มาต่อกันด้วย - ตัวเลข - คงขาดกันไม่ได้เลยหละ สำหรับชีวิตประจำวัน
一1 | อี | หนึ่ง | 六4 | ลิ่ว | หก |
二4 | เอ้อ | สอง | 七1 | ชี | เจ็ด |
三1 | ซาน | สาม | 八1 | ปา | แปด |
四4 | ซื่อ | สี่ | 九3 | จิ่ว | เก้า |
五3 | อู่ | ห้า | 十2 | สือ | สิบ |
十2 | สือ | สิบ | 百3 | ไป่ | ร้อย |
二2十2 | เอ้อสือ | ยี่สิบ | 千1 | เชียน | พัน |
三1十2 | ซานสือ | สามสิบ | 萬4 | ว่าน | หมื่น |
四4十2 | ซื่อสือ | สี่สิบ |
五3十2 | อู่สือ | ห้าสิบ |
การนับตัวเลข ก็นับกันไปเรื่อยๆ เฉกเช่นเดียวกับการนับเลขในภาษาไทย ตั้งแต่หนึ่ง ไปถึงหลัก
สิบ พัน หมื่น ..
แต่ในภาษาจีน จะไม่มีหลัก
แสน ล้าน ... จะนับเป็น
十萬 สิบหมื่น 百萬ร้อยหมื่น ยังงั้นขึ้นไป
อีกจุดหนึ่งที่หน้าสนใจ คือ ในจำนวน สิบ ร้อย พัน หมื่น จะมีแต่ สิบ ที่ไม่ค่อยจะใช้
一十 หนึ่งสิบ แต่จะมี 一百 หนึ่งร้อย 一千 หนึ่งพัน หรือ 一萬 หนึ่งหมื่น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ได้ใช้กันเลย ในภาษาไทย ที่จะเห็นว่าได้ใช้กันบ่อย ก็จะเป็นกรณีที่ต้องเขียนเอกสาร ซึ่ง ตัวเลขเป็นข้อมูลสำคัญในเอกสารนั้นๆ
ยกตัวอย่างเช่น
ใบเปี่ยวเหวิน หากญาติธรรมบริจาคเงินจำนวน
十元 สิบบาท เราก็ต้องเขียนว่า
一十 หนึ่งสิบในการพูดถึง จำนวนเงิน เราก็จะมีศัพท์ที่ใช้บอกจำนวน ดังเช่น
บาท ในภาษาไทย
元2 | เอวี๋ยน | เหรียญ (ใช้กันไม่บ่อยในไต้หวันหรือจีนแดง แต่ใช้กันในฮ่องกง) |
塊4 | ไคว่ | เหรียญ (ใช้กันในประเทศไต้หวันและจีนแดง), ชิ้น |
角3 | เจี่ยว | สลึง, มุม |
正4 | เจิ้ง | ถ้วน |
十元(正) | สิบเหรียญ(ถ้วน) | 五十三元 | ห้าสิบสามเหรียญ |
二塊八角 | สองเหรียญแปดสลึง | 二十五塊(錢) | ยี่สิบห้าเหรียญ |
ในกรณีที่ใช้ตัว
塊 (ไคว่) แทนตัว
元 (เอวี๋ยน) ถ้าหากเป็นจำนวนเงินถ้วน ก็มักจะใส่คำว่า
錢 (เฉี่ยน) ที่แปลว่า
เงิน เข้าไปด้วย แต่จะใช้เฉพาะในกรณีที่
นับจำนวนเงินเท่านั้น ในกรณีอื่น ที่ต้องใช้ตัวนี้ ก็ไม่ต้องเสริมตัว 錢 (เฉี่ยน) เข้าไป
正 (เจิ้ง) (ถ้วน) มักใช้ในกรณีที่ จำนวนตัวเลข ไม่มีหลัก
หน่วยแมว : | 這個多少錢 ? | อันนี้ราคาเท่าไหร่คะ ? |
| เจ้อ เกอ ตัว ส่าว เฉียน |
มังกร : | 十五塊錢 | สิบห้าเหรียญครับ |
| สือ อู่ ไคว่ เฉียน |
แมว : | 這本書呢 ? | หนังสือเล่มนี้ละคะ ? |
| เจ้อ เปิ่น ซู เนอ |
มังกร : | 三十塊 | สามสิบเหรียญครับ |
| ซาน สือ ไคว่ |
這4 / 這4個4 | เจื้อ / เจื้อเกอ | อันนี้ ชิ้นนี้ สิ่งนี้ ... |
多1少3 | ตัวส่าว | มากน้อย, ในที่นี้ หมายถึง ราคา/จำนวนเท่าไหร่ ใช้ในกรณีที่สอบถามจำนวนหรือราคา |
本3 | เปิ่น | ศัพท์บ่งบอกจำนวนหนังสือ (ขออภัย ขณะนี้ยังนึกศัพท์จำเพาะคำนั้นไม่ออก) |
書1 | ซู | หนังสือ |
ในการบอกราคาจำนวนเงิน ไม่ใช่ว่า เขาไม่เสริมตัว
錢 (เฉี่ยน) เข้าไป จะกลายเป็น ตอบอย่างไม่มีมารยาท สองสิ่งนี้ไม่มีอะไรที่เกี่ยวเนื่องกันโดยตรง ฉะนั้น ในตัวอย่างข้างบน การตอบของ
มังกร ไม่ได้แสดงถึงอาการเอือมระอาต่อการตอบราคาแต่อย่างใด ซึ่งจุดนี้จะแตกต่างจาก
ภาษาญี่ปุ่น คือ หากมีคำเสริม แล้วเราไม่ได้ใส่เข้าไป จะบ่งบอกถึง
ความเคารพ หรือ
มารยาท นั้น ลดน้อยลงไปเช่นกัน ต่อผู้ฟัง