collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอยอริยา : คำนำ  (อ่าน 15580 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ตามรอยอริยา 

                      7 พระบรรพจารย์หวังฉงหยัง

        ธรรมนิวาสของท่านจะแสดงชื่อว่า นิวาสสัทธรรม "เฉวียนเจิน หรือ นิวาสบัวทอง จินเหลียน " เพื่อแสดงความหมายว่า เป็นนิวาสถานเพื่อการบำเพ็ญจิตใจให้เที่ยงแท้  สงบ  สมถะ  สำรวม สมานกายใจ  เพื่อฟื้นฟูจิตดั่งบัวทองบริสุทธิ์ผุดผ่องพ้นน้ำอร่ามเรือง  ศิษย์ของท่านมีมากมาย บรรลุธรรมวิเศษกันไปมากมาย อาทิ ท่าน "ถันฉังเหยิน  หลิวฉังเซิง  ซุนปู๋เอ้อ  เฮ่าไท่กู่  หวังอวี้หยัง  และท่านชิวฉังชุน เป็นต้น" 

        เนื่องด้วยธรรมนิวาสของพระบรรพจารย์หวังฉงหยัง มีชื่อว่า  สัทธรรมเฉวียนเจิน เที่ยงแท้  การเคี่ยวกรำอบรมศิษย์ก็เพื่อให้เข้าถึงความเป็นในสัทธรรมเฉวียนเจินที่เที่ยงแท้ ฉะนั้น ต่อมาการโปรดสัตว์ของท่านจึงได้รับการเทิดทูนว่า "ศาสนาสัทธรรมเฉวียนเจิน"   ศาสนาสัทธรรมเฉวียนเจินมุ่งให้รักษาความสมถะ เรียบง่าย กล่อมเกลาบำรุงรักษาจิตบริสุทธิ์เที่ยงแท้ จิตใจใสนิ่ง สมาธิมั่นคง อุ้มชูจิตเดิมแท้ รักษาความเป็นหนึ่งไว้ ครองสติปัญญา รักษาพลังธาตุให้มั่นคง เป็นการบำเพ็ญภายในอันแท้จริง

        ส่วนการปฏิบัติภายนอก คือ สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ฉุดช่วยคนทุกข์ยาก คำนึงถึงผู้อื่นก่อนตนเอง ไม่เห็นแก่ได้ ไม่เห็นแก่ตัว การบำเพ็ญและปฏิบัติถึง
พร้อมทั้งสองประการ จึงเรียกได้ว่า "สัทธรรม" 

เฉวียนเจิน จื้อไจ้โส่วผู เอี่ยงซู่เฉวียนเจิน เฉิงซินติ้งอี้ เปาเอวี๋ยนโส่วอี ฉุนเสินกู้ชี่เอว๋ยเจินกง จี้ผินป๋าขู่ เซียนเหยินโฮ่วจี่ อวี่อู้อู๋เอว๋ยเจินสิง กงสีงจวี้เฉวียนเจี้ยวเฉวียนเจิน

        ระเบียบบัญญัติในการปฏิบัติบำเพ็ญของศาสนาสัทธรรมเฉวียนเจิน ยังมีหลักใหญ่อีกสิบห้าข้อคือ
        1.  จงแสวงหาอาณาจักรธรรมเป็นนิวาสถานเพื่อการบำเพ็ญตลอดชีวิต อีกทั้งอาศัยผู้ร่วมบำเพ็ญในอาณาจักรธรรมนั้นส่งเสริมการบำเพ็ญแก่กัน จนถึงระดับ "ในแกร่งนอกสมาน"  (เน่ยกังไอว้เหอ)

         2.  จงเดินทางท่องไปสุดหล้าฟ้าเขียวเที่ยวกล่อมเกลาเวไนย เพื่อทดสอบความจริงใจของตนที่มีต่อการปฏิบัติบำเพ็ญ หากจริง ก็จะไม่เหนื่อยหน่าย ไม่หวั่งเกรงต่อข้อทดสอบอุปสรรคขวางกั้น ไม่หวาดหวั่นต่ออันตราย  ต่อการถูกเหยียดหยามทิ่มแทง  หากไม่จริงใจก็จะได้แต่ท่องเที่ยวเพลิดเพลินชมทิวทัศน์ไป รับอุปัฏฐากโดยไม่ได้ให้คุณแก่มวลเวไนยฯ

        3.  จะต้องฝึกสวดท่องพระคัมภีร์อยู่ไม่ขาด อีกทั้งสุดท้าย จะต้องไม่ยึดหมายในพระคัมภีร์ณูปลักษณ์ แต่จะต้องให้เข้าถึงสัจธรรมดำริของอริยปราชญ์ อ่านพระคัมภีร์สำคัญที่จิตรู้แจ้ง มิใช่อยู่ที่อรรถรสสุนทรีย์ของพระคัมภีร์เท่านั้น

        4.  จะต้องหมั่นเพียรวิริยะก้าวหน้า ประหนึ่งเลือกสรรตัวยามาเข้าพิกัด ให้สรรพคุณอุ่นเย็นเข้ากันพอเหมาะ ทำให้กายใจได้รับคุณประโยชน์ถูกต้องสมดุลกัน

        5.  จงกำหนดการสร้างสถานปฏิบัติธรรม จะเป็นวัดเล็กหรือพระอารามใหญ่ ก็ให้สะอาด สงบ  ให้มีหลังคากันแดดกันฝนได้เป็นสำคัญ แต่ไม่ให้ฟุ่มเฟือยหรูหราเพื่อความโอ่อ่ามีหน้ามีตา

        6.  ผู้อยู่ร่วมบำเพ็ญ จะต้องช่วยเหลือกระตุ้นเตือนปรึกษาหารืออุ้มชูกัน เพื่อการบรรลุมรรคผลพร้อมกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการถูกทดสอบยิ่งจะต้องสำแดงคุณของความเป็นผู้บำเพ็ญร่วมกัน อย่าให้มีความเบื่อหน่ายถดถอยเกิดขึ้นได้

        7.  จงรักษาคุณลักษณะความเป็นผู้มีธรรมในการนั่ง  ยืน  เดิน  นอน ทุกอริยาบทไว้ให้ดี อยู่ในอาการสงบเพื่อสำรวมบำเพ็ญจิต

        8.  จะต้องฝึกจิตปราณีต "เอาชนะมังกร สยบเสือร้ายให้ได้"  นั่นคือ การตัดกิเลสตัณหาอารมณ์ให้เหลือแต่กุศลจิตบริสุทธิ์ล้วน ๆ เพียงอย่างเดียว

        9.  จะต้องประคองรักษาจิตเดิมแท้อันใสสงบวิเศษยิ่งอันส่องเห็นตนและคนอื่นได้ให้คงอยู่เสมอ

        10.  ให้ปรับกำลังธาตุทั้งห้า คือ ทอง  ไม้  น้ำ  ไฟ  ลม ในตนให้สมานกันพอดี จนเป็นพลังธาตุสุขุมอันวิเศษประดุจเป็นหนึ่ง ณ จุดรวมศูนย์ต้นกำเนิดในตน

        11.  จงอุ้มชูรักษาจิตญาณ (ชีวิตจริง) กับกายชีพซึ่งล้วนเป็นงานอันสำคัญขอผู้บำเพ็ญจะต้องวิริยะจริงจังไม่เกียจคร้าน

        12.  จะต้องเอาแบบอย่างการปฏิบัติบำเพ็ญของอดีตพระอริยปราชญ์เป็นบรรทัดฐาน

        13.  จงศึกษาธรรมด้วยความขยันหมั่นเพียร มุ่งมั่นจะก้าวล่วงให้พ้นจากโลกของวัตถุนามรูป ให้พ้นจากวัฏฏะสงสารให้ได้

        14.  ผู้ได้รับวิถีธรรม ได้ศึกษาธรรม ได้ดำเนินธรรม พึงปลูกฝังตนให้มีคุณสมบัติของผู้เป็นปากเสียงแทนฟ้า ภาพลักษณ์กิริยาอาการทุกอย่างให้รื่นตารื่นใจ เป็นสัญลักษณ์ของธรรมะ ของชาวธรรม  ของหมู่คณะ  จะเป็นผู้ให้ "ธรรมะ"  ด่างพร้อยเสียหายมิได้เลย

        15.  การบำเพ็ญจนบรรลุสู่อนุตตรสัมมาสัมโพธิมรรค จนกระทั่งกลับคืนสู่สูญญตาภาวะนั้น เป็นเป้าหมายสุดท้ายสูงสุดของผู้บำเพ็ญ

        พระบรรพจารย์หวังฉงหยัง กับ ศิษย์เอกทั้งเจ็ด ผู้บรรลุธรรมวิเศษได้พยายามแพร่ธรรมกอบกู้อุ้มชูจิตใจสาธุชนจนได้รับการเทิดทูนจารึกจากปราชญ์เอวี๋ยนอี๋ซัน ในสมัยนั้นว่า  ทุกท่านในศาสนาสัทธรรมเฉวียนเจิน พลิกฟื้นสัจธรรมในหมู่ผู้หลงด้วยจิตใจ  "ในแกร่งนอกสมาน"  เปิดทางบำเพ็ญโดยตรงให้แก่ทุกชนชั้นด้วยภาวะกึ่งอริยะกึ่งทางโลก บวชจิตพร้อมกับรับผิดชอบครอบครัวได้ ด้วยจิตมุ่งหมาย "นำตนบรรลุธรรม นำท่านบรรลุด้วย"  ในยุคนั้น คนที่เคยผิดบาป คนยากไร้ทุกข์เข็ญต่างได้รับโอกาสกลับตัวกลับใจ เริ่มต้นชีวิตใหม่กันทุกหย่อมหญ้า ทั่วทั้งแผ่นดินใหญ่จีน จากเหนือจรดใต้ ที่ใดมีควันไฟบ้านช่องที่นั่นก็จะมีผู้บำเพ็ญศาสนาสัทธรรมเฉวียนเจิน  จากป่าเขาจนถึงเมืองใหญ่ไม่ต่ำกว่าสิบล้านคน กระจายกันอยู่และรวมกลุ่มสามคนห้าคนส่งเสริมการบำเพ็ญแก่กันอย่างแข็งขันเคร่งครัด จึงเป็นศาสนิกที่สมัครสมานกันอย่างไม่มีอุปสรรคใดสั่นคลอนได้เลย

        ศาสนาสัทธรรมเฉวียนเจิน ได้รวมเอาแก่นแท้ของศานาพุทธ  ศาสนาเต๋า  และศาสนาปราชญ์ไว้ในจุดเดียวกัน นั่นคือเข้าสู่ "อนุตตรสัมมาสัมโพธิจิต" ซึ่งจะกล่าวว่า  พระบรรพจารย์หวังฉงหยังได้โปรดจุดคบไฟส่องทางให้แก่สาธุชนในธรรมกาลยุคขาวบัดนี้ไว้แล้ว ตั้งแต่พันกว่าปีก่อนก็ว่าได้   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                 ตามรอยอริยา 

                       8  พระบรรพจารย์ฮุ่ยเอวี่ยน

        พระบรรพจารย์ฮุ่ยเอวี่ยน  แซ่เจี่ย เป็นชาวเมืองเอี้ยนเหมินโหลวฝัน  มณฑลซันตง  รัชสมัยตงจิ้นเฉิง ตี้เสียนเหอปีที่แปด (ค.ศ. 333)เนื่องจากเกิดภัยสงครามนานเนื่อง เมื่อท่านอายุได้สามสิบปีจึงต้องพร้อมด้วยฮุ่ยฉือน้องชายติดตามน้าชายย้ายไปเล่าเรียนที่เมืองลั่วหยัง ท่านคงแก่เรียน ถ้วนทั่วในพระคัมภีร์?ั้งหก (ลิ่วจิง) โดยเฉพาะหลักสัจธรรมของอริยปราชญ์เหลาจื่อและท่านปรัชญาเมธาจวงจื่อ  ในปีที่ท่านอายุได้ยี่สิบเอ็ด มหาเถระเต้าอันได้มาสร้างวัดที่ภูเขาไท่หังซัน อรรถาพุทธธรรม เป็นที่ร่ำลือเลื่อมใสไปทั่ว  ขณะนั้น พระบรรพจารย์ฮุ่ยเอวี่ยน ยังมิได้บรรพชา จึงรู้สึกแปกใจว่าเหตุใดฮ่องเต้จึงทรงเคารพยกย่องพระเถระเต้าอันถึงเพียงนี้ ผู้คนก็ดื่มด่ำในพุทธธรรมยิ่งนัก ยังจะมีหลักสัจธรรมใดเสมอด้วยหลักสัจธรรมของท่านเหลาจื่อและจวงจื่ออีกหรือ  เพื่อไขข้อกังขานี้ ท่านจึงพาฮุ่ยฉือน้องชายสู้เดินทางไกลนับพันลี้ ไปขอศึกษาพุทธธรรมจากพระอาจารย์เต้าอัน ในช่วงนั้น ความรู้ทางธรรมของท่านฮุ่ยเอวี่ยนมีแต่ทางด้านศาสนาปราชญ์  ซึ่งพระอาจารย์เต้าอันก็มีความรู้ทางนี้มากเช่นกัน เมื่อผสมผสานกับหลักธรรมในพุทธศาสนาแล้ว ยิ่งทำให้รู้สึกลึกซึ้งแยบยลยิ่งขึ้น ทำให้พี่น้องทั้งสองปลื้มปิติถึงกับอุทานว่า  "พระอาจารย์เต้าอัน สมควรเป็นพระอาจารย์ที่เคารพของเราโดยแท้ ..."  ทั้งสองพี่น้องจึงยินดีปลงผมบรรพชาทันที

        ต่อมา เกิดเหตุจลาจลในแถบภูเขาไท่หัง ท่านฮุ่ยเอวี่ยนกับท่านฮุ่ยฉือจึงต้องติดตามพระอาจารย์เต้าอันจาริกไปแสวงบุญในที่อื่น ช่วงนั้น พระสงฆ์ทั้งสามรูปต้องอดอยาก ต้องได้รับความลำบากแสนสาหัส หน้าหนาวทางภาคเหนือ ท่านมีแต่เสื่อและผ้าห่มขาด ๆ ผืนเดียว แต่ท่านยังคงวิริยะศึกษา  กลางคืนไม่มีตะเกียง  ท่านจึงอาศัยแสงตะวันสนธยาอ่านพระคัมภีร์ให้ถึงที่สุดจนมืดค่ำ จนกว่าจะมองไม่เห็นตัวอักษร

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                               ตามรอยอริยา 

                       8  พระบรรพจารย์ฮุ่ยเอวี่ยน

        มีผู้เตือนท่านว่า "สภาพยากเข็ญปานนี้แล้ว ขอให้ท่านลดวิริยะลงเสียบ้างเถิด"  แต่ท่านฮุ่ยเอวี่ยนกลับตอบว่า "พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญด้วยความทุกข์ยากยิ่งกว่านี้ถึงหกปี เราสบายกว่าพระองค์มากนัก"  "ขณะนี้เป็นกลียุค เรายิ่งต้องบำเพ็ญเพียรเพิ่มพูนบารมี เพื่อให้พุทธบารมีช่วยคลี่คลายทุกข์เข็ญของชาวบ้านชาวเมืองด้วยทางหนึ่ง ขออาศัยพุทธบารมีสร้างสันติธรรมให้เกิดขึ้น ภายหน้าจึงจะมีวันปกติสุขให้อยู่ได้"  ด้วยความวิริยะอุตสาหอดทน พากเพียรศึกษา ศรัทธาเชื่อมั่น  ตั้งใจมุ่งมั่น  อายุเพียงยี่สิบสี่ปีเท่านั้น ท่านฮุ่ยเอวี่ยนก็ได้รับความเคารพเทิดทูนว่าเป็นพระมหาเถระที่สูงส่งล้ำลึกในพุทธธรรมอย่างวิเศษยิ่ง ท่านอรรถาธรรมแจกแจงได้อย่างถึงที่สุด จนพระอาจารย์เต้าอันชื่นชมว่า  "ผู้จะส่งเสริมพุทธธรรมให้แพร่หลายทั่วบูรพาทิศได้ในภายหน้า  ก็เห็นจะมีแต่ฮุ่ยเอวี่ยนนี้เท่านั้น"

        ยุคนี้  ยังมีผู้เข้าใจในพุทธศาสนาไม่ทั่วถึง พระสงฆ์ห้าร้อยกว่ารูปถูกต้องข้อหาสมคบกันมีเบื้องหลังน่าสงสัย ถูกทหารติดตามจับกุม จึงพากันหลบหนีระเหเร่ร่อนไป ได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส ไม่กล้าเข้าไปบิณฑบาตรในหมู่บ้าน ได้แต่เดินป่าหาผลไม้  ใบไม้  จนถึงเปลือกไม้มาฉันประทังสังขาร
ไป แต่ทุกท่านก็ยังคงมั่นคง  อดทน  จนสุดท้ายเมื่อมาปักหลักที่เมืองเซียงหยัง จึงค่อยปกติสุขขึ้น แต่ยังต้องทำนา ต้องหาอาหารเอง
       
        สิบห้าปีที่เมืองเซียงหยัง  พระบรรพจารย์ฮุ่ยเอวี่ยน เจริญธรรมจนถึงขั้นสุดยอด เป็นหลักคานของพุทธศาสนาในประเทศจีนได้อย่างมั่นคง  วันหนึ่ง พระอาจารย์เต้าอัน (พระอาจารย์ของท่านฮุ่ยเอวี่ยน)  ถูกฝูเจียน ผู้มีอำนาจนำทหารหนึ่งแสนคนมาชิงตัวไป ท่านฮุ่ยเอวี่ยนจึงต้องรีบพาศิษย์พี่ศิษย์น้องทั้งหมดหลบหนีไปยัง  "หลูซัน"   "หลูซัน เป็นภูเขาสูงเสียดฟ้า ลักษณะลู่ทางมหัศจรรย์ซับซ้อน จนน้อยคนนักจะขึ้นไปถึงยอดเขาได้ อีกทั้งทิวทัศน์ก็งดงามมากตั้งแต่เชิงเขาจนถึงยอดเขา  จากการช่วยเหลือของ  "หวนอี"  เจ้าเมืองเจียงโจว พระบรรพจารย์ฮุ่ยเอวี่ยนได้สร้างวัดแห่งประวัติศาสตร์ไว้บนยอดเขาทางทิศตะวันออกวัดหนึ่ง ชื่อว่าวัด  "ตงหลินซื่อ"  พระมหาเถระสหายธรรมของท่านนามว่า  "ฮุ่ยอย่ง"  ได้สร้างไว้บนยอดเขาทางทิศตะวันตกตรงข้ามอีกวัดหนึ่ง ชื่อว่าวัด  "ซีหลันซื่อ" 

        ท่านฮุ่ยเอวี่ยนได้ใช้เวลาบั้นปลายของชีวิตสามสิบเจ็ดปี ศึกษาบำเพ็ญเพียรจนถึงขั้นสุดยอด ณ วัด  "ตงหลินซื่อ" นี้  ระหว่างเวลาเกือยบสี่สิบปีนั้นท่านฮุ่ยเอวี่ยนได้ทุ่มเทสร้างสรรค์ นำพาสาธุชนให้ได้สวดมนต์เจริญภาวนารักษาศีล  ทำฌาณสมาธิกันมากมาย  นักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มาร่วมสวดมนต์ด้วยก็มีมากถึงหนึ่งร้อยยี่สิบสามคน ซึ่งต่อมาได้ก่อเกิดเป็น "ชมรมพุทธศาสนิกบัวขาว  ไป๋เหลียนเซ่อ" ขึ้น  เน้นการสวดมนต์เป็นหลัก นั่นคือ จุดเริ่มตันของการสวดมนต์ในประเทศจีน อีกทั้งเป็นเสียงกู่เสียงแรกของการเรียนรู้  "ฌาณ"  ทางแถบใต้ลุ่มน้ำแยงซีเกียง  ชมรมสวดมนต์  "บัวขาว" ในยุคนั้นมิใช่สวดท่องปากเปล่าแต่ทุกคนเข้าถึงภาวะแห่งพระธรรมคัมภีร์ที่สวดท่องนั้นอย่างลึกซึ้ง

        ฉะนั้น สภาวะที่เข้าถึงฌาณสมาธิของผู้สวดท่องกับบรรยายกาศขณะที่สวดท่องจึงศักดิ์สิทธิ์สูงส่งยิ่งนัก การจะเข้าสู่ชมรมบัวขาวในยุคนั้น เป็นเรื่องยากพอสมควร บุคคลที่มีอำนาจวาสนาหลายคนถูกปฏิเสธ เพราะไม่สำรวม กาย วาจา ใจ  ยังเป็นลักษณะของปุถุชนมากไป กิตติศัพท์ของท่านฮุ่ยเอวี่ยนระบือไกลไปทั่วดินแดนแยงซีเกียงตอนใต้  จนแม้กวีเอกแห่งยุคนั้นคือท่าน "เถาเอวียนหมิง "  (ค.ศ. 372 - 427)  ก็อุตสา่ห์เดินทางนับพันลี้เพื่อมาเจริญธรรมไมตรีกับท่านฮุ่ยเอวี่ยน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                               ตามรอยอริยา 

                       8  พระบรรพจารย์ฮุ่ยเอวี่ยน

        ต่อมา  "หวนเสวียน"  ผู้ตรวจราชการแผ่นดินราชวงศ์ "จิ้น"  เป็นขบถ ยกทัพผ่านมาทาง หลูซัน รู้สึกเลื่อมใสจึงขึ้นเขาไปนมัสการท่านฮุ่ยเอวี่ยน แต่ด้วยคงามฮึกเหิมเริงอำนาจ  ความรู้สึกเลื่อมใสจึงเป็นเพียงความชื่นชม มิได้ศรัทธาลึกซึ้งในสัจธรรม ฉะนั้น เมื่อยึดอำนาจครองราชย์แล้วจึงประกาศว่า  "อ๋องคือผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน นักบวชผู้บำเพ็ญจะต้องคุกเข่าคารวะ"  ท่านฮุ่ยเอวี่ยนได้ทราบประกาสนี้ รีบเขียนจดหมายถึงอ๋องขบถสามฉบับทันที ขอให้ยกเลิกกฏเกณฑ์นี้เสีย ต่อมา อ๋องขบถฮึกเหิมหนึกขึ้นถึงกับบัญชาให้กวาดล้างทำลายสงฆ์ทั้งหมดในบ้านเมือง แต่มีข้อยกเว้นว่า "วัดบนหลูซันบรรพต เป็นที่พำนักของผู้มีคุณธรรม ไม่ต้องตรวจค้นกวาดล้าง"  ในจุดนี้ ทำให้เห็นสถานภาพอันสูงส่งยิ่งของท่านฮุ่ยเอวี่ยนในครั้งนั้น  ท่านฮุ่ยเอวี่ยนไม่เพียงเสี่ยงชีวิตเพื่อธำรงรักษาศานาพุทธไว้ พร้อมกันนั้นยังเผาไหม้ชีวิตทั้งหมดของท่านเองเหมือนแสงเทียนละลายแท่งเพื่อให้พุทธธรรมจรัสแสงสว่างใสในใจของคนทั้งหลาย  สามสิบเจ็ดปีบนหลูซันบรรพต ท่านไม่เคยพ้นไปจากที่นั่นแม้สักก้าวเดียว

        ครั้งหนึ่ง ท่านกวีเอก "เถาเอวียนหมิง"  ซึ่งเคารพชอบพอกับท่านฮุ่ยเอวี่ยนมาก มาเยี่ยมแล้วลากลับเหมือนอย่างเคย แต่การสนทนาปรัชญาธรรมยังติดพันไม่จบความ จึงเดินคัยกันไปพลาง แต่พอถึงลำธาร "หู่ซี่"  สุดเขตกลูซัน ท่านฮุ่ยเอวี่ยนก็หยุดเดิน  ท่านเถาเอวียนหมิงจึงขอร้องท่านฮุ่ยเอวี่ยนว่า"เดินคุยกันต่อไปอีกสักหน่อยเถิด ข้ามลำธาร "หู่ซี่" พ้นเขตหลูซันไปสักเล็กน้อยคงไม่เป็นไร  ท่านฮุ่ยเอวี่ยนตอบว่า 

"จะละเลยปล่อยใจมิได้
จะตามใจใคร่อยากมิควร
ซินปู้เข่อจ้ง
อวี้ปู้เขอจั่ง

        แม้อาตมาจะยินดีเดินไปส่งท่านให้ไกลกว่านี้ แต่หากล่วงพ้นลำธาร "หู่ซี" ก็จะเท่ากับอาตมา "ปล่อยใจ ตามใจ"  ไปเสียแล้ว  ท่านเถาเอวียนหมิงถามว่า  "นี่เป็นกฏเกณฑ์ในการบำเพ็ญด้วยหรือ มีความหมายเพียงไรกับการล่วงข้ามหรือไม่ ล่วงข้ามลำธารหู่ซี"  ท่านฮุ่ยเอวี่ยนตอบว่า "เป็นกฏเกณฑ์เฉพาะอาตมา" ศาสนาปราชญ์เตือนไว้ว่า

 "อย่าเห็นความดีเพียงน้อยนิดไม่คิดทำ 
อย่าทำผิดบาปด้วยเห็นเพียงเล็กน้อย
อู้อี่ซั่นเสี่ยวเอ๋อปู้เอว๋ย
อู้อี่เอ้อเสี่ยวเอ๋อเอว๋ยจือ" 

        การไม่ล่วงข้ามลำธารหู่ซี แม้จะไม่มีความหมายสำคัญแต่เมื่ออาตมาได้ตั้งใจและไม่ละเมิดจนถึงที่สุดได้ ความหมายสำคัญย่อมเกิดแก่อาตมาผู้ถือปฏิบัติเคร่งครัดอย่างแน่นอน  คติพจน์นี้ ทำให้ท่านเถาเอวียนหมิงกำซาบใจไม่รู้หาย  ท่านถามตัวเองว่า  "คุ้มแล้วหรือกับบำเหน็จข้าวสารห้าทะนานหลวง ทำให้เราต้องโค้งตัวต่อขุนนางทุกขณะ แต่ไม่มีอิสระจะสนทนาธรรมกับมหาเถระได้" 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                ตามรอยอริยา 

                       8  พระบรรพจารย์ฮุ่ยเอวี่ยน

        ท่านเถาเอวียนหมิงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายอำเภอทันที ท่านเขียนกวีบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ให้ชื่อว่า "กุยชวี่ไหลฉือ กลับไปมาลา"  ในปีที่ธรรมชันษาของพระบรรพจารย์ได้แปดสิบสาม (ค.ศ. 416) เป็นวันพระหนึ่งค่ำ (ซูอี)  เดือนแปดสุดท้ายในโลกสำหรับท่าน ท่านอาพาทหมดแรงกระทันหันสานุศิษย์ห้อมล้อมอยู่เต็ม ศิษย์หลายคนเป็นบุคคลสำคัญในสมัยนั้น รวมถึงแพทย์ผู้มีชื่อเสียง เมื่อแพทย์ปรุงยาให้ท่านฉัน ท่านพิจารณาดมดูก่อนเห็นว่ามีเหล้าเจือปนอยู่ด้วย ก็ปฏิเสธ ศิษย์ทุกคนพร้อมใจกราบวิงวอน ขอให้ท่านฉันเพื่อรักษาอาการอาพาธเถิด ท่านกล่าวว่า  "อาตมาจะละเมิดศีลโดยเห็นแก่กายสังขารได้อย่างไร "  แพทย์ไม่ละความพยายาม กราบเรียนถามท่านว่า จะเปลี่ยนเป็นเหล้าข้าวหมัก ท่านส่ายหน้าปฏิเสธ แพทย์กราบเรียนถามท่านใหม่ จะเปลี่ยนเป็นน้ำผึ้งผสมน้ำ ศิษย์ทุกคนก้มกราบอ้อนวอน จนสุดท้าย ท่านจึงกล่าวว่า  "เอาละ ลองไปตรวจดูในพระวินัยปิฏกว่ามีบัญญัติอนุญาตหรือไม่" ศิษย์ทุกคนดีใจรีบไปตรวจค้นกันเป็นการใหญ่ แต่ยังไม่ทันค้นพบ พระอาจารย์ก้หลับตาละสังขารไปจากสานุศิษย์ ท่ามกลางบรรยายกาสอันระทึกใจนั้น  คำโบราณกล่าวไว้ว่า  "เดินย่ำผ่านคมมีดนั้นง่าย ยอมตายด้วยมโนธรรมนั้นยาก  เต้าไป๋เหยิ่นอี้ ชงหยงจิ้วอี้หนัน "  พระบรรพจารย์ได้ทำสิ่งยากให้สำเร็จ ได้จนถึงวินาทีสุดท้าย  คติธรรมของท่านเริ่มจาก 

"... ท่านไม่เพียงเป็นนักคิด แต่เป็นนักปฏิบัติด้วย..."  ท่านได้สำแดงคุณแห่งพุทธศาสนา ไว้ด้วยความคิดและการปฏิบัติให้เห็นอย่างแท้จริง..."
ท่านได้สำแดงคุณแห่งความเป็นพุทธะไว้ทุกขณะทุกสถานการณ์ในชีวิต   ท่นปฏิเสธลาภยศสรรเสริญ จากอ๋องฮ่องเต้โดยไม่หวั่นเกราอาญาบ้านเมือง...ท่านปฏิบัติบำเพ็ญเพียรอยู่บนหลูซันอย่างสมถะ แม้แต่ลำธารหู๋ซีสายเล็กๆ สุดแนวเขตหลูซัน ท่านก็ให้เห็นเป็นกำแพงขวางกั้น 

        ท่านปฏิบัติบำเพ็ญเพียรอยู่บนภูเขาหลูซันอย่างสมถะ ศีลวัตรที่ดูอย่างไม่สลักสำคัญอะไรนัก สำหรับท่านแล้ว ทุกอย่างเป็นพลังสร้างสมความมุ่งมั่น  ยั่งยืน ในการเจริญธรรม  บรรลุธรรมทั้งสิ้น  สมควรที่เราศิษย์แห่งธรรมกาลยุคขาวจะเจริญรอยตาม

        "ผิดวินัย  แม้อยู่ได้ก็ต้องตาย
       ถูกวินัย  แม้ต้องตาย  ก็ยืนยง 

          รอยเท้าที่ก้าวตาม  งดงามทุกคืบวา
           ประณตจรดบาทา   อริยาผู้ไปดี
                                                          จบเล่ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/03/2012, 10:02 โดย jariya1204 »

Tags: