วิธีทำลูกยอรับประทานเอง
การทำน้ำลูกยอ (น้ำโนนิ)
นำลูกยอสุกห่ามๆ (สีเขียวออกเหลืองหรือขาวนวลเล็กน้อย) มาล้างน้ำให้สะอาด แคะเอาเม็ดออก ปั่นแล้วคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำผลไม้เข้มข้นชนิดอื่น เช่นน้ำสับปะรดหรือน้ำมะเขือเทศ เพื่อลดกลิ่นของลูกยอและเพิ่มรสชาติดีขึ้น แต่ถ้าต้องการรสหวานเล็กน้อยให้นำน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่นพอประมาณ แล้วนำไปผสมกับน้ำลูกยอที่คั้นได้ตามต้องการ
ปัจจุบันนิยมนำลูกยอมาปั่นเป็นน้ำลูกยอคั้นสด เพราะเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด อีกทั้งสารสำคัญในลูกยอยังมีความคงตัวอยู่เช่นเดียวกับวิธีอื่นๆ แต่ปัญหาจะอยู่ที่รสฝาดและกลิ่นฉุน รสชาติมันเฝื่อนๆ ขมนิดๆ อาจดื่มได้ลำบาก การนำน้ำลูกยอที่คั้นได้ผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่น น้ำองุ่น น้ำบลูเบอรี่ น้ำสับปะรด น้ำฝรั่ง โดยใช้น้ำลูกยอ 9 ส่วน น้ำผลไม้อื่นๆ 1 ส่วนจะช่วยให้กลิ่นและรสชาติของน้ำลูกยอดีขึ้น
ตำลูกยอ
คนอีสานนำลูกยอนำมาทำเป็นอาหารในช่วงหน้าร้อน เพื่อบำรุงธาตุ ทำให้แก้อ่อนเพลีย ขับลม ขับโลหิต นอกจากนี้ยังแก้อาเจียนได้ ลูกยอมีธาตแคลเซียม วิตามินเอ วิตามินซี และสารอาหารอื่นๆ
คนอีสานนิยมรับประทานลูกยอด้วยการตำ ตำลูกยอมีบริโภคก็เฉพาะตอนมันแก่เต็มที่เท่านั้น ช่วงลูกอ่อนหรือสุกจะนำมาตำไม่ได้ ลูกยอสุกนิยมเอาไปทำน้ำลูกยอ
วิธีทำตำลูกยอ
นำลูกยอมาล้างให้สะอาด โดยเลือกเอาลูกห่ามๆ จึงจะอร่อย ล้างน้ำแล้วนำมาสับให้ละเอียด อย่างเช่น สับมะละกอ แต่ไม่ต้องปอกเปลือก ส่วนของเมล็ดเกาะติดกันแข็งมาก ไม่นิยมเอาส่วนเมล็ดมาตำปน บางคนบอกถ้าไม่ใส่เมล็ดลูกยอลงไปด้วยไม่แซบไม่มัน แล้วตำพริกแห้งให้แหลก เอาลูกยอลงตำรวมกัน ใส่ปลาร้า น้ำตาล น้ำปลา มะขามเปียก ใส่ลงไปตำรวมกัน ปรุงรสตามใจชอบ
หากต้องการทำเก็บไว้ใช้นานๆ ให้นำลูกยอดิบแก่ ฝานเป็นแว่นบางๆ ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผงละเอียดละลายน้ำร้อน หรือปั่นผสมน้ำผึ้งรับประทานโดย ใช้ครั้งละ 1 - 2 ช้อนชา หรือ 1 - 2 เม็ดหลังอาหาร
หากรับประทานลูกยอเข้าไปมากๆ ตั้งแต่ 3 ลูกขึ้นไป จะทำให้เกิดการอยากถ่ายเป็นยาระบายได้
ห้ามกินสำหรับคนที่เป็นโรคไต
น้ำลูกยอมีธาตุโปแตสเซียมสูงมากประมาณ 56 meq/L พอๆกับน้ำส้ม และน้ำมะเขือเทศ และมีรายงานว่าผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ทานน้ำลูกยอแล้วมีโปแทสเซียมสูง มากจนเป็นอันตราย จึงไม่ควรทานในผู้ป่วยโรคไต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://healthandbeautyinfocus.blogspot.jp/ ขอบคุณค่ะ