collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: สิบอัครสาวก : สารบัญ  (อ่าน 29254 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก พระราหุลเถระ : ชาติภูมิ
« ตอบกลับ #50 เมื่อ: 15/03/2012, 08:27 »
                              สิบอัครสาวก 

                            พระราหุลเถระ

             ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "ใคร่ต่อการศึกษา"

                              ชาติภูมิ 

        พระราหุลเถระ เป็นพระอรหันต์สาวก ผู้เกิดในวรรณสูง  มีการศึกษาอันยอดเยี่ยม  มีความประพฤติดี  ทั้งท่านยังถูกจัดไว้ว่าเป็นเลิศในการใคร่ศึกษา  พระราหุลได้เกิดเป็นโอรสของเจ้าชายสิิทธัตถะ และ พระนางพิมพา มีพระนามว่า พระราหุล  ซึ่งแปลว่า "บ่วง"  ที่มีพระนามเช่นนี้ เพราะอาศัยพระอุทานของ
เจ้าชายสิทธัตถะ ในเวลาพระโอรสประสูติว่า  "บ่วงเกิดขึ้นแล้ว เครื่องผูกพันเกิดขึ้นแล้ว" 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           สิบอัครสาวก 

                            พระราหุลเถระ

             ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "ใคร่ต่อการศึกษา"

                          บูรพเหุตุ ( มโนปณิธาน)

        ในอดีตท่านเกิดเป็นบุตรของคฤหบดีมหาศาล คือ เป็นตระกูลที่มีสมบัติมากร่วมกับพระรัฐบาลเถระ (ในปัจจุบัน) ตรงกับพุทธกาลพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าในประมาณแสนกัปล่วงมาแล้ว  เมื่อทั้งสองเจริญเติบโตแล้ว บิดาได้ล่วงลับดับชีวิตไป ได้หน้าที่ปกครองสมบัติทั้งหมด เมื่อเห็นว่ามีมากมายนับ
ไม่ถ้วน จึงคิดว่าสมบัติเหล่านี้ บรรพชนทั้งหลายไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ต้องพากันทอดทิ้งไว้เช่นนี้ บัดนี้เราทั้งสองควรหาอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อ
ให้สมบัติเหล่านี้ติดตัวไปได้ในอนาคต จึงได้ตั้งโรงทานขึ้นที่ประตูบ้าน ๔ แ่ห่ง บริจาคให้แก่คนกำพร้า  และคนเดินทางไกลเป็นต้น

        ขณะนั้นมีดาบสผู้มีฤทธิ์มาก  ๒  ตน  เหาะมาจากป่าหิมพานต์ คฤหบดีทั้งสองไปเจอเข้า จึงขอนมัสการนิมนต์และต่างนำกลับไปที่เรือนของตน และนิมนต์ให้ท่านมาฉันอาหารที่บ้านของตนเป็นนิตย์   ดาบสผู้หนึ่งมักจะอนุโมทนา ด้วยการขอให้ท่าน (พระราหุล) ได้ภพอันประหนึ่งพญาปฐวินธรนาคราชเถิด  จากนั้นคฤหบดีผู้นี้ก็จะอธิษฐานทุกครั้งที่ถวายทานให้ได้สมบัติแห่งพญาปวินธรนาคราช  ส่วนอีกผู้หนึ่งมักจะอนุโมทนา ขอให้ที่อยู่ของท่าน (พระรัฐบาล) จงเป็นสักเทวราชเถิด  จากนั้นคฤหบดีผู้นี้ก็จะอธิษฐานทุกครั้งที่ถวายทาน เพื่อให้ได้เป็นท้าวสักกเทวราชเสมอมา

        เมื่อคฤหบดีทั้งสองตายไป ก็ได้ไปปเกิดในสถานที่ ที่ได้ปรารถนาไว้ คฤหบดีบุตรผู้ตั้งปรารถนาไปเกิดที่ภพนาคราช ก็ได้เกิดเป็นพญานาคชื่อ  ปฐวินธร  แต่เมื่อได้เกิดแล้วก้เสียใจ เมื่อได้ไปเข้าเฝ้าพระอินทร์ (ท้านสักกเทวราช)  ก็จำพี่น้องตนได้ จึงได้ทักทาย และพญานาคได้กล่าวตัดพ้อว่า ได้บังเกิดในสถานที่ไม่ดี และท้าวสักกเทวราชก็ได้แนะนำให้ไปถวายทานแด่พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่ออธิษฐานขอให้มาเกิดในดาวดึงส์นี้ 

        พญานาคปฐวินธรจึงรับปากแล้วไปเฝ้าพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบทูลอาราธนา ให้ไปเสวยพระกระยาหารยังนาคพิภพของตน ครั้นเมื่อกลับถึงนาคพิภพแล้วพญานาคปฐวินธร พร้อมกับนาคบริวารช่วยกันจัดแจงเครื่องสักการะบูชาตลอดคืน  พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระภิกษุหนึ่งแสนรูปก็ได้ไปยังนาคพิภพ พญานาคปฐวินธร และบริวาลพากันออกมาต้อนรับ และได้ดูแลพระภิกษุสงฆ์แวดล้อมด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าไปตลอดจนกระทั่งเห็นอุปเรวตสามเณร ซึ่งเป็นโอรสของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีอายุน้อยที่สุด แล้วมีสรีระที่ปรากฏคล้ายคลึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็เกิดความปิติปราโมทย์  เมื่อถวายทานได้ ๗ วันแล้ว จึงตั้งความปรารถนาต่อหน้าพระพักตร์ของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า  "ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นโอรสของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาลโน้น เหมือนดั่งสามเณรอุปเรวตะนี้ ด้วยอานุภาพอธิการกุศลของผลทานนี้เถิด"

        ครั้นเมื่อได้รับพุทธพยากรณ์ทำนายแล้ว จึงได้กลับไปหาท้าวสักกเทวราช แล้วเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง ทำให้ท้าวสักกเทวราชก็ได้มากระทำทานจนอธิษฐานมาเกิดเป็นภิกษุที่มีศรัทธามาก ซึ่งได้มาเกิดเป็นพระรัฐบาลในสมัยพระโคดมพุทธเจ้านี้                           

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก พระราหุลเถระ : บรรพชา
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: 16/03/2012, 11:55 »
                             สิบอัครสาวก 

                            พระราหุลเถระ

             ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "ใคร่ต่อการศึกษา"

                             บรรพชา

        เมื่อพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้แล้วก็เสด็จมาทรงเทศนา โปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ที่นิโครธาราม  วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป พระราชนิเวศน์ของพระนางพิมพา พระนางพิมพาจึงจัดแจงตกแต่งองค์ให้พระราหุล ให้ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และสอนให้ดูว่าองค์ไหนคือพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึงไปกราบทูลขอมรดกจากพระบิดา  พระราหุลกุมารเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามพระวาจาของพระราชมารดา แล้วกราบทูลขอว่า "ข้าแต่พระสมณะ ขอได้ประทานมรดกแก่ข้าพระองค์เถิด" ดังนี้แล้ว ได้เสด็จติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป จนกระทั่งถึงพระอารามอันเป็นที่ประทับ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงคิดจะยกโลกุตตรทรัพย์ คือทรัพย์ที่ช่วยให้พ้นโลกอันเป็นทรัพย์ภายในให้แทน จึงให้พระราหุล ได้บวชในสำนักของพระสารีบุตร

        พระสารีบุตรได้ทูลถามพระบรมศาสดา ถึงการที่พระราหุลยังมีอายุไม่ครบอุปสมบท พระบรมศาสดาจึงได้ตรัสให้อนุญาตการบวชกุลบุตร ให้เป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์ คือให้ถือ พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง โดยระลึกใน ๓ ครั้ง  จึงทำให้พระราหุลเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก พระราหุลเถระ : การศึกษา
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: 23/03/2012, 12:05 »
                             สิบอัครสาวก 

                            พระราหุลเถระ

             ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "ใคร่ต่อการศึกษา"

                             การศึกษา

        สามเณรราหุล ที่มีอายุเพียง  ๗  ขวบ ได้ศึกษาเกี่ยวกับหลักธรรมมากมาย ทั้งไม่ดูหมิ่นบัณฑิต  การละกามคุณ  การรู้จักประมาณ  การคบมิตร  การสำรวมปาฏิโมกข์  อานาปานาสติ  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสอนให้ส่องดูก่อนคิด   ก่อนพูด  ก่อนทำ  ได้สอนเรื่องกรรม ๓  เรื่องขันธ์ทั้ง ๕ บ้าง  ก็ได้รับการอบรมจากพระสารีบุตรเถระ ความเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาของพระราหุลนั้น  นอกจากความหมายว่าท่านเป็นผู้ประสงค์และยินดีในการเรียนรู้อย่างยิ่งแล้ว  ยังหมายความรวมไปถึงอ่อนน้อมเชื่อฟังและเคารพในคำสั่งคำสอนของพระเถระทั้งหลายเป็นอย่างยิ่งอีกด้วย

        ในเรื่องความยินดีประสงค์ในการเรียนรู้นั้น  มีเรื่องเล่าว่า  เมื่อพระบรมศาสดาทรงให้พระราหุลกุมารบรรพชาแล้ว พระราหุลนั้น ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เอามือกอบทรายขึ้นกล่าวว่า วันนี้เราพึ่งได้โอวาท ได้การตักเตือนมากมีประมาณเท่าเม็ดทรายนี้จากพระทศพล และอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งหลาย  เกิดการสนทนากันในท่ามกลางสงฆ์ว่า  "ราหุลสามเณร ทนต่อพระโอวาทหนอ เป็นโอรสที่คู่ควรแก่พระชนก"  เมื่อพระศาสดาทรงทราบวาระจิตแห่งภิกษุทั้งหลาย ทรงพระดำรัสว่า  เมื่อเราไปสู่ที่ประชุมของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ธรรมเทศนาอย่างหนึ่งจักบังเกิด และคุณของราหุลจักปรากฏ จึงเสด็จไปประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์  ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไรหนอ"   
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า  "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์สนทนากันถึงความที่ราหุลสามเณร เป็นผู้อดทนต่อพระโอวาทพระเจ้าข้า"   
พระศาสดาทรงตรัสว่า  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ราหุลเป็นผู้ใคร่จ่อการศึกษา ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน   แม้บังเกิดในกำเนิด เดียรัจฉาน ก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเหมือนกัน" 

        ในเรื่องการเคารพต่อถ้อยคำของพระเถระนั้น มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งภิกษุทั้งหลาย เห็นสามเณรราหุลมาแต่ไกล เพื่อต้องการจะทดลองท่านสามเณรราหุลนั้นจึงทิ้งกำไม้กวาด หรือภาขนะสำหรับทิ้งขยะไว้ เมื่อท่านราหุลนั้นมาถึง จึงกล่าวว่า  "ใครทิ้งสิ่งนี้ไว้ดังนี้"  ภิกษุอีกพวกหนึ่งจะกล่าวดังนี้ว่า  "ท่านผู้เจริญ !  ท่านราหุลเที่ยวมาในบริเวณนี้ ชะรอยเธอวางทิ้งไว้กระมัง"  แต่ท่านราหุลนั้นด้วยความเคารพในคำของพระภิกษุจึงไม่กล่าวว่า ท่านผู้เจริญผมไม่รู้เรื่องนี้ กลับเก็บงำสิ่งนั้นไว้ ในที่ ๆ ควร แล้วขอขมาว่า  ท่านผู้เจริญ ของท่านทั้งหลายขอจงลดโทษแก่กระผมด้วย แล้วจึงจากไป  และในเรื่องที่ท่านสามเณรราหุล ต้องเข้าไปอาศัยนอนในเวจกุฏิของพระบรมศาสดา เนื่องเพราะเหล่าภิกษุไม่ยอมให้ท่านอาศัยอยู่ในที่พักของท่าน ด้วยเกรงต่อสิกขาบท ท่านราหุลเป็นผู้เคารพต่อโอวาทของภิกษุอย่างนี้ ท่านจึงเข้าไปอยู่ในเวจกุฏินั้น (ห้องส้วม)

        พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงตั้งพระราหุลไว้ในเอตทัคคะ จึงทรงตั้งให้เป็นผู้เลิศในการศึกษาว่า  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาววกของเราผู้ใคร่ต่อการศึกษา  ราหุล  เป็นผู้เลิศของภิกษุเหล่านั้น"     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             สิบอัครสาวก 

                            พระราหุลเถระ

             ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "ใคร่ต่อการศึกษา"

                           ความกตัญญู

        เมื่อพระนางพิมพาเห็นว่าพระราหุล ได้ทรงผนวชแล้ว จึงได้เสด็จออกไปจอบรรพชาในสำนักภิกษุณี วันหนึ่งพระนางพิมพาเถรี ได้เกิดอาพาธ ด้วยลมเสียดแทงขึ้งในพระอุทร  เป็นโรคอาพาธที่เคยเกิดมาแต่ครั้งเมื่อเป็นฆราวาส  สามเณรราหุลได้ไปเยี่ยมโยมมารดา แล้วถามถึงว่า ต้องอาสํยสิ่งใดมารักษาอาการอาพาธ พระนางพิมพาจึงได้บอกว่า ในอดีตตอนอยู่ในราชนิเวศน์ เคยดื่มน้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวด โรคลมนี้จึงมาระงับไป แต่มาบัดนี้ อาศัยการบิณ
ฑบาตมาเลี้ยงชีพ มิรู้ที่จะหาน้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดมาได้อย่างไร 

        สามเณรราหุล จึงรับปากโยมมารดาว่าจะแสวงหามาถวาย จากนั้นจึงได้ไปหาพระสารีบุตรเถระ แล้วยืนอยู่ด้วยอาการเศร้าโศก พระสารีบุตรเถระจึงได้ถามว่า  "ราหุล เธอมีอาการเศร้าโศก  เพราะเหตุใดเล่า"   "ข้าแต่พระอุปัชฌาย์  กระผมมีความทุกข์ระทมใจ เนื่องมาจากพระเถรีผู้เป็นโยม พระมาารดาเกิดโรคลมเสียดแทงขึ้นในพระอุทรขอรับ"   "ราหุลเธอมีความต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงบอกมาเถิด"  "กระผมมีความประสงค์จะได้น้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวด นำไปถวายโยมพระมาราดาขอรับ"   "เรื่องนี้ไม่เป็นไร ราหุล รอไว้วันพรุ่งนี้คงจะหาได้" 

        พอวันรุ่งขึ้น พระสารีบุตรเถระ จึงพาพระราหุลเข้าไปในนครสาวัตถี แล้วให้สามเณรราหุลรออยู่ จากนั้นก็ได้เข้าไปยังพระราชวัง พระเจ้าปเสนทิโกศล บังเอิญได้มีนายอุทยานได้นำมะม่วงมาถวายพระราชา พระราชาจึงทรงปอกเปลือกมะม่วงนั้นผสมน้ำตาลกรวด แล้วทรงขยำในภาชนะอันสะอาดด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง แล้วใส่ลงในบาตรพระสารีบุตรเถระ  แล้วก็นำไปให้พระราหุลถวายแด่โยมพระมารดา  พอพระนางพิมพาเถรี เสวยมะม่วงผสมน้ำตาลกรวดแล้ว โรคลมที่เสียดแทงในพระอุทรก็ระงับไปทันที         

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก พระราหุลเถระ : บรรลุธรรม
« ตอบกลับ #55 เมื่อ: 27/03/2012, 12:37 »
                             สิบอัครสาวก 

                            พระราหุลเถระ

             ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "ใคร่ต่อการศึกษา"

                           บรรลุธรรม

        ภายหลัง ในเวลาที่ราหุลเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษาประทับอยู่ที่ป่าอันธวัน เขตพระนครสาวัตถี พระศาสดาทรงทราบว่า ธรรมเจริญด้วยวิมุตติ ๑๕ ของพระเถระแก่กล้าแล้วจึงตรัสว่า จุลลราหุโลวาทสูตร ความในพระสูตรนั้นมีโดยย่อดังนี้  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑริกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถีครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นประทับอยู่ในที่รโหฐาน ได้เกิดพระปริวิตกทางพระหฤทัยขึ้นอย่างนี้ว่าราหุลในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นเถิด ฯ  ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองสบง ทรงบาตรจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้น
เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ได้ตรัสกับท่านพระราหุลว่า  ดูก่อนราหุล เธอยังถือผ้ารองนั่ง เราจักเข้าไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวันกัน ท่านพระราหุลทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว  พระพุทะเจ้าข้า แล้วจึงถือผ้ารองนั่งติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป ณ เบื้องพระปฤษฏางค์ (เบื้องหลัง)  ก็สมัยนั้นแล เทวดาหลายพันตนได้ติดตามพระผู้มีพระภาคไปด้วยทราบว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้น  ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าถึงป่าอันธวันแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่ท่านพระราหุลแต่งตั้ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่งแม้ท่านพระราหุลก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

        พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  "ดูก่อนราหุล  เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุ เที่ยงหรือไม่ ?.  "รูป  จักษุวิญญาณ  จักษุสัมผัส  โสตะ  ฆานะ  ชิวหา  กายมโน  ธรรมารมณ์  มโนวิญญาณ  มโนสัมผัส  เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ?."  พระราหุลตอบว่า  "ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ"  พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า "ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ฯ ?."  พระราหุลทูลตอบว่า  "เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ"  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่านั่นของเรานั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ"  พระราหุลทูลตอบว่า "ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า ฯ"  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนราหุล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ  แม้ในรูป  แม้ในจักษุวิญญาณ  แม้ในจักษุสัมผัส  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา  สัญญา สังขาร  วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ  แม้ในเสียง  แม้ในฆามะ  แม้ในกลิ่น  แม้ในชิวหา  แม้ในรส  แม้ในกาย  แม้ในฐัพพะ  แม้ในมโน  แม้ในธรรมารมณ์  แม้ในมโนวิญญาณ  แม้ในมโนสัมผัสย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น ฯ 

        เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้วและทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรได้ทำเสร็จแล้ว  กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ"  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นและเทวดาหลายพันตนนั้น ได้เกิดดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีหมดมลทินว่า  ""สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฯ" 

        ในครั้งหนึ่งที่พระราหุลเถระ ได้ไปนอนที่หน้ามุขของพระคันธกุฏีของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะหาสถานที่อันสมควรไม่ได้ สมัยนั้นพระราหุลเถระได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว แต่ท่านยังบวชเป็นพระยังไม่ถึงหนึ่งพรรษาเลย  ครานั้น  สวสัตดีมาร แลเห็นพระราหุล จึงคิดว่าพระหนุ่มน้อยนี้เป็นเหมือนจิตใจของพระพุทธเจ้า หากเราบีบคั้นพระหนุ่มน้อย ก็เหมือนบีบคั้นพระพุทธองค์ด้วย จึงได้แปลงเป็นช้างใหญ่ แล้วเอางวงรัดพระราหุลเถระ แล้วแผดเสียงร้องดังลั่น เมื่อนั้น พระพุทะองค์ได้ตรัสบอกแก่ วสวัตดีมาร  ว่า "นี่แนะมาร ผู่เช่นท่านถึงแม้มีจำนวนตั้งหนึ่งแสนตน ก็ไม่สามารถเพื่อจะทำให้พระราหุลบุตรของตถาคตเกิดความกลัวได้ เพราะบุตรของตถาคตเป็นผู้มีปรกติไม่สะดุ้งกลัว  ไม่มีตัณหา  มีมหาวิริยภาพ  มีปัญญามาก  และเป็นมหาบุรุษ" 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
สิบอัครสาวก พระราหุลเถระ : ปรินิพพาน
« ตอบกลับ #56 เมื่อ: 27/03/2012, 12:53 »
                            สิบอัครสาวก 

                            พระราหุลเถระ

             ผู้เป็นเอตทัคคะด้าน  "ใคร่ต่อการศึกษา"

                           ปรินิพพาน

        ไม่มีรายละเอียดว่า ท่านปรินิพพานอย่างไร ทราบเพียงว่า ท่านปรินิพพานก่อนพระอัครสาวกทั้งสอง และก่อนพระพุทธเจ้า โดยการทูลลาพระพุทธเจ้าไปนิพพานที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 

        "สัตว์ทั้งหลายดังคนตาบอด
     เพราะเป็นผู้ไม่เห็นโทษในกาม
        ถูกข่ายคือตัณหาปกคลุมไว้
      ถูกหลังคาคือตัณหาปกปิดไว้
        ถูกมารผูกแล้วด้วยเครื่องผูก
                    คือความประมาท
     เหมือนปลาในปากลอบ ฉะนั้น
           เราถอนกามนั้นขึ้นได้แล้ว
         ตัดเครื่องผูกของมารได้แล้ว
    ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว
      เป็นผู้มีความเยือกเย็นดับแล้ว "

                                             แจ้งเกิดตายดังไฟที่ลุกโถม
                                             ทุกข์โหมโรมไร้เขตสิ้นสุดได้
                                             บังเกิดจิตมหายานอันยิ่งใหญ่
                                            โปรดกว้างไกลสรรพสัตว์ถ้วนทั่วกัน
                                             ยินดีเป็นตัวแทนเวไนยนิกร
                                             รับทุกข์ร้อนที่สุดประมาณนั่น
                                             เพื่อให้มวลเวไนยทุกผู้นาม
                                             ที่สุดนั้นพบสุขสถาพร
                                                              พุทธวจนะ

                                                                                  จบเล่ม

Tags: