collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: 桃園明聖經 คัมภีร์อริยะตะวันเดือน ศุภนิมิตแปลและเรียบเรียง  (อ่าน 57219 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                              คัมภีร์อริยะตะวันเดือน   

                                    ภาคผนวก

                         แนะนำพระองค์ บุคคล สถานที่

                         ที่กล่าวอ้างในคัมภีร์โดยสังเขป

                                      ๑

                          กวนอริยมหาราชเจ้า

                            ( กวนเซิ่งตี้จวิน )

         " กวน "  อริยมหาราช

        จากนั้นได้พากันไปพบเจ้าเมือง พอดีเป็นเวลาที่โจรโพกผ้าเหลืองก่อการวุ่ยวาย ทั้งสามจึงรับหน้าที่ปราบโจร ได้รับชัยชนะทุกครั้ง พี่น้องทั้งสาม จึงได้รับพระราชทานแต่งตั้งในหน้าที่สำคัญของบ้านเมือง  "กวน"  มหาราชเจ้า  ได้สร้างเกียรติประวัติกอบกู้ราชวงศ์ฮั่น บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่บ้านเมืองและประชาชนไว้มากมายเกินกว่าคณานับ โดยคุณสมบัติส่วนพระองค์นั้น เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมทุกประการ ตั้งแต่ความเที่ยงธรรม สัตย์จริง จงรักภักดี ปรีช่ญาณหาญกล้าเด็ดเดี่ยว พรั่งพร้อมด้วยคุณธรรมทั้งแปด... นับเป็นยอดอัจฉริยะ ยึดคุณธรรมโดยแท้ ...สุดท้ายในการสร้างวีรกรรมเพื่อบ้านเมือง "กวน"  มหาราชเจ้า  ถูกข้าศึกล้อมไว้ในเมืองไม่เฉิง ข้าศึกพยายามเกลี้ยกล่อมขอให้ยอมแพ้เข้ากับฝ่ายตน กวนมหาราชตอบว่า "ลำไผ่เผาไหม้ได้ แต่มิอาจทำลายข้อแข็งแกร่งตัน"  จุ๊เข่อเฝินอ๋อปู้เข่อหุ่ยฉีเจี๋ย  แสดงถึงมโนธรรม มั่นคงจงรัก เด็ดเดี่ยว หาญกล้า ซึ่งแม้ตัวตายก็มิยอมให้ทำลายคุณธรรมได้เลย  เกียรติคุณล้ำเลิศของ "กวน"  มหาราชเจ้าจึงคงอยู่คู่ฟ้าดินมาเกือบสองพันปี  และทวีความสูงส่งยิ่งขึ้นตามกาลเวลา เบื้องบนทรงประจักษ์ชัดในความจงรักภักดี ความสมบูรณ์สูงส่งด้วยมโนธรรม ความพรั่งพร้อมด้วยคุณธรรมบารมี และปรีชาญาณของ "กวน"  อริยมหาราช  จึงได้โปรดประทานอริยะฐานะตามไปว่า "อี้ฮั่นต้าเทียนจุน  มหาราชฟ้าพิทักษ์ราชวงศ์ฮั่น"   "เอวิ๋นเหิงเซิ่งตี้   บรรทัดฐานอริยราชเจ้า"   "ทงหมิงโส่วเซี่ยง   มหามนตรีศักดิ์ศรีโปร่งใส ปกครองเบื้องฟ้าทักษิณาลัย"  ทางส่วนพุทธเกษตรด้านอัสตะประจิมทิศ ได้โปรดประทานอริยฐานะให้ว่า "เหยินอี้กู่ฝอ  บรรพพุทธากรุณามโนธรรม"   ไก้เทียนกู่ฝอ  บรรพพุทธาปรกหล้า"   ปี ค.ศ.  1864  ตรงกับวันขึ้นศักราชใหม่ปีชวด พระองค์ยังได้รับสนองพระโองการฟ้า ด้วยพระภาระท้าวสักกะเทวราช พระนามว่า "อวี้หวงต้าเทียนจุน ท้าวสักกะเทวราชเจ้า"  และอีกพระนามว่า "เสวียนหลิงเกาซั่งตี้  พระผู้เป็นเจ้าสูงล้ำญาณวิเศษ"   หลังจากที่กวนมหาราชเจ้าบรรลุอริยะแล้ว  พระบุญญาภินิหารปรากฏเกริกก้อง  เป็นที่แซ่ซ้องเคารพยำเกรง ผู้คนต่างเทิดทูนบูชาทั่วหน้าทั้งแผ่นดิน ผู้จะเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลฝ่าคลื่นลมอันตรายเช่นชาวจีนก่อนเก่า ที่พากันมาขึ้นฝั่งไทยทางภาคใต้ทุกจังหวัด บรรพบุรุษรุ่นนั้นล้วนอันเชิญรูปวาดรูปปั้น หรือป้ายพระนามของพระองค์คุ้มภัยมา ไม่เพียงผู้คนทั่วไปเท่านั้นที่เคารพยำเกรง ฮ่องเต้แต่ละราชวงศ์ แต่ละรัชสมัยก็ล้วนทรงทราบพระเกียรติคุณ และสัมผัสได้ในพระบุญญาธิการ จึงต่างถวายพระนามเทิดทูนเพิ่มเติมกันต่อไป

        เบื้องบนโปรดประทานอริยะฐานะ  :

อี้ฮั่นต้าเทียนจุน             มหาราชฟ้าพิทักษ์ราชวงศ์ฮั่น

เอวิ๋นเหิงเซิ่งตี้               บรรทัดฐานอริยราชเจ้า

ทงหมิงโส่วเซี่ยง            มหามนตรีศักดิ์ศรีโปร่งใส  ปกครองเบื้องฟ้าทักษิณาลัย 

        พุทธเกษตรด้านอัสตะประจิมทิศ โปรดประทานพระอริยะฐานะ  : 

เหยินอี้กู่ฝอ                  บรรพพุทธากรุณามโนธรรม

ไก้เทียนกู่ฝอ                บรรพพุทธาปรกหล้า

        รับสนองพระโองการฟ้า   :

อวี้หวงต้าเทียนจุน             ท้าวสักกะเทวราชเจ้า

เสวียนหลิงเกาซั่งตี้            พระผู้เป็นเจ้าสูงล้ำญาณวิเศษ   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            คัมภีร์อริยะตะวันเดือน   

                                    ภาคผนวก

                         แนะนำพระองค์ บุคคล สถานที่

                         ที่กล่าวอ้างในคัมภีร์โดยสังเขป

                                      ๑

                          กวนอริยมหาราชเจ้า

                            ( กวนเซิ่งตี้จวิน )

         " กวน "  อริยมหาราช

         มีอยู่พระนามหนึ่งที่ยาวถึงยี่สิบหกตัวอักษร  คือ  "จงอี้ เสินอู่ หลิงอิ้ว เหยินอย่ง เอวยเสี่ยน ฮู่กั๋ว เป่าหมิน จิงเฉิง ซุยจิ้ง อี้จั้น เซวียนเต๋อ กวนเซิ่งต้าตี้"  แปลตามความหมายของตัวอักษร พอจะได้ความดังนี้ว่า "พระผู้จงรักภักดีมโนธรรม บุญฤทธิ์ หาญยุทธ ศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง การุณย์แกล้วกล้า เดชาเกริกก้อง ปกป้องบ้านเมือง คุ้มครองประชา วิเศษศรัทธา สุขุม มั่นคง ดำรงกอบกู้รักษา ระบือบารมีฮั่น "กวน" อริยมหาราชเจ้า"  พระนามของมหา
ราชเจ้า ยังมีอีกมากมาย ประชาชน ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองรักษาจากพระองค์ ได้ถวายสักการะนามด้วยสำนึกในพระมหากรุณา ฯ ฮ่องเต้ในรัชสมัยต่าง ๆ
ก็ได้ถวายสักการะนามเทิดทูนตามไปอีกมากมาย ซึ่งจะแสดงไว้บางส่วนดังนี้...

        ฮ่องเต้แต่ละรัชสมัย ถวายราชสักการะนามเทิดทูนตามไปอีกดังนี้

1.   เจ้าเมืองโซ่วถิงราชวงศ์ฮั่น

2.   เจ้าเมืองโซ่วถิงแม่ทัพหน้าราชวงศ์ฮั่น

3.   เจ้าเมืองสุขุมเกรียงไกร

4.   เทพเจ้ากาลามะ

5.   ป้ายหน้าศาลบูชาธารหยก  " เกริกก้องวีรชน "

6.   เจ้าปู่ปกปักจงรักภักดี

7.   กัลยาณราชเจ้าเทิดสันติสุข

8.   เจ้าเมืองยุทธาสงบ

9.   เจ้าเมืองมโนธรรมหาญกล้าสงบ

10.   เจ้าเมืองหาญกล้าสุขุมยุทธาสงบ

11.   เจ้าเมืองหาญกล้าสุขุมมโนธรรม

12.   เจ้าเมืองหาญกล้าสุขุมมโนธรรมยุทธาสงบปรีชา

13.   เจ้าเมืองศักดิ์สิทธิ์มโนธรรมยุทธาสงบปรีชากอบกู้

14.   เจ้าเมืองโซ่วถิงราชวงศ์ฮั่น

15.   เจ้าเมืองหาญกล้าสุขุม มโนธรรมยุทธา สงบ ศักดิ์สิทธิ์ ปรีชากอบกู้

16.   พระเจ้ากวนราชวงศ์ฮั่นเมืองโซ่วถิง

17.   ป้ายหน้าศาลบูชา  " พระเกริกก้องป้องภัย "

18.   เหนือป้ายประตูวีรชนสถาน  " มโนธรรมวีรชน "  และ  " ปรีชาวีรชน "

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                              คัมภีร์อริยะตะวันเดือน   

                                    ภาคผนวก

                         แนะนำพระองค์ บุคคล สถานที่

                         ที่กล่าวอ้างในคัมภีร์โดยสังเขป

                                      ๑

                          กวนอริยมหาราชเจ้า

                            ( กวนเซิ่งตี้จวิน )

         " กวน "  อริยมหาราช

19.   มหาราชเจ้า  จอมฟ้าสยบมารสามโลก  เดชานุภาพสะเทือนไกล  กวนอริยราชเจ้า

20.   จอมฟ้ามหาราชเจ้า  ทิพยธาตุศักดิ์สิทธิ์เจิดจรัสพิทักษ์ฮั่น

21.   ฮ่องเต้ทรงบัญญัติวันสักการะบูชาให้ในฤดูชุน - ชิว

22.   จงรักภักดีมโนธรรมบุญฤทธิ์ กวนอริยมหาราชเจ้า

23.   มหาราชเจ้าสมานฟ้าสยบมาร

24.   ฮ่องเต้ทรงสถาปนาบรรพบุรุษย้อนต้น

        ทวด   :   เจ้าปู่เจิดจรัสชัชวาล

        ปู่      :   เจ้าปู่โรจนอุดม

        บิดา   :   เจ้าปู่เสริมส่งจงรักภักดี

25.   ฮ่องเต้สถาปนาบุตรหลานตามมา  เป็นบัณฑิตทั่วถ้วน

26.   ภราดรเจ้าแห่งซันซี

27.   จงรักภักดีมโนธรรม  บุญฤทธิ์หาญยุทธ  ศักดิ์สิทธิ์ปกป้อง  กวนอริยมหาราชเจ้า

28.   จงรักภักดีมโนธรรม  บุญฤทธิ์หาญยุทธ  ศักดิ์สิทธิ์ปกป้อง  การุณย์หาญกล้า  กวนอริยมหาราชเจ้า

29.   จงรักภักดีมโนธรรม  บุญฤทธิ์าญยุทธ  ศักดิ์สิทธิ์ปกป้อง การุณย์หาญกล้า เกริกก้องเดชา กวนอริยมหาราชเจ้า

30.   จงรักภักดีมโนธรรม บุญฤทธิ์หาญยุทธ ศักดิ์สิทธิ์ปกป้อง การุณย์หาญกล้า เกริกก้องเดชา ป้องเมืองคุ้มราษฏร์ กวนอริยมหาราชเจ้า

31.   จงรักภักดีมโนธรรม บุญฤทธิ์หาญยุทธ ศักดิ์สิทธิ์ปกป้อง การุณย์หาญกล้า เกริกก้องเดชา ป้องเมืองคุ้มราษฏร์ วิเศษศรัทธา สุขุมมั่นคง  กวนอริย

         มหาราชเจ้า   

32.   จงรักภักดีมโนธรรม บุญฤทธิ์หาญยุทธ ศักดิ์สิทธิ์ปกป้อง การุณย์หาญกล้า เกริกก้องเดชา ป้องเมืองคุ้มราษฏร์ วิเศษศรัทธา สุขุมมั่นคง  ดำรงกอบ

         กู้รักษา  กวนอริยมหาราชเจ้า   

33.   จงรักภักดีมโนธรรม บุญฤทธิ์หาญยุทธ ศักดิ์สิทธิ์ปกป้อง การุณย์หาญกล้า เกริกก้องเดชา ป้องเมืองคุ้มราษฏร์ วิเศษศรัทธา  สุขุมมั่นคง  ดำรงกอบ

        กู้รักษา  ระบือบารมีฮั่น  กวนอริยมหาราชเจ้า

        และพระนามอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งที่เป็นทางการ และที่ถวายเรียกขานจากชาวบ้าน ด้วยจิตสำนึกในพระมหากรุณาบารมีปรกแผ่  ดาบจันทร์เสี้ยว อาวุธประจำพระองค์กวนอริยมหาราชเจ้า

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            คัมภีร์อริยะตะวันเดือน 

                                   ภาคผนวก

                  ๒  จางอริยะ  พระวิชญรุจน์กัลยาณราชเจ้า

                            (จางเซิ่ง  เอวิ๋นซังตี้จวิน)

        ตำนานโบราณกล่าวว่า จางอริยะพระวิชญรุจน์กัลยาณราชเจ้า เป็นเทพพิทักษ์เกี่ยวกับด้านอักษรศาสตร์ และ วรรณกรรม  คุ้มครองดูแลบัณฑิตหลวง เป็นที่เคารพบูชาในพระฐานะสูงส่งมาก โดยเฉพาะในศาสนาเต๋า ในตำนานทิพยประวัติเซียน จารึกไว้ว่า " จางอริยะพระวิชญรุจน์กัลยาณราชเจ้า ทรงอำนวยการปกครองเซียนทั้งมวลในสัพพโลกเบื้องบน ท่ามกลางโลกมนุษย์ ทรงอำนวยการวาสนา เคราะห์ภัย อายุขัยของมนุษย์ ในเบื้องล่าง ทรงอำนวยการนรกภูมิสิบแปดขุม สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง  ฮ่องเต้ทรงถวายราชสักการะเทิดทูนนามตามไปว่า "พระเจ้าปรีชาญาณเกริกก้อง   อิงเสี่ยนอ๋วง" ราชวงศ์เอวี๋ยน ถวายราชสักการะนามเทิดทูนเพิ่มเติมเป็น "กัลยาณราชเจ้าปรีชาญาณเกริกก้อง"  วันเฉลิมทิพยชันษาคือ สามค่ำเดือนสองข้างจีน ในพงศาวดาร "นิรมานบันทึก  ฮว่าซู"  จารึกพระประวัติที่พระองค์ทรงประทับทิพย์ญาณ โปรดมากล่าวขานเองว่า " ...เราอุบัติสู่โลกนี้อีกครั้งเมื่อต้นราชวงศ์โจว เป็นชาติที่เจ็ดสิบสาม  สิบเจ็ดชาติเป็นมหามนตรี  ชาติที่ผ่านมา ถืออุบัติทางทิศตะวันตกของเมืองเอวี้ย  ทางใต้ของเมืองสุย  ในสกุลแซ่จาง  นามเอี้ย  นามรอง พังฟู  อีกนามว่า จางซั่นซวิน  เราเป็นลูกกตัญญู ภายหลังได้ย้ายไปอยู่เมืองจื่อถง เคยรับราชการเป็นนายทหารราชวงศ์จิ้น พลีชีพในสงคราม ชาวเมืองสู่ สร้างศาลบูชาสักการะให้"  ในสมัยราชวงศ์ถัง จางอริยะได้แสดงบุญญาธิการใหญ่หลายครั้ง พระเจ้าถังเสวียนจงฮ่องเต้  ได้ถวายราชสักการะนามเทิดทูนตามไปว่า "มุขมนตรีเบื้องซ้าย จั่วเฉิงเซี่ยง"  พระเจ้าถังซีจง ได้ถวายราชสักการะนามเทิดทูนตามไปอีกว่า "เจ้าเมืองกอบกู้อยู่สุข  จี้ซุ่นอ๋วง"  มาถึงราชสมัยราชวงศ์ซ่ง บ้านเมืองให้ความสำคัญต่อการเชิดชูบัณฑิต นักศึกษาหลวง ดังนั้น ทุกแห่งหน จึงจัดพิธีสักการะบูชาเทพเจ้าผู้ปกปักรักษากันอย่างเอิกเกริกคึกคัก  โดยเฉพาะที่ศาลบูชา "จางเอี่ยจื่อ"   เอวิ๋นชัง  วิชญรุจน์"  ที่เมืองสู่ ซึ่งจางเอี่ยจื่อ ก็ได้แสดงบุญญาธิการใหญ่ให้ประจักษ์อีกมากมาย  ต่อมา  ท้าวสักกะเทวราชเจ้า  อวี้หวงต้าตี้ โปรดให้พระองค์รับพระภาระปกครองทิพย์ตำหนัก ดวงดาววิชญรุจน์  เอวิ๋นชังซิงเสิน อำนวยการยศสักดิ์ของชาวโลก  รัชสมัยเอวี๋ยนเหยินจง  ฮ่องเต้ถวายราชสักการะนามเทิดทูนเพิ่มเติมตามไปอีกว่า "กัลยาณราชเจ้า เทิดศักราชเบิกทางปัญญาวิชญรุจน์ ลิขิตยศศักดิ์จรรโลงกรุณาธรรม"  ฝู่เอวี๋ยนไคฮว่าเอวิ๋นชังซือลู่หงเหยินตี้จวิน  ในแผ่นดินจีนตามถิ่นที่ต่าง ๆ ได้สร้างศาลบูชากัลยาณราชเจ้าวิชญรุจน์ไว้มากมาย ตั้งแต่ก่อนเก่านานมา เป็นปูชนียสถานที่ระลึกสำคัญและเป็นสถานที่สักการะบูชาพระองค์วิชญรุจน์  พระพักตร์ของวิชญรุจน์เจ้าที่ทุกแห่งสร้างไว้  จะเป็นเช่นเดียวกันคือ เอิบอิ่มเต็มกว้างอย่างผู้ทรงปัญญา ทรงพาหนะลาสีขาว  มีทิพย์กุมารขนาบสองข้าง ข้างหนึ่งนามว่า "ทิพย์กุมารฟ้าหนวก  เทียนหลง"   อีกข้างหนึ่งนามว่า "ทิพย์กุมารแผ่นดินใบ้   ตี้อย่า"  เป็นปริศนาธรรมล้ำลึกให้ได้คบคิดกัน  หลังจากผ่านการเวลามาเนิ่นนาน ผ่านการผันผวนทางการปกครองบ้านเมือง มามากมายแล้ว  ปัจจุบันที่มณฑลซื่อชวน     อำเภอจื่อถง   ภูเขาชีฉวี่  ยังมีศาลบูชาพระองค์วิชญรุจน์เก่าแก่คงเหลืออยู่หนึ่งหลัง ภายในศาลบูชาเก็บรักษาคัมภีร์ธรรม และตำนานดั้งเดิมล้ำค่าไว้หลายชุด

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            คัมภีร์อริยะตะวันเดือน 

                                 ภาคผนวก

                        ๓  มหาราชเจ้าจางเซียน

                               ( จางเซียนต้าตี้ )

            มหาราช  " จางเซียน "

        เป็นผู้ติดตามอารักขา "กวนอริยมหาราชเจ้า พระองค์หนึ่ง สังกัดปราสาทฝ่ายซ้ายของพระองค์วิชญรุจน์ สำแดงรูปกายเจ็ดสิบสองพระภาคตามความเหมาะสมต่อการฉุดช่วยปราบปราม เบื้องบนโปรดประทานแต่งตั้งให้เป็น "จางเซียนเจ้าฟ้าอริยะระดับเก้าเทิดศักราชเบิกทาง ปัญญาญาณศักดิ์สิทธิ์ มหาราชแห่งซีฉวี่ "   จิ่วเที่ยนฝู่เอวี๋ยนไคฮว่าหลิงอิ้งจางเซียนต้าตี้ ซีฉวี่ อวี้เซิ่งเทียนจุน   ทำหน้าที่จัดการประทานบุตร และปกป้องรักษามารดาที่คลอดบุตรวิบาก  วันเฉลิมอริยชันษาของพระองค์คือ ยี่สิบสามค่ำเดือนสิบเอ็ด ในปทานุกรมจีนฉบับหลวงจารึกว่า "จางเซียน  ตำนานกล่าวว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่โปรดประทานบุตร ฉลองพระองค์อย่างผู้สูงศักดิ์สง่างาม สะพายคันธนู  จางเซียน  แซ่จาง  นามเอวี่ยนเซียว  เป็นชาวเมืองเหมยซัน  ในสมัยอู่ไต้  พระองค์ท่องเที่ยวภูเขาชิงเฉิงซัน   ได้รับวิถีธรรมจากผู้วิเศษ ได้รับธนูวิเศษจากผู้เฒ่าสี่นัยน์ตา เป็นเครื่องป้องกันโรคระบาด อีกทั้งใช้ขับไล่เภทภัยต่าง ๆ ได้ จึงมีฤทธานุภาพปราบชั่วร้าย ขจัดอัปมงคล กำราบคนเลวทราม       

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           คัมภีร์อริยะตะวันเดือน 

                                ภาคผนวก

                    ๔  จอมฟ้ากัลยาณราชเจ้าสกุลหวัง

                            (หวังเทียนจวิน)

        จอมฟ้ากัลยาณราชเจ้า หวังเทียนจวิน  แซ่หวัง  นาม ซั่น  หรือท้าวอัสนีบาตเหลยกง   ทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดบาปทั่วไป ปกปักรักษาระเบียบวินัย พิฆาตมารภัย จอมฟ้ากัลยาณราชเจ้า มีพระพักตร์สีแดง มีสามพระเนตร  พระวรกายหุ้มเกราะ ถือแส้  สาธุชนนิยมสร้างรูปของพระองค์อันเป็นลักษณะน่าเกรงขามไว้ที่ประตูเชิงเขา แสดงถึงฤทธานุภาพน่าคร้าม รัชสมัยอย่งเล่อ  (ค.ศ. 1403)  ฮ่องเต้ทรงถวายสักการะนามเทิดทูนว่า "ทิพยกัลยาณราชเจ้ามหาคุณาคุณ"  หลงเอิาเจินจวิน  อีกทั้งสร้างศาลบูชา ชื่อศาล "แม่ทัพฟ้า  เทียนเจี่ยงเมี่ยว"  ไว้ให้สาธุชนได้เคารพบูชา  รัชสมัยเซวียนจง  ปีเซวียนเต๋อ  (ค.ศ. 1426)  เปลี่ยนชื่อจากศาลบูชาเป็น  "วัดทัศนาบารมีเพลิง   หั่วเต๋อกวน"  มีพิธีสักการะบูชาใหญ่ทุกวันสิ้นปี  เรื่อยไปจนถึงวันต้นปี

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             คัมภีร์อริยะตะวันเดือน 

                                  ภาคผนวก

                                     ๕ 

                                 ขุนพลโจว

                               (โจวเจียงจวิน)

        โจวซัง  ขุนพลเอกในสมัยสามก๊ก เป็นทหารเอกของ " กวน "  อริยมหาราชเจ้า  รูปปั้นที่แสดงพระลักษณ์ไว้คือ หนวดแข็งปานเหล็ก  ฟันขาวดั่งเงิน  หน้าดำปากแดง  ทำหน้าที่ตรวจสอบบาปบุญ  สอดส่องชาวโลก  เบื้องบนประทานพระทิพยฐานะเป็น "มหาราชฟ้าแกร่งตรงจงรักหาญกล้า   กังจื๋อ
จงอย่งต้าเทียนจุน"  ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่า ขุนพลโจวซัง เป็นชาวเมืองผิงหลู่ เดิมทีคือแม่ทัพนามว่า  "จางเป่าเจี้ยง"  ภายหลังได้พบกับกวนกง ที่ภูเขาอั้วหนิวซัน  จึงติดตามอารักขาเรื่อยมา  ครั้งหนึ่ง ในการสู้รบที่เมืองฝันเฉิง  ได้สร้างเกียรติประวัติจับตัวแม่ทัพได้โดยละม่อม ต่อมากวนกงมอบหมายให้รักษาการอยู่ที่เมืองไม่เฉิง  กวนกงเองออกทัพปราบศึก แต่ต้องประสบภัย ขุนพลเอกโจวซัง ได้สดับข่าวร้ายของเจ้านาย ด้วยความจงรักภักดี  จึงพลีชีพตายตาม ค.ศ. 1102  พระเจ้าซ่งฉงหนิงฮ่องเต้ ถวายราชสักการะนามเทิดทูนตามไปว่า  "แม่ทัพเดชาสงบศึก"   เอวยหนิงเจียงจวิน   ค.ศ. 1356  ถวายเพิ่มชึ้นเป็น "เจ้าปู่เดชาระบือจงรักภักดีหาญกล้า"  เอวยเซวียนจงอย่งกง                 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            คัมภีร์อริยะตะวันเดือน 

                                  ภาคผนวก

                                     ๖

                   ราชบุตรกวนอริยราชเจ้า

                       (กวนเซิ่งไท่จื่อ)

        ราชบุตรกวนอริยเจ้า คือ บุตรชายคนโตของพระองค์กวนอริยมหาราชเจ้า นามเดิม เผิง  นามรองถั่นจือ  ถือกำเนิดในวันสิบสามค่ำเดือนห้่  ค.ศ. 178 ราชบุตรกวน ติดตามบิดาบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่บ้านเมืองตลอดมา ตั้งแต่เริ่มรุ่นจนถึงอายุสี่สิบสองปี จึงพลีชีพในการสู้รบปราบอริราชศัตรู กอบกู้บ้านเมืองพร้อมกับบิดา  ราชบุตรเป็นลูกกตัญญู เคียงคู่บิดาอยู่ซ้ายขวา เอาชีวิตเข้าแลก ปกป้องบิดามานับครั้งไม่ถ้วน ในปีค.ศ. 1102 รัชสมัยซ่งฉงหนิง ปีที่หนึ่ง ได้รับการสถาปนาถวายสักการะนามพร้อมกับขุนพลโจวซัง  ว่า "เจ้าเมืองยทธาศักดิ์สิทธิ์  อู่หลิงโหว"  ในปีค.ศ. 1123  เพิ่มเติมคำว่า "เดชาเกริกก้อง เอวยเสี่ยน"  เป็น  "เดชาเกริกก้องยุทธาศักดิ์สิทธิ์"  ปีค.ศ. 1569 ได้รับสถาปนาถวายราชสักการะนามเทิดทูนตามไปอีกว่า "เจ้าเมืองสุดกำลังจงรักภักดี เจี๋ยจงอ๋วง"  ฝ่ายเทวสถานเทิดทูนบูชาว่า "มหาราชฟ้าระดับเก้าเดชาเกริกก้องบุญญาปรากฏ  จิ่วเทียนเอวยหลิงเสี่ยนฮว่าต้าเทียนจุน" อีกทั้งเนื่องด้วย "กวนอริยมหาราชเจ้า " ผู้บิดา  ทรงดำรงพระอริยฐานะ เป็น ท้าวสักกะเทวราชเจ้า (เง็กเซียนฮ่องเต้ หรือ พระอินทร์ตามที่เรียกกันคุ้นเคยมา)  ดังนั้น บุตรในพระองค์จึงได้รับการเทิดทูนตามไปด้วยว่า "ราชบุตร ไท่จื่อ" ปัจจุบัน  "ราชบุตรกวนอริยเจ้า" ทรงรับผิดชอบช่วยงานเบื้องทักษิณาลัย หนันเทียน ในพระอริยฐานะ "อริยเจ้าวิชญะพิจารณา  เอวิ๋นเหิงเซิ่งตี้" 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             คัมภีร์อริยะตะวันเดือน 

                                  ภาคผนวก

                                     ๗ 

                                 เฉาเชา

                                 ( โจโฉ ) 

        เฉาเชา  หรือโจโฉ   เกิด  ปีค.ศ. 155  ถึงแก่กรรม  ปี ค.ศ. 220  รวมอายุหกสิบห้าปี  เฉาเชานามเมิ่งเต๋อ  แซ่สกุลจริง  เซี่ยโหว แต่กลับใช้แซ่สกุลของขุนนางเฉาเถิง  ที่เป็นบิดาบุญธรรมของบิดาตน เฉาเชามีนิสัยหวาดผวาระแวงภัย ระวังตัวกลัวศัตรูอยู่ทุกขณะ ตั้งแต่เยาว์วัย เป็นผู้มีเชาวน์ปัญญารู้จักหาโอกาสสร้างอำนาจแก่ตน จนได้ชื่อว่าเป็น "ขุนนางปกครองยอดประสิทธิภาพ กังฉินทรราชผู้ก่อการวุ่นวายไปทุกแห่ง"  จื้อซื่อจือเหนิงเฉิน  ล่วนซื่อจือเจียนสยง   เฉาเชา เป็นดาบสองคมของแผ่นดิน   ความฮึกเหิมลืมตัว ใคร่เป็นใหญ่ จึงก่อทุกข์แก่ภัยบ้านเมืองและผู้คนไว้ใหญ่หลวง ภายหลังต่อมาบุตรของเฉาเชาชิงบัลลังก์ฮั่นขึ้นครองราชย์ ได้ยกย่องบิดาขึ้นเป็น "ยุทธราช  อู่ตี้"  สร้างศาลบูชาชื่อว่า "ศาลปิตุลา  ไท่จู่เมี่ยว"   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             คัมภีร์อริยะตะวันเดือน 

                                   ภาคผนวก

                                       ๘ 

                               ข่งหมิงจูเก่ออู่โหว

                                   (ขงเบ้ง)

        เจ้าเมืองยุทธาจูเก่อ      จูเก่ออู่โหว   นาม  เลี่ยง   นามรอง  ข่งหมิง    คนทั่วไป มักรู้จักท่านในนามขงเบ้ง  หรือ  ทหารนักปกครองยอดยิ่งในประวัติศาสตร์  บทประพันธ์  "หัวใจในสนามรบ    ชูซือเปี่ยว"   ที่ท่านเขียนไว้ เป็นคำพูดที่เรียบง่ายจริงใจ เที่ยงแท้  แสดงออกถึงความจงรักภักดีสุดชีวิติจิตใจ  ด้วยพลานุภาพที่ตรงต่อฟ้าดิน ทุกถ้อยคำทำให้ผู้อ่านชะงักงัน ตื้นตันร่วมอยู่กับความรู้สึกของจิตสำนึกอันสูงส่งของท่าน  ความตอนหนึ่งที่ท่านกล่าวแก่เจ้านายองค์น้อย (ราชบุตรของเล่าปี่)  อันแสดงถึงความซื่อสัตย์จงรักภักดีตลอดมาและตลอดไปว่า "...วันที่ข้าพเจ้าตาย ภายในบ้านจะไม่ให้ทรัพย์สิ่งใดเกินมี  ภายนอกบ้านก็จะมิให้มีสินทรัพย์นับได้เลย ข้าพเจ้าจะมิผิดต่อเจ้าเหนือหัวแม้แต่น้อย..."  ข่งหมิงสิ้นอายุขัยในค่ายทหาร เนื่องจากตรากตรำสังขารจนเกินกำลังด้วยอายุเพียงห้าสิบสี่ปี  ท่านไม่ได้เอาอะไรของแผ่นดินไว้ให้แก่ลูกหลานและตัวของท่านเองเลย   บุตรและหลานของท่านนามว่า  จัน  กับ  ซั่ง   ก็พลีชีพเพื่อชาติบ้านเมืองเช่นเดียวกัน  รูปและศาลบูชาของท่าน มีผู้สร้างไว้มากมายหลายแห่งและทุกสมัย สำหรับผู้ซาบซึ้งเทิดทูนคุณธรรม สักการะนามที่ท่านได้รับแต่ละรัชสมัย  อาทิ  "เจ้าเมืองยุทธาจูเก่อ      จูเก่ออู่โหว"   "เจ้าเมืองยุทธาศักดิ์สิทธิ์       อู่หลิงอ๋วง"   "เจ้าเมืองเดชาเกรียงไกรจงรักภักดียุทธาปรากฏศักดิ์สิทธิ์การุณย์กอบกู้       เอวยเลี่ยจงอู่เสี่ยนหลิงเหยินจี้อ๋วง"    "พระบูรพาจารย์เจ้าเมืองยุทธา    อู่โหวเซียนซือ"   ภายหลัง    ท้าวสักกะเทวราชโปรดประทานพระอริยฐานะให้ว่า  "มุขมนตรีหลักชั้นฟ้า "จูเก่อ" ทิพยกัลยาณเจ้า     เทียนซูซั่งเซี่ยงจูเก่อเจินจวิน "