collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ร้อยขันติ : คำนำ  (อ่าน 57700 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
ร้อยขันติ : คำนำ
« เมื่อ: 28/03/2011, 07:08 »
      
                                         คำนำ

        สุภาษิตโบราณว่า "เล็กน้อยไม่อดทน  เสียหายการณ์ใหญ่"  ก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ผู้ทำงานใหญ่ ต้องเป็นผู้มีระดับความอดทนสูง โดยเฉพาะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ  ยิ่งควรมีความอดทนผ่อนปรน  ถ้าไม่เช่นนั้นความสำเร็จเป็นความเวิ้งว้าง ตัวอักษรอดทน ไม่ว่าจะขียนหรือพูดนั้นง่าย แต่ความสามารถทำให้ได้ ไม่ใช่ของง่ายเลย เหตุเป็นเพราะพวกเรามีอารมณ์อ่อนไหวกันมาก โดยเฉพาะคนหนุ่มที่เลือดร้อน คำพูดเพียงคำเดียวก็ระงับอารมณ์ไม่อยู่ อาการเล็กน้อยก็แสดงออกด้วยคำพูด  อาการรุนแรงก็แสดงออกด้วยมือเท้า ต่อยตีถีบแตะ คนที่สามารถอดทนทำได้อย่างจริงแท้มีน้อยยิ่ง
        ในสมัยราชวงศ์ถังมียอดสุภาพบุรุษท่านหนึ่งนามว่า  จางกงอี้  เป็นผู้มีความสามารถในการอดทนครั้งหนึ่ง  ครั้งสอง  ครั้งสาม อดทนเรื่อยไปในที่สุดก็อดทนถึงร้อยครั้ง จึงได้ลิขิตเป็นหนังสือร้อยขันติแล้วถวายให้ถังเกาจงฮ่องเต้ ภายหลังการทอดพระเนตรของจักรพรรดิ์แล้ว พระองค์ทรงพอพระทัย  จึงขนานนามหนังสือเล่มนี้ว่า "ร้อยขันติจางกง"  
        หนังสือร้อยขันติจางกงอี้  แรกเริ่มเป็นเพียงโอวาทครัวเรือน สั่งสอนลูกหลานให้ช่วยกันอดทน  จนลูกหลานล้วนมีความสามารถเจริญปฏิบัติตามโอวาทที่เป็นมรดกตกทอดมา จนกิติศักดิ์ร่ำลือมาจนถึงปัจจุบัน เนิ่นนานมากว่าพันปี โอวาทขันติได้รับการสรรเสริญ แม้ปัจจุบันก็ยังหาผู้เสมอได้ยาก จะเห็นได้ว่าผู้ที่ปฏิบัติได้สำเร็จมันยากเหมือนขึ้นสวรรค์ทีเดียว
        หนีงสือร้อยขันติมิใช่เป็นหนังสือโอวาทของตระกูลจางเท่านั้น หากแต่เป็นหนังสือโอวาทที่โน้มน้าวชาวโลกไปสู่ความดี เป็นคติพจน์ที่มีค่ายิ่ง ข้าพเจ้าได้รับหนังสือเล่มนี้มาอ่านดูแล้วรู้สึกมีคุณค่ายิ่ง และก็ไม่รู้ว่าหนังสือเล่มนี้มีมานานแค่ไหน เพราะข้าพเจ้าเป็นพ่อค้าเท่านั้น ไม่มีความสามารถในการตรวจสอบ รู้จักเพียงนำมาจัดพิมพ์ใหม่แล้วแจกให้คนอ่านเป็นการตักเตือนคนให้รู้จัอดทนสู่ความดี คิดว่านี่เป็นการทำความดีอย่างหนึ่ง อนึ่งข้าพเจ้าก็ถือว่าเป็นลูกหลานตระกูลจาง ก็สมควรที่จะเผยแพร่คุณธรรมความดีงามให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป
        ปัจจุบันแม้ประเทศไทย ภาษาจีนเป็นที่นิยมเรียนกันมากขึ้นก็ตาม แต่ผู้อ่านภาษาจีนได้ก็ใช่ว่าจะมีมาก  ก็บังเอิญให้มีบุญสัมพันธ์ได้รู้จักคุณหมอบัญชา  ศิริไกร  ซึ่งได้แปลหนังสือธรรมะ เป็นประจำอยู่แล้ว จึงได้ขอให้ท่านช่วยแปลให้จนสำเร็จ เพื่อพิมพ์เผยแพร่ทั้งฉบับภาษาไทย และ ภาษาจีน  ต่อไปบุตรหลานชาวจีนก็จะได้อ่านด้วย และเนื่องในโอกาสร้อยขันติจะพิมพ์เสร็จนี้ จึงเขียนให้ไว้เป็นคำนำ
                                          
                                          ด้วยความนับถือ

                                         ทวี  เอกสมบัตชัย
                                            (จาง  จั๊วฮุย)                
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28/03/2011, 07:46 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
ร้อยขันติ : คำนำผู้แปล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 28/03/2011, 07:43 »
    
                                        คำนำผู้แปล 

        หนังสือร้อยขันติเป็นหนังสือของอริยปราชญ์ที่สืบทอดมาแต่โบราณ  ร้อยขันติเป็นบทบันทึกของปราชญ์อาวุโสที่คุณธรรมของท่านซาบซึ้งเบื้องบน  กิติศัพท์เลื่องลือไปถึงจักรพรรดิ์ถังเกาจง  จนได้รับการยกย่องเป็นร้อยขันติจางกงอี้ จริยาวัตรเหมาะเป็นแบบอย่างแก่บุคคลทุกยุคทุกสมัย นามของท่านคือ จางกงอี้  เพราะฉะนั้นไม่ว่าใครก็ตามโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติธรรมควรอ่านอย่างยิ่ง ผู้มีปัญญาเมื่ออ่านแล้วก็ควรน้อมนำไปปฏิบัติ
        ในวัชรสูตรว่า  :  "ควรไม่มีรูปอัตตา  ไม่มีรูปบุคคล  ไม่มีรูปสรรพสัตว์  ไม่มีรูปชีวะ"  ท่านผู้อาวุโส ทำไมจึงพูดว่า หนังสือธรรมะเล่มนี้เป็นหนัังสือของตระกูลจางเท่านั้น เทพเซียนและพระพุทธจะไม่มีใจแบ่งแยกถือสาเช่นนี้
        ร้อยขันติเป็นหนังสือโอวาทคุณธรรม เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบทอดมาของชนชาติจีน เนื้อหาสาระของหนังสือเป็นวิถีชาวบ้าน เป็นสังคมระดับกลางทั่วไปที่สืบทอดกันมา  และก็เป็นพื้นฐานสาระธรรมดั้งเดิมของศาสนาเต๋าของสังคมโบราณ จึงเต็มไปด้วยสาระธรรมโอวาททางคุณธรรมจำนวนมากที่สั่งสมกันมา  คุณธรรมเป็นปรากฏการณ์ชนิดหนึ่ง ที่ใช้กำหนดระดับคุณสมบัติของมนุษย์ชาติ ด้วยเหตุนี้หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะับผู้ปฏิบัติจะนำไปทดสอบ เพื่อเพิ่มระดับความวิริยะอุตสาหะในการบำเพ็ญธรรม
        หนังสือเล่มนี้ คุณทวี เอกสมบัติชัย  มีจิตกุศลจะพิมพ์เผยแพร่ เพื่อปลุกให้คนไม่หลงงมงาย  ท่านมีใจอยากแปลเป็นภาษาไทย อันเป็นเหตุปัจจัยของหนังสือเล่มนี้  ข้าพเจ้าขอถือโอกาสแนะนำคุณทวี  พอสังเขป  คุณทวีมาจากประเทศจีนเมื่ออายุได้ 16 ปี  เพราะบิดาของท่านถึงแก่กรรมที่เมืองไทย  ท่านต้องต่อสู้ชีวิตจากมือเปล่าจนสำเร็จเป็นนักธุรกิจที่หลายคนยกย่อง  ท่านไม่เป็นเพียงบุคคลตัวอย่างแห่งความสำเร็จเท่านั้น กับศาสนาท่านเป็นผู้มีเมตตาจิตที่อยากเผยแพร่คุณธรรม ท่านเล่าว่าหนังสือเล่มนี้มีอาแปะที่เฝ้าศาลเจ้าคนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกอาแปะไช้เท้า (ขายขนมไช้เท้า) ดูแลศาลเจ้าฮกเม้งตึ้ง  แถวหัวลำโพงก่อนที่อาแปะจะลาลับจากโลกนี้ไป อาแปะได้พูดกับคุณทวีว่า  ฉันมีปณิธานอันหนึ่ง คือ ฉันเก็บหนังสือไว้เล่มหนึ่งคือร้อยขันติ อยากให้พิมพ์เผยแพร่  ภายหลังการอ่านของคุณทวี  ก็มองเห็นคุณค่าของหนังสือเล่มนี้ ที่สอนให้คนทำความดีละชั่ว  รู้จักผ่อนปรนให้อภัย  ปราชญ์โบราณว่า อันความชั่วทั้งหลายเสพกามเลวร้ายที่สุด  อันความดีทั้งหลายกตัญญูเป็นเลิศที่สุด  เพราะฉะนั้น  การทำดีทำชั่ว  ย่อมมีการตอบสนองเสมอ หากไม่เชื่อก็อ่านร้อยขันติดูได้
        ท้ายนี้  ผู้น้อยขออุทิศส่วนกุศลที่ได้จากการแปลหนังสือเล่มนี้จงเป็นพลวปัจจัยให้บรรพจารย์  บรรพชน  ญาติธรรมทั้งหลาย  ผู้บริจาคสร้างหนังสือเล่มนี้  และเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย  ได้เข้าสู่กระแสแห่งนิพพานเทอญ

                                    ผู้น้อย   ธรรมบัญชา
                                         10  ธ.ค. 45
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28/03/2011, 07:47 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
ร้อยขันติ : คำนำ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 28/03/2011, 07:58 »

                                      คำนำ

        หนังสือ  ร้อยขันติ  ของ  จางกงอี้ (เตียกงโง่ย)  ถือเป็นแบบอย่างขอความซื่อสัตย์  ยุติธรรม   ที่ควรนำมาปฏิบัติ  ถ้าบ้านหนึ่งมีการุณยธรรม  รัฐหนึ่งย่อมเจริญด้วยการุณยธรรม  ถ้าบ้านหนึ่งมีการผ่อนปรน  รัฐหนึ่งย่อมเจริญด้วยการผ่อนปรน  โลกทั้งโลกก็อุดมด้วยกรุณาผ่อนปรน  วัฒนธรรมซื่อตรงเหล่านี้มีได้ด้วยขันติธรรม  หากท่านทั้งหลายที่ต้องการให้มีการปฏิบัติไปทั่วโลก ก็ต้องยินดีที่จะอดทนตักเตือนคน  ก็จะเป็นชัยชนะแห่งร้อยขันติ  เป็นบทคีตาที่มีความสุข

        จึงให้ไว้เป็นบทนำในหนังสืออี๊จวุ้ยซู  (เง็กชุ่ยจือ)

                                                            ชิงซวีจื่อ

                                                รัชสมัยปีที่ 9  แห่ง  ฮ่องเต้เจียจิ่ง         


ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
ร้อยขันติ : คำนำเก่า
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 29/03/2011, 18:39 »

                            คำนำเก่า

        อันว่าบาปบุญคุณโทษ  กฏสวรรค์ตอบสนองชัดเจน หากไม่ชี้แจงหนทางสู่คุณธรรมให้ประจักษ์แล้ว การเปิดกลไกมุ่งสู่ความดีจะทำได้อย่างไร  อันว่าการปฏิบัติดีก็ไม่มีดีไปกว่าการอดทน การอดทนหรือขันติ มีพื้ฯฐานการปฏิบัติได้อย่างไร  ผู้มีสันติต้องสามารถมีความกตัญญู มีความรักในพี่น้อง  มีความจงรักภักดี  มีสัจจะ  มีจริยธรรม  มีความซื่อสัตย์ยุติธรรม  มีความสุจริต  และมีความละอายต่อการทำความชั่ว โดยมีความสมบูรณ์อยู่ในคุณธรรมแปดนี้ ซึ่งสืบทอดมายาวนานแล้ว  ใครบ้างที่ไม่รู้จักทะนุถนอมธรรมนี้  ก็เนื่องด้วยยึดอารมณ์ถูกวัตถุครอบงำ ถูกกิเลสบังตา  มีความใคร่อยากในอายตนะทั้งหก  โลภหลงในสุรานารีทรัพย์สมบัติ  ชื่อเสียงเกียรติยศครองใจ
        ถึงแม้จะมีคัมภีร์พระสูตรของสามศาสนาเป็นบรรทัดฐานให้บำเพ็ญเยียวยาโลกก็ตาม  แม้จะรู้ว่าความดีลอยพ้น ความชั่วร่วงหล่นอธิบายไว้อย่างขัดเจนเพื่อให้ชาวโลกนำไปปฏิบัติ  ผู้รู้หลักธรรมมีมาก แต่ผู้ปฏิบัติมีน้อยมาก น่าเสียดายที่จะได้เกิดมาเป็นคนนั้นยากนัก  เกิดในแผ่นดินที่สงบได้ยาก พุทธธรรมก็ฟังได้ยากเช่นกัน บัดนี้โชคดีที่หนังสือร้อยขันติของท่านจางกงอี้ได้พิมพ์สู่ชาวโลก  หวังว่ามวลมนุษย์ผู้ศรัทธาจะขยันนำไปปฏิบัติ  ขันติเป็นพื้นฐานเบื้องต้น เมื่อได้พื้นฐานแล้วธรรมะจะเกิด เมื่อใจศรัทธาก็จะสามารถบำเพ็ญธรรมได้  เมื่อปฏิบัติธรรมได้บ้านก็จะเรียบร้อย เมื่อบ้านเรียบร้อย  ประเทศชาติก็ได้รับเยียวยา  ประเทศได้รับการเยียวยา โลกก็จะมีสันติภาพ ชีวิตก็จะสุขสงบ
        การดำเนินชีวิตของมนุษย์  อันดับแรกต้องกระทำกตัญญูให้ถึงที่สุด จึงจะถือว่าเป็นวีรชน  พระคุณของพ่อแม่สูงใหญ่ดังขุนเขาลึกล้ำยิ่งกว่ามหาสมุทร ทดแทนพระคุณไม่รู้จักหมด  พูดถึงการอุ้มท้อง  เดือนแรก ๆ พอทำเนา  เดือนสามเดือนสี่เบ่งพองให้อึดอัด เดือนห้าแม้ขนในครรภ์ก็ยาวขึ้น  อึดอัดทนไม่ค่อยไหว  เดือนหกเดือนเจ็ดร่างกายโตขึ้นมาก  เดือนแปดเดือนเก้าร่างกายอุ้ยอ้ายเคลื่อนไหวลำบาก ย่างเดือนสิบแม่ทุกข์ลำบาก ขยับตัวยากดูจวนจะคลอด  ยามคลอดเหมือนผ่านยมทูต  พระคุณการเลี้ยงดูพูดไม่จบ  ส่งเสียเล่าเรียนนานกว่าสิบปี  หลังจากนั้นก็ต้องส่องหาคู่ครอง  แต่งงานแล้วค่อยสบายใจขึ้น มีเมียมีลูกดุจมณีในมือ  พ่อแม่ละเลยเหมือนฟางหญ้า  ถ้าเป็นเช่นนี้จะตกนรกอเวจีได้รับทุกข์แสนสาหัส  ขอเตือนผู้เป็นบุตรต้องมีกตัญญู  ถ้าอกตัญญูโทษหนักหนา  หากชาวโลกปฏิบัติตามบทนี้ ก็จะมีบุตรกตัญญู มีหลานเป็นวีรชน  ยามฟ้าบันดาลเคราะห์ภัยเพื่อเก็บมนุษย์ก็ไม่ต้องกังวล ผู้ลืมคุณธรรมแปดไม่ได้รับการอภัย  ผู้กตัญญูภักดีมีคุณธรรมคงอยู่  ตั้งแต่เด็กเรียนหนังสือเอาแบบอย่างปราชญ์อริยะ ปรนนิบัติเอาอกเอาใจพ่อแม่  จะเจ็บซ้ำน้ำใจอย่างไรก็ไม่โกรธแค้น  แถมท้ายด้วยกลอนไร้ขันติ

        ออกทรัพย์ซื้อให้ด้วยตั้งใจ             ผู้ตั้งใจอ่านพิจารณาเห็นคุณค่า
หนังสือดีเตือนคนกลับใจมา                   หากไม่ว่าจำใจอ่านอย่าเลิกลา
หวังว่าแต่ละคนมีมโนธรรมา                   ส่งต่อหาให้ผู้อื่นพระมองเห็น
อย่าโยนทิ้งถังขยะบาปทุกข์เข็ญ             ฟ้าจำเป็นบันดาลเคราะห์ให้ลูกหลาน
อ่านแล้วให้ต่อใจให้เยือกเย็น                  มงคลเห็นฟ้าประทานลูกหลานดี
ผู้รักถนอมเก็บคุณธรรมพลี                      บารมีสั่งสมบุญตระกูล

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                   ร้อยขันติ   

                  หนึ่งขันติ  : 

     ตามใจพ่อแม่  ถูกกล่าวหาไม่แค้น

 ในสมัยราชวงศ์ถัง มีบุคคลหนึ่งแซ่จาง (เตีย)  ชื่อเรียกกันว่ากงอี้ (กงโง่ย) มีความฉลาดเฉลียวตั้งแต่เป็นเด็ก อายุหกขวบก็ฝากให้เรียนหนังสือ อาจารย์รับไว้เป็นเด็กนักเรียนชั้นเล็ก หนังสือที่อ่านผ่านจะจำได้แล้วท่องได้ มีจิตใจอ่อนโยน  ทั้งรู้ด้วยว่าความดีทั้งหลายมีกตัญญูเป็นอันดับแรก เพราะฉะนั้นจึงตามใจพ่อแม่ หน้าหนาวก็ทำที่นอนให้อุ่นโดยเอาตัวซุกในผ้าห่มก่อน แล้วค่อยให้พ่อแม่เข้านอน หน้าร้อนก็จะพัดโบกห้องนอนให้เย็น  จะเอาใจใส่ทุกเช้าและเย็น
        มีอยู่วันหนึ่ง มารดาให้ไปเลี้ยงวัว ไม่กล้าขัดขืนออกไปปล่อยวัวอย่างระมัดระวัง  ไม่นานนักก็ไล่วัวกลับมาแล้วผูกไว้กับต้นไม้ คิดจะไปโรงเรียนเพื่อเรียนหนังสือ  บังเอิญบิดามาแต่ข้างนอกโดยไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ เห็นบุตรยังไม่ไปโรงเรียน คิดว่ากงอี้หนีเรียนก็เข้าไปดุด่าบุตรชาย กงอี้ถูกดุด่าก็ไม่กล้าว่ามารดาใช้ให้มาเลี้ยงวัว  จึงรีบจัดแจงไปโรงเรียน อาจารย์เห็นสีหน้าไม่ดีก็ถามกงอี้ว่าเป็นอะไร กงอี้ก็บอกว่า ตอนเช้าคนดูแลวัวยังไม่มา มารดาเรียกให้ข้าไปเลี้ยงวัวจึงมาโรงเรียนสายถูกบิดาดุด่าว่า อาจารย์จึงกล่าวว่า ทำไมเจ้าไม่บอกว่ามารดาใช้ให้ไปเลี้ยงวัว กงอี้ก็สะอื้นว่า  กลัวบิดามีความโกรธจะไปว่ามารดา อาจารย์ก็ถอนหายใจแล้วพูดว่า ผู้เป็นบุตรเขาต้องรู้ว่า ความดีทั้งหลาย กตัญญูเป็นอันดับแรก ยังเป็นเด็กเล็กก็รู้จักตามใจบิดามารดาได้เช่นนี้ นับว่าหาได้ยากยิ่ง ต่อไปภายภาคหน้าย่อมเป็นเสาหลักใหญ่ นี่ก็คือขันติหนึ่งของท่านกงอี้ ต่อมาก็มีผู้เขียนกลอนให้ดังนี้

เมื่อเล็กเรียนหนังสือฝึกมหาปราชญ์        ปรนนิบัติพ่อแม่ปลื้มปรานมีปิติ
อดทนเจ็บไม่เคืองมีสติ                          ร้อยขันติเป็นหนังสือบทที่หนึ่ง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            ร้อยขันติ   

                            สองขันติ 

             อัปยศไม่พูด  ห้ามปรามพ่อไม่พบภัย

        วันหนึ่ง  กงอี้กับบิดาจะไปทวงหนี้ที่บ้านอาจางค่วน  จางค่วนไม่มีเงินคืนหนี้แถมยังพูดจาขวางหูทำให้บิดาโกรธมาก  ออกมือออกหมัดจะชกต่อยกัน  กงอี้เข้าห้ามปรามขอร้องให้บิดากลับบ้านก่อน  จางค่วนไล่ตามมา  กงอี้เข้าสกัดกั้นพร้อมทั้งพูดจาโดยดี  อาจางค่วนอารมณ์ร้ายปรี่เข้ามาชกต่อยกงอี้โดยไม่ทันตั้งตัว  กงอี้พยายามเอาตัวรอดจนหนีมาได้ กลับมาถึงบ้านบิดาถามว่าทำไมหน้าตาฟกซ้ำ กงอี้พูดว่าไม่ระมัดระวังหกล้มจนได้รับบาดเจ็บ  ไม่กล้าที่จะเล่าว่าถูกเขาตีเอา  ขณะนั้น  กงอี้ก็ใช้อารมณ์ ที่ปรองดองปลอบประโลมบิดาว่า บ้านคุณอาค่วนไม่ค่อยราบรื่น  รายได้ไม่พอกับรายจ่าย  หนี้ของเรายังชำระให้ไม่ได้ในตอนนี้  คำพังเพยว่า "มีก็ให้ ไม่มีก้อภัย" รอให้เขามีเงินเสียก่อนก็คงจ่ายให้เอง ตอนนี้ก็อภัยให้เขาก่อน  หากจะเร่งรัดทวงเอาก็ไม่ได้อะไร ถ้าจะบีบบังคับกับพยัคฆ์ร้ายก็เผชิญหน้ากัน ความเสียหายต้องเกิดขึ้น ก็จะสูญเสียความเป็นญาติ ให้อภัยเป็นวิธีที่ดีที่สุด  บิดากล่าวว่า ตอนนี้บ้านเราก็กำลังลำบากเงินสด ๆ ยืมไปควรต้องคืนให้ ไม่ใช่หามาได้ง่าย ๆ  กงอี้ตอบว่า แม้บ้านเราจะเดือดร้อนก็ให้หายืมจากที่อื่นก่อน ถ้าแข็งขืนจะบังคับเอาก็เกรงว่าจะเกิดเรื่อง สู้ปล่อยเขาไปจะดีกว่า สุภาษิตว่า "ความรุนแรงพาภัยมาให้"  บิดาถูกบุตรชายกล่อมด้วยอ่อนน้อมก็เลยต้องปล่อยวางความคิดที่จะทวงหนี้  หลังจากนั้นเพียงสิบวัน จางค่วนก็ได้รับอุบัติเหตุ คนเขาก็พูดกันว่า เพราะว่ากงอี้อดทนต่อความอัปยศอดสูจากการถูกชกต่อยเมื่อหลายวันก่อน จึงไม่ประสบภัยพิบัติ  กงอี้ทนอัปยศไม่พูด กลับห้ามปรามบิดาจึงไม่ประสบภัยเป็นขันติที่สองของกงอี้ ต่อมาก็มีผู้เขียนกลอนให้

ถือญาติสำคัญกว่าเงินทอง          สุภาพชนแผ้วผ่องยึดได้หดได้
มีขันติมงคลกรายแคล้วคลาดภัย  จิตใจให้อาทิตย์จันทร์หมุนเวียนวน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                  ร้อยขันติ   

                                  สามขันติ 

                ถูกหลอกหมั้น ห้ามปรามพ่อไม่พบภัย

        บิดาของกงอี้เห็นว่าบุตรชายเติบโตพอที่จะแต่งงานแล้ว  จึงได้ติดต่อจะหมั้นหมายกับบุตรสาวตระกูลหวัง ทั้งสองฝ่ายต่างตกลงจนพอใจแล้วก็ได้นัดหมายกับแม่สื่อว่าจะนำสินสอดไปหมั้นไว้ ด้วยไม่รู้มาก่อนว่าบุตรสาวแซ่หวังได้ตกลงกับแซ่อื่นไว้ บิดาของกงอี้ไม่รู้จึงนำสินสอดไปมอบให้กับแม่สื่อ  แม่สื่อไปหมั้นไม่สำเร็จแถมยังอมสินสอดไว้ บิดากงอี้รู้เข้าก็โกรธมาก  จึงเที่ยวตามหาแม่สื่อ  แม่สื่อหลบหน้า บิดากงอี้จะยื่นฟ้องร้องต่อศาล  กงอี้อ้อนวอนห้ามปรามว่า  โบราณกล่าวไว้  แย่งนา  สู้ซื้อที่อื่นไม่ได้  แย่งภรรยาสู้หาใหม่ไม่ได้  คู่ครองของลูกไม่ใช่ที่นี่  ขอให้ท่านบิดายุติเรื่องนี้   บิดาชายตามาที่บุตรแล้วว่า  ใจคอชองลูกเป็นแบบนี้ ไม่ละอายถูกเขาหัวเราะหรือ  กงอี้กล่าวว่า  ลูกกำลังอยากให้เขาหัวเราะเยาะอยู่  ลูกจะเอาอย่างท่านเตียเม้ง  ไม่แก่งแย่งแข็งขันกับผู้อื่น  ไม่ใช่นักปราชญ์ก็ไม่สามารถรู้จัก  บิดาจึงยอมตามใจ  ต่อมากงอี้ก็แต่งภรรยาแซ่เฉิน  นี่คือกงอี้ที่ถูกหลอกหมั้นภรรยาเป็นขันติที่สาม  ภายหลังคนเขาแต่งกลอนไว้ว่า

จุดที่สูงของผู้รู้เพื่อความแข็ง                  ไม่ขัดแย้งถูกหลอกหมั้นเจ็บปวด
วีรบุรุษซ่อนอารมณ์ใหญ่ยิ่งยวด                เฉินชื่อยอดกุลสตรีศรีสมร

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                        ร้อยขันติ   

                         สี่ขันติ 

             ซื้อกิจการด้วยมโนธรรม

        บิดาของกงอี้มีที่ดินติดต่อกับตระกูลหยางทางทิศตะวันออก  ผู้ปกครองตระกูลหยางถือเอาคนหมู่มากทำการรุกล้ำที่ดินไปมากหลาย  บิดาต้องการให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ไปขอให้ตระกูลหยางจัดเครื่องเซ่นทำสัตยาบรรณวา่ไม่ได้รุกล้ำที่ดิน  พอตรกูลหยางได้ยินข่าวก็ประกาศอย่างโจ่งแจ้งว่าจะฆ่าบิดาของกงอี้  กงอี่จึงทัดทานบิดาว่า  พระเจ้ามีความศักดิ์สิทธิ์  ถ้าหากใจศรัทธานับถือ  ถึงแม้จะขอให้บิดาอัญเชิญพระเจ้าก็เกรงว่าเจ้าจะดุเอาไม่ให้อภัย  และถ้าพวกหยางถือเอาคนหมู่มากมาคุกคาม  ก็ไม่อาจต้านทานได้  คงต้องใช้การเจรจาจะดีกว่า  ทั้งยังยกเอาความคิดของพระเจ้าจี่ชวนอ๋อง ใช้ทางแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใกล้เคียงกันจะเหมาะสมกว่า  บิดาของกงอี้โกรธในใจลึก ๆ ไม่พูด  กงอี้ใช้สุราไปเจราจากับคนข้างเคียงจนเรียบร้อย  เวลาผ่านไปอีกหลายเดือน  นิสัยเดิมของตระกูลหยางก็ปะทุขึ้นอีก  ก็มีเรื่องแย่งชิงที่ดินกันกับคนตระกูลหวังตีคนตายไปสามคน  คนทั้งบ้านจึงถูกจับขังดำเนินคดีที่ในเมือง  กงอี้ก็เข้าไปที่อำเภอในเมือง ขออนุญาตสัสดีเข้าไปพบกับพี่น้องตระกูลหยาง  พอพบกันพวกเขาก็บอกกับกงอี้ว่าอยากจะขายกิจการให้แก่กงอี้เพื่อเอาเงินมาใช้เรื่องคดี  กิจการคิดเป้นเงิน  800 หยวน  ราคากลางแค่  400 หยวนก็ซื้อได้  กงอี้คิดทบทวนไม่ควรถือโอกาสแย่งกิจการของผู้อื่นในขณะที่เขาตกอยู่ในอันตราย  จึงใช้เงิน  800 หยวนซื้อกิจการ  ก็ช่วยให้คดีกลายเป็นคดีที่ไม่ถึงขั้นประหาร  นี่ก็คือกงอี้มีคุณธรรมสูงกับความสัมพันธ์เพื่อนบ้านเป็นขันติที่สี่  ภายหลังคนจึงเขียนกลอนว่า

ดำเนินการตามหลักธรรมฟ้า         มีที่นา  จงอย่าเหนื่อยใจ
รู้ผ่อนปรนฟ้าส่งเสริมให้               อันธพาลไซร์ใช้รุนแรง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                          ร้อยขันติ   

                          ห้าขันติ

                ไม่สู้เพื่อนเกกมะเหรก

        สมัยที่กงอี้เรียนอยู่ในโรงเรียน ทำดีกับเพื่อนนักเรียนคนหนึ่ง เพราะเพื่อนมีความรู้มาก พอนานไปเพื่อนก็รำค่ญ เอาสมุดพู่กันและหมึกของกงอี้ไปเผา  กงอี้มาเห็นเข้าคิดจะดึงเขาไปฟ้องอาจารย์ แต่ก้เกรงว่าอาจารย์จะดุว่าเพื่อนรุนแรง กงอี้หวนคิดว่า การคบเพื่อนต้องใช้ความโอบอ้อมอารี  แต่พอนานไปเพื่อนก้เบื่อหน่าย  จึงยากที่จะมีความซื่อสัตย์ จึงผิดหวังที่สูญเพื่อนดีไป ก็ไปพูดให้เพื่อนเข้าใจ ไม่คาดคิดมาก่อนว่าเพื่อนจะเกิดโทสะ พูดจาขวางหูใส่กงอี้หาว่าหลอกลวงเขา จึงผลักกงอี้ล้มแล้วทุบตี กงอี้วิงวอนขอร้องให้ปล่อย กงอี้ไม่กล้านำเรื่องนี้ไปฟ้องอาจารย์  คงเอาอย่างจักรพรรดิ์หวินตี้ จัดโต๊ะบูชาถวายรายงานเรื่องเจียวเฮงเผาหนังสือ หลังจากนั้นไม่ถึงเดือน เจียวเฮงก็เกิดสติฟั่นเฟือน ปากก็พูดว่า กงอี้มีเมตตาธรรมให้อภัยข้าทำผิด ข้าหน้าเป็นคนใจสัตว์ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ทำสิ่งที่ฝ่าฝืนฟ้าสร้างเวรกรรม สร้างวิบากกรรมเองไม่ควรมีชีวิต การสนองตอบทั้งดีชั่วเหมือนเงาตามตัว ถึงอย่างไรก็มีการตอบสนอง เพียงแต่จะเร็วหรือช้าเท่านั้น พอพูดจบก็ล้มลงตาย กงอี้ไปงานฝังศพหลั่งน้ำตาไม่หยุด เป้นด้วยกงอี้ไม่ต่อสู้กับเกกมะเหรกเป็นขันติที่ห้า ภายหลังคนแต่งกลอนให้ว่า

เอาเมตตาธรรมปฏิบัติต่อเพื่อน   ตั้งใจเอื้อนเอ่ยรายงานต่อเจ้า
ชั่วช้าเลวร้ายกรรมสนองเอา       ถ่ายทอดนานเนาสู่คนรุ่นหลัง 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                   ร้อยขันติ   

                  หกขันติ 

           ถูกหลอกไม่เอาเรื่อง

        มีอยู่วันหนึ่ง บิดาของกงอี้ล้มป่วยลง กงอี้ร้อนรนที่จะหาหมอมารักษาการป่วยของบิดา ก็ให้บังเอิญพบหมอที่กำลังเดินรักษากลางถนน จึงได้เชิญมาให้ตรวจอาการบิดาที่บ้าน หมอพูดว่า  ถ้าจะรักษาโรคนี้ให้หายต้องใช้ยาลูกกลอน กงอี้ก็ถามต่อว่า ค่ายาลูกกลอนต้องใช้เงินจำนวนเท่าไร  หมอตอบว่า โรคนี้ต้องใช้ตัวยาอย่างดี ต้องใช้เงินสิบตำลึง กงอี้ก็นำเเงินให้ไป พอหมอได้เงินก็บอกลาเพื่อไปจัดทำยาให้ ไปแล้วก็หายตัวไร้ร่องรอย กงอี้ต้องดูแลบิดาจึงออกไปไหนไม่ได้ ก็ให้พอดีมีญา๖ิลูกพี่ลูกน้องมาเยี่ยมไข้ ก็เล่าเรื่องที่พบหมอข้างถนนถูกหลอกเงินไปสิบตำลึง กงอี้ก็พูดว่าหมอหลอกเงินไปก็คงไปในทางที่ไม่ดี ญาติน้องพูดว่า ทำไมไม่สั่งให้คนออกตามหาอาจได้คืนก็ได้ กงอี้ว่า เรื่องผ่านมาหลายวันแล้วคงหนีไปไกลปล่อยไปเถอะ กงอี้จึงภาวนากับฟ้าดินยินยอมที่จะลดอายุขัยของตนเองเพื่อเพิ่มเติมอายุขัยให้บิดา เวลาผ่านไปอีกสิบวัน อาการป่วยของบิดาก็หาย เวลาผ่านไปอีกไม่กี่วัน ก็ได้ข่าวหมอที่หลอกเอาเงินไป ถูกโจรฆ่าตายระหว่างทาง  นี่ก็คือกงอี้ถูกหลอกไม่เอาเรื่องเป็นขันติที่หก ภายหลังคนแต่งกลอนให้ว่า

ใจกตัญญูบริสุทธิ์ฝืนฟ้าได้             หมอหลอกไปกรรมชั่วตามสนอง
ชีวิตหนึ่งรอดหนึ่งตายให้สนอง        เจ้าผุดผ่องแบ่งแยกชัดเจน

Tags: