โดยเมทิลโบรไมด์อยู่ในโครงการลด ละ เลิก เนื่องจากเป็นตัวทำลายชั้นบรรยากาศ เริ่มตั้งแต่ 1995 จนถึงปี 2005 ยังไม่สามารถหาสารรมตัวใดมาทดแทนได้ จึงกลับมาตระหนักถึงข้อดีของสารเมทิลโบรไมด์ว่าสามารถรมเพื่อกำจัดแมลงได้ รมฆ่าเชื้อโรคในดิน รมห้องเพื่อปราศจากแมลงหรือรมเครื่องมือแพทย์เพื่อกำจัดเชื้อโรค แต่ต่อมาอนุญาตให้ใช้เมทิลโบรไมด์ในการส่งออก ซึ่งการส่งออกข้าวของไทยอยู่ภายใต้ FAO โดยที่ข้าวจะต้องปราศจากแมลงโดยเด็ดขาด
“สารรมใหม่ที่นำมาพัฒนาเพื่อใช้แทนเมทิลโบรไมด์คือ อีโคฟูม และซัลฟูริลฟลูออไรด์ ในสหรัฐอเมริกาใช้ซัลฟูริลฟลูออไรด์รมไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ยังไม่มีตัวใดที่ใช้เวลาในการรมเทียบเท่ากับเมทิลโบรไมด์ที่ใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมง เป็นผลดีต่อการส่งออก เพราะถ้าหากนานกว่านั้น หมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และสารรมถูกผลิตในต่างประเทศ เมื่อผลิตออกมาจะมีการวิเคราะห์เรียบร้อย มีการทดลองมารองรับ ในสหรัฐฯ กังวลเกี่ยวกับการใช้ซัลฟูริลฟลูออไรด์ในอาหาร เนื่องจากจะตกค้างเป็นฟลูออไรด์ เพราะในยาสีฟันหรือแม้แต่ในน้ำก็มีฟลูออไรด์ จึงเป็นความกังวลของผู้ผลิตว่า เด็กอาจจะได้รับฟลูออไรด์เกินขนาดจึงต้องไปหาค่าความปลอดภัย เห็นได้ชัดสารรมไม่ว่าจะสารเก่าหรือสารใหม่ ต่างก็เป็นสารเคมีที่ช่วยเรา การตกค้างก็เช่นเดียวกับพาราเซตามอล เพราะฉะนั้นเราจึงต้องใช้อย่างถูกวิธี” นางบุษรากล่าว
นางบุษรากล่าวด้วยว่า ในการรมข้าวโดยใช้สารเมทิลโบรไมด์นั้น จะต้องอยู่ในพื้นที่ปิดสนิท เพราะสารดังกล่าวไม่มีสีและกลิ่น ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด ไม่กัดโลหะเครื่องมือหรือเครื่องใช้ มีความสามารถในการแทรกซึมสูง กระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว ปริมาณที่ใช้ในการรมอยู่ที่ 2 ปอนด์ต่อเนื้อที่ 1,000 ลูกบาศก์ฟุต เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และหลังจากการรมแล้ว จะต้องเปิดให้อากาศถ่ายเทสะดวก 5-6 ชั่วโมง จะสลายตัวไป ซึ่งสารเมทิลโบรไมด์เป็นพิษต่อแมลงและสัตว์เลือดอุ่น แต่ไม่มีสารพิษตกค้าง
พรรณษา กาเหว่า ศูนย์ข่าว TCIJ 13 สิงหาคม 2556
ป้ายคำ : ข้าว , เมทิลโบรไมด์ , ขอบคุณค่ะ