collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดผลวิจัยผัก-สมุนไพรไทย พบประโยชน์สารพัด  (อ่าน 2933 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           เปิดผลวิจัยผัก-สมุนไพรไทย พบประโยชน์สารพัด

 เปิดผลวิจัยพบผักพื้นบ้านไทยคุณค่าเพียบ มีสารหลายชนิดป้องกันโรคมะเร็ง ชะลอแก่ สธ.หนุนประชาชนไทย หันมากินผักพื้นบ้าน4 ภาคในปี 2555
       
       วันนี้ (3 ม.ค.) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการที่สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าของผักพื้นบ้านที่คนไทยทั้ง 4 ภาคนิยมกินกันอยู่ทั่วไปทั้งดอก ใบ ยอดอ่อน ฝัก ผล หัวและรากนั้น และพบว่าพืชผักของไทยมีประโยชน์สารพัดนั้น ทาง สธ.จะมอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เผยแพร่ส่งเสริมประชาชนใช้บริโภคและให้โรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขนำมาปรุงเป็นอาหารของผู้ป่วยเป็นตัวอย่างประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างทั่วถึง
       
       ด้าน นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ประเทศไทยมีผักพื้นบ้านมากกว่า 300 ชนิด ส่วนใหญ่จะขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ริมห้วย หนองคลองบึง และป่าเขา ในการศึกษาผักพื้นบ้านในปี 2554 นี้ กรมอนามัยได้เก็บตัวอย่างผักพื้นบ้าน รวม 45 ชนิด จาก 4 ภาค ประกอบด้วย ภาคกลาง 12 ชนิด ภาคเหนือ 6 ชนิด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ชนิด และภาคใต้ 22 ชนิด โดยศึกษาปริมาณสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย 9 ชนิด ได้แก่ 1.พลังงาน 2.โปรตีน 3.ไขมัน 4.คาร์โบไฮเดรต 5.เบตาแคโรทีน 6.วิตามินซี 7.ใยอาหาร 8.ธาตุเหล็ก และ 9.แคลเซียม ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักทุก 100 กรัมเท่ากัน พบว่าผักพื้นบ้านของไทยทุกชนิดให้พลังงาน โปรตีนไขมันและคาร์โบไฮเดรตน้อยมาก จึงกล่าวได้ว่าผักเหล่านี้กินแล้วไม่ทำให้อ้วน
       
       ผักที่มีแคลเซียมสูงที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
1.หมาน้อย     มี 423 มิลลิกรัม
2.ผักแพว       มี 390 มิลลิกรัม
3.ยอดสะเดา   มี 384 มิลลิกรัม
4.กะเพราขาว  มี 221 มิลลิกรัม
5.ใบขี้เหล็ก    มี 156 มิลลิกรัม
6.ใบเหลียง    มี 151 มิลลิกรัม
7. ยอดมะยม   มี 147 มิลลิกรัม
8.ผักแส้ว       มี 142 มิลลิกรัม
9.ดอกผักฮ้วน  มี 113 มิลลิกรัม และ
10.ผักแมะ     มี 112 มิลลิกรัม
        โดยแคลเซียม มีบทบาทหลักคือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูก และป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยในการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังช่วยในการแข็งตัวของเลือดและควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิด
       
       ผักที่มีธาตุเหล็กสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1.ใบกะเพราแดง        มี 15 มิลลิกรัม
2. ผักเม็ก                มี 12 มิลลิกรัม
3.ใบขี้เหล็ก              มี 6 มิลลิกรัม
4.ใบสะเดา               มี 5 มิลลิกรัม และ
5.ผักแพว                 มี 3 มิลลิกรัม
        ส่วนธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และมีบทบาทในด้านพัฒนาการและการเรียนรู้ สมรรถภาพในการทำงาน สร้างภูมิต้านทานโรค และเกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ ธาตุเหล็กจะถูกดูดซึมได้ดีต้องรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีควบคู่ด้วย
       
       ผักที่มีใยอาหารสูง 10 อันดับ ได้แก่
1.ยอดมันปู         มี 16.7 กรัม
2.ยอดหมุย         มี 14.2 กรัม
3. ยอดสะเดา      มี 12.2 กรัม
4.เนียงรอก         มี 11.2 กรัม
5.ดอกขี้เหล็ก      มี  9.8 กรัม
6.ผักแพว           มี 9.7กรัม
7.ยอดมะยม        มี 9.4 กรัม
8.ใบเหลียง         มี 8.8 กรัม
9.หมากหมก        มี 7.7 กรัม และ
10.ผักเม่า           มี 7.1 กรัม
        ซึ่งใยอาหารในผัก ทำให้ร่างกายขับถ่ายอุจจาระได้เร็วขึ้น ท้องไม่ผูก ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลงส่งผลให้ลดระดับการใช้อินซูลิน นอกจากนี้ใยอาหารบางชนิดยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
       
       ผักที่มีเบตาแคโรทีนสูง 10 อันดับ ได้แก่
1.ยอดลำปะสี            มี 15,157 ไมโครกรัม
2.ผักแมะ                 มี 9,102 ไมโครกรัม
3.ยอดกะทกรก          มี 8,498 ไมโครกรัม
4.ใบกระเพราแดง       มี 7,875 ไมโครกรัม
5.ยี่หร่า                   มี 7,408 ไมโครกรัม
6.หมาน้อย               มี 6,577 ไมโครกรัม
7.ผักเจียงดา             มี 5,905 ไมโครกรัม
8.ยอดมันปู               มี 5,646 ไมโครกรัม
9.ยอดหมุย               มี 5,390 ไมโครกรัม และ
10.ผักหวาน             มี 4,823 ไมโครกรัม
       
       ส่วนผักที่มีวิตามินซีสูง 10 อันดับ ได้แก่
1.ดอกขี้เหล็ก           มี 484 มิลลิกรัม
2.ดอกผักฮ้วน           มี 472 มิลลิกรัม
3.ยอดผักฮ้วน           มี 351 มิลลิกรัม
4.ฝักมะรุม               มี 262 มิลลิกรัม
5.ยอดสะเดา            มี 194 มิลลิกรัม
6.ผักเจียงดา           มี 153 มิลลิกรัม
7.ดอกสะเดา           มี 123 มิลลิกรัม
8.ผักแพว               มี 115 มิลลิกรัม
9.ผักหวาน             มี 107 มิลลิกรัม และ
10.ยอดกะทกรก      มี 86 มิลลิกรัม
        โดยทั้งเบต้าแคโรทีนและวิตามินซี เป็นสารอาหารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ลดการอักเสบ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ทำให้ร่างกายแก่ชราช้าลงด้วย
       
       นพ.สมยศกล่าวอีกว่า การนำผักพื้นบ้านประจำถิ่นมาปรุงประกอบอาหาร นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยในการสร้างเสริมสุขภาพและรักษาโรคโดยไม่ต้องพึ่งยาและสารเคมีในแต่ละภาคของประเทศไทยมีผักพื้นบ้านสามารถเลือกรับประทานได้ตลอดปีและประชาชนควรเพิ่มการกินผักพื้นบ้านให้มากขึ้น เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ผักพื้นบ้านให้ลูกหลานรู้จักและบริโภคต่อได้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    ขอบคุณค่ะ  :)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           แคแดง...

        ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1...-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด

        ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ดอก ใบสด ยอดอ่อน

สรรพคุณ :
เปลือก
- ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
- แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
- ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล

ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)
ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้

ใบสด
- รับประทานใบแคทำให้ระบาย
- ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
- ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
- ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           บานไม่รู้โรย

        บานไม่รู้โรยเป็นไม้ดอกที่คนไทยเราคุ้นเคย เนื่องจากเป็นดอกไม้สารพัดประโยชน์สามารถนำไปใช้ตบแต่งสิ่งของต่าง ๆ และเป็นดอกไม้ที่ไม่ค่อยจะเหี่ยวเฉาสมชื่อ จึงนิยมนำไปทำพานพุ่มเพื่อบูชาพระหรือประกอบในพิธีไหว้ครู หรือจะนำไปร้อยมาลัยร่วมกับดอกมะลิก็ได้
นอกจากจะนำมาใช้เพื่อจัดทำพานพุ่มแล้ว บานไม่รู้โรยยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรอีกด้วย

        บานไม่รู้โรย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gomphrena globosa Linn. อยู่ในวงศ์ Amaranthaceae มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ ได้แก่ กะล่อม ดอกสามเดือน ตะล่อม

        บานไม่รู้โรยจัดเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรงหรือบริเวณโคนต้นอาจราบไปกับดินและมีรากตามข้อ ลำต้นจะมีสีแดง ถ้าเป็นกิ่งอ่อนจะมีขน ใบจะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ รูปร่างของใบจะยาวปลายมนโคนแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย มีขนปกคลุมใบทั้ง 2 ด้าน ใบที่ติดกับดอกจะไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นกระจุกกลม ๆ ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ มากมายอยู่บนก้านช่อดอก ดอกมี 3 สีคือ สีขาว สีม่วงแดงเข้ม และสีชมพู ผลจะมีขนาดเล็กรูปไข่
ในตำรายาแผนโบราณกล่าวไว้ว่าส่วนต่างๆของบานไม่รู้โรยนั้น มีสรรพคุณต่างๆดังนี้

ราก ขับปัสสาวะ แก้พิษต่างๆ
ต้น ขับปัสสาวะ แก้หนองใน ขับระดูขาว แก้กามโรค
ใบ ขับพยาธิ
ดอก บำรุงตับ แก้ตาอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้ปวดหัว แก้บิด แก้ไอกรน แก้ไอหอบหืด แก้แผลผื่นคัน ขับพยาธิ
ทั้งต้น แก้กษัยทั้งห้า ขับปัสสาวะ ขับระดุขาว แก้กษัย แก้กามโรค แก้หนองใน

        เมื่อดูสรรพคุณของบานไม่รู้โรยแล้วจะเห็นได้ว่า ในสมัยโบราณใช้ในการรักษาอาการปัสสาวะไม่สะดวก หรือใช้รักษาอาการโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคหนองใน กามโรค หรือการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น อาการไอ หรือหอบหืด

        เมื่อได้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า มีฤทธิ์ขับเสมหะ ฆ่าแมลง ซึ่งจะสอดคล้องกับที่ในสมัยโบราณนำไปใช้รักษาอาการไอหรือลดอาการหอบหืด สำหรับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่จะสอดคล้องกับการนำไปใช้ในการรักษาอาการอักเสบในระบบทางเดินปัสสาวะนั้นยังไม่มีการค้นพบ ต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป
        อย่างไรก็ดี ถ้าท่านผู้อ่านที่มีอาการปัสสาวะไม่สะดวกและเป็นไม่รุนแรงจะนำบานไม่รู้โรยมาใช้เบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ก็ได้ แต่เมื่อใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ใกล้บ้านค่ะ ส่วนการจะใช้เพื่อช่วยลดอาการไอและขับเสมหะ สามารถใช้ได้ในกรณีที่อาการไอไม่รุนแรงนะคะ
        สำหรับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบว่ามีฤทธิ์ฆ่าแมลงนั้นยังต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไปเพื่อลดการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าท่านผู้อ่านจะไม่มีอาการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็สามารถปลูกต้นบานไม่รู้โรยเป็นไม้ประดับรอบๆบ้าน และยังนำดอกมาใช้เป็นประโยชน์ได้อีก ทั้งชื่อ “ไม่รู้โรย” ของต้นไม้ชนิดนี้ยังเป็นมงคลอีกด้วย


           ขอบคุณค่ะ

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                      ประโยชน์ที่ได้จากฟักทอง

รวมถึงสารอาหารบำรุงร่างกายต่างๆ ที่สำคัญได้แก่

วิตามินบี
วิตามินเอ
วิตามินซี และ
ธาตุฟอสฟอรัส

มีสารสังเคราะห์จากพืชประเภทแคโรทีนอยด์ เช่น

เบต้าแคโรทีน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ มีอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง มีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้

หากกินฟักทองทั้งเปลือกจะได้ฤทธิ์ทางยา

สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ในเส้นเลือด

ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต
นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงตับ ไต นัยน์ตา และ
สร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป


ในบางครั้งบางเวลาเราอาจจะใช้เมล็ดฟักทอง

ถ่ายพยาธิลำไส้ พยาธิตัวตืด หรือนำไปคั่วกินเป็นอาหารว่าง และสามารถป้องกันการเกิดนิ่ว ก็ให้รับประทานน้ำมันละหุ่งระบายตามเพื่อ ให้ถ่ายพยาธิออกมาได้ เนื่องจากเมล็ดฟักทองมีแร่ธาตุฟอสฟอรัส สังกะสีสูง

ฟักทองเป็นพืชผักที่มีกากใยมากพอสมควร

ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และไม่ทำให้อ้วน เพราะมีแคลอรีไม่สูงมาก

ผู้ต้องการมีรูปร่างสวยงามควรบริโภคเป็นประจำและฟักทองยังมีวิตามินสูง

ซึ่งช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล และสายตาอีกด้วย


ใครจะทราบว่าฟักทองจะเหมาะสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร

เนื่องจากขาดธาตุฟอสฟอรัสและที่สำคัญเสี่ยงกับการเกิดหน้าท้องลาย มีฤทธิ์อุ่น ช่วยย่อยอาหาร ทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง ลดอาการอักเสบ แก้ปวด

              ข้อควรระวังคนที่กระเพราะร้อน

(คือมีอาการกระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ปัสสาวะน้อย ท้องผูก ถ้าร้อนมากขึ้นไปอีก อาจพบแผลใน ช่องปาก ปากเปื่อย เหงือกบวมแดง ชอบทานน้ำเย็น)

ไม่ควรกินฟักทองให้มาก เพราะฟักทองจัดเป็นยาาร้อน แม้คนปกติเอง ถ้ากินครั้งเดียวมากๆ ก็อาจจะทำให้มี อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้

Tags: