collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: คำครู เรื่องปัญญา  (อ่าน 2379 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
คำครู เรื่องปัญญา
« เมื่อ: 27/02/2012, 12:29 »
" คำครู " พุทธทาสภิกขุ...
‎"เรื่องปัญญา "

"ขณะที่จิตว่างนั้น เป็นความเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง "

ขณะที่มีความโ...ง่อย่างยิ่งก็คือ ขณะที่โมหะหรืออวิชชา
เข้ามาครอบงำอยู่แล้วทำให้ยึดมั่นนั่นนี่ ว่าเป็นตัวตน หรือของตน
ลองคิดดูให้เห็นง่ายๆ ชัดแจ้งด้วยตนเอง
ว่า พอสิ่งเหล่านี้เข้าไปแล้ว มันจะโง่ได้อย่างไร
เพราะเมื่อความโง่มันเพิ่งเข้ามาต่อเมื่อมีอวิชชา
ไปหลงยึดมั่นว่าเป็นตัวเราว่าเป็นของเรา

ขณะใดที่จิตว่างจากความโง่เหล่านี้..
ก็เข้าถึงความว่างจากตัวเราว่างจากของเรา
มันก็ต้องเป็นความรู้หรือปัญญาเต็มที่..

เพราะฉะนั้นผู้ที่ฉลาดเขาจึงพูดว่า
"ความว่างกับปัญญาหรือสติปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน"
ไม่ใช่เป็นของสองสิ่งที่เหมือนกันแต่ว่าเป็นสิ่งๆเดียวกันเลย

ข้อนี้ย่อมหมายความว่าปัญญาที่แท้จริง
หรือถึงที่สุดของปัญญานั้น ก็คือ "ความว่าง" นั่นเอง
คือว่างจากโมหะที่หลงยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง....

หมายความว่า...พอเอาโมหะอันนี้ออกไปเสีย
จิตก้ถึงสภาพเดิมของจิตที่เป็น "จิตเดิมแท้"
คือปัญญา หรือ สติปัญญา....
สติสัมปชัญญะ บริสุทธิ์ตามธรรมชาติ....
มีความต่างกับสติที่ เราๆมีกัน....

สติสัมปชัญญะ บริสุทธิ์ตามธรรมชาตินี้
ไม่ได้เกิดจากเจตนา...ที่จะทำให้เกิด ...ให้มี...
... ...เพื่อหวังผล ให้ลดความทุกข์ลง....

สติสัมปชัญญะ บริสุทธิ์ตามธรรมชาตินี้
อยู่ภายใต้กฏตรัยลักษณ์ ....คือรักษาไว้ไม่ได้...

ดังนั้นสติที่เราๆ กำหนดให้มีเพื่อป้องกันทุกข์
บรรลุธรรมต่างก็เป็นเพียงสติฯ ที่ไม่บริสุทธ์...

และหากเพียรพยายามจะรักษามันไว้
ก็เป็นการฝืนธรรมชาติของตรัยลักษณ์...เท่านั้นเอง

.......................

ปํญญานั้นหากเกิดต่อจากสติฯบริสุทธก็จะรู้เห็น
ธรรมชาติที่เป็นจริง โดยไม่บิดเบือน จึงเรียกว่า
...ทางแห่งวิปัสนา...

โดย นำสติฯบริสุทธ์นี้ไปวางที่ฐานใด
กาย เวทนา จิต ธรรมก็คือ สติปัฏฐานทั้ง 4
ที่พระพุทธองค์ ทรงประทานไว้
เป็นเครื่องมือในการเข้าถึง ปัญญารู้ธรรม....

กราบนมัสการขอบพระคุณค่ะ

ออฟไลน์ VivainNarak

  • มิตรนักธรรม
Re: คำครู เรื่องปัญญา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 17/06/2014, 11:50 »
การนำสติไปไว้ที่ สติปัฏฐาน 4 เรียนรู้และทำตาม คนเราแค่เพียงทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างตั้งหมั่น ก็จะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้

Tags: