collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ตรัยรัตน์กับเซ็น  (อ่าน 4291 ครั้ง)

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
ตรัยรัตน์กับเซ็น
« เมื่อ: 12/06/2012, 13:06 »
     
    ISBN : 974-7574-94-2
ตรัยรัตน์กับเซ็น
.
.

ผู้เขียน 
ทพ.บัญชา ศิริไกร แปลและเรียบเรียง

ขนาดรูปเล่ม
21 x 14.7 ซม.

จำนวน

140 หน้า

ชนิดกระดาษ
กระดาษปอนด์ ขาว

จัดทำโดย
โรงเจลั้งเต็กตึ้ง

ออกแบบโดย
-

พิมพ์ที่
อักษรสยามการพิมพ์

เดือน/ปีที่พิมพ์ 
พิมพ์ครั้งที่ 1 5,000 เล่ม กันยายน 2540
พิมพ์ครั้งที่ 2 5,000 เล่ม กรกฎาคม 2546

ราคา 
-

สนใจติดต่อ 
ทันตกิจคลีนิก
745/43-44
โทรศัพท์ 02-2529484, 02-2526297

โรงเจลั้งเต็กตึ้ง
โทรศัพท์ 02-5131056
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 7/01/2025, 23:46 โดย nakdham »

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
Re: ตรัยรัตน์กับเซ็น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 12/06/2012, 18:12 »
สารบัญ

บทนำ
การสืบทอดตรัยรัตน์
คำพยากรณ์โพธิธรรม
คำพูดลับใจลับ
สายธรรมถ่ายทอดสู่ชาวบ้าน

ตอนที่ 1
เซ็นกับธรรม ธรรมาจารย์เซ็นกับการถ่ายทอดเอกธรรมมรรค
เซ็นคืออะไร
อะไรคืออาจารย์เซ็น
การถ่ายทอดสืบต่อของบุพจารย์จีน
ทำไมสายธรรมจึงถ่ายทอดจาก ผู้หนึ่งสู่ผู้หนึ่งอย่างลับๆ
ธรรมจักรของชีวิต-ธรรมญาณ
พ้นการเกิดการตาย
การเพ่งฟังจิตตน
เข้าห้อง ลิ้มรสธรรม
อย่าให้ (ใจ) วานรโดออกหน้าต่าง
นกกระทาขันดอกไม้หอม
สีสันแห่งธรรม

ตอนที่ 2
หลักฐานการสืบทอดโองการสวรรค์อาจารย์เสิ่นหยวน ถ่ายทอดให้เอี้ยงซาน
“เข้อโซ่ว” (ก้มกราบ) เพื่อเข้าสู่ธรณีธรรม
ย้อนเเสงคิดถึงความอัศจรรย์ของการไม่คิด
ใจเฝ้าธรรมญาณ
นายพราน – การเฝ้าธรรมญาณของฮุ้ยฉาง
ปริศนาธรรม-ยิงตนเอง
หันหัวทันที – ดึงจมูกกลับมา
จับความว่างเปล่า – เจ็บแล้วตั้งใจย้อนแสงส่องตน
เซ็นนิกายเฉาต่ง (จีน) ธรรมาจารย์เซ็น ต้งซานเหลียงเจี๋ยผู้ก่อตั้งนิกาย
ต่อไฟฟ้ากับธรรมชาติ
การบำเพ็ญธรรม – ที่ธรรมญาณ
เมื่อหลงเช็ดกระจก เมื่อรู้เช็ดหน้า
ธรรมาจารย์ห้วยย่าง
การกระทำขณะเปิดปิด
ผู้ส่งต่อโองการสวรรค์
นั่งสมาธิสำเร็จพุทธะไม่ได้
กลับหัวหันสมอง
เธอขาดอะไร
จมูกอยู่ที่ไหน
ใจปกติ คือธรรมะ
สงฆ์เฒ่านักฆ่า
อะไรคือสภาวะเกาซาน
กระโดดออกจากสามโลก
เมฆขาวกับนกกลับรัง

ท้ายเล่ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12/06/2012, 19:07 โดย ติ๊กน้อย »

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
Re: ตรัยรัตน์กับเซ็น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 12/06/2012, 18:15 »
บทนำ

          ปัจจุบันมนุษย์ชาติเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง คุณธรรมที่มนุษย์เคยยึดถือและรักษาไว้มาตลอดเวลาอันยาวนานได้เสื่อมทรามลงอย่างมาก จิตใจหาความสงบได้ยาก ทุกชีวิตดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในเบื้องแรก เมื่อชีวิตเริ่มอยู่รอดได้ร่างกายก็เกิดความต้องการที่จะมีความสะดวกสบายมากขึ้นในเบื้องปลาย ดังนั้นจึงต้องดิ้นรนต่อไปเพื่อแสวงหาวัตถุต่าง ๆ ที่คิดว่ามันจะช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่ยิ่งแสวงหาจิตใจก็ยิ่งต้องการมากขึ้น ไม่เคยหยุดอยู่แค่นั้น แม้ร่างกายจะสามารถแสวงหาสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมได้แล้วก็ตาม จิตใจก็หายยอมที่จะพอใจอยู่เพียงแค่นั้นไม่ เมื่อมนุษย์ยังถูกอวิชชาครอบงำอยู่ แม้วิทยาศาสตร์จะเจริญรุดหน้าจนปรับตัวแทบจะไม่ทันแล้วก็ตาม ก็ยังไม่อาจหาทางออกแก่มนุษย์ได้ มิเพียงแค่นั้นจิตใจมนุษย์กลับวิตกกังวลมากยิ่งขึ้นมีความรุนแรงยิ่งเสียกว่าสังคมในอดีตหลายเท่าตัว ผู้ที่ไม่มีทางออกจึงหันไปเสพสิ่งใหม่ ๆ ที่คิดว่าจะช่วยผ่อนคลายความกังวลได้ โดยคิดว่าจิตใจจะได้รับการกล่อมเกลาผ่อนคลายความรุนแรงของอารมณ์ได้บ้าง แต่ยิ่งเสพก็ยิ่งเลวร้ายและไม่อาจหยุดหรือถอนตัวได้ ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงเริ่มเข้าหาศาสนากันใหม่ทำให้ศาสนาเริ่มมีชีวิตชีวาเกิดลัทธิใหม่ มีสายอาจารย์ผุดขึ้นมากมายต่างก็อ้างสรรพคุณของตนที่จะช่วยปลดทุกข์หรือให้โชคลาภแก่ลูกศิษย์ที่นับถือบางแห่งกลับมีรายได้ให้แก่สำนักมากจนคาดไม่ถึง เจ้าสำนักก็พลอยถูกอามิสสินจ้างครอบงำเข้าอีก เช่นนี้แล้วจะช่วยเหลือลูกศิษย์ให้หลุดพ้นจากห้วงทุกข์ได้อย่างไรกัน

          อย่างไรก็ตามในช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีมานี้ได้มีสายธรรมหนึ่งแผ่เข้ามาในประเทศและนับวันก็ยิ่งแพร่หลายมากยิ่งขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่าไม่มีจังหวัดใดที่ไม่มีสายธรรมนี้อยู่ นั้นก็คือสายธรรมแห่งเอกธรรมมรรค (一貫道 อีก้วนเต้า) หรือกล่าวเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า“ "อนุตตรธรรม"” ซึ่งข้าพเจ้าเคยเกริ่นไว้บ้างเล็กน้อยในวารสารเพื่อสัจธรรมแห่งซีวิต“ เมธาธรรม” ในฉบับที่ 1-2 เมื่อ 5 ปีมาแล้ว

          ในตอนที่อนุตตรธรรมเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยเมื่อสิบกว่าปีมาแล้วนั้นหลาย ๆ คนก็มีความสงสัยเช่นเดียวกันกับข้าพเจ้าว่ามีมูลกำเนิดมาจากไหนจะว่าเหมือนพุทธศาสนาก็ไม่ใช่ จะเหมือนลัทธิเต๋าก็ไม่เชิง จะว่าเป็นลัทธิหยู้ (ขงจื่อ) ก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว การที่ผู้ศึกษาในเรื่องศาสนาในยุคสมัยใหม่นี้พากันกำหนดลงอย่างชัดเจนว่า เอกธรรมมรรคหรืออนุตตรธรรมนี้เป็นศาสนาใหม่ที่ตั้งขึ้นเมื่อต้นศักราชหมิงกั๊ว (ค.ศ 1922) โดยอาจารย์จางเทียนหยาง (張天然) เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะเอกธรรมมรรคนี้มีมูลกำเนิดที่ยาวไกลมากหาใช่ศาสนาใหม่แต่อย่างไร

          มูลกำเนิดเอกธรรมมรรคนั้นเกิดจากการร้อยเรียงทางวัฒนธรรม จีนโบราณอันไกลโพ้นตั้งแต่สมัยฟู่ซวี เสินโน้งซึ่งยังไม่มีอักขระใช้ มีการสืบสายวัฒธรรมเรื่อยมาสู่จักรพรรดิ เหยา ซุ่น หวี ทัง เหวิน อู่ โจวกงขงจื่อ เมิ่งจื่อ.... แต่รุ่นหลังก็สืบสายจากธรรมาจารย์นิกายเซ็น(เซ็น ธฺยาน หรือ เซี้ยมจง เซ็นในภาษาญี่ปุ่น ในภาษาจีนคือนิกายฌาณ พุทธศาสนิกชนนิกายนี้มีสมมติฐานโดยตรงมาจากภาวะความตรัสรู้อย่างแจ่มแจ้งของพระพุทธองค์ ต่อมาในปีที่ 49 ภายหลังการตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้ชูดอกบัวขึ้นดอกหนึ่งท่ามกลางพุทธบริษัทแทนคำเทศนาอย่างยืดยาว แต่ปรากฎว่าไม่มีผู้ใดเข้าใจในความหมาย นอกจากพระมหากัสสปะผู้เดียวซึ่งยิ้มน้อยๆ อยู่ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ดูก่อนท่านกัสสปะตถาคตมีธรรมจักษุครรภ์อันเที่ยงตรงและนิพานจิต ลักษณะที่แท้จริงย่อมไม่มีลักษณะ เธอพึงรักษาไว้ให้ดี พระพุทธวจนะนี้เป็นบ่อเกิดของนิกายเซ็น และพระมหากัสสปะก็ได้เป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายเซ็นนี้ด้วย) โดยที่ธรรมาจารย์เซ็นได้ถ่ายทอดธรรมจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างลับ ๆ การถ่ายทอดนี้มิได้ถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษร หากเป็นการถ่ายทอดลับแบบประทับจิต จากจิตสู่จิตผู้รับการถ่ายทอดจะพบจิตอย่างฉับพลัน

          ผู้สถาปนาธรรมาจารย์องค์แรกก็คือพระศากยมุนีพุทธเจ้าและผู้ที่ได้รับถ่ายทอดธรรมจากพระพุทธเจ้าก็คือพระมหากัสสปะโดยมอบจีวรและบาตรแก่พระมหากัสสปะแล้วตรัสว่า อาตมามีสัมมาจักษุธัมปิฎกเป็นนิพพานพิเศษทางใจ เป็นรูปแท้ไร้รูปเป็นวิถีพิเศษไร้อักขระถ่ายทอดต่างหากนอกจากคำสอน (佛曰︰吾有正法眼藏,涅槃妙心,實相無相,微妙法門,不立文字,教外別傳,付囑摩訶迦葉。)

          นี่เป็นธรรมาจารย์เซ็นองค์แรกที่ได้รับการถ่ายทอดโองการสวรรค์สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงสัมมาจักษุธัมปิฎก นั่นก็คือ“ จุดญาณทวาร”นั่นเองซึ่งก็หมายถึงธรรมญาณ การบำเพ็ญธรรมญาณถือว่า เป็นการถือบำเพ็ญูที่นอกเหนือจากวาจาและอักขระให้ถ่ายทอดต่างหาก“ นอกจากคำสอน”หมายถึงวิธีอื่นที่นอกเหนือจากคำสอน คำสอนหมายถึงคำสั่งสอนที่นอกเหนือจากพระสูตร พระคัมภีร์ ที่ศาสดาเจ้าทรงเคยสั่งสอนไว้โดยทั่วไปก็เพื่อกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้มุ่งสู่ความดียึดถือคุณธรรม จุดหมายปลายทางก็เพื่อการปลดทุกข์คลายความกังวลให้ชีวิตมีความสงบสุข เพราะฉะนั้นธรรมอันแยบยลแห่งธรรมชาตินี้ จึงเป็นการถ่ายทอดอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งต่างจากการเทศนาธรรมของศาสนาอย่างมากนั้น ทั้งนี้ก็เพราะการรับสืบทอด “"โองการสวรรค์"” (天命 เทียนมิ่ง) ธรรมาจารย์เซ็นก็รับสืบทอดด้วยวิถีลับจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง

          ในสมัยที่พระมหากัสสปะรับสืบทอดจากพระพุทธองค์นั้น ก็ทำโดยการโอบล้อมปิดบังด้วยจีวรของพระพุทธองค์แล้วถ่ายทอดลับแก่พระมหากัสสปะ ต่อมาภายหลังแต่ละรุ่นก็ล้วนใช้วิธีนี้สืบทอดกันมา ในประเทศอินเดียได้มีการสืบทอดติดต่อกันมาจนถึงธรรมาจารย์รุ่นที่ 28 คือ พระโพธิธรรม(達摩祖師 ปรมาจารย์ตั๊กม้อ) แล้วจึงถ่ายทอดมายังประเทศจีนจนกระทั่งถึงธรรมาจารย์ฮุ้ยเหนิง(六祖慧能 ลิ่วจู่ฮุ่ยเหนิง) (เว่ยหล่าง) ซึ่งถือเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ของจีน หลังจากนั้นสายธรรมก็ถูกแบ่งเป็นสายสมณะ(สายวัด) และสายฆราวาส (สายบ้าน) สายสมณะไม่อาจติดตามได้ในปัจจุบันส่วนสายบ้านก็คือสายเอกธรรมมรรคในปัจจุบัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12/06/2012, 18:42 โดย ติ๊กน้อย »

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
Re: ตรัยรัตน์กับเซ็น
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 12/06/2012, 19:05 »
การสืบทอดตรัยรัตน์

          ผู้คนจำนวนมากมักคิดเอาว่า พวกเอกธรรมมรรคได้คิดค้นตรัยรัตน์ ขึ้นมาเองแล้วก็พูดกันว่า รัตนไตรของพระพุทธศาสนา (พุทธ ธรรม สงฆ์)จึงจะเป็นของจริง อันที่จริงแล้วตรัยรัตน์ของเอกธรรมมรรคที่สืบทอดกันมานี้เป็นจุดสำคัญที่ธรรมาจารย์ได้ถ่ายทอดกันมาและเป็นจุดสำคัญของผู้รับธรรมะยึดถือบำเพ็ญกัน การรับรัตนไตรในศาสนาพุทธไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อผู้บำเพ็ญ เพราะรัตนไตรคือองค์ประกอบของพุทธศาสนาก็เหมือนองค์ประกอบของครอบครัวที่มีพ่อ แม่ ลูก ฯ เป็นต้น

          ผู้ได้รับตรัยรัตน์ก็คือผู้ได้รับวิถีอนุตตรธรรมอย่างแท้จริง เมื่อได้รับธรรมะแล้วก็จะได้รับประโยชน์ อย่างน้อย ๆ ก็ช่วยปกป้องคุ้มครองตนให้สงบสุข อย่างมากก็สามารถบำเพ็ญให้สำเร็จเป็นพุทธะได้

          ตรัยรัตน์ที่รับสืบทอดกันมาในแต่ละรุ่น มีฐานันดรที่สำคัญยิ่ง เรื่องพระพุทธองค์ได้สืบทอดตรัยรัตน์ ในบรรณสารถวายบูชาพระก็สามารถเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่ามีการถ่ายทอด “ ธรรมญาณ” ศากยมุนีพุทธเจ้าได้ถ่ายทอดธรรมญาณนี้ให้แก่พระมหากัสสปะ พระโพธิธรรมได้ถ่ายทอดเข้าสู่ประเทศจีนก็มีหลักฐานการถ่ายทอดตรัยรัตน์ ซึ่งพบได้จากเอกสารใบสำนึกบาป เมื่อมาถึงสมัยของฮุ้ยเหนิง (เว่ยหล่าง) ก็ยิ่งมีความชัดเจนมากที่แสดงถึงความสำคัญของการถ่ายทอดตรัยรัตน์กับการยึดถือบำเพ็ญ

          เราลองมาพิจารณา กงอัน 公案 (กงอัน ในภาษาญี่ปุ่นเรียกโกอาน หมายถึงปริศนาธรรมที่อาจารย์เซ็นผูกเรื่องขึ้น เพื่อให้ศิษย์นำไปคิดจะเป็นเวลา 1 ปี หรือ 3 ปีหรือ 8- 10 ปีก็แล้วแต่ จนกว่าศิษย์ผูนั้นจะบำเพ็ญจนถึงกาลเวลาอันสุกงอมแล้วอาจารย์ก็ชี้แนะให้) ที่เกี่ยวข้องกับธรรมญาณในสมัยพระพุทธองค์ดู พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงรัตนะอันมีค่าสามประการว่ามีเพียงมหาโพธิสัตว์เท่านั้นที่รู้จัก พุทธสาวกกับพระอรหันต์ล้วนไม่รู้จัก เรามาดูรายละเอียดของกงอันดู

          พระพุทธเจ้าเนื่องด้วยมีเจ็ดนักปราชญ์หญิงได้ท่องเที่ยวมาถึงป่าช้า แห่งซากศพ (ในสมัยโบราณชาวอินเดียมีประเพณีนำศพมาแขวนไว้ในป่า)มีปราชญ์หญิงหนึ่งชี้ที่ศพแล้วกล่าวว่า“
"ซากศพอยู่ที่นี่ แล้วคนไปอยู่ไหน”"
ปราชญ์หญิงอีกนางหนึ่งก็กล่าวขึ้นว่า
"“ถูกแล้ว ขอให้พี่ ๆ น้อง ๆ พิจารณาดูให้ละเอียด"
 แล้วแต่ละนางก็ประจักแจ้งในปัญหา” พระอินทร์ได้ยินวาจาของเหล่านักปราชญ์หญิงโต้ตอบกัน ก็ให้มีความทราบซึ้งจึงโปรยบุบผาลงมาสรรเสริญพวกนางว่า“ ขอเพียงท่านอริยภคินีมีความปรารถนาในสิ่งใดแล้วหม่อมฉันยินดีจัดหามาถวาย” เหล่าปราชญ์กล่าวว่า“ ที่บ้านนางสมบัติล้ำค่าก็มีหมดต้องการเพียงรัตนะอันมีค่า 3 อย่าง
          1. ต้องการต้นไม้ที่ไม่มีรากหนึ่งต้น (無根樹)
          2. ต้องการสถานที่ปราศจากความร่มแจ้งหนึ่งแปลง (無陰陽地)
          3. ต้องการหุบเขาที่ไม่ก้องกังวาลหนึ่งแห่ง (叫不響山谷)

พระอินทร์ตอบว่า
“"สิ่งของทุกอย่างหม่อมฉันมีหมดแต่ของสามสิ่งหม่อนฉันไม่มี"
เจ็ดนางกล่าวต่อว่า“
"หากท่านไม่มีสิ่ง 3 อย่างนี้แล้ว ท่านจะไปฉุดช่วยคุ้มครองคนอื่นได้อย่างไร"”
พระอินทร์ไม่รู้ว่าจะหามาจากที่ใหน จึงพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอคำชี้แนะ พระชินเจ้าตรัสว่า“
"ท่านพระอินทร์สาวกของอาตมากับพระอรหันต์ก็ล้วนไม่เข้าใจรัตนะอันมีค่า3 อย่างของเจ็ดปราชญ์หญิง มีเพียงมหาโพธิสัตว์เท่านั้นจะสามารถเข้าใจถึงความหมายนี้ได้”"

          ปัญญาของเจ็ดปราชญ์ ก็ควรนำมาถามตัวเองอยู่เสมอ ๆ ว่า “ ร่างกายอยู่ที่นี่แล้วคนแท้ ๆ อยู่ที่ไหน เราลองมาดูรัตนะ 3 ประการของเจ็ดปราชญ์หญิงดู
          1. ต้นไม้ไร้รากคือต้นไม้ที่มีกิ่งคู่ อันหมายถึงคิ้วทั้งคู่ของเรานั้นเองเรามักพูดกันว่า“ สถานธรรมอยู่ที่ต้นไม้คู่”
          2. สถานที่ไร้ร่มแจ้งก็คือที่ ๆ มีค่าแห่งธรรมญาณ ที่เรามักพูดว่าที่ดินศูนย์กลาง ในกายของเรานี้ก็มีสถานที่หนึ่งเท่านั้นที่ไร้ร่มแจ้ง หมายถึงทหารแห่งอู๋จี๋
          3. หุบเขาที่ไม่ก้องเสียง ท่านเหลาจื่อว่า“ "วิญญูาณแห่งหุบเขาอมตะเป็นมารดาอันอัศจรรย์”" ธรรมญาณแห่งหุบเขาอันเงียบสงัดมีอยู่ในทุก ๆ คน หากไม่พบกับธรรมาจารย์ก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงได้

          รัตนะที่มีค่า 3 อย่างที่เหล่าปราชญ์หญิงพูดถึงนั้น เริ่มตั้งแต่บริเวณระหว่างคิ้ว ตลอดจนถึงทางออกของหุบเขาอมตะ ล้วนบ่งบอกถึงสถานที่อยู่ของธรรมญาณ ดังที่พุทธองค์ตรัสว่า มีแต่มหาโพธิสัตว์เท่านั้นที่เข้าใจความหมาย” ทั้งนี้เพราะว่าจุดญาณทวารเป็นตำแหน่งเริ่มต้นการเจริญภาวนา ซึ่งจะไม่แสดงแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย มีเพียงพระโพธิสัตว์ที่สามารถประจักษ์ลุถึงพุทธญาณอันสูงสุดนี้

          ท่านอาวุโสที่ผ่านการรับธรรมะมาแล้ว ได้รับตรัยรัตนมาแล้วจากกงอันในยุคสมัยของพุทธองค์จะพบว่ามีตรัยรัตน์ถ่ายทอดกันแล้ว แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ“ ธรรมญาณ” ซึ่งในสมัยพุทธองค์มีแต่มหาโพธิสัตว์เท่านั้นจีงจะได้รับการถ่ายทอดและอีกตอนหนึ่งที่พุทธองค์ได้ประทานไตรจีวรและบาตรแก่พระมหากัสสปะก็เผยให้เห็นของการถ่ายทอดตรัยรัตน์นี้

          ขณะที่พุทธองค์ทำการถ่ายทอด ได้เอาจีวรคลุมพระมหากัสสปะแล้วตรัสว่า“ อาตมาเอาพระสัมมาจักษุธัมครรภ์ถ่ายทอดให้เธออย่างลับ ๆขอให้เธอปกปักรักษาเอาไว้” ซึ่งก็หมายความว่า ฉันมีอนุตตรธรรมซ่อนอยู่ระหว่างจักษุ (หมายถึงธรรมญาณ) (玄關) บัดนี้ฉันได้ถ่ายทอดให้เธออย่างลับ ๆ ต่อแต่นี้ไปเธอต้องเฝ้ารักษาบำเพ็ญไว้ให้ดี ๆ

          พระโพธิธรรรมขณะ ถ่ายทอดจีวรและบาตรแก่พระฮุ้ยเค่อกล่าวว่า“ภายในถ่ายทอดธรรมะเพื่อประทับจิต ภายนอกถ่ายทอดจีวร เพื่อกำหนดมั่นในอุดมการณ์” จะเห็นได้ว่านอกจากพระโพธิธรรมได้มอบบาตรจีวรแก่สังฆปรินายกองค์ที่ 2 แล้ว ยังถ่ายทอดธรรมประทับจิตซึ่งหมายถึงการถ่ายทอด “ธรรมญาณ” ซึ่งแสดงถึงการถ่ายทอดตรัยรัตน์นั่นเอง

Tags: