collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม ถ้อยแถลงจากผู้เรียบเรียง  (อ่าน 40283 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                      ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม 

                @   ทราบหรือไม่ว่าการบำเพ็ญธรรมมีวิถี "ตามกระแส" และ "ทวนกระแส"

        " ตามกระแส "  หรือ  " ทวนกระแส "  เป็นการบำเพ็ญที่อาศัยกายสังขารเป็นหลักซึ่งก็จะต้องู้ไว้ เมื่อกายธาตุ พลังธาตุ และวิญญาณธาตุ (จิง ซี่ เสิน)อีกทั้งหูตาที่ได้ยินได้เห็นแผ่ซ่านออกไป ภาวะนั้นเป็นโลกียชน แต่เมื่อสำรวมคงที่อยู่ภายใน ภาวะนั้นเป็นอริยะ กายธาตุ พลังธาตุ วิญญาณธาตุ แผ่ซ่านออกไปอยู่กับความยินดีในกามคุณ เป็นภาวะ " ตามกระแส "  (เป็นไปโดยง่าย)  การสำรวมเก็บเข้าไปจะเป็นภาวะ " ทวนกระแส "  (ฝืนได้ลำบาก) ฉะนั้น ท่านปราชญ์เมิ่งจื่อจึงได้กล่าวไว่ว่า "วิถีแห่งการเรียนรู้มิใช่อื่นไกล  ให้นำจิตที่กระเจิงไปกลับคืนมาเท่านั้นเอง"  ความปราณีตในการโน้มนำจิตกล่อมเกลี้ยงธรรมญาณแห่งตนก็คือ ให้จิตคืนสู่ภาวะความเป็นหนึ่งดียว บริสุทธิ์และสงบ ให้สยบอารมณ์ ย้อนมองส่องตน (รู้ภาวะจิตเดิมแท้) ให้ดับไฟในจิต (ความอยากทั้งปวง) ความร้อนลุ่มจะลดลง ให้ดุนปลายลิ้นไว้กับเพดานเหงือก จากนั้นน้ำอมฤตจะซึมออกจากต่อมใต้ลิ้น เมื่อมีปริมาณพอสมควรให้กลืนลง น้ำอมฤตนี้จะซึมซาบไปสู่ศูนย์กลางกาย สมานกับธาตุไฟในประตูชีวิต (จุดกำเนิดของชีวิตในกาย) ธาตุน้ำจะแปรเป็นพลังธาตุ พลังธาตุและวิญญาณธาตุจะเอิบอิ่มชุ่มชื่น แม้ตรากตรำทำงานก็ไม่เกิดความเหนื่อยหน่าย เมื่อเข้าสู่ภาวะ "ทำให้ลดลงแล้วเพิ่มขึ้นในภายหลัง" น้ำอมฤตจะวนเวียนหล่อเลี้ยงชีวิตร่างกายไม่ขาดสาย แม้กายธาตุจะสมบูรณ์ก็ไม่ก่อให้เกิดอารมณ์กำหนัด แต่จะไปส่งเสริมพลังธาตุ เมื่อพลังธาตุสมบูรณ์ก็จะไม่เกิดอาการหิวกระหาย แต่พลังธาตุจะไปเสริมสร้างวิญญาณธาตุให้อิ่มเอิบสดชื่น เมื่อวิญญาณธาตุสมบูรณ์ ก็จะไม่ทำให้เกิดอาการง่วงเหงาหาวนอน วิญญาณธาตุที่สมบูรณ์จะเบาสบาย ไม่หมกมุ่น ไม่คร่ำเครียด ก็จะส่งผลให้จิตว่าง ศักดิ์สิทธิ์ และแผ่ไพศาล ไปได้ทั่วโลกธรรม
 ศาสนาเต๋าเรียกวิญญาณธาตุในภาวะนี้ว่า " เวียนธรรมจักร "
ศาสนาปราชญ์เรียกว่า  " บริสุทธิ์สิ้นตัณหา มโนธรรมนำทาง"
        เช่นนี้เป็นความปราณีตของการบำเพ็ญ " ทวนกระแส "  พึงเข้าใจว่า พลังธาตุของโลกียชนจะ " ขึ้นก่อนแล้วตก " ส่วนพลังธาตุของผู้บำเพ็ญจริงจะ " ลดก่อนแล้วเพิ่มขึ้น "  เช่นนี้ เป็นคุณและโทษที่ต่างกันหรือมิใช่

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                    ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

             @   การฉุดช่วยวิญญาณในวิธีธรรมคืออย่างไร

        ในบทบัญญัติเดิมกำหนดไว้ว่า  " บุคคลใดบรรลุธรรม บรรพบุรุษเก้าชั้นของผู้นั้นจะพ้นจากนรก " ในครั้งที่การโปรดสัตว์ทั่วไปเพิ่งเริ่มขึ้น พระอนุตตร ฯมารดาทรงกำหนดว่า " จะโปรดคนเป็น ไม่โปรดผี " (ฉุดช่วยถ่ายทอดวิถีธรรมให้)  ภายหลังต่อมา เนื่องด้วยตรีเทพพิทักษ์มหาราช ( ซันกวนเต้าตี้ ) และพระกษิติครรภ์ ( ตี้จั้งกู่ฝอ )  ได้โปรดกราบขอพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้โปรดประทานอนุญาตฉุดช่วยทั้งผู้คนและวิญญาณผีพร้อมกัน เหตุนี้เบื้องบนจึงได้จัดตั้งพุทธาลัย เป็นสถานรองรับวิญญาณที่ได้รับการฉุดช่วยขึ้นไป หรือเป็นที่พักสำหรับผู้ที่ได้รับวิถีธรรมแล้วคืนสู่ความสว่าง (ตาย) เพื่อรอพิจารณากำหนดมรรคผลผู้ตายที่บำเพ็ญดีทั้งกุศลจิตภายใน และกุศลกรรมภายนอก จะได้รับคัดเลือกไว้ระดับสูง ผู้ที่มีกุศลทั้งสองไม่มากพอ ก็จะถูกตัดสินให้ไปเกิดใหม่ เพื่อบำเพ็ญใหม่ หรือจุติลงไปเกิดในฐานะหรือชาติตระกูลดี เพื่อเสวยสุขวาสนาต่อไป อันความกตัญญูนั้นแบ่งออกเป็นทางโลกและทางธรรมสองสถาน ความกตัญญูในทางโลกคือ เมื่อพ่อแม่มีชีวิตอยู่ให้เลี้ยงดูด้วยความเคารพ เมื่อพ่อแม่ตายให้จัดงานศพด้วยความเคารพ และเมื่อพ่อแม่ตายให้จัดเซ่นไหว้ด้วยความเคารพทุกวันตรุษสารท  วันคล้ายวันเกิด วันตาย และวันสำคัญอื่น ๆ ของท่าน  ที่สุดก็คือ ทำเต็มกำลังความสามารถของผู้เป็นลูกจะกระทำได้เท่านั้น  ซึ่งเหล่านี้ไม่อาจช่วยลบล้างแก้ไขบาปเวรของพ่อแม่ได้ ไม่อาจฉุดช่วยให้พ่อแม่พ้นจากวงเวียนกรรมได้ ไม่อาจฉุดช่วยให้พ่อแม่ไม่ต้องไปเกิดใหม่เป็นลูกเมียใครต่อใครต่อไปได้ ความกตัญญูสถานนี้จึงเป็นความกตัญญูเล็กน้อยเทานั้น หากใครมีความกตัญญูอย่างจริงจัง สำนึกรู้ในพระคุณของพ่อแม่ที่ท่านต้องเหนื่อยยากเลี้ยงดูเรามา ซึ่งยากนักที่จะตอบแทนท่านได้ และปรารถนาที่จะฉุดช่วยวิญญาณของท่าน ก็จะต้องบำเพ็ญธรรม ในการบำเพ็ญอนุตตรธรรม มีการเพิ่มผลบุญที่ว่า " หกสิบสี่กุศลเพิ่มหนึ่งผลบุญ " (ลิ่วสือซื่อกงเจียอี้กั่ว) หมายความว่า ผู้บำเพ็ญธรรมผู้ใดที่ฉุดช่วยผู้คนให้ได้รับวิถีธรรมได้หกสิบสี่คนแล้ว เบื้องบนจะโปรดประทานให้ฉุดช่วยวิญญาณในชั้นพ่อแม่ได้หนึ่งชั้น เท่ากับโปรดประทานเพิ่มให้หนึ่งผลบุญ รวมเก้าชั้นตามระดับแต่ละหกสิบสี่ผลบุญ การฉุดช่วยวิญญาณของบรรพบุรุษในระดับสูงเช่นนี้ เรียกว่า " ซันป๋า "   ฉุดช่วยวิญญาณของลูกหลานระดับต่ำกว่าเราลงไปเรียกว่า " เอินป๋า "  ซึ่งการนี้ผู้ฉุดช่วยจะต้องถึงพร้อมด้วยบุญกุศลสูงพอ ต่อมาในปีหมินกั๋วที่ 13  (พ.ศ. 2454 )  ระเบียบนี้ได้โปรดเปลี่ยนแปลงใหม่คือ " ให้ฉุดช่วยพ่อแม่ได้ หากพี่น้องลูกหลานได้รับวิถีธรรมพร้อมกันแล้วทั้งครอบครัว หากจะฉุดช่วยชั้นปู่ย่าตาทวด ก็ให้ทำตามระเบียบเดิมแต่ละชั้น "

หมายเหตุ :  ตามระเบียบที่กำหนดใช้ในปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไปอนุญาตให้ฉุดช่วยได้เฉพาะพ่อแม่ ระดับอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม ( เตี่ยนฉวนซือ ) จึงจะอนุญาตให้ฉุดช่วยชั้นของปู่ย่าตายายได้

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                      ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

               @   มีอะไรเป็นประจักษ์หลักฐานว่าวิญญาณได้รับการฉุดช่วยแล้ว

        เมื่อวิญญาณได้รับการฉุดช่วยครบร้อยวันแล้ว จะเชิญวิญญาณมาเข้าทรงที่พุทธสถานได้ให้เล่าเรื่องราวความทุกข์ในนรก การเวียนว่ายตายเกิด และหนทางหลุดพ้น ที่ตนได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปเสวยสุขยังแดนสุขวดีได้ อีกทั้งจะบอกกล่าวหรือมอบหมายสิ่งที่ตนยังทำค้างไว้ เมื่อมีชีวืตอยู่ให้คนหลังรับรู้โดยละเอียด ด้วยการเขียนกระบะทราย หรือใช้ร่างของใครพูดจา เหล่านี้เป็นประจักษ์หลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า วิญญาณได้รับการฉุดช่วยให้พ้นจากนรกแล้วจริง ๆ

               @   วิญญาณที่ได้รับการฉุดช่วยจะไปอยู่ที่ไหน ?.

        วิญญาณที่ได้รับการฉุดช่วยแล้ว จะได้รับการลงทะเบียนบนบัญชีสวรรค์ ถอนชื่อจากบัญชีในยมโลกขึ้นไปฝึกฝนบำเพ็ญในสถาน " บำเพ็ญตน " (จื้อซิวถัง)  ของพุทธาลัย ( เทียนฝอเอวี้ยน)  จนครบหนึ่งร้อยวัน จากนั้นวิญญาณซึ่งมีภาวะเป็นอินคือเย็นยะเยือกมืดมัว ก้กลับคืนสู่ภาวะหยังคือสว่าง สดใส เป็นธาตุแท้ญาณเดิม ต่อจากนั้นพระอนุตตรธรรมมารดาเจ้า จะโปรดประทานพระมหากรุณาธิคุณบัญชาตรีเทพพิทักษ์มหาราช (ซันกวนต้าตี้) กำหนดฐานะตามผลบุญกุศล ซึ่งจะต้องถือเอากุศลจิตของวิญาณเองเมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ บวกกับกุศลจิตและกุศลกรรมของลูกหลานในปัจจุบันเป็นเกณฑ์ ฉะนั้น พึงเข้าใจว่า แม้ทุกคนได้รับวิถีอนุตตรธรรมแล้ว จะมีส่วนในอริยฐานะบัลลังก์บัว ตามมรรคผลเป็นราย ๆ ไป 

              @   รับวิถีธรรมแล้วต้องกินเจด้วยหรือ

        เมื่อเข้าสู่วิถีธรรมแล้ว การถือศีลกินเจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะเหตุว่าจิตแท้ญาณเดิมของเรามีภาวะเป็นที่สุดของความบริสุทธิ์ จึงไม่อาจรับเอาความสกปรกแปลกปลอมใด ๆ เข้าไปปะปนได้ เมื่อมีสิ่งสกปรกปะปนเข้าไป ธรรมญาณจะสูญเสียภาวะของความเป็นธาตุแท้ไป ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญธรรมจะต้องขจัดสิ่งสกปรกแปลกปลอมออกไป  คงเหลือไว้แต่ความบริสุทธิ์ จิตเดิมแท้จึงจะฟื้นฟูความสว่างได้ดั่งเดิม ผักฉุนทั้งห้าคือ  หอม (ทำลายไต)  กระเทียม (ทำลายหัวใจ)  กุยไฉ่ (ทำลายตับ)   หลักเกี๋ย - กระเทียมโทนของจีน (ทำลายม้าม)  ใบยาสูบ (ทำลายปอด)  เนื้อสัตว์ทั้งสามจำพวก คือจำพวกสัตว์ปีก  สัตว์บก  และสัตว์น้ำทุกชนิดควรงดเว้นให้หมด  ผักฉุนทั้งห้ามีกลิ่นแรง และมีพิษทำลายพลังธาตุเดิมในกายเราให้กระจายหมดไป สัตว์ทั้งสามจำพวกเป็นเนื้อสกปรกและมีภาวะเป็นอิน คืออับเหม็น  มีผลในการทำลายภาวะหยังคือความสว่างสดใสในธรรมญาณ ในเมื่อการบำเพ็ญในวิถีอนุตตรธรรม มีจุดหมายในอันที่จะฝึกฝนให้ธาตุแท้ธรรมญาณของเรากลับคืนสู่ความสดใสสว่าง จึงจำเป็นที่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความอับเฉาของภาวะอินเป็นสำคัญ เพื่อรักษาภาวะของหยังไว้ ยิ่งกว่านั้น เบื้องบนทรงไว้ซึ่งมหาเมตตากรุณาฯ เป็นหลัก ผู้บำเพ็ญทั้งหลายควรจะสำนึกรู้ในพระเจตนา มิควรที่จะโลภหลงอยู่กับปากท้องฆ่ากินชีวิตเขา สร้างบาปสร้างเวรติดตัวไป ถ้าหากไม่อาจงดเว้นอาหารเนื้อสัตว์ได้ทันที ก็น่าจะค่อย ๆ ฝึกไป โดยการกินเจในวันพระวันโกนข้างไทยข้างจีนหรือวันจันทร์ พุธ ศุกร์  หรือกินเจในเดือนสำคญ เช่น เดือนอ้าย  เดือนเก้าตลอดทั้งเดือน  นานวันเข้าก็จะเกิดความเคยชิน จากนั้นจึงค่อยกินเจตลอดไป แต่ถ้าสุดวิสัยกินเจเลยไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องสร้างบุญกุศล ให้มาก อุทิศให้แก่สรรพชีวิตที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของเรา ซึ่งเราได้กินได้ฆ่าเขาเข้าไป ก็พอจะอนุโลมได้ เกณฑ์กำหนดมีอยู่ แต่วิถีการอาจเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อความเหมาะสมแก่กรณี  สรุป คือ ผู้บำเพ็ญจะต้องมีเมตตาจิตเป็นที่ตั้งนั่นเอง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                 @   รับธรรมะแล้วมีผลเป็นอย่างไร

        หลังจากรับธรรมะ ได้รับการจุดเบิกญาณทวารแล้ว ปัญญาจะสว่งขึ้น หากมั่นคงในศรัทธาปฏิบัติบำเพ็ญต่อไป สร้างบุญกุศลชดใช้หนี้กรรมเวรในอดีตให้หมดสิ้นไปได้ ชีวิตจะประสบความราบรื่น จะพ้นจากเหตุร้ายภยันตราย เมื่อหมดอายุจะตายอย่างสงบ พ้นจากความทุกข์การเวียนว่ายในเงื้อมมือพยายม  ผลที่ไดรับนั้นมีคุณยิ่งใหญ่นัก หวังว่าผู้บำเพ็ญทั้งหลาย จะได้เร่งตื่นใจ เพื่อให้บรรลุมรรคผลในวันข้างหน้าให้จงได้

                  @   ผลที่ได้รับมีประจักษ์หลักฐานหรือไม่

       หากสาธุชนพากันบำเพ็ญอนุตตรธรรม สร้างสมบุญกุศลจนเบื้องบนซาบซึ้ง ขณะมีชีวิตอยู่ เมื่อประสบเหตุร้ายจะกลายเป็นดี เมื่อประสบทุกข์ภัยจะคลี่คลายเป็นมงคล มีประจักษ์หลักฐานมากมายนับไม่ถ้วน จากเรื่องราวของผู้ประสบเหตุ ที่ได้รอดพ้นภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงกันมาแล้ว  เมื่อตายจะพ้นจากการเวียนว่ายในวัฏสงสาร  การนี้ไม่เพียงแตวิญญาณของผู้ตายจะมาขอใช้ร่างคน เข้าทรงบอกกล่วอย่างชัดเจน  ยังทิ้งกายสังขารอ่อนนุ่มและใบหน้างดงามไว้ให้ประจักษ์อีกด้วย ในวงการศาสนาพุทธและเต๋าของท่านเหลาจื้อ พระผู้ใหญ่ที่บำเพ็ญดี หรือนักธรรมอาวุโสเมื่อถึงการมรณภาพบางท่านนั่งสงบกล้ามเนื้อเส้นเอ็นอ่อนคลาย ทิ้งกายสังขารให้ประจักษ์ว่า จิตได้ออกจากร่างไปสู่สุคติ แต่ร้อยพันผู้บำเพ็ญจะเห็นได้สีกรายหนึ่งเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า ผู้บำเพ็ญมีมากมาย แต่ผู้จะบำเพ็ญจนสำเร็จได้มีน้อยจริง ๆ  สำหรับผู้ที่ผ่านการจุดเบิกญาณทวารจากอาจารย์ถ่ายทอดเบิกธรรม (เตี่ยนฉวนซือ) แล้ว ไม่ว่าผู้นั้นจะบำเพ็ญบุญกุศลสูงต่ำเพียงไร ตายไปใบหน้าก็จะยิ้มสดใสเหมือนมีชีวิตอยู่ เพราะวิญญาณของเขาไม่ได้ออกไปตามช่องเวียนว่ายทั้งสี่ทวาร คือ หู ตา จมูกและปาก อากาศหนาวศพก้ไม่แข็ง อากาศร้อนศพก้ไม่เน่าเหม็น บางรายดำรงอยู่ได้หลายวัน อีกทั้งมีกลิ่นหอมอบอวนอยู่รอบ ๆ  แต่ทั่ว ๆ ไปจะไปดีทุกราย ไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ ทุกรายจะทิ้งกายสังขารนุ่มนวลให้ประจักษ์ว่า วิญญาณได้ไปสู่สุคติจริง ๆ โดยไม่ต้องสงสัย

                      @   เข้าสู่วิถีธรรมแล้วไม่ดำเนินต่อไป มีโทษหรือไม่

        คนที่บำเพ็ญ จะมีจุดมุ่งหมายมาก่อนจึงเกิดความคิดที่จะเดินทางนี้ แน่นอน จุดมุ่งหมายนั้นก็คือเพื่อพาตัวให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ พ้นจากการเวียนว่ายในวัฏสงสาร  จึงทำให้เกิดความยินดีที่จะขอรับวิถีธรรม  อยากให้รอดพ้นภัยพิบัติ ก่อนอื่นจะต้องรู้ว่า ภัยพิบัติเกิดขึ้นได้อย่างไร ภัยพิบัติมิได้เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุเจาะจง แต่เกิดขึ้นจากผลกรรมที่บุคคลก่อไว้โดยแท้ ฉะนั้น การที่จะรอดพ้นจากภัยพิบัติได้ จะต้องขอขมาสำนึกบาปต่อความผิดทั้งหลายทั้งปวงที่เคยกระทำมา อยากจะลบล้างบาปเวรให้หมดสิ้นไป ยิ่งจะต้องเคารพปฏบัติตามวิถีธรรมของพระอาจารย์ เชิดชูไม่ดูดาย ทำจริง บำเพ็ญจริง  ละความชั่วทำแต่ความดี จึงจะสอดคล้องกับหลักสัจธรรมของเบื้องบน จึงจะยับยั้งมหันภัยมิให้เกิดขึ้นได้ เช่นน้จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมายในการเข้ารับวิถีธรรม ที่ตั้งใจมาแต่ต้นได้ มิฉะนั้น ก้เท่ากับเดินสวนทางกับวิถีธรรม คนที่เดินสวนทางหรือหันหลังให้วิถีธรรม บาปเวรที่ตนเคยก่อไว้ไม่เพียงแต่จะไม่มีทางลดน้อยลง ภัยพิบัติจะเพิ่มขึ้นตามมาอีกด้วย จนกระทั่งเมื่อความชั่วร้ายพอกพูนได้เต็มที่แล้ว ภัยพิบัติก็ถึงตัว ไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้เลย เมื่อหลีกไม่พ้น ก็ไม่อาจพ้นเวียนว่ายจึงไม่อาจพ้นทุกข์จากนรกได้ จากนี้เราจะเห็นได้ว่า ภัยพิบัติคือผลของความชั่วร้าย  ภัยพิบัติเกิดจากผลของความชั่ว ความชั่วเกิดจากการกระทำของคน ฉะนั้นเมื่อเข้าสู่วิถีธรรมแล้วจึงจะต้องดำเนินต่อไปอย่างเต็มที่  ตรงกันข้าม การไม่บรรลุปณิธานจึงเท่ากับทำบาป เมื่อบาปเกิดจากการกระทำของตัวเองแล้ว เป็นการสมควรมิใช่หรือที่เราจะต้องรับผลของบาปเวรนั้นด้วยตนเอง   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

             @  เข้าสู่วิถีธรรมแล้ว ความเคยชินเลวยังไม่เปลี่ยนจะกล่อมเกลาอย่างไร

        วิถีธรรมนี้สั่งสอนผู้คนด้วยหลักสัจธรรม เอาความดีเข้าแปรเปลี่ยนความชั่ว เมื่อเข้าสู่วิถีธรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนิสัย ความเคยชิน เสพติดเลวร้าย อบายมุขใด ๆ จะต้องขจัดออกไปให้หมดสิ้น ชี้แจงให้เขาเข้าถึงภัยอันตรายของมัน ค่อย ๆ ชักนำชี้ชวน ให้เกิดจิตสำนึกดี  ให้รู้สภาพความเป็นจริง รู้คุณรู้โทษตักเตือนห้ามปรามให้เหมาะกับลักษณธนิสัยของแต่ละคนจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ที่สุดคือ จะต้องให้บรรลุผลจนกว่าเขาผู้นั้นจะกลับตัวกลับใจเป็นคนดี

             @  สามศาสนารวมเป็นหนึ่งคืออย่างไร

        ต้นกำเนิดศาสนาทั้งสาม เกิดจากหลักสัจธรรมเดียวกัน แม้จะต่างภาษาคำนิยาม แต่เนื้อแท้เป็นหลักสัจธรรมเดียวกัน ศาสนาทั้งสามเกิดขึ้นตามวาระอันควร สนองรับกับยุคสมัย ล้วนเป็นงานกล่อมเกลาจิตใจของผู้คนแทนเบื้องบน ฉุดยั้งแปรเปลี่ยนความชั่วร้ายให้เป็นคุณ และเปลี่ยนแปลงคนเลวให้เป็นคนดีนั่นเอง ยิ่งกว่านั้นศาสนาเ๋ต๋ามีหลักการบำเพ็ญให้จิตว่างเป็นหลัก ระวังรักษาจิตญาณคืนสู่นิพพาน ศาสนาพุทธให้ละสังโยชน์ ตัดกิเลสความทุกข์กังวลหม่นหมองทั้งปวงเพื่อให้จิตได้วิมุติสุข เข้าสู่ภาวนิพพานเช่นกัน  ศาสนาปราชญ์ ให้เห็นแจ้งในจิตประภัสสรแห่งตน ให้ชำระกิเลสตัณหาจนหมดสิ้น เป็นความบรสุทธิ์โดยแท้  เช่นเดียวกับหลักสัจธรรมของฟ้า หลักสัจธรรมของฟ้าก็คือ ธาตุแท้ความดีงามของจิต หมายถึงความสงบเป็นนิพพาน ซึ่งนิพพานก็คือสัจธรรมนั่นเอง  จะเห็นได้ว่า ศาสนาทั้งสามล้วนเกิดจากหลักเดียวกันคือ "นิพพาน"
 ศาสนาพุทธ  ให้บำเพ็ญหหมื่นธรรมขันธ์คืนสู่ความเป็นหนึ่ง ให้จิตสว่างเห็นธรรมญาณแห่งตน 
 ศาสนาเต๋า   ให้บำเพ็ญจิตฝึกธรรมญาณประคองธาตุกำเนิด รักษาความเป็นหนึ่งไว้ 
 ศาสนาปราชญ์  ให้โน้มนำจิตกล่อมเกลี้ยงธรรมญาณ ประคองจิตจุดกลางสู่ความเป็นหนึ่งที่รู้แจ้ง
        แม้การถ่ายทอดวิถีธรรมของสามศาสนาจะต่างกัน แต่ล้วนมาจากหนึ่ง อันเป็นต้นกำเนิดเดียวกัน มีจุดเริ่มต้นที่จิตเช่นกัน จากสัจธรรมเดียวกันแยกออกเป็นสามศาสนา อุปมาดังกายสังขารเดียวกัน ที่แบ่งออกเป็นกายธาตุ พลังธาตุ และวิญญาณธาตุ ฉะนั้น บัดนี้ ศาสนาทั้งสามได้รวมกันเป็นหนึ่ง เป็นนิมิตหมายของการเก็บงานเพื่อกลับคืนสู่ภาวะนิพพานแต่เดิมมา ล้วนเป็นจิตสมบูรณ์ อีกทั้งรวมกันเป็นหนึ่ง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                       ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม

                @  สามศาสนามาจากหลักเดียวกัน แต่อยากทราบว่าศาสนาใดสูงกว่า ผู้บำเพ็ญมีความเอนเอียงต่อศาสนาใดหรือไม่

        ในเมื่อศาสนาทั้งสามมีหลักมาจากสัจธรรมเดียวัน จึงไม่มีความสูงต่ำกว่ากัน  แต่ในความรู้สึกนึกคิดเปรียบเทียบของคนทางโลก จะเห็นว่าพุทธธรรมมีความสูงส่งที่สุด เหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น  เราจะเห็นได้ว่า แต่โบาราณมา ผู้นำทางศาสนาล้วนเป็นผู้บำเพ็ญในศาสนาพุทธทั้งสิ้น ดังคัมภีร์อิงเจี๋ยจิงกล่าวไว้ว่า "เมื่อเริ่มกำหนดฟ้าดินโลกนี้  ก็ได้กำหนดให้ทศมพุทธาปกครองธรรมจักรวาล"  สิบพระพุทธาที่ทรงรับพระภาระโปรดสัตว์โดยตรงเป็นหลักศาสนาในแต่ละยุคสมัยตั้งแต่บรรพกาลมา มีดังนี้คือ
1.  พระวิปัสสีพุทธเจ้า        อุบัติ  ณ   ทิศใต้   ปกครองธรรมกาล 60,000  ปี
2.  พระสุขีพุทะเจ้า            อุบัติ  ณ   ทิศเหนือ      ปกครองธรรมกาล   4,800  ปี
3.  พระเสสภูพุทธเจ้า         อุบัติ  ณ   ทิศตะวันออก ปกครองธรรมกาล 3,720  ปี
4.  พระกกุสันธะพุทธเจ้า      อุบัติ  ณ  ทิศตะวันตก    ปกครองธรรมกาล  7,080 ปี
5.  พระโกณาคมน์พุทธเจ้า   อุบัติ  ณ  ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ    ปกครองธรรมกาล  5,284  ปี
6.  พระกัสสปพุทธเจ้า        อุบัติ  ณ  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ปกครองธรรมกาล  5,516  ปี
7.  พระโคดมพุทะเจ้า         อุบัติ  ณ  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ปกครองธรรมกาล   5,800  ปี
       
        พระอริยะฟู่ซี   อุบัติ  ณ  ทิศตะวันตกเฉียงใต้  พระองค์รับพระภาระปกครองธรรมกาลแทนพระพุทธเจ้า 500 ปี   
1.  พระทีปังกรพุทธเจ้า  เริ่มวาระธรรมกาลยุคเขียว   ปกครองธรรมกาล 1,500  ปี 
2.  พระศากยพุทธเจ้า  เริ่มวาระโปรดสัตว์ให้ออกบวชบำเพ็ญในธรรมกาลยุคแดง  ปกครองธรรมกาล  3,000  ปี
3.  พระศรีอริยเมตตรัยพุทธเจ้า  จะอุบัติมาในภายหน้า
       
        สำหรับพระทีปังกรพุทธเจ้า และพระศากยพุทธเจ้า  นอกจากจะเป็นใหนึ่งในสิบพระพุทธาที่ทรงรับพระภาระปกครองธรรมกาล สืบเนื่องต่อมาตามลำดับพุทธบรรพกาลแล้ว ทั้งสองพระองค์ยังทรงรับพระภาระร่วมกับพระศรีอริยเมตตรัย เป็นสามพระพุทธา ในศุภวาระเก็บวิสุทธิธรรมญาณทั้งมวล คืนสู่นิพพานให้หมดในธรรมกาลยุคขาวสุดท้ายนี้ด้วย  ( สำหรับพระประวัติ  และพระพุทธรูปบูชาของเจ็ดพระพุทธายังมีหลักฐานสืบทอดต่อมาช้านานในประเทศจีน ที่วัดมุขมนตรี  ต้าเซี่ยงกั๋ว  หมู่บ้านหม่าอิ๋ง  ตำบลเซี่ยวอี้  อำเภอเฟินหยัง  มณฑลซันซี  เป็นวัดที่พระอริยฟู่ซีสร้างขึ้น  นอกจากรูปบูชาเจ็ดพระพุทธเจ้าแล้วยังมีศิลาจารึกกำหนดกาลเป็นไปของโลกนี้หลายพันปีต่อมากระทั่งบัดนี้ให้ประจักษ์จริงทุกประการ )  เมื่อพระทีปังกรพุทธเจ้าปกครองธรรมกาลครบ 1,500 ปี ไปแล้ว ก็ถึงสมัยของพระศากยพุทะเจ้า  พระพุทธองค์อุบัติในรัชสมัยโจวเจ๋าอ๋วงฮ่องเต้ แปดค่ำเดือนสี่ข้างจีน พระบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาคือพระนางมหามายา ออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุได้ 29 ชันษา พระทีปังกรพุทธเจ้า ได้ชี้ชัดพยากรณ์ไว้ว่า จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า ภายหลังที่ตรัสรู้แล้ว ได้โปรดแสดงธรรมอยู่สี่สิบเก้าปี ซึ่งพระอัครสาวกได้รวบรวมเป็นพระไตรปิฏกคัมภีร์ธรรมเป็นแสงสว่างแก่ชาวโลกมาสองพันกว่าปี พระธรรมคำสอนของพระองค์ชี้ให้เห็นจิตเดิมแท้อันวิสุทธิ์เป็นพุทธจิตของตน สอนให้ค้นหาธาตุแท้แห่งตน และสิ่งอันเป็นรูปธรรมนำจิตให้คืนสู่นิพพาน  พระองค์ได้รับการเทิดทูนว่า "พระสัมมาสัมพทธเจ้า" 

        พระอริยเจ้าเหลาจื้อ   พระนามเดิมหลีเอ่อ  นามรองป๋อหยัง  คุณานาม  ตัน  อุบัติในรัชสมัยโจวติ้งอ๋วง  ปีมะเส็ง  ณ เมือง ฉู่  แคว้นเฉิน เคยรับราชการเป็นผู้ตรวจราชการแทนพระองค์ หรือพระราชเลขาในพระเจ้าโจวอิ้งอ๋วงฮ่องเต้ บิดาแซ่หัน  นามเฉียน  นามรอง  เอวี๋ยนปี้  มารดาจิงฟู  ตั้งครรภ์ท่านเหลาจื้ออยู่แปดสิบปีจึงได้กำเนิด ณ ใต้ต้นลี้ จึงเปลี่ยนมาใช้แซ่สกุลลี้
        หลังจากที่ท่านขงจื้อ เดินทางมาเรียนรู้จริยธรรมจากท่านแล้ว ไม่นานต่อมาท่านเหลาจื้อ ก็ขี่ความออกไปนอกแคว้นทางด่านหันกู่กวน มุ่งสู่ทิศตะวันตกเพื่อจะถ่ายทอดวิถีธรรมแด่เจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนจะเดินทางถึงด่านหันกู่กวน นายด่านนามว่าอิ่นสี่ มองเห็นแสงฉัพพรรณรังสีพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเบื้องหน้า  อิ่นสี่ นึกรู้ทันทีว่ามีผู้บุญญาธิการวิเศษกำลังจะผ่านมา เมื่อเห็นท่านเหลาจื้อจึงได้ก้มลงกราบขอให้ท่านแสดงธรรม ท่านเหลาจื้อได้โปรดเมตตาเขียนคัมภีร์มอบให้ด้วยอักษรห้าพันคำ ชื่อว่าคัมภีร์คุณธรรม (ต้าเต๋อจิง) อันลึกซึ้ง เป็นแนวทางปฏิบัติธรรมอันสูงส่งสำหรับสาธุชนรุ่นหลังสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้วิถีธรรมของท่านเหลาจื้อเป็นไปอย่างเรียบง่าย ท่านให้เลี้ยงจิตให้สงบ  กำหนดจิตที่สงบจนเกิดความสว่าง ละจากรูป สังขาร เข้าสู่ภาวะนิพพาน ให้น้ำและไฟในกายเกิดคุณเนื่องกันจนวัชรญาณหรือจิตเดิมแท้คงตัว คัมภีร์ที่ท่านได้โปรดถ่ายทอดไว้ให้ คัมภีร์คุณธรรม (เต้าเต๋อจิง)  คัมภีร์วิสุทธิสูตร (ซิงจิ้งจิง) ท่านได้รับการเทิดทูนว่า " บิดาแห่งเต๋า "   

        วิถีธรรมของท่านขงจื้อ ดำเนินควบคู่กันไปทั้งทางโลก และทางธรรม  อยู่กับรูปแต่ไม่ติดรูป ให้พ้นรูปธรรม อรูปธรรม เข้าสู่นิพพาน วิถีธรรมนี้เป็นที่คุ้นเคยกัน ไม่จำเป็นจะต้องแจง  สรุปคือ วิถีธรรมของศาสนาใหญ่ทั้งสามล้วนมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่จิต คุณธรรมความดีงามที่แสดงออกล้วนปรากฏออกมาจากธาตุแท้ธรรมญาณ เมื่อธาตุแท้ธรรมญาณสว่างแล้ว คุณธรรมทั้งหมดจะงดงามเที่ยงตรงเองโดยมิต้องฝึกฝน ดังคำกล่าวที่ว่า "เมื่อเข้าใจในภาวะธรรมแห่งตนแล้ว ผลแห่งคุณงามจะเกิด"  "เมื่อรากฐานมั่นคงแล้ว กิ่งก้านสาขาจะงอกงามเป็นหลักธรรมดา"  เสียดายที่พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังไม่ได้รับรู้วิถีแห่งจิตอันวิเศษโดยตรง สานุศิษย์ในศาสนาเต๋า ก็ไม่ได้รับรู้เคล็ดลับรหัสคาถา อันแยบยลในการรวมศูนย์จิตญาณ กลับกลายเป็นรับจ้างทำพิธีสวดมนต์สะเดาะเคราะห์แก่ผู้เดือดร้อน   สานุศิษย์ในศาสนาปราชญ์ ก้ไม่ได้รับวิถีแห่งจิตโดยตรง  อักษรศาสตร์บัณทิตทั้งหลาย ก็ได้ชื่นชมหาคำแปลอันไพเราะตามความหมายของอักษรในคัมภีร์  หารู้ความแยบยลลึกซึ้งที่แฝงอยู่ในคำเหล่านั้นไม่  แม้หากถามว่า ความปราณีตของการ รู้จุดหยุดนิ่ง ไม่ยินไม่ยล  รู้แจ้งสัจธรรมจิตแท้ปรากฏ  กล่อมเกล้ยงเลี้ยงจิต  โน้มนำสะรวมจิต  ผู้รู้ได้ไม่มีสักกี่คน เช่นนี้ จึงทำให้ศาสนาของพระอริยะทั้งสามใกล้กาลเสื่อมสูญ 

        ฉะนั้น  การถ่ายทอดวิถีแห่งจิตอันแท้จริง จึงจำเป็นจะต้องบำเพ็ญกันตามหลักคำสอนของทั้งสามศาสนาอย่างถูกต้องโดยไม่เอนเอียง จะต้องดำเนินตามหลักจริยธรรมมโนธรรมของศาสนาปราชญ์  ใช้ความปราณีตละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพในการประคองจิตตามแนวปฏิบัติของศาสนาเต๋า  และ  รักษาศีลปฏิบัติบำเพ็ญตามหลักศาสนาพุทธ  การปฏิบัติบำเพ็ญตามอัธยาศัย จะช่วยให้อายุัวัฒนะ  ปฏิบัติบำเพ็ญอย่างจริงจัง อาจบรรลุธรรมสำเร็จมรรคผล  อันเป็นเรื่องที่พึงตระหนักสำหรับผู้บำเพ็ญ     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                         ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

             @  ใจดีก็พอ จำเป็นหรือที่จะต้องรับธรรมด้วย

        คนทั่วไปหากเป็นพุทธบุตรธรรมญาณเดิมที่มีจิตใจดีงาม  เมื่อได้สดับวิถีอนุตตรธรรมแล้ว จะกระตือรือร้นขอรับไว้ใฝ่บำเพ็ญและส่งเสริมเต็มกำลัง เหตุเพราะกัลยาณชนคนบุญมักจะห่วงใยความเป็นไปของเพื่อนร่วมโลกอยู่เป็นนิจ โลกปัจจุบันศีลธรรมเสื่อมถอย ผู้คนใจคอโหดเหี้ยมมีเหลี่ยมลวงกัน บรรยายกาศของความชั่วร้ายกระจายไปทั่วโลก จึงก่อให้เกิดมหันตภัยนานัปการ  กัลยาณชนคนบุญที่ห่วงใยว่าธรรมะจะหมดไปจากจิตใจของคน จะพยายามหาทางสงเคราะห์ ฉุดช่วยอย่างไม่หยุดยั้งทุกค่ำเช้า บัดนี้ เบื้องบนได้ดปรดประทานวิถีอนุตตรธรรมลงโปรดทั่วไป ใครหรือจะไม่ยินดีที่ปฏิบัติ ยิ่งกว่านั้นการขอรับวิถีอนุตตรธรรม จุดมุ่งหมายสำคัญคือ ให้พ้นเวียนว่ายตายเกิด ให้จิตคืนสู่สภาวะธรรมญาณเดิม เพื่อคืนสู่นิพพานบ้านเดิม พ้นจากเงื้อมมือพยายม พ้นจากความทุกข์ในวัฏสงสาร ถ้าหากจะบอกว่า เราเป็นคนมีจิตใจดีแล้ว เราก็เป็นเพียงคนดีในโลกโลกีย์นี้ แล้วเกิดใหม่มารับบุญวาสนาที่สร้างไว้เท่านั้น บุญวาสนามีวันหมดสิ้นไป ต่อไปจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ได้อีก ซึ่งจะเทียบกับการได้รับถ่ายทอดวิถีอนุตตรธรรม จากพระวิสุทธิอาจารย์ แล้วพ้นเวียนว่ายในความทุกข์  เสวยสุขนิรันดร์ไม่ได้เลย เราจะลองพิจารณาให้ลึกซึ้งที่ท่านขงจื่อกล่าวไว้ว่า " คนดีในสายตาของชาวบ้าน เบื้องหลังเป็นโจรปล้นคุณธรรม" คนดีที่ว่านี้จริงแท้สักแค่ไหน  อีกคำหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า "เช้าได้รับวิถีธรรม เย็นตายไม่ห่วงเลย" จะเห็นได้ว่า การเป็นคนดีกับการได้รับวิถีธรรมนั้น ต่างกัน 

                  @   เหตุใดวิถีธรรมนี้จึงไม่โปรดมาก่อน เพิ่งจะมาโปรดลงครั้งนี้

        วิถีธรรมมีวาระแฝง  (ถ่ายทอดเฉพาะ) มีวาระแจ้ง (ถ่ายทอดทั่วไป) เหตุที่เพราะผ่านมายังมิใช่บุญวาระอันควร จึงแฝงอยู่ ผู้สดับรู้จึงมีน้อย  บัดนี้ได้กำหนดธรรมกาลยุคสุดท้าย เบื้องบนจึงโปรดประทานฉุดช่วยทั่วไปอย่างกว้างขวาง เหตุที่ฉุดช่วยทั่วไป เพราะหลายปีมานี้ บรรยายกาศของโลกและจิตใจของผู้คนเสื่อมทรามลง ศาสนาทั้งสามลบเลือนไป ค่าของคุณธรรมตกต่ำ การแย่งชิงกันสูงขึ้น ความชั่วช้าลุ่มลึกลง ก่อให้เกิดภัยพิบัติใหญ่ แก่มนุษยชาติ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นเหตุที่ภัยสงคราม น้ำ ไฟ โรคร้าย ปราฏกมากมายทั่วไป ภัยพิบัติเหล่านี้ เป็นแรงของกรรมชั่วที่ส่งผลมาทั้งสิ้น แต่คนมิใช่จะชั่วช้าเสียทั้งหมด ยังมีคนดีที่มีรากฐานของบุญซึ่งมิควรถูกทำลายไปพร้อมกัน ดังหยกที่ปรนอยู่กับกรวดหิน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย กอปรด้วยพระมหาเมตตาเป็นปีที่ตั้ง จึงได้กราบขอพระอนุตตรธรรมเจ้าได้โปรดประทานวิถีธรรม เพืื่อฉุดช่วยคนดี เดชะบุญ พระอนุตตรธรรมเจ้าได้โปรดประทาน วิถีอนุตตรธรรมจึงได้โปรดลงฉุดช่วยผู้คนอย่างกว้างขวางในครั้งนี้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายโปรดประทานพระอักษร โอวาทให้ปรากฏบนกระบะทราย สิ่งศักดิ์สิทธิ์กับคนจึงได้สร้างบุญสัมพันธ์กัน การอาศัยร่างทรงประทานพระโอวาทในกระบะทราย  ก้เพื่อให้ผู้คนกลับใจเป็นคนดี เพื่อจะได้คลี่คลายภัยพิบัติ คนบุญทั้งหลายได้พร้อมกันก้าวสู่หนทางแห่งสัมมาปัญญา บรรลุฝั่งธรรมโดยไว เปลี่ยนโลกโลกีย์ให้เป็นแดนสุขาวดี ทั้งนี้  เป็นความพยายามที่สุดของสิ่งศักดิ์ในอันที่จะช่วยโลกมนุษย์ และเป็นเหตุเบื้องต้นที่วิถีอนุตตรธรรม ได้โปรดฉุดช่วยครั้งใหญ่ทั่วไปในครั้งนี้ 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                @  ในเมื่อวิถีอนุตตรธรรมเป็นหลักญาณที่ถ่ายทอดสู่จิต เหตุใดผู้ศรัทธาจึงล้วนแต่ชาวบ้านคนธรรมดา

        ทั้งนี้เป็นไปตามวาระโอกาส เป็นไปตามวาระกำหนด ก่อนยุคสามสมัย (รัชสมัย เซี่ย ซ้ง โจว) วิถีธรรมถ่ายทอดอยู่กับวรรณกษัตริย์ หลังยุคสามสมัย วิถีธรรมถ่ายทอดอยู่กับวรรณปราชญ์ ยุคปัจจุบันวันนี้ กำหนดกาลของธรรมะสนองต่อชาวบ้านคนธรรมดาทั่วไป วาระของกำหนดกาลที่เป็นเช่นนี้ มิใช่ความสามารถของใครทำให้เป็นไป ยิ่งกว่านั้น ในอนุตตรพุทธระเบียบยังกำหนดไว้ว่า ไม่ฝักใฝ่สถานการณ์ทั่วไป ไม่เกี่ยวข้องการเมือง ไม่ให้แอบแฝงหาประโยชน์ไม่ให้อาศัยธรรมะหากิจกรรมอื่น ๆ ฉะนั้น ญาติธรรมจึงล้วนแต่ชาวบ้านคนธรรมดา

               @  ธรรมนาวาคืออย่างไร มองเห็นได้หรือไม่

        คำว่าธรรมนาวา เป็นคำเปรียบเทียบ แท้จริงคือวิถีธรรม เมื่อไม่มีรูปลักษณ์ให้เห็น แต่เหตุใดจึงว่าเป็นธรรมนาวา เพราะเหตุว่า คนเกิดกายอาศัยอยู่ในโลก ลืมตัวมัวเมาเวียนว่ายในชาติกำเนิดสี่ ชีววิถีหก สร้างเหตุแห่งกรรมผูกพันต่าง ๆ รับกรรมตามเหตุต่าง ๆ ชีวิตจึงเป็นไปตามยถากรรม ไม่มีวันจบสิ้นไไม่มีทางแก้ไขให้หลุดพ้นได้ จึงทุกข์กันยิ่งนัก  เช่นนี้ มิใช่ทะเลทุกข์หรือ หากบำเพ็ญธรรมแล้ว ก้จะเห็นโลกเป็นอนิจจังดังภาพดอกไม้ในกระจก เห็นความร่ำรวยสูงศักดิ์ดังภาพของฟองอากาศ เห็นลูกเมียดังโซ่ตรวนขื่อคาความรัก จะตัดนิวรณ์ ตัดอุปสรรคได้ เช่นนี้ ไม่ใช่เท่ากับขึ้นสู่ธรรมนาวาหรือ

               @  ปัจจุบันประตูธรรมมีมากมาย ล้วนเป็นธรรมนาวาหรือไม่

        ปัจจุบันประตูธรรมมากมาย ไม่อาจบอกได้ว่าล้วนเป็นธรรมนาวา แต่ทว่าแม้จะไม่ใช่ธรรมนาวา ก็เป็นประตูธรรมที่อบรมสั่งสอนให้คนเป็นคนดี ฉะนั้น จึงมีการนั่งฌาณ  ทำสมาธิ  สวดมนต์ภาวนา  มีการแสดงอิทธิฤทธิ์เล่นกับคมหอกคมดาบ ใช้เวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ นา ๆ ฯลฯ  รวมความก็คือ มีทั้งสัมมาวิถีและมิจฉาวิถี มีคำพังเพยว่า "หมุนรอกสามรอบ เข้าได้ไม่ว่าประตูใคร" เปรียบเช่นสาธุชนจะเข้าประตูธรรมใดก็ย่อมได้ แต่ถ้าเข้าประตูทางตรง ก็จะบรรลุเป็นพระพุทธะ ไม่พบประตูทางตรง ก็วุ่นวายไปเปล่า ๆ จึงขึ้นอยู่กับสายตาและบุญวาสนาของแต่ละคน ฉะนั้น ท่านศาสตราจารย์ขงจื้อจึงได้สอนไว้ว่า "ให้ศึกษากว้าง ๆ สอบถามให้รู้จริง นิ่งพิจารณาให้รอบคอบ วิเคราะห์ให้ชัดเจน และบำเพ็ญให้จริงใจ     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

          @  รับธรรมแล้ว กราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่าได้งมงาย

        เคารพบูชา คือความศรัทธาจริงใจ ใครที่ให้คุณแก่เรา มีหรือที่เราจะไม่เคารพตอบด้วยจริยา ฟ้าเบื่องบนประทานหนทาง ไขสัจธรรม เปิดเผยความลับของชีวิตจริง ทำให้เราได้รู้สัจธรรมความเป็นต้ากำเนิดของสรรพสิ่ง  "สัจจะพระผู้เป็นเจ้า" คืออภิภูผู้สูงส่ง เราเทิดทูนว่าเป็นสัจจะพระผู้เป็นเจ้า  พระอนุตตรธรรมมารดา  เป็นพระผู้กำเนิดญาณทั้งมวล  อีกทั้งเป็นพระผู้สร้างต้นตระกูลของกายสังขาร คนเราเกิดมาในโลก หลงลืมธาตุแท้ญาณเดิม ลืมหนทางที่มาจึงเวียนว่ายเกิดตายรับทุกข์ทรมาน ในวัฏสงสาร  อนุตตรพระแม่ ฯ ทรงห่วงใย จึงได้ประทานวิถีอนุตตรธรรม มานำพาฉุดช่วยสาธุชนให้ผู้คนเดินตามหนทางสว่างกลับคืนสู่ภาวะธาตุแท้ญาณเดิม มีหรือที่ได้รับหนทางสำคัญอันเกี่ยวแก่ชีวิตกายตนแล้วจะทำผยองได้ ฉะนั้น การกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็คือตอบแทนพระคุณที่ท่านได้ถ่ายทอดฉุดช่วย อันเป็นการแสดงความศรัทธาจริงใจ ไหนเลยจะเห็นเป็นเรื่องงมงาย

            @   ไม่รู้จักเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ภาวนาอธิษฐานได้หรือ

        จะกราบไหว้ภาวนาอธิษฐาน จำต้องระวังความผิด แก้ไขความผิด มิฉะนั้นจะได้รับโทษจากเบื้องบน ไม่อาจสัมฤทธิผลในการภาวนา ยิ่งกว่านั้น ผู้บำเพ็ญจะเห็นความสำคัญของธรรมะมากกว่าวาสนาตน มองดูฮ่องเต้แต่ครั้งกษัตริย์โบราณ วาสนาสูงส่งเหลือคณา แต่บัดนี้ยังมีใครอยู่ยงที่ตรงไหน เช่นนี้ พระสังฆราชาสมัยที่ 5 จึงดำรัสว่า "ชาวโลกดีแต่จะขอบุญวาสนา ไม่พิจารณาจิตตน หลงงมงาย  วาสนาจะขอได้อย่างไรมา"

             @   การถวายธูปใช้มือซ้ายและปักดอกกลางก่อนคืออย่างไร

        มือซ้ายเป็นมือบุญ ไม่จับมีดเข่นฆ่า ไม่ตบตี ใช้มือซ้ายปักธูป เอาความหมายของความดี  ปักธูปดอกกลางก่อน อันความหมายของสัจธรรมอันยืนยงเป็นหนึ่งเป็นกลางไม่มีสองคือลักษณะธรรม ปักธูปดอกกลางก่อน คือก่อตั้งลักษณะธรรม หนึ่งตรงกลางคือลักษณะธรรม กลางคือตัวเราเป็นหลัก  หากเปรียบเช่นประตูเมือง ถ้าฉันอยู่ในตำแหน่งประตูเมืองด้านทิศตะวันออก ตัวเมืองก็จะอยู่ทางทิศตะวันตก  ถ้าฉันอยู่ทางใต้ ตัวเมืองก็จะอยู่ทางเหนือ แท้จริงไม่ใช่ตัวเมืองเคลื่อนย้าย ที่อยู่ตะวันออกตะวันตกนั้น ฉันเองเป็นผู้ย้าย ใช้กายของฉันเป็นกลาง สรรพสิ่งในฟ้าดินล้วนอยู่ในอาณัติควบคุมของฉัน นอกจากฟ้าดินแล้ว ฉันเป็นใหญ่ในท่ามกลาง ฉันเป็นกลางในท่ามกลาง ฉะนั้น คนจึงมิให้ดูแคลนตนเอง     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                @   มีคำพังเพยว่า "รู้หนึ่งสองสามก็เดินตามเซียนได้" หมายความว่าอย่างไร

        พระอริยเจ้าเหลาจื้อ กล่าวไว้ว่า "ธรรมะ" ( ภาวะอู๋จี๋ ความว่าง )  เมื่อก่อให้เกิดหนึ่ง ( ภาวะไท่จี๋ มีการเคลื่อนไหว )  จึงก่อให้เกิดสอง ( ภาวะอินหยัง ต่างกัน )  สองก่อให้เกิดสาม  สามให้กำเนิดสรรพสิ่งตามมา เป็นปัจยการสืบเนื่อง ความละเอียดแยบยลลึกซึ้งของ " หนึ่่ง "  ( ----- ) ไม่มีคำอธิบายให้ถึงที่สุดได้ ใครที่ได้ความเป็นหนึ่งไว้ มิใช่อริยเมธาหรือว่าอย่างไร ฉะนั้น คำว่า " อวิ่นจื๋อเจวี๋ยจง = ศรัทธารักษาความเป็นกลางนี้ไว้ให้ดี "  คำว่าจงเป็นกลางก็คือความเป็นหนึ่ง ความเป็นหนึ่งนี้ก็คือ วิถีแห่งจิตที่พระอริยเจ้าทุกพระองค์ทรงถ่ายทอดสืบต่อมา  อยากจะรู้รากฐานของความเป็นหนึ่ง พึงศรัทธาใฝ่หาวิถีธรรม หลังจากได้รับธรรมะแล้วจึงจะเข้าใจในความเป็นมาของความเป็นหนึ่งแห่งตน มีคำกล่าวว่า " อรรถาธรรมไม่พ้นตน ตีเหล็กไไม่พ้นฐาน "  พระอริยเก่าก่อนจึงกล่าวไว้ว่า " เรียกร้องความถูกต้องจากตนเองแล้วจะได้เอง "  พระวจนะนี้แน่แท้นัก หนึ่ง คือธาตุแท้จิตตน เมื่ออยู่กับฟ้าเบื้องบนเป็นสัจธรรม  เมื่อมาอยู่ในกายสังขารเป็นจิตภาวะ  จิตภาวะธาตุแท้เป็นหนึ่ง  สองคือพลังลมปราณ  สามคือสังขารร่างกาย  ฉะนั้น จึงกล่าวว่า " รู้หนึ่งสองสามก็เดินตามเซียนได้ "ธรรมะครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง หากสามารถทำตนสอดคล้องกับพลังสร้างสรรค์ในธรรมจักรวาลได้ ไม่ว่าจะขณะสงบหรือเคลี่อนไหวจึงจะได้ความเป็นธรรมะอย่างแท้จริง

                    @   อธิบายให้เข้าใจแล้วจึงให้รับธรรมะไม่ดีหรือ

        ชาวโลกปัจจุบันจิตใจไม่เหมือนเดิม หนทางบาปบุญคุณโทษมีอยู่คู่กัน จำจะต้องพิสูจน์ความมีพุทธสัมพันธ์และปัญญาของคนที่รู้จริงเท็จแล้วจึงถ่ายทอดให้ หากอธิบายให้เข้าใจเสียก่อน จะแยกออกได้อย่างไร อีกทั้งวิถีแห่งจิตที่พระพุทธะอริยะได้สืบทอดต่อมาบรรพอริยะยังมิกล้าแพร่งพรายแก่ใครโดยง่าย นับอะไรกับสามัญชน ดังนั้นจึงกล่าวว่า " วิถีธรรมไม่ถึงกาลอันควรจะไม่โปรด  มิใช่บุคคลอันควรจะไม่ถ่ายทอดให้ " แม้จะกล่าวว่าบัดนี้เป็นยุคโปรดทั่วไปอย่างกว้างขวาง แต่ก็จะต้องมีศรัทธาในการแสวงธรรมเสียก่อน จะต้องทดสอบความจริงใจเสียก่อนจึงจะถ่ายทอดให้ได้ มิฉะนั้นใครเลยจะก้าแพร่งพรายโดยง่่าย หาเรื่องให้ฟ้าปกาศิตโทษตนเอง 

Tags: