   : 
กราบทูลถามพระบรรพจารย์อีกว่า "สามพันกุศลแปดร้อยผล" นั้น บำเพ็ญง่ายหรือไม่ บำเพ็ญอย่างไรขอรับ

พระบรรพจารย์   :  ผู้ยั่งยืนใจอยู่ในธรรมจะบำเพ็ญง่าย  ไม่ยั่งยืนใจอยู่ในธรรมจะบำเพ็ญยาก ผู้บำเพ็ญธรรม หยัดยืนดำเนินธรรม  สละทรัพย์  ปลูกฝังคุณธรรม  เห็นกุศลคุณความดีดั่งมณีรัตนะ  จะไม่แย่งชิงทางโลก  ไม่เปรียบเทียบกับใคร จิตใจสุขสงบ  สมถะ  ประคองรักษาพลานุภาพเที่ยงธรรม  ไม่ร้อนรนพลุ่งพล่าน  ไม่ลำพองระเริง  ไม่เหลิงลุ่มหลง  ไม่ทิฐิดึงดัน  ไม่ยึดมั่นถือมั่น นั่ง  ยืน  เดิน  นอน  ทุกขณะ  ไม่ห่างจากธรรมะความเป็นกลางอันควร  อยู่กับโลกโลกีย์ด้วยความสำรวมระวังตน  แม้ขณะอยู่ลำพัง  เอาอย่างความหอมเย็นของดอกบัว เหนือความหอมอื่นใด  อยู่ในโคลนตมโลกีย์ได้โดยไม่แปดเปื้อน  ล้มลุกคลุกคลานคับแค้นอย่างไร ก็ให้รักษากายใจเช่นนี้  เหตุการณ์ผันแปรบีบบังคับอย่างไร  ก็ให้รักษากายใจเช่นนี้  ทำได้ดังนี้ไซร์ ไม่ยากที่จะบรรลุธรรม สามพันกุศล (ซันเซียนกง)  ที่ว่า กุศล นั้นหมายถึง สามกุศลบริสุทธิ์ สามกุศลบริสุทธิ์ (ซันซิงกง) ให้ชื่อว่า 1. หยกใสบริสุทธิ์ (อวี้ซิง) 2. สูงใสบริสุทธิ์ (ซั่งซิง) 3. ทิพย์ใสบริสุทธิ์ (ไท่ซิง)

     หยกใสบริสุทธิ์ 
เกิดจากการบำเพ็ญกายธาตุสุขุม ไม่รั่วไหล  สงบเยือกเย็นเป็นปกติ งามล้ำค่าดุจหยกใส ไม่แปดเปื้อน ไม่ด่างพร้อย

     สูงใสบริสุทธิ์ เกิดจากการบำเพ็ญพลังธาตุสุขุม สำรวมวาจา  อารมณ์  ให้พลังธาตุเป็นปกติ

     ทิพย์ใสบริสุทธิ์ เกิดจากการบำเพ็ญจิต  บำเพ็ญวิญญาณ  ธาตุสุขุม  สำรวมความคิด  จิตใจ  ประสาทรับรู้ให้อยู่ในสภาวธรรม เป็นปกติ

     การบำเพ็ญกายธาตุจนเป็นภาวะหนึ่งเดียว เรียกว่า กุศลบริสุทธิ์ด้วยกายธาตุเป็นหนึ่ง (จิงอีซิงกง)
     การบำเพ็ญพลังธาตุจนเป็นภาวะหนึ่งเดียว เรียกว่า กุศลบริสุทธิ์ด้วยพลังธาตุเป็นหนึ่ง (ชี่อีซิงกง)
     การบำเพ็ญจิต  บำเพ็ญวิญญาณธาตุ จนเป็นภาวะหนึ่งเดียว เรียกว่า กุศลบริสุทธิ์ด้วยจิตวิญญาณธาตุเป็นหนึ่ง (เสินอีซิงกง)  เมื่อสภาวะ"สามกุศลบริสุทธิ์"สมบูรณ์อยู่ในผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นอิสระจากทุกสิ่งอย่างทั้งหลายทั้งปวง จิตญาณจะเบิกบานกว้างไกล อยู่ในจักรวาลโลกที่เรียกว่า"สามพันมหาพันสัพพโลก"  (ซันเซียนต้าเซียนซื่อเจี้ย)  แปดร้อยผล (ปาไป่กว่อ) ที่ว่า "ผล" นั้นคือ เมล็ดใน แก่นแท้ปฏิสนธิ  แก่นแท้กรุณาธรรม  กายสังขารของคน เกิดจากคนสองคนคือ เหยิน ในกายคน มีแก่นแท้ปฏิสนธิชีวิต มีแก่นแท้กรุณาธรรม  เรียกว่า เหยิน  ในเหยิน มีคน  ในคน มีเหยิน  สองคน (อินหยาง) ประกอบกัน ก่อกำเนิดเหยิน  เหยิน จึงหมายถึงคน  คน จึงหมายถึงเหยิน  แก่นแท้กรุณาธรรม

อู้เอวี๋ยน   :  หลักธรรมที่พระบรรพจารย์ได้โปรดนี้ ลึกซึ้งยิ่งนัก แต่ศิษย์ผู้โง่เขลา ไม่อาจเข้าใจความหมายแยบยลได้ทั้งหมด ขอพระองค์ได้โปรดอรรถาความอีกสักหน่อยเถิดขอรับ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            ตอนที่ 11

                            ด่านจิ่งหยาง
            สามพันแปดร้อยผลบุญญา
                     ในอักษรซ่อนตถตา
                         ฟ้าดินหญิงชาย

พระบรรพจารย์   :  ดีมาก ที่ว่า สามพันกุศลแปดร้อยผล
นั้น มิใช่เจาะจงอยู่ที่ตัวเลข ผู้บำเพ็ญยุคนี้ มักจะติดอยู่กับตัวเลขที่ให้ได้กุศลผลบุญจำนวนสามพันแปดร้อย หรือยึดหมายในอักษรคำพูด ทำให้เป็นอุปสรรคในการตีความ สามพัน นั้น หมายถึง มหาสัพพโลก นอกจากโลกมนุษย์แล้ว ยังมีโลกอื่น ๆ อีกมากมาย ยังมีโลกทิพย์  โลกวิญญาณ  โลกอื่น ๆ  มีคำสรรเสริญผู้เจริญธรรมว่า "คุณธรรมบารมี สถิตเสมอด้วยโลกในใต้หล้า" (เต๋อเพ่ยเทียนเซี่ย) มีคำนิยามคุณแห่งธรรมะว่า "ธรรมะจรรโลงตรงผ่าน จากบุพกาลถึงปัจจุบัน" (เต้าก้วนกู่จิน) ล้วนหมายถึง "สามพันกุศล (ชันเซียนกง) นี้ ความหมายนั้นก็คือ "การ "ให้" อันไม่อาจประมาณ  การ "ให้" โดยไม่ยึดหมายเจาะจง โดยมิได้หวังผลตอบแทน  การ "ให้" มหาเมตตากรุณาที่ปรกแผ่แก่สรรพชีวิต พลังแห่งกุศลบุญคุณธรรมนั้น จะประจุเต็มอยู่ในมหาสัพพโลก จึงไม่มีความกว้างไกลใดที่มิอาจปรกแผ่  ไม่มีความเล็กละเอียดใดที่ซอกซอนเข้าไปไม่ถึง" 

อู้เอวี๋ยน   : 
มิกล้ากราบทูลถามพระบรรพจารย์ ชีวิตคนในโลกไม่เกินร้อยปี  แม้ว่าจะสร้างกุศลทุกขณะเวลา กุศลที่สั่งสมได้ก็ไม่อาจมากมายถึงขณะนั้น ถ้าเช่นนั้น ผู้บำเพ็ญจะต้องรอไปจนถึงเมื่อไรขอรับ กุศลจึงจะพร้อมสมบูรณ์

พระบรรพจารย์   :  นั่นคือยึดหมายกุศลเป็นตัวเลข คำว่า"กุศลมิอาจประมาณ มิอาจประมาณกุศล" (กงเจ๋ออู๋เลี่ยง อู๋เลี่ยงกงเตอ) เป็นการชี้นำู้คนให้รู้ว่า กุศล นั้น นับเป็นจำนวนไม่ได้ เก็บกุศลเป็นจำนวนไม่ได้ กุศลอยู่ที่การฟื้นฟูจิตดีงาม สำแดงจิตภาวะเดิมที สำแดงจิตภาพที่ให้คุณถึงที่สุด จุงมีคำกล่าวข้างต้นว่า "กุศลบริสุทธิ์ด้วยภาวะกายธาตุเป็นหนึ่ง (จิงอีชิงกง) กุศลบริสุทธิ์ด้วยภาวะพลังธาตุเป็นหนึ่ง (ชี่อีชิงกง) กุศลบริสุทธิ์ด้วยจิต ด้วยภาวะวิญญาณธาตุเป็นหนึ่ง (เสินอีชิงกง)  กายธาตุ  พลังธาตุ  วิญญาณธาตุ หากคืนสู่ภาวะความเป็นหนึ่ง เป็นเอกะอยู่ได้ พลังวิเศษย่อมรวมศูนย์ เป็นสูญตา จึงได้ชื่อว่า
หยกใสบริสุทธิ์ (กาย)   (อวี้ชิง)
สูงใสบริสุทธิ์   (พลัง)   (ซั่งชิง)
ทิพยใสบริสุทธิ์ (จิตญาณ)  (ไท่ชิง)

     สามใสบริสุทธิ์นี้ เป็นภาวะล่วงพ้นสามโลก ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของพลังชั้นบรรยากาศ เหตุนี้ พุทธะเซียนจึงเตือนสาธุชนให้บำเพ็ญกุศล เป้าหมายสูงสุดก็คือ บรรลุสามพันกุศลบริสุทธิ์นี้"

อู้เอวี๋ยน   :  ขอพระบรรพจารย์ได้โปรดอรรถาความคำว่า "กายธาตุเป็นหนึ่ง  พลังธาตุเป็นหนึ่ง  วิญญาณธาตุเป็นหนึ่ง" กับวิธีการปฏิบัติด้วยขอรับ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ตอนที่ 11

                            ด่านจิ่งหยาง
            สามพันแปดร้อยผลบุญญา
                     ในอักษรซ่อนตถตา
                         ฟ้าดินหญิงชาย


พระบรรพจารย์   :  กายธาตุเป็นหนึ่ง (จิงอี) คือ
การฝึกฝน หล่อหลวมกายธาตุที่แตกซ่าน กลับคืนสู่ความเป็นหนึ่งเดียว หนึ่งคือธรรมะ  ธรรมะคือหลัก  กายธาตุคืออะไร ในคัมภีร์ต่าง ๆ กล่าวไว้มากมาย จนทำให้ผู้บำเพ็ญปฏิบัติตามไม่ถูก วันนี้อาศัยอริยสัมพันธ์งาน "ท่องพุทธาลัย" จะอธิบายพอประมาณ กายธาตุ คือ อารมณ์บินดี  โกรธ  เศร้า  สุข  รัก  เกลียด  อยาก  กับความผูกพันธ์พอใจในรูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัส  ธรรมารมณ์ การฝึกฝน หล่อหลอมกายธาตุ ก็คือ ให้ปรับอารมณ์  ความพอใจผูกพันเหล่านี้ โน้มนำเข้าหาหลักสัจธรรม  รู้เท่าทันความเป็นจริง  ชีวิตหากไม่มีอารมณ์ความพอใจผูกพัน ก็จะไม่อาจสืบสายชีวิตได้ต่อไป ดังคำที่ว่า "ผู้ตัดเยื่อใยสัมพันธ์ ไม่อาจถ่ายทอดสายธรรมทางตรงให้" (จะขาดธรรมทายาท)  (ต้วนฉิงเจ่อปู้เข่อฉวนจือเจิ้งเต้า) 
        จุดหมายของการฝึกฝนหล่อเลี้ยงจิตญาณ มิใช่ควบคุมผู้บำเพ็ญให้ตัดสายสัมพันธ์อารมณ์ความพอใจ แต่ให้ปรับอารมณ์ความพอใจให้เป็นกลาง  ให้สมานสุขุมอยู่ในความถูกต้องพอดี เป็นกลางสมานคือ "สภาวะธรรม" เช่น คำที่ว่า "ธรรมะอยู่กับชีวิตประจำวัน" (ชีวิตประจำวัน จะต้องรับมือกับการก่อเกิดอารมณ์หลากหลาย) (เต้าไจ้ยื่อฉังเซิงหังจือจง) การฝึกฝนหล่อหลอมกายธาตุนั้น จึงมิใช่เจาะจงให้นั่งนิ่งกำหนดลมหายใจ
มิใช่กำหนดเคลื่อนลมปราณ แต่ให้ทุกเวลาทุกขณะจิตฝึกฝน หล่อหลอมกายธาตุไว้ มิให้แตกซ่านเสียหาย โดยทั่วไป ทุกขณะจิตของความคิดคำนึง ล้วนมีอารมณ์ ความพอใจ  ไม่พอใจ  ผูกพัน  เป็นตัวผลักดัน

ศาสนาปราชญ์ จึงสอนให้ วาจาตรง  ดำเนินตรง  ใจตรง  กายตรง  ผิดจริยา อย่าคิด  อย่าพูด  อย่าทำ  อย่ามอง  สอนให้สยบใจตน  ฟื้นฟูจริยธรรม  เหล่านี้ล้วนเป็นการฝึกฝน  หล่อหลอมกายธาตุแห่งตน

ศาสนาพุทธ  ให้รักษาศีลห้า

ศาสนาเต๋า ของท่านเหลาจื้อ  สอนให้ชำระใจ  ละตัณหา  ฟังดูต่างกันแต่ให้คุณวิเศษตรงกัน  /b]  วิธีเบื้องต้นในการฝึกฝนหล่อหลอมกายธาตุ กล่าวไว้ต่างกัน แต่จุดมั่งหมายล้วนเพื่อชี้นำให้จิตควบคุมอารมณ์ ให้เหมาะสมกับความเป็นธรรมะ  เมื่อผู้บำเพ็ญนำพาอารมณ์ที่มีภาวะแฝงเร้นหรือโลดแล่นออกมาจากใจ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรมได้ ก็เท่ากับได้ฝึกฝน หล่อหลอมกายธาตุให้รวมสู่ความเป็นหนึ่งแล้ว ภาวะนั้น จะสวยใสเหมือนเนื้อหยกขาวสะอาด จึงได้ชื่อว่า "หยกใสบริสุทธิ์" (อวี้ชิง)

พลังธาตุเป็นหนึ่ง (ชี่อี) ก็มีหลักเดียวกัน พลังธาตุ หมายถึง
แรงของอารมณ์  ความรู้สึกที่สำแดงออก จุดหมายของการฝึกฝน หล่อหลอมพลังธาตุก็คือ ทำให้อารมณ์ความผูกพัน  อารมณ์ความรู้สึก ปรับตัวเป็นกลาง  สมานสุขุม  พลังงานของธรรมะในมหาจักรวาล เคลื่อนโคจรอินหยาง เป็นวงรอบ หนุนเนื่องซึ่งกันเป็นนิรันดร์ ลม  ฝน  สายฟ้า  น้ำค้าง  น้ำแข็ง  หมอกในธรรมชาติ  กับ อารมณ์ยินดี  โกรธ  เศร้า  สุข  รัก  เกลียด  อยาก ในคนล้วนเปลี่ยนแปลงเป็นไปด้วยพลังธาตุทั้งสิ้น "ฝนชื่นรื่นลม" (เฟิงเถียวอวี่ซุ่น) หมายถึง ลมฟ้าอากาศเป็นไปตามครรลองธรรม หาไม่แล้วจะวิปริตเกิดเภทภัย  หน้าฝนกลับฝนแล้ง ผิดครรลองธรรมไปเสียสิ้น ผู้บำเพ็ญจะอนุมานได้จากการนี้ อารมณ์ความผูกพันจะเกิดหรือจะเก็บ หากเป็นไปอย่างเหมาะควร ก็จะสงบสบายใจไม่วูบวาบ นานวันก็จะเข้าสู่ภาวะที่คัมภีร์วิสุทธิสูตร (ชิงจิ้งจิง) กล่าวไว้ว่า "ตอนรับปกติ  สงบปกติ" (อยู่กับธรรมชาติ  สงบกับธรรมชาติ) (ฉังอิ้งฉังจิ้ง) เป็นภาวะฝึกฝน หล่อหลอมพลังธาตุให้คืนสู่ความเป็นหนึ่งเดียว ก็ด้วยความเบานั้นย่อมลอยสูง กุศลบริสุทธิ์ของกายธาตุจึงได้ชื่อว่า "สูงใสบริสุทธิ์" (ชั่งชิง) 

วิญญาณธาตุเป็นหนึ่ง (เสินอี้) คือบำเพ็ญจนเข้าถึงสัมมาญาณอันรู้แท้ พุทธธรรมเรียกว่า "โพธิ (ผูถี)  ปัญญา  (ปอเหย่อ)  ปรัชญาธรรมเรียกว่า "ชีวิตจิตจากฟ้า" (เทียนมิ่งจือชั่ง) คนยุคนี้เรียกว่า "วิจารณญาณ" (หลี่จื้อ)
วิจารณญาณนี้ทุกคนต่างมี ไม่มีใครที่ไม่มี วิจารณญาณนั้นปราศจากรูปลักษณ์  บางครั้งแฝง  บางครั้งสำแดง  หากค้นพบความมีอยู่นั้นก็คือภาวะของ "ใจสว่าง" (หมิงซิน) หากสำแดงคุณหมดสิ้นเต็มที่ ก็คือ ภาวะเห็น "จิตใส" (เจี้ยนซิ่ง) บำเพ็ญธรรมบำเพ็ญจิต บำเพ็ญจิต อยู่ที่ปลูกฝังเลี้ยงดูจิตญาณให้ตรงต่อหลักสัจธรรม จึงมีคำกล่าวว่า "บำเพ็ญใจกล่อมเกลี้ยงจิตญาณ" (ซิวซินอย่างซิ่ง) ฝึกฝน  หล่อหลอมวิญญาณธาตุก็คือเช่นนี้

     หวังว่าชาวโลกที่เคยชินกับการนั่งกรรมฐานทำสมาธิ จะเข้าใจเป็นจริงต่อสัมมาญาณ (รู้แท้ ถูกต้อง) เข้าใจเป็นจริงต่อการฝึกฝน  หล่อหลอมกายธาตุฝึกฝน  หล่อหลอมพลังธาตุ  และเข้าใจความหมายของการฝึกฝน หล่อหลอมวิญญาณธาตุให้ถ่องแท้ เช่นนี้แล้ว ในชีวิตประจำวัน ก็จะไม่มีอะไรผูกโยง ฝึกฝนหล่อหลอมเป็นธรรมชาติสบาย ๆ จะนั่ง  นอน  เดิน  ยืน  ล้วนเป็นฌานสมาธิ

อู้เอวี๋ยน   :  ขอบพระคุณพระบรรพจารย์ ได้โปรดแสดงธรรมแยบยลอันมิเคยได้สดับมาก่อน กลมกลิ้งได้ดั่งอัญมณี ทุกถ้อยคำไพเราะเสนาะโสตนัก ผู้บำเพ็ญชาวโลกวาสนามิเบา ขอพระบรรพจารย์ ได้โปรดอรรถาความหมายของคำว่า"แปดร้อยผล" (ปาไป๋กว่อ) ต่อไปด้วยขอรับ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ตอนที่ 11

                            ด่านจิ่งหยาง
            สามพันแปดร้อยผลบุญญา
                     ในอักษรซ่อนตถตา
                         ฟ้าดินหญิงชาย

พระบรรพจารย์   :  สาธุ ผู้บำเพ็ญพึงเป็นผู้รู้ "รู้หนึ่งให้ถึงสาม" (อีอวี๋ฝั่นซัน) สัมผัส ก. ให้รู้ ข. ตามไป  แปดร้อยนั้นเป็นคำอุปมา มิใช่หมายถึงจำนวนตัวเลข แท้จริงหมายถึง ภาวะสมบูรณ์ของผลภายใน ก็คือฟ้ากับดิน (จิตญาณกับกายสังขาร)
มั่นคงบนฐานของความเป็นหนึ่งเดียว กายธาตุ พลังธาตุ วิญญาณธาตุ อารมณ์รับรู้ สั่งสม สำแดงเข้าสู่ภาวะเที่ยงตรง ผู้บำเพ็ญหากแม้นไม่อาจสมานอยูในธรรมได้ทุกขณะจิต จิตญาณกับกายสังขารก็จะล้มลุก สับสน วุ่นวาย หากฝึกฝนหล่อหลอมได้นั่นก็คือ (กว่อ) ผลของต้นธรรมในตน การจะให้กายธาตุ พลังธาตุ วิญญาณธาตุ อารมณ์รับรู้สั่งสม สำแดง เข้าสู่ภาวะเที่ยงตรงนั้นได้จะต้องก่อเกิดมหาเมตตาจิตโดยมิได้เจาะจงยึดหมาย จะต้องก่อเกิดมหากรุณาร่วมตัวตน เห็นเป็นหนึ่งเดียว (มิได้เจาะจงยึดหมายนามเฉพาะรูปใด)  (อี๋ซื่อถงเหยิน) มีภาวะจิตใจรักชาวโลกเยี่ยงเดียวกับมหาโพธิสัตว์ มิฉะนั้น หากเพียงยึดหมายในกุศลในบารมีธรรม ก็ยากจะตกผลแห่งสัมมาปฏิบัติแน่นอน ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญจนได้แปดร้อยผลสมบูรณ์นั้น ล้วนจะต้องมีมหาปณิธาน  จะต้องให้ทานโดยมิได้ยึดหมายเจาะจง ภาวะสมบูรณ์ของผลภายในไม่ห่างจากกุศลผลบุญที่สร้างภายนอก  กุศลผลบุญภายนอกก็มิให้ห่างจากภาวะสมบูรณ์ของผลภายใน  ทั้งภายในภายนอกเอื้ออำนวยแก่กัน เป็นหนึ่งเดียวกันจึงจะเข้าถึงภาวะวิสุทธิ์ ดังพุทธพจน์ที่ว่า "สมบูรณ์ผล (รู้ตื่น) ทั้งบำเพ็ญและปฏิบัติ"  ผเจวี๋ยสิงเอวี๋ยนหมั่น) "เข้าถึงจิต คือเข้าถึงพุทธะ (จี๋ซินซื่อฝอ) เข้าใจหลักธรรมนี้ไหม ปฏิบัติตามหลักธรรมที่กล่าวมา นานวันยิ่งปราณีตลุ้มลึก "สามพันกุศลสมบูรณ์ แปดร้อยผลกลมเต็ม" ก็จะพ้นจากการควบคุมของสามโลก เป็นอิสระเหนือโลก

พระอาจารย์   :  วิเศษแท้ วิเศษแท้ พระบรรพจารย์เทียนซิน โปรดแสดงธรรมปลุกใจคนหลงได้ดีพร้อม งามพร้อมยิ่งนัก ผู้บำเพ็ญที่ได้อ่านหนังสือนี้ เป็นผู้มีบุญสั่งสมมาสามชาติทีเดียว คืนนี้ได้เวลาแล้ว เราอาจารย์ศิษย์ขอกราบลา

พระบรรพจารย์   : 
เวลามีจำกัด มิกล้ารั้งเชิญ จริยาขาดพร่องไป ขอได้โปรดอภัย ลั่นระฆัง  เรียงรายน้อมส่งพระบรรพจารย์เทียนหยาน

พระอาจารย์   :  อู้เอวี๋ยนรีบขึ้นพาหนะเมฆ หลับตา ขึ้นได้... พุทธตำหนักถึงแล้ว ญาณอู้เอวี๋ยนกลับเข้าร่างดังเดิม 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                   ตอนที่ 12

                      ปากทางตำหนักเจิ้นหยาง
                           สอบย้อนทางสุขสมใจ
                 แปดลม (อารมณ์) ไม่หวั่นไหว     
                           จึงผ่านได้เจดีย์ยุคขาว

@  ฟ้ากาลล่วงผ่าน        ถึงยุคเก็บงาน        อันสมบูรณ์ผล
ธรรมชาติประดน            พระองค์เบิกนำ       วาระความนัย
บรรพวิถี                     วันนี้สังขตะ            สัจจะสืบสาย
พุทธบุตรได้                 เสร็จสิ้นปณิธาน      กลับบ้านบวชใจ


(เทียนสือเฝิงจื้อโซวเอี๋ยนฉี        หยานเค่าสินเซิ่งเตี่ยนเอวี๋ยนจี
กู่เต้าจินฉวนเจินหลี่ก้วน            ฝอจื่อเหลี่ยวเอวี้ยนเจียกุยอี)
                                                                              เราคือ

บรรพพุทธา (ฟ้า) ธรรมชาติ   เทียนหยานกู่ฝอ

พระศาสดาโลกสากล           น้อมรับ
บัญชาฟ้า   เหินสู่ดินแดนบูรพา    ค่อยลงจากยอดเมฆา
น้อมเข้ามายังพุทธตำหนัก     ก่อนอื่นน้อมกราบ
พระแม่ฯเมตตา     จึงถามเหล่าเมถาสบายดี

        เทียนมิ่ง อนุตตรพระโงการฟ้า น่าคร้ามยำเกรง จะอยู่เย็นเป็นสุข หากน้อมรับทำตามพระฯบัญชา  บัดนี้ ฟ้าโปรดประทานฐานบัวทองให้ จงเพียรใจมุ่งหน้าต่างรับรู้สัจจา เปิดจักษุใส ได้เห็นแยบยล ทางธรรมสุดท้ายได้มาถึง หมื่นศาสตร์พากันฟูเฟื่อง ต่างเรืองฤทธิ์บุญญา นำพาเมธีคนดีกัน ยึดหลักสัจธรรมนำพาต้นราก ใจมิต้องวิบัติสับสน หากมุ่งศาสตร์บันดาลดล ทุกคนตาบอดจะไม่รอดลงเหวไป

@ จิตใสใจสว่าง เห็นญาณตน        เป็นต้นเดิม ที่มีอยู่
ด้วยจิตรู้ ธรรมชาติ                          ไม่เขียนวาด ดัดอาการ
คุมจิต  สำรวมนำ                            เรียกว่าธรรม ท่านกล่าวขาน
เทียนมิ่ง  โองการฟ้าฯ ประจุร่าง ญาณทวาร เปิดแยบยล


(หมิงซินเจี้ยนซิ่งซื่อเปิ่นไหล              อู๋โหย่วจั้วจั้วเทียนหยานไฮว๋
ไซว่ซิ่งเอวี้ยเต้าหนีซันอวี่                  เทียนมิ่งก้วนเซินเมี่ยวเสวียนไค)

@ พวกทางใน  ใช้เวทวิทย์          สื่อรู้จิต  ฤทธิ์นั้นร้าย
สำแดงตน ด้วยคุณไสยฯ                   สนองใจ คนต้องการ
จิตงามโรจน์ ญาณจากฟ้า                 ไม่ปรากฏ สำแดงหาญ
บำเพ็ญจน กายแหลกลาญ                เราเรียกขาน ว่าคน "เซ่อ"


(จูปันเสินทงไกว้ลี่ไฮ่                      ซู่หลิวต้งจิ้งอิ้งเหยินไฉ
เทียนเหลียงเปิ่นเจวี๋ยปู้เสี่ยนโล่ว         ซิวผ้อโย่วอีอี้หมิงไต

@ ทุกคนมี ญาณบรรพต              เรืองโรจน์อยู่ คู่ตนแท้
จะเดินยืน นั่งนอนแผ่                       ใครกันแน่ บงการเจ้า
เกิดถลำ ทำผิดไป                         สะท้านใจ กายสั่นเทา
ก็ตนเอง จิตญาณเรา                      ถูกรุกเร้า ด้วยบาปเวร


(เหยินเหยินโหย่วจั้วหลิงซันไถ          สิงจู้จั้วอั้วเสยจู๋ไจ่
เซาโหย่วซั่วซื่อจิงคุ่ยตัง                  เอวี๋ยนไหลจู่องโซ่วอวั้งไจ

@ ใจสบาย ไม่ผิดหลัก              ประจักษ์เห็น "เช่นนั้นเอง"
แสงญาณเปล่ง                            ขันธ์ห้าว่าง วางยึดหมาย
นำจิตอยู่ คู่ฟ้าดิน                          หว่างมรรคา ไม่ใกล้ไกล
ฟูมฟักถ้วน สรรพสิ่งได้                    ธาตุห้าไซร์ ลำดับงาม


(ซินอันหลี่เต๋อกวนจื้อไจ้                อู่อวิ้นเจ้าผ้ออู๋กว้าไอ้
โซวฟั่งจ้งเจี๋ยเฉียนคุนเจิ้ง              อวั้นอู้อวี้เอียนอู่สิงไผ)

@ กรุณามโนงาม จริยะ            ปัญญา สัตย์จริงนั่น
คุณสัมพันธ์ ระหว่างกัน                  บำเพ็ญมั่น เป็นสุขสม
ตาดู หูฟัง งามคารม                     อาการ ปัญญาคม
สำรวมสม สถานภาพ                    กำราบใจ ไม่กระเจิง


(เหยินอี่หลี่จื้ออวี่ซิ่นไจ                 เหยินหลุนซิวฉีเล่ออู๋อย๋า
ซื่อทิงเอี๋ยนต้งเหอหลี่จื้อ               อันเฟิ่นโสวจี่อวั้งซินไหม)

@ พร่ำสอนสั่ง ดั่งย่ายาย          ใจห่วงย้ำ กำชับว่า
หมื่นปัจจัย ปล่อยวางหนา             ฝุ่นโลกา อย่าพอกพูน
ชีวิตคน ทุกหนแห่ง                     ล้วนแหล่งธรรม
กระจ่างใส เห็นในธรรม                 แยบยลงาม ในตถตา


(ผอซินขูโข่วติงหนิงไจ้                อวั้นเแวี๋ยนฟั่งเซี่ยทัวเฉินไอ
เหยินเซิงซู่ซู่เจียโหย่วเต้า            อู้โท่วเมี่ยวเซี่ยงเจี้ยนหยูไหล)

        ยุคนี้ศาสตร์ลี้ลับ ดวงแก้ว แร่ธาตุอัศจรรย์ เสริมอายุวัฒนะ คงกระพันชาตรี เพิ่มพลังน้ำ - ไฟในตัว กำหนดลมปราณ...ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เหล่านี้ กำลังเป็นที่ชื่นชอบของคนมากมายในธรรมกาลยุคขาว สาเหตุก็คือ บ้างละทิ้งหลักธรรมตามปกติเพื่อใฝ่หาอภิญญา บ้างดูเบาไตรรัตน์ ใฝ่ใจสิ่งแปลกใหม่ จึงมีผู้สำแดงกันออกมา พาคนให้หลงตามไปไม่น้อย น่าเสียดายยิ่งนัก อาจารย์จึงอาศัยอริยสัมพันธ์จากการสร้างหนังสือฝากความหวังไปยังศิษย์เมธีผู้นำแบบอย่าง ให้อุ้มชูรักษาสัทธรรมเที่ยงแท้ ร่วมช่วยธรรมกาลนี้ ถึงแม้การทำสมาธิวิปัสสนา นั่งฌาน จะเป็นแนวทางหนึ่งในหมื่นวิธีของการปฏิบัติ ที่สุดของจุดหมายก็เพื่อให้คุมจิต ให้สำแดงการรู้แจ้งของจิตดีงาม ศิษย์จึงอย่าได้ยึดหมายลุ่มหลงการนั่งนิ่ง จึงจะเป็นการปฏิบัติบำเพ็ญกุศลจิตชีวิตจริง พระธรรมาจารย์สมัยที่สิบห้า ธรรมฉายา "ผู้เฒ่าทะเลเหนือ" (เป่ยไห่เหล่าเหยิน) ได้จารึกหลักการนี้ไว้ใน "ไขหลักจิต" (หลี่ซิ่งซื่ออี๋) เป็นการเฉพาะ มีผู้ถามว่า "ศาสตร์ลี้ลับ ดวงแก้ว แร่ธาตุอัศจรรย์ เสริมอายุวัฒนะ คงกระพันชาตรี เพิ่มพลังน้ำ - ไฟในตัว กำหนดลมปราณ...อีกมากมายเหล่านี้ ถูกต้องเป็นจริงหรือไม่ อย่างไร" ซึ่งได้ไขข้อข้องใจไปว่า "วิธีการข้างต้น ถูกต้องเป็นจริงกว่ามิจฉาศาสตร์อื่น ๆ แต่หากพิจารณากับสามศาสนามหาอริยะแล้ว ก็จะมีข้อปฏิเสธ พึงรู้ว่า ฟ้าดินกว้างใหญ่ไพศาล ยังมีวันสูญหายไป นับประสาอะไรกับเนื้อกาย จะคงกระพันชาตรีไปถึงไหน..."

พระอาจารย์   : 
ถึงเวลาที่จะไปบันทึกท่องพุทธาลัยแล้ว รบกวนขุนพลพิทักษ์ฯ รักษาพระตำหนักฯด้วย  อู้เอวี๋ยนสงบใจ รีบขึ้นฐานบัว เราออกเดินทางชั่วขณะ ฐานบัวเหินข้ามพันลี้ ผ่านด่านจื่อหยาง กับ ด่านเหอหยาง ครู่เดียว มาถึงตำหนักแห่งหนึ่ง ฐานบัวค่อย ๆ ลดลง เห็นเหล่าเทพกรเรียงรายต้อนรับอยู่สองฟาก เสียงกลองระฆังดังขึ้นพร้อมกัน...

เทพกร   :  ข้าพเจ้าทั้งหลาย น้อมรอคอยบรรพพุทธาท่านกับศิษย์อยู่นานแล้ว ทูลเชิญด้านใน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            ตอนที่ 12

                      ปากทางตำหนักเจิ้นหยาง
                           สอบย้อนทางสุขสมใจ
                 แปดลม (อารมณ์) ไม่หวั่นไหว     
                           จึงผ่านได้เจดีย์ยุคขาว

พระอาจารย์   : 
ท่านเทพกรต่างเหนื่อยนักแล้ว ได้รับการต้อนรับเช่นนี้ ไม่กล้ารับจริง ๆ ท่านผู้นี้คือศิษย์อู้เอวี๋ยน ขอท่านได้โปรดชี้แนะให้มาก

อู้เอวี๋ยน   :  กราบคารวะเทพกรทุกท่าน... ...คารวะถ้วนทั่วแล้ว พากันดำเนินไปช้า ๆ ตรงเข้าประตูด้านใน เมื่อไปถึงก้ได้เห็น ทัศยภาพบริเวณด่านนี้กับด่านไหน ๆ ก็คล้ายกัน ข้างหน้ามีแผ่นป้ายใหญ่แขวนไว้เหนือประตู จารึกอักษร "จิ่วหยางกวน" สามตัว สีสันเรืองรอง ซ้ายขวามีกลอนคู่ ความว่า"ธรรมะกระจ่างดังนี้        ขั้นตอนดั่งนี้ทางผ่าน
หลงผิดให้ต้องเป็นนั้น              คร่ำด่านต้องให้เป็นไป
(เต้าหมิงหยูซื่อกั้วเฉิงหยูซื่อ     หลี่เม่ยสื่อหยานกวนตู้สื่อหยาน)

    เข้าประตูด่านแล้ว ตรงไปข้างหน้าไม่ถึงครึ่งลี้ มองเห็นปราสาทไกลออกไปหลังหนึ่ง สวยงสมเลิศหรู ดูน่าคร้ามเกรงยิ่งนัก เทพกรห้าหกท่านรอต้อนรับอยู่ที่นั่นแล้ว...

เทพกร   :  กราบคารวะบรรพจารย์ทรงอริยสำราญ องค์เจ้าตำหนักขอเชิญท่านกับศิษย์ ดังนั้นจึงพร้อมกันเข้าสู่ตำหนัก อู้เอวี๋ยนเหลียวซ้ายแลขวาเห็นอุทยานด้านใน ดอกไม้บานสะพรั่งเต็มพื้นที่ สีสันตระการตา ส่วนสนามหญ้าก็งามนัก เขียวชอุ่มดูนุ่มเนียนดั่งพรม สดสวยสุดพรรณา หันกลับมาดูห้องโถงยิ่งงามสง่าน่าสบายน่าคร้าม สะอาดสะอ้านสวยใส กว้างใหญ่โอ่โถง มีแผ่นป้ายใหญ่อยู่บนขื่อกลาง จารึกอักษรว่า
"เก้าระดับ        แบ่งแยกชัด        เก้าผลบุญ
หนึ่งขั้นสูง            ขึ้นก้าวถึง           หนึ่งขั้นสูง"
(จิ๋วผิ่นเฟินชิงจิ๋วผิ่นกว๋อ           อี้เจียซั่งจิ้นอี้เจียเกา)

เมื่อทั้งหมดดำเนินต่อมา ก็ได้เห็นบรรพจารย์เทียนจู้ ออกมาต้อนรับ

พระบรรพจารย์   :  ยินดี ยินดี บรรพพุทธากับศิษย์สนองพระโองการฟ้า เหนื่อยยากเพื่อฉุดช่วยเศษขันธ์ เก็บหลักฐานข้อมูลยืนยัน ประพันธ์ปลุกคนหลับหลง คืนนี้เป็นเกียรติแก่ตำหนักนี้ มีโอกาสปฏิบัติเล็กน้อยเพื่องานแพร่ธรรม... ขอเชิญ...

พระอาจารย์   :  ท่านยุ่งกับงาน เรายังมาคารวะรบกวน ขอท่านได้โปรดอภัย

พระบรรพจารย์   :  ที่ไหนกัน บรรพจารย์ท่านกับศิษย์ไม่เกรงเหนื่อยยากเพื่อสร้างหนังสือ เป็นคุณธรรมน่าเคารพ จะว่ารบกวนได้อย่างไร

อู้เอวี๋ยน   :  ศิษย์ผู้น้อยกราบคารวะ ขอพระบรรพจารย์อริยสำราญ

พระบรรพจารย์   :  อู้เอวี๋ยน มิต้องมากจริยา ทานเหนื่อยยากมาก รีบยืนขึ้นเถิด  จากนั้น พระอาจารย์กับอู้เอวี๋ยน ก็ดำเนินตามพระบรรพจารย์เทียนจู้สู่ตำหนักใน เทพกรถวายน้ำชา ผลไม้เซียน ต่างประทับนั่งและนั่งตามลำดับ

พระอาจารย์   :  หวังวอนบรรพจารย์ท่านชี้แนะหน้าที่ของตำหนักท่าน เพื่อบันทึกข้อมูล 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ตอนที่ 12

                      ปากทางตำหนักเจิ้นหยาง
                           สอบย้อนทางสุขสมใจ
                 แปดลม (อารมณ์) ไม่หวั่นไหว     
                           จึงผ่านได้เจดีย์ยุคขาว

พระบรรพจารย์   :  ตำหนักนี้ชื่อว่า เจิ้นหยางเตี้ยน เป็นด่านแรกของจิ่วหยังกวน มีหน้าที่พิจารณาผลบุญ (กงกว๋อเจียวลุ่น)
มีห้องรื่นใจ      (ซุ่นซินซือ)
มีศิลาจาลึกใส   (โท่วหมิงเปย)
มีเจดีย์ยุคขาว    (ไป๋หยางถ่า)

     และอื่น ๆ  เพื่อพิจารณาผลบุญแท้ภายนอกภายในของผู้บำเพ็ญ  พิจารณาผลบุญ จุดประสงค์เพื่อให้ญาณผู้บำเพ็ญถ่องแท้ต่อหลัก "คุมจิตวิสัยได้คือธรรม" (ไซว่ซิ่งจือเอว้ยเต้า) ซึ่งผลบุญภายนอกภายใน เป็นสองด้านในองค์เดียวกันอันมิอาจแยกจาก การรักษาศีล ฝึกจิตใจ คุมใจ ดำรงรักษาจิตวิสัย รู้ชอบสำนึกแท้ ปัญญาวิจารณญาณแจ่มชัด เหล่านี้ล้วนเป็น ผลบุญภายใน ส่วนทรัพย์ วิทยาธรรม กับแรงกายเป็นทาน สามฐานนำ*  จตุธรรมดำรง* กับคุณธรรมแปด*  เชิดชูความดีต่าง ๆ นั้นคือ ผลบุญภายนอก ที่ศาสนาปราชญ์ว่า "ดีเฉพาะตน ดีแก่คนทั้งหลาย" (ตู๋ซั่นฉีเซิน เจียนซั่นเทียนเซี่ย) เป็นการพิจารณาผลบุญ ที่แสดงให้เห็นได้อย่างเหมาะสมนัก ส่วนปลงเห็นสรรพสิ่ง เข้าถึงสัจธรรม เจตนาศรัทธาแท้ใจเที่ยงตรง บำเพ็ญตน (เก๋ฮฮู้ จื้อจือ เฉิงอี้ เจิ้งซิน ซิวเซิน) นั้น อยู่ในขอบข่ายของผลบุญภายใน  สำหรับบ้าน (ครอบครัว) พร้อมสมบูรณ์ ปกครองบ้านเมืองเป็นระเบียบ โลกราบเรียบสงบสุข (ฉีเจีย ฉือกั๋ว ผิงเทียนเซี่ย) เป็นเป้าหมายของผลบุญภายนอก

พระอาจารย์   :  ขอบพระคุณบรรพจารย์ที่ได้โปรดชี้แจงหลักของงานในตำหนักนี้ คิดถึงรากฐานของคนในยุคสุดท้ายนี้ ปัญญาถูกเวรกรรมบดบัง ถ้ามิใช่ยึดหมายในผลบุญภายนอก โลภอยากลาภสักการะ ก็จะหลงอยู่ในผลบุญภายใน เอาแต่นั่งนิ่งภาวนา ขอบรรพจารย์ท่านอาศัยบุญโอกาสพิเศษนี้ บอกเล่าการจะผ่านด่านนี้ได้ควรเป็นเช่นไร ให้ผู้บำเพ็ญได้ส่องเห็นทำตามด้วยเถิด

หมายเหตุ *   : 
สามฐานนำ   (ซันกัง)  ระหว่างประมุขกับทวยราช บิดากับบุตร  สามีกับภรรยา
จตุธรรมดำรง  (ซื่อเอว๋ย) จริยะ  มโนธรรม  สุจริตธรรม  ละอายต่อบาป
คุณธรรมแปด  (ปาเต๋อ)  กตัญญู  พี่น้องปรองดอง  จงรัก  สัตย์จริง  จริยะ  มโนธรรม  สุจริต  ละอายต่อบาป

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ตอนที่ 12

                      ปากทางตำหนักเจิ้นหยาง
                           สอบย้อนทางสุขสมใจ
                 แปดลม (อารมณ์) ไม่หวั่นไหว     
                           จึงผ่านได้เจดีย์ยุคขาว

พระบรรพจารย์  : 
เมื่อท่านต้องการ ข้าพเจ้าก็จะไม่คำนึงถึงความตื้นเขิล ขะขยายให้ฟังพอสังเขป เพิ่มสาระแก่หนังสือเป็นโคมส่องผู้บำเพ็ญ ที่กล่าวว่า
"ผลบุญภายในกลม ผลบุญภายนอกสมบูรณ์"
(เน่ยกว่อเอวี๋ยน ไอว้กงหมั่น)

"ทางโลกทางธรรมราบรื่น รู้แจ้ง ดำเนินจริง เพียบพร้อม"
(เซิ่งฝันหยูซิน เจวี๋ยสิงเอวี๋ยนหมั่น) นั้น จะบรรลุอรหันต์ ผ่านด่านนี้ได้แน่นอน แต่ช่วงปลายนี้ วิถียุคสุดท้าย คนราบรื่นไม่ฝืนขัดดั่งนี้มีน้อย ดังนั้น ด่านนี้จึงเอาผลบุญจากหลักธรรมของความเป็นคน การบำเพ็ญฝึกฝนมาเป็นจุดพิจารณา  ผู้บำ้เพ็ญหากรักษาทำตามระเบียบแบบแผนของศาสนาที่ตนร่วมอยู่ได้ไม่เสียหายทั้งทางโลกทางธรรม สร้างกุศลให้มากก็จะผ่านด่านนี้ไปสู่แดนวิสุทธิ์ของถ้ำเซียนต่าง ๆ รับการอบรมเพื่อประจักษ์พุทธวิสัยเดิมทีอันสง่างามในหมื่นคุณธรรม ในส่วนที่ว่า จะบำเพ็ญภายนอกภายในนั้น แต่ละศาสนาล้วนมีคำสอนชัดเจนกันอยู่แล้ว ศาสนาปราชญ์ ว่า"กระจ่างต่อคุณธรรมชีวิตสว่าง" (หมิงหมิงเต๋อ)  "ปลงเห็นสรรพสิ่ง เข้าถึงสัจธรรม" (เก้ออู้จื้อจือ) ศาสนาเต๋า ว่า "ใสสงบอยู่กับสภาวะธรรมชาติปกติ" (ซิงจิ้งฉังอิ้ง)ศาสนาคริสต์ ว่า "ความรักแผ่ไพศาล" (ป๋อไอ้) ศาสนาอิสลาม ว่า "ใสสะอาดจริงแท้" (ซิงเจิน) ล้วนเป็นประทีปของการฝึกฝนบำเพ็ญเพียรธรรมจึงมีความปราณีตหลายชั้นคือ หนึ่ง  เอาชนะตน (เค่อจี่)  สอง  ปรับตน  (ไก่กั้ว)  สาม  พิจารณาตน (สิ่งฉา)  สี่  แผ่เมตตา  (ปู้ฉือ)เอาชนะตน จะต้องมีวินัยบัญญัติแน่นอน แต่ยังไม่แนบแน่น หากยังไม่เข้าใจลุ่มลึกต่อการปลงเห็นสรรพสิ่ง เข้าถึงสัจธรรม(ไม่ยึดหมาย จิตใจบริสุทธิ์อิสระ) ยังจะต้องไม่หลอกตน ไม่ยกโทษแก่ตน(ไม่เข้าข้างตน) เพราะถ้าหลอกตน จะอธิบายธรรมตามจริตตน ไม่ใช่ธรรมะก็จะเห็นว่าเป็นธรรมะ เช่นนี้ จะไม่อาจบำเพ็ญผลบุญภายในจิตตนได้ ท่านจอมปราชญ์ว่า "เอาชนะตนฟื้นฟูจริยธรรม ทั่วหล้าพากันคืนสู่กรุณาธรรม"(เค่อจี่ฟู่หลี่ เทียนเซี่ยกุยเหยิน) จึงรู้ว่าการเอาชนะตนจำเป็นต่อการบำเพ็ญผลบุญภายในจึงพึงศรัทธาจริงแท้  ศรัทธาจริงแท้จึงจะสว่าง (เฉิงเจ๋อหมิง) สว่างด้วยศรัทธาจริงแท้จากตน (จื้อเฉิงหมิง) ชีวิตจากฟ้า เรียกว่าจิตญาณ (จิตวิสัยฟ้า) (เทียนมิ่งจือเอว้ยซิ่ง) แน่นอน ศีลบัญญัติของพุทธะ อย่างน้อยจะต้องให้คนรักษาศีลห้าเคร่งครัด นั่นคือ ให้เอาชนะตน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18/02/2013, 10:28 โดย หนึ่งเดียว หลุดพ้น »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ตอนที่ 12

                      ปากทางตำหนักเจิ้นหยาง
                           สอบย้อนทางสุขสมใจ
                 แปดลม (อารมณ์) ไม่หวั่นไหว     
                           จึงผ่านได้เจดีย์ยุคขาว

พระบรรพจารย์  : 
หากย้อนมองส่องเห็นความคิดตนทุกขณะ กำจัดอุปสรรคทีขัดขวางจิตเจริญธรรมได้ ก็คือ ส่องเห็นขันธ์ห้าล้วนว่างเปล่า ดังนี้ จิตดีงามก็จะสำแดงชัด เข้าถึงการบำเพ็ญภายใน เหตุจากความเคยชินในอดีตชาติย้อมเข้ม แม้จะรู้วินัยบัญญัติ แต่โรคเก่าก็ยังกำเริบใหม่ จึงต้องขอขมาสำนึกแก้ไขเสมอ ขอขมากรรมสำนึก ประหนึ่งมีดคมตัดบั่นความเคยชินนั้น ศาสนาปราชญ์ จึงมีคำว่า "สำรวจตน ฟ้องร้องตน" (สิ่งเซินจื่อซ่ง) ศาสนาพุทธ ว่า "ตื่นใจรู้ตัวทุกขณะ" (ฉังเจวี๋ย) ศาสนาเต๋า ว่า "ส่องเห็นตนทุกขณะ" (ฉังเจ้า) ล้วนเป็นพระโอวาทตัดฟุ้งซ่านหั่นนิวรณ์ ความเคยชินเดิมไม้กำจัด ปฏิกูลใหม่ไม่ชำระ จิตใจใสสว่างแต่เดิมจะยิ่งถูกบดบัง ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญผลบุยภายใน ใคร่ได้เมล็ดเนื้อในไว้เพาะพันธุ์บุญ จะต้องกำจัดของเก่า ไม่ให้สิ่งหนึ่งใดบดบัง แท้จริงสรรพสิ่งไม่อาจบดบังได้ ล้วนด้วยใจตนขาดพิจารณา ขาดการใส่ใจ จึงบดบังตน ดังนั้นทุกขณะจิตพึงพิจารณาใส่ใจตน ใจเหิมเกริมนั้น เป็นกันทั่ว ระหว่างบำเพ็ญจะเกิดความคิดลังเล สงสัย จะลำพองใจ เช่น ....แม้ข้าจะเทียบไม่ได้กับบรรพอริยะ แต่ก็ดีกว่าใคร ๆ ไม่มีสิ่งซึ่งพึงละอาย... นี่คือ ไม่สำรวมให้ลุ่มลึก คนประเภทนี้ เห็นผู้บำเพ็ญเคร่งครัดว่าคร่ำครึ เห็นผู้ปฏิบัติจริงจังว่าทรมานเกินเหตุ ไม่เหมาะกับยุคสมัยและสังคมปัจจุบัน เห็นว่าประพฤติตนเป็นคนดีก้พอแล้ว ทำไมจะต้องให้เหมือนบรมครูขงจื้อ อริยราชเจ้าเหลาจื้อ หรือเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ไม่กล้าเผชิญหน้ากับความเป็นจริง ไม่กล้าเคร่งครัดต่อตนเองเช่นนี้ เมื่อเห็นใครด้อยกว่าก็จะพอใจ ยิ่งกว่านั้น ยังปลงอนิจจังวิจารณ์เขาเสียอีกว่า "คนเหลวไหลในโลกมากมายแท้ เรานี่สิ ที่แน่กว่าเขา" ดังนั้น เมื่อมองดูผู้อื่น ก็จะกลายเป็นจับผิด มองดูตนเองก้จะซ่อนร้ายฉายความดี (อิ่นเอ้อหยางซั่น) คนที่รู้ไม่จริงประเภทนี้มีมาก บรมครูขงจื่อจึงว่า "คนที่ดูเหมือนใช่ แต่มิใช่" (ซื่อซื่อเอ๋อเฟยเจ่อ) "สำคัญตนว่ากระจ่าง แต่แท้จริงนั้นมืด" (จื้อหมิงเอ๋อสืออั้น) พุทธะว่า เป็นบุคคลประเภท "ไม่ถึงที่สุด" (ปู๋จิ้วจิ้ง) พระอริยเจ้าพร่ำสอน พระยูไลเหนื่อยยากเทศนา ก็คือเพื่อคนเหล่านี้ บรมครูจอมปราชญ์จึงว่า "หยุดลงตรงจิตวิสุทธิ์ " (จื่ออวี๋จื้อซั่น)  พระพุทธะว่า "รู้แจ้งถึงที่สุด" จิ้วจิ้งอี้) ล้วนเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดผิดของคนเหล่านี้ อย่าละเลยตน อย่ากล่าวเท็จว่าล่วงรู้ บรมครูจอมปราชญ์กล่าวอีกว่า จง "รอบรู้ ซักถาม ตรึกคิด รู้ชัด ปฏิบัติจริง" (ป๋อเสวีย เสิ่นเวิ่น เซิ่นซือ หมิงเปื้อน ตู่สิง) ท่านจอมปราชย์เมิ่งจื่อว่า "ธัญพืชไม่สุกแก่ มิสู้เมล็ดหญ้า กรุณาธรรม ก็อยู่ที่ความสุกแก่เท่านั้น" (อู๋กู่ปู้โสว ปู้หยูถีไป้ ฝูเหยินอี้ไจ้ฮูโสวจือเอ๋ออี่)กล่าวอีกว่า "มีแก่ใจแต่ไม่ใช้ (คิดได้แต่ไม่ปฏิบัติ) จะได้แต่ทอดถอนใจ พิจารณาเสมอ จึงรู้เห็นเป็นจริงเสมอ" (โหย่วซินป๋อย้ง อิ่นเอว่ยทั่นสี) การบำเพ็ญภายนอกก็คือ "ดีต่อตน ดีแก่ท่าน" เอาใต้หล้าเป็นหน้าที่ตน โลกสุขจึงสุข  เช่นมหาปณิธานของพุทธะโพธิสัตว์ที่โปรดสงเคราะห์ฉุดช่วยด้วยเมตตา ถ้าจะพูดถึงโครงสร้างของสังคมยุคนี้ คือ การทำกุศล สวัสดิการสังคม ธำรงความเที่ยงธรรม เผยแพร่สัจธรรม ประกาศหลักธรรม เป็นต้น ศาสนาปราชญ์มีคำว่า "ความปรรถนาจงอย่ามีการบั่นทอนคุณความดี ถ้าเช่นนี้ มิจำต้องมีการสงเคราะห์" (เอวี้ยนอู๋ฟา ซั่นอู๋ซือเหลษ) ศาสนาพุทธ มีคำว่า "(ถ้าหากมี) มหากรุณาร่วมตัวตน มหาเมตตา (ก็จะ) มิพึงนำพาด้วยบุญสัมพันธ์ (ก็จะ) ให้ทานโดยไม่เจาะจง" (ถงถี่ต้าเปย อู๋เอวี้ยนต้าฉือ อู๋เซี่ยงปู้ซือ) ศาสนาเต๋ามีคำว่า "ทำความดีมิสำแดง สั่งสมคุณธรรมแฝงเสมอ" (เอว๋ยซั่นปู้จัง ฉังจีอินเต๋อ)ผู้บำเพ็ญสร้างผลบุญภายนอกด้วยทานทั้งสาม พึงจำ "อย่าเจาะจง อย่ายึดหมาย อย่าจำใจ อย่ามีตัวกู" (อู้อี้ อู้กู้ อู้ปี้ อู่หว่อ) จงเป็นไปอย่างราบรื่น ด้วยจิตวิสัยดีงามต่อบุญสัมพันธ์ ก็จะเข้าถึงมหากุศลพร้อมด้วยผลบุญคุณธรรม หากมิฉะนั้น บวกลบคูณหารต้องการสิ่งตอบสนอง สุดท้ายอานิสงส์จะกลายเป็นเมล็ดพันธุ์ของการเวียนว่าย

พระอาจารย์  :  ขอบพระคุณมหาเมตตากรุณาจากบรรพจารย์ อธิบายคุณวิเศษวิถีจิตของศาสนาต่าง ๆ ยืนยันการสร้างผลบุญชัดเจนแท้จริง ชื้ให้เห็นทางสร้างผลบุญภายนอกภายในร่วมกัน บัดนี้ ล่วงเวลามาขอบรรพจารย์ท่านได้โปรดอนุญาตพาไปชมตัวอย่างจริง สถานที่จริง เพื่อการบันทึก

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ตอนที่ 12

                      ปากทางตำหนักเจิ้นหยาง
                           สอบย้อนทางสุขสมใจ
                 แปดลม (อารมณ์) ไม่หวั่นไหว     
                           จึงผ่านได้เจดีย์ยุคขาว

พระบรรพจารย์  : 
ถ้าเช่นนั้นก็เชิญเทพกรผู้ติดตาม นำพาไปชมแต่ละห้องเถิด พระอาจารย์กับอู้เอวี๋ยนคารวะกราบลาบรรพจารย์ ตืดตามเทพกรไป ครู่หนึ่งมาถึงกำแพงใหญ่ มีเสียงจ้อกแจ้กดังผ่านออกมา

อู้เอวี๋ยน  :  เรียนถามท่านเทพกร นี่คือที่ใด ไฉนมีเสียงอึงมี่เช่นนี้

เทพกร  :  ภายในกำแพง จัดห้องรื่นใจสิบกว่าแห่ง เสียงขรมเหล่านั้นคือญาณเดิมที่มาที่นี่ เป็นเสียงดื่มกินเสพสุขสนุกสนาน ญาณเดิมที่มาถึงด่านนี้ ล้วนมีผลบุญกันมามาก เป็นได้หรือไม่ว่า ข้อห้ามในศาสนาของเขาเหล่านี้ มิพึงรักษาต่อไปแล้ว จึงเสพสุขดื่มกินกันเต็มแปร้อย่างนี้ได้

เทพกร  :  หามิได้ ห้องรื่นใจ (ซุนซินซื่อ)นี้ มีไว้ทดสอบจิตมุ่งมั่นของญาณเดิม ด้วยใจคนผันแปร พลิกคว่ำพลิกหงายไม่แน่นอน ในเมื่อชำระกายเปลี่ยนชุดใหม่แล้ว แต่พอมาถึง "ห้องรื่นใจ" ยังทนความยั่วยวนจากสุรานารี ยังระงับอารมณ์ที่ถูกปลุกปั่นจากข้าวของเงินทองไม่ได้ ถ้าเข้าไม่ถึงภาวะ "รู้คิดตามธรรมชาติ โดยปราศจากมลทิน ถูกจูงใจแต่ไม่ฟุ้งซ่าน จิตใจเป็นปกติอยู่อย่างนั้น" (ซือจือจื้อหยานอู๋เสีย อิ้วจือจื้อหยานอู่อวั้ง) ก็จะไม่อาจรู้ชัด ตัดหลง ไม่อาจเอาชนะตน ไม่อาจรักษาความเที่ยงตรงได้ ก้จะหลงเข้าค่ายกลโลกีย์ด่านี้มีศิลาจารึกใส (โทว่หมิงเปย)บันทึกความคิด การกระทำทุกอย่างเพื่อให้สำนึกผิด ถ้าไม่สำนึก จะต้องถูกคุมตัวไปรับโทษที่เจดีย์ยุคขาว(ไป๋หยางถ่า) เชิญเข้าไปดูเพื่อบันทึกไว้

อู้เอวี๋ยน  :  ข้างหน้ามี หอแดง มากมาย ภายนอกสวยงามสดุดตา แต่ละหอประดับธง มีชื่อหอบันเทิงเริงรมย์เหมือนชื่อสถานเริงรมย์ทางโลก มีเสียงหัวร่อ เสียงคะนองเพลงดังลอดออกมาไม่ขาด

เทพกร  :  อู้เอวี๋ยน เชิญท่านเดินดูได้ทุกห้อง อู้เอวี๋ยนดูห้องแรก เห็นโต๊ะเล่นพนันหลายโต๊ะ เครื่องเล่นพนันมีทุกอย่าง ญาณเดิมหลายคนลุ่มหลงในห้องนั้น หมกมุ่นอยู่กับการพนันหลายประเภท เครื่องมือการพนันบางอย่างที่ทางโลกยังไม่มี ในอากาศคลุ้งไปด้วยควันบุหรี่ ทุกคนใจจดใจจ่อ แต่ในห้องพนัน ก็ยังมีคนอีกพวกหนึ่งที่ทอดถอนใจ มองดูอย่างเฉยเมย ระอาใจ บ้างก้เข้ามาตักเตือนห้ามปรามคนเล่นพนัน ทันใด มีญาณเดิมคนหนึ่ง สีหน้าเต็มปลื้ม ถือธนบัตรปึกใหญ่เดินออกจากห้องในมาที่ประตู

อู้เอวี๋ยน  :  อาวุโสดุปลื้มมาก คงได้มาเยอะ รู้สึกอย่างไรบ้าง

อาวุโส  :  ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ มิเสียแรงที่ตั้งหน้าตั้งตารักษาศีลบำเพ็ญมา จึงได้สอบผ่านด่านนี้ พอผ่านการชำระกาย เปลี่ยนชุดสวมใส่ ก็ได้มาเจอสถานเริงรมย์ที่มีการพนันพร้อม เท่ากับได้ชดเชย ได้รับรางวัลที่ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติบำเพ็ญมา เมื่อกี้มือขึ้นได้มาไม่น้อย จะไปหาที่เล่นใหม่ ไม่เสียเวลาคุยกับท่านแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20/02/2013, 11:58 โดย หนึ่งเดียว หลุดพ้น »

Tags: