collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ลังกาวตารสูตร  (อ่าน 22385 ครั้ง)

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
ลังกาวตารสูตร
« เมื่อ: 5/04/2011, 20:23 »
     
ชื่อหนังสือ  ลังกาวตารสูตร
หนังสือร้องทุกข์ของสัตว์เดรัจฉาน
.
ISBN :  *
ผู้เขียน :  *
ผู้แปล :  ท่านพุทธทาสภิกขุ
ขนาดรูปเล่ม :  * มม.
จำนวน :  96 หน้า
ชนิดกระดาษ :  ปก 4 สี  เนื้อในกระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ :  บุญศิริการพิมพ์ 02-561-1379, 02-9416650-1
เดือน/ปีที่พิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ *
ราคา :  XXX บาท
อ่านหนังสือไฟล์ PDF คลิ๊กที่นี่
สนใจติดต่อ mindcyber.com

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : mindcyber.com



ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
Re: ลังกาวตารสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 5/04/2011, 20:35 »
คำนำ

          สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปี่ยมล้นไปด้วยพระมหาเมตตากรุณาธิคุณ ต่อเวไนยสัตว์ทั่วไป แต่ละชีวิตมีค่ายิ่งนัก สัตว์โลก ทั้งหลายมีความรักตัวกลัวตาย เกลียดความทุกข์ รักความสุข ไม่ยอมให้ผู้อื่นใดมารังแกข่มเหง ถ้าแม้นว่าผู้อื่นใดมารังแกข่มเหง มันก็จะต่อสู้อย่างสุดความสามารถทีเดียว อันความสำนึกเช่นนี้นั้นอยู่ในสำนึกของสามัญสัตว์ทั่วไป ดังนั้น พระพุทธองค์จึงได้ทรงบัญญัติสิกขาข้อปาณาไว้ เพื่อคุ้มครองความสวัสดิภาพแห่งชีวิตทั้งมวล จะด้วยตนเองฆ่าก็ดี จะด้วยเสี้ยมสอนให้ผู้อื่นฆ่าก็ดี จะด้วยเห็นดีเห็นชอบในการฆ่าก็ดี ทั้งสามข้อนี้เป็นการกระทำที่ละเมิดผิดต่อพุทธสิกขาบัญญัติ ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลายควรละเว้นพฤติกรรมเหล่านี้เสียหวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะมีส่วนช่วยเปิดความเมตตาที่ปิดตายมานาน หากท่านไม่เจริญเมตตาจิต ไม่มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ แล้วจะเรียกร้องขอความเห็นใจจากใครได้

โครงการหนังสือธรรมะแจกฟรี
เดือน สิงหาคม 2552

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
Re: ลังกาวตารสูตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 5/04/2011, 20:36 »
สารบัญ

ลังกาวตารสูตร ท่านพุทธทาสภิกขุ 4
ข้อคิดพิจารณาธรรม ท่านพุทธทาสภิกขุ 15
ความเจ็บปวดของสัตว์ โดย ลี่อี้เจ๋ง 25
หนังสือร้องทุกข์ของสัตว์เดรัจฉาน 61
สารจากยมบาล 70
ภาพแห่งความเมตตา 74
บทกลอนเตือนให้กินเจ 95
คำเตือนจากพระอินทร์ 96
รายนามผู้ร่วมบริจาคพิมพ์ 97

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
Re: ลังกาวตารสูตร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 5/04/2011, 20:39 »
ลังกาวตารสูตร
แปลโดย “ท่านพุทธทาสภิกขุ”

          พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสพระสูตรนี้ไว้ที่เกาะลังกาเพื่อที่จะโปรดคน ให้ได้สติสำนึกรู้ถึงเวรภัยแห่งการฆ่าฟัน และเบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อซึ่งกันและกันท่านอริยะครูหลาย ๆ ยุค ท่านกล่าวว่าถ้าใครอ่านพระสูตรนี้ครบ ๑๐ จบ แล้วจิตใจไม่เศร้าสลด ยังแข็งกระด้างอยู่ ใจยังไม่อ่อนลงแล้วบุคคลนั้น ชาติหน้าจะมีหวังที่จะเกิดเป็นมนุษย์อีกหรือ?

          กรรม ผูกมัดกายเนื้อดึงดูดวิญญาณธรรมชาติแห่งจิตหรือกรรมร่วมบังคับตัวไว้แล้วลังกาวตารสูตร เป็นพระคัมภีร์หลัก (Text)ของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นหนึ่งในเก้าคัมภีร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญที่เรียกว่า “สูตร” สูตรหนึ่งนั้นมิใช่สั้น ๆ เช่นที่เราเข้าใจกัน แต่เป็นหนังสือเล่มขนาดใหญ่หรือคัมภีร์หนึ่งนั่นเอง ลังกาวตารสูตรพิมพ์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อ ค.ศ.๑๗๒๒ โดยท่าน Bunyin Nangio. M.A. (oxon) D.Litt. Kvoto. สูตรนี้แปลเป็นภาษาจีนครั้งแรก เมื่อ
ค.ศ. ๔๓๓ โดยท่านคุณภัทรแห่งอินเดีย ครั้งที่สองเมื่อ ค.ศ. ๕๑๓ โดยท่านโพธิรุจิแห่งอินเดียและครั้งที่สามเมื่อ ค.ศ. ๗๐๐ โดยท่านศึกษานันทะแห่งอินเดียเช่นกัน เป็นสูตรที่ว่าด้วยศึกษาด้วยศีลธรรมล้วน ๆ ภาคที่แปดแห่งลังกาวตารสูตรนี้ กล่าวถึงเรื่องการกินเนื้อสัตว์โดยเฉพาะ เรียกว่า ภาคมางสภักษนปริวรรตจากข้อความในภาคนี้ ย่อมเป็นการพิสูจน์ไว้อย่างเต็มที่ว่า สาวกในพระพุทธศาสนาจะเป็นบรรพชิตหรือฆราวาสก็ตาม จะไม่รับประทานเนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์ ชนิดใดชนิดหนึ่งเลยต่อไปนี้เป็นข้อความบางตอน ซึ่งตัดตอนมาจากข้อความในภาคนั้น ๆ โดยเห็นว่าพวกเราแม้เป็นฝ่ายเถรวาท (หินยาน) ก็ควรได้อ่านฟังกันไว้บ้างเป็นการประกอบการศึกษาเรื่องนี้ ด้วยใจอันเป็นอิสระ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                     ลังกาวตารสูตร  :  พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพิ่อห้ามกินเนื้อสัตว์

             ข้อความในพระสูตรนั้นมีดังนี้  :

        พระตถาคตเจ้า ผู้ทรงอรหันต์ได้ตรัสรู้อย่างดีถ้วนแล้ว และได้ตรัสความเป็นกุศลหรืออกุศลแห่งการบริโภคเนื้อสัตว์แก่เรา เพื่อว่าเราและสาวกอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนาทั้งในปัจจุบันและอนาคตจะได้ประกาศสัจธรรมอันนี้แก่เขาเหล่านั้นผู้บริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อเป็นการทมำลายความอยากในเนื้อสัตว์ของเขาเหล่านั้นเสีย

        พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า  :  โอ มหาบัณฑิต !  ด้วยน้ำหนักแห่งเหตุผลอันมากมายเหลือจะประมาณ บ่งแสดงว่าเนื้อสัตว์ทุกชนิดเป็นสิ่งที่ควรปฏิเสธ โดยสาวกแห่งพระพุทธศาสนา ผู้มีใจเปี่ยมด้วยความกรุณาสำหรับเขาเหล่านั้น เราจักกล่าวแต่โดยย่อ ๆ ดังนี้  โอ มหาบัณฑิต ! ในวัฏสงสารอันไม่มีใครทราบที่สุดในเบื้องต้นนี้ สัตว์ผู้มีชีพได้พากันท่องเที่ยวไปในการเวียนว่ายตายเกิด  ไม่มีสัตว์แม้แต่ตัวเดียวที่บางสมัยไม่เคยเป็นแม่ พ่อ พี่น้องชาย พี่น้องหญิง  ลูกชาย  ลูกหญิงหรือเครือญาติอย่างอื่น ๆ แก่กัน สัตว์ตัวเดียวกันย่อมถือปฏิสนธิในภพต่าง ๆ เป็นกวางหรือสัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้าอื่น ๆ หรือเป็นนก ฯลฯ ซึ่งยังนับได้ว่าเป็นเครือญาติของเราโดยตรง สาวกแห่งพระพุทธศาสนา จะทำลงไปได้อย่างไรหนอ จัดเป็นผู้สำเร็จแล้วหรือยัง ? เป็นสาวกธรรมดาอยู่ก็ตาม ผุ้เห็นอยู่ว่าเป็นสัตว์เหล่านี้ทั้งหมดเป็นภราดร (พี่ชาย น้องชาย) ของตนแล้ว จะเชือดเนื้อเถือหนังของมันอีกหรือ ?  โอ มหาบัณฑิต !  เนื้อสุนัข เนื้อลา อูฐ ม้า โค และเนื้อมนุษย์ ฯลฯ เหล่านี้เป็นเนื้อที่ผู้คนไม่รับประทาน แม้กระทั่งเนื้อของสัตว์เหล่านี้ถูกนำมาปลอมขาย ในนามของเนื้อแกะ ฯลฯ เพราะเห็นแก่เงิน ด้วยเหตุนี้เนื้อสัตว์จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรกินโดยสาวกแห่งพระพุทธศาสนา  โอ มหาบัณฑิต ! เพราะว่าเนื้อย่อมเกิดมาจากเลือดและน้ำอสุจิ เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภค สำหรับสาวกแห่งพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์ต่อธรรมอันบริสุทธิ์ และเป็นการสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในระหว่างกันและกัน  โอ มหาบัณฑิต ! เพราะฉะนั้น เนื้อจึงเป็นของที่ไม่ควรบริโภค  โดยบรรพชิตแห่งพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์เพื่อนมิตรภาพในสัตว์ด้วยกันถ้วนหน้า ตัวอย่างอันประจักษ์ เช่น เมื่อสัตว์ได้เห็นนายพรานป่า ชาวประมงหรือนักกินเนื้ออื่น ๆ เดินมาแม้ในระยะอันไกล สัตว์ทั้งหลายก็สะดุ้งกลัวเสียแล้ว บางครั้ง สัตว์บางชนิดก็ขาดใจตาย เพราะความกลัว เนื่องจากมันรู้ดีว่าเขาจะฆ่ามัน ทำนองเดียวกันกับสัตว์ตัวน้อยอื่น ๆ ในท้องฟ้า บนบกหรือในน้ำก็ตาม เมื่อได้เห็นนักกินเนื้อแต่ที่ไกล หรือได้กลิ่นด้วยจมูกอันไวของมันก็จะพากันวิ่งหนีไปไกล พร้อมกับความรู้สึกอยู่ในใจว่า เขาเหล่านั้นเป็นผี ยักษ์ อสูรกาย ( คือสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิพวกหนึ่ง คล้ายเปรต ) ผู้ล้างผลาญนั่นเป็นเพราะ ความกลัวต่อความตายของมัน  เนื้อ เป็นสิ่งที่ควรกินสำหรับผู้ใจดำอำมหิต เป็นสิ่งที่มีกลิ่นอันน่ารังเกียจ เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมเสีย และเป็นสิ่งที่ถูกห้ามกินโดยสัตบุรุษ โอ มหาบัณฑิต !  เนื้อนี้เป็นของไม่ควรบริโภคโดยพุทธสาวก  โอ มหาบัณฑิต ! สัตบุรุษย่อมบริโภคแต่อาหารที่สมควรแด่ท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่ยอมบริโภคเนื้อและเลือด เพราะฉะนั้น... ควรที่สาวกแห่งพระพุทธศาสนาจะต้องไม่บริโภคเนื้อสัตว์เลย

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                    ลังกาวตารสูตร  :  พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพิ่อห้ามกินเนื้อสัตว์

             ข้อความในพระสูตรนั้นมีดังนี้  :

        พระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งเยือกเย็นไปด้วยพระมหากรุณา มีพระทัยเปี่ยมล้นไปด้วยความเป็นที่พึ่ง ที่ป้องกันแก่ดวงใจของปวงสัตว์น้อยใหญ่และมีพระสัมปชัญญะ(ความรู้ตัวอยู่เสมอ ความไม่เผลอตัว) สมบูรณ์ พอที่จะไม่ปล่อยให้เป็นโอกาสสำหรับความเสื่อมเสียระบาดขึ้นได้เลยนั้น ย่อมจะทรงบัญญัติเนื้อสัตว์ว่าเป็นสิ่งไม่ควรบริโภค  โอ มหาบัณฑิต ! ในโลกนี้มีคนอันมากได้กล่าวคำเท็จเทียมต่อพระพุทธดำรัส ให้ผิดไปจากความจริง เขากล่าวกันว่าบรรดาผู้ซึ่งคัดค้านอาหารอันสมควรแด่ท่านผู้บริสุทธิ์ แห่งสมัยบรรพการนั้น ก็กินอาหารเหมือนนักกินเนื้อเช่นนี้แล้ว พวกเขาย่อมเที่ยวสร้างความทุกข์ความเจ็บปวดให้แก่สัตว์น้อยใหญ่ ที่มีชีวิตอยู่ในอากาศ บนบก และในน้ำ  พวกเขารบกวนรังควานมันอยู่เสมอ สมณภาพ (คือภาวะผู้สงบกิเลสแล้ว) ของเขาถูกทำลายเสียย่อยยับแล้ว พราหมณ์ภาพของเขาถูกทำให้เศร้าหมองเสียแล้ว เขามิได้ประกอบด้วยศรัทธา และสมาจาร ( คือ ความประพฤติที่ดี ธรรมเนียม ประเพณี ) คนชนิดนี้แหละที่กล่าวคำเท็จเทียมมากมายหลายชนิดแก่พระพุทธวจนะ  โอ มหาบัณฑิต ! มีกลิ่นที่น่ารังเกียจ ไม่น่าบริโภคอยู่ในเนื้อสัตวืเช่นเดียวกัน กับกลิ่นแห่งศพ แม้เหตุผลเพียงเท่านี้ เนื้อสัตว์ก็เป็นสิ่งของไม่ควรบริโภค สำหรับพุทธศาสนิกชนอยู่แล้ว ถ้าหากว่าศพถูกเผา และเนื้อสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกเผา มันก็จะมีกลิ่นอันน่ารังเกียจไม่แตกต่างอะไรกันเลย  ดังนั้น  บรรพชิตในพระพุทธศาสนา ผู้หวังความบริสุทธิ์จะไม่บริโภคเนื้อใด ๆ เลย เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรังเกียจกันแล้ว สำหรับท่านผู้บริสุทธิ์ และสาวกของท่าน ในกรณีที่จะพยายามเพื่อโมกษะและความตรัสรู้ เพราะฉะนั้น สาวกผู้เดินตามทางอันสูงยิ่งนี้ ทั้งครอบครัวลูกหญิงชาย ย่อมอยู่อย่างเต็มใจ ว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกรังเกียจกันในทุก ๆ กรณีที่พยายามเพื่อสมาธิ  โอ มหบัณฑิต !   เพราะฉะนั้น เนื้อทุกชนิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภค สำหรับพุทธศาสนิกชน ซึ่งเป็นผู้ที่ปรารถนาจะมีสาธุคุณในทางจิตทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น นักกินเนื้อย่อมเป็นเหยื่อแห่งโรคหลายชนิด เช่น โรคไส้เดือน โรคพยาธิ โรคเรื้อน โรคเจ็บในท้อง ฯลฯ  โอ มหาบัณฑิต ! เรากำลังประกาศว่าการกินเนื้อสัตว์ เป็นการกินเนื้อบุตรของตนเองอยู่ ดังนี้แล้ว จะกล่าวไปอย่างไรได้ ที่เราจะบัญญัติให้สาวกของเรากินเนื้อสัตว์  ซึ่งเป็นของจัดไว้ต้อนรับของพวกคนใจดำอำมหิต เป็นของควรห้ามโดยท่านสัตบุรุษทั่วไป เต็มไปด้วยมลทินปราศจากคุณใด ๆ ไม่เหมาะที่จะบริโภค สำหรับผู้บริสุทธิ์ และเป็นของควรห้ามเด็ดขาดโดยประการทั้งปวง  โอ มหาบัณฑิต !  เราได้บัญญัติไว้แล้วว่า สำหรับอาหารอันสมควร ซึ่งได้กำหนดนิยมกันมาแล้ว โดยบรรดาท่านบริสุทธิ์แห่งสมัยบรรพกาลได้แก่ อาหารที่ปรุงขึ้นจากข้าว ลูกเดือย ข้าวสาลี สารแห่งหญ้ามุญชะ ( คือพืชจำพวกหญ้าปล้อง )  อูรทะและมสุร นมส้ม น้ำนม น้ำตาลสด น้ำตาลกรวด ฯลฯ  โอ มหาบัณฑิต ! ในกาลก่อน มีพระราชาครองราชสมบัติอย่างผาสุก พระองค์หนึ่ง นามว่าราชาสิงหะเสาทโส ต่อมาได้กลายเป็นผู้ละโมบในการบริโภคเนื้อ จนในที่สุดถึงกับใช้เนื้อคนเป็นอาหาร เนื่องจากความอยากเป็นไปแก่กล้าหนักเข้า เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงถูกปลดออกจากความเป็นพระราชา โดยพระสหายเสนาบดี และ พระประยูรญาติของพระองค์เอง พร้อมทั้งคนอื่น ๆ  จนกระทั่งต้องสละราชสมบัติและถูกเนรเทศ ออกไปจากแคว้นของพระองค์โดยประชาชนต้องรับทุกข์ทรมานอันใหญ่หลวง เนื่องจากเนื้อสัตว์เป็นเหตุ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                    ลังกาวตารสูตร  :  พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพิ่อห้ามกินเนื้อสัตว์

             ข้อความในพระสูตรนั้นมีดังนี้  :

        โอ มหาบัณฑิต ! ก็ในปัจจุบันชาตินี้เองเขาเหล่านั้น ซึ่งเคยชินกับการกินเนื้อสัตว์ในมาตรฐานนี้ เมื่อความอยากเป็นไปรุนแรงเข้าก็กินเนื้อคนได้ ย่อมเป็นผู้ละโมบในการกินและเป็นเหมือนยักษ์ ปีศาจร้าย ครั้นถึงอนาคตกาลเพราะอำนาจจิตติดฝังแน่นในการอยากกินเนื้อสัตว์ เขาย่อมตกไปสู่กำเนิดแห่งสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น สิงโต เสือ จรเข้ สุนัขจิ้งจอก แมว นกเค้าแมว ฯลฯ  โอ มหาบัณฑิต ! มิใช่เพราะเนื้อจะเป็นของที่ต้องกินหรือการฆ่าเป็นของต้องทำก็หามิได้ ในกรณีนั้น ๆ ส่วนมากทั้งหมดเป็นเพราะการเห็นแก่เงินจึงฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต ถึงแม้จะเป็นสัตว์เชื่องและปราศจากอันตรายแต่อย่างใดก็ถูกฆ่า  การฆ่า เพราะเหตุอื่นมีน้อยที่สุดมันเป็นการทรมานเขามาก ในเมื่อใจเต็มไปด้วยความอยากกินเนื้อ อย่างแรงกล้า คนก็กินเนื้อคนได้อยู่เสมอจะต้องกล่าวไปทำไมกับเนื้อสัตว์ เนื้อนก ฯลฯ โดยส่วนมาก ก้เนื่องจากความโง่เขลาเข้าใจผิด มนุษย์จึงได้รับ "กรรมเกิดความกระวนกระวาย" โดยความอยากในเนื้อสัตว์ คนฆ่านก ฆ่าแกะ และปลา โดยใช้ข่ายหรือเครื่องกลการฆ่ามันเหล่านั้น ซึ่งเป็นสัตว์ที่เชื่องและหาอันตรายมิได้ นั่นก็ดพื่อหวังจะให้ได้เงิน  โอ มหาบัณฑิต ! กรณีแห่งอาหารที่ "เราได้บัญญัติแก่สาวกนั้น มิใช่เนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเลยซึ่งเป้นของควรกิน สัตว์ซึ่งเป็นของไม่ควรกิน" ไม่เป็นเหตุควรถูกกิน ไม่ใช่่สิ่งที่ควรสมมุติว่าควรกินในอนาคตกาลสงฆ์สาวกของเรา จะเกิดมีคนบางคน ซึ่งกำลังสมาทานข้อปฏิบัติแห่งบรรพชิตและกำลังปฏิญาณตนเป็นศากยบุตรกำลังครองผ้ากาสาวพัตร์สีแดงหม่น จะเป็นผุ้มัวเมาและประกอบตนคลุกเคล้า อยู่ในความเพลิดเพลิน เขาจะมีจิตที่เต็มไปด้วยความปรารถนาลามกบัญญัติข้อปฏิบัติที่ผิดแบบนแผนขึ้นใหม่ เขาเหล่านั้นเป็นผุ้อยากเสพเะราะติดรส และจะเรียบเรียงพระคัมภีร์ให้มีข้อความเท็จ อันจะเป็นเครื่องยืนยัน และโต้แย้งอย่างพอเพียง สำหรับการกินเนื้อสัตว์กัน เขาจะบัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ เขาจะกล่าวข้อความที่ส่งเสริมการกินเนื้อสัตว์ เขาจะกล่าวว่าเราตถาคตได้บัญญัติไว้ในเรื่องนี้ และว่าเราตถาคตนับมันเข้าไว้ในสิ่งทั้งหลายที่ควรกิน และว่าพระภควันต์ (ภควา..ภควาน..นามพระผู้เป็นเจ้า) ก็ได้ทรงเสวยเนื้อสัตว์ด้วยพระองค์เอง แต่ โอ มหาบีณฑิต ! เรามิได้เคยบัญญัติเนื้อสัตว์ไว้ในสูตรใด ๆ  หรือกล่าวว่ามันเป็นของควรกิน หรือนับมันเข้าประเภทของดีที่ควรกิน  โอ มหาบัณฑิต ! อริยสาวกทั้งหลายไม่บริโภคแม้แต่สิ่งที่คนธรรมดาชอบกินนิยมกันว่าดี เขาเหล่านั้นจะมาบริโภคเนื้อและเลือดซึ่งเป็นของควรปฏิเสธได้อย่างไรเล่า ? เหล่าสาวกของตถาคตเป็นผู้เดินตามแนวสัจธรรม คนผู้มีปัญญาเป็นเครื่องคิดค้นของตนเอง และบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายอื่น ๆ (แห่งพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ ) ก็เป็นเช่นเดียวกัน เขาเหล่านั้นมิใช่ผู้กินเนื้อสัตว์ พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ในกาลก่อน ๆ ก็เป็นดังนี้ พระตถาคตเจ้าทั้งหลายมีสัจธรรม เป้นพระกายของพระองค์ ทรงดำรงค์พระชนชีพอยู่ด้วยสัจธรรมไม่ทรงดำรงกายด้วยเนื้อสัตว์ ท่านเหล่านั้นไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์ พระองค์ทรงเพิกถอนความอยากในโลกีย์วัตถุได้ทั้งหมดแล้ว ท่านเหล่านั้นปราศจากมลจิตอันเป็นมูลแห่งความทุกข์ ท่านเต็มเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณอันไม่ขัดข้อง ในอันจะหยั่งทราบสิ่งที่เป็นกุศลและอกุศล ทรงทราบสิ่งทั้งปวง เห็นแจ้งสิ่งทั้งปวง พระองค์ทรงมองไปที่สรรพสัตว์ คล้ายกับบุตรของพระองค์เอง ทรงกอปรด้วยมหาเมตตามหากรุณา โดยทำนองเดียวกัน เราตถาคต สรรพสัตว์เช่นเดียวกับบุตรของเราเอง เราจะบัญญัติให้สาวกของเราบริโภคเนื้อลูกของเราได้อย่างไรเล่ามันไม่มีข้อควรสงสัยเลย ในเรื่องที่ว่าเราบัญญัติให้สาวกบริโภค หรือเราได้บริโภคมันโดยตนเองหรือไม่ ? (ในที่สุด ได้ตรัสคำที่ผูกเข้าเป็นคาถา ซึ่งจะยกมาในที่นี้แต่บางคาถา มีใจความว่า)  โอ มหาบัฯฑิต ! พระชินวร ได้ตรัสไว้แล้วว่า "สุรา เนื้อและหอม กระเทียม " เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนไม่ควรบริโภค บรรพชิตควรละเว้นเสมอจากเนื้อสัตว์ หัวหอม กระเทียม และนานาประเภทแห่งเครื่องดื่มอันมึนเมา  เขาผู้่ฆ่าสัตว์ชนิดใด ๆ ก็ตามเพื่อเงินและเขาผู้ซึ่งจ่ายเงินเพื่อซื้อเนื้อนั้น  ทั้งสองพวกได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบ "อกุศลกรรม" และจักจมลงสู่โรรุวะนรกและนรกอื่น ๆ เราบัญญัติ ห้ามกินเนื้อสัตว์ไว้ในข้อความแห่งคัมภีร์ เหล่านี้คือ 1. หัสติกักสยะ  2. มหาเมฆะ  3. นิรวาณางคลีมาลิกา  4. ลังกาวตารสูตร  ฉันเดียวกันกับที่ ความถูกพันธธนาการเป้นข้าศึกของความหลุดพ้นเป็นอิสรภาพ เนื้อสัตว์ สุรา ฯลฯ ก็เป็นข้าศึกของนิรวาณ (นิพพาน) ฉันนั้น  ดังนั้น เนื้อสัตว์ซึ่งเป็นของดูน่ากลัวแก่สรรพสัตว์ และเป็นอุปสรรคแก่การปฏิบัติเพื่อ " วิมุตติ " จึงเป็นของไม่ควรกิน นี่คือ ธงชัยแห่งอารยชน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                 ลังกาวตารสูตร  :  พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพิ่อห้ามกินเนื้อสัตว์

        ข้อคิดพิจารณาธรรม : ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์  (ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกข์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี)

        เพราะเป็นการปฏิบัติเพื่อยึดเอาประโยชน์ ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม การไม่กินเนื้อสัตว์เป็นทางก้าวหน้าของสัมมาปฏิบัติอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ผลมากทางใจ

ประโยชน์ทางฝ่ายธรรม  :

        ข้อที่ 1. เป็นการเลี้ยงง่ายยิ่งขึ้น  เพราะพวกพืชผัก เป็นของหาง่ายในหมู่คนยากจนเข็ญใจ ซึ่งมีการปรุงอาหารด้วยผักเป็นพื้น นักกินผักย่อมไม่มีเวลาไปกระวนกระวาย เพราะอาหารไม่ค่อยจะถูกปากถูกลิ้นนักเลย ในขณะที่นักกินเนื้อมักต้องเลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งภัตตาหารเนื้อบ่อย ๆ ญา๖ืโยมเสียไม่ได้ในท่าทีก็พยายามหามาถวาย ศรัทธาญาติโยมที่มีใจเป็นกลางเคยปรารภกับข้าพเจ้าหลายต่อหลายครั้งว่า เขาสามารถจะเลี้ยงพระได้ ๕๐ รูป โดยไม่รู้สึกลำบากอะไรเลย  หากเป็นอาหารที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อกับปลา แต่ที่ผ่านมาต้องฝืนใจทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อย่างมาก ๆ ไม่ใช่ว่าจะคิดว่า เนื้อมีราคาแพงกว่าผัก แต่เป็นเพราะรู้ว่าสัตว์ถูกฆ่าตาย เพื่อการทำบุญเลี้ยงพระของเรา มีอีกหลายคน ที่ทีแรกค้านว่าการทำอาหารมังสวิรัติวุ่นวายลำบาก แต่เมื่อทดลองทำไปได้ ๒ - ๓ ครั้ง กลับสารภาพว่าเป็นการง่ายเสียยิ่งกว่าง่าย เพราะบางคราวไม่ต้องไปติดไฟเลยก็มี ตัณหาของนักกินผักกับกินเนื้อ มีความแตกต่างกันอย่างไร จะกล่าวในข้อหลัง เฉพาะข้อนี้ขอจงทราบไว้ว่า "คนกินเนื้อสัตว์  เพราะแพ้รสตัณหา  กินเพราะตัณหา  ไม่ใชเพราะเลี้ยงง่าย"

        ข้อที่ 2. เป็นการฝึกในส่วน " สัจธรรม "  คนเราห่างไกลจากความพ้นทุกข์ ก็เพราะมีนิสัยเหลวไหลต่อตนเอง สัจจะในการกินผักนั้น เป็นแบบฝึกหัดที่น่าเพลินบริสุทธิ์ ได้ผลสูงเกินกว่าที่คนไม่เคยทดลองจะคาดถึง พืชผักเป็นอาหารที่จะหล่อเลี้ยง "ดวงธรรมแห่งสัจจะ" ในใจของเราให้สมบูรณ์แข็งแรง ดังนั้น การฝึกกินผัก อาหารพืชผักจึงเป็นแบบฝึกหัดสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ที่ยอดเยี่ยม กว่าแบบฝึกหัดอย่างอื่น ๆ เพราะแบบฝึกหัดบางอย่างค่อนข้างง่าย แต่บางอย่างก็ยากเกินจะฝึก ทำให้ไม่สามารถนำมาเป็นเกมฝึกหัดประจำทุก ๆ วัน แต่เราผู้ปฏิบัติธรรม ต้องฝึกทุกวัน จึงจะได้ผลเร็ว เหตุฉะนี้ การฝึกใจด้วยเรื่องอาหารอันเป็นสิ่งที่เราต้องบริโภคอยู่ทุกวันจึงเหมาะมาก อย่าลืม พระพุทธภาษิตที่มีใจความว่า " สัจจะเป็นคู่กับกาสาวพัสตร์ "

        ข้อที่ 3 . เป็นการฝึกในส่่วน "ทมะ" ธรรม   "ทมะ" คือ การข่มใจให้อยู่ในอำนาจ คนเราเป็นทุกข์เพราะตัณหาอันได้แก่ ความอยากที่ข่มใจไว้ไม่อยู่ มีข้อพิสูจน์เฉพาะเรื่องผักกับเนื้อ ง่าย ๆ เช่น ข้าพเจ้าเคยเห็นชาวบ้านที่มาจากป่าดอนสูง ๆ อุตสาห์หาบเอาพวกพืชผักลงมาแลกปลาแห้ง ๆ จากชาวบ้านริมทะเลขึ้นไปกินทั้ง ๆ ที่ต้องเสียเวลาเป็นวัน ๆ ในขณะที่กลางบ้านของเขาก็มีอาหารพวกพืชผัก เผือก มัน ฟัก มะพร้าว ฯลฯ อย่างอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งอาหารเหล่านี้ยังเป็นของสด สามารถบำรุงร่างกายได้มากกว่าปลาแห้ง ๆ  และขึ้นรา ที่พวกเขาอุตส่าห์ลงมาหามหิ้วขึ้นไปเก็บไว้กินเป็นไหน ๆ  ดังนั้น... ผู้ที่ไม่มีการข่มรสตัณหาจักต้องเป็นทาสของความทุกข์ และถอยหลังต่อการปฏิบัติธรรม เหตุนี้การข่มจิตด้วยเรื่องอาหารการกินจึงเหมาะมาก เพราะจะมีการข่มได้ทุกวัน การข่มจิตอยู่เสมอเป็นของคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์เช่นกัน  โปรดทราบ ! ว่ามันเป็นการยากยิ่งที่คนแพ้ลิ้นจะข่มตัณหา โดยพยายามเลือกกินแต่ผักจากจานอาหารที่เขาปรุงด้วยเนื้อ และผักปนกันมา จงยึดเอาเกมกีฬาฝึกข่มจิต ที่เป็นเครื่องชนะตนอันนี้เถิด การเลี้ยงพระในงานต่าง ๆ ข้าพเจ้าเคยเห็น เคยได้ยินเสียงเอ็ดตะโร เรียกเอาแต่อาหารเนื้อ ส่วนอาหารผักล้วนดูเหมือนว่าเป็นการยากที่จะถูกเลือกกับเขา มิหนำซ้ำยังเหลือกลับไปอีก แม้กระทั่งอาหารที่ปรุงระคนกันมาก็หายไปแต่ชิ้นเนื้อ คงเหลือแต่ผักติดจานกลับไป และยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ ควรรู้ไว้ด้วยว่า บรรดาพ่อครัวแม่ครัว และเจ้าภาพ เขารู้ตัวก่อนด้วยซ้ำไป จึงปรุงอาหารเนื้อสัตว์เอาไว้ให้มากกว่าอาหารผักหลายเท่านัก ทั้งนี้ ก็เพราะตัณหาทั้งของฝ่ายแขกเหรื่อ ชาวบ้าน และฝ่ายบรรพชิต ทั้งหลายร่วมมือกัน "แบ่งอิทธิพล"

        ข้อที่ 4 . เป็นการฝึกในส่วน " สันโดษ "     สันโดษ คือ ความพอใจเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ตามฐานะของตน โดยทั่วไปชีวิตของผู้ออกบวช ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาหารชั้นเลว ทว่า ข้าพเจ้าเคยเห็นบรรพชิตบางรูป เว้นไม่ยอมรับอาหารจากคนจนเพราะเห็นว่าเลยเกินไป คือเป็นเพียงผักหรือผลไม้ชั้นต่ำ และ ถึงแม้จะรับมาก็เพื่อทิ้ง นี่เป็นตัวอย่างของผู้ที่ไม่เคยมีความสันโดษและถ่อมตน  ดังนั้น... การฝึกเป็นนักกินผัก กินอาหารอย่างง่าย ๆ จะแก้ได้หมด "สันโดษเป็นทรัพย์อย่างเอกของบรรพชิต"

        ข้อที่ 5 . เป็นการฝึกในส่วน " จาคะ "    จาคะ คือ การสละสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบหรือความพ้นทุกข์ นักกินผักที่แท้จริงมีดวงจิตบริสุทธิ์ผ่องใส เกินกว่าที่จะมีใจนึกอยากในเรื่องจะบริโภคอาหารที่มีรสหลากหลาย เพราะผักไม่ยั่วในการบริโภคมากไป กว่ากินเพื่ออย่าให้ตาย  ซึ่งต่างไปจากเนื้อสัตว์ ที่ยั่วให้ติดรสและมัวเมาอยู่เสมอ ความอยากในรสที่เกินจำเป็นของชีวิต ความหลงใหลในรส ความหงุดหงิด เมื่อไม่มีเนื้อที่อร่อยมาเป็นอาหาร ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ ข้าพเจ้ารับรองได้ว่า ไม่มีดวงจิตของนักกินผักเลย ส่วนนักกินเนื้อนั้น ท่านจะทราบของท่านได้เองเป็นปัจจัตตัง เช่นเดียวกับธรรมะอย่างอื่น ๆ

      ข้อที่ 6 . เป็นที่ฝึกในส่วน " ปัญญา "    ปัญญา คือ ความรู้เท่าทันดวงจิตที่กลับกลอก การใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษ ของการยึดมั่น และให้ใจละวางความยึดมั่นในการกินอาหาร แบบฝึกหัดที่ยากและเป็นก้าวที่ใหญ่ของการปฏิบัติธรรมเช่นนี้  ไม่มีอะไรดีไปกว่าการฝึกบริโภคอาหารผัก ที่จะเป็นอารมณ์อันบังคับให้ท่าน ต้องใช้พิจารณาตัวเองอยู่เสมอทุกมื้อ เพราะเนื้อทำให้หลงในรส ส่วนผักทำให้ยกใจขึ้นไป ซึ่งเหมาะแก่สันดานของสัตว์ ผู้มีกิเลสย้อมใจจนจับแน่นเป็นน้ำฝาดมาต่อเติม ปัญญาของท่านต้องรู้อยู่เสมอว่า ไม่ใช่ไปนิพพาน ได้เพราะกินผัก แต่เป็นการกินผักจะช่วยขัดเกลากิเลสทุก ๆ วัน   แท้จริงแล้วข้าพเจ้าไม่ได้มีความเห็นว่า ฝ่ายที่จะช่วยขัดเกลาจิตใจต้องเป็นผัก ความจริงอาจจะถือว่า ผักเป็นอาหารชั้นเลว หรือไม่ประณีตก็พอแล้ว แต่เมื่อมาพิจารณาใคร่ครวญให้ดีแล้วมันมาตรงกับอาหารผักเพราะจะทำอย่างไร เนื้อก็เป็นของชวนกินเพียงแต่ต้มเฉยๆ พอได้กลิ่นมันก็ยั่วตัณหาอยู่ดี !  เพราะฉะนั้น ฝ่ายที่จะปราบตัณหา จึงกลายเป็นเกียรติยศของผักไป อาหารผักเป็นอาหารที่ข่มตัณหาได้  และมีความบริสุทธิ์จึงเหมาะสม สำหรับผู้ที่ระแวงภัย และตั้งอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ  ผลดีในฝ่ายโลก อาหารผักมีคุณประโยชน์ ต่อร่างกายยิ่งกว่าเนื้อสัตว์หรือไม่ ?   เรื่องนี้ วิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ก็บอกแก่เราชัดแจ้งอยู่แล้วว่า อาหารผัก จะทำให้ผุ้บริโภคมีกำลังแข็งแรง โรคน้อย ดวงจิตสงบ ช่วยให้ความกระหาย ในความอยาก ความโกรธ ความมัวเมา บรรเทาลงเป็นอันมาก

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                    ลังกาวตารสูตร   :   ความเจ็บปวดของสัตว์        โดย ลี่อี้เอ๋ง

        ๑. คุณธรรมอันยิ่งใหญ่ของฟ้าดิน คือ "ชีวิต" ความโหดร้ายอันมหันต์ของมนุษย์โลก คือ "ฆ่า" ซึ่งเป็นคำกล่าวที่กระจ่างที่สุดของคนโบราณเป็นคำพูดที่สั่นและเข้าใจง่ายที่สุด เป็นคำพูดที่เจ็บปวดที่สุด พวกเราควรจะรู้ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด การฆ่าเป็นสิ่งที่โหดร้ายเจ็บปวดที่สุดเหมือนกัน พวกเราเคยอ่านหนังสือถึงโทษทัณฑ์ที่หนักที่สุดของมนุษย์ก็คือ "ตาย" เท่านั้น ก็จะรู้ถึงความชั่วร้ายที่ก่อไว้ ความโหดร้ายแม้จะท้วมท้นเลวทรามที่สุด เมื่อตายลงแล้วทุกอย่างก็สิ้นสุด ไม่สามารถจะเพิ่มโทษได้มากกว่านี้อีกแล้ว แต่กลับกัน พวกสัตว์ที่ไม่มีพิษร้ายต่อผู้คน ถึงมีโทษก็ไม่ถึงตาย ฟ้าดินยังอภัยให้โทษ ผู้คนกับไม่คำนึงถึงสิ่งใด ๆ  จับมาฆ่าแกงทารุณกรรมอย่างโหดร้าย แล้วก็กินมันเข้าไปแทบถือเป็นเรื่องธรรมดา  เฮ้อ !  โลกนี้ช่างโหดร้าย ไร้เหตุผล ยังมีอะไรหนักมากยิ่งไปกว่านี้บ้างไหม?. ทุกชีวิตของสัตว์ที่มีอยู่ในโลกนี้ ตั้งแต่มนุษย์จนกระทั่งสัตว์บกสัตว์น้ำ  ถึงแม้จะมีความแตกกันทางรูปร่าง และน้ำหนัก แต่วิญญาณนั้นเหมือนกัน หรือจะกล่าวอีกแบบหนึ่งคือ สัตว์แม้ไม่มีรูปร่างเหมือนกัน แต่ก็มีน้ำจิตน้ำใจเหมือนคน ต่างก็รู้จักรักชีวิตตน รู้จักกลัว รู้จักเจ็บปวด  ดังนั้น คนควรมีอัธยาศัยต่อสัตว์ เหมือนมีอัธยาศัยต่อคน ไม่ควรเห็นความแตกต่างจากร่างกายสังขาร เป็นข้ออ้างในการแบ่งแยกที่จุดนี้ อย่างน้อยที่สุดพวกเราต้องจดจำว่า มูลฐานของชีวิตต่างก็มีชีวิตขึ้นตรงต่อฟ้าดิน ต่างก็ส่งกระแสจิตต่อกันได้ ไม่อาจที่จะดูหมิ่นเหยียดหยามกันได้ เธอลองคิดดูซิว่า เวลาเราถอนขนสักเส้นหนึ่ง เราก็จะรู้สึกสะดุ้งสะเทือนไปทั้งตัวเพียงไร เข็มแทงอันเดียว ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของร่างกายเท่านั้น หาใช่ร่างทั้งร่างก็ไม่ นั้นก็คือ ทุกชีวิตก็มีชีวิตเหมือนตัวเราเอง เลือดเนื้อก็เหมือนกัน ความเจ็บปวดทรมานจะต่างกันอย่างไร ?. ที่ยกย่องกันว่า มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ มีคุณธรรม ย่อมไม่มีเหตุผลที่จะกินสรรพสัตว์ได้  ควรจะรู้ว่าฟ้าดินได้ให้กำเนิดชีวิตที่โง่เขลา เฉลียวฉลาดตั้งชื่อว่า "มนุษย์" แล้วก็ให้กำเนิดชีวิตที่โง่เขลาเบาปัญญา ตั้งชื่อว่า "สัตว์" ทั้งสองอยู่ร่วมกัน เพียงแต่ต่างกันเหมือนกับชีวิตของคนที่มีลูกคนโต ล้วนมีลูกคนเล็กถัด ๆกันไป แม้มีความต่างกันเป็นพี่เป็นน้อง แต่ก็มีเลือดเนื้อ มีความสนิทสนมดุจเดียวกัน หากแต่ว่า คนมีสติปัญญาและพละพลังสมบูรณ์ สมกับชีวิตสัตว์ประเสริฐ พวกที่หลงงมงาย และเข้าข้างตัวเอง็ทึกทักเอาว่า สวรรค์ส่งสรรพสัตว์มาให้คนกิน คำพูดเหล่านี้มีหลักฐานอะไร?. ถ้าอย่างนั้น เวลาเสือมาเจอคนเข้ามันก็กินคนเลย ก็น่าจะพูดว่า สวรรค์ส่งคนมาให้เสือกินบ้าง การดำรงชีพของคน จำเป็นต้องพึ่งชีวิตสัตว์อีก พูดถึงคำว่า "ทุกชีวิตคือร่างเดียวกัน" ผู้คนคงรู้สึกว่าตนเองใหญ่ที่สุดแล้ว แต่ละคนก็มีร่างของแต่ละคน จะเป็นร่างเดียวกันได้อย่างไร?. ที่แท้แ้แล้วในครอบครัวหนึ่ง ก็เหมือนร่างเดียวกัน  เช่นแม่ลูกเป็นต้น นี่เป็นความจริงที่แน่แท้ แต่ปัจจุบัน จะไปแลดูได้อย่างไรว่า ทุกชีวิตจะมีร่างกายอันเดียวกัน?. ถ้าอย่างนั้น เมื่อร่างของแม่เห็นลูกน้อยดีใจ แม่ก็ดีใจด้วย ถ้าลูกน้อยเกืดเจ็บป่วยและตายไป ถ้าเป็นไปได้แม่ก็พร้อมจะเจ็บป่วยและตายแทน  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23/08/2011, 11:25 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ลังกาวตารสูตร   :   ความเจ็บปวดของสัตว์        โดยลี่อี้เอ๋ง

        ภายใต้จักรวาลนี้ คนที่เป็นแม่จะไม่นับว่าลูกน้อย และตนเองมีร่างดุจเดียวกัน  ดุจเช่นผู้ที่รักบ้าน รักชาติ รักประเทศดุจเดียวกัน ซึ่งก็เป็นเหตุผลเดียวกับการรักมนุษยชาติ รักผู้คน  เมิ้งจื้อ กล่าวว่าพระเจ้าแผ่นดิน "อู้" เห็นไพร่ฟ้าจมน้ำก็เหมือนกับตนเองจมน้ำด้วย พระเจ้าแผ่นดิน "เจ็ก" เห็นไพร่ฟ้าอดอยากก็เหมือนตนเองอดอยากด้วย พระกษิติครรภ์มหาโพธิสัตว์กล่าวว่า "ถ้าผู้คนยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ข้าก็จะไม่เข้าสุ๋พระนิพพาน" ด้วยเหตุอันนี้ก็เช่นเดียวกับแม่ที่คอยดูแลลูกน้อย ที่มีความจริงใจคอยเฝ้าห่วงใย ประดุจมีชีวิตอันเดียวกัน ซึ่งไม่สามารถจะแบ่งแยกความสัมพันธ์อันนี้ได้ คนๆนี้ คนๆนั้น และอีกหลายๆคน ก็มีดวงจิตที่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าบนร่างกายนั้น ภายใต้หนังที่หุ้มอยู่ ถ้าเอาเนื้อที่หนักไม่กี่สิบกิโลกรัมออกเสีย ก็จะกลายเป็นว่านี่เป็นของฉัน นั่นเป็นของเขา  ในกรณีที่เราไม่สามารถแยกหนังออกได้ ถ้ามีโอกาส ก็เอาส่วนที่มีคุณสมบัติเหมือนกันมารวบรวมกันเข้า จากความน้อยนิดของฉันก็เพิ่มให้มันใหญ่ขึ้น  เพิ่มเข้าไปอีกเรื่อย ๆ จนใหญ่คับฟ้ากลายเป็น "ฉันแท้ ๆ " ไม่บกพร่องเลย !  สิ่งที่ต้องรู้ก็คือ เมื่อเปรียบเทียบส่วนที่ใหญ่ของฉัน กับความประพฤติที่สูงหรือต่ำ  ก็รู้ว่าคนที่เลวทรามที่สุด ก็คืคนที่เอาเนื้อไม่กี่สิบกิโลกรัมนั้นมาเป็นของฉันนั่นแหละ ดังนั้น พฤติกรรมของเขา ก็จะกลายเป็นความเห็นแก่ตัวอย่างที่สุด ความชั่วร้ายขนาดไหน ก็ทำมาแล้ว ความชั่วร้ายที่ฆ่าชีวิต ก้เนื่องจากขาด "ความเห็นอกเห็นใจ" อันสืบเนื่องมาจากความเห็นของผู้คนไม่มีร่างเป็นดุจอันเดียวกัน ! 

        ๒. ไม่ว่าใครฆ่าใครก็ตาม มันเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะมีเกิดขึ้น แต่ชาวโลกมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน "การฆ่า" มีคนฆ่าคน มีคนฆ่าสัตว์และสัตว์ฆ่าคน ๓ ชนิด แต่ผู้คนกับเห็นว่า "คนฆ่าคน" เป็นเรื่องร้ายแรงที่สุด "คนฆ่าสัตว์" เป็นเรื่องธรรมดาที่สุด "สัตว์ฆ่าคน" เป็นเรื่องน่ากลัวและแตกตื่นมาก !  ข้าอยากให้พวกเราเปิดใจโดยที่จริงแล้วคนฆ่าสัตว์นั้นดุร้ายกว่าคนฆ่าคนมาก ยังดุร้ายกว่าสัตว์ฆ่าคนด้วย !  เป็นเพราะอะไรหรือ?. เพราะว่า คนฆ่าคนอาจเกิดจากคดโกงทางกฏหมาย หรือไม่ก็เพื่อป้องกันตนเอง หรือไม่ก็ด้วยสาเหตุอื่น ๆ สัตว์แม้จะฆ่ากันก็มีขอบเขตจำกัด เช่น เสือก็ไม่อาจทำร้ายพวกนกได้ สัตว์น้ำก็ไม่ทำลายสัตว์บก เป็นต้น มีแต่คนที่ฆ่าสัตว์ ฆ่าได้แม้แต่อยู่ในอากาศ อยู่ในท้องทะเลลึก ในป่า และบนภูเขา ไม่มีที่ไหน ที่ไม่ถูกฆ่า ทุกชนิดถูกฆ่าเพื่อมาบำเรอปากท้องทั้งสิ้น ก่อให้เกิดสิ่งน่าเสร้าสะเทือนใจ  ทำให้นกไร้เพื่อน บินโดเดี่ยว สัตว์ป่าหลงฝูง น่าสมเพชยิ่ง "ลิ้นคนแลบถึงฟ้าถึงทะเลลึก" การกระทำของคนเช่นนี้ กฏหมายก็ไม่สามารถเอาโทษได้ แต่ยังได้รับการยกย่องจากพวกเดียวกันอีก การเข่นฆ่าของสัตว์ยังมีขอบเขต แต่การฆ่าของคนนั้น ไร้ขอบเขตจริง ๆ เมื่อพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้แล้ว จะเห็นว่า "คนฆ่าสัตว์" นั้นดุร้ายกว่า "คนฆ่าคน" อย่างโหดเหี้ยมที่สุดใช่ไหม?.  แล้วยังมีน้ำหน้ายกย่องตัวเองว่า "เป็นสัตว์ประเสริฐ" น่าจะเรียกว่า "สัตว์โหดเหี้ยม" จะเหมาะกว่า?.           

Tags: