collapse

ผู้เขียน หัวข้อ: ความหมายและจุดประสงค์ในการกราบไหว้  (อ่าน 8654 ครั้ง)

ออฟไลน์ หนึ่งเดียว หลุดพ้น

  • Elder
  • มิตรนักธรรม

     บ้านเมืองมีกฏหมายของบ้านเมือง ครอบครัวมีกฏระเบียบของครอบครัว การจราจรมีกฏจราจร ฉะนั้นเราผู้บำเะพ็ญธรรม ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฏพุทธระเบียบ ก็ไม่สามารถดำรงตนให้อยู่ในกรอบครรลองครองธรรมได้ เพราะเหตุนี้ พุทธอริยเจ้าจึงได้บัญญัติแบบแผนจริยาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการบำเพ็ญธรรม ปฏิบัติธรรม มีจริยะพิธีที่แสดงออกถึงความศรัทธานอบน้อมที่มีอยู่ภายใน  คำว่า "จริยะ" รวมไปถึงจริยพิธีในการสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีจริยมารยาทในการต้อนรับขับสู้ และจริยาในการรำลึกถึงบรรพบุรุษ ฯลฯ อย่างไรก็ตามการกราบไหว้ย่อมมีความหมาย และจุดประสงค์ในการกราบไหว้ ซึ่งขอแบ่งออกเป็น  4  ข้อดังนี้

1.ไม่ใช่ขอความคุ้มครองอย่างงมงาย

    ชาวโลกได้แต่ร้องขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครอง ไม่คิดบำเพ็ญกุศลเพื่อหลุดพ้นจากทะเลทุกข์แห่งการเกิดตาย อย่างนี้เป็นการคล้อยตามแบบงมงาย เพราะหากหลักธรรมญาณยังลุ่มหลง แสวงบุญก็ไร้ประโยชน์  ไร้มโนสำนึกร้องขอแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์

2. แสดงความสำนึกคุณ  :

   ขอบพระคุณฟ้า ดิน กษัตริย์ บุพการี และครูบาอาจารย์  ขอบพระคุณบารมีธรรมของพระพุทธอริยเจ้า ซาบซึ้งภายในจึงต้องแสดงออกมาให้เห็นภายนอก คนทั่วไปเหนื่อยยากลำบากเพื่อลูกหลาน จนสุดท้ายตายจากไปอย่างไร้ค่า เหมือนการเกิดของต้นหญ้าไม่มีใครสนใจ พระโพธิสัตว์กวนอิมไม่มีบุตร แต่พระองค์ทรงดำเนินชีวิตในการฉุดช่วยเวไนยสัตว์ จวบจนวันนี้จึงมีแต่คนระลึกถึงท่านตลอด

3. อาศัยการกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย้อนมองสำรวจตน

   ภายนอกมองดูพระพุทธรูป ภายในส่องถึงจิตเข้าถึงธรรมญาณที่อยู่ตรงหน้า  พระพุทธะสถิตอยู่ที่เขาคิชกูฏ เขาคิชกูฏพบได้ในใจตน ทุกคนต่างมีเจดีย์แห่งเขาคิชกูฏต่างกำหนดมรรคผลได้ใต้นี้เอง

4. เจริญรอยตามปฏิปทาของสิ่งศักดิ์สิทธิ์

     คนโบราณกล่าวว่า "ไหว้พระไม่เทียบเท่าเจริญรอยตามพระ" เดิมทีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็มาจากปุถุชน กลัวแต่ว่าใจปุถุชนจะไม่แน่วแน่พอ พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า "เวไนยสัตว์ล้วนมีพุทธภาวะแต่เป็นเพราะกิเลสที่จรมาทำให้ไม่อาจบรรลุได้" ฉะนั้นเราจึงเรียก "ปุถุชนที่รู้แจ้งว่าพุทธะ และพุทธะที่ลุ่มหลงว่าปุถุชน"

Tags: