collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม (พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง)  (อ่าน 24313 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
   
ชื่อหนังสือ  ถาม - ตอบ อนุตตรธรรม
พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง
.
ISBN :  *
ผู้เขียน :  *
ผู้แปลและเรียบเรียง :  กลุ่มพัฒนาเพื่อฟื้นฟูธรรมญาณ
ขนาดรูปเล่ม
จำนวน :  x หน้า
ชนิดกระดาษ :  กระดาษปอนด์ ขาว
สำนักพิมพ์ :  x
เดือน/ปีที่พิมพ์ :  x
จำหน่ายโดย :  กลุ่มพัฒนาเพื่อฟื้นฟูธรรมญาณ
ติดต่อ :  x
ราคา :  x บาท
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:28 โดย nakdham »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง
พวกเราศิษย์อนุตตรธรรมบำเพ็ญธรรมต้องบำเพ็ญเพียรใจ       
ในการประกอบอนุตตรธรรมกิจต้องพยายามจนสุดความสามารถ
พวกเราไม่เปรียบเทียบและวิจารย์ผู้อื่น
พวกเราไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับผู้อื่น
พวกเรายอมถูกปรักปรำเพื่อให้ทศทิศเกิดความกลมเกลียวสมานฉันท์ 
พวกเราคือสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลทุกข์กับแดนอนุตตรภูมิ
แม้จะถูกผู้อื่นเหยียบย่ำและกล่าวให้ร้าย
พวกเราก็ยังยอมทนและไม่ตอบโต้
พวกเราดำรงตนตามหลักครรลองคลองธรรม
พวกเราสามารถพลิกแพลงตามสถานการณ์ได้ดั่งใจ
พวกเรามั่นคงในหลักสัจธรรม
การอุทิศเสียสละของพวกเราจะไม่สูญเปล่า
พวกเราจะไม่เกิดมาบนโลกมนุษย์โดยเปล่าประโยชน์
พวกเราจะไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์
แม้นชีวิตเดียวของเราก็มีความเกี่ยวพันกับชีวิตของเวไนยสัตว์อีกจำนวนมาก
จึงควรเห็นคุณค่าของตนและไม่เคลือบแคลงสงสัย
เพื่อไม่เป็นอุปสรรคแก่ตนเอง  กำหนดสัมมาวิถีสู่จุดหมายอย่างแน่วแน่
ให้มนุษย์ทั้งปวงได้ก้าวเดินไปอย่างมั่นคง
ให้มนุษย์ทั้งปวงได้รับประทีปแห่งความเมตตา
ให้มนุษย์ทั้งปวงได้อิ่ม่อิบอยู่ภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของฟ้าเบื้องบน
ให้บรรพชนเจ็ดชั้นและลูกหลานเก้าชั่วคนของมนุษย์ทั้งปวง
ได้รับบารมีแห่งแสงธรรมปรกแผ่ถ้วนทั่ว

คำนำ
"ถาม - ตอบ  อนุตตรธรรม" เป็นหนังสือที่รวบรวมคำถามทั้ว ๆ ไป ซึ่งเกิดจากข้อกังขาของญาติธรรม ทั้งญาติธรรมใหม่ที่เพิ่งก้าวเข้าสู่ประตูธรรม และญาติธรรมเก่า ที่กำลังบำเพ็ญปฏิบัติธรรม ข้อสงสัยเหล่านี้ พระอาจารย์จี้กงซึ่งเปรียบเสมือนบิดา ผู้มีคุณอนันต์ต่อศิษย์อนุตตรธรรม ได้ทรงตอบคำถามไขข้อกังขาด้วยพระองค์เอง ทั้งที่ตอบแบบตรงไปตรงมา และตอบแบบอุปมาอุปไมย  หนังสือเล่มนี้ยังให้ทัศนะเกี่ยวกับวิถีอนุตตรธรรม ในแง่ของการบำเพ็ญธรรม และในการปฏิบัติบำเพ็ญธรรม  อนึ่ง หนทางการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมจำต้องมีพื้นฐานแห่งความเชื่อมั่น เป็นพลังศรัทธาผลักดันเพื่อบรรลุจุดหมายและวิธีการเสริมสร้างความศรัทธาเชื่อมั่น ก็คือ  "การขจัดข้อกังขา"  นั่นเอง ดังพระพุทธจี้กงได้เมตตาว่า  "เมื่อขจัดข้อกังขา ความเชื่อมั่นจึงบังเกิด"  หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่สาธุชนผู้บำเพ็ญทั้งในอาณาจักรธรรมและนอกอาณาจักรธรรมไม่มากก็น้อย และหากการแปลพระวจนะ หรือการจัดทำหนังสือมีข้อผิดพลาดใด ๆ ขอเบื้องบนได้โปรดเมตตาประทานอภัย ขอพระอาจารย์ทรงการุณย์เสริมปัญญาแก่ศิษย์โง่ด้วยเถิด

ด้วยจิตสำนึกคุณ
กลุ่มพัฒนาเพื่อฟื้นฟูธรรมญาณ
แปลและเรียบเรียง           
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:31 โดย nakdham »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
3.  ตามที่ได้เข้าใจเบื้องต้นว่า ความทุกข์ยากลำบากที่ผู้บำเพ็ญได้รับแท้จริงมีสาเหตุมาจากเหตุต้นผลกรรมแห่งตน หาใช่เป็นการทดสอบจากเบื้องบนไม่ ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีหน้าที่ในการลำดับอริยฐานะตามสถานการณ์ที่ผู้บำเพ็ญประสบ  จึงอยากทราบว่า การเผชิญกับความทุกข์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเหตุต้นผลกรรมนั้น  จะได้รับบุญกุศลหรือไม่ ?.

 พระพุทธจี้กง ตอบ   :
     "ไหนเลยจะมีบุญกุศล"  เนื่องจากความทุกข์ยากลำบากทั้งหลายที่ผู้บำเพ็ญได้รับ ล้วนเกิดขึ้นมาจากเหตุต้นและผลกรรมของตนทั้งสิ้น เพียงแต่ฟ้าเบื้องบนได้อาศัยโอกาสนี้ เพื่อพิสูจน์ความมุ่งมั่นในวิถีธรรมของผู้บำเพ็ญเท่านั้น  ครั้นผู้ที่ไม่กระจ่างแจ้งในวิถีธรรม ได้รับความทุกข์ต่าง ๆ ในการบำเพ็ญปฏิบัติก็ย่อมโทษฟ้า และปรักปรำผู้อื่น  ทว่าผู้กระจ่างแจ้งในวิถีธรรม เมื่อได้รับความทุกข์ต่าง ๆ ในการบำเพ็ญปฏิบัติก็จะสำนึกเสียใจ และตำหนิเฉพาะตนเอง
เพราะฉะนั้น  เกณฑ์พื้นฐานในการกำหนด อริยฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็ขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความมุ่งมั่นที่ผู้บำเพ็ญแสดงให้เห็นต่อวิถีธรรมนั่นเอง


4 .   ผู้บำเพ็ญธรรมที่ตั้งปณิธานทานเจ  มีบุญกุศลหรือไม่ ?.

พระพุทธจี้กง ตอบ   : 
     "ไร้ซึ่งบุญกุศล"  เพราะการทานอาหารเจเป็นสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำ แต่เดิมมนุษย์เป็นสัตว์ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์  การทานอาหารเจ จึงเป็นสิ่งที่ควาปฏิบัติ ไหนเลยจะมีบุญกุศล


5.  เมื่อการทานอาหารเจไม่มีบุญกุศลแล้ว  เหตุใดผู้บำเพ็ญธรรมจึงต้องทานอาหารเจ ?.
พระพุทธจี้กง ตอบ  :
     ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการทานอาหารเจ เป็นสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำ เป็นการไม่ปลูกเหตุในการทำลายสรรพชีวิต  ผู้บำเพ็ญพึงละเว้นจากการปลูกต้นเหตุแห่งหนี้กรรม  ถ้ายังก่อเหตุสร้างหนี้เวร ด้วยการทำลายชีวิตสรรพสัตว์ต่อไป  ก็จะทำให้เจ้าหนี้นายเวรเกิดความอาฆาตแค้นมากยิ่งขึ้น จนในที่สุด ผู้บำเพ็ญเองก็ไม่อาจหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้  วิบากกรรมในกาลก่อนยังไม่ชำระสิ้น แต่กลับเพิ่มหนี้เวรกรรมใหม่ในก่ลนี้อีก  นี่เป็นสาเหตุของการเกิด ๆ ตาย ๆ  และตาย ๆ เกิด ๆ มีการฆ่าเขาบ้าง และมีการถูกเขาฆ่าบ้าง หมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด
     อนึ่งฟ้าเบื้องบนทรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม  เมื่อเรากินเนื้อเขา 1 ชั่ง ก็ต้องใช้เนื้อคืนเขา  16  ตำลึง เป็นแน่ เป็นไปไม่ได้ที่เนื้อ  1/2 ชั่ง  จะเท่ากับ 7. 5  ตำลึง  (ขาดหายไปครึ่งตำลึง)                           


6.  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว บุญกุศลจะมาจากไหน ?.

พระพุทธจี้กง ตอบ  : 
     แม้นคำว่า  "บุญกุศล"  ก้หามีไม่ เพราะการที่เวไนยบำเพ็ญธรรมและสร้างบุญกุศลโดยมุ่งหวังแต่จะรอรับผลบุญตอบสนอง ยึดติดในผลบุญ ส่งผลให้พฤติกรรมที่แสดงออกไม่เป็นธรรมชาติที่เกิดจากจิตเดิมแท้ หากเป็นเช่นนี้ ก็เป็นเพียงการปลูกสร้างเนื้อนาบุญเพื่อยังผลให้ไปเกิดเป็นเทพยดาบนสวรรค์ชั้นเทวภูมิ หรือผู้มีลาภสักการะในสนุสภูมิเท่านั้น เพราะการกระทำเพื่อหวังผลบุญตอบแทน ผลบุญที่ได้รับจึงมีจำกัด เมื่อเสพบุญกรรมหมดสิ้น ก็ต้องกลับมาเวียนว่ายต่อไป เปรียบได้ดั่งการยิงธนูขึ้นฟ้า พอแรงหนุนส่งหมด ลูกธนูก็ตกลงมา ฉันใดก็ฉันนั้น
     คำว่า  "บุญกุศล"  เป็นเพียงศัพท์ที่บัญญัติขึ้น เพื่อสร้างพื้นฐานในการทำความเข้าใจ ซึ่งที่จริงแล้ว "บุญกุศล"  เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้โดยอาศัยลายลักษณ์อักษร เพราะ  "บุญกุศล"  เป็นพฤติกรรมธรรมชาติ ที่แสดงออกจากธรรมญาณเดิมอันบริสุทธิ์ เป็นพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักธรรมของฟ้าเบื้องบน  "บุญกุศล"  จะได้มา เมื่อกระทำอย่างไม่เสแสร้ง กระทำโดยไม่คำนึงถึงผลบุญที่จะได้รับ เดินตามมัชฌิปฏิปทา (ทางสายกลาง)  อย่างสุขุมเยือกเย็น เช่นนี้จึงเป็น  "บุญกุศล"  แท้จริง
     ส่วนจิตใจที่คิดแต่จะรอรับผลบุญตอบแทน ล้วนเป็นจิตเพ้อฝันทั้งสิ้น เพราะจิตเพ้อฝันจึงทำให้โฉมเดิมแห่งธรรมที่บริสุทธิ์ไม่สามารถปรากฏ เพราะเวไนยมีทิฐิ จึงเกิดการแบ่งแยกระหว่าง อริยกับปุถุชน จึงมีคำว่า  "บุญกุศล"  เกิดขึ้นตามมา  เพราะฉะนั้น จิตใจที่ยึดติดในผลบุญจึงเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:31 โดย nakdham »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
7.  ขอกราบเรียนถามเกี่ยวกับสายทองในวิถีอนุตตรธรรม

พระพุทธจี้กง ตอบ   :
     ตั้งแต่โบราณกาลมา วิถีอนุตตรธรรมมีพงศาธรรม (เชื้อสายแห่งธรรม) ที่สืบต่อกันระหว่างบรรพจารย์สู่อีกบรรพจารย์อย่างไม่ขาดสาย ผู้มีธรรมย่อมเข้าถึง จิตใครว่างก็ได้รับไป  ผู้ได้รับหมายถึง  ผู้ที่ได้รับการเบิกจุดญาณทวารจากพระวิสุทธิอาจารย์ กำราบจิตที่ฟุ้งซ่านให้หมดสิ้นไป สำรวมปฏิบัติตามคุณธรรมแห่งธรรมญาณเดิมที่ฟ้าเบื้องบนประทานให้ สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติและประกาศสัจธรรมแทนฟ้าเบื้องบน หากเป็นเช่นนี้สายทองก้เชื่อมโยงกันได้  แต่ถ้าไม่ชำระกิเลสภายในให้บริสุทธิ์ กระทำโดยการเห็นแก่ตัว อย่างนี้แม้จะอยู่ร่วมกับพระวิสุทธิอาจารย์ สายทองก้เชื่อมโยงกันไม่ได้
     ธาตุทอง  เป็นสัญลักษณ์ของทิศตะวันตก เป็นโลหะธาตุชนิดเดียวที่มีสีขาวในบรรดาโลหะธาตุทั้ง 5  สีขาวบ่งบอกถึงความสะอาด และเป็นสัญ -
ลักษณ์ของความบริสุทธิ์  หมายถึงความกระจ่างแจ้งในสภาวะธรรมญาณเดิมที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง  หลังจากที่เราได้รับวิถีธรรมแล้ว ได้กระจ่างแจ้งในธรรมญาณแห่งตนแล้ว ลำดับต่อไปคือการเข้าถึงมวลเวไนย (ฉุดช่วยให้รับธรรม)  ตลอดจนการบรรลุถึงที่สุดของความดี นั่นก็คือ พุทธภูมิ
     วิธีการบำเพ็ญแบบรู้แจ้งโดยฉับพลัน สำคัญที่การบรรลุถึง  "สูญญภาวะ"  ซึ่งหาใช่พิธีการที่มีรูปลักษณ์ไม่ 

สูญญภาวะ คือ  มรรคาแห่งการหลุดพ้น
ส่วนรูปลักษณ์ทั้งปวง  คือ  เหตุปัจจัยแห่งเนื้อนาบุญ

     เมื่อเข้าใจในหลักธรรมนี้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องถามเกี่ยวกับสายทอง ขอเพียงระบบขั้นตอนการดำเนินงานธรรมไม่สับสนวุ่นวาย สายทองก็ยังเชื่อมต่อกัน  เหตุใดกฏพุทธระเบียบ  15  ข้อ จึงเป็นกฏพุทธระเบียบที่บัญญัติขึ้นเฉพาะกาล สิ่งเหล่านี้ควรนำไปพินิจพิจารณา  เพราะการพินิจพิจารณาเป็นการ  "สำนึดรู้"    "ผู้สำนึกรู้ คือ พุทธะ"    ผู้ไม่สำนึกรู้ คือ เวไนย  ความแตกต่างระหว่างพุทธะกับเวไนย ก็อยู่ที่สภาพจิตเท่านั้นเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:31 โดย nakdham »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
8  :  ผู้ตั้งปณิธานทานเจแล้วผิดต่อปณิธานไม่ทราบว่าเบื้องบนจะพิจารณาโทษอย่างไร ?.

พระพุทธจี้กง ตอบ  : 
     ฟ้าและดินคงไว้ซึ่งหลักสัจธรรม ตัดสินบาปบุญคุณโทษอย่างเที่ยงธรรม  เมื่อตั้งปณิธานทานเจ  แล้วผิดต่อปณิธาน นอกจากความดีความชอบต่าง ๆ ที่เคยสร้างมาเท่ากับสูญเปล่าแล้ว ยังเป็นการทำลายชื่อเสียงของอาณาจักรธรรมอีก  โทษที่ได้รับคือ  "ตกนรก"  อย่างไรก็ตาม จะมีพิจารณาโทษตามสถานหนักเบาและเหตุผล ที่ผิดปณิธาน


9   :  ผู้บำเพ็ญธรรมที่ไปกราบไหว้ตามวัดวาอารามต่าง ๆ หรือไหว้เจ้าที่เจ้าทาง มีความเกี่ยวพันกับวิถีอนุตตรธรรมอย่างไร ?.

พระพุทธจี้กง ตอบ  :
     การบำเพ็ญธรรมเป็นการบำเพ็ญจิต ปุถุชนที่ยังไม่กระจ่างแจ้งในหลักธรรมแท้  ย่อมหลงไปตามสถานการณ์แวดล้อม น่าเป็นห่วงยิ่งนัก  การบำเพ็ญธรรมเป็นการบำเพ็ญจิต หล่อเลี้ยงธรรมญาณ  กำจัดความฟุ้งซ่าน  ส่วนการกราบไหว้  เป็นการแสดงความเคารพและรำลึกคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ในการบำเพ็ญธรรมนั้น ศิษย์อนุตตรธรรมควรปฏิบัติตามพุทธระเบียบอย่างเคร่งครัด อย่าเหยียบเรือสองแคม หรือกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างงมงาย  เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญก็คือการบำเพ็ญ การกราบไหว้ก็คือการกราบไหว้  หากความศรัทธาในวิถีธรรมไม่เปลี่ยนแปลง การกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะความเคารพนับถือจะไม่ได้เชียวหรือ !           
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:34 โดย nakdham »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
10.  เกี่ยวกับการทดสอบด้านทรัพย์สินเงินทองจะอธิบายอย่างไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :
     การทดสอบด้านทรัพย์สินเงินทอง แบ่งออกเป็นการทดสอบครั้งใหญ่ และการทดสอบทั่วไป  เกี่ยวกับเงินทำบุญในการรับธรรมของเวไนยมีความซื่อตรงหรือไม่นั้นเป็นการทดสอบทั่วไป  ส่วนทรัพย์สินของอาณาจักรธรรมเป็นการทดสอบครั้งใหญ่   เมื่อธรรมกิจได้ขยายกว้างไป ทรัพย์สินของอาณาจักรธรรมก็มีมากขึ้น ผู้มีความโลภย่อมคิดอยากครอบครองจึงเกิดความแก่งแย่งอำนาจ และแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ฉะนั้น การช่วงชิงทรัพย์สินของอาณาจักรธรรม จึงจัดเป็นการทดสอบด้านทรัพย์สินครั้งใหญ่
 
               
11.  ศรัทธาแบบมิจฉาเป็นอย่างไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ  :   
     คำว่า  "มิจฉา"  เป็นคำตรงข้ามกับ  "สัมมา"  จิตศรัทธาทั้งมวลที่ไม่ได้บังเกิดจากจิตเดิมแท้อันเที่ยงตรง ล้วนเป็นจิตศรัทธาแบบมิจฉา  อาทิ จิต
ที่ฟุ้งซ่านก็ดี  ความคิดเพ้อฝันก็ดี  จิตที่อยากเห็นปาฏิหาริย์ก็ดี  และจิตใจที่ฝังลึกอยู่กับการหลุดพ้นจากการเกิดการตาย  เฉพาะตนก็ดี  ล้วนเป็นจิตศรัทธา
แบบมิจฉา ที่โฉมหน้าเดิมแท้ยังไม่ปรากฏทั้งนั้น


12. ศรัทธาแบบโง่เขลาเป็นอย่างไร ?

พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :
     ผู้  "โง่เขลา"  คือผู้ที่  "ไร้ปัญญา"  ซึ่งรู้แต่เพียงกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่คิดแสวงหาสัจธรรม และก้ไม่กระจ่างในหลักธรรม  หลับหูหลับตาคล้อยตามผู้อื่น  เป็นความเลื่อมใสที่จัดอยู่ในยานระดับต่ำ


13.  ศรัทธาแบบฉลาดแกมโกงเป็นอย่างไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :
     ผู้ฉลาดแกมโกง คือผู้ที่อาศัยกลอุบาย และ เล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ไม่แสดงออกซึ่งปัญญาเดิมอันประเสริฐ อาศัยเพียงความเฉลียวฉลาดเฉพาะตน สร้างบุญบังหน้ากระทำได้แม้กระทั่ง  "ยืมดอกไม้ของผู้อื่นมาบูชาพระ"  จึงทำให้ธรรมญาณเดิมแท้ไม่อาจปรากฏได้


14. ศรัทธาแบบเสแสร้งเป็นอย่างไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :
     คำว่า  "เสแสร้ง"  คิอ "การแกล้งทำ"  ความศรัทธาทั้ง 4 ระดับที่กล่าวมาข้างต้น  ล้วนเป็นพฤติกรรมที่สะท้อนจากจิตอันจอมปลอม ไม่ได้เกิดจากพุทธจิตจึงเป็นจิตที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งสิ้น  การเสแสร้ง คือ ความไม่จริงใจ เมื่อไม่ใช้จิตเดิมแท้แล้ว ก็ย่อมเป็นจิตผ่านการปรุงแต่ง เป็นจิตที่หวังจะอาศัยบารมีธรรมของสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาบังหน้า และเล่นละครเหมือนดั่งจริงเพื่อหลอกลวงผู้อื่น  เพราะฉะนั้น ความศรัทธาแบบเสแสร้ง จึงจัดเป็นความศรัทธาระดับต่ำที่สุดในมหาศรัทธาทั้ง 8


15. ศรัทธาแบบกระจ่างแจ้ง คืออะไร ?.

 พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :
     คำว่า  "กระจ่างแจ้ง" คือ การรู้แจ้งในหลักธรรม ไม่มีจิตใจที่เป็นมิจฉา  โง่เขลา  ฉลาดแกมโกง  และเสแสร้ง อย่างไรก็ตามแม้ความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้งจะยังไม่ลุจุดสูงสุดของความดี แต่อย่างน้อยก็เป็นไปตามหลักทำนองคลองธรรม มีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีหลักการที่ชัดแจ้ง รู้จักรักษาระเบียบวินัย อยู่ในหน้าที่ของตนไม่ออกนอกลู่นอกทาง ไม่ข่มเหงผู้อื่น มีมโนธรรมสำนึกและยึดมั่นตามหลักสัจธรรม เช่นนี้ เรียกว่า ความศรัทธาแบบกระจ่าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:39 โดย nakdham »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
16.  ศรัทธาแบบบรรลุถึงอะไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ :
     คำว่า  "บรรลุถึง"  หมายถึง การเข้าถึงหลักของความเป็นมนุษย์ และเป็นการเข้าถึงโดยอาศัยจิต  ความศรัทธาแบบกระจ่างที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นการกระจ่างแจ้งในธรรมญาณแห่งตน  ส่วนความศรัทธาแบบบรรลุถึงเป็นการปฏิบัติตน เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเป็นคนใหม่ ไม่ผิดต่อเพื่อนมนุษย์  ไม่ผิดต่อหน้าที่การงาน  ไม่ผิดต่อคุณธรรมของฟ้าดิน  และไม่ผิดต่อสรรพสิ่ง  มีเพียงจิตที่คิดจะช่วยผู้อื่น  เสียสละตนเองเพื่อมนุษยชาติ             
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:40 โดย nakdham »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
17.   มหาศรัทธา คืออะไร ?.

พระอาจารย์จี้กง ตอบ   :
     คำว่า  "มหา"  เป็นคำตรงข้ามกับคำว่า  "หีน"  (ฮีนะ)  ซึ่งเป็นความศรัทธาที่พัฒนาสูงขึ้นเหนือกว่าระดับความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้ง มีความกลมเกลียวกับบ้านใกล้เรือนเคียง  นอกนั้นยังมีความกลมเกลียวสมานฉันท์กับทุกชนชั้น 

        ดังที่กล่าวว่า  :   "กล่าววาจาออกไปทั่วอาณาจักรโดยไม่ก่อวจีกรรม ประพฤติปฏิบัติทั่วปฐพี  โดยไม่ถูกปรักปรำ ฟ้าดินและสรรพสิ่งยังสามารถสัมผัสในบารมีธรรม  เงยหน้าไม่อายฟ้า  ก้มหน้าไม่อายดิน"   เช่นนี้จึงเรียกว่า  "มหาศรัทธา"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:41 โดย nakdham »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
18.  สุดยอดแห่งความศรัทธา คืออะไร?.

พระอาจารย์จี้กง ตออบ  :
     คำว่า  "สุดยอด"  เป็นสภาวะที่สูงสุด ความศรัทธาระดับนี้ สามารถร่วมคุณธรรมกับฟ้าดิน  สามารถร่วมแสงสว่างกับตะวันเดือน สามารถร่วมเกณฑ์การผันแปรของฤดูกาลทั้ง 4  และยังสามารถร่วมความดี ร้ายกับเทพผี  นอกจากนี้แล้ว สุดยอดแห่งความศรัทธา ยังมีความกลมเกลียวสมานฉันท์ ในทุก ๆ เรื่องและดำรงอยู่เหนือกาลเวลาทั้งในอดีตและในปัจจุบัน  ดังเช่น คัมภีร์มหาบุรุษ ที่กล่าวว่า  "ให้สิ้นสุดที่คุณากร"  (บ่อเกิดแห่งความดี)  หากกระทำได้เช่นนี้ ก็จะบังเกิดรัศมีธรรมที่เปล่งประกายเจิดจ้า  ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า  "อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ"  อันเป็นพุทธปฏิปทาอันประเสริฐสุด  สุดยอดแห่งความศรัทธานี้ ยังมีส่วนร่วมในการอุ้มชูและพัฒนาสรรพสิ่งภายใต้ฟ้าดิน เป็นการพรั่งพรูออกมาซึ่งสัญชาตญาณเดิมของมนุษย์ ที่เรืองรองรุ่งโรจน์ที่สุด สัญชาตญาณเดิมนี้ ได้ผสมผสานกลมกลืนอยู่ในอากาศธาตุทั่วจักกรวาล  จึงกล่าวได้ว่า ผู้บรรลุสภาวะนี้ ภายในไร้ซึ่งอัตตาที่จะฉุดช่วย ภายนอกก็ไร้ซึ่งบุคคลที่ต้องฉุดช่วย พุทธอริยเจ้าเรียกสภาวะนี้ว่า  "สภาวะที่ฟ้าดิน และสรรพสิ่งได้สมานเป็นหนึ่งเดียว"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:51 โดย nakdham »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
19 .  ในอาณาจักรธรรม หากมีผู้ที่มีใจออกห่างจากวิถีธรรม แล้วยังยุยงให้ญาติธรรมแยกตัวจากอาณาจักรธรรม หรือหลอกล่อให้ญาติธรรมไปยังลัทธินอกรีตนอกทาง เช่นนี้เบื้องบนจะพิจารณาโทษอย่างไร ?.

พระพทธจี้กง ตอบ   :
     พยายามหาวิธีช่วยเหลือให้ถึงที่สุด ส่วนพวกที่ไม่สามารถช่วยเหลือ  "ก็จนปัญญา"  เขาเหล่านั้น จะต้องแบกรับผลกรรมด้วยตนเอง ในอนาคต  แม้แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่อาจช่วยได้  สำหรับผู้ที่ยุยงให้ญาติธรรมแยกตัวจากอาณาจักรธรรม หรือหลอกล่อให้ญาติธรรมเข้าสู่ลัทธินอกรีตนอกทางนั้น ผลกรรมที่จะได้รับนั้นไม่อาจประมาณได้  แม้นต้องตกลงสู่เดรัจฉานภูฒิ ในอนาคตก็ยากจะชดใช้ผลกรรมที่ก่อได้หมด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:44 โดย nakdham »