collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ชาเขียว-เห็ดช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม  (อ่าน 2762 ครั้ง)

ออฟไลน์ nakdham

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
ชาเขียว-เห็ดช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มีนาคม 2552 14:42 น.


 
 
ผู้บริโภคสามารถหาซื้อเห็ดได้จากแผงค้าผักที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศจีน โดยล่าสุด มีผลงานวิจัยจากออสเตรเลียระบุไว้ว่า การบริโภคเห็ดควบคู่ไปกับการดื่มชาเขียว จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ ส่วนที่เป็นมะเร็งอยู่แล้วก็จะช่วยชะลอการเติบโตของเนื้อร้าย 
 
 
       เอเอฟพี – ผลการวิจัยระบุ การรับประทานเห็ดควบคู่กับดื่มชาเขียวจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม และในรายที่เป็นมะเร็งอยู่แล้วก็จะช่วยชะลอการเติบโตของเนื้อร้าย
       
       งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Western Australia ที่ได้ศึกษาการรับประทานอาหารของหญิงชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองหางโจว จำนวน 2,018 ราย โดยครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างนี้เป็นโรคมะเร็งเต้านม การศึกษาครั้งนี้มีขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม 2547 ถึงกันยายน 2548
       
       หมิ่น จาง หนึ่งในคณะวิจัยระบุว่า อัตราการเป็นโรคมะเร็งเต้านมของหญิงชาวจีนมีน้อยกว่าผู้หญิงในประเทศพัฒนาแล้วประมาณ 4 ถึง 5 เท่าตัว
       
       “งานวิจัยของเราพบว่า ผู้หญิงชาวจีนที่บริโภคเห็ดมากเท่าใด พวกเธอก็จะลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากเท่านั้น โดยเฉพาะในหญิงวัยหมดประจำเดือน และยิ่งมีการบริโภคเห็ดควบคู่ไปกับการดื่มชาเขียวแล้ว ก็จะยิ่งทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมมีน้อยลงไปอีก”
       
       งานวิจัยชิ้นนี้พบว่า ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านมลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อมีการบริโภคเห็ดในอัตราที่สูงขึ้น และทฤษฎีนี้ใช้ได้ทั้งกับเห็ดสดและเห็ดตากแห้ง
       
       โดยพบว่า การบริโภคเห็ดเพียงวันละ 10 กรัม หรือเพียงหนึ่งดอกเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งอย่างได้ผล
       
       นอกจากนี้ ยังพบว่าในหญิงที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว เมื่อบริโภคเห็ดสดเข้าไปจะทำให้การเติบโตของเนื้อร้ายมีน้อยกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้บริโภคเห็ด 2 ถึง 3 เท่าตัว และยังพบว่า ชาเขียวและเห็ดนี้มีสรรพคุณช่วยกำจัดเนื้อร้ายที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของมะเร็งทุกชนิดได้
       
       หมิ่น จาง กล่าวอีกว่า ข้อเท็จจริงที่ว่า การบริโภคเห็ดควบคู่ไปกับการดื่มชาเชียว จะทำให้ได้ผลดีกว่าการบริโภคเห็ดอย่างเดียวนั้น เป็นผลจากการศึกษาในกลุ่มหญิงชาวจีนที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม
       
       “เท่าที่เรารู้ นี่คืองานศึกษาในมนุษย์ชิ้นแรก ที่สามารถสรุปผลของการบริโภคเห็ดและชาเขียวร่วมกันที่มีต่อโรคมะเร็งเต้านม และหากการค้นพบของเราสอดคล้องกับผลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นอื่นๆ ก็เป็นไปได้ว่าในอนาคตโรคมะเร็งเต้านมจะสามารถป้องกันได้ด้วยอาหารที่ราคาไม่แพงเลย” หมิ่น จาง กล่าวสรุปไว้
       
       งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเกี่ยวกับมะเร็ง International Journal of Cancer ฉบับล่าสุด ซึ่งอยู่ในชุดเอเชียศึกษาเกี่ยวกับการต่อต้านสาเหตุของโรคมะเร็งและชีวเคมี โดยมี หมิ่น จาง และคณะ เป็นผู้ทำการวิจัย
 

ออฟไลน์ jokerzero

  • มิตรนักธรรม
ความหวังใหม่ของผู้ป่วยมะเร็ง
โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โรคมะเร็ง จัดเป็นโรคร้ายแรงที่มีอัตราการเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนมาอย่างไม่รู้ตัว แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับ การวินิจฉัยที่แม่นยำ จึงเป็นโอกาสดีที่ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีโอกาสหายขาดได้
เป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็งใน ปัจจุบัน จึงเปลี่ยนจากการรักษาให้หายขาด เป็นการรักษาให้หายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีการพัฒนาต่อเนื่อง ทั้งการใช้ยา การผ่าตัด และการฉายรังสี โดยเฉพาะการใช้รังสีรักษาโรคมะเร็งที่ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเพิ่มความหวังแก่ผู้ป่วยมะเร็ง โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางในการรักษาโรคมะเร็ง  ที่เน้นการรักษาเชิงวิจัย เหมือนในสหรัฐอเมริกา ที่เลือกการรักษาที่น่าจะมีประโยชน์ โดยพิจารณาจากแนวโน้มในการรักษาว่าน่าจะเป็นไปในทิศทางใด จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคมะเร็งให้ หายขาดได้ ขณะเดียวกันด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย พร้อมบุคลากรที่มีศักยภาพ จึงถือได้ว่าโรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์การรักษาโรคมะเร็งที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน
การรักษาทางด้านรังสีได้เปลี่ยนจากการฉายรังสี 2 มิติ เป็นรังสี 3 มิติ ซึ่งเริ่มมีบริการแล้วในหลายแห่งของประเทศไทย การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้การวางแผนด้วยระบบ 3 มิติ ทำให้การวางแผนการกำหนดลำรังสีมีความถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น โดยใช้ ระบบการสร้างภาพ หาทิศทางที่เหมาะสมของลำรังสีและปรับลำรังสีที่ได้ให้เป็นไปตามรูปร่างของ ก้อนเนื้องอกมากที่สุด ทำให้สามารถให้ปริมาณรังสีสูงเฉพาะในรอยโรค และลดรังสีที่จะถูกกระทบในเนื้อเยื่อที่ดี นำไปสู่ผลการรักษาที่ดีลดผลข้างเคียงระยะเฉียบพลันและระยะยาวลงได้ ต่อมามีการพัฒนาอีกระดับหนึ่งของรังสีสามมิติ ที่ปรับความเข้มของรังสีตามสัดส่วนความหนาบางของก้อนมะเร็งใน แนวทางเข้าของลำรังสีนั้นๆ เรียกว่ารังสีแปรความเข้มสามมิติ (IMRT) ทั้งนี้ในแต่ละแนวของการฉายรังสี จะมีเทคนิคในการฉายต่าง ๆ กัน เพื่อให้เกิดรูปร่างและความเข้มของรังสีที่ต่างกัน โดยคำนึงให้เกิดการกระจายรังสีที่แตกต่างกันเป็นจุด หรือช่อง (voxel) หรือเรียกส่วนย่อย ๆ นี้ว่า beamlets ตามความเหมาะสมของรอยโรค ทั้งนี้จะอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ในการกำหนดความเข้มของรังสี ซึ่งจะให้สูงที่สุดในตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งหนาที่สุด และต่ำสุดในตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งบาง ที่สุด แม้ว่า การวางแผนการรักษาด้วยเทคนิครังสี 3 มิติ และ รังสีแปรความเข้มสามมิติ จะเป็นภาพ 3 มิติที่ได้มาจากการเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ แต่เป็นภาพนิ่งในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ในความเป็นจริง ก้อนเนื้อ งอกในบางส่วนหรือบางอวัยวะก็อาจสามารถเปลี่ยนแปลง ทั้งในระหว่างการฉายรังสีแต่ละครั้ง และการฉายรังสีครั้งต่อครั้ง ซึ่งอาจเนื่องจากอวัยวะภายในมีการเคลื่อนไหว และผลกระทบจากการหายใจ เช่น มะเร็งบริเวณ ปอด ตับ หรือตับอ่อน อาจทำให้ก้อนเนื้องอกหลุดออกจากตำแหน่งที่วางแผนไว้ ดังนั้นเนื้องอกอาจไม่ได้รับปริมาณรังสีตามที่วางแผนไว้ ขณะเดียวกัน อาจจะทำให้เนื้อเยื่อปกติที่อยู่ข้างเคียงได้รับปริมาณรังสีสูงกว่าระดับที่ จะทนทานได้ ปัจจุบัน โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จึงมีการพัฒนาการรักษาทางรังสีเป็นการรักษา 4 มิติ หรือ การรักษาด้วยเทคนิค ที่เรียกว่า รังสีรักษาภาพนำวิถี หรือ Image guided radiation therapy ( IGRT )  ซึ่งเป็นการรักษาในมิติที่ 4 ที่นอกเหนือจากความแม่นยำในเป้าหมายหรืออวัยวะที่จะรักษาในระบบ 3 มิติแล้ว ยังควบคุมถึงมิติที่ 4 ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงของก้อนเนื้องอก เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ ตับอ่อน เป็นต้น โดยการใช้ภาพของเนื้องอกหรือบริเวณที่ต้องการได้รังสีสูงมาร่วมในการวางแผน การรักษา และใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของเนื้องอกในแต่ละวันของการรักษา โดยสร้างภาพจากการหมุนเครื่องเร่งอนุภาคหรือเครื่องฉายรังสีรอบผู้ป่วย 1 รอบ ก็จะได้ข้อมูลที่แท้จริงในขณะที่จะฉายรังสีมาสร้างภาพเพื่อการตรวจสอบ ซึ่งถ้าคลาดเคลื่อนก็จะมีการแก้ไขโดยอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันระบบจับการเคลื่อนไหวจากการหายใจของผู้ป่วย ก็จะถูกบันทึกด้วยกล้องอินฟราเรด ที่ได้จากระหว่างการจำลองการรักษา ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ภาพเนื้องอกที่มีการเคลื่อนไหว ตลอดช่วงการหายใจ ที่เรียกว่าได้เป็นภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สี่มิติ หรือ Gated 4D CT  ภาพดังกล่าวจะถูกนำมาวางแผนการรักษา และเครื่องเร่งอนุภาคจะปล่อยรังสี เมื่อก้อนเนื้องอกหรือภาพบริเวณที่ต้องการได้รังสี ปรากฏอยู่ในตำแหน่งการรักษาที่วางแผนไว้ เท่านั้น ทำให้มั่นใจได้ว่าการยิงรังสีถูกเป้าหมายได้อย่างแม่นยำแน่นอน ด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจึงสามารถหายใจตามธรรมชาติได้ โดยไม่ต้องกลั่นหายใจหรือกดกระบังลม เพื่อบังคับการหายใจ ดังนั้น IGRT จึงเป็นเทคนิคที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ที่เพิ่มโอกาสการหายของผู้ป่วยมะเร็ง และ ลดภาวะแทรกซ้อนของเนื้อเยื่อปกติจากรังสีได้ นับเป็นการฉายรังสีเฉพาะเป้าหมายที่ต้องการรักษาอย่างแท้จริง IGRT หรือ รังสีภาพนำวิถี จึงเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่จะต้องได้รับการรักษาทางรังสี
สนับสนุนเนื้อหา
 
คำที่เกี่ยวข้อง  :   โรคภัยไข้เจ็บ    igrt     การฉายรังสี     รังสีรักษาโรคมะเร็ง     โรคมะเร็ง   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29/09/2010, 19:51 โดย jokerzero »

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
แต่ผู้น้อยว่า การรักษา...สุดท้ายแล้วก็เป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุ
แต่ต้นตอของโรคทั้งหลายนั้น เกิดมาด้วย 2 กรณีใหญ่คือ โรคที่เกิดจากความบกพร่องของร่างกาย และโรคที่เกิดจากหนี้กรรม
โรคที่เกิดจากหนี้เวรกรรม แม้นจะมีวิยาการล้ำหน้าเพียงใด สุดท้ายก็มิอาจจะรักษาให้หายขาดได้ จำเป็นต้องอาศัยเนื้อนาบุญจากการปฏิบัติและบำเพ็ญเพียรในธรรม อาศัยพุทธานุภาพให้กายสังขารนี้ได้ปฏิบัติเห็นแจ้งในสัจธรรม

การแก้ไขต้นเหตุนั้นก็คือ การกิน การอยู่ การนอน ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่เบียดเบียนสัตว์ รับประทานอาหารผัก ผลไม้ และธัญพืชเป็นหลัก เท่านั้นก็จักมีชีวิตที่ผาสุกและไร้โรคภัยได้ค๊าปปปป

Tags: