collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: เต้าเต๋อจิง (道德經) ปรัชญาเหลาจื่อ (บัญชา ศิริไกร เรียบเรียง)  (อ่าน 12873 ครั้ง)

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
   
ชื่อหนังสือ  คัมภีร์เต๋า 道德经(เต้าเต๋อจิง)
ปรัชญาเหลาจื่อ
.
ISBN :  *
ผู้เขียน :  *
ผู้แปลและเรียบเรียง :  บัญชา ศิริไกร แปลและเรียบเรียง
ขนาดรูปเล่ม
จำนวน :  646 หน้า
ชนิดกระดาษ :  กระดาษปอนด์ ขาว
สำนักพิมพ์ :  สำนักพิมพ์ หจก. ป.สัมพันธ์พาณิชย์
เดือน/ปีที่พิมพ์ :  พิมพ์ครั้งที่ 1 / กันยายน 2538
จำหน่ายโดย :  ทันตกิจคลีนิก
ติดต่อ :  ทันตกิจคลีนิก 745/43-44 ถ.เพชรบุรี ประตูน้ำ ปากซอยเพชรบุรี 19 ราชเทวี กรุงเทพ 10400
โทร. 02-2529484, 02-2526297
ราคา :  250 บาท
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 15:54 โดย nakdham »

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
เต้าเต๋อจิง (道德经) : คำปรารภ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 13/03/2011, 12:19 »
คำปรารภ

          ในคัมภีร์เต้าเต๋อจิง กล่าวไว้ เต๋าคือเต๋า ไร้รูปไร้รอย มีหนึ่งจึงมีสอง มีดำจึงมีขาว มีดีจึงมีเลว เช่นนั้น เต๋าคืออะไร มนุษย์ถือกำเนิดเกิดมาก็มีเต๋าเป็นพืนฐานแห่งชีวิต เป็นเสมือนฐานรองรับ สรรพชีวิตทั้งมวล เป็นดั่งฟ้าห่มคลุมชีวิตถ้วนหน้า ทั้งหมดรวมเป็นตรัยมรรคหรือเต๋าทั้งสาม คือ มนุษยมรรค พสุามรรค และสวรรคมรรค ทั้งสามนี้รวมเรียกว่ามหามรรค เช่นนี้เต๋าคืออะไร การแสวงหาคำตอบแห่งเต๋าย่อมไม่มุ่งสู่สิ่งใดในตรัยมรรคหากมุ่งยังมหามรรคอันยิ่งใหญ่ เต๋าคืออะไร คำตอบย่อมอยู่ที่การปฏิบัติ เพราะเต๋าคือการกระทำโดยไม่กระทำและไม่กระทำในการกระทำ ดังนี้แหละคือเต๋า เต๋าคืออะไร ไม่มีคำตอบแห่งเต๋านอกเสียจากความเข้าใจในสมดุลแห่งธรรมนั่นแหละเต๋า

พระอรหันต์จี้กง
สมาคมเผยแผ่คุณธรรมจีจินเกาะกรุงเทพฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/07/2013, 18:26 โดย ติ๊กน้อย »

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
เต้าเต๋อจิง (道德经) : คำนำ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 13/03/2011, 12:29 »
คำนำ

          คัมภีร์เต้าเต๋อจิง หรือปรัชญาเต๋าของเหลาจื่อเล่มนี้ เป็นคัมภีร์ที่มีชื่อเสียงที่ชาวโลกให้ความสนใจมาก และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลกมากมายนับเป็นคัมภีร์อันดับสองรองจากคัมภีร์ไบเบิ้ล สำหรับในภาษาไทยก็มีผู้แปลอยู่หลายท่าน ซึ่งก็มักแปลเฉพาะตัวคัมภีร์เท่านั้น มีทั้งผู้แปลจากภาษาจีนโดยตรงและแปลจากภาษาอังกฤษอีกทอดหนึ่งก็มี แม้อ่านแล้วก็ไม่สามารถจะเข้าใจได้แจ่มแจ้ง เพราะตัวคัมภีร์เป็นภาษาโบราณ แม้จะแปลออกมาแล้วก็ยากที่คนรุ่นใหม่จะเข้าใได้ง่าย เพราะไม่ทราบว่าท่านหมายถึงอะไร ทำไมท่านจึงกล่าวออกมาเช่นนั้น ดังนั้นด้วยความอยากรู้ของข้าพเจ้า จึงได้เสาะแสวงหาคัมภีร์เต๋าที่เหล่าบรรพชนหลายยุคหลายสมัย รวมทั้งในยุคปัจจุบันก็๋มีนักปรัชญาหลายท่านได้ให้อรรถาธิบายถึงคัมภีร์เต๋าของท่านเหลาจื่อไว้อย่างละเอียดถึงความหายของตัวคัมภีร์ในแต่ละบทในแต่ละบรรทัด จึงทำให้ข้าพเจ้าพอเข้าใจได้บ้างตามภูมิปัญญาอันจำกัด

          นับตั้งแต่โบราณมาแล้วมนุษย์พยายามค้นหาความลึกลับและอำนาจของจักรวาล จึงได้เกิดความเชื่อต่างๆ จนพัฒนากลายเป็นศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ตลอจนพิธีกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะความถวิลหาที่จะเข้าใจจักรวาลนั่นเอง และต่อมาเมื่อโลกมีการพัฒนาขึ้น มนุษย์ก็ได้ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อที่จะเรียนรู้และตอบสนองต่อความอยากอันนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/07/2013, 18:25 โดย ติ๊กน้อย »

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
เต้าเต๋อจิง (道德经) : บทนำ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 5/07/2011, 10:21 »
บทนำ

          X
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/07/2013, 18:26 โดย ติ๊กน้อย »

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
เต้าเต๋อจิง (道德经) : สารบัญ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 5/07/2011, 10:27 »
สารบัญ

คำนำ
บทนำ

ภาคที่ 1
                บทที่ 1   กำหนดความหมาย
                บทที่ 2   องค์คุณแห่งเต๋า
                บทที่ 3   สมุฏฐาน
                บทที่ 4   คุณประโยชน์
                บทที่ 5   มัชฌิมารักษ์
                บทที่ 6   สัญลักษณ์
                บทที่ 7   มิใช่เพื่อตนเอง
                บทที่ 8   ดุจดั่งน้ำ
                บทที่ 9   รักษาความปกติ
                บทที่ 10   คุณธรรมล้ำลึก
                บทที่ 11   ความว่างเปล่าตรงกลาง
                บทที่ 12   เพื่อท้อง
                บทที่ 13   การโปรดเกล้าและความอัปยศ
                บทที่ 14   กฎแห่งเต๋า
                บทที่ 15   ไม่เต็มเปี่ยม
                บทที่ 16   การคืนสู่ชีวิต
                บทที่ 17   การปกครอง
                บทที่ 18   เห็นสัจธรรม
                บทที่ 19   สู่ความเรียบง่าย
                บทที่ 20   กินแม่
                บทที่ 21   เชื่อตามเต๋า
                บทที่ 22   รักษาหนึ่ง
                บทที่ 23   เหมือนกับเต๋า
                บทที่ 24   ไม่ตั้งอยู่
                บทที่ 25   ว่าเต๋า
                บทที่ 26   สัมภาระหนัก
                บทที่ 27   การรู้แจ้ง
                บทที่ 28   คุณธรรมปกติ
                บทที่ 29   ระวังตัว
                บทที่ 30   การสงคราม
                บทที่ 31   มงคลซ้าย
                บทที่ 32   รู้หยุด
                บทที่ 33   ที่สุดแห่งตน
                บทที่ 34   สำเร็จยิ่งใหญ่
                บทที่ 35   รูปลักษณ์ยิ่งใหญ่
                บทที่ 36   สลัวราง
                บทที่ 37   ไม่มุ่งหวัง

ภาคที่ 2
                บทที่ 38   คุณธรรมสว่าง
                บทที่ 39   รู้ตน
                บทที่ 40   วัฏฏะ
                บทที่ 41   ได้ฟังเต๋า
                บทที่ 42   ละมุนละไม
                บทที่ 43   ความอ่อนโยน
                บทที่ 44   รู้จักหยุด
                บทที่ 45   ความบริสุทธิ์สงบ
                บทที่ 46   พอเสมอ
                บทที่ 47   รู้เห็น
                บทที่ 48   เสียประโยชน์
                บทที่ 49   คุณธรรมความดี
                บทที่ 50   การเกิดการตาย
                บทที่ 51   เทิดทูนยกย่อง
                บทที่ 52   รักษ์แม่
                บทที่ 53   ทางใหญ่
                บทที่ 54   สร้างความดี
                บทที่ 55   เด็กทารก
                บทที่ 56   คุณค่าของเต๋า
                บทที่ 57   การปกครอง
                บทที่ 58   การปกครองเข้มงวด
                บทที่ 59   ชีวิตยืนยาว
                บทที่ 60   การปกครองประเทศใหญ่
                บทที่ 61   วางตนต่ำ
                บทที่ 62   ความลึกลับของเต๋า
                บทที่ 63   ไม่มีความลำบาก
                บทที่ 64   ช่วยเหลือสรรพสิ่ง
                บทที่ 65   ราบรื่น
                บทที่ 66   ที่ต่ำ
                บทที่ 67   แก้วสามประการ
                บทที่ 68   ไม่แก่งแย่ง
                บทที่ 69   การทหาร
                บทที่ 70   สงสารโลก
                บทที่ 71   ไม่ป่วย
                บทที่ 72   กลัวอำนาจ
                บทที่ 73   ตะข่ายฟ้า
                บทที่ 74   ช่างไม้
                บทที่ 75   คุณค่าชีวิต
                บทที่ 76   อ่อนนุ่ม
                บทที่ 77   เกาทัณฑ์
                บทที่ 78   คุณธรรมน้ำ
                บทที่ 79   สัญญา
                บทที่ 80   ประเทศเล็ก
                บทที่ 81   ไม่สะสม

ภาคผนวก

บทสรุป  ระบบพัฒนาปรัชญาเหลาจื่อ
บรรณานุกรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/07/2013, 18:27 โดย ติ๊กน้อย »

ออฟไลน์ tik

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
บทที่ 1 (第一章) กำหนดความหมาย

道德經:   
道可道,非常道。
名可名,非常名。
無名天地之始;有名萬物之母。
故常無欲,以觀其妙;常有欲,以觀其徼。
此兩者,同出而異名,同謂之玄。
玄之又玄,衆妙之門。

เต๋าที่กล่าวได้   มิใช่เต๋าอันแท้จริง
นามที่เรียกได้   มิใช่นามอันแท้จริง
ความไม่มี   ได้ชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งฟ้าดิน
ความมี   ได้ชื่อว่าเป็นมารดาแห่งสรรพสิ่ง
เมื่อไม่มี   อยากให้พิจารณาถึงความแยบยลนั้น
เมื่อมี   อยากให้พิจารณาถึงที่สุดนั้น
ทั้งสองสิ่งนี้   มาจากแหล่งเดียวกัน 
ชื่อต่างกัน   กล่าวได้ว่าลึกล้ำ
ลึกล้ำยิ่งลึกล้ำ   เป็นประตูแห่งความมหัศจรรย์ทั้งมวล


จุดมุ่งหมาย :
     อักษรที่มีอยู่ ไม่สามารถแสดงความหมายออกมาได้หมด ภาษาที่ใช้กันอยู่ก็ไม่สามารถที่จะอธิบายได้แจ่มแจ้งทั้งหมด เช่นกัน ทั้งนี้เพราะทั้งตัวอักษาและภาษาที่ใช้อยู่มีจำนวนจำกัด หากเป็นหลักธรรมง่ายๆ ก็สามารถที่จะใช้อักษรมาอธิบายได้ แต่เต๋ายิ่งใหญ่ที่ครอบคุลมทั้งจักรวาลไม่มีรูปลักษณ์ มองดูไม่เห็น ไม่มีสำเนียง ฟังดูก็ไม่ได้ยิน องค์อันแท้จริงก็ลูบคลำสัมผัสไม่ได้ และไม่แปรเปลี่ยนนิจนิรันดร์อีกด้วย จึงทำให้ไม่สามารถใช้อักษรและภาษามาบรรยายให้เข้าใจได้ อันหลักธรรมทั่วไปยังสามารถตั่งชื่อให้เรียกขานได้ แต่องค์แท้แห่งเต๋า ยากที่จะตั้งชื่อมาเรียกขานได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อต้องการเข้าใจเต๋ายิ่งใหญ่ ก็ต้องไม่ยึดถือในอักขระและภาษา แต่ต้่องอาศัยมโนจิตไปหยี่งรู้ถึงมัน มิฉะนั้นก็จะหลงอยู่ตลอดกาลจนไม่รู้จักตื่น เมื่อเข้าใจเหตุผลเช่นนี้แล้ว ก็สามารถที่จะคุยกันถึงสภาวะของฟ้าดิน สรรพสิ่งและการเกิดขึ้นได้

     เมื่อเริ่มมีฟ้าดินในระยะแรก สรรพสิ่งในโลกยังไม่เกิดขึ้น สภาวะเช่นนี้กล่าวได้ว่าเป็น "ความไม่มี" 
ความไม่มีนี้เป็นองค์แท้ของเต๋า และเต๋านี้ก็เป็นบ่อเกิดของจักรวาล
เมื่อเต๋ามีปฏิกิริยาเกิดขึ้น สรรพสิ่งก็เกิดขึ้นตามๆ กันมา
เมื่อสรรพสิ่งเกิดขึ้น รูปลักษณ์ก็มีขึ้น ก็กล่าวได้ว่าเกิด "ความมี"
ความมีนี้เป็นองค์คุณแห่งเต๋า ดังนั้นเมื่อย้อนถึงฟ้าดินในระยะเริ่มแรกซึ่งเป็น "ความไม่มี" ก็พอจะเข้าใจถึงองค์เต๋าอันละเมียดละไมได้ แต่พอคิดถึงบ่อเกิดของสรรพสิ่งซึ่งเป็น "ความมี" ก็จะสามารถเข้าใจถึงองค์คุณแห่งเต๋าว่ากว้างใหญ่ไพศาลยิ่ง "ความไม่มี" และ "ความมี" นั้น อันหนึ่งเป็นองค์แท้ของเต๋า ส่วนอีกอันเป็นกริยา(องค์คุณ) ของเต๋า ซึ่งทั้งสองล้วนมาจากเต๋า แต่เรียกขานต่างกันไป จึงนับว่ามีความลึกล้ำ ลึกล้ำยิ่งกว่าความลึกล้ำอีก นี่แหละคือบ่อเกิดของจักรวาล คือ "เต๋า" นี่แหละ

ถอดความ :
“เต๋าที่กล่าวได้มิใช่เต๋าอันแท้จริง” เต๋านี้มี ความหมายถึงธาตุอันเป็นบ่อเกิดของจักรวาล เกี่ยวกับธาตุของจักรวาล นักปรัชญาชาวกรีกโบราณบ้างบอกว่าเป็นน้ำ บ้างบอกว่าเป็นไฟ บ้างก็ บอกว่าเป็นอากาศ นักหยินหยางศาสตร์ของจีนบอกว่า เป็นธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ธาตุทอง (โลหะ) ไม้ น้ำ ไฟ และดิน แต่เหลาจื่อ บอกว่าเป็น “เต๋า” (จะพบได้ในบทที่ 4, 21 และ 25)

คำว่า “เต๋าที่แท้จริง” คือ เต๋าที่ปราศจากการแปรเปลี่ยน ตลอดกาล

“นามที่เรียกได้ มิใช่นามอันแท้จริง”
“นาม” หมายถึงชื่อที่ พูดถึงองค์เต๋าอันแท้จริง “นามอันแท้จริง” หมายถึงชื่อที่ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง เต๋าของท่านเหลาจื่อหมายถึงหลักธรรมที่คลอบคลุมถึง บ่อเกิด การเกิดการเจริญเติบโต การแปรเปลี่ยน และการคืนกลับของ จักรวาลซึ่งมีความแยบยลมากจนไม่อาจใช้อักษรและภาษามาอธิบายได้ แต่ไม่กล่าวถึงก็ไม่ได้ จึงได้ลิขิตคัมภีร์ไว้ให้ เช่นเดียวกับสภาวะอันสุด ยอดในพุทธศาสนาก็ “พูดไม่ได้” เช่นกัน เป็นปัจจะดัง (รู้ด้วยตัวเอง) ยอดในพุทธสุคตเจ้าประชุมสงฆ์อยู่บนเขาคิฌชกูฏ ได้เด็ดอกไม้แสดงต่อ หน้าที่ชุมนุมสงฆ์ ขณะนั้นสงฆ์ทุกรูปด่างสงบเงียบ มีแต่พระมหากัสปะ เถรเจ้าแย้มสรวลเท่านั้น การแสดงดอกไม้ของพระสุคตโดยไม่มีคำอธิบาย แต่ท่านมหากัสสปะกลับบรรลุในธรรมได้แต่ยิ้มเท่านั้น ไม่ต้องใช้ภาษา อธิบาย เพราะการใช้ภาษาแสดงลักษณะ กลับทำลายลักษณะแท้จริงได้ เมื่อมีกิ่งแซมขึ้นข้าง ๆ ก็ทำให้กิ่งไม้ที่มีอยู่สูญเสียความเป็นกลางไป พุทธศาสนาฝ่ายเซ็นกล่าวว่า “การพูดทำให้สิ่งหนึ่งขาดความเป็นกลางได้” ซึ่งก็เป็นหลักธรรมเดียวกัน ท่านเหลาจื่อเมื่อแต่งคัมภีร์ก็เกรงว่า อักษรทั้งหมดจะเป็นเต๋าไป จึงได้อธิบายไว้ในบทแรกเพื่อกำหนด ความหมาย จะได้ไม่ไปยึดติดกับตัวอักษร เพราะอักษรทั้งหมด มิใช่ “เต๋าแท้” เป็นเพียงสะพานให้ก้าวข้ามไปสู่ “เต๋าแท้” เท่านั้น อันที่จริง แล้ว แม้แต่ตำราที่มีอยู่ ก็ไม่ควรยึดถือในตัวหนังสือนัก ท่านเมิ่งจื่อ กล่าวว่า “ถ้าเชื่อหนังสือทั้งหมด สู้อย่ามีหนังสือจะดีกว่า” ตอนหนึ่ง ในโอวาทของท่านหยุ่ยหนันจื่อระหว่างช่างไม้ทำกงล้อกับท่านฮ้วงกง สนทนากันกล่าวไว้ดังนี้

ช่างไม้ : ท่านอ่านหนังสืออะไร
ฮ้วงกง : อ่านหนังสือของนักปราชญ์
ช่างไม้ : นักปราชญ์คนนั้นอยู่ที่ไหน
ฮ้วงกง : ตายไปนานแล้ว
ช่างไม้ : ถ้างั้น หนังสือที่ท่านอ่านก็คือ กากเดนของนักปราชญ์
ฮ้วงกง : ข้ากำลังอ่านหนังสือ เจ้าเป็นแค่ช่างไม้กล้าพูดเหน็บ แนมข้า เจ้าจงพูดเหตุผลมา หาไม่แล้วข้าจะเอาชีวิต เจ้าเสีย
ช่างไม้ : ถูกแล้ว ข้าพเจ้ามีเหตุผล เอาเรื่องการทำล้อของข้าพเจ้าเป็นตัวอย่าง อย่างเช่น ขวานที่จามลงไปใน จังหวะที่เร็วเกินไปจะรู้สึกยาก บางทีก็ฟันไม่เข้า จังหวะที่จามค่อยไปแม้รู้สึกเบาสบาย ก็ทำไม่ได้ดี จะต้องมีจังหวะที่ไม่เร็วไม่ช้า มีใจที่จดจ่อที่มือ จึงจะ ถึงสภาวะที่แยบคาย ในสภาวะเช่นนี้ข้าพเจ้าไม่มี ปัญญาถ่ายทอดให้ลูก ลูกของข้าพเจ้าก็ไม่มีปัญญา เรียนถึงได้ ขณะนี้ข้าพเจ้าอายุ 70 ปีแล้ว ก็ยังต้อง ทำกงล้อด้วยตนเอง คำพูดของนักปราชญ์ก็เช่นเดียวกัน รูปลักษณ์แท้จริงบอกไม่ถูก ที่ถูกนักปราชญ์ก็พาไปที่ หลุมศพหมดแล้ว ที่เหลือเอาไว้ก็เป็นเพียงแต่กากเดน เท่านั้น

ความหมายของโอวาทนี้ หมายถึง ของที่แท้จริง ไม่สามารถใช้ ภาษาและอักษรแสดงออกมาได้ หากสามารถใช้ภาษาและหนังสือแสดง ออกมาได้ นั่นก็มิใช่ของที่แท้จริง ท่านเหลาจื่อจึงพูดว่า เต๋าที่กล่าวได้ มิใช่เต๋าที่แท้จริง นามที่เรียกได้ มิใช่นามที่แท้จริง มีบทความบทหนึ่งของ ท่านปราชญ์ซูตงปอ ยกตัวอย่างที่เขาเล่าว่า “มีคนตาบอดแต่กำเนิด คนหนึ่ง เที่ยวถามชาวบ้านว่า ดวงอาทิตย์มีลักษณะอย่างไร มีบางคน บอกเขาว่าเหมือนฆ้อง เมื่อเขาตีฆ้องก็จำเสียงได้ ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อ เขาได้ยินเสียงฆ้องก็เข้าใจว่ามันเป็นเสียงของดวงอาทิตย์ ต่อมาก็มี คนบอกเขาว่า แสงของดวงตะวันก็เหมือนแสงของเทียน เขาก็คลำดู แท่งเทียนไข ต่อมาเขาคลำถูกต้นของต้นข้าวสั้น ๆ ต้นหนึ่ง เขาก็เข้าใจว่านั่นคือดวงอาทิตย์” รูปลักษณ์ของดวงอาทิตย์ทุก ๆ คนก็เคย เห็น แต่เมื่อใช้ภาษาอธิบายให้กับคนที่ไม่เคยเห็นฟัง สุดท้ายก็เหมือน เสียงฆ้องบ้าง แสงเทียนบ้าง เช่นนี้เป็นต้น เต๋อยู่เหนือรูปลักษณ์ ไม่ว่า ใครก็ไม่เคยเห็น ยากยิ่งกว่ารู้จักดวงอาทิตย์เสียอีก หากใช้ภาษามาอธิบาย ก็ยังไม่รู้ว่าจะผิดพลาดไปถึงไหน

“ความไม่มี ได้ชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งฟ้าดิน
ความมี ได้ชื่อว่าเป็นมารดาแห่งสรรพสิ่ง”

สองประโยคนี้หมายถึง การเริ่มต้นของฟ้าดินเป็น “ความไม่มี” และการเริ่มต้นของสรรพสิ่งเป็น “ความมี” คำว่า “ความไม่มี ความมี ฟ้าดิน สรรพสิ่ง” มีความสัมพันธ์กันอย่างไร “ความไม่มี” เป็นองค์ของ เต๋า “ความมี” เป็นองค์คุณของเต๋า ความไม่มีและความมีต่างก็เป็น แต่ละด้านของเต๋า ท่านเหลาจื่อกล่าวว่า “สรรพสิ่งในโลกนี้เกิดจาก ความมี ความมีเกิดจากความไม่มี” (บทที่ 40) จะเห็นว่า “ความไม่มี” อยู่เหนือกว่า “ความมี” บทที่ 5 : “ฟ้าดินไร้เมตตา เอาสรรพสิ่งเป็น สุนัขหุ่นฟาง” บทที่ 39 : “ในอดีตสิ่งที่ได้เป็นหนึ่ง ฟ้าเป็นหนึ่งได้ด้วย ความใสสะอาด ดินเป็นหนึ่งได้ด้วยความสงบ......... สรรพสิ่งเป็นหนึ่ง ได้ด้วยการเกิด” จะเห็นว่า ฟ้าดินมีฐานะสูงกว่าสรรพสิ่ง เรียงลำดับ จาก ฐานะสูงไปยังฐานะต่ำกว่าดังนี้ ความไม่มีความมีฟ้า ดิน สรรพสิ่ง ประโยคนี้เมื่อสมัยก่อนอ่านกันดังนี้ “ไม่มี (ไร้) นามเป็นบ่อเกิดแห่ง สรรพสิ่ง มีนามเป็นมารดาแห่งสรรพสิ่ง” ต่อมาท่าน ซือหม่ากวง หวังอันสือ และซูซซื้อ ค่อยเปลี่ยนมาอ่านว่า “ความไม่มีได้ชื่อว่าเป็น บ่อเกิดแห่งฟ้าดิน ความมีได้ชื่อว่าเป็นมารดาแห่งสรรพสิ่ง” ความหมาย ของ “ความไม่มี” “ความมี” มีความลึกล้ำกว่า "ไม่มีนาม” “มีนาม”

“เมื่อไม่มี อยากให้พิจารณาความแยบยลนั้น
เมื่อมี อยาก ให้พิจารณาถึงที่สุดนั้น”

 “เมื่อไม่มี” จึงเป็นการพูดถึงการเริ่มต้นของฟ้าดินที่เกิดจาก “ความไม่มี” และ “เมื่อมี” ก็เป็นการพูดถึงการเริ่มต้นของสรรพสิ่ง เกิดจาก “ความมี” ทั้งสองคำชี้ให้เห็นถึง “ความแยบยล” ที่ลึกล้ำ คำว่า “ที่สุด” ท่านหวังนี้ยังหมายถึง “การคืนกลับ” ท่านวิสุทธิเทพหลือโจ้ว หมายถึงที่กว้างใหญ่ไร้ขอบเขต “พิจารณาความแยบยล” คือการดู ความแยบยลขององค์เต๋า หมายถึง การอยู่ตรงกลางขององค์ธรรมนั้น การที่เราจะพิจารณาองค์ธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงได้นั้น เราต้องให้ใจอยู่ตรงกลางเสียก่อน หมายความว่า ใจของเราต้องปราศจาก ความยินดี ความโกรธ ความเศร้า และความสุข เสียก่อน เมื่อไม่มีสิ่ง ภายนอกเข้ามารบกวน ความอยากภายในก็ไม่เกิด องค์ธรรมก็จะ สว่างไสว คุณธรรมทั้งหลายก็จะเจริญขึ้น การพิจารณาสิ่งต่าง ๆ จึง ถูกต้อง

“พิจารณาถึงที่สุด” ที่สุดคือจุดสุดท้ายของเรื่องราวทั้งหลายที่ เกิดขึ้น พิจารณาถึงที่สุด คือความสามารถเห็นเรื่องราวทั้งหมดจนเข้าใจ ถึงที่สุดแล้ว การสนองตอบต่อธุระต่าง ๆ จึงไม่ผิดพลาด กิจทั้งหลายก็ เป็นไปอย่างเหมาะสม

ดังนั้น “ความแยบยล” จึงหมายถึงใจกลางขององค์ธรรม

“ที่สุด” จึงหมายถึงเรื่องราวทั้งหมด

“เมื่อไม่มี” ก็ให้พิจารณาถึงความละเมียดละไมขององค์เต๋า และ “เมื่อมี” ก็ให้พินิจพิจารณาถึงองค์คุณของเต๋าว่ามีความยิ่งใหญ่ไร้ ขอบเขตเพียงใด ชาวโลกขณะที่ไม่มีธุระไม่มีเรื่องราว หากสามารถเฝ้า พิจารณาความแยบยลนั้น และขณะมีธุระเรื่องราวก็ให้อยู่ที่สุดตลอดเวลา เมื่อเป็นเช่นนี้ได้ก็จะเป็นปราชญ์ตลอดกาล ถ้าหากไม่พบตนเองอยู่ตรง กลางและไม่อยู่ที่สุดของธุระเรื่องราวได้ก็เป็นปุถุชน ดังนั้นการเป็นปราชญ์ หรือปุถุชนจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการพิจารณาความแยบยลและที่สุดนั้นว่าทำได้หรือไม่ แต่ก็มีคนอ่านสองประโยคว่าดังนี้ “เมื่อไม่มีอยาก ให้พิจารณาความแยบยลนั้น เมื่อมีอยาก ให้พิจารณาถึงที่สุดนั้น” ถ้าอ่านแบบนี้แล้วมันจะขัดกัน อาทิเช่น ท่านเหลาจื่อสอนให้คนลดความ อยากเป็นประการที่หนึ่ง เมื่อมีอยากแล้วจะพิจารณาถึงที่สุดนั้นได้อย่างไร เป็นประการที่สอง บทที่หนึ่งซึ่งเป็นบทที่อธิบายถึงองค์ของเต๋า (ความ ไม่มี) และองค์คุณของเต๋า (ความมี) เป็นประการที่สาม ดังนั้นคำว่า “เมื่อไม่มีอยากและเมื่อมีอยาก” ไม่มีความหมายที่ลึกซึ้งแต่อย่างไร แต่คำว่า “ความไม่มี ความมี” มาจากเต๋าแหล่งเดียวกันแต่ชื่อต่างกัน ทั้งความไม่มีและความมีต่างก็ไม่มีรูปลักษณ์ แต่ก็สามารถให้กำเนิดฟ้า ดินและสรรพสิ่งที่มีรูปลักษณ์ได้ เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่ามีความลึกล้ำยิ่ง ล้ำลึก

“ทั้งสองสิ่งนี้ มาจากแหล่งเดียวกัน
ชื่อต่างกัน กล่าวได้ว่า ลึกล้ำ"

ทั้งสองสิ่งนี้ หมายถึง “เต๋า” ที่กล่าวไม่ได้ และ “นาม” ที่ เรียกไม่ได้ ประการหนึ่ง “ความไม่มี” และ “ความมี” อีกประการหนึ่ง ทั้งสองสิ่งดังกล่าวแม้จะมีชื่อต่างกันแต่มีคุณสมบัติเหมือนกัน ทั้งสองสิ่ง นี้ไม่ว่าจะปรากฏให้เห็น ณ ที่ใด ล้วนเกี่ยวข้องกัน ด้วยอันหนึ่งเป็น “องค์ธรรม” อีกอันหนึ่งเป็น “องค์คุณ” จึงต้องเรียกอันหนึ่งว่า “เต๋า” อีกอันหนึ่งเรียกว่า “เต๋อ” แม้จะมีชื่อเรียกต่างกัน แต่ทั้งสองสิ่งก็มีมูล กำเนิดจากรากฐานเดียวกันคือ มีแหล่งกำเนิดเดียวกัน จึงกล่าวได้ว่า ลึกล้ำ

“ลึกล้ำยิ่งล้ำลึก เป็นประตูแห่งความมหัศจรรย์ทั้งมวล”
คำว่าลึกล้ำหมายถึงความละเมียดละไม ดังนั้น ลึกล้ำยิ่งล้ำลึกจึงหมายถึง ความละเอียดอ่อนที่ละมุนละไมจนถึงที่สุด อันหมายถึง “เต๋า” นั่นเอง ซึ่ง “เต๋า” เป็นบ่อเกิดแห่งสรรพสิ่งสรรพธรรมนั่นเอง จึงเป็นประตูแห่งความมหัศจรรย์ทั้งมวล

ความสำคัญ : บทที่หนึ่งนี้ให้ความกระจ่างแจ้งในองค์และ องค์คุณของ “เต๋า” เหลาจื่อสอนเป็นอันดับแรกไม่ให้มนุษย์ติดยึดในตัว อักษร คำพูด นามและรูป เพื่อจะได้ไม่หลงทาง ท่านพูดถึงรูปพรรณ สัณฐานของจักรวาลเป็น “ความไม่มี” จาก “ความไม่มี” นี้จึงเกิด ฟ้าดิน จากฟ้าดินจึงเกิดสรรพสิ่ง จนกลายเป็นรูปลักษณ์ร้อยแปดพัน ประการอย่างบนโลกนี้ ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติวิทยาที่อธิบายถึง ความเป็นไปแห่งฟ้าดินและสรรพสิ่ง โดยมีเหตุมีผล ภายหลังจึงไล่เรียง จากรูปลักษณ์ร้อยแปดพันประการอย่างนี้ ย้อนขึ้นไปสู่บ่อเกิดเริ่มต้น คือ “ความไม่มี” และ “ความมี” แล้วจาก “ความไม่มีและความมี” ย้อน ไปสู่ความเริ่มต้นของจักรวาล...เต๋า

ในความคิดของท่านเหลาจื่อ องค์กรที่เกี่ยวพันนี้ “เต๋า” มี ความสำคัญสูงสุด เพราะเต๋าไม่เพียงแต่เป็นต้นกำเนิดของฟ้าดินและ สรรพสิ่งเท่านั้น เต๋ายังมีกฎเกณฑ์ของการเปลี่ยนแปลง การเจริญเติบโต ของสรรพสิ่ง ตลอดจนการคืนกลับของสรรพสิ่งฟ้าดิน ด้วยเหตุนี้ไม่ว่า เราจะจัดแบ่งปรัชญาของเหลาจื่อเป็นกี่ประเภทก็ตาม อาทิเช่น เรื่องของ จักรวาลชีวิตมนุษย์ การบำเพ็ญและการบำรุง การศึกษา และการ ปกครองเป็นต้น เต๋าก็ยังคงเป็นตัวนำที่สูงสุด ในบทนี้ ถึงแม้จะไม่ได้พูด ถึงเต๋า แต่ก็ได้แนะนำองค์และองค์คุณของเต๋า ก็คือ “ความไม่มี” และ “ความมี” ซึ่งต่างก็เป็นด้านหนึ่งของเต๋า และต่างก็ไม่มีรูปลักษณ์ พูดถึง ระดับ “ความไม่มี” มีระดับสูงกว่า “ความมี” เห็นได้จากบทที่ 41 “สรรพสิ่งในโลกเกิดจากความมี ความมีเกิดจากความไม่มี”

“เต๋า” และ “ความไม่มี” เป็นอักษรที่ใช้แสดงความหมาย เป็นองค์หลักของจักรวาล ท่านเหลาจื่อเป็นผู้ค้นพบถึงความสุดยอดของ เต๋า และต้องการเผยแผ่ให้คนได้เข้าใจและปฏิบัติตาม เพราะเต๋านี้ไร้ทั้งรูปลักษณ์และลึกซึ้งแยบยล การที่จะใช้อักษรเต๋เพียงตัวเดียวมาอธิบาย ให้เข้าใจเป็นสิ่งทำได้ยาก ท่านจึงใช้อักษรอีกตัวคือ “ความไม่มี” มาช่วย โดยให้นิยามว่า “สรรพสิ่งในโลกนี้เกิดจากความมี ความมีเกิดจาก ความไม่มี” อุปมาเหมือนเด็กทารกที่เกิดมาในโลก เริ่มแรกต้องเกิดจาก มดลูก และลูกก็เกิดจากความไม่มีในหนึ่งขณะจิตของพ่อแม่ สรรพสิ่งใน โลกนี้ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยเกิดจากความไม่มีมาก่อน ท่านจึงให้ เต๋าและความไม่มีเป็นสิ่งเดียวกัน

เต๋าจึงเป็นหลักของจักรวาล หากมนุษย์ทำงานสอดคล้องตาม หลักของเต๋าก็จะเป็นปกตินิสัยตามธรรมชาติ ทำให้สังคมที่เกิดขึ้นมีความ สันติสุข หากมนุษย์ฝืนหลักของเต๋า ฝืนต่อภาวะปกติ ทำให้สังคมวุ่นวาย การที่มนุษย์จะสามารถคล้อยตามหรือฝืนต่อเต๋จะมีผลกระทบกระเทือน ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวง ในทางร้ายกาจจะนำออกนอกลู่นอกทาง ได้อย่างไกลทีเดียว สิ่งเหล่านี้มิใช่สิ่งที่คนปกติธรรมดาจะเข้าใจได้โดยง่าย จึงทำให้ผู้รู้ถึงกับถอนหายใจจนอดที่จะสงสารมนุษยชาติที่จิตดีงามของ เขาถูกครอบคลุมจนมืดมิด หากมนุษย์สามารถคล้อยตามหลักธรรมซึ่ง การคล้อยตามจิตเป็นการคล้อยตามหลักธรรมสวรรค์เช่นนี้แล้ว ฟ้าดินก็ จะเริ่มแผ่ความสงบมาสู่คน จิตคนและหลักธรรมจึงจะรวมเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันแบ่งแยกกันไม่ได้ ซึ่งเป็นการยืนยันถึงความเป็นกายเดียวกัน ตั้งแต่เริ่มแรกของคนและเบื้องบน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/01/2025, 11:22 โดย nakdham »

ออฟไลน์ nakdham

  • Admin
  • มิตรนักธรรม
บทที่ 2 (第二章) องค์คุณแห่งเต๋า
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 10/01/2025, 22:53 »
บทที่ 2 (第二章) องค์คุณแห่งเต๋า

天下皆知美之為美,斯惡已。
皆知善之為善,斯不善已。
故有無相生,難易相成,長短相較,高下相傾,音聲相和,前後相隨。
是以聖人處無為之事,行不言之教;
萬物作焉而不辭,生而不有。
為而不恃,功成而弗居。
夫唯弗居,是以不去。

คัมภีร์ :
โลกนี้ล้วนรู้ ความงามเพื่อความงาม จึงเลวร้าย
ล้วนรู้ ความดีเพื่อความดี จึงไม่ดี
ดังนั้น มีกับไม่มี เกิดขึ้นพร้อมกัน
ยากกับง่าย สำเร็จร่วมกัน
ยาวกับสั้น เปรียบเทียบกัน
สูงกับต่ำ วัดระดับกัน
ทำนองกับเสียง ผสานกัน
หน้ากับหลัง ติดตามกัน

นักปราชญ์ กระทำโดยไม่มุ่งหวัง
ดำเนินการสอนโดยไม่พูด
สรรพสิ่ง ดำเนินไปโดยไม่ปฏิเสธ
ให้เกิดโดยไม่ครอบครอง
มุ่งหวังโดยไม่พึ่งพิง
สำเร็จโดยไม่อาศัย
ผู้ไม่อ้างอิง จึงไม่สลายไป
เพราะบุคคลนิยมไม่อ้างอิง ดังนั้นจึงไม่สลายไป

จุดมุ่งหมาย :
ในบทที่หนึ่งได้กำหนดความหมายขององค์เต๋า บทที่สองเป็นบทต่อเนื่องกันมา โดยเป็นบทที่พูดถึงองค์คุณของเต๋า เพราะไม่ว่าการกระทำอะไรก็ตามย่อมต้องมาจากองค์ของเต๋า จึงจะนับว่า เป็นการเจริญขึ้นอย่างปกติ หากการกระทำเกิดขึ้นโดยปราศจากองค์เต๋า แม้จะทุ่มเทจิตใจให้ต่อการเจริญของงานนั้นก็ตาม ก็จะเหมือนต้นไม้
ปราศจากรากและขาดน้ำ แม้จะพอใจในชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ในที่สุดกิ่ง และใบก็หาเจริญไม่ ต่อปัญหาของคุณธรรมก็เหมือนกัน เต๋าแม้จะเป็น องค์ของคุณธรรม ก็ต้องอาศัยองค์เดำมาเจริญคุณธรรมตลอดเวลา เพราะ ท่านเหลาจื่อเป็นห่วงถึงจุดนี้ จึงได้อธิบายถึงความสำคัญขององค์คุณซึ่ง จะหลีกเลี่ยงไปไม่ได้ ชาวโลกหากเข้าใจหลักธรรมนี้ ก็จะสามารถปฏิบัติ คุณธรรมได้ถูกต้อง ความขัดแย้งต่าง ๆ ก็ปรับเข้าหากันเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันได้ บทนี้กล่าวถึงผลร้ายของการกระทำที่ขาดองค์เต๋าเป็น ประการแรก ประการที่สองมีการนำเรื่องต่าง ๆ ทุกเรื่องในโลกนี้มา เปรียบเทียบเป็นหลักฐาน เพื่อเป็นการเผยให้เห็นความสัมพันธ์ที่ไม่อาจ หลีกห่างจากองค์คุณได้ ประการที่สาม เป็นคำสอนของนักปราชญ์ถึง วิธีการดำเนินการต่อกิจธุระโดยไม่สูญเสียองค์เต๋า

องค์เต๋าอยู่เหนือพ้นสรรพสิ่ง เหนือทวิลักษณ์ และเรียบง่ายไร้ ชื่อ เพราะฉะนั้นจึงปราศจากทั้งความงามและความอัปลักษณ์ ไม่มีทั้ง ความดีและความเลวร้าย หากมนุษย์อยู่ภายใต้สภาวะเช่นนี้ คุณภาพจะ บริสุทธิ์แท้ ทุกอย่างจะเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีความรักความโกรธ ไม่ มีการแก่งแย่ง เมื่อสูญเสียองค์เต๋าไป ความงามความอัปลักษณ์ ความดี ความเลว ทวิลักษณ์ก็เกิดขึ้น

เมื่อมนุษย์รู้จักความดีงาม ย่อมชอบความดีงาม รังเกียจความ เลวและความอัปลักษณ์ ทุกคนจะหันไปสู่ความดีและหลบหลีกความเลว ดังนั้น การแก่งแย่งจึงเกิดขึ้น อาทิเช่น แก่งแย่งกันเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ ทำความดี มีหน้ามีตาให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ดังนี้แล้ว ความเลวร้าย ต่างๆ ก็เจริญขึ้น ก็จะเกิดความไม่งามไม่ดีขึ้น มนุษย์ก็จะเกิดความไม่ สงบสุขขึ้น จะมีก็แต่นักปราชญ์ที่ยึดองค์เต๋าเป็นสรณะ จะหลุดพ้นจาก ทวิลักษณ์ ปฏิบัติแต่ไม่มุ่งหวัง นำมาสั่งสอนผู้คนโดยไม่พูด ไม่ว่าสรรพสิ่ง จะเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง ก็จะเงียบไม่ทำเสียง ทำให้สรรพสิ่งเจริญขึ้นแต่