collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: แรงปณิธานกับแรงบาปเวร : บทบรรณาธิการ  (อ่าน 26912 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            แรงปณิธานกับแรงบาปเวร 

                                    ตอนที่  5

                   แจกแจง "หอผิดบาป" ปณิธาน 17-18 

          ข้อสิบเจ็ด   "ทำเปี่ยวเหวินเสียหาย  ไม่เคารพรักษา"

        "เปี่ยวเหวิน ใบคำขอ"  กับสถานธรรมล้วนเป็นสมบัติทางธรรมที่เป็นเครื่องใช้ถ่ายทอดวิถีธรรม "เปี่ยวเหวิน ใบคำขอ"  เขียนผิดแก้ไขได้ แต่หากผิดมากไป จะต้องวงฆ่าทั้งใบเราก็จะผิดบาปจากการสิ้นเปลือง "เปี่ยวเหวิน ใบคำขอ" เสียหาย เบื้องบนก็จะมองดู เหมือนเก็บสถานธรรมไปแห่งหนึ่ง โทษผิดบาปจึงเท่ากัน  เปี่ยวเหวิน ถวายขึ้นเบื้องบน ลงทะเบียนไว้ ณ เทียนปั่ง  ผังฟ้า  เป็นหลักฐานสำคัญที่สุด  หากไม่มีเปี่ยวเหวิน สถานธรรมก็ไม่เกิดผลในการถ่ายทอดวิถีธรรมได้  ต่อไป ใครที่ยังเขียนไม่เป็น จะต้องมีผู้เขียนเป็นประกบตัวสอน  แต่ถ้าเขียนเป็นยังเขียนผิด ยังเห็นไม่เป็นไร ความผิดนี้ยิ่งใหญ่ขึ้น  อักษรที่เขียนผิดจะต้องลงว่าผิด ผิดทั้งใบวงทุกตัว  ที่ผิดเผาในกระถางธูปบนโต๊ะบูชา อย่าไปเผาที่อื่น อีกทั้งต้องกราบสำนึกผิด หากถ่ายเอกสารเพื่อการฝึก จะต้องกราบทูลต่อเบื้องบนตามจำนวนทั้งหมดที่ใช้ฝึกหัด  เปี่ยวเหวินจะต้องท่องจำให้ได้  ถ้าท่องไม่ได้  วันใดไม่มีเปี่ยวเหวินที่พิมพ์สำเร็จรูป จะปั้นเต้าเฉพาะหน้า จะทำอย่างไร  จึงกล่าวว่า หากท่องเปี่ยวเหวินไม่ได้ เป็นเรื่องละอายต่อ "เทียนเอินซือเต๋อ" ยิ่งนััก

            ข้อสิบแปด   "หน้าไหว้หลังหลอก"

        มาถึงสถานธรรมตำหนักพระ  เห็นเตี่ยนฉวนซือคุกเข่ากราบด้วยความเคารพ แต่เมื่อมาถึง ขณะไม่เห็นใครอยู่  ณ  ที่นั้น แม้แต่คำนับสามคำนับก็เว้นไป ถ้าเป็นเช่นนี้ ที่มากราบนั้น เพื่อให้ใครดูหรือ จิตใจอย่างนี้คือ ยึดหมายในรูปลักษณ์  "หน้าไหว้หลังหลอก" ยังมีคนอีกพวกหนึ่ง ต่อหน้าเคารพนบนอบอาวุโส ก็ทำบุ้ยใบ้กับญาติธรรมใหม่ ก็เรียกว่า "หน้าไหว้หลังหลอก"     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           แรงปณิธานกับแรงบาปเวร           

                                    ตอนที่  5

                   แจกแจง "หอผิดบาป" ปณิธาน 19-20 

           ข้อสิบเก้า   "โลภครองกุศลความดี"

        หากมีอาวุโสถวายสิ่งของให้สถานธรรม ผู้รับผ่านมือเอาสิ่งของที่เขาถวายมา มอบให้เป็นสมบัติแก่ผู้อื่นต่ออีก ไม่ได้บอกกล่าวว่าใครสร้างบุญมา อย่างนี้คือ "ถือครองกุศลความดีของผู้อื่น" ทางที่ดี แต่ละสถานธรรมจะต้องจัดสมุดเล่มหนึ่ง ไม่ว่าญาติธรรมทำบุญด้วยอะไร จะต้องจดไว้ละเอียดตามนั้น แม้เขามาเก็บกวาดโดยสมัครใจก็ให้จดไว้ ให้ทุกคนรู้ว่า บุญกุศลของเขาไม่ได้ถูกลบล้างไป เพราะมีญาติธรรมบางคนใส่ใจมากว่า การให้ของ เขาจะเป็นที่ยืนยัยยอมรับหรือไม่ หากเราละเลยรั่วไหลในด้านนี้ไปบ่อย ๆ อาจเป็นเหตุทำให้เขาไม่มาสถานธรรมอีก เราก็จะกลายเป็นสอบเขาไปอีกรูปแบบหนึ่งใช่ไหม  ไม่เพียงครอบครองกุศลความดีของเขาไป ยังสอบเขาให้ตกไปด้วย  เวลามีประชุมฝ่าฮุ่ยหรือกิจกรรม บางครั้งข้าวของเหลือเฟือ เราฉวยกลับไปหนึ่งห่อ ก็นับว่าโลภครองกุศล ของคนอื่นไป แต่หากเหลือมากจริง ๆ จะต้องรอให้อาวุโสผู้รับผิดชอบเหล่านั้น ประกาศบอกกล่าวเสียก่อน จึงจะไปหยิบเอาได้ หากมิได้ประกาศบอกกล่าวไปหยิบเอง เท่ากับจาบจ้วงของสถานธรรม อีกทั้งจะถือวิสาสะพิสมัยหยิบส่งให้ใครเป็นทางการส่วนตัวก็ไม่ได้  พึงรู้ว่า สถานธรรมไม่ใช่ของเราคนเดียว ระเบียบนี้จะต้องชัดเจน มิฉะนั้นจะผิด

            ข้อยี่สิบ   "ไม่ขมากรรมสำนึกจริง"

        ที่สถานธรรม จะมีพิธีขอขมากรรมวันสิ้นปี ก่อนหน้าจะต้องสำนึกพระคุณ สำนึกพระคุณเสร็จจึงขอขมา เพียงให้เราจริงใจสารภาพ  ณ  เบื้องพระแท่นอีกทั้งขอขมาเบื้องบนก็จะโปรดนิรโทษกรรม  แต่เรามักจะขอขมากันง่าย ๆ  แล้วทำผิดต่อไป โทษก็จะเพิ่มเป็นทวีคูณ เพราะรู้สึกผิดแล้วไม่แก้ไข ทำผิดต่อไปทั้ง ๆ ที่รู้ อย่างนี้เท่ากับไม่ได้บำเพ็ญเลย  ทุกอย่างเบื้องบนจดหมด  อย่างคิดว่า ปีหนึ่งๆ มีโอกาสขอขมากรรม มันซ้ำซาก จะต้องถามตนเองอยู่เสมอว่า บำเพ็ญจริงหรือไม่
         
 บนชั้นสอง   ของอาคารเก้าชั้น  บันทึกแต่โทษ ผิดบาป ซึ่งได้แสดงออก อันจะเป็นผลกระทบต่อผู้อื่นแล้ว 
บนชั้นสาม    บันทึกแต่โทษ ผิดบาป  ที่แม้้จะมิได้เป็นผลกระทบต่อผู้อื่น แต่ก็ได้ทำร้ายตนเองแล้ว ความคิด จิตดำริ  มโนวิญญาณ  แนวทางความคิด  ความฟุ้งซ่าน   ล้วนบันทึกอยู่บนชั้นนี้ 

        เบื้องบนจะให้เราบำเพ็ญจนขาวสะอาด สว่างใสสง่าผ่าเผย  ไม่อยากให้เราบำเพ็ญลับ ๆ ล่อ ๆ กลัวว่าผู้อื่นจะพูดถึงความบกพร่องของตน ที่กลัวก็เพราะจิตใจยังไม่กลมสมบูรณ์  ฉะนั้น  ปฏิบัติบำเพ็ญจะต้องเผชิญหน้ากับตนเองได้อย่างจริงจััง แม้จะทำผิดใหญ่หลวงมาสักเพียงใด ก็จะได้รับอภัยโทษ ในทางตรงข้าม เราทำผิดเล็กน้อย แต่ให้ตายก็ไม่ยอมรับผิด สุดท้ายจะกลายเป็นเหตุของการตกต่ำไป

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                              แรงปณิธานกับแรงบาปเวร 

                                        ตอนที่  5

                    แจกแจง "หอผิดบาป" ปณิธาน 21-22-23 

             ข้อยี่สิบเอ็ด   "แคลงใจในเทียนมิ่ง"

        การกระทำอย่างไรที่แคลงใจในเทียนมิ่ง เช่น รับธรรมไม่บำเพ็ญ  แต่กลับไปตามเทวสถาน ทรงเจ้าเข้าผี  ติดตามถามเรื่องเวรกรรมสามชาติ เซียมซีที่ไหนแม่น ที่ไหนเฮี้ยนก็จะไป  วันข้างหน้าจะถูกสอบปัญญา เพราะเราได้เข้าไปเกี่ยวพันกับเหตุผลกรรมต่าง ๆ มากมาย

             ข้อยี่สิบสอง   "ขัดเคืองผู้อาวุโส"

        ความรู้สึกขัดคืองต่ออาวุโส แม้จะไม่ได้พูดออกมา ไม่นับวจีกรรม แต่เป็นมโนกรรม  เพราะใจโทษโพย  เป็นการทำร้ายจิตญาณตน ถ้าเก็บกดโทสะไว้ วันใดระเบิดก็จะทำร้ายแก่อาณาจักรธรรม

             ข้อยี่สิบสาม   "ยึดหมายในนามรูป กุศลผลบุญ"

       อย่างเช่นผู้น้อยรู้ว่า นำพาคนรับธรรมะได้กุศลผลบุญทุกครั้งจะมีผู้อนุโมทนาว่า  "สาธุ อนุโมทนา  ตั้งใจเจริญปณิธานเต็มที่จริง ๆ " ดังนั้นแล้ว ผู้น้อยก็จะกระหยิ่ม ใจคิดว่า นำพาคนมากมายอย่างนี้ เป็นบุญกุศลใหญ่จริง ๆ  แท้จริงไม่รู้ว่า สิ่งเหล่านี้มันไม่เท่าไรเลย  แรงของมันไม่อาจต้านแรงเวรกรรมได้เลย  จิตใจยึดหมายอย่างนี้ เป็นรากฐานก่อเกิดแรงเวรกรรม เพราะยึดหมายนั้นผิดต่อทางสายกลาง เขารับธรรมะได้ก็ด้วยบุญปัจจัยของเขา ไม่ใช่เราแน่   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                            แรงปณิธานกับแรงบาปเวร 

                                   ตอนที่  5

                       แจกแจง "หอผิดบาป" ปณิธาน 24   

                ข้อยี่สิบสี่   "รักษาศีลไม่ยั่งยืน"

        กลางวันแม้เราจะรักษาศีลได้เป็นอย่างดี แต่กลางคืนใครเลยจะรู้ว่า ความคิดจิตใจของเราที่มีอะไรแฝงเร้นอยู่ มันได้ปรากฏออกมาในความฝัน ฉะนั้น เรื่องราวผิดศีลทั้งหลายจึงได้เกิดขึ้นอีก  ผู้น้อยดูมาจนถึงตรงนี้แล้ว เศร้าเสียใจมาก  พระองค์จอมชันษาฯ เรียกให้ออกมา  ผู้น้อยออกมาด้วยน้ำตานองหน้า เมื่อเห็นพระองค์จอมชันษาฯ  ไม่กล้าพูดอะไรอีก ได้แต่คุกเข่าลง  พระองค์โปรดว่า  "ไม่ต้องตื่นตระหนกใจ ที่ต้องประสบเรื่องราวเหล่านี้ ล้วนมีเหตุให้เป็นไป"  วันนี้ไม่ว่าที่เจ้าเห็น จะเป็นบุญกุศลก็ดี หรือ ผิดบาปก็ดี  ล้วนมีเซียนพุทธะช่วยเจ้าแบกไว้ ภายหน้าหากกุศลผลบุญถึงพร้อมสมบูรณ์ ทุกอย่างก็จะมลายไป  แต่หากยังก้าวหน้าถอยหลัง ไม่ยั่งยืนมั่นคง  ทำเหตุอะไรไว้ก็ต้องได้รับผลเช่นนั้น"  ความหมายของพระองค์ คือ  วันนี้ แม้เราจะได้รับ "เทียนเอินซือเต๋อ"  คุ้มครองรักษา แรงเวรกรรมอันเป็นผลจะชะลอตัว  แต่เราจะต้องปฏิบัติบำเพ็ญ  แต่กายวาจาใจของเรา ไม่สอดคล้องต่อความเป็นผู้บำเพ็ญ  ภายหน้า ก็ต้องไปรับผลกรรมตามเหตุนั้น  จะไม่ใช่ด้วยเหตุว่า เรามาอาณาจักรธรรมแล้วจะมีเหตุต้นผลตาม  ผู้น้อยจำได้ว่า  พักหนึ่ง  ช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อน  ผู้น้อยไปร่วมแรงพัฒนาที่ธรรมปราสาทเทียนเอวี๋ยนฝอเอวี้ยน  ท่านเหล่าเฉียนเหยินเห็นพวกเราจึงโปรดว่า  "พวกเธอมาทำอะไรกัน"  ผู้น้อยกราบเรียนว่า "เป็นอาสาสมัครพัฒนา"  ท่านเหล่าเฉียนเหยินโปรดว่า  "อยู่ที่บ้าน ขยันขันแข็งกันอย่างนี้หรือเปล่า ไม่ใช่ว่าละทิ้งทางบ้าน มาแต่อาณาจักรธรรมนะ"   ธรรมวจนะของท่านเหล่าเฉียนเหยิน ครั้งนั้น  ทำให้ผู้น้อยเกิดจิตสำนึกครั้งใหญ่  ภายหลัง  ท่านเหล่าเฉียนเหยิน ยังโปรดถามว่า  "บำเพ็ญธรรม  ดีไหม"  ผู้น้อย น้อมคารวะตอบว่า  "ดีขอรับ"  ท่านโปรดว่า  "ดีก็ปฏิบัติออกมา" (ธรรมะไม่ใช่ดีเพียงรู้  แต่ดีที่เป็น เป็นจริงให้ปรากฏ)

        ครั้งหนึ่ง เราผัดผักมามากเกินไป กินไม่หมด  ก้านผัก  ใบผักที่เลือกทิ้งไป ยังคงกองอยู่ข้างครัว (ซื้อมามากจึงเลือกกินแต่ยอด)  ท่านเหล่าเฉียนเหยินเดินมาเห็นเข้า  แต่ท่านไม่ว่ากระไร   คืนนั้น  เพราะปกติที่ธรรมปราสาทเทียนเอวี๋ยนฝอเอวี้ยน จะปิดไฟหมด เมื่อได้เวลาประมาณสองทุ่ม เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ทุกคนตื่นแต่เช้ามืด และ... พลันผู้น้อยก็ได้ยินเสียงผับ ๆ  จึงออกมาดูว่าเป็นอะไร  เสียงดังมาจาก  "หอสำนึกคุณ กั่นเอินโหลว "  ที่ท่านเหล่าเฉียนเหยินพำนักอยู่  จึงเรียนถามอาวุโสท่านว่าเป็นเสียงอะไร  ภายหลังจึงได้ทราบว่า  เศษผักดี ๆ ที่เราเลือกทิ้งไปกลางวัน  ทำให้ท่านเหล่าเฉียนเหยินต้องตบหน้าท่านเองหลายฉาด เพื่อลบล้างบาปเวรแทนพวกเรา  ปีนั้น  ธรรมายุของท่านเก้าสิบปีแล้ว  ท่านเหล่าเฉียนเหยินผู้สูงวัย ไม่รู้รับโทษบาปเวรแทนพวกเราผู้น้อยไปเท่าไร มิใช่เพียงบัดนี้ เรื่องนี้

        การประชุมธรรม  การเปิดชั้นศึกษาธรรม  ความมักง่ายของพวกเราในทุกเรื่อง  ทำให้ท่านเหล่าเฉียนเหยิน และ เตี่ยนฉวนซือ ต้องแบกรับโทษบาปไปแล้วเท่าไร  ฉะนั้น  เราทั้งหลายจะต้องพิจารณากันให้ดีสักหน่อย ตลอดเส้นทางที่ปฏิบัติบำเพ็ญมา อะไรที่น่าจะทำให้ดีกว่านี้ได้  อะไรที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ  สุดท้าย  พระองค์จอมชันษาฯ  เอื้อมพระหัตถ์ผลักผู้น้อยเบา ๆ ผู้น้อยจึงได้กลับคืนสู่มิติภาวะของโลกอีกครั้งหนึ่ง

        พอรู้ตัวตื่นขึ้น  ได้พบตนเองในสภาพคุกเข่าบนเตียง ร้องไห้จนหมดสภาพ นั่นคือเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น จึงเท่ากับได้ท่องเที่ยวไปประมาณสิบสองชั่วโมง  พระองค์จอมชันษาฯ โปรดกำชับว่า "หลังอุบัติเหตุนี้แล้วสามปี  เจ้าจะมีบุญวาระได้เผยแผ่เรื่องราวเหล่านี้เพื่อส่งเสริมผู้คน"  ปีหมินกั๋วที่แปดสิบเก้า  พอดีอาจารย์บรรยายธรรม แซ่เลี่ยว ที่ไถจง ได้ฟังเรื่องปาฏิหาริย์รอดตายนี้จากผู้น้อย จึงขอให้ผู้น้อยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จะนำไปพิมพ์เป็นหนังสือให้ใคร  ๆ ได้ประจักษ์ ผู้น้อยรับปาก  เดือนเก้าของปี  ผู้น้อยส่งต้นฉบับ เลี่ยวเจี่ยงซือไปจัดการนำออกเผยแพร่  เดือนสิบวันที่ห้า พอดีเป็นเวลาที่ผู้น้อยออกจากโรงพยาบาลครบสามปี 

        ความประจวบเหมาะที่เป็นจริงตามนี้ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ยืนยันถึงวิถีธรรมจริง  หลักสัจธรรมจริง  และ  พระโองการจริง  ทั้งหมดขึ้นอยู่กับบุคคลว่าได้บำเพ็ญเช่นไร  ปฏิบัติอย่างไร  ทุกอย่างล้วนเป็นไปตาม  "เทียนเอินซือเต๋อ"  ทั้งนั้น 

        เราศึกษาอยู่ในอาณาจักรธรรม  หลายปีมานี้ยิ่งอ่อนน้อมถ่อมตน แต่ใจจริงของเราเข้าถึงต้นธาตุต้นธรรมแล้วหรือยัง  เราต่างรู้ว่าขยะเต็มถังจะต้องยกไปเททิ้ง  จะบอกไม่ได้ว่าถังใบนี้ขยะเต็มแล้ว  ไปซื้อฝาสวย ๆ มาปิดถังไม่ให้เห็นขยะนั้น ก็หมดเรื่องไป  ไม่ว่าอายุทางธรรมของเราจะมากเพียงไร ล้วนจะต้องชำระจิตใจภายในให้สะอาดหมดจด ไม่ใช่ว่าในใจไม่เบิกบาน แสดงอาการรับหน้ากันไป อย่างนี้คือ  หลอกตนเอง  หลอกใครๆ  หลอกเบื้องบนใช่ไหมภายหน้าจะบรรลุธรรมนั้นยากนัก  เบื้องบนไม่โกหกเราเด็ดขาด  มีแต่คนผิดพลาดต่อเบื้องบน

ขอบคุณอาวุโสทุกท่าน  ที่ให้โอกาสผู้น้อยเจริญปณิธาน  หากผิดพลาดประการใด  ขอเบื้องบนได้โปรดเมตตา  ขอบคุณอาวุโสทุกท่าน

        ท้ายเล่ม

        ฟั่นเซิ่งเจี๋ย  เป็นอาจารย์บรรยายธรรม  เป็นชายหนุ่มในอาณาจักรธรรม วงการปัญญาชน ด้วยความศรัทธาจริงใจ ได้ฉุดช่วยนำพาญาติ เพื่อนพ้องมากมาย ให้ได้รับวิถีธรรม ไม่เคยย่อท้อต่อการฉุดช่วย  เสียสละตน  อีกทั้งได้รับความเกื้อหนุนจากพุทธะเซียน แต่โดยไม่คาดคิด ด้วยเหตุที่ใจไหวเอน ปรารถนาจะหาเงิน ใจธรรมถดถอยไป แรงเวรกรรมตามติด... บันทึกเรื่องราวความเป็นจริงนี้  เป็นอีกประจักษ์หลักฐานที่ได้รับการปรกโปรดส่งเสริมจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องราวให้คติสอนใจ  เป็นอุทาหรณ์แก่ผู้ปฏิบัติบำเพ็ญ เป็นอย่างดี

                                                                    ~ จบเล่ม ~

Tags: