| ชื่อหนังสือ | สนทนากับพระเจ้า Conversations with God | | การพูดคุยทีไม่ธรรมดา เล่ม1 | | . | ISBN | : 9789744015105 | ผู้เขียน | : นีล โดนัลด์ วอลช์ | ผู้แปล | : รวิวาร โฉมเฉลา | ขนาดรูปเล่ม | : 147 x 210 x 25 มม. | จำนวน | : 312 หน้า | ชนิดกระดาษ | : กระดาษถนอมสายตา | สำนักพิมพ์ | : สำนักพิมพ์ Oh My God โทร.02-925-2308, 085-074-1656 | เดือน/ปีที่พิมพ์ | : พิมพ์ครั้งที่ 3 / มีนาคม 2553 | ราคา | : 245 บาท |
|
:: เนื้อหาโดยสังเขป สำหรับหนังสือเล่มนี้ส่วนตัวอ่านแล้วดีมาก แต่อธิบายยากแถมต้องมีใจเปิดกว้างมากๆ เลยเอาบทความนี้มาให้อ่านกันนำมาจาก กรุงเทพธุรกิจ จุดประกายวรรณกรรมลองอ่านดูเพลินๆนะครับ
พรานอักษร
Conversations with God
พระเจ้าตายแล้ว...ฟื้น?
ลมฝน
ในยุคนี้สำนักพิมพ์น้อยใหญ่ต่างลุกขึ้นมาทำหนังสือแนว 'ธรรมะ-จิตวิญญาณ' กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ด้วยเป็นที่ต้องการของตลาดในยุคที่ผู้คนต่างสับสนและเสาะหาคำตอบของชีวิต หลายเล่มได้รับความนิยมจนทำให้สำนักพิมพ์จำนวนไม่น้อยรับทรัพย์ไปตามๆ กัน
ท่ามกลางปรากฏการณ์ขาขึ้นนี้ เมื่อปลายปี 2549 มีหนังสือชื่อประหลาดเล่มหนึ่งออกวางขายในตลาดบ้านเรามีชื่อว่า สนทนากับพระเจ้า เล่ม 1 แปลจากต้นฉบับเรื่อง 'Conversations with God : An Uncommon Dialogue' ซึ่งเป็นหนังสือแนวจิตวิญญาณที่ขายดีที่สุดในโลกในรอบทศวรรษที่ผ่านมา แปลไปแล้วเกือบ 50 ภาษา และเพิ่งถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเรื่องเดียวกัน ว่ากันว่าหนังสือชุดนี้คือ 'มหากาพย์แห่งจิตวิญญาณ' ของโลกหนังสือเลยทีเดียว และฉบับภาษาไทยก็สร้างความฮือฮาในหมู่ปัญญาชนและผู้ใฝ่ธรรมในสังคมไทยได้ไม่น้อย
หลายคนถึงกับบอกว่า...นี่คือหนึ่งหนังสือด้านจิตวิญญาณที่มีเนื้อหาโดดเด่นที่สุดในรอบหลายทศวรรษ เป็นหนังสือที่ทำลายกรอบกำแพงความคิดและความเชื่อเดิมๆ ของผู้อ่านจนหมดสิ้น บางคนกล่าวว่าเนื้อหามีความละม้ายคล้ายกับพุทธแนวมหายานและตันตระมากอย่างน่าทึ่ง
ส่วนบางคนบอกว่า...นี่คือการตีความคัมภีร์คริสต์ศาสนาใหม่ทั้งหมด แต่กับอีกหลายคนบอกว่ามันคือหนังสือข้ามพ้นวิธีคิดแบบศาสนาไปแล้ว ทั้งยังประสานคำอธิบายทางจิตวิญญาณเข้าเป็นเนื้อเดียวกับมิติทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าอัศจรรย์!
ตกลงมันเป็นหนังสือเกี่ยวกับอะไรกันแน่
สนทนากับพระเจ้า เล่ม 2 เป็นอีกคำตอบหนึ่งที่ไขปริศนาเหล่านั้น โดยเล่มนี้ก็ได้นักแปลหนุ่มรุ่นใหม่ อัฐพงศ์ เพลินพฤกษา (บรรณาธิการแปล สนทนากับพระเจ้า เล่ม 1) ซึ่งเขาบอกว่าตัวเองนับถือศาสนาพุทธและไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า แถมยังแปลหนังสือเล่มนี้ด้วยความแค้นที่มีต่อโลก! (อีกต่างหาก)
"ผมเกลียดโลกใบนี้ ไม่ชอบเลย โลกบ้าๆ ที่สร้างแต่ความทุกข์ความเจ็บช้ำให้กับผู้คน ผมอยากตอบโต้โลก ที่ผ่านมาผมมักตอบโต้ด้วยการทำร้ายคนอื่นหรือไม่ก็ทำลายตัวเอง ใช้ความเกลียดชังเพื่อตอบโต้ความเกลียดชัง แต่พอได้อ่านหนังสือเล่มนี้เลยเกิดแรงบันดาลใจมากจนรู้สึกว่า เราไม่จำเป็นต้องใช้ความเกลียดชังเพื่อตอบสนองความเกลียดชังก็ได้ การได้มาทำและได้แปลหนังสือชุดนี้ถือเป็นวิธีที่ผมเลือกตอบโต้โลกด้วยความรัก แทนที่จะเป็นความเกลียดชังเหมือนที่เคยเป็นมา" อัฐพงศ์ เผยที่มาที่ไปของหนังสือชุดนี้ในภาคภาษาไทย
พร้อมกับขยายความต่อว่า "ไม่มีใครรู้หรอกว่าคนเขียนคุยกับพระเจ้าจริงหรือเปล่า ผมว่าประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนั้น ความน่าสนใจของหนังสือชุดนี้อยู่ที่ตัวเนื้อหามากกว่า มันลึกซึ้งและเป็นสากลมาก ลึกซึ้งอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับศาสนาเลย ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องพระเจ้าแบบที่คนทั่วไปเข้าใจด้วย ไม่ได้เป็นหนังสือศาสนา (religion) แต่เป็นหนังสือจิตวิญญาณ (spirituality) ไม่รู้จะนิยามหนังสือเล่มนี้อย่างไรเหมือนกัน"
ประเด็นนี้ Jess Peter Koffman ชาวแคนาดาซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ฟังในวันนั้น และเป็นผู้แปลหนังสือท่านพุทธทาสเป็นภาษาอังกฤษในชื่อ 'Practical Buddhism : The legacy of Buddhadasa Bhikkhu' ได้ร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับหนังสือชุดนี้ไปในทางเดียวกันว่า "เป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสัจธรรมสูงสุดนั้นเป็นหนึ่งเดียว เนื้อหามีความลึกซึ้งเกินกว่าจะผูกติดอยู่กับศาสนาใดได้ เป็นหนังสือที่ดีมากๆ และก็ดังมากๆ ด้วย อยากให้ทุกคนได้อ่าน"
อัฐพงศ์ บอกอีกว่า แม้หนังสือชุดนี้จะดังแบบถล่มทลายในโลกตะวันตก แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่เขาตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์หนังสือชุดนี้เพื่อนำมาแปลเป็นภาษาไทยแน่นอน "เราไม่ได้ทำเพราะเห็นว่ามันดัง แต่เพราะเห็นว่ามันดี" ทั้งยังสารภาพว่าแท้จริงแล้วการทำหนังสือชื่อ สนทนากับพระเจ้า ในสังคมไทยนั้น โอกาสขาดทุนค่อนข้างสูง ด้วยเหตุผลหลักๆ คือสำหรับชาวพุทธแค่เห็นคำว่า 'พระเจ้า' ก็ไม่คิดจะหยิบแล้ว
ผู้นับถือ 'พระเจ้า' ตามแบบศาสนาก็จะรับไม่ได้ เพราะรู้สึกว่าเป็นการบิดเบือนอย่างรุนแรง ถึงอย่างนั้นเขาคิดว่าหนังสือชุดนี้มีคุณค่าเกินกว่าจะปล่อยผ่านไปได้ "แม้ว่าหลายคนจะออกมาประณามหนังสือชุดนี้ แต่ก็ไม่เป็นไร ผมเชื่อว่าหลายชีวิตจะได้ประโยชน์จากการที่หนังสือชุดนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย แม้ว่าอาจไม่ได้เป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม"
นอกจากนี้ 'สนทนากับพระเจ้า' ยังได้รับการจัดอันดับจากสถาบัน International Institute of Management (IIM) ให้เป็นหนึ่งในหนังสือติดอันดับสูงสุดในหมวด World's Most Respected Spiritual Books : A Global Survey เคียงคู่กับกับคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง (เล่าจื๊อ), The Prophet : ปรัชญาชีวิต (คาลิล ยิบราน), Jonathan Livingston Seagull : โจนาธาน ลิฟวิงสตัน, นางนวล (ริชาร์ด บาค), Siddhartha : สิทธารถะ (เฮอมาน เฮสเส), The Art of Happiness : ศิลปะแห่งความสุข (ทะไล ลามะ), Peace Is Every Step : สันติภาพทุกย่างก้าว (ติช นัช ฮันห์), The Alchemist : ขุมทรัพย์ที่ปลายฝัน (เปาโล โคเอลโย) ฯลฯ ที่นักอ่านชาวไทยรู้จักกันดีอีกด้วย
หลายคนสงสัยว่าถ้านิทซ์เช่ยังมีชีวิตอยู่ และได้อ่านหนังสือชุดนี้ เขายังจะยืนยันประกาศว่า 'พระเจ้าตายแล้ว!' อยู่อีกหรือไม่
'สนทนากับพระเจ้า' ต่างมุมมอง
1.ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
"ในแต่ละบรรทัดของหนังสือเล่มนี้สามารถนำไปคิดต่อได้อีกเป็นเดือนเป็นปี...หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้คำตอบกับจิตวิญญาณ...ทำให้ผมเข้าใจเพิ่มเติมขึ้นเยอะเลยในแง่ของมุมมองที่มีต่อชีวิต"
2.ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด
"ช่างเป็นบทสนทนาที่สื่อตรงเข้าไปในใจได้อย่างชัดเจนจริงๆ เป็นการสื่อสารที่ให้ทั้งความเบิกบานและสร้างการตื่นรู้ เป็นการผสมผสานมิติทางวิทยาศาสตร์และจิตวิญญาณได้อย่างอัศจรรย์ใจ"
3.ดร.สุวินัย ภรณวลัย
"ไม่ว่า God ในหนังสือเล่มนี้จะมีอยู่จริงหรือแค่เป็นจินตนาการของผู้เขียนก็ตาม แต่นั่นหาใช่สิ่งสำคัญแต่อย่างใดเลย เพราะ God ในหนังสือเล่มนี้ คือกัลยาณมิตรที่ทรงภูมิปัญญาที่สุดคนหนึ่งเท่าที่ผู้อ่านจะพานพบได้ในชีวิตนี้…เท่าที่ผ่านมามีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ชีวิตของพวกเขาไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปภายหลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้"
Credit :
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=heavymetal&date=23-03-2008&group=1&gblog=13:: สารบาญ:: หมายเหตุ