collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม ถ้อยแถลงจากผู้เรียบเรียง  (อ่าน 40262 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                             ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม     

                                            ถ้อยแถลงจากผู้เรียบเรียง

        เมื่อเป็นต้นฉบับภาษาจีนอยู่ ข้าพเจ้ารู้สึกหนักใจในการตีความ เพราะค่อนข้างยากและลุ่มลึก  แต่เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว กลับกลายเป็นคำพูดตื้น ๆ ธรรมดา  แม้ท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อจะกล่าวไว้ว่า  " ธรรมะมิใช่กล่าวอ้างได้ด้วยวาจา "  แต่ก็มิอาจใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการแปลที่ไม่สมบูรณ์นี้ได้

         ข้าพเจ้ายังคงต้องกราบขอประทานพระแม่องค์ธรรม ได้โปรดนิรโทษกรรม 
         กราบขอประทานอภัยจากพระอาจารย์จี้กง ในความผิดพลาดบกพร่อง
         กราบขออภัยต่อท่านผู้อ่านทั้งหลาย ที่หวังว่าจะได้รับรู้ความหมายอันลึกซึ้งแยบยลของหนังสือต้นฉบับภาษาจีน ที่แปลออกมาในภาคภาษาไทยเล่มนี้ 
         นอกจากจะเป็นความเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ไม่อาจถ่ายทอดความหมายได้ครบถ้วนแล้ว ข้าพเจ้ายังถือเป็นภาระที่จะพยายามศึกษา ทำความเข้าใจให้ดียิ่งขึ้นต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อจะได้แก้ไขเรียบเรียงให้ละเอียดลึกซึ้งและถูกต้องกว่านี้

                                                                                   ศุภนิมิต

                                                                                  เรียบเรียง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                                   ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม     

                                                   คำนำจากพระพุทธะจี้กง

        เต๋า คือสัจธรรม  ไม่เข้าใจสัจธรรม จะบำเพ็ญธรรมอย่างไร  ฉะนั้น  ก่อนจะบำเพ็ญจึงจำต้องรู้สัจธรรม  วิธีจะเข้าใจสัจธรรมไม่มีอะไร อยู่ที่มีข้อสงสัยให้ถามเท่านั้น  น่าเสียดายชาวโลกล้วนอับอายที่จะลดตัวลงถาม จึงเป็นเหตุให้ยิ่งสงสัย ยิ่งหลงผิด หลงผิดแล้วไม่สำนึกรู้ ห่างไกลไปจากธรรมะ  หนทางใหญ่สัจธรรมตั้งแต่เริ่มโปรดสัตว์ อย่างกว้างขวางเป็นต้นมา คนเดิมที่ได้รับวิถีธรรมมิใช่ไม่มาก แต่จะหาผู้ที่เข้าใจสัจธรรมบำเพ็ญนั้นกลับน้อยดั่งดวงดาวยามฟ้าสางนี่เพราะเหตุใด  ล้วนเกิดจากสงสัยแต่ไม่ถาม ถามแต่ไม่อาจรู้แจ้งนั่นเอง  เหตุด้วยเราเห็นเป็นเช่นนี้ จึงได้เขียนไขตามข้อสงสัย  การตอบแต่ละข้อพยายามอธิบายความหมายชัดเจน ให้คำนิยามเรียบง่าย ในหลายสิบหัวข้อนี้ แม้ไม่กล้ากล่าวว่าสมบูรณ์นัก แต่ก็เพรียบพร้อมในหลักคร่าว ๆ อาจใช้เพื่อประกอบการศึกษาพิจารณาได้  รวมความว่า จุดมุ่งหมายของเรา คือเพื่อให้ผู้บำเพ็ญถ่องแท้ต่อหลักสัจธรรมจากการรู้เห็นนี้  เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้มุ่งบำเพ็ญ  เพื่อคลายข้อสงสัยให้กระจ่างสำหรับผู้ชื่นชมแสวงธรรม

        หากทุกคนทำตามเช่นนี้ได้ แม้ไม่อาจบรรลุจุดสุดยอด ก็ยังสามารถล้างบาปเวรแต่ชาติปางก่อน พร้อมกันพ้นจากทะเลทุกข์ ร่วมสู่สัมมาวิถี ซึ่งเป็นความหวังอย่างยิ่งจากเรา

                                                                    ณ   ปีหมินกั๋วที่ยี่สิบเก้า

                                                             วันพระหนึ่งค่ำ   เดือนสิบสองข้างจีน   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                                  ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม         

                                                ถ้อยแถลงจากนักธรรมแซ่กัว

        ดังได้สดับมาว่า วิถีธรรมของปรมาจารย์ขงจื้อ  เมิ่งจื้อ   เป็นหลักวิถีจริงแห่งจิต เป็นความหมายรวมคำสอนของสามศาสดาไว้ด้วยกัน  ( ศาสนาปราชญ์ขงจื้อ   ศาสนาเต๋าเหลาจื้อ   และศาสนาพุทธ )  เป็นนาวาวิเศษฉุดช่วยชาวโลก  ด้วยเหตุที่ใจคนตกต่ำ แบบแผนดีงามของชาวโลกเสื่อมทราม ก่อให้เกิดมหันตภัย ทำลายชีวิตทั้งหลายอย่างไม่เคยมีมาก่อน  ดังนั้น   พระอนุตตรอภิภูซึ่งทรงไว้ด้วยมหาเมตตา มิอาจปล่อยให้คนดีคนชั่วปะปนกัน  ถูกทำลายทั้งหมด ทั้งหยกและหิน
         จึงโปรดประทานวิถีอนุตตรธรรมอุบัติในมณฑลซันตง เผยแผ่ความหมายแยบยลของจิตสัจธรรม ให้ปรากฏขึ้นใหม่  เมื่ออายุของโลกดำเนินมาได้ครึ่งหนึ่งตามกำหนดกาล   ปราชญ์บัณฑิตคืนชีพในยุคนี้ ปลุกวิถีอริยะ  ประกาศหลักธรรมแท้แต่ต้นเดิม เพื่อเป็นหลักต่อต้านและฉุดรั้งความเสื่อมทราม
         ดุจกลองระฆังค่ำเช้า อันจะปฏิรูปคุณสัมพันธ์การปกครองซึ่งตกต่ำ เพื่อหวังปลุกเร้าคนโง่เขลาให้ตื่นใจ รีบเร่งแก้ไขสภาพอันเสื่อมทราม กล่อมเกลาวัฒนธรรมดีงาม ฟื้นฟูโลกกษัตริย์เหยาซุ่น ให้เจริญใหม่ในวันนี้ เพื่อชีวิตอุดมสุขของประชาราษฏร์ ให้สันติสุขเป็นเอกภาพ ปรากฏขึ้นใหม่อีกครั้งในโลกยุคสุดท้ายนี้  แต่น่าเศร้าที่ชาวโลกส่วนใหญ่ยังคงหลงใหลไม่สำนึก ถูกกิเลสตัณหาครอบงำ แย่งชิงกันเพื่อลาภสักการะ แข่งขันใช้เล่ห์เหลี่ยมกลโกง บัดนี้มีแต่จะเลวลง และแผ่วงกว้างออกไป คุณธรรมความดีแต่ก่อนสูญสิ้น  จนไม่อาจวาดภาพอนาคตของมนุษยชาติได้  เช่นนี้ หากไม่รีบเร่งฉุดช่วยชีวิตนับพัน ๆ ล้าน จะต้องตกอยู่ในหุบเหวของความทุกข์  ตกอยู่ในสังคมเน่าร้าย ที่ไม่มีวันจะใสสะอาดอีกต่อไป
         สัจอนุตตรธรรมลึกล้ำแยบยล แม้ผู้ใดได้สดับก็ยากที่จะเข้าใจได้ตลอด วิถีนั้นก็ไม่ได้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด จึงเกิดความเข้าใจผิด คิดว่าสัจอนุตตรธรรมเป็นมิจฉาวิชา พาให้หลงเชื่องมงาย  ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงซึ่งความลึกซึ้งแยบยลในสัจอนุตตรธรรม จึงทำให้คนทั่วไปเกิดความลังเลสงสัย แม้พระพุทธองค์ หรือ จอมปราชญ์ขงจื้อจะอุบัติ  ณ  บัดนี้  ก็ไม่อาจกระตุ้นให้คนเช่นนั้นตื่นใจได้ในบัดดล
        พระพุทธจี้กงทรงทราบปัญหา ด้วยพระมหาเมตตา จึงโปรดบัญชาให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย แบ่งแยกกันเรียบเรียง และตอบปัญหา ซึ่งพระองค์ได้โปรดประทับทรงแก้ไข  อีกทั้งทรงโปรประทานตอบปัญหาด้วยพระองค์เองสิบกว่าข้อ
        หนังสือเล่มนี้ ใช้เวลาจัดทำอยู่หลายเดือน จึงสำเร็จออกมาเป็นรูปเล่ม ใช้ปกชื่อว่า  ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   (ซิ่งหลี่ซึอี๋)    สาระในเล่มประกอบด้วย  การตอบปัญหาเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนของพระศาสดาทั้งสาม ซึ่งผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจได้โดยง่ายดาย
        เป็นคำตอบที่ไขข้อข้องใจในอนุตตรธรรม และเป็นปาฐกถาธรรมของพระอริยเจ้า ที่มุ่งปลุกใจเวไนยสัตว์โดยแท้   เมื่อเรียบเรียงเป็นรูปเล่มแล้ว  พระอาจารย์ ฯ โปรดบัญชาให้เขียนคำนำ  ข้าพเจ้าด้อยด้วยปัญญาความรู้และโวหาร จึงหวังในความกรุณาจากท่านผู้อาวุโส ได้โปรดชี้แนะจะเป็นพระคุณยิ่ง 

                                                           กัวถิงต้ง

                                         มกราคม   ปีหมินกั๋วที่  29 ( พ.ศ. 2473 )

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                                            ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                                                 ความหมายที่แท้จริงของ " เต๋า "  หรือ ธรรมะ

        การกำเนิดของโลกเราครั้งนั้น ฟ้าดินยังคงคลุกเคล้ารวมกันเป็นกลุ่มของอากาศธาตุ ปราศจากสรรพสิ่ง ไม่มีกลิ่นและสำเนียงใด ๆ มีแต่พลังอันศักดิ์สิทธิ์แยบยลแฝงอยู่ ดังที่จอมปราชญ์เหลาจื้อท่านอนุมานไว้ว่า " ธาตุแท้ของสัจธรรมที่ก่อให้เกิดฟ้่ดิน ซึ่งไม่มีชื่อให้เรียกได้ในบางต้น ขอกำหนดสัญลักษณ์เป็นฐานคือ O วงกลม "  ศักย - พลานุภาพ  ที่ก่อให้เกิดสรรพสิ่ง ซึ่งมีชื่อให้เรียกได้ในภายหลัง ขอกำหนดสัญลักษณ์เป็นฐานคือ -------------- เส้นเหยียด  ทั้งธาตุแท้ของสัจธรรมและศักย - พลานุภาพ ที่มีอยู่ในความว่างเปล่าอันประมาณขอบเขตมิได้นี้เรียกว่า " เต๋า "  หรือ  " ธรรมะ "  ธรรมะกว้างใหญ่ไร้รูป จำต้องอาศัย O วงกลม เป็นสมมุติฐาน
วงกลม O   เป็นภาวะสงบหยุดนิ่งของธรรมะ ก่อนที่จะเหยียดเส้นออกไป วงกลม เป็นสัญลักษณ์ของธรมะอันว่างเปล่า
เส้นเหยียด --------------- เป็นภาวะเคลื่อนตัวของวงกลม
เส้นเหยียด เมื่อแผ่ขยายออกไปจึงกลายเป็นสรรพสิ่งหมื่นแสน เป็นอรรถประโยชน์ที่เกิดจากธรรมะ  เมื่อเส้นเหยียดหดตัว จะรวมไว้ในจุดเดียว(.)  เมื่อจุดยืดขยายจะกลายเป็นเส้นเหยียด -------------- จากวงกลมไปสู่เส้นเหยียด จากเส้นเหยียดหดตัวมาเป็นจุด (.) เป็นขบวนการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนตัวที่ไม่มีขีดจำกัดของธรรมะ เป็นขบวนการเปลี่ยแปลงของการสงบหยุดนิ่งของการเหยียดขยายแผ่ไพศาล และเป็นการรวมตัวของธรรมะ  เมื่อธรรมะขยายจะประจุเต็มเป็นหนึ่งเดียว เมื่อหนึ่งเดียวรวมตัวซ่อนเร้นจะกลายเป็นจุด ธรรมะจึงกว้างใหญ่ ไม่มีอะไรอยู่ภายนอกความกว้างใหญ่ได้  ธรรมะจึงเล็กละเอียด ไม่มีอะไรเล็กกว่าแฝงไว้ในความเล็กได้ ธรรมะจึงมีอยู่ทุกสภาวะ ธรรมะจึงห่อหุ้ม โอบอุ้มให้สรรพสิ่งเจริญอยู่ได้ในสัจธรรม ธรรมะจึงซอกซอนโยงใยให้เกิดความสมดุลระหว่างสรรพสิ่ง ธรมะจึงครอมคลุมรูปธรรมและสรพสิ่งทั้งหลาย  ธรรมะจึงเป็นความว่าง ที่มีอยู่ในสภาวะของความว่างอันวิเศษ  ธรรมะจึงเป็นต้นพลัง ที่กำหนดกำเนิดสรรพสิ่งอันศักดิ์สิทธิ์ต่อมา  ธรมะที่มีอยู่ในธรรมจักรวาลเราเรียกว่า " หลักสัจธรรม "  ธรมะที่มีอยู่ในมนุษย์ เราเรียกว่า" ธาตุแท้ธรรมญาณ "  ธาตุแท้ธรรมญาณ คือคุณสมบัติร่วมของสัจธรรม ธาตุแท้ธรรมญาณ คือสัจธรรมที่มีอยู่ในสรรพสิ่งชีวิตสังขาร
        ทุก ๆ คน มีธาตุแท้ธรรมญาณอันเป็นสัจธรรมแห่งตน แต่ไม่รู้ว่ามีอยู่ แม้นรู้ตัวตนจุดนี้ของตนได้ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ไปสู่ความหลุดพ้น  แต่หากหลงใหลไม่รู้จุดนี้ ก็จะเป็นผีสู่ทางนรก จึงมีคำกล่าวว่า " อ่านจนหมื่นพันคัมภีร์ขาดวิ่น มิสู้ได้รู้จุด "  จุดนั้นเป็นธาตุแท้ธรรมญาณ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ                      คุณธรรมทั้งสี่ ไปสู่หมื่นพันความดีงาม คือ....(คุณธรรมทั้งสี่ แสดงให้เห็นธาตุแท้และความเป็นหนึ่งของสัจธรรม)
เมตตา             เป็นจุดเริ่มต้นของความสงสารเห็นใจเมื่อผู้อื่นทุกข์ยาก
มโนธรรมสำนึก   เป็นจุดเริ่มต้นของความละอายต่อบาป ความอัปยศอดสูทั้งปวง
ปัญญา            เป็นจุดเริ่มต้นของความไม่หลงผิด คิดร้าย อิจฉาริษยา ฯลฯ และรอบรู้การอันควร
จริยา              เป็นจุดเริ่มต้นของความเสียสละ เป็นผู้ให้ ไม่โลภมาก แย่งชิง
        ธาตุแท้ของเมตตา เป็นเส้นตรง ----------- ของมโนธรรมสำนึก  จุดรวมธาตุแท้ของเมตตากับมโนธรรมสำนึก และจุดรวมธาตุแท้ของจริยาปัญญาคือ "สัจจา"  คือสัจธรรม  คือธาตุแท้ธรรมญาณ  ท่านศาสดาจารย์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า  "คนดีขาดสัจจะ มิรู้การอันควร"  หากขาดสัจธรรมหรือธาตุแท้ธรรมญาณแล้ว กายสังขารนั้นย่อมไร้คุณค่า  เส้นโยงแนวตั้ง และเส้นแนวนอน ประกอบกัน แสดงให้เห็นถึงธาตุแท้ของสัจธรรมและศักยภาพของสัจธรรมที่ครอบคลุมจักรวาลอันมิรู้จบ  ดังที่ท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อได้กล่าวไว้ว่า "ธาตุแท้ของธรรมะไม่มีรูปลักษณ์ใด ๆ ให้เห็น แต่มีพลานุภาพก่อให้เกิดฟ้าดิน" "ธาตุแท้ของธรรมะไม่มีจิตสัมพันธ์ให้ยึดเหนี่ยว แต่มีพลานุภาพให้ดาวเดือนเคลื่อนโคจรอยู่ได้" "ธาตุแท้ของธรรมะไม่มีนามกำหนดให้เรียก แต่มีอานุภาพก่อกำเนืดและชุบเลี้ยวสรรพสิ่งได้"  ก่อนจะมีฟ้าดิน ธาตุแท้ของธรรมะมีคุณสมบัติกำหนด กำเนิดฟ้าและสรรพสิ่งอยู่พร้อมมูลแล้ว ภายหลังเมื่อมีฟ้าดินแล้ว ธาตุแท้ของธรรมะก็กระจาย พลานุภาพ ครอบคลุมเสริมสร้างสรรพสิ่งให้เจริญเฟื่องฟูต่อไป  สรุปให้เห็นง่าย ๆ คือ
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     ไม่มีนามรูป
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่      เป็นต้นกำเนิดของฟ้าดิน
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     กำหนดสัญลักษณ์เป็นวงกลม O
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     สงบนิ่ง
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     ลึกซึ้งว่างเปล่า
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     เป็นสูญญตา
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     เป็นหนึ่งเริ่มต้นของสรรพสิ่ง
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     เป็นอมตะแยบยล
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     เป็นหลักในแนวตั้ง
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     เป็นความแน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     เมื่อรวมตัวจะซ่อนเร้น
ธรรมะคือ     ธาตุแท้ที่     สถิต  ณ  จุดญาณทวารในกายสังขาร
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     ก่อให้เกิดสรรพนาม
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     ก่อให้เกิดสรรพสิ่ง
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     กำหนดสัญลักษณ์เป็นเส้นตรง -------------
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     เคลื่อนตัว
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์  วิเศษล้ำ
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     มีอยู่อย่างแยบยล
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     มีมืด  สว่าง  เกิด  ดับ
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     ก่อกำเนิดไม่หยุดยั้ง
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     เป็นความซับซ้อนเช่นแนวขวาง
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     เมื่อกระจายออกจะครอบคลุมจักรวาล
ธรรมะคือ     คุณสมบัติที่     แพร่หลายเป็นหลักธรรมคำสอน

                                                        ตารางเปรียบเทียบธาตุแท้และคุณสมบัติของธรรมะ

                              ธรรมะคือธาตุแท้ที่                                                                     ธรรมะคือคุณสมบัติที่

ไม่มีนามรูป                                                                                            ก่อให้เกิดสรรพนาม
เป็นต้นกำเนิดของฟ้าดิน                                                                              ก่อให้เกิดสรรพสิ่ง 
กำหนดสัญลักษณ์เป็นวงกลม O                                                                    กำหนดสัญลักษณ์เป็นเส้นตรง -------------
สงบนิ่ง                                                                                                 เคลื่อนตัว
ลึกซึ้ง  ว่างเปล่า                                                                                      มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์วิเศษล้ำ
เป็นสูญตา                                                                                             มีอยู่อย่างแยบยล
เป็นหนึ่งเริ่มต้นของสรรพสิ่ง                                                                         จากหนึ่งกระจายไปหมื่นแสน
ไม่มีเสียง  ไม่มีกลิ่น                                                                                  มีมืด  สว่าง  เกิด  ดับ  ฯลฯ
เป็นอมตะ  แยบยล                                                                                   ก่อกำเนิดไม่หยุดยั้ง
เป็นหลักแนวตั้ง                                                                                       เป็นความซับซ้อน  เช่นแนวขวาง
เป็นความแน่นอนที่ไม่เปลี่ยนแปลง                                                                 มีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน
เมื่อรวมตัวจะซ่อนเร้น                                                                                 เมื่อกระจายจะครอบคลุมจักรวาล
สถิต  ณ  จุดญาณทวารภายใน                                                                     เป็นหลักธรรมคำสอนภายนอก ฯลฯ   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                                     ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม 

                                               เต๋ากับคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

        ในคัมภีร์ทางสายกลาง (จงอยง) จารึกไว้ว่า  "เต๋า คือสิ่งซึ่งมิอาจขาดหายจากไปแม้ชั่วขณะ สิ่งที่ขาดหายหรือไปจากได้ ไม่ใช่เต๋า"   เต๋าคือหลักสัจธรรม เป็นวิถีที่ชีวิตจะต้องดำเนินตาม ผู้ใดดำเนินชีวิตไปตามคุณธรรมวิถีเต๋า ก็จะเปรียบได้ดังรถไฟที่แล่นไปตามราง ดังเรือยนต์ที่แล่นไปทางน้ำ ดังเครื่องบินที่บินไปตามเส้นทางอากาศ  แต่หากรถไฟพ้นไปจากราง  เรือยนต์พ้นไปจากทางน้ำ  เครื่องบินพ้นไปจากเส้นทางอากาศ  อันตรายจะเกิดขึ้นมากมาย  ผู้ใดแม้พ้นไปจากวิถีแห่งคุณธรรม เมื่ออยู่ในสังคมก็จะถูกกฏหมายลงโทษ อยู่ในนรกก็จะถูกพยายมลงโทษตกสู่กงกรรม เวียนว่ายในชาติกำเนิดสี่และชีววิถีหก คือ

ชาติกำเนิดสี่   
1. เกิดเป็นตัว
2. เกิดเป็นไข่เปลือกแข็ง
3. เกิดเป็นสัตว์น้ำ
4. เกิดเป็นแมลงต่าง ๆ

ชีววิถีหก คือ 1. เทพเทวา  2. มนุษย์  3. อสูร  4. เดรัจฉาน  5. เปรต  6. ผีนรก
       
       หมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่รู้จบ เป็นทะเลทุกข์สุดประมาณ  ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อกล่าวไว้ว่า "กัลยาณชนพึงยึดมั่นในวิถีธรรมอันดีงาม"   กัลยาณชนจะวิตกต่อการหยุดยั้งของวิถีสัจธรรม แต่มิกังวลต่อความยากจนเฉพาะตน"  เมื่อปราชญ์เอี๋ยนจื่อได้รับแล้ว ท่านก็ประคองรักษาปฏิบัติชั่วชีวิตโดยมิผิดพลาด  ต่อมาเมื่อปราชญ์เจิงจื่อได้รับแล้ว ท่านก็ระมัดระวังรักษาปฏิบัติมิให้บกพร่อง หมั่นสำรวมในสามสถานทุกวันว่า
"การใดหรือที่เรารับทำหรือร่วมด้วย โดยขาดความซื่อสัตย์จงรักภักดี 
เพื่อนคนใดหรือที่เราคบด้วยโดยขาดสัจจะความจริงใจ 
ความรู้ใดหรือที่เราได้รับถ่ายทอดโดยขาดการฝึกฝนทบทวน "

        ดังนี้จะเห้นได้ว่า ธรรมะกับคนมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างแน่นแฟ้น น่าเสียดายที่คนเรามักไม่ใส่ใจ  ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อรำพึงว่า "ใครเลยที่ออกไปได้โดยไม่ผ่านทางประตู  แต่ทำไมจึงไม่ดำเนินตามวิถีนี้"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                                ปัจยการของเต๋า

        คัมภีร์คุณธรรม (เต้าเต๋อจิง)  ของศาสนาเต๋า จารึกไว้ว่า "ธาตุแท้ของเต๋า ไม่มีรูปลักษณ์ใด ๆ ให้เห็น แต่มีพลานุภาพก่อให้เกิดฟ้าดิน"  ยืนยันให้เห็นว่าต้นกำเนิดของฟ้าดินเกิดจากธาตุแท้ของเต๋า เต๋าจึงมีอยู่ก่อนฟ้าดิน ในหนังสือบันทึกพงศาวดาร (สื่อจี้)  จารึกไว้ว่า "ฟ้าเบิกดิถีเกิดมีเมื่อเกณฑ์ชวด และจะพินาศไปเมื่อถึงเกณฑ์จอ"  "แผ่นดินเกิดมีเมื่อเกณฑ์ฉลู และจะพินาศไปเมื่อเกณฑ์ระกา  "คนเกิดมีเมื่อเกณฑ์ขาล และจะพินาศไปเมื่อถึงเกณฑ์วอก"  เมื่อแรกเริ่มที่มีคนเกิดขึ้นในเกณฑ์ขาล จิตใจของคนมีความดีงามเป็นพื้นฐานเดิม เพราะถือกำเนิดจากฟ้าเบื้องบน ความเป็นไปของชีวิตคนขึ้นอยู่กับฟ้าเบื้องบน จึงยังไม่มีเต๋าให้กล่าวอ้าง กำหนดกาลต่อมา คนถือกำเนิดจากคน ความเป็นไปของชีวิตคนขึ้นอยู่กับตนเอง (จะขึ้นสวรรค์ตกนรกตนเป็นผู้กำหนดตน) บรรพกาลครั้งห้าพันกว่าปีก่อน อริยกษัตริย์ฟู่ซีเฝ้าพิเคราะห์ความเป็นไปของฟ้าดินจนรอบรู้กำหนดกาลความแปรผันและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของฟ้าดินที่ดำเนินไปตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ จึงเริ่มขีดเส้นเป็นขีดแรกให้เป็นสัญลักษณ์ของฟ้า จากนั้นก็ขีดเป็นสัญลักษณ์ของดิน  น้ำ  ลม  ไฟ  ภูเขา  หนอง  บึง  ฯลฯ  โดยขีดเส้นยาวสลับกัน เช่น ฟ้า -----  ดิน - - - - - น้ำ       ดังนี้ แสดงให้เห็นถึงความแยบยลลี้ลับของฟ้าดิน และครั้งนั้นเองที่วิถีแห่งเต๋าเริ่มลงมาสู่ชาวโลก  ต่อมาเมื่อถึงยุคของเซวียนเอี๋ยน หรือ ฮวงตี้มหาราช (ประมาณสี่พันปีก่อน) ความเจริญทางวัตถุและวัฒนธรรมก็รุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการสร้างปราสาทราชวัง ผ้าผ่อนแพรพรรณ สร้างอักษรจีน และวางแผนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เป็นกำหนดกาลที่เต๋าได้เริ่มวางแผนพื้นฐานเป็นเส้นทางชีวิต  ต่อจากนั้นก็มาถึงยุคสมัยของมหาราชผู้ทรงคุณธรรมตามลำดับ คือ เหยา  ซุ่น  อวี่  ทัง  อุ๋น  อู่  โจวกง  สืบสายวิถีแห่งเต๋า ต่อมาเป็นพงศาธรรม ถ่ายทอดวิถีแห่งจิตสู่กันโดยตรง ในแต่ละสมัยแต่ละพระองค์เป็นการเฉพาะ   ในยุคนั้น เป็นเกณฑ์กำหหนดธรรมกาลยุคเขียว (ชิงหยังฉี) มีวิถีธรรมเป็นทางตรงโดยสมบูรณ์ ยังไม่มีศาสนาหรือลัทธิอื่นใด   จนกระทั่งถึงสมัยของอิวลี่อ๋อง อ๋องผู้หยาบช้าหลงในกามคุณ อีกทั้งทรราชทั้งห้า คือ ฉีหวนกง  จิ้นอุ๋นกง  ซ่งเซียนกง  ฉินมู่กง  และฉู่จวงอ๋วง  ฮึกหาญตามกันมาแต่ละสมัย จนฐานะฮ่องเต้ที่เคยได้รับการยกย่องว่เป็นบุตรแห่งสวรรค์ (เทียนจื้อ)  ขาดความศักดิ์สิทธิ์ไป  เต๋า หรือวิถีธรรมจึงได้แปรไป โดยผันเข้าสู่ธรรมกาลยุคแดง และกระจายวิถีธรรมออกมาเป็นสามศาสนา คือ ศาสนาพุทธ  ศาสนาเต๋าของเหลาจื้อ  และศาสนาปราชย์ของขงจื้อ ที่เรียกว่าการแบ่งแยกของ "เต๋า"   จอมปราชญ์เหลาจื้อถือกำเนิดมาในโลกนี้ เพื่อเผยแผ่ศาสนาเต๋า ท่านได้โปรดเดินทางไปถึงแคว้นหลู่ แห่งมณฑลซันตง เพื่อถ่ายทอดวิถีธรรมแด่ท่านขงจื้อ  จนมีคำเล่าลือที่บ้านเกิดของท่านขงจื้อว่า  "หลังจากนั้นท่านจอมปราชญ์ขงจื้อก็ชื่นชม จนต้องอุทานด้วยความฉงนว่า "ความสูงส่งของท่านเหลาจื้อประดุจมังกรที่ผงาดฟ้าด้วยลีลาอันล้ำลึกพิศดารโดยแท้"  สุดท้าย ท่านจอมปราชญ์เหลาจื้อก็เดินทางไปทางทิศตะวันตก ผ่านด่านหันกู่กวนเพื่อจะเดินทางไปโปรดสัตว์ในดินแดนทางทิศตะวันตกของจีนต่อไป เมื่อไปถึง พลันเบื้องบนท้องฟ้าของด่านหันกู่กวนก็ปรากฏรัศมีสว่างจ้าเป็นฉัพพรรณรังสีไปทั่ว นายด่านเห็นบุญญาธิการของท่านเหลาจื้อเช่นนั้น จึงกราบวิงวอนขอให้ท่านได้โปรดประทานพระโอวาทไว้เป็นที่ระลึก  ท่านเหลาจื้อจึงได้โปรดเขียนพระธรรมคำสอนเป็นคัมภีร์คุณธรรม (เต้าเต๋อจิง) ด้วยอักษรห้าพันตัว และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาเต๋า
        ท่านจอมปราชญ์ขงจื้อ จาริกไปตามบ้านเมืองน้อยใหญ่ทั้งหลายเพื่อแพร่ธรรมคำสอน กำหนดแบบแผนวัฒนธรรม และระเบียบประเพณี ขัดเกลาโคลงสร้างของกาพย์  กลอน โคลง  ฉันท์ฯ  อบรมชี้แนวทางและให้การศึกษาแก่คนรุ่นหลังตามที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรพจารย์อรรถาธิบายหลักสัจธรรมและวางรากฐานของทฤษฏีที่ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอมตะให้ได้รู้ความวิเศษลึกซึ้ง ซึ่งรวมอยู่ไว้ในคัมภีร์ "มหาสัตถ" (ต้าเสวีย) และ "ทางสายกลาง" (จงยง)  และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาปราชญ์ ท่านขงจื้อได้ถ่ายทอดวิถีอนุตตรธรรมแด่ศิษย์เอก นามว่า "เจิงจื้อ"  สมัยต่อมา เจิงจื้อ ได้ถ่ายทอดต่อไปให้แก่ศิษย์เอกคือ "ปราชญ์เมิ่งจื้อ"  จากสมัยเมิ่งจื้อไปแล้ว ชีพจรของวิถีอนุตตรธรรมก็ดำเนินไปเฟื่องฟูอยู่ชมพูทวีป  จากนั้นวิถีอนุตตรธรรมที่ถ่ายทอดจากจิตจึงได้ทิ้งช่วงการถ่ายทอดในประเทศจีนลง  กาลเวลาได้ล่วงเลยต่อมาอีกหลายสมัย จากสมัยราชวงศ์ฉิน  ฮั่น  จิ้น  ตั้ว  และราชวงศ์ถัง มีผู้แซ่ซร้องสาธุการต่อวิถีอนุตตรธรรมกันมากมาย ซึ่งได้รู้แต่คำเล่าลือ ผู้ที่เข้าถึงและรู้แท้นั้นหามีไม่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 8/10/2011, 20:14 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม

                                ปัจยการของเต๋า

        จนกระทั่งถึงรัชสมัยของราชวงศ์ซ่ง เบื้องบนได้โปรดเบิกวิถีฟ้าใหม่  ดวงดาวทั้งห้า (ทอง  ไม้  น้ำ  ไฟ  ดิน) ได้มาชุมนุมกันในตำแหน่งที่บ่งชี้ชะตาแผ่นดินจีน จากนั้น ท่านซีอี๋ ซึ่งเก็บตัวบำเพ็ญ ณ ฮว๋าซันบรรพตอยู่หลายสมัย จึงได้ปรากฏองค์ออกโปรดสัตว์ แสดงความนัยแห่งวิถีอนุตตรธรรม จากนั้น อริยปราชญ์ ผู้บำเพ็ญเป็นเอกในวิสุทธิวิถีแห่งจิตทั้งห้าท่าน จากสี่ฐานของแผ่นดินก็ปรากฏออกตามลำดับคือ...
ท่านโจวตุนอี๋ แห่งเมืองเหลียนซี
ท่านเฉิงเห่าและเฉิงอี๋  สองพี่น้องแห่งเมืองลั่วหยัง
ท่านจางไจ้  แห่งเมืองกวงจง  และ
ท่านจูซี  แห่งเมืองหมิ่นจง
        จากนั้น หลักธรรมแท้โดยท่านจอมปราชญ์ขงจื้อ ก็ได้อาศัยอริยปราชญ์รุ่นหลังทั้งห้าท่านจรรโลงสืบต่อ และเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  แต่น่าเสียดายที่หมายกำหนดชะตาของท่านทั้งห้ามิได้มาบรรจบสืบทอดพงศาธรรมต่อไป ด้วยในสมัยของท่านจอมปราชญ์เมิ่งจื้อ วิถีธรรมได้เปลี่ยนเส้นทางของการถ่ายทอดไปสู่ชมพูทวีป   ศาสนาพุทธรับช่วงตามกำหนดกาลของเบื้องบน   ดังนั้น  แม้ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จะปรากฏอริยปราชญ์มากมาย แต่ท่านเหล่านั้นก็ได้แต่รับพระธรรมโองการเพียงอรรถาธิบายความหมายแห่งวิถีอนุตตรธรรมเท่านั้น
        พระศากยฯ พุทะเจ้า ได้โปรดพระมหากัสสปอัครสาวกจนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่หนึ่งในศาสนาพุทธ  กาลนั้น  วิถีอนุตตรธรรมซึ่งเป็นหนึ่งเดียวจึงได้แยกออกเป็นศาสนาทั้งสามคือ  ศาสนาพุทธ  ศาสนาเต๋า (ท่านเหลาจื้อ)  ศาสนาปราชญ์ (ท่านขงจื้อ) ซึ่งต่างก็เผยแผ่พระธรรมคำสอนไปในดินแดนภาคพื้นนั้น ๆ และต่างก้ถ่ายทอดหลักธรรมเฉพาะไว้
        ศาสนาพุทธ   ได้ถ่ายทอดเฉพาะองค์สืบต่อมายี่สิบแปดสมัย จนถึงพระโพธิธรรม  ในครั้งราชวงศ์เหลียงอู่ตี้ พระโพธิธรรมได้จาริกสู่ประเทศจีน วิถีสัจธรรมอันแยบยลไม่เป็นที่เปิดเผยก้กลับคืนสู่ประเทศจีนอีกครั้ง เหมือนกระแสน้ำที่ไหลคืนมา  เริ่มแต่พระโพธิธรรมจาริกสู่ประเทศจีน วิถีสัจธรรม ก็เริ่มสืบสายต่อไปไม่หยุดยั้ง  เริ่มแต่พระโพธิธรรมจาริกสู่ประเทศจีน วิถีสัจธรรม ก็สืบสายต่อไปไม่หยุดยั้ง......
จาก พระโพธิธรรม   สู่..
2.   พระสังฆปรินายกเสินกวง
3.   พระสังฆปรินายกเซิงซั่น
4.   พระสังฆปรินายกเต้าซิ่น
5.   พระสังฆปรินายกหงเหยิน
6.   พระสังฆปรินายกเว่ยหล่าง
        จากพระสังฆปรินายกเว่ยหล่างเป็นต้นไป ได้สิ้นสุดการมอบหมายบาตรและจีวรเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอดสืบต่อพงศาธรรม  ในครั้งนั้น สาธุชนได้แบ่งวิถีธรรมออกเป็นสองฝ่าย ตามความเข้าใจของตน   ดินแดนทางทิศใต้  ท่านเว่ยหล่าง  พระธรรมาจารย์สมัยที่หก ถ่ายทอดฯ ปกครองอยู่  เรียกว่าฝ่ายให้ "รู้แจ้งฉับพลัน"   ส่วนทางเหนือนั้นพระธรรมาจารย์เสินซิ่ว ปกครองอยู่  เรียกว่าฝ่ายให้ "บำเพ็ญค่อยเป็นไป"  โดยความจริงแล้ว วิถีธรรมถึงกาลถ่ายทอดสู่ฆราวาส เมื่อท่านเว่ยหล่างได้โปรดท่าน ไป่อวี้ฉัน  และท่าน หม่าตวนหยัง  สืบทอดเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่เจ็ด สืบต่อจากพระองค์
        กาลนั้น เรียกว่า  "วิถีธรรมได้โปรดสู่ชาวบ้าน"  จากพระธรรมาจารย์ไป๋ และ พระธรรมาจารย์หม่า ซึ่งเป็นพระธรรมาจารย์สมัยที่เจ็ดแล้ว ต่อมาก็คือ
8.    พระธรรมาจารย์หลัวอุ้ยฉวิน
9.    พระธรรมาจารย์หวงเต๋ยฮุย
10.  พระธรรมาจารย์อู๋จื่อเสียง
11.  พระธรรมาจารย์เหอเหลียวขู่
12.  พระธรรมาจารย์เอวี๋ยนทุ่ยอัน
13.  พระธรรมาจารย์สวีหวนอู๋  และ พระธรรมาจารย์หยังหวนซวี
14.  พระธรรมาจารย์เหยาเฮ่อเเทียน
15.  พระธรรมาจารย์หวังเจวี๋ยอี
16.  พระธรรมาจารย์หลิงชิงซวี
        ครบสิบหกสมัย  ซึ่งนับเป็นพระธรรมาจารย์ในธรรมกาลยุคแดง   จากนั้น ก็เริ่มวาระธรรมกาลยุคขาว พระศรีอริยเมตตรัยเสวยอายุกัปล์ปกครองธรรมกาล มีพระธรรมาจารย์ลู่ฯ สมัยที่ 17 เป็นปฐมกาล  กาลนั้นวิถีธรรมได้ถ่ายทอดปรกโปรดสาธุชนอย่างกว้างขวาง ความนัยอันแยบยลแห่งวิถีอนุตตรธรรมก็ได้รับการอรรถาธิบายเปิดเผยเป้นครั้งใหญ่   สุดท้ายนี้  พระธรรมาจารย์กงฉัง และ พระธรรมจาริณีจื่อซี  ร่วมกันรับสนองพระภาระบัญชาเก็บงานขั้นสุดท้ายจากเบื้องบน  เริ่มงานปรกโปรด เทพเทวา  สาธุชน  วิญญาณนรก  และในที่สุดคือการรวมทุกศาสนาไว้คืนสู่วิถีธรรมเดียวกัน  ก่อนยุคสามสมัย(ซันไต้)  คือ ราชวงศ์เซี่ยซังและโจว วิถีธรรมอยู่กับองค์ประมุขบ้านเมือง  คุณธรรมบารมีของผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินพระองค์เดียว มีผลต่อจิตใจความดีงามของประชาราษฏร์ทั้งหมด  กาลนั้น  เปรียบดั่งฤดูดอกไม้ผลิ เรียกว่าธรรมกาลยุคเขียว ผู้คนส่วนใหญ่มีจิตใจดี  หลังยุคสามสมัย วิถีธรรมอยู่กับปราชญ์ผู้บำเพ็ญ
        ศาสนาเต๋า   ศาสนาขงจื้อ   และศาสนาพุทธ  เกิดขึ้นตามลำดับ ต่างเผยแผ่คำสอนอยู่ในแต่ละทิศทางภาคพื้นนั้น ๆ  กาลนั้น เปรียบดั่งฤดูร้อน เรียกว่าธรรมกาลยุคแดง ผู้คนมีจิตใจเสื่อมทรามมากขึ้น  บัดนั้น  กาลกำหนดของวิถีธรรมได้ย่างเข้าสู่ปลายกัปล์ นับเป็นยุคสุดท้าย เปรียบดั่งฤดูใบไม้ร่วง (เริ่มจากวันคิมหันต์ ปี พ.ศ. 2472 เป็นต้นมา)  ผู้คนส่วนใหญ่มีจิิตใจเสื่อมทราม  มหันตภัยเกิดขึ้นทั่วไปในโลกหมดสิ้นแดนดิน สันติสุข วิถีธรรมอยู่กับฆราวาส ทุกคนมีโอกาสบรรลุวิถีธรรมสำเร็จเป็นพระพุทธะได้  กาลนี้เรียกว่า ธรรมกาลยุคขาว วิถีธรรมมีแนวทางผันแปรสืบต่อมาดังกล่าวนี้   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 8/10/2011, 20:17 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                            จุดหมายแห่งธรรมปฏิบัติ

        จุดหมายแห่งธรรมปฏิบัติ  มีดังนี้คือ

1.  เคารพฟ้าดิน
2.  รู้จักกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
3.  รักชาติ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
4.  สำรวมตนดีมีจริยธรรม
5.  กตัญญูต่อบิดามารดา เคารพครูบาอาจารย์
6.  สัตย์จริงต่อเพื่อน โอบอ้อมอารีย์ต่อเพื่อนบ้าน
7.  เปลี่ยนแปลงตนให้มีแต่กุศลความดี
8.  รู้จักปฏิบัติในคุณสัมพันธ์ห้า  และคุณธรรมแปด
9.  เชิดชูจุดหมายอันวิเศษในคำสอนของพระศาสดาทั้งห้า
10. ดำเนินตามกรอบการปกครองทั้งสี่ และคุณธรรมพื้นฐานห้า อันเป็นจริยธรรมแต่โบราณมา
11. ชำระล้างจิตใจไม่วิตกมัวหมอง
12. อาศัยกายสมมุติ บำเพ็ญจิตแท้ ฟื้นฟูพุทธญาณอันเป็นธรรมชาติแห่งตน
13. โน้มนำที่สุดแห่งความดีงามของจิตภาวะและจิตวิสัยให้ปรากฏ
14. ดำรงตนอยู่ในธรรมและช่วยให้ผู้อื่นดำรงอยู่ในธรรม
15. เพื่อการบรรลุธรรมแห่งตนและช่วยให้ผู้อื่นได้บรรลุ
16. เพื่อฉุดช่วยให้โลกได้สันติสุข
17. เพื่อแปรเปลี่ยนจิตใจของคนให้ดีงาม โดยหวังความเสมอภาคให้เกิดแก่โลก อันเป็นจุดหมายเฉพาะแห่งธรรมปฏิบัติโดยแท้

               การถ่ายทอด

        ธรรมปฏิบัติดังกล่าวไม่มัเบื้องหลัง  ไม่มีประโยชน์สืบเนื่องทางโลก  ไม่มีองค์การ  ไม่มีดำริมิชอบ  ไม่ขัดต่อการปกครองอันดีงามต่อสังคมใด ๆ เป็นทางกว้าวใหญ่  เปิดเผย  สดใสดังแก้วผนึก เป็นธรรมวิถีอันสว่างไสว  ดังที่ท่านขงจื้อกล่าวไว้ว่า "อบรมสั่งสอนคนทั่วไป โดยไม่แยกชั้นวรรณะ"  และอีกคำหนึ่งที่กล่าวว่า "แต่หากใฝ่ใจในทางผิด ผลภัยก็จะมากมาย"     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                              วัฏจักรมีหรือไม่

        ในวัฏจักรในภาษาจีนใชคำว่า "หลุนหุย"  "หลุน" คือวงล้อรถ  "หุย"  คือเวียนไปรอบวง  ที่เห็นฟ้าเวียนไปรอบหนึ่ง เท่ากับแผ่นดิน (โลก) เวียนไปหนึ่งรอบ ฟ้าดินจึงเปรียบเสมือนโม่หิน ที่โม่เวียนไปบนฐานโม่ ดังนั้น จึงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทั้งสี่ และลมฝนเนื่องกัน  นั่นคือวัฏจักรใหญ่ของฟ้าดิน ทุกวันคืน ตะวันเดือนจะเคลื่อนคล้อยผ่านฟากฟ้าไปหนึ่งรอบ ตะวันเดือนจะส่องแสงสว่างให้แก่พื้นโลกสลับกัน การเวียนไปที่ไม่หยุดยั้งนี้ ทำให้เกิดมีกลางวันและกลางคืนของโลก  นั่นคือวัฏจักรเล็กระหว่างโลกกับตะวันเดือน พลังที่ก่อให้เกิดวัฏจักรของฟ้าดินตะวันเดือน และความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลก็คือ อิน - หยาง  (อิน คือ พลานุภาพที่เป็นลบ เป็นความมืด เป็นความหนาวเย็น ๆ   หยัง คือพลานุภาพที่เป็นบวก เป็นความสว่าง เป็นความร้อน)  วัฏจักรของความเปลี่ยนแปลงคือ เมื่อถึงที่สุดของอินแล้ว  หยังก็จะเริ่มเกิดขึ้น  เมื่อถึงที่สุดของหยังแล้ว อินก็จะตามมา  เช่นเดียวกับสภาวะของขั้วโลกเหนือกับขั้วโลกใต้  เมื่อขั้วโลกใต้อยู่ในมุม 36 องศา  จะอยู่ในสภาวะชัดแจ้งไม่แฝงเร้น  เป็นที่สุดของหยังหรือขั้วหยัง  ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ก่อให้เกิดวัฏจักรของฟ้าดิน  ฉะนั้น  สรรพสิ่งทั้งหลาย ท่ามกลางฟ้าดิน  ซึงอยู่ภายใต้ตะวันเดือน  จึงตกอยู่ในวัฏจักรของการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น  คนเราเกิดมาท่ามกล่างพลานุภาพอันสุขุมของฟ้าดิน เจริญเติบโตขึ้นด้วยคุณวิเศษแห่งพลานุภาพของตะวันเดือน ด้วยกายสังขารที่เป็นภาวะอิน  แต่มีภาวะหยังค้ำชูเสริมสร้างอยู่ ไม่มีขณะใดเลยที่คนเราไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบคุม ของฟ้าและการรองรับของแผ่นดิน  ไม่มีขณะใดเลยที่มิได้ตกอยู่ภายใต้แสงส่องของตะวันเดือน เช่นนี้แล้ว มีหรือที่จะพ้นจากวัฏจักรของโลกนี้ได้ ฉะนั้น ใครก็ตามที่ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับอิน ผู้นั้นก็จะตกอยู่ในภาวะของอิน  ผู้ใดที่ใฝ่ทางสว่างหยัง ผู้นั้นก็จะล่วงพ้นขึ้นสู่ภาวะหยังได้ ตะวันมีภาวะเป็นหยัง  ดวงเดือนมีภาวะเป็นอิน ดวงเดือนปรากฏในเวลากลางคืนเป็นภาวะของอิน ที่สงบนิ่ง ผู้คนจึงต้องเข้าสู่ภาวะสงบนิ่งตามไป เมื่อตะวันพ้นขอบฟ้าเวลาเช้า เป็นภาวะของหยังที่เคลื่อนไหว ผู้คนจึงต้องเข้าสู่ภาวะตื่นตัวทำการทำงาน  สรรพสิ่งที่ดำเนินชีวิตไปตามภาวะของฟ้าดิน จะจบสิ้นภาวะหยังเริ่มภาวะอิน คือเวียนไปสู่ความเป็นผีในความมืด หรือจะจบสิ้นจากภาวะอินเริ่มภาวะหยัง คือเวียนมาเกิดเป็นคนใหม่ในโลกมนุษย์  ความแยบยลของเหตุและผล ที่ทวีขึ้นหรือลดน้อยลงของพลังลบของอินหรือพลังบวกของหยัง เป็นสัจธรรมของวัฏจักรของฟ้าดิน และตะวันเดือน  วัฏจักรชองชีวิตมีการเกิดหกช่องทางคือ เทพเทวา  มนุษย์  อสูร  เปรต  เดรัจฉาน  และผีนรก  มีรูปกำนเิดของการเกิดสี่เหล่าคือเกิดเป็นตัวตน  เกิดเป็นฟองไข่  เกิดในน้ำ  และเกิดในที่อับชื้น   เกิดเป็นคน  มีร่ำรวยสูงศักดิ์  และยากจนต่ำต้อย เมื่อรวยถึงที่สุด ความจนจะเกิด เมื่อจนถึงที่สุด ความรวยจะเกิด  เมื่อสูงศักดิ์ถึงที่สุด ความต่ำต้อยจะเกิด  เมื่อต่ำต้อยถึงที่สุดความสูงศักดิ์จะเกิด สรรพสิ่งที่ถึงที่สุดของภาวะนั้น ๆ แล้ว จะแปรเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม  คนเมื่อถึงที่สุดแล้ว ก็แปรเปลี่ยนเป็นสรรพสัตว์ สรรพสัตว์ก็แปรเปลี่ยนเป็นคน  ชีวิตที่เกิดจากฟองไข่ ก็จะแปรเปลี่ยนไปเกิดเป็นแมลง ในที่อับชื้น   ชีวิตที่เกิดจากที่อับชื้น ก็จะแปรเปลี่ยนไปเกิดเป็นชีวิตที่เกิดจากฟองไข่ วนเวียนจากเกิดเป็นตาย  ตายแล้วเกิดในวัฏจักร  ซึ่งจะเป็นขอบวงกว้างบ้างเล็กบ้าง ดีบ้างชั่วบ้าง  คนบ้างสัตว์บ้าง  เทพเทวาบ้าง  ผีบ้าง  อุปม่ดั่งเข็มนาฬิกาที่เวียนไปเรื่อย ๆ  วัฏจักรนี้จึงเป็นหนทางกลที่ลวงให้หลงวกวน ซึ้งแม้ชายชาตรีวีรชนก็ไม่อาจตีฝ่ากรอบกรงนี้ออกไปได้ ดั่งตอนหนึ่งในพระคัมภีร์ที่ว่า
" อ่านจนวัชร ฯ คัมภีร์ขาดวิ่น
ภาวนาสิ้นมหาเมตตา ฯ สูตร
ปลูกแตงผลที่ได้ยังคงเป็นแตง
ปลูกถั่วก็ได้ถั่ว
แม้มิได้รับรู้จุดนั้นจากพระวิสุทธิอาจารย์
ตราบนานเท่านานยังคงเวียนว่ายต่อไป

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ไขหลักจิตภาวะสัจธรรม   

                  การล่วงพ้นการเกิด - ตาย  คืออย่างไร

        ซุ่นจื้อฮ่องเต่ ซึ่เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชิง ได้ทรงประพันธ์คำกลอนสะท้อนชีวิตไว้บทหนึงเมื่อพระองค์ทรงออกผนวช ว่า

 "เมื่อมาเกิดก็เลอะเลือน   
เมื่อตายก็หลง 
เท่ากับเกิดมาไม่ได้อะไรในโลกนี้   
ก่อนที่ฉันจะเกิด  ใครคือฉัน
หลังจากเกิดมีฉันแล้ว  ฉันคือใคร
เมื่อเติบใหญ่จึงได้รู้ตัวฉันเอง
แต่เมื่อหลับตาเคลิ้มไป  ใครคือฉัน
เพราะฉะนั้น  ไม่มาและไม่ไปจะดีกว่า
ไม่ต้องพาให้วิตกและโศกเศร้า "

        เราจะเห็นได้ว่า วิญญาณนั้นกลัวความเกิด แต่เขาจะไม่เกิดได้หรือ  คนกลัวการตาย  แต่เขาจะไม่ตายได้หรือ   ท่านปราชญ์จวงจื้อ เคยกล่าวไว้ว่า

"อันที่จริงฉันไม่ปรารถนาที่จะเกิด
แต่พลันฉันก็ต้องเกิดมาในโลกนี้
อันที่จริงฉันไม่ปรารถนาที่จะตาย
แต่พลันกำหนดการตายก็มาถึง "

        การวนเวียนอยู่กับการเกิดและตาย ไม่รู้แก่นสารอันแท้จริงของชีวิต เป็นการเดินทางพเนจรอยู่ในเส้นทางของการเกิดตาย ที่เปรียบได้ดั่งทะเลทุกข์อันหาขอบเขตมิได้ ฉะนั้น หากหวังจะหลุดพ้นจากความตาย ให้ใฝ่หาจุดสิ้นสุดของการเกิดเสียก่อน  จะหาจุดสิ้นสุดของการเกิด จะต้องหาวิถีที่พาชีวิตให้ล่วงพ้นจากการเกิดได้เป็นเบื้องต้น  แม้นหากได้พบพระวิสุทธิอาจารย์ ได้รับการชี้นำให้รู้วิถีทางอันไพศาล (วิถีอนุตตรธรรม)  ขอถอนชื่อจากบัญชีในยมโลก จารึกลงทะเบียนไว้ในบัญชีสวรรค์ ก็จะพ้นจากหน้าที่ควบคุมของพญายม พ้นจากเงื้อมมือของยมทูต  กาลนี้ หากแม้มิใช่กำหนดกาลยุคสามสุดท้ายปลายกัปล์ของโลก วิถีสัจธรรมนี้จะยังไม่ถึงการปรกโปรด ซึ่งจะพ้นจากการเกิด - ตาย  นั้นจะยากยิ่งนัก ดังคำกล่าวในคัมภีร์ที่ว่า " เดินย่ำจนรองเท้าเหล็กสึกโหว่ก็หาพบไม่  แต่เมื่อถึงเวลาจะได้ก็ง่ายดายไม่ยากเลย "  เป็นความจริงทีเดียว

Tags: