collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)  (อ่าน 24327 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ถาม -ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ

                 43.  ผู้บำเพ็ญในวิถีอนุตตรธรรมจะกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์  นอกเหนือจากที่กราบไหว้ในอาณาจักรธรรมได้หรือไม่?.

             พระอาจารย์จี้กง ตอบ

        การบำเพ็ญธรรมก็ส่วนการบำเพ็ญธรรม การกราบไหว้ก็ส่วนการกราบไหว้ เหตุใดจะไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกเหนืออาณาจักรธรรมไม่ได้ หากเราเข้าใจความหมายของการเคารพนบน้อมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่กำหนดไว้ในพุทธะระเบียบ  15  ข้อแล้ว ก็จะไม่เกิดข้อกังขาใด ๆ  ยิ่งกว่านั้น ในจริยพุทธระเบียบพิธีก็ยังมีข้อที่กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลกเลย  หรือว่าเราซึ่งเป็นลูกหลานของครอบครัวหนึ่ง จะเคารพนบนอบแต่ห่อแม่และพี่ ๆ ของเราเท่านั้น โดยไม่แสดงความเคารพนบนอบต่อ พ่อแม่และพี่ ๆ ของครอบครัวผู้อื่นอย่างนั้นหรือ ?.  เพีบงแต่ เมื่อได้ถือวิถีอนุตตรธรรมเป็นสรณะแล้ว ก็ไม่ควรกลับไปยังลัทธินิกายต่าง ๆ อีกเท่านั้นเอง  เพราะว่าวิถีอนุตตรธรรมเป็นการบำเพ็ญที่รู้แจ้งโดยฉับพลัน ส่วนลัทธินิกายต่าง ๆ เป็นวิถีการบำเพ็ญอย่างค่อยเป็นค่อยไป"สละต้น แสวงปลาย" 

พวกเธอไม่รู้หรอกว่าในอดีตนั้น                 
อาจารย์จะช่วยใครสักคนต้อง
ทุ่มเทใจขนาดไหน   บางครั้ง                   
ต้องให้เขาด่าว่าเสียก่อน จึงจะ 
สามารถช่วยเขาได้                               
พวกเธอทำได้บ้างหรือเปล่า ?.   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม

                               พระอาจารย์จี้กง ตอบ

                 44.  เหตุใดอาณาจักรธรรมในปัจจุบัน จึงมีการกล่าวหาและนินทาให้ร้ายกันระหว่างผู้บำเพ็ญธรรมด้วยกัน แท้ที่จริงแล้วเป็นเพราะเหตุใด?.

             พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :

        จุดประสงค์ในการบำเพ็ญธรรม ก็เพื่อขจัดสภาพจิตใจที่เป็นมิจฉาเหล่านี้ ถ้าจะกล่าวถึงจิตใจที่คิดจะเบียดเบียนชีวิตสัตว์ การลักขโมยหรือประพฤติผิดในกามแล้ว อย่าว่าแต่ผู้บำเพ็ญธรรมเลย แม้แต่บุคคลที่ไม่บำเพ็ญธรรมในอาณาจักรธรรม ก็ไม่ค่อยคิดจะกระทำสิ่งผิดเหล่านี้  ฉะนั้น จิตใจที่คิดแต่จะกล่าวหาให้ร้ายผู้อื่น เป็นเครื่องกีดขวางพัฒนางานธรรม ดูอย่างผิวเผินจะไม่ร้ายแรงอะไร แต่ที่จริงแล้วเป็นอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ ต่อการเติบใหญ่ของธรรมกิจ หากผู้ที่ถูกกล่าวหาให้ร้าย ไม่เกิดความขุ่นเคืองใจ วิบากกรรมแต่ปางก่อนก็จะถูกลบล้างไป  สำหรับผู้ที่ปรักปรำกล่าวหาให้ร้ายผู้อื่นนั้น ต้องแบกรับหนี้บาปของตน ถ้ากระทำจนผู้ถูกใส่ร้ายป้ายสีต้องถดถอยออกจากอาณาจักรธรรม ผลกรรมที่จะได้รับนั้นประมาณมิได้ 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                              ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม

                               พระอาจารย์จี้กง ตอบ

                    45.  หลักธรรมที่ว่า "รับก่อนแล้วค่อยบำเพ็ญ" กับ "บำเพ็ญก่อนแล้วค่อยรับ" มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร?.

                พระพุทธจี้กง ตอบ

        ความหมายของคำว่า "บำเพ็ญ"  คือการแก้ไขข้อบกพร่องให้สมบูรณ์ ส่วนคำว่า  "รับ"  คือการได้รับ "การได้รับ" จึงเป็นจุดหมายที่สูงสุด เพื่อง่ายในการทำความเข้าใจ จึงนำการซื้อขายสินค้าบนโลกมนุษย์มาเปรียบเทียบให้เห็น สมมุติว่ามีคนคนหนึ่งต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง เจ้าของโรงงานที่ผลิตสินค้านั้น มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของตน มีคุณภาพและไม่กลัวการทดสอบ จึงได้ส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อเพื่อให้ทดลองใช้ก่อน แล้วค่อยชำระเงินเมื่อสิ้นเดือน หรืออนุญาตให้ยืดระยะเวลาชำระค่าสินค้าออกไป  เช่นนี้ในอาณาจักรธรรมเรียกว่า  "เป็นการรับก่อนแล้วค่อยบำเพ็ญ" 

        สำหรับการบำเพ็ญก่อนแล้วค่อยรับนั้น คือ ผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าก่อน แล้วจึงได้รับสินค้า เป็นการให้ค่าตอบแทนที่พอควรก่อนจึงได้รับสินค้า แต่ในที่สุดก็ได้รับสินค้าเช่นกัน  เปรียบเสมือนการซื้อขายสินค้า ที่บางแห่งต้องชำระเงินก่อนแล้วจึงมอบสินค้า บางแห่งส่งมอบสินค้าก่อนแล้วจึงชำระเงินภายหลัง ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่แตกต่างกันเลย

        อีกตัวอย่างเช่น เวลาเราไปทานอาหารที่ร้านอาหาร ซึ่งบางร้านให้ลูกค้าทานอาหารก่อน แล้วจึงชำระค่าอาหาร แต่บางร้านต้องให้ลูกค้าชำระค่าอาหารก่อนถึงจะทานอาหารได้  ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกอะไร เพราะนี่เป็นวิธีการดำเนินกิจการเฉพาะบุคคล

        วิธีของการบำเพ็ญธรรมก็เช่นเดียวกัน วิธีการบำเพ็ญธรรมในธรรมกาลยุคแดงใช้ระบบ  "ชำระค่าอาหารก่อนทานอาหาร"  ก็คือ  "การบำเพ็ญเพียรก่อนแล้วจึงได้รับธรรม"  ส่วนธรรมกาลยุคขาวใช้ระบบ  "ทานอาหารก่อนค่อยชำระค่าอาหาร"  ก็คือ  "การได้รับวิถีธรรมก่อนแล้วค่อยบำเพ็ญเพียร"  หากเข้าใจในหลักธรรมนี้ก็คงจะไม่มีข้อสงสัยใด ๆ อีก

        เวไนยทั้งหลาย !  ผู้บำเพ็ญธรรมทั้งหลาย !  และปราชญ์เมธีทั้งหลาย !  ขอให้มีความตั้งใจในการบำเพ็ญ ปฏิบัติ  เพื่อการหลุดพ้นของตน จะหยุดบำเพ็ญธรรมไม่ได้ อย่าได้มุ่งเข้าไปในทางตัน  อย่าได้กล่าวคำครหา  นินทาผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ทั้งตนและผู้อื่นเสียหาย หาไม่แล้วต่อให้ระยะเวลานานนัปกัปก็ยากจะหลุดพ้น

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ

             46. ธรรมวิถีที่รู้แจ้งโดยฉับพลันแตกต่างกับธรรมวิถีที่บำเพ็ญแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างไร ?.

           พระอาจารย์จี้กง ตอบ

        ธรรมวิถีที่รู้แจ้งโดยฉับพลัน เป็นธรรมวิถีที่ชี้ตรงไปยังธรรมญาณเดิมให้เวไนยได้เข้าถึงโฉมหน้าเดิมแท้ของตน และได้ฟื้นฟูพฤติกรรมเดิมอันบริสุทธิ์ โดยเริ่มจากการกำหนดที่ฐานแห่งต้นจิตภายใน และแสดงออกโดยการประพฤติปฏิบัติภายนอก 

        สำหรับ ธรรมวิถีที่บำเพ็ญแบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นธรรมวิถีที่พร่ำสอนให้เวไนยสร้างความดี ให้เวไนยค่อย ๆ สำนึกรู้ถึงต้นจิต เรียกว่าเป็นการเริ่มจากการปฏิบัติภายนอกเข้าสู่ต้นจิตที่เป็นฐานกำหนดเดิมภายใน 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                              พระอาจารย์จี้กงตอบ

               47.  ปัจจุบันผู้บำเพ็ญธรรมจำนวนมากที่คับอกคับใจที่นักธรรมอาวุโส ไม่มีหลักธรรมใหม่ ๆ มาบรรยาย ทุกครั้งก็บรรยายหัวข้อธรรมะไม่กี่หัวข้อ กล่าวไปกล่าวมาก็ไม่กี่ประโยค เช่น คุณธรรมหลัก 3  (ซันกัง)  คุณธรรมสามัญ 5 (อู่ฉาง)  คุณธรรมสัมพันธ์ 5 (อู๋หลุน)  และคุณธรรม 8 (ปาเต๋อ)  หรือไม่ก็ให้เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยที่ไม่ดี  แก้ไขข้อบกพร่อง   ตลอดจนให้สร้างบุญสร้างกุศล  ฟังไปฟังมาก็น่าเบื่อ ไม่ทราบว่า เช่นนี้เป็นสิ่งที่ถูกหรือไม่ ?.

           พระพุทธจี้กง ตอบ
                   
        หลักธรรมไม่มีใหม่หรือเก่า   คุณธรรมก็ไม่มีใหม่หรือเก่า  ทุก ๆ คนมีความสมบูรณ์พร้อมในธรรมญาณ หรือที่เราเรียกว่า  "ภูมิธรรมเดิม"  ภูมิธรรม
เดิมเป็นโฉมหน้าเดิมของเราที่แท้จริง  การฟังธรรมมิใช่เป็นการฟังนิยาย  หรือการดูละครที่ต้องมีสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ จึงสามารถกระตุ้นอายตนะที่ตื่นตาตื่นใจหากเป็นเช่นนี้ก็ล้วนเป็นผู้ขาดมโนสำนึก 

        แม้กล่าวเพียงไม่กี่ประโยคเช่น คุณธรรมหลัก 3   คุณธรรมสัมพันธ์ 5  คุณธรรมสามัญ 5  คุณธรรม 8   ให้เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยที่ไม่ดี  และแก้ไขข้อบกพร่อง  ตลอดจนให้สร้างบุญสร้างกุศล  ฯลฯ  หากสามารปฏิบัติตามอย่างสุขุมโดยไม่ยึดติดในผลบุญ ก็มีความสามารถเกินพอ ในการบรรลุธรรม  หลุดพ้นจากการเกิดการตาย  ใยต้องมีหลักธรรมใหม่ ๆ มากระตุ้นให้ตื่นตาตื่นใจอีก   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                              พระอาจารย์จี้กงตอบ

    48.  องค์พุทธะเดินดินเมตตาลูกศิษย์ของท่านล้นหลามทั่วปฐพี ทุก ๆ วันต้องพบภัยพิบัติต่าง ๆ นานา เหตุใดองค์ท่านถึงไม่ฉุดช่วยเขาเหล่านั้นให้หมด ?.

                  พระพุทธจี้กง ตอบ

        เราพุทธะ ตรากตรำกับการฉุดช่วยลูกศิษย์ทุก ๆ วัน  แม้ลูกศิษย์สักคนก็ไม่เคยตกหล่นไป แบ่งนิรมานกายพันร้อยล้าน เพื่อฉุดช่วยลูกศิษย์ตลอดเวลา   

               

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                               พระอาจารย์จี้กงตอบ

                   49.  ในเมื่อพระองค์ตรากตรำกับการฉุดช่วยลูกศิษย์แล้ว  เหตุใดยังมีผู้บำเพ็ญธรรมจำนวนมากประสบกับภัยพิบัติ ?.

                พระพุทธจี้กง ตอบ

        เฮ้อ !  เป็นเพราะเหตุต้นผลกรรมตอบสนอง เกณฑ์กำหนดของกฏแห่งสวรรค์และเจ้ากรรมนายเวรติดตามทวงหนี้ หากมีการโยงใยพันผูกด้านเหตุต้นผลกรรมและเจ้ากรรมนายเวรไม่ยอมประนีประนอมด้วย ก็สุดวิสัยที่เราจะช่วย ในเมื่อลูกศิษย์ติดหนี้เจ้ากรรมนายเวรแล้วจะให้เราพุทธะเข้าข้างลูกศิษย์ โดยไม่ให้เขาชำระหนี้กรรมได้อย่างไร  ยินยอมให้ลูกศิษย์รับการทวงหนี้ ของเจ้าหนี้นายเวรเถิด !  ทางเดียวที่จะขึ้นสู่สวรรค์เบื้องบนได้ก็คือ ชำระหนี้เวรให้หมดสิ้นไป เราพุทธะมีจุดมุ่งหมายประการเดียวในการประกอบธรรมกิจ คือการให้ลูกศิษย์ได้หลุดพ้นจากการเกิดตาย หากเข้าใจเหตุผลนี้แล้ว ตนเองก็คงไม่มีข้อกังขาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และไม่โทษฟ้าโทษผู้อื่นด้วย

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ

                        การบำเพ็ญธรรมเป็นอย่างไร ?.

               พระพุทธะจี้กง ตอบ

        ธรรมญาณของมนุษย์แต่เดิม มีความใสบริสุทธิ์ทุกอิริยาบทไม่ว่าจะเป็นภาวะการเคลื่อนไหวหรือภาวะสงบนิ่ง ล้วนมีธรรมะ เพราะเป็นสภาวะธรรมชาติที่ไร้รูปนามจึงไม่มีคำว่า  "บำเพ็ญธรรม"  และก็  "ไม่ต้องบำเพ็ญ"  ด้วย อย่างไรก็ตามเพราะต้องการแนะนำให้มนุษย์ได้รู้จักกับสภาพเดิมนี้ ท่านเหลาจื้อจึงได้บัญญัติคำศัพท์ว่า  "เต๋า"  หรือ  "ธรรมะ"  ไปพลาง ๆ ก่อน  ครั้นธรรมชาติแห่งธรรมญาณเดิมอันวิสุทธิ์นี้ ได้ถูกครอบงำด้วยกิเลสตัณหาและถูกบดบังด้วยความเพ้อฝันของใจมนุษย์  ดังนั้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูโฉมหน้าเดิมอันใสบริสุทธิ์จึงต้องอาศัยการบำเพ็ญธรรม

        กล่าวโดยสรุป  การบำเพ็ญธรรม คือการกำจัดความเพ้อฝันที่หมักหมมอยู่ในจิตใจมนุษย์ และฟื้นฟูโฉมหน้าเดิมแท้นั่นเอง !

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ

                     คำว่า "แจ้งจิตเห็นธรรมญาณ  มีความหมายว่าอย่างไร ?.

               พระพุทธจี้งกง ตอบ

        ในเมื่อธรรญาณเป็นสภาวะเดิมของธรรมชาติ สภาวะจิตไร้ซึ่งมลทินความมัวหมอง หากเป็นเช่นนี้แล้ว ที่ว่าแจ้งจิตเห็นธรรมญานก็เป็นเพียงนามศัพท์ของขั้นตอนการบำเพ็ญธรรมเท่านั้นเอง ด้วยเหตุที่ธรรมญาณคือธรรมชาติ จิตดั้งเดิมก็ใสบริสุทธิ์ แล้วใยจะมีการแจ้งจิตและเห็นธรรมญาณได้อย่างไร ?.  แต่ถึงกระนั้น ครั้นเกิดอุปาทานและความเพ้อฝันมาครอบงำจิตใจ ทำให้สภาวะจิตมัวหมอง ไม่กระจ่างแจ้ง และส่งผลให้ธรรมญาณเดิมไม่สามารถปราฏกให้เห็นรวมทั้งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสงดออกก็มิใช่เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนจากธรรมชาติแห่งธรรมญาณเดิม เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า

         "การขัดเกลาธรรมญาณให้กลับคืนสู่ความสว่างไสว เป็นขั้นตอนแรกของการ แจ้งจิตเห็นธรรมญาณ  ส่วนการแสดงออกซึ่งสภาวะเดิม อันบริสุทธิ์ของธรรมญาณ เป็นสภาพของการบรรลุในการแจ้งจิตเห็นธรรมญาณ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ถาม - ตอบอนุตตรธรรม

                            พระอาจารย์จี้กงตอบ

                      การเก็บงานขั้นสมบูรณ์คืออะไร ?.

                 พระพุทธจี้กง ตอบ

        การเก็บงานขั้นสมบูรณ์คือ  การรวมหมื่นธรรมวิถีเป็นหนึ่งเดียว  เป็นการเก็บจิตใจที่กระเจิดกระเจิงและเลอะเลือน รวมทั้งความคิดที่เลื่อยลอย กลับคืนมาเป็นโฉมหน้าเดิม อันกลมกลืนไร้ความด่างพร้อย

        ต่อตนเอง  : 

ไม่ปล่อยกายและใจให้หลงระเริง
มีจิตใจและความประพฤติที่เที่ยงตรง
จิตใจอิงสัจธรรม  และปฏิบัติตามหลักสัจธรรม

        ต่อครอบครัว   :

ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีความกลมเกลียวในครอบครัว
บิดามีความเมตตา กรุณา  บุตรมีความกตัญญูกตเวที
สามีอยู่ในหน้าที่ของสามี  ภรรยาก็อยู่ในจริยาของภรรยา
ทุกอย่างกลมเกลียวสมบูรณ์  ทุกคนบำเพ็ญธรรม

        ต่อประเทศชาติ   :

ไม่มีโจรผู้ร้าย  ไม่มีขุนนางคิดกบฏ
เบื้องสูงไม่ข่มเหงเบื้องล่าง
เบื้องล่างไม่หลอกลวงเบื้องสูง
ประชาราษฏร์ มีความเสมอภาคถ้วนทั่ว

        ต่อพื้นปฐพี   :

เมื่อวิถีธรรมลงโปรด ความเสมอภาคก็จะบังเกิดบนพื้นปฐพี
ผู้มีคุณธรรม และผู้มีความสามารถจะถูกเลือกเฟ้น
ผู้คนจะกล่าวแต่วาจาสัตย์ และจะมีแต่ความสมานฉันท์ จึงทำให้บุตรไม่กตัญญูเฉพาะบุพการีของตน บุพการีไม่อุปการะเฉพาะบุตรของตน
ผู้สูงอายุ มีสถานที่อยู่อาศัยยามชราภาพ
ผู้อยู่ในวัยกลางคน มีโอกาสสร้างคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง
ผู้เยาว์ ได้เจริญเติบโตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
ผู้ไร้คู่ครอง ผู้กำพร้า ผู้โดดเดี่ยว ผู้พิการ และผู้ป่วย ล้วนได้รับการดูแลเอาใจใส่
ชายมีหน้าที่การงาน  หญิงมีที่พักพิง
        ทรัพย์ในดิน สินในนา ได้ถูกบุกเบิกและไม่เก็บไว้เฉพาะตน ความสามารถได้ถูกพัฒนา และไม่กระทำเพื่อตนเอง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะสกัดกั้นความเจริญรุ่งเรืองของสังคนก็เป็นไปได้ยาก เพราะไม่มีทั้งอาชญากรรม ผู้ร้ายหรือผู้ก่อความไม่สงบสุข เวลาออกนอกบ้าน ก็ไม่ต้องปิดประตูหน้าต่าง สภาพเช่นนี้เรียกว่า  "โลกเอกภาพแห่งสันติสุข"