Credit :
cheewajit.comนิตยสารชีวจิตฉบับที่ 303
เติม 7 สารอาหารที่ผู้สูงอายุมักขาดทำให้ผู้สูงอายุมักขาดสารอาหารดังต่อไปนี้
วิตามิน บี 12 ร่างกายผู้สูงอายุไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี 12 ได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนวัยหนุ่มสาว ทำให้มักมีอาการโลหิตจาง แนะนำให้กินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 12 ให้บ่อยครั้งขึ้น
วิตามินดี ผู้สูงอายุที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้รับแสงแดดจะขาดวิตามินดี เนื่องจากแสงแดดจะไปกระตุ้นคอเลสเตอรอลที่ผิวหนังให้เปลี่ยนเป็นวิตามินดี จึงควรกินอาหารที่มีวิตามินดีเป็นประจำ เช่น น้ำผลไม้ต่างๆ และพยายามออกมารับแสงแดดอ่อนๆ ทุกเช้าให้เป็นกิจวัตร
แคลเซียม เมื่อสูงวัย ร่างกายมักขาดแคลเซียมและเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน แหล่งอาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ ผักคะน้า บรอกโคลี และเพื่อลดปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว อาการปากแห้ง และช่วยให้ผู้สูงอายุเจริญอาหารมากขึ้น
โพแทสเซียม สาเหตุของการขาดโพแทสเซียมในผู้สูงอายุส่วนใหญ่มาจากการไม่ได้รับอาหารที่มี โพแทสเซียมอย่างเพียงพอ จึงควรเพิ่มผักและผลไม้ที่ให้โพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ลูกพรุน ลูกไหน มันฝรั่งไม่ปอกเปลือก เป็นประจำ
แมกนีเซียม เนื่องจากความสามารถในการดูดซึมแมกนีเซียมในวัยสูงอายุลดลง และแมกนีเซียมในอาหารมักสูญเสียไประหว่างกระบวนการผลิต อาหารที่ควรกินเป็นประจำเพื่อเพิ่มแมกนีเซียม คือ ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วฝัก เมล็ดพืชต่างๆ
ใยอาหาร เนื่องจากปัญหาการบดเคี้ยวและการย่อยอาหารทำให้ผู้สูงอายุกินอาหารที่มีใย อาหารน้อยลง วิธีแก้ปัญหาคือปรุงให้อาหารนิ่มขึ้น อาหารที่มีใยอาหารมากที่ควรกินเป็นประจำ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว ผัก และผลไม้ต่างๆ
โอเมก้า 3 ผู้สูงอายุจำนวนมากมักขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 เนื่องจากมีอาหารเพียงไม่กี่ชนิดที่อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เมื่อบวกกับความอยากอาหารที่ลดลง ทำให้มีโอกาสขาดโอเมก้า 3 สูง แนะนำให้กินอาหารต่างๆ ดังเช่น ถั่วเหลือง ผักโขม บรอกโคลี เป็นประจำ
นอกจากผู้สูงอายุจะดูแลตัวเองแล้ว คนใกล้ชิดอย่าลืมช่วยดูแลอีกแรงนะคะ