collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ : คำนำ  (อ่าน 11743 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ   

                                         คำนำ

        บทบรรยายในหัวข้อ  ข้อแกร่งแรงมุ่ง  ซึ่งได้ถอดความเป็นภาษาไทยแล้วนี้  ผู้บรรยายต้นฉบับภาษาจีน มิได้ระบุนามไว้บนปกหนังสือ  แต่ท่านผู้ฟังบรรยายในครั้งนั้นได้เปิดเผยว่า ท่านคือเตี่ยนฉวนซือ  ผู้ใหญ่ที่บำเพ็ญดีจนแทบไม่มีที่ติ  ท่านอ่อนน้อมถ่อมตน จงรักภักดีต่ออาณาจักรธรรม ต่อท่านเฉียนเหยิน  มีคุณธรรมศรัทธาต่อฟ้าเบื้องบน เสมอต้นเสมอปลายเรื่อยมาในชีวิตการบำเพ็ญที่นานกว่าสี่สิบปี  แม้กระนั้นก็ยังมีผู้ชื่นชมและติฉินนินทา  แต่ท่านมิได้รู้สึกกระทบกระเทือน  เพราะท่านบำเพ็ญเพื่อการหลุดพ้น นั่นคือ ภาวะชั่วกาลนาน 
        หลากหลายอารมณ์ของคนรอบข้างจึงเป็นเสมือนลมพัดผ่าน คือ ภาวะสั้นชั่วระยะ           เท่านั้น เมื่อท่านเฉียนเหยินได้โปรดมอบหมายให้ท่านอรรถาธรรมเพื่อเสริมสร้างทัศนคติเที่ยงตรงในการบำเพ็ญ แก่นักธรรมชั้นนำทั้งหลายในครั้งนั้น  จึงได้รับความยินดีน้อมรับเพื่อย้อนมองส่องตนโดยทั่วกัน
        ในเมื่อท่านเจ้าของบทบรรยาย มิได้ระบุนามไว้บนปกหนังสือต้นฉบับ จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ผู้แปลก็จะต้องเคารพความตั้งใจของท่าน จึงมิได้ระบุนามเจ้าของบทบรรยายไว้ จะอย่างไรก็ตาม ทัศนธรรมที่ท่านได้แสดงไว้  พลังใจในการปฏิบัติบำเพ็ญด้วยข้อแกร่งแรงมุ่งที่แผ่พลังออกมาทุกคำพูด ทุกวรรคทุกตอนนั้น ผุ้แปลสำนึกรู้  น้อมรับ ที่จะเจริญธรรมต่อไป  และหวังว่าทัศนธรรมกับพลังข้อแกร่งแรงมุ่งของท่านจะได้เสริมสร้างผู้บำเพ็ญที่ได้อ่านเป็นอย่างดี

                                                                          ด้วยความเคารพและขอบพระคุณยิ่ง   

                                                                                       ศุภนิมิต

                                                                               แปลและเรียบเรียง         
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 9/10/2011, 11:00 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ : คำนำ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 3/10/2011, 23:21 »
                            ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ

ซิวเต้าเหยิน                           ผู้บำเพ็ญธรรม

จื้อ                                     แรงมุ่ง จิตใจใฝ่ดี วิริยะมุ่งมั่นฟันฝ่า

จื้อ                                     ประกอบด้วยส่วนของตัวอักษร      ซื่อ              กับ ซิน

ซื่อ, ซิน                               ประเสริฐชนผู้อยู่เหนือโลก  จิตใจเป็นฐานมั่นคง

เจี๋ย                                    ข้อไผ่ แข็งแกร่ง สูงส่งเที่ยงตรง มั่นคง เสียดฟ้า ไม่บิดเบน อุปมาความสำรวม สามัคคี มีบรรทัดฐาน งดงามยั่งยืน

                                             ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ   

                                                          คำนำ

        ปีหมินกั๋วที่สิบเก้า ซือจุน ซือหมู่  พร้อมกันรับสนองเทียนมิ่ง อนุตตรพระโองการปรกโปรดทั่วกันทั้งสามโลก  จวบบัดนี้ เจ็ดสิบปีผ่านมา ในระหว่างนั้น พุทธบุตรคนเดิมได้ขึ้นฝั่งกันนับไม่ถ้วน อีกทั้งได้เสริมสร้างอริยปราชญ์แห่งธรรมกาลยุคขาวไว้นับไม่ถ้วน  ถือได้ว่าเป็นบันทึกหนึ่งหน้าของปัจจุบันกาลอันเรืองรองเป็นประวัติการทีเดียว  วิถีธรรมสืบส่งจากจีนแผ่นดินใหญ่สู่ไต้หวัน การปรกโปรดแผ่ขยายเจริญไกลอย่างไม่เคยมีมาก่อน แต่อาณาจักรธรรมในวันนี้ ห่างไกลจากกาลเวลาของอริยบุคคล เพราะท่านผู้สูงส่งด้วยมหาบารมีคุณต่างก็ทยอยกันกลับคืนฐานเบื้องบนไปแล้ว ธาตุธรรมก่อนเก่า กับสภาวะคุณธรรมของท่านเหล่านั้น ไม่ง่ายเลยที่จะคืนกลับมาปรากฏอีก  ทำให้ผู้รู้ผู้เจริญห่วงใยยิ่งนัก  ด้วยเกรงว่า วิถีธรรมเมื่อสืบต่อไปจนถึงสุดท้าย ยิ่งนานวันก็จะยิ่งสิ้นสูญคุณวิเศษสูงส่งของธาตุแท้แต่เดิมทีไป ดังนั้น  จึงได้ยกตัวอย่าง "ข้อแกร่งแรงมุ่ง" ของท่านธรรมภันเตที่เจริญธรรมอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ในครั้งกระนั้น จัดพิมพ์เป็นเล่ม  เพื่อแสดงให้เห็นคุณค่านิรันดร์กาลนั้น
        ข้อความในหนังสือเล่มนี้ เรียบเรียงจากบทบรรยายสด  แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนเป็นช่วงตอน  จึงลองเพิ่มหัวเรื่องบทลงไว้  ซึ่งต้นฉบับเดิมได้เคยพิมพ์ลงไว้ในหนังสือ "ประมวลธรรมสารแสงสว่าง                           "  เล่มที่สิบเก้าแล้ว
        วันนี้ เพื่อให้แพร่หลาย  จึงได้จัดพิมพ์เป็นเล่มเฉพาะ  จึงเรียนมาเพื่อทราบด้วยความเคารพ

                                                 กลุ่มบรรณสารธรรมปราสาทเทียนเอวี๋ยนฝอเอวี้ยน   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ   

                                        กล่าวนำ

        "ข้อแกร่งแรงมุ่ง"  ไม่ใช่ทัศนคติ   
       
        วันนี้ที่ผู้น้อยจะเรียนให้ทราบ จะไม่พูดในแง่มุมว่า ผู้บำเพ็ญพึงมีข้อแกร่งแรงมุ่งข้อหนึ่ง ข้อสอง ข้อสาม...อย่างไร เพราะทุกท่านต่างเข้าใจดีหมดแล้วว่าอะไรคือ  "ข้อแกร่งแรงมุ่ง"  หลังจากได้เข้าสู่อาณาจักรธรรมแล้ว เราได้รู้หลักธรรมมากมาย ฉะนั้น  วันนี้เราก็จะไม่สนใจอยู่กับเรื่องราวเล่าขาน และจะไม่พูดแต่เรื่องของทัศนคติ  แต่จะพูดถึงปัญหาที่ว่า  หลังจากที่ได้รู้หลักธรรมมากมายแล้ว  เรายังคงเป็นเรา...  "ฉันได้รู้หลักธรรม...  มากมาย  แต่ฉันยังคงเป็นฉันดนเดิม  ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง"  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

        ธรรมะมิใช่ได้มาจากการสอน

        เราจะต้องเข้าใจทัศนคติอันหนึ่งเป็นเบื้องต้นว่า  "ธรรมะมิใช่ได้มาจากการสอน"  ฉันสอนเธอ...  แท้จริงแล้วฉันไม่อาจสอนเธอได้  หากในใจของเธอไม่  "ก่อเกิดเปิดใจ"  สอนไปก็ไร้ประโยชน์ เช่น  ความกตัญญู  ไม่ใช่สอนให้เราบรรยายหัวข้อกตัญญู  คนที่อธิบายได้อย่างละเอียดนั้น อาจไม่กตัญญูเลยก็เป็นได้   ฉะนั้น  ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่พูดให้ แต่จะต้อง "ก่อเกิดเปิดใจ"  เอง   หากเราผู้บำเพ็ญ  "ก่อเกิดเปิดใจ"  ภายในตนแล้ว พลิกผันใจตนแล้ว ก็จะมีแรงผลักดัน  เราเคยผ่านชั้นขอขมากรรมสำนึก  ชั้นชั่นหุ่ยมาแล้ว บางครั้งเราได้พบว่า ผลที่ได้จากชั้นขอขมาฯ  ชั่วคราวเท่านั้น  แม้เขาผู้นั้นจะซาบซึ้งเสียใจในความผิดบาปของตนเองจนสะอื้นไห้เสียหนักหนาก็ตาม  เราเคยเห็นเขาเอากำปั้นทุบพื้น  สะเทือนใจมาก  สุดท้าย ปีหนึ่งผ่านไป เขาก็กลับมาเหมือนเดิม  ฉะนั้น  แม้จะซาบซึ้งและในใจก็คิดว่าจะทำอย่างไรดี แต่ที่แน่ ๆ คือ เขา  "ก่อเกิดเปิดใจ"  จริง ๆ หรือเปล่า  จิตภาพอันดีงามแท้ ได้สำนึกตื่นแล้วหรือยัง

        เอาอย่างท่านเฉียนเหยิน  อยู่ที่จิตวิญญาณ

        เราล้วนแต่เคยติดตามท่านเฉียนเหยิน   มีปัญหาหนึ่งพึงพิจารณา  เราว่าเราจะเอาอย่างท่านเฉียนเหยิน  เราจะเอาอย่างอะไรกันแน่  เราเอาอย่างได้แต่รูปแบบเท่านั้น  ถ้าเราไม่รู้ว่าจิตใจของท่านเฉียนเหยินเป้นจิตใจอย่างไร  จิตใจของเรากับจิตใจของท่านเฉียนเหยิน ไม่เหมือนกัน  เป็นไปได้ที่เราบอกว่า  เราเคยติดตามท่านเฉียนเหยิน  เคยเอาอย่างท่านเฉียนเหยิน แต่เป็นเพราะจิตใจไม่เหมือนกัน ความเข้าใจต่อการแสดงออกของท่านเฉียนเหยินก็จะต่างกัน  ที่ฉันได้เอาอย่างนั้น  อาจเป็นเพียงรูปแบบภายนอกของท่านเฉียนเหยินเท่านั้น    ในอาณาจักรธรรมของเราก็มีปัญหานี้คือ   เธอบอกว่าเธอเป็นขวัญวิญญาณของท่านเฉียนเหยิน  เขาก็บอกว่าเขาก็เป็นขวัญวิญญาณของท่านเฉียนเหยิน  แต่สุดท้ายสองคนออกมาคนละพิมพ์  เธอบอกว่าเธอเป็นตัวแทนของท่านเฉียนเหยิน  เขาก็บอกว่าเขาก็เป็นตัวแทนของท่านเฉียนเหยิน   สุดท้ายพฤติกรรมการแสดงออกไม่เหมือนกัน นั่นเพราะเข้าไม่ถึงแก่นแท้ จึงเป็นได้แค่รูปแบบสมมุติภายนอกเท่านั้น   ในนี้ก็มีปัญหาอีกว่า ถ้าหากเราสำคัญว่า ที่เราเอาอย่างท่านเฉียนเหยินนั้น  เป็นบุคลิกภาพแบบอย่างในสมัยต้น ซึ่งหากเอาอย่างได้แต่รูปแบบภายนอก ก็จะมีข้อเสียตามมาว่า "ยอมรับตัวของฉันเอง"  ซึ่งอาจจะมีคำพูดว่า  "เราเป็นอย่างท่านเฉียนเหยินในสมัยต้น"  แท้จริงแล้ว  นั่นก็เป็นเพียงรูปแบบภายนอกอีกเหมือนกัน  เพราะเรายังคงเข้าไม่ถึงจิตใจของท่านเฉียนเหยินว่า  ในสมัยต้นนั้น ทำไมท่านจึงทำเช่นนั้น     

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                             ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ   

                                        กล่าวนำ

                             บำเพ็ญไม่เรียกร้องให้ใครยอมรับ

        ผู้บำเพ็ญจะต่างจากคนทั่วไปก็คือตรงนี้  คนทั่วไปในสังคม ต้องการการยอมรับ ถ้าพวกที่ดำเนินกิจการร่วมกันไม่ยอมรับ เขาก็ทำต่อไปไม่ได้  ข้าราชการ ต้องการการยอมรับจากประชาชน เขาไม่ยอมรับจะอยู่ต่อไปไม่ได้  แต่ผู้บำเพ็ญจะเรียกร้องให้ใครยอมรับไม่ได้ มันต่างกันตรงนี้  บำเพ็ญ หากมีการยอมรับตัวของฉันเองมากไป ต่อไปคนคนนั้นก็จะกลายเป็นไม่ยอมรับฟังใครสอน  "ฉันดีออกอย่างนี้ ยังจะต้องให้เธอว่ากล่าวอีกหรือ"  "ฉันดีออกอย่างนี้ แล้วจะเอาอะไรอีกล่ะ"  มันจะยุ่งยาก เพราะไม่ยอมให้ใครสอน ภายหน้าก็จะห่างจากธรรมะออกไปทุกวันทุกวัน  ฉะนั้น  เมื่อพูดถึงข้อแกร่งแรงมุ่ง เช่นที่ว่ามานี้ก็คือ เป็นคนขาดข้อแกร่งแรงมุ่งแล้ว  มาร่วมศึกษาบรรยายหัวข้อนี้กับท่านทั้งหลาย ผู้น้อยก็ใจเต้นไม่เป็นส่ำแล้ว  เพราะละอายเมื่อย้อนสำรวจดูตน ยังบกพร่องอยู่มาก คิดถามตัวเองว่า  " มีความรู้อันเป็นโดยจริงแท้ต่อธรรมะเท่าไร"  คำตอบก็คือ "มีจำกัด"  จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะมาพูดหัวข้อนี้  แต่ก็คิดอีกทีว่า นี่เป็นโอกาสตรวจสอบพิจารณาตนเอง

                             

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ :
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 5/10/2011, 20:12 »
                             ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ   

                                        กล่าวนำ

                         

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                                    ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ   

                                              แบบอย่างของธรรมะสูงล้ำคุณธรรมสูงส่ง

        ผู้น้อย จะพูดถึงหัวข้อใหญ่ข้อที่หนึ่งคือ "ธรรมะสูงล้ำ คุณธรรมสูงส่ง"  ธรรมะสูงส่งเลิศล้ำยิ่งนัก ไม่เคยเปลี่ยนไป ตั้งแต่บรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ธรรมะสูงส่งเลิศล้ำยิ่งนัก คนต่างหากที่เปลี่ยนไป  เราไม่ต้องพูดถึงพระธรรมาจารย์สมัยที่ห้าที่หก  ซึ่งห่างไกลนานมา จะพูดถึงผู้บำเพ็ญในธรรมกาลยุคขาวนี้ให้ท่านฟัง ซึ่งผู้น้อยได้ยินมาจากท่านธรรมภันเต  และทำให้ละอายแก่ใจเสมอว่า ท่านเหล่านั้นน่าเคารพยิ่ง แต่เราสิเป็นอย่างไร คนแต่ก่อนท่านบำเพ็ญกันอย่างไร ปฏิบัติต่อธรรมะอย่างไร  แต่เราสิ..... ลองเปรียบเทียบกันดู

                                              ท่านเซี่ยเฉียนเหยินผู้ถึงที่สุดต่อการสำนึกรู้

        ปีหมินกั๋วที่สามสิบ ที่มหานครเทียนจิน มีแม่หม้ายคนหนึ่งคือ ถังฮูหยิน สามีแซ่ถัง ตัวท่านเองแซ่เซี่ย  (ต่อมาคือท่านเซี่ยเฉียนเหยิน)  สามีทิ้งทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาลไว้ให้ ชีวิตความเป็นอยู่ดีมาก ทุกวันมีแต่ดื่มกินเสพสุข สูบฝิ่น (ค่านิยมผู้มีฐานะดีในสมัยนั้น) ตื่นสายตามสบาย จะไม่ลุกจากที่นอนก่อนเที่ยงวัน แต่ท่านเซี่ยเฉียนเหยินเป็นคนใจบุญ ชอบบริจาคทาน จัดงานสงเคราะห์อยู่เสมอ สร้างกุศลคุณงามความดีเป็นประจำ ในสมัยนั้น ท่านจางเหล่าเฉียนเหยิน (อู่เฉิง ........)  ก้อยู่ที่มหานครเทียนจิน ท่านกล่าวว่า "ใครฉุดช่วยนำพาท่านถังฮูหยินมารับวิถีธรรมได้ บุญกุศลเกินประมาณ เธอเป็นคนดี"  ชิวเฉียนเหยินท่านหนึ่งตอบว่า "ผู้น้อยขอไปฉุดช่วยนำพา" ท่านจางเหล่าเฉียนเหยินกล่าวว่า "ท่าน ชิว  ฐานะไม่ดี ฉุดช่วยนำพาเธอไม่ได้หรอก"  ท่านชิวเฉียนเหยินว่า "ผู้น้อยจะกราบขอเหล่าหมู่ได้โปรด จะฉุดช่วยนำพาเธอได้"  ผลสุดท้าย ท่านชิวเฉียนเหยินก็ฉุดช่วยนำพาได้จริง ๆ โดยเริ่มจากอาเสี่ยบุตรชายของฮูหยินก่อน จากนั้นจึงฉุดช่วยนำพาฮูหยิน รับธรรมะเสร็จ  ฟังไตรรัตน์จบ ถังฮูหยินแสดงความตั้งใจออกมาทันทีว่า "ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉันจะเริ่มอดฝิ่น" สมัยปัจจุบัน การแพทย์และเถสัชเจริญมาก จะอดยาเสพติด อาศัยฉีดยาระงับช่วยได้ แต่สมัยก่อนนั้นยังไม่มี การอดฝิ่นเป็นเรื่องลำบากที่สุด ผลที่สุด เวลายี่สิบวันจะเป็นจะตาย  อยากฝิ่นเมื่อไรถึงกับนอนกลิ้งดิ้นพราด ๆ บนพื้น น้ำตาน้ำมูกไหลพลั่ก ๆ ทรมานมาก สาวใช้บอกว่า "ฮูหยิน ท่านมรมานเหลือเกิน สูบสักคำเถอะ"  สาวใช้เตรียมฝิ่นมาพร้อม แต่ท่านปฏิเสธเด็ดเดี่ยวว่า "ถึงอย่างไรก็ไม่สูบ"  ท่านอดทนต่อความทุกข์ทรมานนั้นอย่างยิ่งยวด  ยี่สิบวันผ่านพ้นไป ก็อดฝิ่นได้เลย หลังจากอดฝิ่นได้แล้ว ท่านรีบไปสถานธรรม เรียนแก่เตี่ยนฉวนซือว่า "ฉันจะถือศีลกินเจตลอดชีวิต"  เตี่ยนฉวนซือจัดการให้ได้ถวายปณิธานกินเจตลอดชีวิตทันที ถวายปณิธานเสร็จ เข้าร่วมฟังในชั้นศึกษาธรรม ฟังไปหนึ่งสัปดาห์ ขอถวายปณิธาน "อุทิศตนเพื่องานธรรม"  ทันที  ชั่วเวลาเดือนเดียว ตั้งแต่รับธรรมะ จนถึงถวายปณิธานทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เข้าประชุมธรรมไคฝ่าฮุ่ย
        ท่านถวายปณิธานแล้ว  ไม่เหมือนกับพวกเรา ที่ถวายปณิธานแล้วรอคอยโอกาสก่อน แต่ท่านบอกกับลูกชายว่า "ลูกไปหาทางทำมาหากินเอง ทรัพย์สมบัติของบรรพบุรุษ แม่จะบริจาคหมด คฤหาสน์หลังใหญ่และทรัพย์สมบัติทั้งหมดจะถวายให้อาณาจักรธรรม"  ท่านจะอุทิศตนเพื่องานธรรม (เส่อเซินปั้นเต้า)  สุดท้าย  ท่านเซี่ยเฉียนเหยิน ก็ไปบุกเบิกที่เมืองฮาเอ่อปินชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดิมทีเคยมีชีวิตเสพสุขสบาย แต่บัดนี้สละหมดจนไม่มีอะไรติดตัว ญาติธรรมบริจาคเงินเล็กน้อยให้ท่านเช่าบ้านเล็ก ๆ หลังหนึ่ง เป็นบ้านเก่าผุพัง จัดตั้งตำหนักพระ ท่านอาศัยอยู่ที่นั่น ออกฉุดช่วยนำพาคนที่นั่น  ตั้งแต่เช้าจนค่ำ ท่านจะนั่งบรรยายธรรมอยู่บนม้ายาว อีกทั้งนั่งตัวตรงตลอดเวลา ก่อเกิดแบบอย่างบุคลิกภาพงดงาม (วิริยะ  อุตสาหะ  อดทน  สำรวม  งามสง่า  เมตตากรุณา เหมือนปล้องไผ่ที่มี ข้อแกร่งแรงมุ่ง)  ญาติธรรมที่นั่น  ซาบซึ้งประทับใจในการปฏิบัติบำเพ็ญอย่างแกร่งกล้าของท่านยิ่งนัก  ท่านบุกเบิกแพร่ธรรมที่นั่น ไม่ต้องพูดถึงว่ามีคนขอรับธรรมะจำนวนเท่าไร  เฉพาะแต่ท่านที่ถือศีลกินเจ ก็มีจำนวนถึงห้าพันคน  นี่คือ การช่วยให้คนได้เปลี่ยนแปลง ได้ตัดเวรกรรม   สุดท้าย  ในวันหนึ่งท่านได้กล่าวแก่เตี่ยนฉวนซือท่านหนึ่งที่ท่านอุ้มชูขึ้นมาว่า "ฉันอยากจะกลับไปแล้วล่ะ"  เตี่ยนฉวนซือท่านนั้นเข้าใจว่า ท่านเซี่ยเฉียนเหยินจะกลับมหานครเทียนจิน  จึงกราบเรียนท่านว่า "ท่านจะกลับไปเมื่อไหร่"  ท่านเซี่ยเฉียนเหยินตอบว่า "ยังไม่ได้ดูวันเธอจงไปตามญาติธรรมทั้งหมดให้กลับมา"  สุดท้าย   ญาติธรรมพากันกลับมาสถานธรรม ท่านจัดประชุมธรรมสองวันให้แก่เขา ประชุมธรรมจบแล้วท่านพูดแก่ทุกคนว่า "จงบำเพ็ญให้ดี ๆ "  จบงานประชุมธรรม ทุกคนกลับไปแล้ว ท่านจึงพูดแก่เตี่ยนฉวนซือท่านนั้นว่า "ฉันจะไปจริง ๆ แล้ว เหล่าซือมารับฉันแล้ว"  เตี่ยนฉวนซือท่านนั้นตกใจเมื่อได้ยินคำว่า  เหล่าซือ  (พระอาจารย์) มารับ ถ้าเช่นนั้นก็ไม่ใช่กลับไปมหานครเทียนจินนะซิ  เตี่ยนฉวนซือว่า "เฉียนเหยิน ท่านยังดี ๆ อยู่ ทำไมจะจากไป สุขภาพร่างกายท่านยังดี ๆ อยู่เลย"  ท่านตอบว่า "จะไปแล้ว"  วันรุ่งขึ้น  ท่านเกิดเป็นหวัด พอเป็นหวัดก็รู้สึกไม่ค่อยสบาย ทุกคนมาเยี่ยมท่าน มารับประทานข้าวด้วยกัน รับประทานข้าวเสร็จท่านก็กล่าวแก่ทุกคนว่า "การปรกโปรดอย่างกว้างขวางในยุคสามนี้ เป็นเหตุปัจจัยของบุญวาระที่ไม่เคยมีตั้งแต่โบราณกาลมา ทุกคนจงถือโอกาสนี้ให้มั่น จะต้องฉุดช่วยจิตญาณตนและฉุดช่วยคนให้ดี ๆ บำเพ็ญกันให้ดี ๆ เอาละ แล้วพบกันใหม่"  ท่านปล่อยมือลงแล้วก็ไป  นั่นคือ  วันหนึ่งในฤดูหนาวปีหมินกั๋วที่สามสิบสาม ท่านไปแล้ว 
        สมัยนั้น  ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของ " อวังจิงเอว้ย ............."  เรียกว่าประเทศแมนจูเทียม  ซึ่งจะไม่ไปมาหาสู่ ไม่มีสัมพันธภาพกับรัฐบาลกลางของจีนคณะชาติ  ทันที ที่ท่านเซี่ยเฉียนเหยินบรรลุธรรมกลับคืนไป  คืนนั้น  ทิพย์ญาณของท่านก็ไปที่สถานธรรมศูนย์กลางที่มหานครเทียนจิน ประทับใช้ร่างสะพานบุญสามคุณ โปรดให้โอวาทเป็นลายลักษณ์อักษรในพระอริยฐานะ  "เต๋อฮุ่ยผูซ่า ............นามเดิม เซี่ยเวิ่งเจิน ..............."  (อักษรพระนามต่างกันกับเต๋อฮุ่ยผูซ่า .................... องค์หลังในยุคนี้)
        ท่านชิวเฉียนเหยิน ใจค้านทันทีเมื่อได้เห็นตัวอักษร ไม่ถูกแล้วล่ะ  เซี่ยเฉียนเหยินบุกเบิกแพร่ธรรมอยู่ที่เมืองฮาเอ่อปิน จะมาประทับทิพย์ญาณได้อย่างไร  จึงเก็บโอวาทฉบันนั้นไว้ก่อน ไม่กล้านำออกมาเปิดเผย   สมัยก่อนนั้น ยังไม่มีโทรคมนาคม อีกทั้งบ้านเมืองเขตการปกครองของแมนจูก้ไม่มีการสื่อสารกับส่วนกลาง คนก็ไม่ไปมาหาสู่กัน จึงไม่มีข่าวคราวถึงกัน   จนเวลาผ่านไปหนึ่งเดือน มีญาติธรรมจากฮาเอ่อปินมาแจ้งข่าวการละสังขารของท่านเซี่ยเฉียนเหยินที่มหานครเทียนจิน   ท่านชิวเฉียนเหยินจึงอุทานและถามว่า  "วันที่เท่าไร"  เมื่อนำเอาพระโอวาทที่เก็บซ่อนไว้มาดู จึงได้ประจักษ์แจ้งว่าเป็นคืนวันเดียวกัน ท่านละกายสังขารทางโน้นก็มาประทับทิพย์ญาณทางนี้ทันที  นี่คือบุญญาธิการของผู้บำเพ็ญจริง
        ภายหลังมีผู้เดินทางออกมาจากเมืองฮาเอ่อปินเล่าว่า  ขบวนส่งพระศพท่านเซี่ยเฉียนเหยินมีผู้ร่วมขบวนส่งถึงหลายหมื่นคน  ตลอดถนนหนทางที่เคลี่ยนพระศพไป มีคนคุกเข่าอยู่เต็มสองฟากทาง   สมัยนั้น ที่เรียกว่าประเทศแมนจูเทียม แท้จริงแล้วอยู่ในความควบคุมของญี่ปุ่น  รัฐบาลญี่ปุ่นรู้สึกแปลกใจมาก หญิงชราคนธรรมดาคนหนึ่งตายไป ทำไมจึงมีคนร่วมส่งศพกันมากมายอย่างนั้น คงมีปัญหาซ่อนอยู่ แต่ตรวจสอบอย่างไรก็ตรวจสอบไม่พบปัญหา จึงปล่อยเลยตามเลยไป  ญาติธรรมที่มาส่งพระศพ  ทุกคนดูอย่างกับสูญเสียแม่บังเกิดเกล้า  ต่างเศร้าโศกเสียใจอาลัยรัก  แท้จริงแล้ว ตั้งแต่ท่านเซี่ยเฉียนเหยินรับธรรมะ  จนถึงการกลับคืนเบื้องบนไป  เป็นเวลาชั่วไม่กี่ปีเท่านั้น จึงเห็นได้ว่า  ท่านเป็นผู้บำเพ็ญจริง 

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                                    ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ   

                                   ท่านเซิ่งเฉียนเหยิน ผู้ให้อย่างใหญ่หลวง ได้อย่างใหญ่หลวง

          อีกท่านหนึ่งคือ ท่านเซิ่งเฉียนเหยิน ที่เมืองฮาเอ่อปิน เฉียนเหยินท่านนี้เดิมทีคือคนที่มีฐานะร่ำรวยเป็นอันดับหนึ่งของเมืองฮาเอ่อปิน ความเป็นอยู่ทางบ้านดีมาก เปิดโรงงานทำแป้งหมี่ถึงสามโรง ท่านเป็นพุทธมามกะ ทำบุญสุนทานมากในศาสนาพุทธ สร้างแต่ความดี ทุกคนต่างรู้จักท่านในนามของ "นักบุญใหญ่"  ภายหลังเมื่อบุญวาระมาถึง วิถีอนุตรธรรมถ่ายทอดไปถึงเมืองฮาเอ่อปิน ท่านจึงได้รับวิถีธรรม  หลังจากที่ได้รับวิถีธรรมแล้ว ครั้งหนึ่งเมื่อไปที่สถานธรรม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้โปรดเปิดกระบะทรายประทานพระโอวาทอักษร พอดีเป็นพระอาจารย์ของเราประทับมา พระองค์โปรดว่า "ให้อย่างใหญ่หลวง ได้อย่างใหญ่หลวง ไม่ให้ ไม่ได้ ............................................................"  ท่านเซิ่งเฉียนเหยิน ได้เห็นข้อความประโยคนี้เข้า ก็เหมือนกับเราที่เคยได้เห็นพระโอวาทอักษรคำว่า " ให้ใหญ่หลวง  ได้ใหญ่หลวง ................................." นั่นแหละ  แต่เมื่อท่านได้เห็น พอกลับถึงบ้าน ท่านก็บอกแก่บุตรีของท่านว่า "เราจะต้องให้อย่างใหญ่หลวง ได้อย่างใหญ่หลวงแล้ว"  ท่านขายโรงงานทำแป้งหมี่ และกิจการทั้งหมดไป ไม่เหลือติดตัวไว้สักเหรียญเดียว หอบเงินทั้งหมดมาที่สถานธรรม มอบให้ท่านชิวเฉียนเหยิน ตอนนั้น ท่านชิวเฉียนเหยินอยู่ที่เมืองฮาเอ่อปิน ได้เห็นเงินจำนวนมหาศาลขนาดนั้น แย่แล้ว จะทำอย่างไรดี เหมือนกับที่สมัยนี้เราพูดถึงกี่ร้อยล้านพันล้านอยางนั้น ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี จึงนำเงินไปมอบถวายไว้แด่ท่านธรรมปริณายกหูเต้าจั่ง ........... ท่านเซิ่งเฉียนเหยินท่านนี้ ถ้าพูดถึงพวกเราในปัจจุบัน ถ้ามีใครสร้างบุญถวายเงินจำนวนมหาศาลขนาดนี้ คงจะต้องภาคภูิมิมาก ไปถึงไหนก็จะได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลพิเศษผู้มีเกียรติ  แต่เมื่อท่านเซิ่งเฉียนเหยินมาถึงสถานธรรม เฉียนเหยินของท่านบอกกับท่านว่า "มาถึงสถานธรรม จะต้องเรียนรู้จากการส่งผ้าเช็ดมือ"  ท่านจึงเริ่มจากหัดส่งผ้าเช็ดมือที่ประตูสถานธรรม หัดยกถ้วยน้ำบริการ ญาติธรรมที่มาเป็นคนงานของท่านทั้งนั้นท่านก็น้อมตนโค้งศระษะส่งผ้าเช็ดมือให้ ยกถ้วยน้ำบริการให้คนงานของท่านดื่ม  หลังจากท่านเซิ่งเฉียนเหยินสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดแล้ว ท่านก็มักจะมาอยู่ในสถานธรรมเพื่อช่วยบริการ ยอมเหนื่อยด้วยความอดทน ไม่แบ่งชนชั้น ต่อญาติธรรมใหม่ก็ให้กรุณาธรรมอย่างเดียวกัน รินน้ำชา ส่งผ้าเช็ดมือ ต้อนรับดูแลด้วยตนเอง อัธยาศัยไมตรีของท่านให้ความสนิทใจจนทุกคนต้องซาบซึ้ง ธรรมกิจที่ท่านดูแลนำพาจึงแผ่ขยายเจริญไกล แม้ท่านเซิ่งเฉียนเหยินจะทุ่มเทที่สุดต่อธรรมะ ต้องเหนื่อย ยากลำบากเพียงไร ท่านก็ไม่เคยปริปากตัดพ้อ  ท่านมีเมตตากรุณาธรรมเต็มหัวใจ วิริยะกล่อมเกลี้ยงตนเป็นอย่างดีไม่ว่านัยน์ตาดู  หู  ฟัง  ทุกกิริยาวาจา ท่านจะไม่หละหลวมแม้แต่น้อย เรียกว่าสูงด้วยคุณธรรม  สำคัญด้วยเกียรติ เป็นแม่พิมพ์ของผุ้น้อยทั้งหลายโดยแท้
        ปีหมินกั๋วที่สามสิบเจ็ด การสอบใหญ่พลันเกิดขึ้น  ท่านรับบัญชาจากท่านจางเหล่าเฉียนเหยินให้เดินทางไปประจำมหานครเทียนจิน  ปีหมินกั๋วที่สามสิบแปด คอมมิวนิสต์มาถึง จับญาติธรรมที่เมืองฮาเอ่อปินหนึ่งหมื่นกว่าคนเฉียนเหยินหลายท่านรวมอยู่ในนั้นด้วย พวกคอมมิวนิสต์บอกว่า "ปลาใหญ่ตัวหนึ่งรอดไปได้"  ความหมายก็คือ ท่านเซิ่งเฉียนเหยินไม่ได้ถูกจับ เขาต้องการจะจับท่าน  ตอนนั้น ท่านเซิ่งเฉียนเหยินอายุใกล้จะเจ็ดสิบปีแล้วท่านอยู่ที่มหานครเทียนจิน เมื่อรู้ข่าวนี้ท่านรวดร้าวใจยิ่งนัก จึงกราบเรียนต่อท่านเฉียนเหยินของท่านว่า "ท่านเฉียนเหยิน ผู้น้อยมีปณิธานข้อหนึ่งที่ยังไม่สำเร็จการ"  เฉียนเหยินของท่านถามว่า "ปณิธานข้อไหน"  ท่านตอบว่า "ผู้น้อยอยากจะกลับฮาเอ่อปิน"  เฉียนเหยินของท่านรีบห้ามว่า "ไม่ได้ ท่านรอดมาได้จากทะเลเพลิง จะกลับเข้าไปในทะเลเพลิงอีกไม่ได้ ไปที่นั่นจะต้องตายแน่ ๆ "  ท่านเซิ่งเฉียนเหยินตอบว่า "ผู้น้อยจะไปช่วยเขาออกมา มีเฉียนเหยินหลายท่านรวมอยู่ในนั้นด้วย  ผู้น้อยจะไปเจรจา บอกว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่เกี่ยว เป็นเรื่องของผู้น้อยเอง"  ว่าแล้วท่านก็คุกเข่าลงวอนต่อท่านเฉียนเหยินของท่าน  เฉียนเหยินของท่านก็ยืนกรานไม่เห็นด้วย ภายหลังท่านให้เฉียนเหยินหลายท่านมาช่วยกันวอนขอ วอนขอจนท่านเฉียนเหยินของท่านจนใจ น้ำตาไหลพราก พยักหน้าอนุญาตให้ทั้งน้ำตาว่า " เอาเถอะ เมื่อท่านปรารถนาที่จะทำเช่นนี้ ก็ไปเถอะ"  เมื่อท่านเฉียนเหยินอนุญาติแล้ว ท่านเซิ่งเฉียนเหยินดีใจมากกล่าวว่า " ดีเหลือเกิน ๆ อายุของฉันปูนนี้แล้ว เป็นคนแก่เฒ่าใช้การอะไรไม่ได้อีกแล้ว ยังมีโอกาสดีถึงอย่างนี้ ได้ไปสร้างกุศลประโยชน์อันนี้"   ท่านอู๋เฉียนเหยินที่ฮ่องกงกล่าวว่า " วันนี้ ท่านเองเป็นคนช่วยท่านเซิ่งเฉียนเหยินหอบหิ้วสัมภาระไปส่งที่สถานีรถไฟเทียนจิน
        อู๋เฉียนเหยิน (ยังเป็นผู้น้อยในสมัยนั้น) สะพายกระเป๋าเดินตามหลัง ท่านเซิ่งฌแียนเหยินเดินอยู่ข้างหน้า  อู๋เฉียนเหยินมองดูภาพหลังของท่านเซิ่งเฉียนเหยินแล้วเดินไปร้องไห้ไป  ดูเถิด... ท่านสูงอายุปูนนี้แล้ว ชั้วชีวิตอุทิศตนเสียสละเพื่องานแพร่ธรรม ถึงสุดท้ายยังจะต้องมามอบตัวเองให้ไปตาย...คิดถึงตรงนี้ทำให้ร้องไห้โฮออกมา ท่านเซื่งเฉียนเหยินหันกลับมามองแล้วว่า "เธอโง่จริง ๆ ร้องไห้ทำไม เธอควรจะต้องดีใจแทนฉัน ที่ฉันมีโอกาสดีออกอย่างนี้ ให้บรรลุปณิธานได้"  ขึ้นรถไฟแล้ว อู๋เฉียนเหยินมอบสัมภาระให้แก่ท่านเซิ่งเฉียนเหยิน ท่านรับเอาไว้แล้วสั่งเสียอู๋เฉียนเหยินว่า "ต่อไปเราก็จะไม่ได้พบกันอีก เธอบำเพ็ญธรรมแล้วจะต้องใส่ใจข้อหนึ่งว่า ความเป็นความตายจะต้องดึงให้เรียบเสมอกัน ความเป็นความตายไม่ดึงให้เรียบเสมอกัน ไม่อาจบำเพ็ญธรรมได้"  อะไรเรียกว่าไม่ดึงให้เรียบเสมอกัน อยากมีชีวิต กลัวตาย เรียกว่าไม่ดึงให้เรียบเสมอกัน  เป็นตายดึงให้เรียบก็คือเห็นเป็นอย่างเดียวกัน  ในที่สุด  ท่านเซิ่งเฉียนเหยินก็ไปกับรถไฟขบวนนั้น พอถึง ฮาเอ่อปิน ท่านก็ไปรายงานตัวกับกองบังคับการคอมมิวนิสต์  "พวกคุณจะจับตัวเซิ่งเข่าปิน ใช่ไหม ฉันนี้แหละเซิ่งเข่าปิน ฉันกลับมาแล้ว แต่ที่มามอบตัวนั้น ฉันมีเงื่อนไขข้อหนึ่ง หมื่นกว่าคนที่คุณจับกุมตัวไว้ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อหาของพวกคุณเลย ปล่อยพวกเขาเสียเถิด เป็นเรื่องของฉันทั้งหมด ฉันแบกรับโทษทั้งหมดคนเดียว"  ได้ยินมาว่า การกระทำของทานเซิ่งเฉียนเหยินครั้งนั้น ทำให้คนเกินกว่าครึ่ง (เกินกว่าห้าพันคน)  ได้รับการปลดปล่อย มีเฉียนเหยินสามท่านที่ถูกจับรวมอยู่ในนั้น ซึ่งจะต้องถูกพิพากษาโทษประหารชีวิตแต่ท่านเซิ่งเฉียนเหยินแบกรับไว้ทั้งหมด เฉียนเหยินทั้งสามท่านนั้นจึงได้รับการลดหย่อยผ่อนโทษไปใช้แรงงานแทนการถูกประหารชีวิต
        คอมมิวนิสต์จับตัวท่านเซิ่งเฉียเหยินแห่ประจานไปทั่วเมือง ญาติธรรมคุกเข่าอยู่เต็มสองฟากทาง บ้างใช้ไตรรัตน์อธิษฐานภาวนา บ้างร้องไห้  บ้างโขกศรีษะ กราบกับพื้นถนน  ทุกคนรู้ว่าเฉียนเหยินท่านนี้ เป็นเฉียนเหยินที่ประเสริฐนัก  ท่านเซิ่งเฉียนเหยินกล่าวในเวลาต่อมาว่า "ขอบคุณทุกท่านที่มาส่งฉัน ภายหน้าเราจะได้พบกันที่ฟ้าเบื้องบน"  ท่านเซิ่งเฉียนเหยินยังได้ให้คำพูดทิ้งท้ายว่า " ทุกคนอย่าได้เสียใจ ตัดหัวยิงเป้า เกษียณแล้วกลับบ้าน" ประโยคสุดท้ายนี้  ช่างสูงส่งสง่าผ่าเผยเกินกว่าธรรมดาเหลือเกินใช่ไหม  ภายหลังประโยคเดียวกันนี้ของท่านได้กลายเป็นพลังคำขวัญแผ่กระจายไปทั่ว  ถึงปีหมินกั๋วที่สามสิบแปด   สามสิบเก้า  สี่สิบ  ไปปจนถึงปีหมินกั๋วที่สี่สิบห้า  (รวมแปดปี)  คอมมิงนิสต์ได้ประหารเตี่ยนฉวนซือไปมากมาย มากมายเหลือเกิน  เตี่ยนฉวนซือทุกท่านใช้คำพูดของท่านเซิ่งเฉียนเหยินประโยคเดียวกันว่า " ตัดหัวยิงเป้า เกษียณแล้วกลับบ้าน................. ....................."   
        คำพูดประโยคนี้ ท่านเซิ่งเฉียนเหยินพูดเป็นคนแรก  ภายหลังมีผู้ออกมาจากฮาเอ่อปินเล่าว่า ในขณะที่จะยิงเป้าท่านเซิ่งเฉียนเหยินนั้น เกิดลมพายุใหญ่  ฝนฟ้าคะนองหนัก พวกคอมมิวนิสต์ไม่เชื่อเรื่องผีสางเทวดา  แต่พอเห็นอย่างนี้ชักกลัว จึงหยุดพักไว้ เปิดทำการสอบสวนใหม่ เรียกญาติธรรมไปถามว่า "นายเซิ่งเข่าปิน คนนี้ใช่ไม่ใช่ควรประหาร  ใช่ไม่ใช่มีโทษผิด"  ไม่มีใครว่ามีโทษผิดสักคนเดียว ทุกคนมีแต่คุกเข่าลง คอมมิวนิสต์เห็นว่าไม่ได้การ สอบสวนใหม่สามครั้งแล้วยังไม่มีใครยกมือให้ผิด  จึงเอาคนของพรรคเองแทรกเข้าไปแล้วถามใหม่ว่า  "ใช่ไม่ใช่ควรประหาร"  ครั้งนี้มีคนตอบว่า "ใช่ " คอมมิวนิสต์จึงดำเนินเรื่องประหารอีก  ในเวลานั้น ลมพายุกรรโชก ฝนฟ้าคะนองหนักอีก ฟ้าดินร่วมรับรู้                           

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                                    ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ   

                                                    เชื่อมั่นแน่แท้ต่อฟ้าเบื้องบน

        ตรงนี้เราจะมองดูในอีกแง่มุมหนึ่งว่า ทำไมท่านเหล่านั้นจึงเห็นธรรมะอย่างจริงจังกันถึงปานนั้น ทำไมธรรมะนี้อยู่บนตัวของท่านจึงจริงจังถึงเพียงนี้ ต่อมาภายหลัง ธรรมะอยู่บนตัวของพวกเรา อาจจะไม่ได้สูงล้ำสำคัญอย่างนั้นก็เป็นได้ ฉะนั้น หลายคนจึงพูดว่า ยิ่งนานไปธรรมะก็ยิ่งเหมือนศาสนาเข้าไปทุกที เราต้องการศักดิ์ศรีความภาคภูมิใจ เราชอบที่จะเปรียบเทียบกับใคร ๆ  คนเมื่อก่อนไม่ใช่อย่างนั้น   ฉะนั้น  ถ้าเราอยากให้ธรรมะสูงล้ำ คุณธรรมสูงส่ง ซึ่งตั้งแต่โบราณมาเป็นอย่างเดียวกัน  ถ้าอย่างนั้น ใช่ไม่ใช่ว่าเราจะต้องมาก่อเกิดปณิธานว่า วันนี้จะต้องให้ฟูฟื้น "ธรรมะสูงล้ำ คุณธรรมสูงส่ง" ออกมาใหม่จากบนตัวของเรา และนี่ก็คือข้อแกร่งแรงมุ่งอันหนึ่ง  ครั้งนั้น ที่ท่านเซิ่งเฉียนเหยิน อีกทั้งท่านเซี่ยเฉียนเหยิน ถวายทรัพย์สินเงินทองทั้งหมด หลายคนได้ทัดทานท่าน แม้แต่เฉียนเหยินของท่านเองก็เช่นกัน บอกว่า "อย่าถวายจนหมดสิ้นอย่างนี้เลย เก็บเอาไว้สำหรับตัวเองส่วนหนึ่งเถอะ"  แต่ท่านทั้งสองไม่ขยักไว้แม้แต่บาทเดียว อุทิศถวายทั้งหมด ท่านกล่าวว่า "ฉันอุทิศตนเพื่องานธรรม  แม้แต่กายสังขารตัวนี้ก็อุทิศถวายให้หมดแล้ว เงินทองของนอกกายยังจะเก็บเอาไว้ทำไม" ชีวิตจิตใจอย่างนี้ ทำให้ไม่ต้องสงสัยอะไรอีกแล้วที่ท่านเห็นธรรมะจริงจังปานนั้น เพราะธรรมะที่อยู่บนตัวของท่านเป็น "ธรรมะสูงล้ำ คุณธรรมสูงส่ง.........................."

                                                                อะไรคือสั้นชั่วระยะ  อะไรคือชั่วกาลนาน

        ข้อที่สองเราจะพูดถึง ความกตัญญูต่อพระแม่องค์ธรรม ความจงรักต่อฟ้าเบื้องบน ซึ่งเป็นทัศนคติอันหนึ่ง  ความจงรัก  เป้าหมายของเราคือ "พระแม่องค์ธรรม" ซึ่งเกี่ยวโยงกับที่ผู้น้อยจะพูดถึงเรื่อง "สั้นชั่วระยะกับชั่วกาลนาน"  เราผู้ปฏิบัติงานธรรมบางคน  แท้จริงแล้วใฝ่ใจแต่ สั้นชั้วระยะ  ไม่ใฝ่ใจต่อชั่วกาลนาน

                                                             สร้างกุศลโดยมิเพื่อเหตุ - ผลกรรม

        ผู้บำเพ็ญพึงมีทัศนคติอันหนึ่งว่า "สร้างกุศลโดยมิเพื่อเหตุ - ผลกรรม"  วันนี้ปุถุชนคนหนึ่งจะทำบุญ เพราะเขากลัวเหตุ - ผลกรรม  ฉะนั้นเขาจึงต้องทำบุญ  แต่เราผู้เข้ามาสู่โลกของสัจธรรม สถานภาพของเราคือเตี่ยนฉวนซือ หรือเจี่ยงซือ ถันจู่  ถ่ายทอดวิถีธรรมแทนพระอาจารย์ ประกาศเกียรติคุณแทนพระอาจารย์ เราจึงไม่ควรทำบุญเพราะตกอยู่ในเหตุ - ผลกรรม  เรื่องราวบางอย่าง มองดูเหมือนเสียเปรียบ อย่างเช่นท่านเซิ่งเฉียนเหยิน  ท่านเซี่ยเฉียนเหยิน  อุทิศสละทรัพย์สินเงินทองทั้งหมด  มองดูเหมือนเสียเปรียบสิ้นเนื้อประดาตัว  เรื่องขาดทุนเข้าเนื้อเป็นใคร  ใครจะทำไหม  นี่จะต้องวัดจากแง่มุมที่ว่า  มองจากมุมสั้นชั่วระยะหรือมุมชั่วกาลนาน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                                                     ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ   

                                                ปฏิบัติงานธรรมโดยมิเพื่อแผ่ไพศาล

        ถ้าปฏิบัติงานธรรมด้วยเป้าหมายเพื่อแผ่ไพศาล เราก็จะใช้วิธีการ จะใช้กลเม็ดมากมาย เพียงเพื่อให้แผ่ไพศาลเป็นใช้ได้ ฉะนั้น  จึงมีการดึงคนของคนอื่นมา มีการให้ร้ายทำลายอาณาจักรธรรมของผู้อื่น นินทาว่าร้ายเขา พยายามฉุดพลังมุ่งใจที่เขามีต่ออาณาจักรธรรมให้ต่ำลง เมื่อพลังมุ่งใจต่ออาณาจักรธรรมนี้หมดไปแล้ว ฉันจึงจะมีโอกาสไปดึงคนของเขามาได้ นี่คือทำเพื่อแผ่ไพศาล   เพื่อจะได้แผ่ไพศาล ก็จะใช้เล่ห์เพทุบายมากมายหลายวิธี นั่นคือ สั้นชั่วระยะ เพราะเหตุว่า ไม่ว่าเราจะมีผู้น้อยเท่าไร วันข้างหน้าละสังขารเรียกว่า "ทุกอย่างว่างเปล่า"  จะต้องหันหน้าเข้าหาตัวเอง เผชิญหน้ากับภาวะรอบตัวของตัวเอง หากในชีวิตนี้เรามีผู้น้อยมากมาย โดยที่จะต้องใช้กลไกความคิดตลอดชีวิต ถ้าอย่างนั้นเราคงไม่ได้ระดับของ "ฉัน"  อันเป็น "จริง"

                                                       หล่อเลี้ยงสิ่งจริงแท้

        ครั้งหนึ่ง ที่ธรรมปราสาทเทียนเอินกง ท่านฉีเฉียนเหยิน จัดนิทรรศการวรรณกรรมพู่กันจีน เนื่องในงานวันแม่ นักวรรณกรรมมีชื่อหลายท่านส่งผลงานมาร่วมแสดง ในจำนวนวรรณกรรมหลากหลายนั้น มีอยู่ชิ้นหนึ่งที่มีตัวอักษรตัวเล็ก ๆ เพียงสองตัว คือ "เอี้ยงเจิน .........แปลว่า "หล่อเลี้ยงสิ่งจริงแท้"
        ท่านฉีเฉียนเหยินสูงส่งงดงาม บำเพ็ญจนกระทั่งธรรมชันษาชรากาล  ก็ด้วยปฏิปทาคำว่า "หล่อเลี้ยงสิ่งจริงแท้"  นั่นเอง อายุของเรายิ่งมากขึ้น ปฏิบัติบำเพ็ญยิ่งนานวันไป ยิ่งเข้าใจดีว่า อักษรสองตัวนี้ ........ หล่อเลี้ยงสิ่งจริงแท้ ไม่ง่ายเลย  ทำไมจึงไม่ง่าย นั่นก็คือ ถ้าเรามุ่งแต่จะแผ่ไพศาล บางครั้งเราก็หันหลังให้อักษรสองตัวนี้ เราจึงจะต้องคิดว่า ที่เราใฝ่ใจนั้นคือ " ชั่วกาลนานหรือสั้นชั่วระยะ"   นี่เป็นปัญหาอันหนึ่ง

                                                       งามเขื่องเบื้องหน้าคน กับบุญจริงกุศลแท้

        ฉะนั้นเราจึงต้องคิดว่า ถ้าสั้นชั่วระยะเราจะเอาอะไร เอา "งามเขื่องเบื้องหน้าคน"  งามเขื่องเบื้องหน้าคน กับ ให้ผู้อื่นยอมรับ  เป็นความต้องการที่คนมากมายใคร่ได้ใฝ่หา แต่เราผู้ปฏิบัติบำเพ็ญ  ใช่หรือไม่ที่ใฝ่ใจสิ่งนี้ ทุกคนยอมรับเธอ แต่มิได้หมายความว่าฟ้าเบื้องบนยอมรับเธอ ไม่แน่นะ !  บางคนมีชีวิตอยู่ในโลกดีมาก แต่พอตาย ทุกคนคาดว่า เขาควรจะบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ แต่ผลสุดท้ายก็ถูกขังอยู่ที่ลหุโทษเบื้องบน นี่เป็นเรื่องที่น่าจะเตือนตนไว้ ฉะนั้น สิ่งที่สั้นชั่วระยะก็คือ แสดงตนงามเขื่องเบื้องหน้าคน แสดงตนให้เป็นที่ยอมรับ แต่ถ้าชั่วกาลนานคือ บุญจริงกูศลแท้ จิตภาวะดีงามรู้ตื่น ก็คือ  ตนเองมีจิตใจที่รู้ตื่น ไม่ใช่ใช้การทำเอา เช่น เอาละ ฉันจะทำความดี กับ ฉันสามารถทำความดีได้  ฉันช่วยเธอได้ ..... ทุกอย่างที่ทำล้วนมีฉัน  ฉันเก่ง เธอทำได้ไม่ดี  ฉันช่วยเหลือเธอได้  ฉันสร้างบุญคุณไว้แก่เธอ ฉันจะสอนเธอ   ทุกอย่างที่เริ่มจากความเป็น "ฉัน"  ไม่ใช่การแสดงออกของจิตภาวะอันดีงาม แต่เป็นดำริของสัญญาความจำ นั่นก็คือ "ใจคน"  ใจคนทำความดีได้ ทำความชั่วก็ได้ ไม่ใช่จิตภาวะเดิมแท้อันงดงาม

                                                      จบไปสิ้น มีอะไรไม่สิ้น

        จิตภาวะอันดีงามของจิตเดิมแท้จะไม่ทำความชั่วอย่างแน่นอน อีกทั้งไม่มีภาวะของบาป - บุญ  จิตภาวะดีงามทำอย่างนี้ก็คือทำอย่างนี้ ทำแล้วก็วางลง (มิได้ยึดหมาย ทำเหมือนไม่ได้ทำ)  มีคนไปที่ศาลบูชาพระโพธิสัตว์มัญชุศรีที่เมืองเฉิงตู  มณฑลซื่อชวน จีนแผ่นดินใหญ่  เขาจดจำกลอนธรรมะบนหน้าประตูศาลมา น่าสนใจ.....

"เห็นแล้วทำ   ทำแล้ววาง   จบสิ้นไป   มีอะไรไม่สิ้น.....................

        เราบำเพ็ญก็เป็นเช่นนี้ เห็นแล้วทำ  ทำแล้ววาง  ช่วยเหลือได้  เราก็ช่วย  ช่วยเสร็จแล้วก็วางลง   ไม่ติดค้างอะไรเลย   นี่คือจิตภาวะดีงามรู้ตื่น นี่เรียกว่า บุญจริงกุศลแท้  เมื่อก่อน ท่านฉีเฉียนเหยินพูดเสมอว่า "ผู้บำเพ็ญแม้ไม่รักษาหลักการเดิม  ผู้ปฏิบัติงานธรรมแม้ไม่รักษาหลักการเดิม  แม้แต่จะเทียบกับคนในสังคม เราก็อาจจะสู้เขาไม่ได้  เพราะไม่รักษา "หลักการเดิม"  จะทำตามความต้องการไม่เลือก เรียกว่าใช้ความ "เป็นที่สุด" ทุกอย่าง เพื่อความต้องการ"  ฉะนั้น  ท่านฉีเฉียนเหยิน จึงกล่าวอยู่เสมอว่า "ธรรมะเป็นส่วนรวมของฟ้าเบื้องบน ไม่ใช่ธรรมะส่วนตัวของใคร ถ้าไม่มีจิตใจเป็นส่วนรวม ไม่มีจิตใจราบเรียบเปิดเผย  ทำแต่เรื่องส่วนตัว  จะไม่ผิดต่อฟ้าเบื้องบนได้อย่างไร"  แต่หากหวังงามเขื่องเบื้องหน้าผู้คน แต่ตำแหน่งหรือสถานภาพที่อยู่ในอาณาจักรธรรมไม่สูงขึ้นสักที ตัวเองก็จะหนักใจว่า "เราทำให้ใคร ๆ เขาดูถูก"  "เขาดูถูกเรา  เราจะต้องหาทาง....."  อันที่จริงคำว่า "เหนื่อยยากลำบากอยู่เบื้องหลัง จะดีเด่นได้เบื้องหน้าผู้คน"  นั้น  เหนื่อยากลำบากอยู่เบื้องหลัง หมายถึง เป็นการฝึกฝนเคี่ยวกรำอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่ปลูกฝังศักยภาพฝีมือการจัดการให้แก่ตน  ไม่ใช่เพือปลูกฝังความสามารถอะไร ที่จะทำให้ใคร ๆ ยอมรับ... ไม่เหมือนกันนะ
        ที่เขายอมรับนั้นคือรูปแบบข้างนอก คือสิ่งที่คุณแสดงออกมา เมื่อเขายอมรับ คุณก็หาทางเต็มที่ ใช้ความคิดจิตใจที่เป็นกลไก ไปชิงเอาผู้น้อยของเขา  อาณาจักรธรรมมีเรื่องราวอย่างนี้ไม่น้อย  สมมุติว่า คุณจางคนนี้รู้จักกับคน ๆ หนึ่งซึ่งเป็นประธานใหญ่เจ้าของโรงงานกิจการค้าสำคัญ รู้จักกันมาสิบปีแล้ว พยายามจะนำพาเขามารับวิถีธรรมก็มาไม่ได้สักที  ครั้งหนึ่ง  กินข้าวร่วมกันกับญาติธรรมคนหนึ่งแซ่หลี่  ซึ่งเป็นพ่อค้าเหมือนกัน คุณจางแนะนำคุณหลี่ให้รู้จักกับประธานใหญ่ รู้จักกันไม่ทันถึงปี  คุณหลี่รีบแอบพาประธานใหญ่คนนี้ไปรับธรรมะ  เรียกว่า "ใครลงมือก่อนก็ชนะไป ใช่ไหม"  จรรยาธรรมของผุ้บำเพ็ญเมื่อก่อนคือ อย่างน้อยจะต้องมาบอกกล่าวกันเสียก่อนว่า "คุณจางครับ  ประธานใหญ่รับปากว่าจะมารับวิถีธรรมพรุ่งนี้ สถานธรรมของผมจะจัดพิธีถ่ายทอดวิถีธรรม..."  แต่เดี๋ยวนี้ไม่มี พอขอนามบัตรแล้ว จัดการตัดหน้าไปเลย มี I.D. การ์ดแล้ว กำหนดตัวเตี่ยนฉวนซือ อิ๋นเป่าซือเรียบร้อยไปเลย  อย่างนี้ก็จะแก้ไขไม่ได้  อย่างนี้เป็นเรื่องยุ่งยาก  เรียกว่าแย่งชิงผู้น้อย   และนี่ก็เป็นการกระทำที่ใฝ่ใจอยู่กับ "สั้นชั่วระยะ  มิใช่ใฝ่ใจชั่วกาลนาน"           
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 7/10/2011, 22:04 โดย ติ๊กน้อย »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                           ข้อแกร่งแรงมุ่งของผู้บำเพ็ญ   

             พูดคุยสิ่งที่รู้เห็นมาเสียมาก พูดคุยเรื่องการบำเพ็ญน้อยกว่า

        เตี่ยนฉวนซือท่านหนึ่งพูดไว้ ให้ข้อคิดดีมาก ท่านว่า  พวกเราเตี่ยนฉวนซือพอรวมกลุ่มกัน ไม่ว่าจะไม่ได้พบกันมานานเท่าไรแล้วก็ตาม หรือที่พบกันบ่อย ๆ ฟังกันมาเรื่อย ๆ แล้วก็ตาม เรื่องที่พูดกันนั้น จะเป็นเรื่องราวข่าวรู้เห็นเป็นส่วนใหญ่ พูดคุยเรื่องการบำเพ็ญเป็นส่วนน้อย มักจะพูดถึงว่า  "ฉันจะไปบุกเบิกแพร่ธรรมที่นั่นที่นี่ ได้พบเห็นใครอย่างไร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้โปรดแสดงบุญญาธิการ หรือการประชุมครั้งนั้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์พระองค์ได้โปรดประทานอะไร ๆ ..."  ล้วนแต่เป็นเรื่องได้ยินได้ฟังมา น้อยนักที่จะพูดคุยเรื่องการบำเพ็ญ  ขณะที่พูดคุยเรื่องราว เราจะนิ่งดูผู้พูด ซึ่งเขาจะแสดงความรู้สึกพอใจที่ได้พูดคุยใช่ไหม เช่น  "สิ่งศักดิ์สิทธิ์โปรดแสดงพระบุญาธิการที่เราโดยเฉพาะ... ฉันได้ฉุดช่วยนำพาบุคคลพิเศษ... มารับธรรมะ  ฉันได้เห็นเหตุการณ์ แม้กระทั่งไปผจญภัย ฝ่าฟันที่อินโดนีเซีย ที่จีนแผ่นดินใหญ่มา...  ฉันใช้วิธีการอย่างไรจึงรอดพ้นมาได้  ฉันปั้นเต้าพลิกแพลงอย่างไร..."  คนที่พูดคุยน้ำลายเป็นฟองฝอยใช่ไหม คนฟังกำลังคิดอยู่ในใจว่า "ฉันจะต้องทำให้ได้เหนือกว่า"  บางครั้งมีคนพูดว่าการประชุมธรรมครั้งนั้น ดีอย่างนั้นศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้ คนที่ฟัง ฟังไปแล้วครึ่งค่อนวัน สนใจเพียงแต่ว่า "ชั้นประชุมธรรมของคุณมีนักเรียนกี่คน"  เขาตอบว่า "ห้าสิบกว่าคน"  ผู้ฟังรับทราบว่า "งั้นเหรอ" ในใจก็คิดว่า "แค่ห้าสิบคน"  แต่ถ้าตอบว่า "ร้อยกว่าคน" ผู้ฟังก็จะอุทานว่า "โอ  ไม่น้อยเลย"  ที่อุทานว่า "ไม่น้อยเลย" นั้น บางคนอาจจะแฝงความรู้สึกนึกคิดว่า "ฉันน่าจะจัดได้เกินกกว่านี้"  บางคนไปร่วมฉลองงานเปิดป้ายสถานธรรมใหญ่ ถ้าหากเป็นคนมีความคิด "สั้นชั่วระยะ"  "หวังงามเขื่องเบื้องหน้าคน"  เมื่อเห็นสถานธรรมใหญ่มาก ผู้มาร่วมงานเยอะมาก ก็จะพูดกับตัวเองว่า "เราจะต้องไม่แพ้เขา"  ถ้ามีความคิดอย่างนี้ เมื่อไปถึงงานฉลอง ปากพูดแสดงความยินดีต่อเจ้าของงาน แต่สายตาก็จะกวาดสำรวจประมาณการแล้วถามว่า "เนื้อที่เท่าไร"  "สร้างหมดเงินไปเท่าไร"  เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับของตน จิตใจอย่างนี้ไม่ใช่ใจธรรม  แต่เป็นใจโลภะ ซึ่งยังมีการแอบตำหนิ นั่นนี่ มีความพอใจกับความคิดอย่างนี้ จึงพูดคุยอย่างนี้ได้ทั้งวัน  แต่ถ้าพิจารณาการบำเพ็ญ
สนทนาธรรมกันอย่างเรียบ ๆ เงียบ ๆ คงนั่งอยู่ด้วยกันได้ไม่นาน

                              หลักสัจธรรมกับมนุษย์สัมพันธ์

        บางคนเพื่อจะเรียกร้องการยอมรับจากผู้อื่น  จะใช้วิธีสมานไมตรีได้เก่งมาก อย่างนี้เรียกว่า ใช้มนุษย์สัมพันธ์ตะล่อมเอา  เมื่อก่อน  ครั้งที่อาณาจักรธรรมของเราเพิ่งจะออกไปบุกเบิกนั้น มีเรื่องหนึ่งที่ทำให้ท่านเฉียนเหยินของเรา ไม่พอใจมาก เพราะเหตุว่า เตี่ยนฉวนซือบางท่านชอบเอาของกำนัลไปด้วย จ่ายเงินร้อยครึ่งร้อยซื้อของเล็ก ๆ น้อย ๆ แจกเขาคนละชิ้น นั่นเป็นอาณาจักรธรรมใหม่  เป็นอาณาจักรธรรมที่เพิ่งจะเริ่มต้น  ญาติธรรมยังไม่รู้เลยว่าอะไรคือ "ธรรมะ"  ผลออกมาวา ญาติธรรมเหล่านั้นรู้จักเรียกร้องแต่จะเอาจากเตี่ยนฉวนซือท่านนั้นเท่านี้ เรียนถามท่านเฉียนเหยินว่า "เตี่ยนฉวนซือท่านนั้นเมื่อไรจะมา"  ทีแรกท่านเฉียนเหยินยังไม่ทราบเรื่อง ภายหลังได้ทราบ จึงเรียกเตี่ยนฉวนซือท่านนั้นเข้ามาอบรมว่า " เธอผูกมนุษย์สัมพันธ์โดยให้ของกำนัลเขา คนข้างหลังเธอจะทำอย่างไรต่อไป เธอไม่ใช่บำเพ็ญธรรม แต่กำลังตะล่อมญาติธรรม สร้างมนุษย์สัมพันธ์"  ฉะนั้น คนที่ทำอย่างนี้คือ ทำ "งามเขื่องเบื้องหน้าคน"  คนที่อยากเป็นที่ยอมรับของใคร ๆ เป็นจิตใจใฝ่ "สั้นชั่วระยะ"  แต่จิตภาวะอันดีงามรู้ตื่นนั้นจึงจะเป็น "ชั่วกาลนาน"   

Tags: