collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ผักเสี้ยน ...จากวัชพืชกลายเป็นผักดองมีคุณ...  (อ่าน 1273 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
***ผักเสี้ยน...จากวัชพืชกลายเป็นผักดองมีคุณ***

ใครที่เป็นคนต่างจังหวัดมักจะคุ้นเคยกับผักชนิดนี้ สามารถเห็นได้ทั่วไปตามพื้นที่รกร้างหรือแม้กระทั่งแปลงหญ้าแปลงผักหน้าบ้าน

ผักเสี้ยนในภาคเหนือว่า ผักส้มเสี้ยน  แสดงนัยยะถึงคุณสมบัติในการเป็นผักของผักเสี้ยนว่าเกี่ยวข้องกับรสเปรี้ยว (ส้ม) ทั้งนี้เนื่องจากผักเสี้ยนเหมาะสำหรับ นำมาดองเปรี้ยว ซึ่งให้รสชาติดีที่สุด (เมื่อเปรียบเทียบกับการนำไปปรุงอาหารด้วยวิธีอื่นๆ) เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ที่เคยกินผักดอง คงคุ้นเคยและชื่นชอบรสชาติของผักเสี้ยนดอง(เปรี้ยว) ซึ่งใช้จิ้มน้ำพริกกะปิใส่มะนาวให้มีรสออกไปทางเปรี้ยวนำมากเป็นพิเศษ

ผักเสี้ยนดอง(เปรี้ยว) นั้น นับเป็นผักดองที่คนไทยนิยมกินทั่วทุกภาค ดังจะเห็นได้จากมีเกษตรกรหลายรายยึดอาชีพเพาะปลูกผักเสี้ยน แล้วดองขายเป็นหลักต่อเนื่อง มีรายได้แน่นอนและมั่นคงตลอดมา สำหรับผู้บริโภคก็จะพบว่าในตลาดมีผักเสี้ยนดองวางขายทั่วไปตลอดปีเช่นเดียวกัน แสดงถึงความนิยมแพร่หลายของชาวไทยที่มีต่ออาหาร ตำรับนี้ได้อย่างชัดเจน แม้ผักเสี้ยนจะนำไปประกอบอาหารด้วยวิธีอื่นๆ ได้อีก เช่น นำไปต้มหรือลวกให้สุกก็ทำให้หายขมและหมดกลิ่นเหม็น นำไปเป็นผักจิ้มได้เช่นเดียวกับการดอง แต่ชาวไทยไม่นิยมกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า เมื่อนึกถึงผักเสี้ยนในฐานะผัก ก็จะนึกถึงผักเสี้ยนดอง (เปรี้ยว) และถึงแม้ผักเสี้ยนจะไม่ใช่ผักที่อยู่ในแถวหน้า แต่ในบรรดาผักดองด้วยกันแล้ว ผักเสี้ยนดองย่อมอยู่ในอันดับต้นๆของความนิยมอย่างแน่นอน

[ประโยชน์ด้านอื่นๆของผักเสี้ยน /b]

ผักเสี้ยนมีคุณสมบัติด้านสมุนไพรตามตำราแพทย์แผนไทยหลายประการ เช่น

ต้น :  กลิ่นฉุนร้อน แก้เลือด ระดูเน่าเสียที่ทำให้จับสั่นสะท้าน

ใบ :  บำรุงเสมหะให้เป็นปกติ

ดอก : แก้เลือดสตรีอันอยู่ในเรือนไฟ

เมล็ด : ฆ่าไส้เดือน (พยาธิ) ในท้อง

ราก : แก้ลมอันเป็นพิษ

ผักเสี้ยนทั้งห้า (ต้น ใบ ดอก เมล็ด ราก) : รสร้อน แก้ปวดท้อง ลงท้อง แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ ในตำราแพทย์แผนไทยมีคำเรียกผักเสี้ยนทั้งสอง หมายถึง ผักเสี้ยนกับผัก เสี้ยนผีรวมกัน ในอินเดียใช้เมล็ดผักเสี้ยน สกัดทำเป็นยากำจัดแมลง ในแอฟริกาใช้ยอดและใบอ่อนของผักเสี้ยนปรุงรสและกลิ่นซอสในอินโดนีเซียใช้เลี้ยงสัตว์ และใช้เมล็ด เป็นอาหาร ผักเสี้ยนเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากของธรรมดาสามัญที่มีอยู่ทั่วไป หาได้ง่าย ให้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นคนธรรมดาหรือสามัญชน แนวทางดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นทิศทางหลักของการพัฒนาทรัพยากรของประเทศ ทั้งด้านการเกษตร อาหาร ยารักษาโรค หรือปัจจัยสำหรับชีวิตด้านอื่นๆ

ที่มา : หมอชาวบ้าน    ขอบคุณค่ะ

Tags: