collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม-ตอบ อนุตตรธรรม : พระอาจารย์จี้กงได้ทรงตอบคำถาม  (อ่าน 8642 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
                  พระโอวาทพระอาจารย์จี้กง

        พวกเราศิษย์อนุตตรธรรมบำเพ็ญธรรมต้องบำเพ็ญเพียรใจ  
ในการประกอบอนุตตรธรมกิจต้องพยายามจนสุดความสามารถ
                 พวกเราไม่เปรียบเทียบและวิจารณ์ผู้อื่น
                 พวกเราไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับผู้อื่น
พวกเรายอมถูกปรักปรำเพื่อให้ทศทิศเกิดความกลมเกลียวสมานฉันท์
   พวกเราคือสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างทะเลทุกข์กับแดนอนุตตรภูมิ
แม้จะถูกผู้อื่นเหยียบย่ำและกล่าวให้ร้าย  พวกเราก็ยังยอมทนและไม่ตอบโต้
                  พวกเราดำรงตนตามหลักครรลองครองธรรม
             พวกเราสามารถพลิกแพลงตามสถานการณ์ได้ดั่งใจ
                            พวกเรามั่นคงในหลักสัจธรรม
                   การอุทิศเสียสละของพวกเราจะไม่สูญเปล่า
            พวกเราจะไม่เกิดมาบนโลกมนุษย์โดยเปล่าประโยชน์      
             พวกเราจะไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเสียเปล่า
แม้นชีวิตเดียวของเราก็มีความเกี่ยวพันกับชีวิตของเวไนยสัตว์อีกจำนวนมาก
             จึงควรเห็นคุณค่าของตนและไม่เคลือบแคลงสงสัย
       เพื่อไม่เป็นอุปสรรคแก่ตนเอง  กำหนดสัมมาวิถีสู่จุดหมายอย่างแน่วแน่
                          ให้มนุษย์ทั้งปวงได้ก้าวเดินไปอย่างมั่นคง
                       ให้มนุษย์ทั้งปวงได้รับประทีปแห่งความเมตตา
      ให้มนุษย์ทั้งปวงได้อิ่มเอิบอยู่ภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของฟ้าเบื้องบน
           ให้บรรพชนเจ็ดชั้นและลูกหลานเก้าชั่วคนของมนุษย์ทั้งปวง
                           ได้รับบารมีแห่งแสงธรรมปรกแผ่ถ้วนทั่ว  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/04/2011, 19:33 โดย jariya1204 »

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
        "ถาม  -  ตอบ  อนุตตรธรรม"  เป็นหนังสือที่รวบรวมคำถามทั่ว ๆ ไป ซึ่งเกิดจากข้อกังขาของญาติธรรม  ทั้งญาติธรรมใหม่ที่พึ่งก้าวเข้าสู่ประตูธรรม  และญาติธรรมเก่าที่กำลังบำเพ็ญ  ปฏิบัติธรรม  ข้อสงสัยเหล่านี้  พระอาจารย์จี้กงซึ่งเปรียบเสมือนพระบิดาผู้มีคุณอนันต์ต่อศิษย์อนุตตรธรรม ได้ทรงตอบคำถามไขข้อกังขาด้วยพระองค์เอง  ทั้งที่ตอบแบบตรงไปตรงมา  และตอบแบบอุปมาอุปมัย
        หนังสือเล่มนี้ยังให้ทัศนะเกี่ยวกับวิถีอนุตตรธรรม ในแง่ของการบำเพ็ญ และในการปฏิบัติงานธรรม  อนึ่ง  หนทางการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมจำต้องมีพื้นฐานแห่งความเชื่อมั่นเป็นพลังศรัทธาผลักดันเพื่อบรรลุจุดหมาย  และวิธีการเสริมสร้างศรัทธาความเชื่อมั่น ก็คือ  "การขจัดข้อกังขา"  นั่นเอง  ดังพระพุทธจี้กงได้เมตตาว่า  "เมื่อขจัดข้อกังขา  ความเชื่อมั่นจึงบังเกิด" 
        หวังว่า  หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่สาธุชนผู้บำเพ็ญทั้งในอาณาจักรธรรม และ นอกอาณาจักรธรรมไม่มากก็น้อย  และหากการแปลพระวจนะ  หรือการจักทำหนังสือมีข้อผิดพลาดใด ๆ  ขอเบื้องบนได้โปรดเมตตาประทานอภัย  ขอพระอาจารย์ทรงการุณย์เสริมปัญญาแก่ศิษย์โง่ด้วยเถิด

                                  ด้วยจิตสำนึกคุณ

                          กลุ่มพัฒนาเพื่อฟื้นฟูธรรมญาณ   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
        1.  วิถีอนุตตรธรรม  เป็นวิถีธรรมที่แท้จริง การดำเนินอนุตตรธรรมกิจก็ทรงมีพระกระแสรับสั่งโดยตรงจาก  พระอนุตตรธรรมเจ้า  แต่เหตุใดยังมีลัทธิต่าง ๆ มาก่อกวนอาณาจักรธรรม ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        ทั้งนี้เป็นเพราะพระประสงค์ของฟ้าเบื้องบน  ถ้าไม่มีการทดสอบก็ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นความมุ่งมั่นที่มีต่อวิถีธรรมได้  ดังที่กล่าวว่า  :  "อริยบุคคลจะอุบัติขึ้นเมื่อแผ่นดินวุ่นวาย  ขุนนางที่ซื่อสัตย์ภักดีจะปรากฏเมื่อบ้านเมืองโกลาหล  ผู้บำเพ็ญจริงและผู้เสแสร้งบำเพ็ญจะถูกแยกออก เมื่ออาณาจักรธรรมปั่นป่วน   ด้วยเหตุนี้   ทั้งเทพเซียนและพุทธอริยเจ้าแต่อดีตกาลมา  ล้วนสำเร็จธรรมท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ทั้งนั้น

        2.  ความทุกข์ต่าง ๆ ที่ผู้บำเพ็ญธรรมได้รับในการบำเพ็ญปฏิบัติเป็นการทดสอบของฟ้าเบื้องบนทั้งสิ้น  ใช่หรือไม่ ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        ผู้บำเพ็ญธรรมอาจเข้าใจว่าความทุกข์ต่าง ๆ ที่ได้รับในการบำเพ็ญปฏิบัติเป็นการทดสอบของฟ้าเบื้องบน ซึ่งอันที่จริงแล้วเป็นการบรรจบพบพานของต้นเหตุแห่งกรรมที่เคยปลูกสร้างมากับผลกรรมที่ตามตอบสนอง  ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์  มีเฉพาะหน้าที่ในการให้คะแนน อันจะเป็นเกณฑ์ในการลำดับอริยฐานะ  ตามสภาพการณ์ที่ผู้บำเพ็ญได้ประสบ  วิบากกรรมที่ผู้บำเพ็ญเคยสั่งสมมา  ทั้งที่ติดหนี้คนอื่น  และที่คนอื่นเป็นหนี้เรา ควรสะสางใหหมดสิ้นไป  จึงเห็นได้ว่า  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือผู้ที่รู้จักอาศัยเหตุปัจจัยของการทดสอบที่เกิดขึ้น  เนื่องจากการบรรจบพบพานแห่งต้นเหตุและผลกรรม ทำการชำระหนี้กรรมแล้วจึงสำเร็จธรรมเท่านั้นเอง

        3.  ดังที่ได้สดับมาเบื้องต้นว่า  ผู้บำเพ็ญธรรมเข้าใจว่า การบรรจบพบพานของต้นเหตุและผลกรรมในการบำเพ็ญปฏิบัติเป็นการทดสอบ ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีเฉพาะหน้าที่ในการให้คะแนนตามสภาพการณ์ที่ผู้บำเพ็ญได้ประสบ จึงอยากทราบว่า  การเผชิญกับความทุกข์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการบรรจบพบพานของต้นเหตุและผลกรรมนั้นจะได้รับบุญกุศลหรือไม่ ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        "ไหนเลยจะมีบุญกุศล"  การที่ผู้บำเพ๊ญธรรมได้รับกับความทุกข์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการบรรจบพบพานของต้นเหตุและผลกรรมนั้น เป็นโอกาสที่เบื้องบนต้องการประจักษ์แจ้งในความมุ่งมั่นต่อวิถีธรรมของผู้บำเพ็ญเท่านั้น  ครั้นผู้ที่ยังไม่กระจ่างแจ้งในวิถีธรรมได้รับความทุกข์ต่าง ๆ ในการบำเพ็ญปฏิบัติ ก็ย่อมโทษฟ้า และปรักปรำผู้อื่น  แต่ทว่าผู้กระจ่างแจ้งในวิถีธรรม  เมื่อได้รับความทุกข์ต่าง ๆ ในการบำเพ็ญปฏิบัติ ก็จะสำนึกเสียใจและตำหนิติเตียนแต่ตนเอง
        เพราะฉะนั้น  พื้นฐานในการให้คะแนน (เพื่อเป็นเกณฑ์ลำดับอริยฐานะ)  ของสิ่งศักดิสิทธิ์ ก็ขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความมุ่งมั่นที่ผู้บำเพ็ญแสดงให้เห็นต่อวิถีธรรมนั่นเอง

        4.  ผู้บำเพ็ญธรรมที่ตั้งปณิธานทานเจ มีบุญกุศลหรือไม่ ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        "ไร้ซึ่งบุญกุศล"   เพราะการทานเจเป็นสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำ  แต่เดิมมนุษย์เป็นสัตว์ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นอาหาร  การทานอาหารเจจึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ  ไหนเลยจะมีบุญกุศล

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
        5.  เมื่อการทานอาหารเจไม่มีบุญกุศล แล้วเหตุใดผู้บำเพ็ญธรรมจึงต้องทานอาหารเจ ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการทานอาหารเจเป็นสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำ เพราะเป็นการไม่ปลูกเหตุแห่งการทำลายชีวิตสรรพสัตว์ ผุ้บำเพ็ญจึงพึงละเว้นจากการปลูกเหตุแห่งหนี้กรรม  ถ้ายังก่อเหตุแห่งหนี้กรรมด้วยการทำลายชีวิตสรรพสัตว์ต่อไปก็จะทำให้เจ้าหนี้นายเวรเกิดความอาฆาตแค้นมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดทำให้ผู้บำเพ็ญธรรมเองไม่อาจหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้  หนี้กรรมเก่าในกาลก่อนยังไม่ทันได้ชำระสิ้น แต่กลับเพิ่มหนี้กรรมใหม่ในกาลนี้อีก   อันเป็นต้นเหตุให้มีการเกิดและการตาย  มีการตายและมีการเกิด มีการไปฆ่าเขาบ้างและมีการถูกเขาฆ่าบ้าง  หมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด   อนึ่ง  ฟ้าเบื้องบนทรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม เมื่อเรากินเนื้อเขา  1 ชั่ง  ก็ต้องใช้เนื้อคืนเขา 16  ตำลึง  เป็นแน่   เป็นไปไม่ได้ที่เนื้อ 1 /2 ชั่ง  จะเท่ากับ 7.5 ตำลึง (ขาดหายไปครึ่งตำลึง)

        6.  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว  บุญกุศลจะได้มาจากไหน  ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        แม้นคำว่า  "บุญกุศล"  ก็หามีไม่ เพราะการที่เวไนยบำเพ็ญธรรมและสร้างบุญกุศล  โดยมุ่งหวังแต่จะรอรับผลบุญตอบสนอง  ยึดติดในผลบุญจึงส่งผลให้พฤติกรมที่แสดงออกไม่ได้เกิดจากธรรมชาติของจิตเดิมแท้  หากเป็นเช่นนี้ก็เป็นเพียงการปลูกสร้างเนื้อนาบุญเพื่อยังผลให้ไปเกิดเป็นเทพยดาบนสวรรค์ชั้นเทวภูมิ  หรือผู้มีลาภสักการะในมนุสภูมิเท่านั้น  เพราะเป็นการกระทำเพื่อหวังผลบุญตอบแทน  ผลบุญที่ได้รับจึงมีจำกัด เมื่อเสพบุญกรรมหมดสิ้นก็ต้องกลับลงมาเวียนว่ายต่อไป  เปรียบได้ดั่งการยิงธนูขึ้นฟ้า  พอแรงหนุนส่งหมดลูกธนูก็ตกลงมาฉันใดก็ฉันนั้น
        คำว่า  "บุญกุศล"  เป็นเพียงศัพท์ที่บัญญัติขึ้น  เพื่อสร้างพื้นฐานในการทำความเข้าใจ  ซึ่งที่จริงแล้ว  "บุญกุศล"  เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้โดยอาศัยลายลักษณ์์อักษรเพราะ  "บุญกุศล"เป็นพฤติกรรมธรรมชาติที่แสดงออกจากธรรมญาณเดิมอันบริสุทธิ์ เป็นพฤติกรรมเดิมที่สอดคล้องกับหลักธรรมของฟ้าเบื้องบน  "บุญกุศล"  จะได้มา  เมื่อกระทำอย่างไม่เสแสร้ง กระทำโดยไม่คำนึงถึงผลบุญที่จะได้รับ  เดินตามมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)  อย่างสุขุมเยือกเย็น  เช่นนี้จึงเป็น "บุญกุศล" ที่แท้จริง
        ส่วนจิตใจที่คิดแต่จะรอรับผลบุญตอบสนอง ล้วนเป็นจิตที่เกิดจากความเพ้อฝันทั้งสิ้น เพราะความเพ้อฝันจึงทำให้โแมเดิมแห่งธรรมญาณที่บริสุทธิ์ไม่สามารถปรากฏออกมา  เพราะเวไนย ฯ  มีทิฐิ เห็นความแตกต่างกันระหว่าง อริยะกับปุถุชน  จึงมีคำว่า  "บุญกุศล"  เกิดขึ้น  เพราะฉะนั้น จิตใจที่ติดยึดในผลบุญ  จึงเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
        7.  ขอกราบเรียนถามเกี่ยวกับสายทองในวิถีอนุตตรธรรม

        @  พระพุทธจี้งกงตอบ

       ตั้งแต่โบราณกาลมา  วิถีอนุตตรธรรมมีพงศาธรรม (เชื้อสายแห่งธรรม)  ที่สืบทอดต่อกันมาระหว่างบรรพจารย์สู่อีกบรรพจารย์อย่างไม่ขาดสาย  ผู้มีธรรมย่อมเข้าถึง  จิตใครว่างก็ได้รับไป  ผู้ได้รับ  หมายถึงผู้ที่ได้รับเบิกจุดญาณทวารจากรพะวิสุทธิอาจารย์ กำราบจิตที่ฟุ้งซ่านให้หมดสิ้นไป  สำรวมปฏิบัติตามคุณธรรมแห่งธรรมญาณเดิมที่ฟ้่เบื้องบนประทานให้สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษย์ชาติ และประกาศสัจธรรมแทนฟ้าเบื้องบน หากเป็นเช่นนี้ สายทองก็เชื่อมโยงกันได้  แต่ถ้าไม่ชำระกิเลสภายในให้บริสุทธิ์ กระทำการโดยเห็นแก่ตัว อย่างนี้แม้จะอยู่ร่วมกับพระวิสุทธิอาจารย์ สายทองก็เชื่อมโยงกันมิได้  ธาตุทอง เป็นสัญลักษณ์ของทิศตะวันตก เป็นโลหะธาตุชนิดเดียวที่มีสีขาวในบรรดาโลหะธาตุทั้ง 5  สีขาวบ่งบอกถึงความสะอาด และความบริสุทธิ์นั่นก็หมายถึงการกระจ่างแจ้งในความบริสุทธิ์ของสภาวะเดิมแห่งธรรมญาณ  หลังจากที่เราได้รับวิถีธรรม ได้กระจ่างแจ้งในธรรมญาณเดิมแห่งตนแล้ว ลำดับต่อไปคือการเข้าถึงมวลเวไนย (ฉุดช่วยให้รับธรรม) ตลอดจนการบรรลุถึงที่สุดของความดี นั่นก็คือพุทธภูมิ  วิธีการบำเพ็ญแบบรู้แจ้งโดยฉับพลันสำคัญที่การบรรลุถึง "สูญญภาวะ" ซึ่งหาใช่พิธีการที่มีรูปลักษณ์หรือไม่  สูญญภาวะคือ มรรคาแห่งการหลุดพ้น ส่วนรูปลักษณ์ทั้งปวง คือเหตุปัจจัยแห่งเนื้อนาบุญ
        เมื่อเข้าใจในหลักธรรมนี้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องถามเกี่ยวกับสายทอง  ขอเพียงระบบขั้นตอนการดำเนินงานธรรม ไม่สับสนวุ่นวาย สายทองก็ยังเชื่อมต่อกัน  เหตุใดกฏพุทธระเบียบ  15 ข้อ จึงเป็นกฏพุทธระเบียบที่บัญญัติขึ้นเฉพาะกาล สิ่งเหล่านี้ควรนำไปพินิจพิจารณา เพราะการพินิจพิจารณาเป็นการ "สำนึกรู้"
        "ผู้สำนึกรู้คือพุทธะ  ผู้ที่ไม่พินิจพิจารณา ไม่สำนึกรู้คือเวไนย"  ความแตกต่างระหว่างพุทธะกับเวไนย ก็อยู่ที่สภาพจิตใจเท่านั้นเอง

        8.  ผู้ที่ตั้งปณิธานทานเจแล้วผิดต่อปณิธาน ไม่ทราบว่าเบื้องบนจะพิจารณาโทษสถานใด  ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        ฟ้าและดินคงไว้ซึ่งหลักสัจธรรม ตัดสินบาปบุญคุณโทษอย่างเที่ยงธรรม  เมื่อตั้งปณิธานทานเจแล้วผิดต่อปณิธาน  นอกจากความดีความชอบต่าง ๆ ที่เคยสร้างมาเท่ากับสูญเปล่าแล้ว ยังเป็นการทำลายชื่อเสียงของอาณาจักรธรรมอีก โทษที่ได้รับคือตกนรกอย่างไรก็ตาม จะมีการพิจารณาโทษตามสถานหนักเบาจากสาเหตุที่ผิดปณิธาน

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
       
        9.  ผู้บำเพ็ญที่ไปกราบไหว้ตามวัดวาอารามต่าง ๆ  หรือ ไหว้เจ้าที่เจ้าทาง มึความเกี่ยวพันกับวิถีอนุตตรธรรมอย่าางไร ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        การบำเพ็ญธรรมเป็นการบำเพ็ญจิต  ปุถุชนที่ยังไม่เข้าใจหลักธรรมอย่างถ่องแท้ย่อมหลงไปตามสภาพแวดล้อม น่าเป็นห่วงยิ่งนัก  การบำเพ็ญธรรม เป็นการบำเพ็ญจิตหล่อเลี้ยงธรรมญาณ กำจัดความคิดฟุ้งซ่าน ส่วนการกราบไหว้ เป็นการแสดงความเคารพ และรำลึกคุณต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในการบำเพ็ญธรรมนั้น  ศิษย์อนุตตรธรรมควรปฏิบัติตามพุทธระเบียบอย่างเคร่งครัด อย่าเหยียบเรือสองแคม หรือกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างงมงาย  เพราะฉะนั้น  การบำเพ็ญคือการบำเพ็ญ  การกราบไหว้ก็คือการกราบไหว้  หากความศรัทธาในวิถีธรรมไม่เปลี่ยนแปลง การกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะความเคารพนับถือจะไม่ได้เชียวหรือ ! 

        10.  เกี่ยวกับการทดสอบด้านทรัพย์สินเงินทอง จะอธิบายอย่างไร ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        การทดสอบด้านทรัพย์สินเงินทอง แบ่งออกเป็นการทดสอบครั้งใหญ่ และการทอสอบครั้งปลีกย่อย  เกี่ยวกับเงินทำบุญที่ได้รับจากการขอรับวิถีธรรมของเวไนย ฯ ว่าซื่อตรงหรือไม่นั้น  เป็นการทอสอบครั้งปลีกย่อย ส่วนทรัพย์สินของอาณาจักรธรรมเป็นการทดสอบครั้งใหญ่  เมื่อธรรมกิจได้ขยายกว้างไป ทรัพย์สินของอาณาจักรธรรมก็มีมากขึ้น ผู้มีความโลภย่อมคิดอยากได้มาครอบครอง จึงเกิดการแก่งแย่งอำนาจและแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ฉะนั้น  การช่วงชิงทรัพย์สินของอาณาจักรธรรมจึงจัดเป็นการทดสอบด้านทรัพย์สินครั้งใหญ่

        11.  ศรัทธาแบบมิจฉาเป็นอย่างไร  ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        คำว่า "มิจฉา"  นั้น ตรงกันข้ามกับคำว่า "สัมมา"   จิตศรัทธาทั้งมวลที่ไม่ได้บังเกิดจากจิตเดิมแท้อันเที่ยงตรงล้วนเป็นจิตศรัทธาแบบมิจฉา  อาทิ  จิตใจที่ฟุ้งซ่าานก็ดี  ความคิดเพ้อฝันก็ดี  ที่อยากเห็นปาติหาริย์ก็ดี  และจิตใจที่ฝังลึกอยู่กับการหลุดพ้นจากการเกิดการตายเฉพาะตนก็ดี   ล้วนเป็นจิตศรัทธาแบบมิจฉาที่โฉมหน้าเดิมแท้ยังไม่ปรากฏทั้งนั้น

        12.  ศรัทธาแบบโง่เขลาเป็นอย่างไร ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        ผู้ "โง่เขลา"  คือผู้ที่ "ไร้ปัญญา"   ซึ่งรู้แต่เพียงการกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่คิดแสวงหาสัจธรรม  และก็ไม่กระจ่างในหลักธรรม อีกทั้งยังไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของการบำเพ็ญธรรม หลับหูหลับตาคล้อยตามผู้อื่น  เป็นความเลื่อมใสที่จัดอยู่ในยานระดับต่ำ

        13 .  ศรัทธาแบบฉลาดแกมโกง เป็นอย่างไร ?       

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        ผู้ที่ฉลาดแกมโกง  คือผู้ที่อาศัยกลอุบายและเล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ  เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น  ไม่แสดงออกซึ่งปัญญเดิมอันประเสริฐ  อาศัยเพียงความฉลาดเฉลียวเฉพาะตน  สร้างบุญบังหน้ากระทำได้แม้กระทั่งยืมดอกไม้ของผู้อื่นมาบูชาพระ จึงทำให้ธรรมญาณเดิมแท้ไม่อาจปรากฏได้   

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
           14. ศรัทธาแบบเสแสร้งเป็นอย่างไร ?

        @   พระพุทธจี้กงตอบ

        คำว่า "เสแสร้ง"  คือ  "การแกล้งทำ"  ความศรัทธาทั้ง  4  ระดับ  ที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นพฤติกรรมที่สะท้อนจากจิตอันจอมปลอม เมื่อไม่ได้เกิดจากพุทธจิต  จึงเป็นจิตที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งสิ้น  การเสแสร้ง คือ ความไม่จริงใจ เมื่อไม่ใช่จิตแรกแล้ว ก้ย่อมเป็นจิตที่ผ่านการปรุงแต่ง เป็นจิตที่หวังจะอาศัยบารมีธรรมของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ใช้ความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาบังหน้า และเล่นละครเหมือนดั่งจริงเพื่อหลอกลวงผู้อื่น  เพราะฉะนั้นความศรัทธาแบบเสแสร้ง จึงจัดเป็นความศรัทธา ที่มีระดับต่ำที่สุดใน มหาศรัทธาทั้ง 8

             15.  ศรัทธาแบบกระจ่างแจ้ง

        @   พระพุทธจี้กงตอบ

        คำว่า "กระจ่างแจ้ง"  คือ  การรู้แจ้งในหลักธรรม ไม่มีจิตใจที่เป็นมิจฉา โง่เขลา  ฉลาดเแกมโกง และ เสแสร้ง  อย่างไรก็ตามแม้ความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้งจะยังไม่ถึงจุดสุดยอดของความดี แต่อย่างน้อยก็เป็นไปตามหลักทำนองคลองธรรม มีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีหลักการที่ชัดแจ้ง  รู้จักรักษาระเบียบวินัย อยู่ในหน้าที่ของตนโดยไม่ออกนอกลู่นอกทาง ไม่ข่มเหงผู้อื่น มีมโนธรรมสำนึกและยึดมั่นตามหลักสัจธรรม เช่นนี้เรียกว่า  ความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้ง

             16.  ศรัทธาแบบบรรลุถึง  คืออะไร ?

        @   พระพุทธจี้กงตอบ

        คำว่า "บรรลุถึง"  หมายถึง  การเข้าถึงหลักของความเป็นมนุษย์ และเป็นการเข้าถึงโดยอาศัยจิต  ความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้งที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นการกระจ่างแจ้งในธรรมญาณแห่งตน  ส่วนศรัทธาแบบบรรลุถึง  เป็นการปฏิบัติตนเพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นคนใหม่ ไม่ผิดต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่ผิดต่อหน้าที่การงาน ไม่ผิดต่อคุณธรรมของฟ้าดิน และไม่ผิดต่อสรรพสิ่ง มีเพียงจิตที่คิดจะช่วยผู้อื่น เสียสละตนเองเพื่อมนูษยชาติ

             17.   มหาศรัทธา  คืออะไร ?

        @   พระพุทธจี้กงตอบ

        คำว่า "มหา"  เป็นคำตรงกันข้ามกับคำว่า "หีน" (ฮีนะ)  ซึ่งเป็นความศรัทธาที่พัฒนาสูงขึ้น เหนือกว่าระดับความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้ง  มีความกลมเกลียวกันเพื่อนรอบด้านและความศรัทธาระดับนี้ ยังมีความกลมเกลียวสมานฉันท์กับทุกชนชั้น  ดังที่กล่าวว่า  "กล่าววาจาออกไปทั่วอาณาจักรโดยไม่ก่อวจีกรรม  ประพฤติ  ปฏิบัติทั่วปฐพี โดยไม่ถูกปรักปรำ  ฟ้าดินและสรรพสิ่งยังสามารถสัมผัสในบารมีธรรม เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน" เช่นนี้จึงเรียกว่า "มหาศรัทธา"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
             18.  สุดยอดแห่งความศรัทธาคือ อะไร ?

        @  พระพุทธจี้กงตอบ

        คำว่า "สุดยอด"  เป็นภาวะที่สูงสุด ความศรัทธาระดับนี้ สามารถร่วมคุณธรรมกับฟ้าดิน สามารถร่วมแสงสว่างกับตะวันเดือน สามารถร่วมเกณฑ์การผันแปรของฤดูกาลทั้ง 4   และยังสามารถร่วมความดีร้ายกับเทพ ผี  นอกจากนี้แล้ว สุดยอดแห่งความศรัทธายังมีความกลมเกลียวสมานฉันท์ในทุก ๆ เรื่อง และดำรงอยู่เหนือกาลเวลาทั้งในอดีตและในปัจจุบัน  ดังเช่น คัมภีร์มหาบุรุษ ที่กล่าวว่า "ให้ยุติที่ที่สุดแห่งความดี" หากไม่กระทำเช่นนี้ ก้จะบังเกิดรัศมีธรรมที่เปล่งประกายเจิดจ้า  ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ"  อันเป็นพุทธปฏิปทาอันประเสริฐสุด  สุดยอดแห่งความศรัทธานี้  ยังมีส่วนร่วมในการอุ้มชู และพัฒนาสรรพสิ่งภายใต้ฟ้าดิน เป็นการพรั่งพรูออกมาซึ่งสัญชาดญาณเดิมของมนุษย์ที่เรืองรองรุ่งโรจน์ที่สุด  สัญชาตญาณเดิมนี้ ได้ผสมผสานกลมกลืนอยู่ในอากาศธาตุทั่วจักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ผู้บรรลุสภาวะนี้ ภายในไร้ซึ่งตนเองที่จะฉุดช่วย ภานนอกก็ไร้ซึ่งผู้คนที่ต้องฉุดช่วย พุทธอริยเจ้าเรียกสภาวะนี้ว่า  "สภาวะที่ฟ้าดิน และสรรพสิ่งได้ผสานเป็นหนึ่งเดียว"

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม
              19.  การทานเจมีประโยชน์ต่อการบำเพ็ญธรรมอย่างไร ?

        @   พระพุทธจี้กงตอบ

        ประโยชน์ของการทานเจมีประโยชน์มากมายเหลือคณานับ แต่จะกล่าวอย่างง่าย ๆ อาทิ

       1.  การทานเจทำให้ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บมาคุกคาม และทำให้อายุยืนยาว ด้วยเหตุที่มนุษย์เป็นสัตว์ที่บริโภคพืชพันธ์ธัญญาหาร ร่างกายจึงเหมาะสำหรับทานเจ สังเกตุได้จากโครงสร้างฟันของมนุษย์ที่มีลักษณะราบเรียบ จัดเรียงอย่างมีระเบียบเหมือนกับลักษณะโครงสร้างฟันของวัวและแพะซึ่งจัดเป็นสัตว์บริโภคพืขผักเป็นอาหาร  ส่วนแมวและสุนัขนั้น มีฟันที่แหลมคม จัดเป็นสัตว์ที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นอาหหาร  ฉะนั้น เมื่อพิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย ประกอบกับโครงสร้างของฟันของมนุษย์แล้ว ก็รู้ได้ว่ามนุษย์ควรรับประทานอาหารประเภทใด  เฉกเช่นเดียวกับเลือกใช้น้ำมันรถยนต์ทั่ว ๆ ไป ที่ต้องใช้ให้เหมาะกับสภาพของรถยนต์ที่กำหนดไว้หากรถยนต์ชนิดนี้ กำหนดให้ใช้น้ำมันซุปเปอร์ก็ควรเติมน้ำมันซุปเปอร์  รถยนต์ชนิดนั้นกำหนดให้ใช้น้ำมันดีเชลก็ควรเติมน้ำมันดีเชล การใช้น้ำมันให้ถูกต้องและเหมาะสมตามสภาพของรถ จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ออกไปอีก
         สรุปแล้ว  การใช้ชนิดน้ำมันให้ถูกต้องตามสภาพของรถยนต์ มีอิทธิพลต่ออายุการใช้งานของรถยนต์ฉันใด  การบริโภคประเภทอาหารให้ถูกต้องก็มีอิทธิพลต่ออายุขัยของมนุษย์ฉันนั้น

       2.  การทานเจทำให้ไม่ก่อเหตุต้นผลกรรมจากการทำลายชีวิตสัตว์  โลกมนุษย์  คือโลกที่ประกอบด้วยเบญจธาตุ  (ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุทอง  ธาตุไม้ ) ที่อยู่ภายใต้วัฏจักรแห่งการตอบสนองของเหตุต้นผลกรรม ปลูกเหตุใดไว้  วัฏจักรของเบญจธาตุก็ผลักดันให้ได้รับในผลนั้นหรือที่เรียกว่าผลแห่งกรรม ซึ่งเป็นกฏแห่งจักรวาล

        3.  สามารถเสริมสร้างไอแห่งสภาวะหยัง เพราะกายธาตุของสัตว์เดรัจฉานมีสภาวะอิน เมื่อกินเข้าไปก็จะเป็นการสั่งสมไอที่เป็นสภาวะอินในร่างกายมนุษย์  แต่ทว่า อนุตตรธรรมซึ่งเป็นวิสุทธิภูมิ (แดนบริสุทธิ์)   ที่มีแต่ไอแห่งสภาวะหยัง มนุษย์ที่มีจิตญาณห่อหุ้มไปด้วยสภาวะอินจึงเข้าสู่แดนอนุตตรภูมิไม่ได้

        4.  ช่วยเสริมสร้างสติปัญญาในการทำงาน การกินเนื้อสัตว์ที่มีสภาวะอิน จะทำให้มีอุปนิสัยที่รุนแรง และมีอารมณ์ฉุนเฉียวเร่าร้อน ส่วนอาหารเจที่มีสภาวะหยังจะช่วยเสริมสร้างบุคคลิกภาพที่อ่อนโยน  มีสัมมาคารวะ  และรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน         

Tags: