collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: สูเหนิงเซิงเฉี่ยว : ความชำนาญก่อเกิดทักษะ  (อ่าน 1830 ครั้ง)

ออฟไลน์ nakdham

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
สูเหนิงเซิงเฉี่ยว : ความชำนาญก่อเกิดทักษะ
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2552 18:57 น.
 

 
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
 
 
       熟 (shú) อ่านว่า สู แปลว่า ชำนาญ
       能 (néng) อ่านว่า เหนิง แปลว่า สามารถ
       生 (shēng) อ่านว่า เซิง แปลว่า ก่อเกิด
       巧 (qiǎo) อ่านว่า เฉี่ยว แปลว่า ทักษะ

       
       ในสมัยซ่งเหนือ (เป่ยซ่ง) มีนักยิงธนูฝีมือดีผู้หนึ่งนามว่า เฉิน เหยาจือ วันหนึ่งเขาฝึกซ้อมการยิงธนูอยู่ที่บ้าน ด้วยผลงานการยิงธนูที่แม่นยำเกือบทุกครั้ง ทำให้บรรดาผู้ชมดูอยู่ข้างๆ ต่างพากันปรบมือด้วยความชื่นชม ทำให้เฉิน รู้สึกฮึกเหิม ลำพองใจยิ่ง แต่ในหมู่ผู้มุงดูนั้น มีเพียงผู้เฒ่าขายน้ำมันผู้หนึ่งที่เพียงผงกหัวน้อยๆ ไม่ได้ทำท่าชื่นชมมากนัก ทำให้เฉินรู้สึกไม่พอใจ และเอ่ยถามว่า “ท่านยิงธนูเป็นไหม? เห็นว่าข้ายิงเป็นอย่างไรบ้าง?”
       
       ชายเฒ่าผู้นั้นตอบว่า “ข้ายิงธนูไม่เป็น ส่วนท่านยิงพอใช้ได้ แต่ไม่ดีที่สุด ไม่มีไม้เด็ดอะไร เพียงแต่มีความชำนาญอยู่บ้างเท่านั้น”
       
       เมื่อเฉิน เหยาจือ ได้ฟังจึงถามกลับไปว่าแล้วตัวผู้เฒ่าเองนั้นมีฝีมือด้านใด ผู้เฒ่าได้หยิบเหรียญอีแปะที่มีรูตรงกลางอันหนึ่งวางปิดลงบนปากน้ำเต้าสำหรับบรรจุน้ำมัน จากนั้นใช้กระบวยตักน้ำมันเทลงไปในน้ำเต้า ผ่านรูกลางเหรียญอีแปะนั้น โดยที่เมื่อรินลงไปหมด กลับไม่แปดเปื้อนถึงตัวเหรียญเลยแม้แต่น้อย จากนั้นจึงเอ่ยปากกับนักแม่นธนูว่า “ข้าเองก็ไม่มีฝีมือพิเศษอะไร เพียงแต่ความชำนาญของข้า มีมากจนก่อเกิดความพลิกแพลงเท่านั้น” ซึ่งฝีมือของผู้เฒ่าทำให้นักแม่นธนูเฉินไม่กล้าลำพองใจต่อไป
       
       สุภาษิต “สูเหนิงเซิงเฉี่ยว” หรือ “ความชำนาญก่อเกิดทักษะ” หมายถึง หากต้องการรู้กระจ่างแจ้งในเรื่องใดจนกระทั่งสามารถเกาะกุมความพลิกแพลง สร้างเคล็ดลับของตนเองขึ้นมาได้ จำต้องผ่านความลำบากและความมุ่งมั่นในการฝึกฝนอย่างเคร่งครัด
 
 

Tags: