collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คมวาทะ จากพงศาวดารจีน  (อ่าน 4863 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
คมวาทะ จากพงศาวดารจีน
« เมื่อ: 12/08/2013, 16:32 »
                  คมวาทะ

               จากพงศาวดารจีน

                      ชุดที่ 1

            ศุภนิมิต  แปลเรียบเรียง

               ฉบับปรับปรุงใหม่       

        สำนักพิมพ์ส่งเสริมคุณภาพชีวิต 

  656 / 440 ซอย 44 ถนนจรัญสนิทวงศ์
      เขตบางกอกน้อย กทม. 10700

            โทร. 424 -7020   

                  แบบปก

                  ศุภนิมิต   

                จัดพิมพ์โดย

  ห้างหุ้นส่วนจำกัด พชรกานต์การพิมพ์ 

         โทร 412 - 8134

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
คมวาทะ จากพงศาวดารจีน : คำนำ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 12/08/2013, 17:28 »
                          คมวาทะ จากพงศาวดารจีน

                                      คำนำ

     วัฒนธรรมทางภาษาของจีน วิวัฒนาการมานานหลายศตวรรษ
จนกลายมาเป็นสื่อแห่งภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ความลึกซึ้งแห่งการใช้ภาษาเพื่อความเข้าใจและความไพเราะของความหมายที่สื่อถึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สำนวนคำเปรียบเปรย หรือคำพังเพยนั้นได้ใช้กันแพร่หลายมาช้านานแล้ว เพราะเป็นคำสั้นที่มีเนื้อหาใจความกว้างขวางและแฝงคติเตือนใจ ทั้งนี้เพราะสำนวนคำพังเพยทั้งปวงนั้นมีตำนานที่มาจากประวัติศาสตร์อันยาวนานของจีน  การศึกษาภาษาจีนจากสำนวนคำพังเพยนั้น ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีแต่ภาษาจีนเท่านั้นที่มีที่มาของคำพังเพยมากกว่าภาษาอื่น  แต่การเรียบเรียงสำนวนคำพังเพยจีนออกมาเป็นภาษาไทยนั้นมีความยากลำบากอยู่สองประการคือ ต้องมีความรอบรู้ทางด้านภาษาจีนอย่างลึกซึ้งอย่างหนึ่ง  กับจะต้องมีความเชี่ยวชาญทางภาษาไทยอีกอย่างหนึ่ง ความยากลำบากทั้งสองประการดังกล่าว จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้ผู้เขียนไม่กล้าตัดสินใจเรียบเรียงคำพังเพยจีนออกมาเป็นภาษาไทย แม้ว่าจะได้คลุกคลีกับสำนวนคำพังเพยเหล่านี้มาเป็นเวลาชัานานในฐานะผู้สอนภาษาจีน เพราะเกรงว่าประสบการณ์อันน้อยนิดจะไม่สามารถทำงานอันยากลำบากนี้ให้ลุล่วงไปได้ แต่เป็นเพราะเชื่อในความเป็นจริงข้อหนึ่งว่า "อันความรู้นั้นมีขอบเขตแห่งความสิ้นสุด แต่ความไม่รู้นั้นหาขอบเขตอันสิ้นสุดมิได้" ผู้เขียนจึงได้ตัดสินใจเรียบเรียงสำนวนคำพังเพยจีนนี้ออกมาเป็นภาษาไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงขอบเขตความรู้ที่สิ้นสุดแล้วของตนเอง และผู้เขียนมีความมั่นใจว่าในบรรดาผู้รู้ที่ไม่มีอุปสรรคทั้งสองประการนั้นยังมีอยู่มากมายที่จะให้ความเมตตาขยายขอบเขตแห่งความรู้ของผู้เขียนให้กว้างขวางออกไปอีก อนึ่ง ชื่อบุคคล สถานที่ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้สะกดอ่านออกเสียงอย่างนำเนียงภาษาแมนดารินทั้งหมด ซึ่งผู้อ่านอาจจะฟังขัดหูไปจากที่เคยได้อ่าน ในหนังสือสามก๊ก หรือพงศาวดารจีนเล่มอื่น ๆ มาบ้างเช่น
พระเจ้าจิ๋นซี     เป็น     ฉินสื่อ
ฮั่นสิน                              เป็น       หันซิ่น
ฌ้อปาอ๋อง                         เป็น     ฉู่เป้าอ๋วง
เล่าปัง                             เป็น     หลิวปัน
เล่าปี่                              เป็น     หลิวเป้ย
โจโฉ                              เป็น     เฉาเซา

     ถ้อยคำเหล่านี้ผู้เขียนผู้เขียนไม่มีเจตนาจะลบล้างสำเนียงสะกดดั้งเดิมของท่านปรมาจารย์ที่เคนแปลมาก่อนเก่า หากแต่ผู้เขียนคำนึงถึงความเหมาะสมแห่งยุคสมัยที่ประเทศจีนและไทยได้มีการติดต่อมีสันถวไมตรีต่อกัน ย่อมจะมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมสู่กันมากขึ้น และภาษาแมนดารินเป็นภาษากลางของจีนที่ใช้สื่อความหมายในโลกสากล จึงเป็นการเหมาะสมที่จะออกสำเนียงภาษาให้ถูกต้องเพื่อความเข้าใจอันดีที่จะพึงมีต่อกัน

                                                         ศุภนิมิต 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
คมวาทะ จากพงศาวดารจีน : สารบัญ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 13/08/2013, 15:24 »
                  สารบัญ

ปลูกเรือนตามคำชาวบ้าน
แพะหลงทาง
โล่กับหอกศอกกันเอง
สิ้นค้าวิเศษประมาณค่าบ่มิได้
อักษรสูงค่าราคาตัวละหนึ่งพัน

พ่อเฒ่าใต้แสงจันทร์
เขยศรีขี่มังกร
ทูนสำรับระดับคิ้ว
คนเสียตา - ม้าบอดสนิท
น้ำลายรดหน้าจงอย่าเช็ด

เงาคันธนู งูในถ้วย
ควงขวานเบื้องหน้าอาจารย์ปัน
ต้นถั่วต้มถั่วเอง
คาบห่วงผูกบ่วงหญ้า
นกกะเรียนในฝูงไก่

ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
ปัญญาของลาดำ
ข้าหลวงวางเพลิง
แตงบนบัลลังก์ทอง
หางหมาต่อเตียว

กอไผ่อยู่ในอก
สามปากลือลั่นรวมกันเป็นเสือร้าย
ก่อกำแพงหนี้สิน
เลิกร้างกลางคัน
เลือกม้าตามตำรา

มิตรภาพซื้อขายในตลาด
คืนที่สะอื้นหลับกับผ้าห่มควาย
ความฝันสั้นเพียงหุงข้าวเกาเหลียงไม่ทันสุก
มิตรภาพข้างสากครก
โฉมตรู - ดอกท้อ

งานข้ามเขียง
หวั่นสังวรดั่งช้อนไข่
ก๋งโง่ย้ายภูเขา
ดวงเทียนริบหรี่ในแรงลม
เฝ้ารอกระต่ายใต้ต้นไม้
ม้าแก่ชำนาญทาง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                 ปลูกเรือนตามคำชาวบ้าน

                        (จั้ว เซ่อ เต้า พั่ง) 


     ชายคนหนึ่งเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง โลเลเปลี่ยนใจไปตามคำแนะนำของผู้อื่นเสมอ วันหนึ่งเขาลงมือปลูกสร้างบ้านพักอยู่ริมทาง สร้างไปจนใกล้จะเสร็จแล้ว พอดีมีชายคนหนึ่งเดินผ่านมา เขาหยุดยืนพิจารณาแล้ววิจารณ์ว่า "ถ้าเป็นใจข้าพเจ้าแล้ว จะหันหน้าต่างไปทางทิศตะวันออกเสียทุกบาน พอรุ่งแจ้งฟ้าสาง แสงสว่างก็จะสาดส่องไปทั่ว คนในบ้านจะได้ตื่นแต่เช้าตรู่ไปทำกินได้ทันคน" เจ้าของบ้านได้ฟังก็เห็นดีด้วย รีบจัดการสั่งช่างไม้ให้เปลี่ยนทิศทางหน้าต่างบ้านเสียใหม่ในทันที พอสร้างไปจนใกล้จะเสร็จ ก็มีใครอีกคนหนึ่งเดินผ่านมา เขาก็วิจารณ์ว่า "บ้านจะอยู่สบายต้องได้ลมเย็นหน้าร้อน หน้าต่างจึงควรหันไปทางทิศใต้ ไม่ใช่ทิศตะวันออก" เจ้าของบ้านได้ฟังก็เห็นด้วย รีบจัดการสั่งช่างให้เปลี่ยนทิศทางหน้าต่างบ้านอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาเมื่อบ้านใกล้จะสร้างเสร็จ ก็มีคนมาให้ความเห็นต่างออกไปอีก เจ้าของบ้านก็คล้อยตามเห็นด้วย เป็นเช่นนี้คนแล้วคนเล่า ครั้งแล้วครั้งอีก ผลสุดท้าย บ้านหลังนี้สร้างอยู่เป็นปีก็ยังไม่เสร็จ สุภาษิตไทย มีคำว่า "ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน" มีความหมายในทางตรงกันข้ามใกล้เคียงกัน แต่คำว่า "ปลูกเรือนตามคำชาวบ้าน" จะมีความหมายชัดเจนว่า เป็นการกระทำหรือตัดสินใจโดยความคิดของผู้อื่น มิได้มีจุดยืนของตนเป็นหลัก เป็นคนจิตใจโลเล ไม่รู้จักพิจารณาให้แน่ชัดก่อนตัดสินใจ คนเช่นนี้ทำการใดก็ไม่สำเร็จ มุ่งทางใดก็ไม่ถึงจุดหมาย

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
คมวาทะ จากพงศาวดารจีน : แพะหลงทาง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 16/08/2013, 10:58 »
                    แพะหลงทาง

                      (ฉี ลู่ หวัง เอี๋ยง)

     หยังจื่อ
เป็นปราชญ์ในสมัยกว่าสองพันปีมาแล้ว เมื่อครั้งยังเป็นครูอยู่ในหมู่บ้านของท่าน วันหนึ่ง แพะตัวหนึ่งของเพื่อนบ้านเดินหลงทางหายไป เจ้าของแพะได้ขอร้องให้ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงออกช่วยตามหากันจ้าละหวั่น  หยังจื่อ จึงถามเจ้าของแพะว่า "แพะหายเพียงตัวเดียว เหตุใดท่านจึงต้องระดมคนออกตามหามากมายถึงเพียงนี้" เจ้าของแพะตอบว่า "เพราะมีหนทางแยกออกไปเป็นหลายสาย" สักพักใหญ่คนที่ช่วยตามแพะก็กลับมามือเปล่า หยังจื่อจึงถามอีกว่า "แพะตัวเดียว เหตุใดจึงรอดพ้นสายตาคนจำนวนมากมายไปได้" เจ้าของแพะตอบว่า "หนทางแยกนั้นยังมีหนทางแยกออกไปอีก ยิ่งแยกก็ยิ่งไกลออกไป จึงไม่อาจติดตามได้" เมื่อหยังจื่อได้ฟังแล้ว ก็ครุ่นคิดอยู่แต่ปัญหานี้ด้วยความไม่สบายใจ นักเรียนของหยังจื่อเห็นครูมีอาการเช่นนั้นจึงถามขึ้นว่า "แพะที่หายไปนั้นจะเป็นแพะของอาจารย์ที่หาไม่ เหตุใดท่านจึงทุกข์ร้อนยิ่งนัก" หยังจื่อตอบว่า "ที่ครูคิดหนักนั้นไม่ใช่แพะ แต่เป็นทุกข์เพราะอุทาหรณ์ที่ได้จากเรื่องนี้ การศึกษาหาความรู้ก็เช่นกันจะให้สำเร็จได้นั้น ต้องตั้งใจมั่งมั่นแต่อย่างเดียว หากแยกใจไปหลายทางหลายแขนง ก็จะหลงทางเหมือนอย่างแพะ ต่อมาเมื่อรู้ว่าหลงทางไปในภายหลัง จะตามหาให้กลับมาได้ก็ยากเสียแล้ว" ดังนั้นจึงมีคำกล่าวเป็นคำพังเพยว่า "อย่าโลเลเหลาะแหละจะเป็นแพะหลงทาง"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                  โล่กับหอกศอกกันเอง

                      (จื้อ เซียง เหมา ตุ้น)


     มีเรื่องเล่ากันว่า ครั้งหนึ่งมีพ่อค้าขายหอกด้ามยาวและโล่เกราะป้องกันตัวคนหนึ่ง นำสินค้าของเขามาตั้งขายในเมืองแห่งหนึ่ง  เสียงร้องโฆษณาสินค้าของเขาเรียกความสนใจจากผู้คนที่สัญจรไปมาได้มากมาย เขาร้องขายว่า " โล่เกราะของข้าพเจ้านี้ ทำด้วยเหล็กกล้าอย่างดี ไม่มีศาสตราวุธแหลมคำใด ๆแทงให้ทะลุได้" เมื่อร้องโฆษณาขายโล่ไปได้สักพักหนึ่ง เขาก็เปลี่ยนมาร้องขายหอกบ้าง "หอกชนิดพิเศษของข้าพเจ้านี้แหลมคมที่สุดในโลก ไม่มีความแข็งกล้าใด ๆ จะทนปลายแหลมของมันได้เลย" พอพ่อค้าร้องขายจบลง ชายคนหนึ่งซึ่งมุงดูอยู่ก็ร้องถามขึ้นว่า "ถ้าซื้อหอกของท่านแทงโล่ของท่านล่ะ ผลจะเป็นอย่างไร" คนขายนิ่งอึ้ง เขาพึ่งนึกขึ้นได้ว่า โล่กับหอกของเขามันศอกกันเองเสียแล้ว จึงรีบเก็บสินค้าไปหาที่ตั้งขายในเมืองอื่นต่อไป คำพังเพยนี้มีความหมายอยู่สองแง่คือ การคุยโม้โอ้อวดจนเกินกว่าเหตุ หรือขัดต่อความเป็นจริงเช่น
อวดร่ำรวยทั้งที่เป็นหนี้เขาอยู่
อวดคุณความดีทั้งที่มีคนด่าอยู่ทั่วไป
อวดยศฐาบรรดาศักดิ์ทั้งที่ผู้คนเหยียดหยาม
อวดความสามารถทั้งที่ผลงานไม่ดี ฯลฯ
     ความหมายอีกแง่หนึ่งคือ การแสดงเหตุผลที่ขัดแย้งกันเอง
เช่น นาย ก. และ ข. ร่วมมือกันหลอกลวง ค. แต่ไม่ได้ซักซ้อมกันมาก่อน จึงพูดกันคนละอย่างและสวนทางกันเหมือนโล่กับหอกศอกกันเอง หรือการพูดจากลบเกลื่อนโกหกที่อำพรางความเป็นจริงไว้ไม่ได้ ก็เหมือนโล่กับหอกศอกกันเองเช่นกัน   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                   สินค้าวิเศษประมาณค่าบ่มิได้

                            (ฉี ฮว่า เข่อ จวี)

     ในสมัยปลายจั้นกั๋ว ประมาณ 2,200 ปีก่อน
เป็นยุคสงครามระหว่างขุนศึก ที่ตำบลหยังตี๋ เมืองฉินซึ่งปัจจุบันคืออำเภออวี่ มณฑลเหอหนานนั้น ยังมีพ่อค้าคนหนึ่งมีนามว่า ห-ลวี่ปู้อุ่ย  ครั้งหนึ่งเมื่อเขาเดินทางมาค้าขายที่เมืองหันตัน นครหลวงของเมืองเจ้า ก็รู้ข่าวว่าเจ้าชายอี้เหยินซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าฉินเจาเซียงอ๋วง ถูกส่งมาเป็นตัวประกันสันติภาพอยู่ที่เมืองนี้ กำลังตกอยู่ในฐานะยากลำบากเสมือนคนสิ้นไร้ไม้ตอก และถูกกักบริเวณอยู่ที่หอฉงไถ เขาจึงรำพึงว่า "เป็นสิ้นค้าที่หากำไรได้อย่างวิเศษ" ห-ลวี่ปู้อุ่ย จึงนำความคิดนี้ไปปรึกษาพ่อที่บ้านโดยถามว่า "ผลกำไรจากการทำนานั้นได้เท่าไร" "สิบเท่า" พ่อตอบ "แล้วการค้าขายอัญมณีเล่า ได้เท่าไหร่"  "ร้อยเท่า" "ถ้าเช่นนั้นการสนับสนุนให้ใครได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินเล่า จะได้เท่าไหร่" พ่อของเขาหัวเราะแล้วตอบว่า "ถ้าทำเช่นนั้นได้ ผลกำไรจะเป็นพันเป็นหมื่นเท่าทีเดียว" เมื่อได้ฟังดังนั้น ห-ลวี่ปู้อุ่ย จึงนำเงินไปติดสินบนกงซุนเฉียง ขุนนางของเมืองเจ้าซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเจ้าชายอี้เหยินเพื่อขอให้เขาช่วยแนะนำให้รู้จักกับเจ้าชายอี้เหยินด้วย  ครั้นรู้จักกันแล้ว พ่อค้าห-ลวี่ปู้อุ่ยก็แอบปรึกษากับเจ้าชายอี้เหยินว่าจะนำเงินไปให้รัชทายาทอานกั๋วของพระเจ้าฉินเจา เซียงอ๋วง และสนมคนโปรดของรัชทายาทเพื่อให้ช่วยหาทางให้เจ้าชายอี้เหยินกลับคืนสู่บ้านเมืองฉินของพระองค์ เจ้าชายอี้เหยินแสนยินดีนัก ต่อมาไม่นานด้วยการวางแผนของรัชทายาทอานกั๋วและสนมเอกหัวหยัง เจ้าชายอี้เหยินก็ได้กลับคืนบ้านเมืองตน ยิ่งกว่านั้นสนมเอกหัวหยังยังรับเจ้าชายเอาไว้เป็นบุตรบุญธรรมอีกด้วย เมื่อพระเจ้าฉินเจาเซียงอ๋วงสวรรณคตแล้ว รัชทายาทอานกั๋วก็ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามพระเจ้าเซี่ยวเหวินอ๋วงและให้เจ้าชายอี้เหยินเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า จื่อฉู่  ครั้นพระเจ้าเซี่ยวเหวินอ๋วงสิ้นพระชนม์ เจ้าชายอี้เหยิน หรือจื่อฉู่ก็ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นฮ่องเต้ เฉลิมพระนามว่า พระเจ้าฉินจวงเซียงอ๋วง และได้แต่งตั้งให้พ่อค้า ห-ลวี่ปู้อุ่ย เป็นมหาอำมาตย์มีราขศักดิ์ถึงเจ้าเมืองเหวินซิ่นโหว สินค้าพิเศษได้นำผลกำไรมาให้พ่อค้าห-ลวี่ปู้อุ่ยอย่างมหาศาลจนประมาณค่าบ่มิได้ดังนี้

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                       อักษรสูงค่าราคาตัวละหนึ่งพัน

                               (อี๋ จื้อ เซียน จิน)


     เมื่อครั้งที่พ่อค้าห-ลวี่ปู้อุ่ย เข้าช่วยเหลือ เจ้าชายอี้เหยิน ซึ่งกำลังตกทุกข์ได้ยากอยู่ที่เมืองเจ้านั้น เขาได้ยอมเสียสละอนุภรรยาของตนเองให้ไปเป็นชายาของเจ้าชายอี้เหยินด้วย เจ้าชายอี้เหยินหรือภายหลังคือพระเจ้าฉินจวงเซียงอ๋วง ครองราชย์อยู่เพียงสามปีก็สวรรคต ราชบุตรเจิ้ง ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 13 ชันษา และเป็นบุตรที่เกิดแต่อดีตอนุภรรยาของพ่อค้าห-ลวี่ปู้อุ่ย ก็ขึ้นครองราชสมบัติแทน เฉลิมพระนามว่า "ฉินสื่อหวง" หรือที่เรียกกันว่า "ฉินซีฮ่องเต้" ผู้โหดเหี้ยมเกรียงไกรในประวัติศาสตร์จีน ทั้งฆ่านักศึกษา เผาตำรา และสร้างกำแพงเมืองจีนนั่นเอง ฉินสื่อหวงน้อยเคารพพ่อค้าห-ลวี่ปู้อุ่ย ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองเหวินซิ่นไหว มาก โดยยกย่องให้เป็นสมเด็จอา อำนาจการปกครองบ้านเมืองจึงตกอยู่ในมือของพระมารดาและสมเด็จอาทั้งหมด ในสมัยต้นรัชกาลฉินสื่อหวง เจ้าเมืองและผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่นิยมเลี้ยงนักปราชญ์ราชบัณฑิตไว้เป็นบริวารประดับบารมี ห-ลวี่ปู้อุ่ยก็เช่นกัน เขาเลี้ยงคนระดับมันสมองเอาไว้เสริมสร้างบารมีเพื่อให้เกิดความมั่นคงของตนเองถึง 3,000 กว่าคน นักปราชญ์เหล่านั้นมาจากที่ต่างๆ กัน มีหลายระดับหลายชนชั้นและหลายสาขาวิชา คนเหล่านี้ได้เรียบเรียงความคิดเกี่ยวกับข้อราชการต่าง ๆ เสนอต่อพ่อค้าห-ลวี่ปู้อุ่ย มากมาย จนรวมได้เป็นหนังสือเล่มใหญ่จุอักษรถึงสองแสนกว่าตัว หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า ห-ลวี่ซื่อชุนชิว พ่อค้าห-ลวี่ปู้อุ่ยหรือเจ้าเมืองเหวินซิ่นโหว ได้อาศัยตำราเล่มนี้เป็นบรรทัดฐาน ทำการปกครองอาณาจักรฉินมาโดยตลอด เขาชื่นชมในตำราเล่มนี้มาก จนถึงกับปิดประกาศท้าทายไว้ในใจกลางนครหลวงเสียนหยังอย่างเป็นทางการว่า "หากใครสามารถเพิ่มเติมหรือแก้ไขตำรา "ห-ลวี่ซื่อชุนชิว นี้ได้จะให้รางวัลอักษรหนึ่งตัวต่อเงินรางวัลหนึ่งพัน" เงินหนึ่งพันในสมัยนั้นมีค่าเท่ากับทองคำหนึ่งชั่ง จึงเป็นที่มาของตำนานคำพังเพยว่า "อักษรสูงค่าราคาตัวละหนึ่งพัน" ซึ่งมีความหมายในเชิงยกย่อง หรืออวดอ้างคุณค่าของบทความหรือตัวหนังสือนั้นมีค่าน่าอ่านทุกถ้อยคำ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                    พ่อเฒ่าใต้แสงจันทร์

                       (เอวี้ย เซี่ย เหล่า เหยิน)


     สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 937-975) มีชายคนหนึ่งชื่อ อุ่ยกู้ ครั้งหนึ่งเขาเดินทางมาที่เมืองซ่ง และเข้าพักแรมในโรงเตี้ยม คืนวันหนึ่งเขามองออกไปที่หน้าต่างเห็นพ่อเฒ่าคนหนึ่ง ยืนอยู่ใต้แสงจันทร์ในสวน ตรวจหาข้อความอะไรจากหนังสือเล่มใหญ่หนาเตอะในมือ โดยอาศัยแสงสว่างจากดวงจันทร์วันเพ็ญอุ่ยกู้จึงเข้าไปถามว่า "หนังสืออะไรหรือพ่อเฒ่า"  "บัญชีบุพเพสันนิวาสของชายหญิง" พ่อเฒ่าตอบ  "แล้วด้ายแดงในย่ามของพ่อเฒ่าล่ะ" อุ่ยกู้ถามอีก พ่อเฒ่าจึงอธิบายว่า "เป็นด้ายสำหรับผูกข้อเท้าชายหญิง แม้ทั้งสองจะเป็นศัตรูหรืออยู่ห่างไกลกันแสนไกล เมื่อข้าผูกด้ายแดงนี้ให้แล้ว ทั้งสองก็จะต้องมาครองคู่กัน"  อุ่ยกู้และพ่อเฒ่าคุยกันพลางพร้อมพากันเดินเข้ามาในย่านค้าข้าวในเมือง ขณะนั้น หญิงชราตาบอดคนหนึ่งอุ้มเด็กหญิงอายุประมาณ 3 ขวบ เดินผ่านมาตรงหน้า พ่อเฒ่าจึงพูดกับอุ่ยกู้ว่า "เด็กคนนี้แหล่ะ ต่อไปจะเป็นภรรยาของเจ้า"  ว่าแล้วพ่อเฒ่าก็หายวับไป อุ่ยกู้ขัดใจยิ่งนัก  ไม่ยอมรับว่าเด็กหญิงลูกของหญิงตาบอดคนนี้คือภรรยาของเขาในอนาคต จึงสั่งให้ลูกน้องตามไปฆ่าเด็กหญิงคนนั้นเสีย ลูกน้องของอุ่ยกู้ จำใจต้องทำตามบัญชาของเจ้านาย เขาหลับตาเงื้อมืดแทงไปตามเป้าหมายแล้วรีบวิ่งหนีไป เรื่องเงียบหายไป 14 ปี  ต่อมาอุ่ยกู้ก็แต่งานกับบุตรีของท่านผู้ตรวจการหวังไท่ เธอผู้นั้นมีรูปโฉมงดงามยิ่งนัก แต่น่าเสียดายที่หว่างคิ้วมีรอยแผลเป็น อุ่ยกู้มารู้ภายหลังว่าเธอคือเด็กหญิงที่เขาสั่งลูกน้องให้ไปฆ่านั่นเอง  คืนวันเกิดเหตุ หญิงชราซึ่งเป็นคนรับใช้เก่าแก่กำลังอุ้มเธอออกไปเดินเล่นด้วยจิตสำนึกของลูกน้องของอุ่ยกู้ เธอจึงรอดตายจากการถูกมืดแทงตรงๆ แต่รอยแผลเป็นที่ถูกมืดเฉี่ยวไปก็มีผลเตือนใจอุ่ยกู้ไปตลอดชีวิต จากเหตุการณ์ความเป็นมาของเรื่องนี้ ชาวจีนจึงเรียกพ่อสื่อแม่สื่อว่า "พ่อเฒ่าใต้แสงจันทร์" 

Tags: