collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธระเบียบ 15 ข้อ  (อ่าน 12225 ครั้ง)

ออฟไลน์ CSC บริการมิตรธรรม

  • มิตรนักธรรม
พุทธระเบียบ 15 ข้อ
« เมื่อ: 8/09/2008, 23:34 »
พุทธระเบียบ 15 ข้อ


1.เคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์

  ศิษย์ทั้งหลาย ! เจ้าเคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่าเพียงแต่เคารพเทิดทูนเฉพาะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เจ้ามองเห็นเท่านั้น ยังต้องเคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในจิตใจของเจ้าทั้งหลายด้วย พวกเจ้าล้วนแล้วแต่พากันเคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในสถานธรรม แล้วพุทธจิตธรรมญาณในจิตใจของพวกเจ้านั้นเล่า พวกเจ้าเห็นความสำคัญและให้ความเคารพเทิดทูนอย่างแท้จริงหรือไม่ ?
  ในยามที่พวกเจ้าประสบกับเรื่องราวอันใด มักจะคิดเสมอว่าจะต้องไปถามสิ่งศักดสิทธิ์ แต่พวกเจ้าเคยคิดบ้างหรือไม่ว่าทำไมจึงไม่คิดถามตัวเอง ถามพระพุทธะที่อยู่ในธรรมญาณของเจ้า พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “คือใจคือพุทธะ ใจก็คือพุทธะ”
  พระพุทธรูปที่แท้จริงอยู่ไหนหรือ ? พระพุทธะนั้นแท้ที่จริงก็อยู่กลางใจของพวกเจ้าทั้งหลายนั่นเองขอเพียงแต่การกระทำของเจ้าที่ออกมาจากภายในไม่ห่างจากจิตเดิมแท้ ภายนอกไม่ขัดต่อพุทธจริยา ทุกสิ่งทุกอย่างสอดคล้องต่อสัจธรรมแห่งฟ้า ไม่ผิดต่อมโนธรรมสำนึก ถึงจะเรียกได้ว่า เคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่างแท้จริง ดังเช่นอริยะปราชญ์ เอี๋ยนหุย ท่านนั้นเมื่อพบเจอซึ่งความดีเพียงหนึ่ง ความดีนั้นก็จะตราตรึงอยู่ ในความทรงจำและรักษาปฏิบัติไปตลอด
  การตราตรึงอยู่ในความทรงจำและรักษาปฏิบัติตลอดไปนี่ก็คือการเคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธี์ เพราะเหตุใดท่านเอี๋ยนหุยจึงต้องประคองรักษาไว้ เพราะท่านรู้ว่าชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก สรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นอนิจจัง ท่านจึงต้องรักษาโอกาสไว้เพื่อไปบำเพ็ญความดี สะสมคุณธรรมบารมีและสร้างบุญสร้างกุศล ท่านนั้นมีความเฉลียวฉลาดและรู้ว่าคนเรานั้นยากที่จะมีอายุยืนถึงร้อยปี
  ฉะนั้น ท่านจึงมิได้บำเพ็ญแต่เพียงภายนอกหรือมองแต่สิ่งภายนอกเท่านั้นแต่ท่านได้เพ่งมองเข้าไปถึงธรรมญาณ และปฏิบัติบำเพ็ญพระพุทธะที่อยู่ภายในใจ ปรับปรุงแก้ไขอุปนิสัยและส่วนที่บกพร่อง
  ฉะนั้น ท่านจึงสามารถบำเพ็ญถึงขั้น “หมู่พาลโกรธ ไม่ทำผิดเป็นครั้งที่สอง” อายุเพียง ๓๒ ปีก็สามารถสำเร็จเป็นถึงอริยะปราชญ์ที่โดดเด่น ถ้าหากท่านไม่บำเพ็ญภายในและไม่เคารพเทิดทูนพระพุทธะแห่งตน ไหนเลยจะสำเร็จได้ดั่งนี้
  เช่นเดียวกับปราชญ์ เจิงจื่อ ท่านก็ได้บำเพ็ญเช่นกัน และท่านเคยกล่าวไว้ว่า
“ในวันหนึ่งข้าหมั่นสำรวจใจตนสามประการว่า
ปฏิบัติต่อผู้อื่นมีความซื่อสัตย์หรือไม่ ?
ต่อเพื่อนรักษาสัจจะหรือไม่ ?
สิ่งที่ได้รับจากการถ่ายทอดนำมาฝึกฝนทบทวนหรือไม่ ?”
  สิ่งเหล่านี้ท่านได้นำมาสำรวจตรวจตราตนเองอยู่ทุกวันว่าตนได้ปฏิบัติในสิ่งที่ได้รับมอบหมายจากผู้อื่นอย่างสุดความสามารถหรือไม่ ตนได้ปฏิบัติต่อเพื่อนอย่างจริงใจและเป็นมิตรหรือไม่ มีสัจจะแค่ไหนและสิ่งที่อาจารย์ได้อบรมสั่งสอน ตนได้ตั้งใจศึกษาอย่างจริงจัง ได้ฝึกฝนทบทวนหรือไม่
  จากการบำเพ็ญของนักปราชญ์ทั้งสองท่านนี้ถึงแม้ว่าจะมีทิศทางการบำเพ็ญต่างกัน คนหนึ่งนั้น บำเพ็ญภายใน ส่วนอีกคนบำเพ็ญภายนอก ก็เพียงแตกต่างกันแค่เล็กน้อย แต่ความสำเร็จในเวลาต่อมานั้น ย่อมจะมีสูงกว่าต่ำกว่าเป็นธรรมดา
  ถ้าหากพวกเจ้าบำเพ็ญภายใน โดยให้พุทธจิตธรรมชาติเป็นสำคัญ ผลสำเร็จย่อมสูง แต่ถ้าหาก พวกเจ้าบำเพ็ญภายนอก ให้ความสำคัญต่อรูปลักษณ์ภายนอก ผลสำเร็จของเจ้าก็ย่อมด้อยกว่าเป็นธรรมดาถึงแม้ว่าจะเป็นความต่างกันแค่เล็กน้อย แต่จงจำไว้ว่า ความแตกต่างอันเล็กน้อยนี้เป็นเสมือนว่า “ต้นต่างกันเพียงมิล ปลายห่างกันเป็นโยชน์”
  เจ้าทั้งหลายจงดูอย่างอริยะปราชญ์ เอี๋ยนหุยท่านนั้นเฝ้าแก้ไขอุปนิสัยข้อบกพร่องในทุกเช้าค่ำและหล่อเลี้ยงพุทธจิตธรรมญาณ เพิ่มพูนคุณธรรมภายในอีกทั้งรักษาโอกาสไปสร้างความดี บำเพ็ญธรรมด้วยความระมัดระวังรอบคอบอยู่ตลอดเวลา ประหนึ่งยืนอยู่บนปากเหว เดินอยู่บนพื้นน้ำแข็งอันเปราะบางกลัวว่าตนนั้นจะพลาดพลั้งทำผิดแม้เพียงนิด และย้อนมองส่องตนอยู่ทุกขณะ อาศัยความผิดชอบชั่วดีนั้นเป็นครู ฉะนั้นท่านจึงสามารถดำรงซีวิตอันแสนสั้นนี้สำเร็จเป็นยอดแห่งอริยะปราชญ์ที่สูงส่ง
  แต่ท่านปราชญ์ เจิงจื่อ ท่านก็บำเพ็ญใจเช่นกันแต่หนักอยู่ที่การบำเพ็ญภายนอก ต่อเรื่องราวและบุคคลซึ่งเป็นรูปเป็นลักษณ์ ฉะนั้น ผลสำเร็จของท่านจึงอยู่ในระดับที่ต่างกัน ซึ่งต่างกันด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย
  ศิษย์ทั้งหลาย ! พวกเจ้าจะต้องถนอมรักษาโอกาสในยุคสามปลายกัปนี้ให้ดี จงเคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในตัวของเจ้า “ทุกโมงยามรักษามันในท่ามกลาง” นั่นก็คือการดำเนินอยู่บนทางสายกลางในทุกขณะ และยังต้องจริงจังในการบำเพ็ญตามสัจธรรมจริง “สิ่งที่ถูกตามหลักธรรมจงก้าวไป สิ่งที่ขัดต่อหลักธรรมจงถอยห่าง”
  ครั้นเมื่อยามที่เจ้าเคารพเทิดทูนพระพุทธะภายในจนถึงที่สุดแล้ว และเป็นเวลาที่ใจของเจ้านั้นเปี่ยมไปด้วยความนอบน้อม ลืมซึ่งอัตตาตัวตน ภายในจิตใจของเจ้ามีเพียงธรรม ไร้ซึ่งการยึดติดปรุงแต่งยามนี้เจ้านั้นได้เข้าถึงสภาวะแห่งการ “ไร้อัตตา ไร้ซึ่งผิดและถูก” และในสภาวะแห่งใจบริสุทธิ์หมดซึ่งตัณหา เป็นภราดรภาพไร้ซึ่งอัตตาเป็นหนึ่งเดียวกับฟ้า นั่นก็คือการที่พระพุทธรูปของศิษย์ทั้งหลายได้ปรากฏองค์แล้ว เช่นนี้ถึงจะเรียกได้ว่า เคารพเทิดทูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง

--------------------------------------------------------------------------------

2.ปฏิบัติตามอาวุโส นำพาอนุชนรุ่นหลัง

  อะไรคือการปฏิบัติตามอาวุโส (เฉียนเสียน) อะไรคือการนำพาอนุชนรุ่นหลัง (โฮ่วเสวีย) ? คำว่า “เฉียน” หมายถึง ก่อน คำว่า “โฮ่ว” หมายถึง หลัง
  แล้วบุคคลเซ่นใดจึงมีคุณสมบัติที่จะเรียกได้ว่าเป็น อาวุโส (เฉียนเสียน) และบุคคลเช่นใดจึงจะเป็นอนุชนรุ่นหลัง (โฮ่วเสวีย) ที่แท้จริง
  ศิษย์รักเอ๋ย ! พวกเจ้าต่างก็บอกว่าคนที่แสวงธรรมก่อนคือ เฉียนเสียน คนที่รับโองการก่อนคือ เฉียนเสียน และผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้แนะนำ ผู้รับรอง อาจารย์ชี้แนะทั้งหลายคือ เฉียนเสียน ใช่หรือไม่ พวกเจ้ารู้แต่เพียงว่า เฉียนเสียน ที่อยู่ในอาณาจักรธรรม ซี่งกำหนดจากรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นเฉียนเสียนใช่หรือไม่
  พวกเจ้ารู้หรือไม่ว่าผู้ที่มีคุณธรรมเพียงพอ ผู้ที่มีปัญญาสูงส่ง มีคำพูดและการกระทำอันเป็นที่สรรเสริญของปวงชน และมีความประพฤติที่เป็นแบบอย่างแก่เหล่าชน จึงจะเพียงพอต่อการเป็น ผู้นำ และมีคุณสมบัติที่จะเป็น เฉียนเสียน ให้ผู้คนเคารพนับถือได้
  แต่ถ้าหากเจ้าไม่มีคุณธรรมและไม่มีสติปัญญาเพียงพอ เจ้าก็เป็นเพียงคนตาบอดจูงคนสู่ทางมืด ต่างพากันไปสู่หนทางอันตราย อย่างนี้แล้วจะนำพาเวไนย์ทั้งหลายกลับคืนสู่เบื้องบนได้อย่างไร ถ้าหาก เจ้าไม่สามารถนำพาเวไนย์กลับคืนสู่เบื้องบน ไหนเลยจะมีคุณสมบัติเป็น เฉียนเสียน เล่า !
  เช่นเดียวกัน ใครคือ โฮ่วเสวีย ที่แท้จริง ศิษย์ทั้งหลาย ! กาลเวลาฟ้าได้มาถึงปลายกัปแล้ว ถ้าหากพวกเจ้ายังไม่สามารถขจัดซึ่งการยึดติดรูปลักษณ์ภายนอกทั้งหลาย และยังไม่หวนคืนสู่จิตเดิมแท้ แต่ยังคงยึดมั่นถือมั่นในตำแหน่งชื่อเสียงอันเปล่าประโยชน์เช่นนี้แล้วพวกเจ้าจะพบหนทางแห่งการหลุดพ้น รู้จักโฉมหน้าของตัวตนที่แท้จริงแห่งองค์ธรรมมารดาได้อย่างไรเล่า
  ศิษย์เอ๋ย ! จงรู้ว่าผู้ที่ยังอยู่ในการศึกษาธรรมบำเพ็ญธรรม ปฏิบัติธรรม ซึ่งยังไม่ได้หลุดพ้นจาก วัฏจักรแห่งการเวียนว่าย รอดพ้นจากการเกิดตายล้วนได้ชื่อว่า โฮ่วเสวีย ทั้งสิ้น ทั้งหมดล้วนแล้วเป็น เวไนย์ที่ยังรอการชี้แนะให้รู้ตื่นจากสัจธรรมแห่งพระพุทธะพระโพธิสัตว์ทั้งนั้น ศิษย์ทั้งหลาย ! ไหนพวกเจ้าบอกอาจารย์ซิว่าใครคือ เฉียนเสียน ของพวกเจ้า และใครเล่าที่ไม่ใช่ โฮ่วเสวีย
  ฉะนั้น การปฏิบัติตามอาวุโสนำพาอนุชนรุ่นหลังแท้จริงแล้วก็คือการเจริญรอยตามปฏิปทาของปราชญ์อริยะเมธี เคารพนบนอบต่อผู้มีคุณธรรมและดำเนินปฏิบัติตามแบบอย่าง อีกทั้งยังจะต้องมีใจที่อ่อนน้อมช่วยเหลือเหล่าเวไนย์ ให้ผู้ที่มีบุญสัมพันธ์ร่วมกับเราได้รับการฉุดช่วย นำพาเขาเหล่านั้นให้พ้นจากปุถุซนขึ้นสู่ความเป็นอริยะ หลุดพ้นจากการเวียนว่าย ถึงแม้ว่าคนคนนั้นจะเป็นผู้ที่แสวงธรรมก่อน รับโองการก่อน หรือเป็นผู้อาวุโสที่มีคุณสมบัติมากกว่า
  เจ้าจงเข้าใจในสัจธรรมที่ว่า “สดับธรรมมีก่อนหลัง บุญสัมพันธ์มีช้าเร็ว” และจงบำเพ็ญธรรมด้วยใจจริงเคารพทุกๆ คน ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเหตุใดเจ้าจึงไม่ให้ความเคารพนับถือผู้อื่นและไม่ปฏิบัติตาม ผู้ที่แสวงธรรมทีหลังเขาเหล่านั้นต้องการความช่วยเหลือและนำพาจากพวกเจ้า หากเจ้ายังมีจิตเมตตาเจริญรอยตามปฏิปทาของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วไหนเลยเจ้าจะปฏิเสธในการช่วยเหลือนำพาและส่งเสริมพวกเขาเหล่านั้นเล่า
  ฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของการปฏิบัติตามอาวุโสนำพาอนุชนรุ่นหลังก็คือ การที่พวกเจ้าได้ศึกษาเรียนรู้และฝึกฝนการปล่อยวางซึ่งความยึดมั่นถือมั่นแห่งตน เคารพนบนอบต่ออาวุโสนำพารุ่นหลัง อีกทั้งมีจิตเมตตาต่อทุกคนที่มีบุญสัมพันธ์ร่วมกัน

--------------------------------------------------------------------------------

3.สำรวมเที่ยงตรง (จายจวงจงเจิ้ง)

  อะไรคือ “สำรวมเที่ยงตรง”การมาพุทธสถานแต่งกายสุภาพ จัดแต่งทรงผมเรียบร้อย กริยาท่าทางสงบเสงี่ยม อย่างนี้เรียกว่า สำรวมเที่ยงตรง แล้วหรือ
  ถ้าหากว่าใจของพวกเจ้านั้นยังไม่ใสสะอาดพอ แต่กลับมีจิตใจที่เต็มไปด้วยตัณหาความอยากได้ เช่นดวงตาชอบมองแต่สิ่งที่สวยงาม จมูกชอบดมแต่กลิ่นที่หอมหวล ปากชอบลิ้มรสอาหารอันเลอเลิศ หูชอบฟังแต่เสียงที่ไพเราะ กายชอบอยู่ในที่ที่สบาย ชอบสวมเสื้อผ้าประดับเครื่องแต่งกายที่หรูหรา ความคิดฟุ้งซ่านเพ้อฝัน ถ้าหากเป็นเช่นนี้ยังไม่นับว่าเป็นการสำรวมเที่ยงตรง
  ฉะนั้น การบำเพ็ญภายนอกเพียงอย่างเดียวไม่บำเพ็ญคุณธรรมภายใน ปล่อยให้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เต็มไปด้วยอาสวะ ถึงแม้ว่าภายนอกจะแต่งกายดูสะอาดเรียบร้อยและสงางามเพียงใด ก็ยังไม่นับว่าเป็นการสำรวมเที่ยงตรงได้
  เพราะฉะนั้น การสำรวมเที่ยงตรง ไม่เพียงแต่จัดแต่งทรงผมเรียบร้อย แต่งกายเหมาะสม กริยา ภายนอกสำรวมเท่านั้น แต่ต้องมีการสำรวมจิตใจและสำรวมซึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือพูดได้อีกอย่างว่า เจ้าสามารถควบคุมจิตใจไม่ให้บังเกิดความคิดที่ฟุ้งซ่าน ต้องมีจิตใจอันหนักแน่น ถึงจะเป็นการสำรวมเที่ยงตรง ที่แท้จริง
  ศิษย์ทั้งหลาย ! แล้วพวกเจ้าจะมีความสำรวมเที่ยงตรงได้อย่างไร ? ก่อนอื่นควรเที่ยงตรงที่ตนก่อนแล้วจึงทำให้ผู้อื่นเที่ยงตรงใช่หรือไม่ คิดที่จะทำตนให้เป็นคนเที่ยงตรง ควรฟื้นฟูความสว่างของจิตเดิมแท้เสียก่อน จึงจะสามารถแปรเปลี่ยนและส่งผลต่อคนรอบข้างให้คล้อยตามได้ ใช่หรือไม่ และในยามที่แสงสว่างของจิตเดิมแท้ได้ถูกฟื้นฟูให้ปรากฏออกมาแล้วเจ้ายังคงต้องรักษาซึ่งกิริยา มีวาจาอันถูกต้องเที่ยงธรรม มีจรรยามารยาท ถ้าหากเจ้าทำได้เช่นนี้จึงจะสามารถนำพาญาติธรรม ใช้กิริยาอันสำรวมเที่ยงตรงและมารยาทที่ดีงามมานำพาผู้อื่นได้
  ในกาลสามยุคสุดท้ายนี้ พวกเจ้าควรรู้ว่าเพียงแค่พูดธรรมะอย่างเดียวนั้นใช้ไม่ได้แล้ว เดิมทีธรรมะนั้นก็มิได้อาศัยการพูดการบรรยาย แต่อยู่ที่การปฏิบัติแล้วจะปฏิบัติอย่างไร นั่นก็คือใช้จิตเดิมแท้อันใสสว่างแสดงออกซึ่งกิริยาอันสำรวมเที่ยงตรง ให้วาจาและการกระทำนั้นถูกต้องต่อจริยธรรม จิตใจสะอาดใสไร้มลทิน ความคิดไม่ผิด ไปในทางมิจฉา อีกทั้งอารมณ์ ๗ ฉันทา ๖ ก็มิได้ทำให้หวั่นไหวอีกต่อไป เช่นนี้ถึงจะเรียกได้ว่า สำรวมเที่ยงตรง ที่แท้จริง ฉันทา ๖ - รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์
อารมณ์ ๗ - ยินดี โทสะ เศร้าโศก ร่าเริง รัก เกลียด ราคะ

--------------------------------------------------------------------------------

4.ปฏิบัติตามกฏ รักษาธรรมวินัย (สวินกุยเต้าจวี่)

  จะปฏิบัติตามอย่างไร รักษาธรรมวินัยแบบไหน ? ปฏิบัติตามกฏ ก็คือการปฏิบัติและดำเนินตามพุทธระเบียบ รักษาธรรมวินัย ก็คือการที่ทุกคนยึดแบบแผนในการปฏิบัติและสามารถดำรงอยู่บนหน้าที่ของตนแล้วดำเนินไปได้อย่างมั่นคง อย่างนี้จึงจะเรียกได้ว่าปฏิบัติตามกฎรักษาธรรมวินัย
  เพราะเหตุใดจึงต้องกำหนดพุทธระเบียบขึ้นเพราะวันนี้พวกเจ้าต่างได้รับธรรมะกันแล้ว หลังจากนี้พวกเจ้าจะทำอย่างไรต่อไป ใช่หรือไม่ว่าจะต่องทำในเรื่องของการสำเร็จเป็นเทพ เป็นอริยะ เป็นพระพุทธะ หากพวกเจ้าปฏิบัติตามกฎรักษาธรรมวินัยก็สามารถที่จะสำเร็จเป็นเทพ เป็นอริยะ เป็นพุทธะได้ แต่ในเมื่อชีวิตประจำวันของเจ้ามิได้ดำรงอยู่บนหน้าที่ของตนอย่างนี้แล้วเจ้าจะสามารถสำเร็จเป็นเทพ เป็นอริยะ เป็นพุทธะได้อย่างไร
  เพราะฉะนั้นทุกคนควรที่จะรู้ว่าการดำรงตนอยู่บนหน้าที่ ก็คือพื้นฐานของการปฏิบัติตามกฎรักษาธรรมวินัย พุทธระเบียบได้กำหนดไว้เป็นอย่างดี แต่พวกเจ้ากลับไม่ปฏิบัติตาม ศิษย์ทั้งหลาย ! ถ้าเป็นเช่นนั้นจะสามารถสำเร็จเป็นเทพ เป็นอริยะ เป็นพุทธะได้หรือ !
  ในพุทธสถาน อาจารย์ชี้แนะเปรียบเสมือนกับพ่อแม่อีกท่านหนึ่ง ซึ่งได้วางกฎระเบียบให้เจ้าปฏิบัติในกิจวัตรประจำวัน แต่พวกเจ้ากลับไม่ฟัง ฟังแต่เพียงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มาให้โอวาทเป็นครั้งคราวเท่านั้น อย่างเช่น ข้อระวังมิให้ส่งเสียงดัง เขียนติดอยู่บนฝาผนัง อาจารย์ชี้แนะเป็นผู้กำหนดไว้ พิธีกรได้ประกาศให้เรารับรู้ แต่ทุกคนกลับทำเมินเฉย พูดจาส่งเสียงดังอย่างนี้เรียกว่า ปฏิบัติตามกฎรักษาธรรมวินัยได้หรือไม่ เช่นนี้แล้วพวกเจ้าไม่ใช่เป็นผู้ที่ยึดติดในรูปลักษณ์แล้วยังเกิดจิตใจแบ่งแยกหรอกหรือ
  ฉะนั้นไม่ว่าอาจารย์ชี้แนะจะกำหนดกฎระเบียบอย่างไร ขอเพียงเป็นสิ่งที่ถูกทำนองคลองธรรม พวกเจ้าทุกคนก็ควรที่จะปฏิบัติตาม ถึงจะเรียกโด้ว่าปฏิบัติตามกฏรักษาธรรมวินัย
  การปฏิบัติตามกฎรักษาธรรมวินัย มิใช่แค่เพียงการรักษาพุทธระเบียบภายนอกเท่านั้น พวกเจ้ายังจะต้องถามตัวเองเสมอว่า ตนนั้นได้ปฏิบัติตามพุทธระเบียบของพุทธสถานในจิตใจของเจ้าแล้วหรือยังแล้วอะไรคือพุทธระเบียบของพุทธสถานในจิตใจเล่า ? นั่นก็คือ จิตเดิมของมนุษย์นั้นเป็นกุศล ซึ่งคนทุกคนต่างก็มีมโนธรรมสำนึกอยู่ในตน พวกเจ้าควรถามตัวเจ้าเองว่าได้ปฏิบัติตนปฏิบัติหน้าที่ตรงตามมโนธรรมสำนึกหรือไม่ ได้ปฏิบัติตามมโนธรรมแห่งพุทธระเบียบในจิตใจของตนหรือไม่ ต่อผู้อี่นมีความจริงใจหรือไม่ และมีความเมตตาเพียงพอแล้วหรือยัง
  ฉะนั้นมโนธรรมสำนึกในจิตใจของเจ้าก็คีอพุทธระเบียบ ใช่ว่าการบำเพ็ญธรรมจะมองเพียงแค่รูปลักษณ์ภายนอก แต่ต้องมองให้ถึงภายใน พุทธระเบียบภายนอกก็ต้องปฏิบัติตาม แต่พุทธระเบียบภายในจิตโจก็จะต้องให้ความสำคัญเช่นกัน ต้องหมั่นเช็ดถูพุทธประทีปในจิตใจ อย่าให้ตนนั้นผิดต่อมโนธรรมสำนึกแห่งตน เช่นนี้ถึงจะเรียกได้ว่า ปฏิบัติตามกฎรักษาธรรมวินัย อย่างแท้จริง

--------------------------------------------------------------------------------

5.แบกรับหน้าที่ (เจ๋อเยิ่นฟู่ฉี่)

   อะไรคือ หน้าที่ ? หน้าที่ ก็คือการที่เจ้าได้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสุดความสามารถ ศิษย์ทั้งหลาย ! ไหนบอกอาจารย์ซิว่าพุทธบุตรควรจะมีหน้าที่อะไร ภารกิจอย่างไร ?
  ใช่หรือไม่ว่ามีหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันรับผิดชอบในโลกนี้ ซึ่งเป็นภารกิจที่จะต้องทำ นั่นก็คือภารกิจแห่งฟ้าในการปรกโปรดพุทธบุตรทั้งชายหญิงจนหมดสิ้น ให้พุทธบุตรเหล่านั้นได้กลับคืนสู่ถิ่นเดิมแดนอนุตตรภูมิ
  อันว่า หน้าที่ นั้นหมายถึง การช่วยกันจรรโลง จิตใจของมนุษย์ให้เป็นเอกภาพ ให้คนทุกคนมีจิตโจ อันงดงาม ครอบครัวเป็นสุขสมานฉันท์ สังคมมีแต่ ความสามัคคี
  ศิษย์เอ๋ย ! พวกเจ้าบอกหน่อยได้ไหมว่าภารกิจ อันนี้สำคัญหรือไม่ มีความสูงส่งหรือไม่ ? หากพวก เจ้าทุกคนพยายามทุ่มเทจนสุดความสามารถ เป็นตัวแทนฟ้าประกาศแพร่ธรรม ดำเนินรอยตามอริยะ กระทำตนเป็นแบบอย่างแล้วจึงไปโปรดผู้อื่นให้ความ ล้ำค่าของธรรมที่อยู่ในตนปรากฎออกมา แนะนำสัจธรรมนี้มาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ให้เราไม่ ผิดต่อมโนธรรมสำนึกแห่งตน ยืนหยัดอย่าปงภาคภูมิ ให้ครอบครัวของเจ้ามีความชื่นชมยินดี และจงมีจิตรำลึกคุณ ให้สังคมมีแต่ความสงบร่มเย็นสมานฉันท์ ให้มวลชนอยู่อย่างมีความสุขความยินดี และให้เหล่า พุทธบุตรทั้งหลายกลับคืนสู่ภูมิเดิม เช่นนี้ถึงจะเรียกได้ว่า แบกรับหน้าที่อย่างแท้จริง
  ท่ามกลางสถานการณ์ที่คับขันในยุคปลายกัปนี้ พวกเจ้าจงจดจำให้มั่นว่า จะต้องประคองรักษาใจ ของตนนั้นให้ดี และประพฤติตนอยู่ในธรรม ระวังสิ่งที่ไม่ดีกล้ำกรายเข้ามาสู่ตน จงอย่าได้มีความนอบน้อมเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานธรรม แต่เมื่อถึงบ้านกลับ ปล่อยปละละเลยขาดความสำรวมระวัง เช่นนี้แล้ว เจ้าก็ไม่อาจที่จะนำธรรมะที่แท้จริงให้ปรากฏออกมาได้ นั่นก็คือไม่ได้ แบกรับหน้าที่ ที่มีต่อธรรมอย่างจริงจัง นั่นเอง


--------------------------------------------------------------------------------

6.เห็นงานธรรมสำคัญกว่างานทางโลก (จ้งเซิ่งชิงฝาน)  

  การทำงานนั้นไม่ว่าจะเป็น งานของพุทธะอริยะ หรืองานใดๆ ก็ ตาม หากทำแล้วสามารถให้ความ สำคัญแก่คนหมู่มากหรือถือเวไนย์เป็นหลัก อย่างนี้เรียกว่าเห็นงานธรรมสำคัญกว่า และหนทางกลับกันหาก พวกเจ้าทำงานเอาแต่ความสำคัญของตนเองฝ่ายเดียว อย่างนี้ก็จะเรียกว่าเห็นงานทางโลกสำคัญกว่า
  ฉะนั้นไม่ว่าเรื่องใดที่ทำแล้ว ยังประโยชน์เพื่อเวไนย์เป็นหลัก ล้วนแล้วแต่เป็นงานทางธรรมทั้งนั้น การถือเรื่องนี้เป็นหลักนั้นก็หมายถึงการให้ความสำคัญต่อพุทธะอริยเจ้า เรียกได้ว่า เห็นงานธรรมสำคัญกว่างานทางโลก
  ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เห็นงานธรรมสำคัญกว่างานทางโลกอย่างแท้จริงนั้น เขาไม่มัวใส่ใจแต่ผลประโยชน์ตน หรือคิดเล็กคิดน้อยห่วงว่าจะมีใครให้ความเคารพ หรือให้การอุปถัมภ์ตนหรือไม่ แต่เขาเหล่านั้นมีจิตใจ ที่จะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น กระทำเรื่องราวใดก็จะคิดถึงคนหมู่มากเป็นสำคัญ บุคคลเช่นนี้จึงจะเรียก ได้ว่าเป็นผู้ที่ เห็นงานธรรมสำคัญกว่างานทางโลก แล้วอะไรคือ งานธรรม และเรื่องอันใดที่เป็น ประโยชน์ต่อเวไนย์เล่า ?
  ศิษย์ทั้งหลาย ! เห็นพวกเจ้าบอกหน่อยซิว่าทั่ว ทั้งสากลโลกนี้ นอกจากสัจธรรมอันเที่ยงแท้และจิต ญาณเดิมที่เป็นจริงแล้ว ยังมีสิ่งใดอีกเล่าที่จะดำรง อยู่ได้โดยไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น การที่พวกเจ้า ต่างฉุดช่วยเวไนย์ให้พวกเขาเหล่านั้นได้หลุดพ้นคืนสู่ สภาวะเดิมอันเป็นอิสระไร้พันธนาการ อยู่เหนือภาวะ กฎเกณฑ์ คืนสู่ความเป็นอริยะ อย่างนี้ถึงจะเรียก ได้ว่า เห็นงานธรรมสำคัญกว่างานทางโลก อย่างแท้จริง
  ศิษย์เอ๋ย ! หากพวกเจ้าสามารถบำเพ็ญตนไป จนถึงขั้นบรรลุธรรม อีกทั้งสามารถขจัดจิตแห่งปุถุชน แสดงออกซึ่งจิตดีงามแห่งฟ้า อย่างนี้ถึงจะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า เห็นงานธรรมสำคัญกว่างานทางโลก
  ฉะนั้น หากเจ้ายังไม่ขจัดซึ่งจิตปุถุชน จิตยังแปรปรวน ญาณเดิมยังหม่นหมอง มากด้วยอวิชชา อย่างนี้แล้วจะเรียกว่าเห็นงานธรรมสำคัญกว่างานทางโลกได้อย่างไร
  ศิษย์ทั้งหลาย ! ปัญหาต่างๆ เหล่านี้พวกเจ้า ควรคิดทบทวนดูให้ดี เพราะการบำเพ็ญธรรมปฏิบัติ ธรรมนั้นมีเพียงจุดมุ่งหมายเดียวเท่านั้นคือ การปล่อยวางซึ่งความยึดมั่นถือมั่นแห่งตนเพื่อฟื้นฟูใจฟ้าอัน บริสุทธิ์ และในระหว่างที่พวกเจ้ากำลังบำเพ็ญธรรม ปฏิบัติงานธรรม ทุ่มเทให้กับงานธรรมจนสุดกำลังความสามารถนั้น หากว่าเจ้าไม่มีความศรัทธาจริงใจ อันแน่วแน่ รังแต่จะกล่าวโทษฟ้าโทษคนกระทำ สิ่งใดก็หาได้อาศัยพุทธจิตญาณเดิมแสดงออกมาไม่ อย่างนี้แล้วจะเรียกว่าเห็นงานธรรมสำคัญกว่างานทางโลกได้อย่างไร ?

--------------------------------------------------------------------------------

7. อ่อนน้อมถ่อมตนมีอัธยาศัยไมตรี (เชียนกงเหออ่าย)
  การแสดงความอ่อนน้อมถ่อม ตนมีอัธยาศัยไมตรีนั้นไม่เพียงเฉพาะ ต่ออาจารย์ชี้แนะ นักธรรมอาวุโสหรือ นักบรรยายเท่านั้น แต่เจ้าจะต้องมี ความอ่อนน้อมถ่อมตน มีอัธยาศัย ไมตรีต่อทุกคน โดยเฉพาะผู้บำเพ็ญ ธรรมลองไตร่ตรองให้ดีว่าควรมีความ อ่อนน้อมถ่อมตัวมีอัธยาศัยไมตรีต่อ คนทุกคน ใช่หรือไม่ ?
  ผู้ที่ได้ศึกษาคัมภีร์อี้จิงก็ย่อมจะรู้ดีว่าใน ๖๔ ขีด นั้นมีอยู่ ๖๓ ขีดที่มีทั้งดีและร้ายคู่กัน มีเพียงขีดเดียว เท่านั้นเรียกว่า “เซียน” (อ่อนน้อม) เป็นขีดบ่งบอกถึงการถ่อมตน มีเพียงแต่ดีไม่มีร้าย มีเพียงโชคไม่มีภัย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด ในคัมภีร์อี้จิงมีบอกไว้ว่า “อ่อนน้อมจะราบรื่น กัลยาณชนพึงปฏิบัติให้ได้มาซึ่ง ความสำเร็จ ”
  นั่นหมายถึงการกระทำเรื่องราวใดๆ ก็่ ตามให้ดำรงไว้ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตัวมีอัธยาศัย ไมตรี เรื่องราวเหล่านั้นก็จะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
  ฉะนั้น การแสดงออกซึ่งความอ่อนน้อมถ่อมตน มีอัธยาศัยไมตรีนั้นจะต่อสู้มาจากการบำเพ็ญภายใน จิตใจ มิใช่ทำอย่างเสแสร้งและมีเพียงกัลยาณชน เท่านั้นที่สามารถดำรงความอ่อนน้อมถ่อมตัวมีอัธยาศัย ไมตรีได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย โดยไร้ซึ่งความ เย่อหยิ่งทะนงตนในคัมภีรอี้จิงยังมีบอกอีกว่า “มนุษย์ รังเกียจความเย่อหยิ่ง ปรารถนาความอ่อนโยน” นั่นก็คือมนุษย์ทุกคนไม่ชอบผู้ที่เย่อหยิงแข็งกระด้าง แต่กลับนิยมชมชอบผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
  ดังนั้น ผู้ที่รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน เขาจึงสามารถ ที่จะแสดงออกถึงความสูงส่งของคุณธรรมและแสง สว่างของจิตญาณ ดูเหมือนเขานั้นเป็นคนที่ต่ำต้อย แท้จริงแล้วกลับแฝงไว้ด้วยคุณธรรมภายในอันสูงส่ง เกินกว่าจะวาดวัดได้ และคนเช่นนี้ถึงจะเรียกได้ว่า เป็นกัลยาณชนผู้มีธรรม เพราะเหตุใดเขาจึงสามารถ แสดงออกซึ่งจริยวัตรอันงดงามได้เช่นนี้ ก็เพราะเขา นั้นได้ละวางซึ่งอัตตาตัวตนและให้ความเคารพต่อ เวไนย์ทั้งหลาย นั่นเอง
  ฉะนั้น อ่อนน้อมถ่อมตัวมีอัธยาศัยไมตรี ก็คือ การที่พุทธจิตธรรมญาณได้ปรากฎออกมา นั่นหมาย ความว่าในยามที่เจ้ามีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไร้ซึ่งการแบ่งเขาแบ่งเรา ไร้ซึ่งมิจฉาความคิด ให้ตัวตน ที่แท้จริงแสดงออกมา นั่นก็คือการปรากฏของพุทธ จิตธรรมญาณ นั่นเอง
  ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนมีอัธยา ศํยไมตรีย่อมสามารถสำเร็จธรรมได้ ในทางกลับกัน ผู้ที่เย่อหยิงทะนงตน ดูแคลนผู้อื่น ก็ยากที่จะสำเร็จธรรม เพราะในขณะที่เขาเย่อหยิ่งทะนงตนนั้น เขามิได้ละทิ้งซึ่งอัตตาตัวตน แต่กลับยึดมั่นถือมั่นไว้ ฉะนั้น บัวอาสน์เก้าชั้นก็ย่อมเป็นของผู้ที่มีความอ่อน น้อมถ่อมตนมีอัธยาศัยไมตรีแน่นอน
  ศิษย์เอ๋ย ! เจ้าหวังที่จะสำเร็จเป็นพุทธะเป็น อริยะ แล้วใยจึงไม่คิดที่จะอ่อนน้อมถ่อมตนมีอัธยาศัยไมตรี เล่า !

ออฟไลน์ CSC บริการมิตรธรรม

  • มิตรนักธรรม
Re: พุทธระเบียบ 15 ข้อ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 8/09/2008, 23:35 »
8.ไม่ละทิ้งพระธรรมโอวาท (อู้ชี่เซิ่งซวิ่น)
  พระธรรมโอวาท ก็คือธรรม โอวาทที่เหล่าอริยะเจ้าได้ให้ไว้ หรือ เรียกได้ว่าเป็นหนังสือบันทึกหลักสัจ ธรรมแห่งพุทธะอริยะ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเป็นคำพูดของอริยะและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ได้กล่าวไว้แล้ว ท่านเหล่านั้นได้กล่าวอะไรไว้บ้าง ?
  หมื่นพันวาจาล้วนคือสัจธรรมที่ได้กล่าวถึงแล้ว เวไนย์ควรจะบำเพ็ญอย่างไรจึงจะได้กลับคืนสู่เบื้องบน คำพูดต่างๆ เหล่านี้ ล้วนคือการนำพาให้เวไนย์ละจากมิจฉาคืนสู่ความถูก ต้อง จากความลุ่มหลงให้กลายเป็นรู้ตื่น เพราะเหล่า อริยะเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายล้วนเป็นผู้ที่สำเร็จ ธรรมแล้ว ด้วยเหตุนี้ คำพูดของท่านเหล่านั้นจึงเปรียบ ประดุจตัวแทนแห่งธรรม เป็นตัวแทนแห่งสัจจะความ จริง
  ฉะนั้น ทุกๆ ถ้อยคำในพระธรรมโอวาทล้วนกลั่น ออกมาจากจิตญาณเดิมแท้ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้นและ สอดคล้องตามเหตุปัจจัยของเวไนยสัตว์ เพราะวจนะ เหล่านั้นล้วนเป็นสัจวาจาที่พรั่งพรูออกมาจากพุทธจิต ธรรมญาณ เป็นแสงสว่างนำทางอันแท้จริง และเป็น ธรรมนาวาที่จะนำพาเวไนย์กลับคืนสู่เบื้องบน
  อันว่า ไม่ละทิ้ง ก็คือ การไม่ทิ้ง ไม่ดูแคลนหรือ ไม่ละเลยที่จะปฏิบัติตาม เพราะเหตุว่าพระธรรม โอวาทหรือพระสูตรล้วนเป็นวจนะแห่งความเมตตาที่ กลั่นจากใจของด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นย่อมมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คอยคุ้มครองอยู่ หากเจ้านำพาพระธรรมโอวาทพก ติดตัวไป ขอเพียงเจ้านั้นมีใจอันเทียงตรงและศรัทธา ย่อมได้รับการปกปักษ์รักษาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้ง ยังปัองกันอันตรายมิให้กล้ำกราย ด้วยเหตุนี้ จะ ละทิ้งไม่เห็นความสำคัญได้อย่างไร ในเมื่อพระธรรม โอวาทเป็นดังเข็มทิศที่จะชี้นำไปสู่หนทางแห่งอริยะ
  ศิษย์เอ๋ย หากเจ้าไม่ปฏิบัติตามแล้วจะบำเพ็ญไปสู่ ความสำเร็จได้อย่างไร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ล้วนเมตตาห่วงใย พวกเจ้าในเรื่องเกิดตายอันเป็นเรื่องใหญ่ ทรงเพียร พยายามและทุ่มเทอย่างสุดจิตสุดใจ แต่เหตุใดพวก เจ้าจึงกลับละเลยถอยห่างและไม่ปฏิบัติตามเล่า !
  เพราะฉะนั้น การไม่ละทิ้งพระธรรมโอวาท ความหมายที่แท้จริงก็คือ การเข้าถึงความเมตตาของ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริงในความ ลึกซึ้งแยบยลของพระธรรมโอวาท แล้วนำไปปฏิบัติ จึงจะสามารถสำเร็จเป็นพุทธะเป็นอริยะได้

--------------------------------------------------------------------------------

9.ไม่ยึดติดในรูปลักษณ์ (ม่อจั๋วสิงเซี่ยง)
  ไม่ยึดติดในรูปลักษณ์ ก็คือ การไม่ยึดติดรูปลักษณ์ภายนอกทั้ง หลายที่มาอำพราง เพราะเหตุว่าสิ่ง ต่างๆ ที่มีรูปลักษณ์นั้นไม่ได้คงสภาพ อยู่อย่างนั้นตลอดไป ที่สุดแล้วย่อม ไม่ใช่สิ่งที่จริงแท้ สุดท้ายก็จะต้อง สูญสลาย
  ในวัชรสูตรมีคำกล่าวว่า “สรรพสิ่งที่มีรูปลักษณ์ล้วนเป็นมายา หาก เห็นรูปลักษณ์มิใช่รูปลักษณ์ก็จะเห็นตถาคต” ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ยังไม่สามารถขจัดซึ่งรูปลักษณ์และยังหลง ติดอยู่ในรูปลักษณ์เช่นนี้ จิตของเขาก็ยังอยู่ในชั้นรูป ภูมิ ไม่สามารถเข้าสู่อรูปภูมิหรืออนุตตรภูมิได้ คงเป็นเพียงเวไนย์ที่ยังลุ่มหลงมิอาจหลุดพ้น ก็เพราะว่า จิตญาณนั้นเมื่อถูกรูปลักษณ์ภายนอกครอบปงำหรือถูก พันธนาการไว้ จิตเดิมแท้จึงไม่สามารถเป็นประธาน เช่นนี้แล้วจึงต้องตกเข้าสู่การเวียนว่ายไม่มีสิ้นสุด
  ฉะนั้น การไม่ยึดติดในรูปลักษณ์ ไม่เพียงแต่ไม่ ยึดติดการประทับญาณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มาให้โอวาท เท่านั้น แต่จะต้องเข้าใจถึงความหมายที่แท้จริง และเข้าถึงความแยบยลของหลักสัจธรรมในโอวาทของ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นสำคัญ ยิ่งกว่านั้นไม่ว่าจะอยู่ในภาวะ การณ์ใดๆ จิตใจต้องไม่หวั่นไหวเป็นสมาธิ ให้จิตญาณ เดิมเป็นประธาน เช่นนี้ถึงจะเรียกได้ว่า ไม่ยึดติดใน รูปลักษณ์ อย่างแท้จริง
  ศิษย์เอ๋ย ! เจ้ามักจะพูดว่า “ไม่เอนเอียงไป ข้างใดข้างหนึ่งคือ มัชฌิมาปฏิปทา” ทางสายกลาง แท้จริงแล้วคืออะไร ? ก็คือช่วงเวลาที่พุทธจิตธรรมญาณของตนปรากฏ นั่นหมายความว่ายามที่เจ้ามีใจ อันสงบบริสุทธิ์ ไร้ซึ่งการปรุงแต่งไม่เอนเอียงไป ทางใดและไม่ยึดติดในสิ่งใด ยามนั้นก็คือ การไม่ยึด ติดในรูปลักษณ์ เมื่อใจของเจ้าไม่ถูกสิ่งภายนอกทำให้ แปดเปื้อนหรือหวั่นไหว เมื่อนั้นใจของเจ้าก็จะสะอาด บริสุทธิ์ใร้ซึ่งการยึดติดปรุงแต่งไม่หวังสิ่งตอบแทน ไม่ปรารถนาสิ่งใด นี่ก็คือทางสายกลาง เป็นการ ปรากฏของพุทธจิตธรรมญาณ นั่นเอง
  ฉะนั้น ไม่ยึดติดในรูปลักษณ์ ก็คือการที่ตัวตน แท้จริงปรากฏออกมา หากว่าเจ้ายังคงยึดติดในรูปลักษณ์ เช่นนี้แล้วเจ้าก็ยังต้องตกสู่กระแสแห่งการเวียนว่ายเช่นเดิมมิอาจที่จะบรรลุได้

--------------------------------------------------------------------------------

10.ขั้นตอนต้องชัดเจน (โส่วชวี่ปี้ชิง)
  คำโบราณกล่าวไว้ว่า “หนึ่งสตางค์ของวัดวา ยิ่งใหญ่กว่าสุเมรุภูผา หากยักยอกคิดคดนา เป็นช้าง ม้าวัวควายชดใข้กรรม”
  ศิษย์ทั้งหลาย พวกเจ้าเข้าใจ หรือไม่ เพราะเหตุว่าเงินทุกบาททุก สตางค์ของวัดนั้นมาจากหยาดเหงื่อ แรงงานของเวไนย์ ถึงแม้เป็นเงินไม่มาก แต่ได้มาจากความศรัทธาทำ บุญของพวกเขา อานิสงค์ของการบริจาคย่อมจะยิ่ง ใหญ่ดั่งเขาพระสุเมรุ
  เพราะฉะนั้น หากมีผู้นำเงินมาทำบุญบริจาคให้กับพุทธสถาน เจ้านั้นรายงานไม่ครบทุกบาททุกสตางค์ หรือนำไปใช้ในทางมิชอบ แม้นว่าจะใช้แค่เพียงหนึ่ง สลึงก็ตาม แต่ก็บังเกิดจากใจอันละโมบนำส่งไม่ครบ ขั้นตอนไม่ชัดเจน ก็ย่อมจะได้รับซึ่งผลกรรมสนองไป เกิดเป็นวัวเป็นม้าชดใช้กรรม
  ฉะนั้น ศิษย์ทั้งหลาย สิ่งที่ญาติธรรมนำมาทำ บุญด้วยความศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง หรือสิ่งของ จะต้องมีการจดบันทึกอย่างชัดเจน อย่าหละหลวมทำแบบขอไปที หากมีจิตคิดละโมบทุจริต ขาดมโนธรรม จะต่องได้รับผลร้ายตอบสนองในวัน ข้างหน้าแน่นอน ศิษย์ทั้งหลายต้องระมัดระวัง !
  สิ่งสำคัญขอให้ศิษย์จงจำไว้ว่ากฎสวรรค์นั้นเข้ม งวดนัก ผิดถูกเบื้องบนจะจดบันทึกอย่างชัดเจนและ พวกเจ้าต่างก็มีบัญชีนี้ด้วยกันทุกคน ทั้งความดี และความชั่วที่กระทำจะถูกจดไว้อย่างละเอียดโดยไม่มี ผิดพลาดหรือตกหล่นแม้เพียงเศษเสี้ยว
  ฉะนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่ว่าจะมีผู้นำสิ่งของหรือ เงินทำบุญมาบริจาคให้กับพุทธสถาน พวกเจ้าจะต้อง รายงานอย่างชัดเจน อย่าได้หละหลวมอย่างเด็ดขาด และหากเจ้าปฏิบัติ ขั้นตอนต้องชัดเจน เช่นนี้แล้ว ก็มีหวังที่จะสำเร็จเป็นพุทธะได้

--------------------------------------------------------------------------------

11.ไปลามาไหว้ (ชูเก้าฟั่นเมี่ยน)
  ไป คือ ออกไปนอกสถานที่
ลา คือ การบอกกล่าวเมื่อจากไป
มา คือ การกลับมา
ไหว้ คือ การอยู่ต่อหน้าแล้วทำความเคารพ
  ดังนั้น ไปลามาไหว้ นั้นก็คือ การที่อาวุโสมอบหมายงานให้ทำไม่ ว่าจะเป็นเรี่องเล็กเรื่องใหญ่ ไม่ว่า จะใกล้หรือไกล ต้องจดจำไว้ให้ดี แล้วไปดำเนินการอย่างจริงจัง เมื่องานที่ได้รับมอบหมายเสร็จเรียบ ร้อยแล้วก็ควรกลับมารายงานให้อาวุโสทราบ อย่าได้ หลงลืม
  หากว่าเจ้าอยู่ในฐานะที่เป็นโฮ่วเสวีย (ผู้น้อย) จะออกไปทำธุระข้างนอก ก็ควรขออนุญาตหรือบอก กล่าวต่ออาวุโส เพื่อขอคำปรึกษาและรับฟังคำชี้แนะ ด้วยความจริงใจ เช่นเดียวกัน ทุกครั้งเมื่อเจ้ากลับ มาจากข้างนอกก็ควรรีบไปรายงานความคืบหน้าของ การดำเนินงานว่าเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้อาวุโสต้องคอยเป็นห่วง
  พุทธระเบียบข้อนี้เป็นการตักเตือนผู้บำเพ็ญถึง ความซื่อสัตย์จงรักภักดีและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การงาน อีกทั้งจะต้องรู้จักกาลเทศะและมารยาท ไม่ว่าจะเข้ามาหรือออกไปควรมีมารยาท การไปลามา ไหว้นี้หากทำได้อย่างสมบูรณ์ก็จะยืนหยัดอย่างมีศักดิ์ ศรีไม่ว่าจะอยู่ในสังคมหรือทางธรรม
  พุทธบุตรชายหญิงที่ตั้งปณิธานมายังโลกมนุษย์ ก่อนจะลงมาก็มีการลา เช่นเดียวกัน การกลับมาก็ ควรมีการบอกกล่าว ตนเองต้องรู้จักหมั่นระลึกถึง พระองค์ธรรมมารดา ไม่ลืมอนุตตรภูมิ เช่นนี้ภาวะ จิตก็จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์ธรรมมารดา หากศิษย์ทั้งหลายตั้งใจบำเพ็ญและปฏิบัติได้ อย่างนี้ตลอดไป จึงเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่เข้าใจความหมาย ของ ไปลามาไหว้ อย่างแท้จริง

--------------------------------------------------------------------------------

12.ไม่ผิดต่อสายธรรม (ปู๋ล่วนซี่ถ่ง)
  ไม่ผิด คือไม่วุ่นวายไม่สับสน สาย นั้นประดุจเชือก เป็นตัวแทนแห่งสายทอง ธรรมนั้นก็คือพงศาธรรม เป็นพงศาแห่งมหาธรรมอันสัจจริงที่นำพา ผู้คนทั้งหลาย นั่นก็คือพุทธจิตธรรมญาณที่อยู่ในตัวของคนทุกคน
  ฉะนั้น การไม่ผิดต่อสายธรรม ความหมายแท้จริงคือการที่ผู้บำเพ็ญ ธรรมนั้นไม่ออกห่างจากสัจธรรมอันเที่ยงตรง อาศัย จิตญาณเดิมแท้นั้นเป็นประธานแห่งตนเสมอ และ.ไม่ หลงผิดไปสูทางมิจฉา อย่างนี้ถึงจะเรียกได้ว่า ไม่ผิดต่อสายธรรม
  ส่วนสายทองนั้นมี ๒ กรณี ... อย่างแรกคือ แต่เดิมมา ... อย่างที่สองคือ มาทีหลัง
  สายทองแต่เดิมมาก็คือสายทองของโองการฟ้า นั่นก็คือจิตญาณเดิมแท้แห่งฟ้าที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ใน ทุกคน จากจิตสู่จิตเป็นจิตพุทธะที่สามารถเชื่อมโยง กับฟ้า จิตญาณดวงนี้อยู่ในอริยะไม่ได้เพิ่มพูนขึ้น อยู่ ในปุถุชนก็มิได้ลดลง ในยามที่ใจเราสงบไร้ซึ่งความคิด ปรุงแต่งไม่มีความเห็นแก่ตัวจิตญาณนี้ก็จะเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกับฟ้า ไม่ห่างแม้เพียงก้าว ศิษย์ทั้ง หลายถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว สายทองแต่เดิมมาของเจ้า ก็จะส่องสว่างทั่วทั้งมหาตรีสหัสสโลกธาตุ
  ส่วนสายทองที่มาทีหลังนั้นก็คึอ การที่มีบุญสัม พันธ์กับผู้แนะนำ ผู้รับรอง และอาจารย์ชี้แนะ จึงได้ รับการปกโปรดในยุคสามปลายกัปนี้ เมื่อบุญวาระมาถึงก็ทำให้ได้พบกัน และได้มีโอกาสมาบำเพ็ญธรรม ปฏิบัติธรรมร่วมกัน
  ศิษย์ทั้งหลาย ! ในยุคสุดท้ายนี้มีบรรพจารย์ และอาจารย์ปลอมมากมาย พวกเขาใช้อุบายต่างๆ มา หลอกล่อผู้บำเพ็ญธรรม เอาสิ่งจอมปลอมมาก่อความวุ่นวาย อาศัยอธรรมแฝงอยู่ในธรรมะ ยิ่งไปกว่านั้น ก็ประกาศตนว่ามีโองการสวรรค์ปลอมแปลงเข้ามา สร้างความสับสนวุ่นวายในอาณาจักรธรรม
  ศิษย์เอ๋ย ! ในยุคที่อาณาจักรธรรมยุ่งเหยิงนี้ จิตของมนุษย์ตกต่ำลง หากเจ้าไม่สามารถยึดสายทองนี้มั่น ติดตามนักธรรมอาวุโสบำเพ็ญจิตญาณภายในวางตนอย่างสงบแล้วล่ะก็ ยามที่การทดสอบครั้งยิ่งใหญ่มาถึง พวกเจ้าจะสงบจิตสงบใจหลีกพ้นภัยพิบัติครั้งใหญ่นี้ได้อย่างไร
  ฉะนั้น ในยามที่เจ้าบำเพ็ญจนจิตสงบเป็นสมาธิ มิจฉาและมารก็มิอาจมากล้ำกราย อย่างนี้ถึงจะเรียกได้ว่า ไม่ผิดต่อสายธรรม เพราะเหตุใดหรือ ก็เพราะ ในเมื่อจิตญาณไม่เที่ยงตรงแล้ว มารร้ายก็จะย่าง กรายเข้ามาและนำไปสู่ทางมิจฉา ขาดถึงความเคารพ ต่อนักธรรมอาวุโส ผู้แนะนำ ผู้รับรอง เช่นนี้แล้วสายทองแห่งธรรมะก็จะขาดสะบั้นลง แม้นชีวิตก็ยากที่จะ รักษาให้รอดได้

--------------------------------------------------------------------------------

13.ถนอมรักษาสาธารณะสมบัติ (อ้ายสีกงอู้)
  สาธารณะสมบัติ ก็คือสิ่งของ เครื่องใช้ที่เป็นส่วนรวม เช่น สิ่งของ เครื่องใช้ในพุทธสถานเป็นของส่วน รวม หากว่าเจ้ารู้จักถนอมรักษาให้ดี หรือใช้ให้เป็นประโยชน์ ใช้อย่าง คุ้มค่า อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า ถนอม รักษาสาธารณะสมบัติ แล้วเจ้าจะ ถือวิสาสะนำกลับไปใช้ส่วนตัวที่บ้าน ได้อย่างไร ?
  ศิษย์ทั้งหลาย ! ในตอนต้นได้กล่าวถึงพุทธ ระเบียบที่ว่าขั้นตอนต้องชัดเจน พวกเจ้าควรรู้ว่า "หากไม่ระวังความโลภอันเล็กน้อย ก็จะกลายเป็นภัยร้ายอันใหญ่หลวง ” ฉะนั้น สิ่งของเครื่องใช้ส่วน รวม จงอย่านำมาครอบครองไว้เป็นสมบัติส่วนตัว หรือทำลายตามอำเภอใจ
  ในพุทธสถาน อาจารย์ชี้แนะ ผู้บรรยายธรรม และพุทธบริกร บุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นตัวแทนฟ้า พวก เจ้าได้ดูแลพวกเขาบ้างไหม ? มีมารยาทต่อพวกเขา หรือไม่ ? กล่าววาจาอันไม่สุภาพต่อพวกเขาหรือไม่ ? พวกเจ้า ควรรู้ว่าการเคารพและมีมารยาทต่อพวก เขาก็คือ การถนอมรักษาสาธารณะสมบัติ เหมือนกัน เพราะเหตุใด ก็เพราะเขาเหล่านั้นเป็นตัวแทนของ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นบุคคลของฟ้า หากเจ้าไม่ให้ความ คารพไม่เอาใจใส่พวกเขา นั่นหมายถึงการที่ไม่ถนอม รักษาคนของส่วนรวม ยิ่งไปกว่านั้นบางคนยังนินทา พวกเขาลับหลัง ด่าว่าพวกเขา อย่างนี้ก็ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่
  ฉะนั้น การถนอมรักษาสาธารณะสมบัติ มิใช่ เพียงแต่ถนอมรักษาของที่อยู่ในพุทธสถานเท่านั้น ยังจะต้องถนอมรักษาบุคคลที่อยู่ในพุทธสถานด้วย ต้องเป็นมิตรกับทุกๆ คน ให้ความรักใคร่กลมเกลียว ช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เช่นนี้จึงจะเรียกได้ ว่า ถนอมรักษาสาธารณะสมบัติ อย่างแท้จริง
  ศิษย์ทั้งหลาย ! ธรรมะเหล่านี้พวกเจ้าจะต้อง นำไปคิดทบทวนดูให้ดี หากเจ้าสามารถถนอมรักษา สิ่งของในพุทธสถาน อีกทั้งให้ความเคารพต่อผู้ที่อยู่ในพุทธสถาน นั่นหมายถึงเจ้าได้ถนอมรักษาสิ่งของ และบุคคลของฟ้าเบื้องบน เช่นเดียวกับการที่เจ้าได้ เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของฟ้าเบื้องบนเช่นกัน
  นอกจากนี้บุคคลที่อยู่รอบข้าง เจ้าจะต้องให้ ความเคารพเขาเช่นกัน หากเจ้าไม่รู้จักถนอมรักษา เขาเหล่านั้น ฟ้าก็มิอาจจะมอบบุคลากรให้แก่เจ้า เช่นนี้แล้วเจ้าจะปฏิบัติงานธรรมกิจให้รุดหน้าได้อย่างไร ดังนั้น เจ้าจะต้องดูแลซี่งกันและกัน ยามที่เขา ต้องกินให้เขากิน เขาต้องพักผ่อนให้เขาพักผ่อน พึงรู้ว่ามีร่างกายนี้จึงจะสามารถไปสร้างบุญกุศลได้ หากไร้กายสังขารนี้แล้วจะไปสร้างกุศลบรรลุปณิธาน ได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นอาวุโสควรที่จะเอ็นดู ผู้น้อย เจ้าจะไปกล่าวโทษเขาสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ เพราะเขาก็เป็นคนของพุทธสถานเช่นกัน
  ฉะนั้น การถนอมรักษาสาธารณะสมบัติ จึงไม่ ได้เฉพาะเจาะจงพี่น้องร่วมสายธรรมเท่านั้น การไม่ ถนอมรักษาบุคคลรอบข้าง นั่นก็หมายถึงการไม่ถนอม รักษาสาธารณะสมบัติเช่นกัน ศิษย์เอ๋ย ! พุทธระเบียบข้อนี้เจ้าจงทำความ เข้าใจให้กระจ่าง

--------------------------------------------------------------------------------

14.รู้พลิกแพลงในการดำเนินงาน (หัวพออิ้งซื่อ)
  พุทธระเบียบแท้จริงแล้วก็คือ ธรรมะ เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว บางครั้ง ก็เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย แต่ ทั้งนี้ล้วนดำเนินอยู่บนทางสายกลาง เป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยไป
  ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญธรรมจะต้อง รู้จักพลิกแพลงไปตามสถานการณ์ อย่าได้ตายตัวอยู่แต่อย่างเก่าโดยไม่ คิดที่จะพลิกแพลง หากมีบางเรื่องที่ จะต้องจัดการ ซึ่งในยามนั้นอาวุโสไม่อยู่ จึงไม่ สามารถรายงานและตัดสินใจได้ แต่เรื่องนั้นมาถึง แล้ว เป็นเรื่องที่สำคัญซึ่งไม่อาจที่จะรอได้ ต้องรีบ ดำเนินการ เจ้าก็ต้องเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้าและ แบก รับภาระขึ้นมาจัดการในทันที อย่าได้รอช้าให้เสียงาน ถ้าปล่อยไปก็จะเป็นปัญหาเกิดขึ้น
  ศิษย์ทั้งหลาย ! พวกเจ้าจงจำไว้ว่าการกระทำ ของเจ้าทุกอย่างนั้น ขอเพียงให้สอดคล้องตามหลัก ทำนองคลองธรรม เป็นประโยชน์ต่อเวไนย์ทั้งหลาย นั่นหมายถึงจะต้องเป็นผลดีต่อผู้อื่นนั่นเอง ถึงแม้ว่า เจ้าทำแล้วอาวุโสอาจจะไม่เข้าใจเจ้า ยิ่งไปกว่านั้น อาจจะโดนตำหนิ เจ้าก็จงทำต่อไป เพราะเราทำงาน ให้กับเบื้องบน เป็นตัวแทนของฟ้าเบื้องบน มิใช่ทำ งานของใครคนใดคนหนึ่งและงานนี้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ ในการช่วยให้เวไนย์พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด มิใช่ กระทำเพียงเรื่องราวเล็กน้อยทางโลก ฉะนั้น ยามที่ เหตุการณ์นี้มาถึง จงอย่ารีรอให้เสียการ ขอเพียง เจ้ามีใจฟ้าใจยุติธรรม ถึงแม้อาวุโสจะไม่อยู่ เจ้าก็สามารถที่จะแบกรับขึ้นมาได้ ขอเพียงเจ้านั้นมีจิตใจ อันหนักแน่นว่าเรื่องนี้ทำต่อฟ้ามิใช่ต่อบุคคด ฟ้าเบื้อง บนก็ย่อมจะเข้าใจเจ้า
  “ธรรมวิถีไร้ธรรมวิธีตายตัว” ใจของเวไนย์มี ถึงแปดหมื่นสี่พัน พวกเจ้าก็ต้องนำแปดหมื่นสี่พันพระ ธรรมขันธ์มาพลิกแพลงใช้ให้เหมาะกับกาลเทศะ “ยาม เรื่องมารู้สนอง เรื่องผ่านไปรู้สงบ” อาศัยจิตญาณ เดิมแท้แห่งตนไปเผชิญหน้ากับเรื่องราวต่างๆ และรู้จัก พลิกแพลงไปตามเหตุปัจจัย ในขณะเดียวกันเจ้าก็จะได้เรียนรู้และเข้าถึงสภาวะ “สนองไร้ยึดติด จิตพุทธะ ปรากฏ ” ฉะนั้น ผู้ที่รู้พลิกแพลงในการดำเนินงาน มีใหวพริบปฏิภาณจึงกล่าวได้ว่าเป็นผู้มีปัญญาอันสูงส่ง
  ศิษย์เอ๋ย ! ใจแห่งพุทธะคือใจที่ไร้ยึดติด ไม่ แปดเปื้อนสิ่งใด แตใจของเวไนย์ไม่แน่ไม่นอน เปลี่ยน แปลงได้เสมอ ฉะนั้น ต้องใช้ธรรมวิถีทั้งมวลมาปก โปรดใจทั้งหลายให้เวไนย์ทุกคนสามารถคืนสู่อนุตตร แดนสวรรค์ และนี้ก็เป็นสิ่งที่พวกเจ้าจักต้องใช้ปัญญา ที่มีอยู่มาขบคิดปัญหานี้

--------------------------------------------------------------------------------

15.สำรวมกายวาจา (จิ่นเอี๋ยนเซิ่นสิง)
  คำโบราณกล่าวว่า “วจีคือ าสำเนียงเปล่งจากใจ กิริยาคือเงา แห่งใจไร้ตัวตน” นั่นก็หมายความว่า วาจานั้นเป็นเสียงที่สะท้อนออกมา จากจิตใจของคน และการกระทำก็ เปรียบดังเงาของความคิดที่สะท้อน ออกภายนอก ฉะนั้น หากว่าจิตใจ ของเจ้าเป็นเช่นไร กิริยาและวาจา ก็จะเผยออกมาเป็นเช่นนั้น ตรงกันข้ามถ้าจิตใจของเจ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น ก็หาได้แสดง กิริยาและวาจาออกมาเช่นนั้นไม่
  ด้วยเหตุนี้ กิริยาและวาจาที่แสดงออกมาภาย นอกนั้นเป็นสิ่งตัวแทนของตัวตนจริงนั่นเอง แต่ธรรม นั้นมิอาจที่จะออกห่างไปแม้นเพียงชั่วขณะ เพราะฟ้าเบื้องบนไม่อาจกล่าว ดินไม่อาจเอื้อน เอ่ย ดังนั้น ความวิเศษสูงส่งของธรรมก็อยู่ที่การกระทำของพวก เจ้าแสดงออกมานั่นเอง เช่นนี้แล้ว เจ้าจะไม่สำรวมกิริยาวาจาและไม่ให้ความเคารพต่อพระพุทธะในตน ได้อย่างไร
  ฟ้ามีกฎของฟ้า ประเทศชาติมีกฎมาย สถาน ธรรมก็มีพุทธระเบียบ หากว่าเจ้าไม่ระมัดระวังคำพูด สร้างวจีกรรม ไม่สำรวมกิริยา เหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำ ร้ายผู้อื่น สุดท้ายคนรับทุกข์ก็คือตัวเจ้า เอง เพราะ เบื้องบนให้ความยุติธรรมแก่ทุกคน เป็นความเที่ยง ธรรมไร้ความลำเอียง “ความดีเพียงนิดไม่ละเลย ความผิดเพียงเสี้ยวต้องสำรวจ”
  ดังนั้น ภายใต้กฎ แห่งเหตุต้นผลกรรมที่แข็งแกร่งดั่งเหล็กกล้า ศิษย์ เอ๋ย ! หากเจ้ากระทำผิดแล้ว มีหรือจะหลบพ้นจาก กฎแห่งกรรมนี้ได้
  ฉะนั้น ยามที่เจ้าพูดก็ไม่สมควรใช้คำพูดไปทิ่ม แทงใจคนอื่น หรือใช้คำพูดทำลายชื่อเสียงของผู้อื่น ยิ่งไม่ควรใช้คำพูดในท่าทีที่ผิด เพราะถ้ากล่าวออกไป แล้วคุณธรรมของเจ้าก็จะเสื่อมไป เจ้าจะต้องกล่าว วาจาที่เป็นคุณเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย ใช้วาจา นั้นเสริมสร้างคุณธรรมและสร้างงานให้เกิดผลโดย เฉพาะผู้บำเพ็ญธรรมวาจาที่กล่าวออกมาควรจะเป็น สัจธรรม สนทนาธรรมถกปัญหา ไม่พูดนินทาว่าร้าย ไม่สร้างวจีกรรม ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดไร้สาระไม่มี แก่นสาร เช่นนี้ถึงจะเรียกได้ว่า สำรวมวาจา อย่าง แท้ จริง
  การสำรวมกิริยาก็เช่นเดียวกัน เจ้าต้องมีวาจา และการกระทำที่สอดคล้องกัน อีกทั้งต้องปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างและต้องแสดงออกซึ่งคุณธรรมภายใน เป็นปากเสียงแทนฟ้า ให้ใจตนเป็นดั่งใจฟ้า ทุกขณะ จิตคิดทำเพื่อประโยชน์สุของเวไนย์ มีความสำรวม ระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา ทั้งกายวาจาใจต้องเคร่งครัด หากปฏิบัติได้อย่างนี้แล้วเจ้าทั้งหลายก็จะปราศ จากฝั่งความผิดบาป จึงจะเป็นกระบอกเสียงแทนฟ้า ประกาศเผยแพร่สัจธรรม เป็นนี้ถึงจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็น ผู้บำเพ็ญตนปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง

--------------------------------------------------------------------------------

สรุป
  ทั้งหมดที่ได้กล่าวมา แล้วนั้น อาจารย์ได้นำเอาพุทธระเบียบ ๑๕ ข้อ มาอธิบายอยางละเอียดถี่ถ้วน หวังว่าศิษย์ทั้งหลายสามารถนำไปปฏิบัติบำเพ็ญ และดำเนินตาม อาจารย์ขอประกันว่าถ้าหากเจ้าปฏิบัติได้ การสำเร็จธรรมก็อยู่ไม่ไกลเช่นกัน ขอเพียงพวกเจ้า จดจำไว้เสมอว่าพุทธระเบียบนี้ฟ้าเบื้องบนเป็นผู้กำหนด พวกเจ้าอย่าได้กำหนดเอาตามอำเภอใจ
  ยุคปลายนี้ หากว่าเจ้าทำงานให้กับฟ้าเบื้องบน เจ้าก็ควรที่จะดำเนินตามแบบแผนของพุทธระเบียบ ๑๕ ข้อนี้ แล้วเจ้าก็จะสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างราบรื่นและสอดคด้องต่อพระประสงค์ของฟ้า
  เช่นเดียวกับจริยระเบียบต่างๆ ในชีวิตประจำ วันหรือมารยาทของการเข้าออกพุทธสถาน พวกเจ้า ก็ดูสถานการณ์แล้วรู้จักพลิกแพลงให้เหมาะสม ส่วนพุทธระเบียบ ๑๕ ข้อนี้เป็นหลักที่สามารถนำไปสู่การ สำเร็จเป็นพุทธะได้ ขอเพียงเจ้าพยายามหมั่นทำ ความเข้าใจอย่างละเอียด นำไปปฎิบัติอย่างจริงจัง ก็จะสามารถเข้าใจได้ว่าดังนี้คือแบบแผนของการ บำเพ็ญธรรมปฏิบัติธรรม ศิษย์ทั้งหลาย พวกเจ้าดูซิ ว่าพุทธระเบึยบ ๑๕ ข้อนี้มีความสำคัญมากขนาดนี้ เหตุใดพวกเจ้าไม่ประทับไว้ในจิตแล้วนำไปดำเนิน ปฏิบัติอย่างจริงจังเล่า ! สุดท้ายขอให้เจ้าจดจำไว้
  ในบทไท่ซั่งกั่นอิ้งมีกล่าวไว้ว่า
โชคและภัยไร้ประตูอยู่ที่คนก่อเอง
การสนองยองกรรมดีกรรมชั่ว
ประดุจเงาที่คอยติดตามเราไปตลอด”
  ศิษย์รักเอ๋ย ! การกระทำของเจ้าในขณะนี้จะดี หรือไม่ดี ผลที้ได้นั้นตัวเจ้าเองย่อมเป็นผู้ได้รับ เป็น โชคหรือภัยล้วนมาจากตัวของเจ้าเองทั้งนั้น ฟ้าเบื้องบนล้วนมองเห็นอย่างกระจ่างชัดและบันทึกไว้อย่าง ชัดเจนไม่มีผิดพลาด ก็เหมือนความคิดของพวกเจ้า ถ้าหากแฝงไว้ด้วยจิตกุศลเพียงหนึ่ง ฟ้าก็จะประทาน โชควาสนาให้แก่เจ้า แต่ถ้าเจ้ามีจิตอกุศล ฟ้าก็ย่อม ลงโทษเจ้า ถึงแม้ตาเนื้อของเจ้าจะมองไม่เห็น หรือ ผลกรรมที่สนองยังมาไม่ถึง แต่กฎของฟ้านั้นเที่ยงธรรม ผลกรรมเหล่านั้นพวกเจ้าต่างต้องได้รับการสนอง
  ศิษย์เอ๋ย ! เจ้าฤๅจะไม่สำรวมระมัดระวังตน และต้องสำรวมจนกระทั่งนาทีสุดท้ายก็มิเปลี่ยนใจ ในเวลาที่ต้องจากกัน อาจารย์ไม่มีอะไรที่จะ มอบให้ศิษย์รัก อาจารย์ได้แต่เพียงอวยพรอยู่ในใจให้ เจ้าทั้งหลายรักษาไว้ซึ่งจิตเดิม ตอบแทนพระคุณฟ้าเบื้องบน บรรลุปณิธานกลับไปสู่อนุตตรภูมิดีไหม ? ลาก่อนศิษย์รักทุกคน...!

 

ที่มา  http://www.hersunmeler.com

Tags: ระเบียบ

Tags: